ความรู้ความเข้าใจเรื่องการหลอมแก้วของข้าพเจ้า

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 18 พฤศจิกายน 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    กระทู้นี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสร้างพระแก้วคริสตัลในไทยให้ได้ เป็นวิธีที่ผมจะเขียนกระทู้ที่มีเนื้อหาเพียงเนื้อหาเดียวในกระทู้เดียว แต่นำไปเป็นส่วนประกอบของกระทู้สารบัญครับ
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่ 1
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่ 2
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่ 3
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมรีบไปจัดการธุระของเช้านี้เสร็จแล้ว กลับมาเขียนกระทู้นี้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาในระบบสารบัญครับ เดี๋ยวเที่ยงๆหรือบ่ายก็ต้องไปทำอีกธุระหนึ่ง และคงจะถึงค่ำๆครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2504 - 2515 ผมเป็นเด็กชายที่คุณพ่อจูงมือบ้างอุ้มบ้าง ไปยังสำนักต่างๆที่เป็นเจ้าของสำนักสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษเนื่องจากเป็นเพื่อนคุณพ่อ (ไม่ได้ทำการค้าร่วมกันในขณะนั้น) นอกจากนั้นคุณพ่อยังจูงมือไปโรงงานแก้วต่างๆหลายโรงงานมากเนื่องจากคุณพ่อสั่งทำโคมไฟฟ้าทุกชนิดทุกขนาดด้วยวิธีเป่าแก้วด้วยปอดบ้าง ด้วยวิธีปั๊มแก้วบ้าง

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2516 คุณพ่อคุณแม่ได้เปิดกิจการโรงงานหลอมแก้ว ชนิดแก้วโซดาไลม์ซิลิก้า ใช้เตาหลอมแก้วชนิดเบ้าคละสี เบ้าละจุไม่เกิน 350 ก.ก. หนึ่งเตามี 6 เบ้าและอีกเตามี 8 เบ้า ในปีแรกมีเตา 6 เบ้าเพียงเตาเดียว หลังจากนั้นจึงเพิ่มกำลังการผลิตภายหลัง เมื่อเปิดโรงงานหลอมแก้วเพื่อสร้างชิ้นงานแก้วเป็นสินค้าโดยมีโคมไฟทุกชนิดเป็นงานหลัก งานสร้างพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษและงานอื่นๆเป็นงานรอง เช่นงานสร้างโถปั่นน้ำผลไม้ โคมไฟหน้ารถยนต์ โคมไฟรถสิบล้อสีๆรอบคันสมัยก่อน และอื่นๆถือเป็นงานรอง และงานค้นคว้าทดลองเพื่อการต่างๆซึ่งคุณพ่อเป็นคนหัวทันสมัยที่จะก้าวไปไม่หยุดยั้ง

    พ.ศ. 2516 น้าชายผมมารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของโรงงานแก้วแห่งนั้น และเกิดการประท้วงทั้งโรงงานอันมีสาเหตุหลักคือค่าแรงงาน ผมถูกเชิญให้มารับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตในปีนั้น เมื่อผมถึงโรงงานแก้วเท่านั้น ช่างและคนงานทุกคนต่างออกมาต้อนรับผมโดยผมไม่ทราบสาเหตุและไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และทุกคนเพียงแต่ขอขึ้นค่าแรงงานวันละ 2 บาทเท่านั้น ผมอนุมัติในทันทีและคุณพ่อคุณแม่ผมอนุมัติตาม จากนั้นเราก็ทำงานกันมาด้วยความราบรื่นโดยตลอดหลายปี โดยทุกคนทำงานอย่างเต็มสติปัญญา

