พระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 7 กรกฎาคม 2012.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [​IMG]
    พระร่วง
    [​IMG]
    ขอมดำดิน​


    อีกสำนวนหนึ่งของตำนานวีรบุรุษในพงศาวดารเหนือ และในนิทานชาวบ้านแถบสุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์ ที่นิยมหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรม วีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์

    ตอนที่หยิบยกมานี้ คัดลอกมาจากหนังสือ “๕๐ นิทานไทย” โดย ธนากิต

    อดีตกาลนานนับพันปีเศษล่วงมาแล้ว ณ กรุงอินทปัด อันมีพระเจ้าอุทัยราช เป็นผู้ปกครอง พระองค์มีพระมเหสี ซึ่งเป็นเชื้อสายของพวกนาค จึงมีนามเรียกกันว่า พระนางนาค วันหนึ่งเมื่อพระเจ้าอุทัยราชพาพระมเหสีซึ่งกำลังมีพระครรภ์แก่ใกล้คลอดเสด็จประพาส ณ หาดทราย เมืองอัมราพิรุณบูรณ์ พระมเหสีก็ประสูติโอรสออกมาเป็นฟองไข่ พระเจ้าอุทัยราชไม่ทราบชาติกำเนิดเดิมของพระมเหสี จึงเกรงว่าฟองไข่นี้อาจจะเป็นเสนียดจัญไรและเกิดความอัปมงคลแก่บ้านเมือง จึงให้ทิ้งไป ก่อนที่จะตามเสด็จพระสวามีกลับกรุงอินทปัด พระนางนาคสั่งให้คนสนิทนำฟองไข่ไปฝังทรายไว้

    กล่าวถึง กรุงละโว้ ซึ่งในเวลานั้นไม่มีเจ้าเมืองครอบครอง นายคงเครา ซึ่งเป็นนายกองส่งน้ำ ทำหน้าที่รักษาการแทนอยู่ ขณะนั้นเมืองละโว้ขึ้นอยู่ในอำนาจของพวกขอม ต้องส่งส่วยเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เป็นประจำทุก ๓ ปี ขากลับที่คุมไพร่พลขนน้ำไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ (พระเจ้าพันธุมสุริยวงศ์ หรือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒) ณ เมืองขอม ขณะขบวนเกวียนของนายคงเคราผ่านเมืองอัมราพิรุณบูรณ์เห็นมีฟองไข่ขนาดใหญ่ผุดขึ้นบนหาดทราย นายคงเคราจึงเก็บเอาไปยังเมืองละโว้ด้วย แล้วหาแม่ไก่ให้มาช่วยฟักตัวละหนึ่งเดือน พอครบสิบเดือนไข่นั้นก็แตกออก ภายในมีเด็กผู้ชายน่าตาน่ารักน่าเอ็นดู นายคงเคราจึงให้ชื่อว่า ร่วงและเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม ​

    เมื่อโตขึ้นอายุได้ ๑๑ ปี ร่วงจึงรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ ด้วยเหตุที่วันหนึ่งได้พายเรือเล่นในทุ่งพรหมมาศ (บางตำราว่าพายเล่นในทะเลชุบศร) พายเรือตามน้ำไปได้สักพักก็คิดจะกลับแต่ต้องพายทวนน้ำ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยจึงพูดเปรยๆ ออกมาว่า “ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางเรือนเราบ้าง” ทันใดนั้นน้ำในทุ่งพรหมมาศก็เปลี่ยนทิศไหลพาเรือกลับอย่างที่ตนพูด ร่วงได้เก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับไม่ยอมบอกให้ใครทราบ

    อยู่ต่อมานายคงเคราถึงแก่กรรม บรรดาไพร่พลทั้งปวงจึงยกให้นายร่วงเป็นนายกองส่งน้ำแทน ครั้นครบกำหนด นักคุ้มข้าหลวงจากเมืองขอมได้คุมกองเกวียน ๕๐ เล่ม พร้อมไพร่พล ๑,๐๐๐ คน มาบรรทุกน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทะเลชุบศร เพื่อนำไปประกอบพิธี เมื่อมาถึงเมืองละโว้ได้ทราบข่าวนายคงเคราเสียชีวิตแล้ว จึงให้คนไปตามนายร่วงซึ่งทำหน้าที่แทนมาพบ นายร่วงจึงบอกกับนักคุ้มว่าท่านเอาโอ่งเอาไหที่ทำด้วยดินมาใส่น้ำอย่างนี้หนักเปล่าๆ จงช่วยกันสานชะลอมใส่น้ำไปเถิด เราจะสั่งน้ำมิให้ไหลออกมาเอง

