กรณีศึกษาระบบอัตลักษณ์โลโก้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ในห้อง 'ลงประกาศ ซื้อ-ขาย หรือทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย BigBang36, 16 มีนาคม 2021.

  1. BigBang36

    BigBang36 LogoBigbang

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2020
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทดลองนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้งที่กรุงเทพฯ และที่ปากน้ำจังหวัดสมุทรปราการเพื่อแจ้งข่าวเรือเข้าออกระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งกรมโทรเลขขึ้นในปี พ.ศ 2426 และเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านโทรศัพท์ด้วย

    ในปีพ.ศ 2471 สามารถให้บริการโทรศัพท์ทางไกล และได้ขยายเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพธนบุรี รวมทั้งสามารถติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี และนครปฐมได้ในปี 2480 ได้มีการเปิดใช้ชุมสายอัตโนมัติเป็นครั้งแรก และผู้ใช้สามารถหมุนตัวเลขบนหน้าปัดติดต่อถึงกันได้เอง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมโดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลข และให้บริการโทรศัพท์ในเขตนครหลวง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2497 หลังจากนั้นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้มีการพัฒนา และเติบโตขึ้นเป็นลำดับ มีการให้บริการต่างๆ มากมายหลายรูปแบบอาทิในปีพศ. 2545 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 MHz thai mobile ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมระหว่างกสทและทศท บริการอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยากับทศทจนกระทั่งในวันที่ 31 กรกฎาคมพ.ศ 2545 จึงได้แปรสภาพเป็นบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน รวมถึงการขยายขอบเขต และภารกิจให้บริการที่กว้างขวางขึ้น ทำให้ต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบ และวางระบบ ci ขององค์กรเสียใหม่ สามารถสื่อถึงภารกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กรสื่อสารโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่มีเทคโนโลยีระดับแนวหน้า พร้อมตอบสนองความต้องการทุกรูปแบบด้วยคุณภาพและบริการในระดับสากล
    2545.png .
    แนวความคิดในการทําโลโก้
    ภายใต้ระบบอัตลักษณ์ใหม่ชื่อของ TOT ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ทศท และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันภาพลักษณ์ให้เป็นองค์กรธุรกิจขนาด และเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจสื่อสารชื่อองค์กรใหม่ให้ภาพที่ชัดเจนไม่ซ้ำใคร มีความเป็นสากล และเชื่อถือมีมาตรฐานเป็นองค์กรที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีความทันสมัย ในระดับนานาชาติที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้รองรับกับการเจริญเติบโตของประเทศไทย และก้าวพ้นให้ทานกลับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
    --------------------------------------------------
    อ้างอิง
    เนื้อหา: หนังสือการออกแบบอัตลักษณ์
    LogoBigbang
    --------------------------------------------------
    ภาพในอีกมุมหนึ่งของ TOT เป็นภาพขององค์กรที่มีความเป็นมิตรอบอุ่น และจริงใจมีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า และยึดถือการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจทั้งยังเป็นองค์กรที่มีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ฉับไว มุ่งพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นมืออาชีพที่สร้างสรรแต่สิ่งที่ดีที่สุด เพื่อคุณภาพที่สูงสุดเสมอ

    รูปแบบการทําโลโก้อัตลักษณ์
    บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน กำหนดให้มีสัญลักษณ์ของลักษณะดังนี้คือ
    สัญลักษณ์แบบ Symbol Type เป็นสัญลักษณ์กราฟิกในกรณีใช้ชื่อว่าสัญลักษณ์ MSQ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงองค์รวมซึ่งมีที่มาจากหลัก 3 ประการที่ ทศท ยึดถือในการดำเนินธุรกิจได้แก่ความทันสมัย การให้บริการ สัญลักษณ์กราฟิกนั้นด้วย
    สัญลักษณ์แบบ Logo Type เป็นสัญลักษณ์ตัวอักษร TOT เป็นรูปแบบตัวอักษรที่ออกแบบโลโก้ ให้มีลักษณะเฉพาะตัว ให้ความรู้สึกแข็งแรง มั่นคง ทันสมัย และก้าวล้ำไปในอนาคต สีที่ใช้ได้แก่สีฟ้าสีเงินและสีดำ

    ผู้ออกแบบ
    บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ได้ว่าจ้างบริษัท เซนทริส จำกัดเป็นผู้ดำเนินการรับออกแบบโลโก้และวางระบบอัตลักษณ์ขององค์กรในครั้งนี้

    การใช้งาน บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ได้มีการนำสัญลักษณ์ใหม่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ ของบริษัท บัตรโทรศัพท์ เครื่องแต่งกายพนักงาน เคาน์เตอร์บริการ ทั้งนี้ได้มีการจัดพิมพ์คู่มือการใช้อัตลักษณ์ดังกล่าวด้วย เพื่อให้การใช้งานเป็นไปด้วยความถูกต้องและเกิดสัมฤทธิ์ผลสูงสุด

    ประเด็นปัญหา
    บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ได้เริ่มใช้สัญลักษณ์ใหม่ที่มีความทันสมัยสะดุดตา และจดจำง่าย ดังนั้นได้ดำเนินการตามข้อกำหนด และคู่มือระบบอัตลักษณ์อย่างเสมอต้นเสมอปลายแล้วคาดว่าภาพลักษณ์ของ ทศทจะมีความโดดเด่น และตรงวัตถุประสงค์ของการเป็นบริษัทมหาชน ที่ให้บริการด้านการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...