    ผมได้ถามน้าชายว่า ทำไมทุกคนจึงออกมาต้อนรับผม ได้มีการพูดยกยอปอปั้นอะไรผมกับเหล่าคนงานหรือไม่ ? น้าชายบอกว่า ไม่เคยพูดอะไรเลย นี่คือประสบการณ์ที่ดีในชีวิตผมที่อยากเล่าสู่กันฟังครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คุณพ่อเชิญปรามาจารย์วิชาแก้วท่านหนึ่งมาเป็นอาจารย์สอนวิชาแก้วทุกวิชาทุกแขนงให้ผมกับน้าชาย และยังได้เสริมอาจารย์ช่างผสมสีแก้วอีกท่านหนึ่ง (ซึ่งสมัยนั้นวิชาผสมสีแก้วนั้นยากที่จะผสมสีแก้วได้สวย อาจารย์ท่านนี้รับผสมสีให้โรงงานแก้วหลายโรงงาน แทบทุกวันจะเดินทางไปโรงงานหลายโรง เพื่อผสมสีแก้วให้โดยไม่ยอมบอกเคล็ดวิชา รับเงินเดือนสมัยนั้นสูงมากจนร่ำรวย) นอกจากนี้ยังเสริมอาจารย์เป่าแก้วด้วยปอดจากโรงงานอื่นด้วยการซื้อตัวมาอีกท่านหนึ่ง

    แต่สรุปรวมได้ว่า วิชาทั้งหมดถึงปัจจุบันเราไม่ต้องใช้แล้ว เนื่องจากมีผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อให้เราใช้ในราคาถูกมากๆ และสามารถซื้อได้เพียงน้ำหนักไม่กี่กิโลกรัม ในขณะที่ถ้าเราหลอมเอง เบ้าละอย่างต่ำ 350 ก.ก. และต้องไม่ต่ำกว่า 6 เบ้า จึงถือว่าพวกเราโชคดีที่มาอยู่ในยุคนี้ ยุคของความง่ายและถูกสุดๆนับตั้งแต่มีโลกใบนี้มาเลยทีเดียว
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    แล้วทำไมผมต้องเขียนเนื้อหา "ความรู้ความเข้าใจเรื่องการหลอมแก้วของข้าพเจ้า" ก็เพราะว่า ทุกๆท่านอาจไม่มีโอกาสหรือไม่สามารถเข้าไปดูงานหลอมแก้วในโรงงานต่างๆได้ด้วยตนเอง จึงอาจจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจของผมที่จะเล่าให้ฟังนี้ เพื่อมาดัดแปลงกับงานการสร้างพระแก้วคริสตัลได้นั่นเอง
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    การหลอมแก้วในเตาหลอมและเป็นเตาอบในเตาเดียวกันนั้น ท่านเพียงแค่เปิดฝาเตา นำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์หรือแม่พิมพ์ดินขี้วัว (ซึ่งดินขี้วัวนี้ผมยังไม่ได้ทดลองว่า ทำปฏิกิริยาใดกับน้ำแก้วหรือไม่ คือจะเป็นตัวทำให้เกิดฟองอากาศที่ผิวพระแก้วหรือไม่) นำแม่พิมพ์เข้าในเตา วางกระถางดินเผาที่ภายในบรรจุก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อไว้ภายใน จากนั้นปิดฝาเตา รอเวลาตามตารางที่กำหนดไว้ ทุกเวลาก็เปิดฝาเตา แล้วนำแม่พิมพ์มากระเทาะเปลือกออกเท่านั้น ท่านก็จะได้องค์พระแก้วที่เสร็จสมบูรณ์เป็นสีฝ้าออกมาแล้ว เพียงเท่านี้จริงๆ ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว (นอกจากถ้าพื้นของฐานไม่เรียบเสมอก็ต้องตัดหรือฝนให้เรียบ เวลาวางจะได้ไม่กระดก)
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในระหว่างที่เวลายังไม่ถึง ท่านไม่ควรเปิดฝาเตาเพื่อดู แต่ท่านอาจจะเกิดความกังวลใจว่า ระหว่างนั้นเกิดอะไรกับแก้วที่กำลังหลอมอยู่ ซึ่งผมจะได้เล่าต่อไปว่า เกิดอะไร ท่านจะได้คลายกังวลและไม่ไปเปิดฝาเตา งานอาจเสียหายได้
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อท่านนำแม่พิมพ์ปูนหรือดินขี้วัวเข้าในเตา วางกระถางดินเผาที่มีก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่ออยู่ข้างใน แล้วปิดฝา

    ท่านต้องอุ่นเตาก่อน ด้วยอุณหภูมิเพียงแค่ 60C ประมาณ 15 นาที

    จากนั้นต่อเนื่องไม่หยุดเลย ท่านต้องอุ่นเครื่องต่อด้วยการยกระดับความร้อนขึ้นถึง 100C อีกครึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะยกระดับขึ้นไปอีก