    นักคุ้มเห็นนายร่วงรับรองแข็งขันว่าสามารถทำได้ ก็สั่งไพร่พลให้ช่วยกันสานชะลอมใส่เกวียนเล่มละ ๒๕ ใบ ซึ่งเมื่อนำชะลอมทุกใบไปตักน้ำตั้งบนเกวียน ปรากฏว่าไม่มีน้ำไหลรั่วออกมาเลยแม้แต่ใบเดียว นักคุ้มรู้สึกเกรงอำนาจวาจาสิทธิ์ของนายร่วงจึงรีบนำขบวนเกวียนเดินทางกลับเมืองขอม ระหว่างทางถึงด่านแห่งหนึ่งนักคุ้มเกิดแคลงใจว่าถูกนายร่วงหลอกให้ขนชะลอมเปล่าไปเมืองตนเอง พอนึกดังนั้นครั้นหันไปมองน้ำในชะลอมก็กลับไหลออกมาให้เห็น นักคุ้มจึงสรรเสริญนายร่วงว่าเก่งกล้าสามารถนัก และให้จารึกเรื่องราวไว้เป็นสำคัญ ณ ที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า ด่านพระจารึก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ครั้นเดินทางต่อมาจนถึงเมืองตึกโช ชาวเมืองพอทราบข่าวก็เล่าลือเรื่องที่นักคุ้มนำชะลอมใส่น้ำบรรทุกมา เจ้าเมืองขอมทราบจึงเรียกไปสอบถาม นักคุ้มก็เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟังอย่างละเอียด พร้อมทั้งยกชะลอมใบที่ยังมีน้ำขังอยู่เทลงในพะเนียงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่เจ้าเมืองและเหล่าข้าราชบริพารโดยทั่วหน้ากัน เจ้าเมืองขอมตกพระทัยตรัสว่า บัดนี้ผู้มีบุญมาเกิด ณ เมืองละโว้แล้วควรจะรีบยกกองทัพไปจับตัวมาสังหารเสียดีกว่า

    นายร่วงรู้ข่าวว่าทหารขอมยกกองทัพมาจับตัวก็หนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปทางเหนือและได้หลบอยู่ริมวัดแห่งหนึ่ง ณ บ้านบางคลาน เขตเมืองพิจิตร ได้รับความอดอยากถึงกับต้องขออาหารชาวบ้านกิน ผู้ที่มีจิตเมตตาได้นำข้าวและปลาหมอตัวหนึ่งมาให้ นายร่วงกินเนื้อปลาทั้งสองข้างหมดแล้วก็โยนก้างลงไปในสระและสั่งว่า “เจ้าจงมีชีวิตขึ้นมาเถิด” พลันปลาซึ่งไม่มีเนื้อมีแต่ก้างนั้นก็กลับมีชีวิตขึ้นมาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า ปลาก้าง ต่อมาจึงเดินทางไปถึงเขตแขวงเมืองเชลียง นายร่วงจึงหยุดพักและรู้สึกปวดท้องถ่าย จึงนั่งถ่ายที่ข้างป่า เสร็จแล้วได้หักกิ่งไม้แห้งมาชำระและโยนทิ้ง พร้อมกับสั่งว่า “จงงอกขึ้นมาเถิด” พลันไม้นั้นก็งอกขึ้นมาเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นเหมือนอาจม ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ชำระพระร่วง

    นายร่วงพเนจรหลบหนีพวกทหารขอมอยู่เป็นเวลาหลายปี จนเมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดในเมืองสุโขทัย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พระร่วง นับแต่นั้นมา วันหนึ่งนายทหารขอมซึ่งทราบข่าวได้ติดตามมา ครั้นถึงวัดที่พระร่วงจำพรรษาอยู่ได้ใช้ฤทธิ์ดำดินลอดกำแพงวัดเข้าไป เห็นพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่แต่ไม่รู้จักจึงถามว่า “พระร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน” พระร่วงจึงสอบถามจนรู้ว่าเป็นนายทหารขอมที่ตามมาจับตนจึงบอกว่า “เจ้าจงอยู่ที่นี่แหละอย่าไปไหนเลย จะไปตามพระร่วงให้” ด้วยฤทธิ์วาจาสิทธิ์ของพระร่วง ร่างของขอมดำดินผู้นั้นก็แข็งกลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสวรรคต และชาวเมืองรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ จึงพร้อมใจกันขอให้พระร่วงลาสิกขาบท แล้วอัญเชิญขึ้นเป็นเจ้าเมือง นับตั้งแต่พระร่วงครองราชสมบัติปกครองเมืองสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองนับแต่นั้นมา

    ตำนานเกี่ยวกับขอมดำดินหรือวาจาสิทธิ์พระร่วงนั้นมีแตกต่างกันไปหลายนัย บางตำนานบอกว่าขอมดำดินนั้นได้อาสาเจ้าเมืองขอมมาตามจับพระร่วงตามลำพังตั้งแต่แรก ไม่ใช่ทหารขอมยกมาเป็นกองทัพอย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น และมีผู้สันนิษฐานว่านายร่วงคงจะใช้ชันสำหรับยาเรือยาหรือทาชะลอมน้ำจึงไม่ไหลออกมา แต่อีกตำนานหนึ่งบอกว่าพระร่วงเป็นลูกของเจ้าเมืองและมีน้องชายชื่อว่า ลือ ดังนี้

    ณ เมืองศรีสัตชนาลัย เจ้าเมืองมีลูกชายชื่อว่าร่วง เมื่อเห็นว่าลูกของตนไม่มีเพื่อนเล่น พ่อจึงไปขอเพื่อนเล่นให้ลูกที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่ง รุ่งเช้าปรากฏว่ามีไม้แกะเป็นรูปเด็กวางไว้ที่ศาล ตกกลางคืนพอเดือนตกแล้วพ่อของร่วงซึ่งกลับไปที่ศาลอีกครั้งได้ยินเสียงเด็กไม้พูดทักทาย จึงดีใจนำมาเป็นเพื่อนเล่นกับลูก โดยตั้งชื่อให้ว่า ลือ

    ต่อมาในวันมาฆบูชา พ่อได้ถามร่วงและลือว่าลูกทั้งสองต้องการจะสร้างอะไรในศาสนาบ้าง ร่วงและลือจึงบอกพ่อว่าจะสร้างเจดีย์ พ่อจึงให้ช่างสร้างเจดีย์ขึ้นสององค์ ซึ่งเจดีย์ของร่วงแต่แรกนั้นสวยกว่าของลือ ลือจึงให้สร้างเจดีย์ของตนสูงกว่าของร่วง ร่วงเห็นเข้าไม่พอใจจึงเตะยอดเจดีย์ของลือหักกระเด็นไปตกที่จังหวัดลพบุรี (กลายเป็นยอดเจดีย์หักในจังหวัดลพบุรี ส่วนเจดีย์ของร่วงกับลือยังอยู่ในจังหวัดสุโขทัย)

    วันหนึ่งร่วงเก็บมะขามเทศใส่ย่ามเดินกินทิ้งเมล็ดไปตลอดทางในระยะสี่กิโลเมตร ต่อมาเกิดเป็นต้นมะขามเทศงอกและโตขึ้น ณ สองฟากถนนและมีช่องว่างเป็นทางสำหรับเล่นว่าว พ่อจึงทำว่าวจุฬาให้ร่วงและทำว่าวปักเป้าให้ลือ ว่าวของร่วงมักจะตกอยู่เสมอ ร่วงพูดขึ้นว่าขอให้ว่าวของลือสายขาดซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ร่วงจึงให้ลือมาเป็นคนคอยส่งว่าวให้ ต่อมาร่วงได้ท้าแข่งกับคนต่างอำเภอและต้องรอคู่แข่งอยู่จนเย็น ขณะทำการแข่งขัน ร่วงวิ่งสะดุดหินล้มลง เข่าทั้งสองข้างจึงกระแทกพื้นดินอย่างแรงเกิดเป็นรอยดินยุบลงไปเป็นรูปวงกลมสองบ่อ ร่วงจึงบอกว่าขอให้บ่อทั้งสองนี้จงมีน้ำซึมอยู่ตลอดปี แม้จะมีคนมาตักก็ไม่แห้ง ชาวสุโขทัยจึงถือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

    หลังจากเลิกแข่งว่าว ร่วงกับลือก็เดินทางกลับบ้าน พอดีพบพ่อค้าปลา ร่วงหิวข้าวจึงขอปลามาปิ้งกิน พ่อค้าบอกว่าจะเอาปลาไปเลี้ยง ร่วงว่าขอแต่เนื้อเท่านั้น ส่วนตัวปลาจะเอาไปเลี้ยงก็ตามใจเถิด แล้วเอามีดเหลาโครงว่าวปาดแก้มปลาจนถึงหางทั้งสองข้าง ส่วนหัวกับก้างนั้นโยนลงไปในบ่อน้ำที่อยู่ใกล้ๆ นั้น พร้อมสั่งให้ปลามีชีวิตขึ้นมา กลายเป็นปลาก้างตามที่เล่ามาในตอนต้น พ่อค้าสอบถามรู้ว่าเป็นผู้มีบุญก็ยกปลาให้กินทั้งหมด ร่วงกินอิ่มแล้วจึงคืนให้พ่อค้าปลาไปหนึ่งกระป๋อง และสั่งว่าเมื่อกลับถึงบ้านค่อยเปิดออกดูจะได้ของดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ครั้นถึงบ้านเมื่อพ่อค้าปลาเปิดกระป๋องออกดูก็เห็นมีทองคำอยู่เต็มกระป๋อง จึงนำเรื่องนี้ไปบอกกับเพื่อนบ้าน ชาวบ้านจึงต่างออกตามหาร่วงแต่ก็ไม่พบ