    เป็น 200C อีก 1 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นเล็กน้อยแต่ไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมงที่ 200C นะครับ

    แล้วเพิ่มระดับขึ้นไปอีกเป็น 400C อีกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 700C ต่อเนื่องตลอดระยะ melting point ซึ่งถ้าชิ้นงานไม่ใหญ่นักก็จะใช้เวลาที่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจะลายจนหมดกระถางดินก็ประมาณ 1 ชั่งโมง 15 นาทีครับ

    จากนั้นจึงเข้าสู่ขบวนการอบลดอุณหภูมิต่อเนื่องไม่หยุดเลย ห้ามเปิดฝาเด็ดขาดจนกว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้น ซึ่งแล้วแต่ความหนาของเนื้อชิ้นงานครั้งนั้นครับ
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในบางแห่งอาจใช้วิธีอุ่นเตาที่เร็วกว่าที่ผมทำก็ได้นะครับ แต่ที่ผมคิดนี้เพื่อเผื่อดินขี้วัวไว้ด้วย เพราะดินขี้วัวอาจไม่สามารถรับการอุ่นที่เร็วเกินไปได้ (ผมยังไม่ได้ทดลอง พูดลำบาก ผมจึงใช้วิธีอุ่นนานเพื่อไม่ให้เสียหายก่อน)

    วิธีอุ่นเร็วนั้นใช้ได้กับปูนปลาสเตอร์เท่านั้น เพราะปูนปลาสเตอร์ทนต่อการอุ่นเร็วได้เป็นอย่างดี

    เริ่มต้นดังนี้ครับ

    เริ่มอุ่นที่ 200C เพียงครึ่งถึง 1 ชั่วโมง จากนั้นขึ้นไปถึงระดับ melting point ได้เลย ในก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อส่วนมากก็อยู่ที่ 700C นาน 1 ชั่วโมง 15 นาทีก็ละลายหมด (ในช่วงสุดท้าย 15 นาที ท่านยกขึ้นไปเป็น 780C ก็จะได้ชิ้นงานที่ผิวแก้วเป็นงานเจเวลรี่) [ท่านต้องทราบว่าปูนปลาสเตอร์สำหรับงานแม่พิมพ์หล่อแก้วทนได้เพียง 800-900Cนะครับ] ดังนั้น การไม่พยายามเข้าถึงจุดสูงสุดของเขาน่าจะดีกว่า

    จากนั้นก็เข้าสู่ขบวนการอบลดอุณหภูมิตามตารางครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ความรู้ความเข้าใจเรื่องการหลอมแก้วของข้าพเจ้านั้น จะได้ถ่ายทอดในจินตมโนภาพให้ท่านได้เข้าใจครับว่า ตั้งแต่นาทีที่ท่านยกอุณหภูมิขึ้นไปถึงจุด melting point ในกรณีนี้คือ 700C ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจะค่อยๆละลายด้วยการยุบตัวลงมาด้านล่างของกระถางดินเผา บางส่วนจะค่อยๆไหลออกจากรูใต้กระถางดิน เหมือนแตงเม ไหลเป็นสายลงมาต่อเนื่อง ไหลลงมาเหมือนสายน้ำที่ช้ามากๆ ช้าเหมือนกับน้ำมูกของผู้ป่วยไข้หวัดที่มีน้ำมูก ไหลลงมาเป็นสาย แต่ต่อเนื่องจนหมดกระถางดินครับ จะมีคราบน้ำแก้วติดกระถางดินด้วย นั่นไม่เป็นไรนะครับ เป็นธรรมดา

    ตลอดช่วงตั้งแต่ต้นถึงสุดท้าย ห้ามเปิดฝาเตานะครับ เพราะจะทำให้เสียอุณหภูมิที่ตั้งไว้ครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในกรณีที่ผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อบอกอุณหภูมิจุด melting point ของเขามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นเท่าไร ให้ถือว่าจุด melting point ที่เขาบอกมานั้นถูกต้องครับ