    ต่อมาได้มีการประกาศค้นหาผู้มีบุญให้เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย ร่วงจึงได้รับคัดเลือกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “พระร่วง” แต่บางตำนานเรียกพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี


     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ขอบคุณมากนะคะ ได้ความรู้มากเลย:cool:
     
  4. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ตำนานพระร่วงพระลือ พระร่วงพระลือ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมจำหลักจากงาดำของช้างเผือกเป็นศิลปะสุโขทัย ต่อมามีการหล่อด้วยสำริดศิลปะอยุธยา ลักษณะประทับยืนตรง ยกพระหัตถ์ทั้งสองตั้งเสมอพระอุระ ทรงพระมาลาที่ชาวบ้านเรียกว่าหมวกชีโบ ครองจีวรคลุมยาวถึงพระชงฆ์ องค์พระร่วงสูง ๓๘ เซนติเมตร กว้าง ๘ เซนติเมตร องค์พระลือสูง ๓๔ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง

    พงศาวดารเหนือกล่าวประวัติพระร่วงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยว่า พระบิดาเป็นมนุษย์พระมารดาเป็นนางนาค พระบิดาเดิมครองนครหริภุญไชย ทรงพระนามว่าอภัยคามมะนี ท่านได้ไปจำศีลภาวนาอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ได้มีนางนาคจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวเล่น ได้พบพระยาอภัยคามมะนีแล้วเกิดรักใคร่กัน ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเจ็ดวัน นางนาคก็กลับสู่เมืองบาดาล เมื่อใกล้คลอดบุตรจึงได้ขึ้นจากบาดาลไปยังภูเขาที่เคยพบพระยาอภัยคามมะนี และคลอดบุตรชาย ณ ที่นั้น แล้ววางบุตรบนผ้ากัมพล พร้อมทั้งวางพระธำมรงค์ที่ได้รับประทานจากพระยาอภัยคามมะนี อธิษฐานขอให้พ่อลูกพบกัน แล้วกลับไปบาดาล

    มีพรานป่าผู้หนึ่งมาพบทารกจึงนำไปเลี้ยง เมื่อกุมารเจริญวัย เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ วันหนึ่งพระยาอภัยคามมะนี มีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชนิเวศน์เพิ่มเติม จึงประกาศให้ราษฎรไปช่วยกันตัดไม้มาสร้างถวาย พรานป่าก็ได้พาบุตรบุญธรรมไปร่วมตัดไม้ด้วย กุมารก็แสดงฤทธิ์ด้วยการใช้วาจาสิทธิ์ให้ได้ไม้มาโดยไม่ต้องลงแรงตัด ความทราบถึงพระยาอภัยคามมะนี จึงรับสั่งให้ลูกนางนาคเข้าเฝ้า เมื่อได้ซักถามประวัติจนทราบว่า เป็นพระโอรสจึงรับเข้าไว้ในเศวตฉัตร และทรงตั้งพระนามว่า อรุณกุมาร พระยาอภัย ฯ มีโอรสกับพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ฤทธิกุมาร เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย ก็ได้ทรงสู่ขอพระธิดาผู้ครองนครศรีสัชนาลัยมาอภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร เมื่อพระยาอภัย ฯ สวรรคต อรุณกุมารจึงได้ครองนครสุโขทัยสืบแทน ต่อมาเมื่อผู้ครองนครศรีสัชนาลัยสวรรคต อรุณกุมารก็ได้ครองนครศรีสัชนาลัยควบคู่กับนครสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระร่วงพระองค์ได้ทรงสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้อภิเษกสมรสกับฤทธิกุมาร และหลังจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สวรรคตแล้ว เจ้าฤทธิกุมารก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ได้พระนามใหม่ว่า พระลือ

    พระร่วงส่วยน้ำ มีตำนานเรื่องพระร่วงอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า พระร่วงเป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเมืองลพบุรี ในครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมแห่งกรุงกัมพูชามีเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมาก ในจำนวนดังกล่าวมีเมืองลพบุรีอยู่ด้วย เมืองลพบุรีต้องส่งส่วยน้ำเป็นเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อนายร่วง เป็นคนมีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ เมื่อตอนที่มีอายุสิบเอ็ดปี เขาพายเรือทวนน้ำนานเข้าจึงเหน็ดเหนื่อยมากถึงกับออกปากว่า "ทำไมน้ำจึงไม่ไหลไปทางโน้นบ้าง" พอพูดขาดคำก็ปรากฏว่าสายน้ำได้ไหลย้อนกลับไปในทางที่จะไปทันที นายร่วงเมื่อรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ก็เก็บเรื่องไว้เป็นความลับไม่บอกให้ใครรู้

    เมื่อนายคงเคราชราภาพลง นายร่วงจึงรับหน้าที่ส่งส่วยน้ำแทนบิดา เขาคิดหาวิธีการทำภาชนะใส่น้ำส่งเจ้ากรุงกัมพูชา เป็นภาชนะที่เบาและจุน้ำได้มากโดยใช้ไม้ไผ่มาจักสานเป็นชะลอม (ครุ) ขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปตักน้ำในทะเลชุบศร ลั่นวาจาสิทธิ์ให้น้ำไม่รั่วออกจากชะลอม น้ำก็อยู่ในชะลอมไม่รั่วไหลออกมา เมื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และทรงวิตกว่าบัดนี้มีคนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อกรุงกัมพูชา ควรที่จะกำจัดนายร่วงเสียโดยเร็ว จึงได้ตรัสสั่งให้นายเดโชชัย นายทหารคู่พระทัย ดำเนินการกำจัดนายร่วงเสีย

    ฝ่ายนายร่วงเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงกัมพูชาคิดกำจัดตน จึงหลบหนีจากเมืองลพบุรีขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย นายเดโชชัย เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าก็ได้ติดตามนายร่วงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงกำแพงเมืองสุโขทัย ก็ใช้อิทธิฤทธิ์ดำดินลอดใต้กำแพงเมืองเข้ามาโผล่ขึ้นในลานวัดมหาธาตุ ขณะนั้นพระภิกษุพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ นายเดโชชัยจึงเข้าไปถามว่า รู้ไหมว่านายร่วงที่มาจากเมืองลพบุรีนั้นขณะนี้อยู่ที่ไหน พระภิกษุร่วงก็รู้ทันทีว่าคนผู้นี้ตามมาทำร้ายตน จึงได้กล่าววาจาออกไปว่า "สูจงอยู่ที่นี่เถิด รูปจะไปบอกนายร่วงให้" พอพูดขาดคำร่างของนายเดโชชัยก็กลายเป็นหินไปทันที เมื่อชาวบ้านเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระภิกษุร่วงมีวาจาสิทธิ์ สาปขอมให้กลายเป็นหินได้ จึงมีความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นแล้ว จึงได้พากันอาราธนาให้พระภิกษุร่วงลาสิกขา แล้วขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชน และบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

    สำหรับรูปคนที่เป็นหินนั้น ชาวบ้านเรียกว่า ขอมดำดิน ปัจจุบันถูกคนทุบตีจนแตกหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทางราชการได้นำไปไว้ที่ศาลพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย

    ที่มา : หอมรดกไทย www.heritage.thaigov.net

    http://www.sukhothai.go.th/history/hist_09.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]“ร่วง” [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]ในสิหิงคนิทานว่า[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif] รณรงโค [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]แปลว่า[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif] พระร่วง นักรบ[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๗๖๒

    เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอม และการขึ้นครองราชย์นั้นสรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร) สรุปว่าครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๗๖๒ -๑๗๘๑ (๑๙ ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราวพ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งว่าพระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัยทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ. ๑๗๖๒ บางแห่งระบุว่าปีครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]“นางเสือง” [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif](เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) ทรงมีพระโอรสธิดาราม ๕ องค์ เป็นโอรส ๓ องค์ ธิดา ๒ องค์ โอรสองค์ใหญ่ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สอง คือ บานเมืองหรือปาลราช องค์ที่สามเดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่า[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]พระรามคำแหง[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif] ในหนังสืออื่น เรียก รามราช ส่วนธิดาอีก ๒ คนไม่ปรากฏนาม