    เพราะผู้ผลิตแต่ละบริษัทอาจมีเคล็ดลับของแต่ละบริษัท เท่าที่ผมทราบมา ในจีนบางบริษัทอาจมีต่ำแค่ 450C หรือ 5XX เศษๆ 6XX และ 7XX เศษ ดังนั้นถามเขาด้วยจะดีกว่าครับ ไม่ต้องมาทดลองเอง

    แต่ถ้าเขาไม่บอกก็ไม่เป็นไรครับ เพราะเขาถือว่า เราต้องมีมือโปรอยู่ด้วย ถูกต้องของเขาครับ ถ้างานแค่นี้มันง่ายสำหรับมือโปรครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    วิธีทดลองว่า ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อนั้นมีจุด melting point เท่าใด ทำดังนี้ครับ
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    นำแม่พิมพ์ปูนวางในเตา ต่อด้วยกระถางดินเผา ภายในใส่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อไว้ตามปกติ ทุกอย่างเหมือนเดิมตามปกติครับ

    เริ่มอุ่นเตาปกติ แต่พอมาถึงจุด melting point เรายกขึ้นมาที่ต่ำไว้ก่อน เช่น 400C ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง แล้วเปิดฝาเตาดู ถ้าไม่ละลายจนที่รูก้นกระถางมีสายน้ำแก้วเป็นแตงเมออกมา หรือถ้าเรียกว่าน้ำมูกก็ได้ ถ้าไม่มีน้ำมูกไหลออกมา ที่จริงก็คือสายน้ำแก้วนั่นเอง ถ้าแก้วไม่ไหลออกรูก้นกระถาง ถือว่านั้นไม่ใช่จุด melting point ของเขาครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ค่อยๆขยับขึ้นทีละ 50C ครับ อย่าขยับขึ้นทีละ 100C นะครับ เดี๋ยวจะข้ามไป
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ทุกครั้งที่เปิดฝาเตาดู ตอนปิดกลับลงไป ให้แน่ใจว่า เตาได้ถึงจุด melting point ชุดใหม่ที่เราตั้งไว้นานเกินครึ่งชั่วโมง ท่านจึงสามรถเปิดดูได้อีกครั้งนะครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อเปิดดูครั้งไหน เห็นว่าน้ำแก้วไหลเป็นสายแตงเม ไหลออกจากรูใต้กระถางดินเผา ลากยาวเป็นสายเลย เมื่อนั้นถือว่านั่นคือจุด melting point ของก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อก้อนนั้นนะครับ

    เตาที่เปิดดูแบบนี้ ชิ้นงานอาจไม่สวยก็ไม่เป็นไรครับ นำมาหลอมใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าหลอมใหม่ครั้งที่สอง คุณภาพแก้วจะลดลงมากนะครับ ให้ระวังจุดนี้ไว้ด้วย ดังนั้น ก้อนแก้วที่ทดลองควรลองแค่ 1 - 2 กิโลกรัมก็พอ เพราะถ้าเป็นผม ผมทิ้งดีกว่าครับ ไม่นำมาทำให้ชิ้นงานเสียหายทีหลัง และถ้าเรานำไปหลอมปนกับก้อนแก้วที่ยังไม่เคยหลอม จะทำให้คุณภาพทั้งองค์ผิดเพี้ยนไปครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,138
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    112233.jpg
    ผมไม่สามารถหาภาพที่น้ำแก้วกำลังไหลในเตาอบได้ ก็เลยนำภาพของผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนยี่ห้อ จือปั๋วหลงไท้ มาให้ดูกันครับ เตาใช้เตาหลอมแก้วขนาด 38 ตันแขวนไว้สูง แล้วเปิดรูใต้เตาหลอมให้ออกเป็นรู น้ำแก้วที่สุกแล้วก็จะไหลลงมาแบบนี้ครับ รูปน่ะคล้ายๆกับที่จะไหลในเตาอบนั่นเองครับ จะเป็นสายต่อเนื่องแบบนี้ แต่อาจจะช้า หรือไหลแล้วไม่ตรง เพราะพื้นที่เราจำกัดกว่าเขาครับ เขาทิ้งสูง ทิ้งดิ่งเลย แต่ของเราพื้นที่แคบกว่าเยอะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...