    <!-- Start of Table (Table1) -->[/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" NOF="TE"><TBODY><TR><TD align=middle><!-- Start of Table (Table1) --><TABLE id=Table1 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="63%"><TBODY><TR><TD height=273 width="34%"><!-- Start of Cell (Cell1) -->[FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]<!-- Start of Picture (Picture6) -->[​IMG][/SIZE][/FONT]
    </TD><TD width="65%"><!-- Start of Cell (Cell2) -->[FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]<!-- Start of Picture (Picture7) -->[​IMG][/SIZE][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD width="34%"><!-- Start of Cell (Cell3) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]พระร่วง (ฝีพระหัตถ์ ร. ๖)[/SIZE][/FONT] ​
    </TD><TD width="65%"><!-- Start of Cell (Cell4) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]แผนที่เิมืองสุโขทัย (เก่า)[/SIZE][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]
    การขึ้นครองเมืองสุโขทัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้นแม้สามารถ ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากเขตเมืองได้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีอยู่แต่เดิม (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตามพ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้นจะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราดเพื่อให้มเหสี คือนางสิขรมหาเทวีซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอม นั้นเป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดาคือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ ๗ ดังนั้น ขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif] “ศรีบดิทรอินทราทิตย์” [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif](กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมือง มาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นานประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๘๐๒ ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดก็แสดงท่าทีจะชิงเมือง โดยยกทัพเข้าจะตีเอาเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอดที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย?


    <!-- Start of Table (Table2) -->[/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" NOF="TE"><TBODY><TR><TD align=middle><!-- Start of Table (Table2) --><TABLE id=Table2 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="71%"><TBODY><TR><TD height=161 width="50%"><!-- Start of Cell (Cell12) -->[FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]<!-- Start of Picture (Picture9) -->[/SIZE][/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" NOF="TE"><TBODY><TR><TD align=middle><!-- Start of Picture (Picture9) -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD><TD width="50%"><!-- Start of Cell (Cell5) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]<!-- Start of Picture (Picture10) -->[/SIZE][/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" NOF="TE"><TBODY><TR><TD align=middle><!-- Start of Picture (Picture10) -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD width="50%"><!-- Start of Cell (Cell13) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]พ่อขุนรามฯ ชนช้างกับขุนสามชน[/SIZE][/FONT]​
    </TD><TD width="50%"><!-- Start of Cell (Cell11) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]เมืองสุโขทัย (ฐานพระราชวัง)[/SIZE][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]
    ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่าพระรามราช?) ซึ่งมีอายุ ๑๙ พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วย

    [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]การสู้รบนั้นได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชนและ (พระรามราช?) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้างช่วยพระบิดาจน มีชัยชนะขุนสามชน ด้วยความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif] [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]รามกำแหง หรือรามคำแหง


    <!-- Start of Table (Table3) -->
    [/FONT]<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="27%" align=left NOF="TE"><TBODY><TR><TD><!-- Start of Table (Table3) --><TABLE id=Table3 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD width="100%"><!-- Start of Cell (Cell9) -->[FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]<!-- Start of Picture (Picture11) -->[​IMG][/SIZE][/FONT]
    </TD></TR><TR><TD width="100%"><!-- Start of Cell (Cell10) -->
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1][/SIZE][/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif][SIZE=-1]เจดีย์วัดพระมหาธาตุ เมืองสุโขทัย[/SIZE][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]ระยะแรกนั้นเมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้น ไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่างๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม

    ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากฐานอาณาจักรมั่นคง และสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้น ได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วย คือ พระยาคำแหงพระราม เป็นพระอนุชาของขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธา ภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคตราว ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ขุนบานเมืองหรือพญาปาลราชโอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา.
    [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif,sans-serif]http://haab.catholic.or.th/history/history002/sukhothai6/sukhothai6.html
    [/FONT]
     
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระเจ้าศรีจันทราธิบดี หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
    (ย้งไม่แน่ชัด ว่าจะเป็นพระองค์เดียวกัน???)

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ กลางท่าว) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งประวัติศาสตร์ไทย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1792 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร


    พระนาม
    1. บางกลางหาว
    2. ศรีอินทราทิตย์
    3. อรุณราช
    4. ไสยรังคราช หรือสุรังคราช หรือไสยนรงคราช หรือรังคราช
    5. พระร่วง หรือโรจนราช
    สำหรับพระนามแรก คือ พ่อขุนบางกลางหาวนั้น เป็นพระนามดั้งเดิมเมื่อครั้งเป็นเจ้าเมืองบางยาง พระนามนี้ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระนามสมัยเป็นเจ้าเมืองบางยางโดยแท้จริง

    พระนามที่สองนั้น เป็นพระนามที่ใช้กันทางราชการ เป็นพระนามที่เชื่อกันว่าทรงใช้เมื่อราชาภิเษกแล้ว คำว่าศรีอินทราทิตย์นั้น ไมมีปัญหา เพราะมีบ่งอยู่ในศิลาจารึก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คำที่นำหน้า คำว่า "ศรีอินทราทิตย์" เพราะเรียกแตกต่างกันไปว่า ขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง พระเจ้าศรีอินทราทิตย์บ้าง และบางทีก็เรียกพระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์

    พระราชกรณียกิจ
    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่
    ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง
    ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว


    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่
    1. พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
    2. พ่อขุนบานเมือง
    3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)
    4. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
    5. พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)
    แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนบานเมือง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ได้สืบราชสมบัติแทน


    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไตรภูมิพระร่วง

    ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่และสำคัญเล่มหนึ่งของไทย มีอายุกว่า 600 ปี แต่งขึ้นโดยพญาลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ 1) พระมหากษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1864(ปีเก่า) จ.ศ.683 ม.ศ.1243 นับเป็นปีที่ 6 ที่ขึ้นครองราชย์ ซึ่งสอดคล้องตาม บานแพนกเดิมว่า "เสวยราชสมบัติในเมืองสัชชนาไลยยอยู่ได้ ๖ เข้า"



    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>.</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>ไตรภูมิพระร่วง ทรงแต่งขึ้นเพื่อเทศนาแก่พระมารดาและสั่งสอนประชาชน ได้ทรงแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับหลักในพระพุทธศาสนา ตลอดจนชี้ให้เห็นผลบาปและผลบุญที่คนทั้งหลายได้กระทำไว้ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษไทยในการนิพนธ์วรรณคดี และเป็นผู้มีจิตวิทยาสูง เนื่องจากการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ ย่อมต้องการความร่วมมือร่วมใจของประชาชนให้อยู่ในศีลธรรม ระเบียบวินัย รู้บาปบุญคุณโทษ และยึดมั่นในศาสนา เพื่อสามารถต่อสู้กับศัตรูรอบด้านที่คอยคุกคาม อีกทั้งยังแสดงความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ เช่นตอนพรรณาถึงกำเนิดมนุษย์ ทั้ง ๆ ที่ในสมัยสุโขทัย วิทยาศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน จุดมุ่งหมายสำคัญในไตรภูมิพระร่วงนี้ เพื่อให้คนเกรงกลัวต่อบาป ประกอบแต่กรรมดี โดยแบ่งออกเป็น 3 ภูมิใหญ่ คือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4 รวมเป็น 31 ภูมิ เรียกว่า ไตรภูมิ

    ..

    เมื่ออ่านตรวจดู เห็นได้ว่า หนังสือเรื่องนี้เป็นหนังสือเก่ามาก มีศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่เข้าใจและที่เป็นศัพท์ อันเคยพบแต่ในศิลาจารึกครั้งสุโขทัยหลายศัพท์ น่าเชื่อว่าหนังสือไตรภูมินี้ ฉบับเดิมจะได้แต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยจริง แต่คัดลอกสืบกันมาหลายชั้นหลายต่อ จนวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือบางทีจะได้มีผู้ดัดแปลงสำนวนและแทรกเติม ข้อความเข้าเมื่อครั้งกรุงเก่าบ้าง ก็อาจจะเป็นได้ ถึงกระนั้นโวหารหนังสือเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่าเก่ากว่าหนังสือเรื่องใดใดในภาษาไทย นอกจากศิลาจารึกที่ได้เคยพบมา จึงนับว่าเป็นหนังสือเรื่องดีด้วยอายุประการ ๑ ว่าถึงผู้แต่งหนังสือไตรภูมินี้ พระเจ้าแผ่นดินสยามที่ได้ครอบครองราชสมบัติครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตามที่สอบในศิลาจารึกประกอบกับหนังสืออื่น ๆ ได้ความว่า มี ๖ พระองค์ คือ ๑.ขุนอินทราทิตย์ หนังสือตำนานพระสิหิงค์เรียกว่า พระเจ้าไสยณรงค์ หนังสือชินกาลมาลินีเรียกว่า โรจนราชา เสวยราชย์เมื่อใดอยู่ในราชสมบัติเท่าใดไม่ปรากฎ ๒. ขุนบาลเมือง หนังสืออื่นเรียก ปาลราช เป็นราชบุตรของขุนอินทราทิตย์ ศักราชไม่ปรากฎเหมือนกัน ๓. ขุนรามคำแหง หนังสืออื่นเรียก รามราช เป็นราชบุตรขุนอินทราทิตย์ เสวยราชย์เมื่อไรไม่ปรากฎ แต่เมื่อจุลศักราช ๖๕๔ ขุนรามคำแหง ครองราชสมบัติอยู่ ๔. พระญาเลลิไทย หรือ เลือไทย หนังสืออื่นเรียก อุทโกสิตราชบ้าง อุทกัช์โฌต์ถตราชบ้าง ความหมายว่าพระยาจมน้ำ เห็นจะเป็นพระร่วงองค์ที่ว่าจมน้ำหายไปในแก่งหลวง เป็นราชบุตรขุนรามคำแหง ศักราชเท่าใดไม่ปรากฎ ๕. พระญาลิไทย หรือ ฤไทยราช หรือ ฤๅไทยไชยเชฐ พระนามเต็มที่ถวายเมื่อราชาภิเษกว่า ศรีสุริยพระมหาธรรมราชาธิราช ซึ่งแต่งหนังสือไตรภูมินี้ เป็นราชบุตรพระญาเลลิไทย หนังสืออื่นเรียก ลิไทยราช เมื่อจุลศักราช ๖๗๙ เสวยราชย์อยู่สิ้นพระชมน์เมื่อจุลศักราช ๗๐๙ ๖. พระเจ้าศรีสุริยพงษ์รามมาธรรมิกราชาธิราช นอกจากศิลาจารึก หนังสืออื่นไม่ได้กล่าวถึง เป็นราชบุตรพระญาลิไทย เสวยราชย์เมื่อจุลศักราช ๗๐๙ อยู่จนเสียพระนครแก่สมเด็จพระบรมราชาธิราชกรุงศรีอยุธยา เมื่อจุลศักราช ๗๓๐

    บรรดาพระเจ้ากรุงสุโขทัย ดูเหมือนจะปรากฎพระนามในนานาประเทศ แลข้าขัณฑสีมาเรียกว่า สมเด็จพระร่วงเจ้า ต่อ ๆ กันมาทุกพระองค์ ไม่เรียกแต่เฉพาะพระองค์หนึ่งพระองค์ใดใน ๖ พระองค์นี้ และมูลเหตุไม่น่าเชื่อว่าเกี่ยวแก่เรื่องนายร่วง นายคงเครา อะไรอย่างที่เพ้อในหนังสือพงศาวดารเหนือซึ่งคนภายหลังอธิบาย เมื่อยังอ่านอักษรจารึกศิลาไม่ออก เพราะฉะนั้นเมื่อพิมพ์หนังสือนี้ จึงให้เรียกว่าไตรภูมิพระร่วง จะได้เป็นคู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง ซึ่งคนภายหลังได้แต่งเป็นสำนวนใหม่เสียแล้ว

    ในศิลาจารึก ปรากฎว่าพระญาลิไทยอยู่ในราชสมบัติกว่า ๓๐ ปี และทรงเลื่อมใสในพระศาสนามาก อาจจะให้แต่งหนังสือเช่นเรื่องไตรภูมินี้ได้ด้วยประการทั้งปวง แต่ศักราชที่ลงไว้ในหนังสือ ว่าแต่งเมื่อปีระกา ศักราชได้ ๒๓ ปีนั้น จุลศักราช ๒๓ เป็นปีระกาจริง แต่เวลาช้านานก่อนรัชกาลพระญาลิไทยมากนัก จะเป็นจุลศักราชไม่ได้ เดิมเข้าใจว่าจะเป็นพุทธศักราชหรือมหาศักราช แต่ถ้าหากผู้คัดลอกทีหลังจะตกตัวเลขหน้าหรือเลขหลังไปสองตัว ลองเติม ลองสอบดูหลายสถาน ก็ไม่สามารถจะหันเข้าให้ตรง หรือแม้แต่เพียงจะให้ใกล้กับศักราชรัชกาลชองพระญาลิไทย ตามที่รู้ชัดแล้วในศิลาจารึกได้ ศักราช ๒๓ นี้จะเป็นศักราชอะไร ต้องทิ้งไว้ให้ท่านผู้อ่านสอบหาความจริงต่อไป..

    อ่านโดยละเอียด..
    .:: ไตรภูมิพระร่วง - คลังปัญญาไทย ::.
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    กรรมฐานเปิดโลก วัดเขาสมโภชน์

    ความเป็นมา ของกรรมฐานธรรมะเปิดโลก

    ความเป็นมาของกรรมฐานธรรมะเปิดโลก คือ กาลครั้งหนึ่งสมัยที่สมเด็จพระบวรนาถสมณโคดมยังทรงพระชนม์อยู่ ในกาลนั้นได้เสด็จขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวสถานเพื่อโปรดพระพุทธมารดา ในวันที่เสด็จกลับจากดาวดึงส์ ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากคอยรับเสด็จอยู่ ในครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงใช้พุทธานุภาพแสดงโลกทั้งสามให้ปรากฏ แก่พสกนิกรผู้เป็นศานุศิษย์ของพระพุทธชินสีห์ ประชาชนที่มารับเสด็จในวันนั้น ต่างก็ได้รับทิพยจักขุญาณ เห็นเทวโลก มนุษยโลก และอบายโลก พร้อมกัน กล่าวคือ เทวดาทั้งหลายก็เห็นมนุษย์และสัตว์ในอบาย มนุษย์ทั้งหลายก็เห็นเทวดาและสัตว์ในอบาย สัตว์ในอบายทั้งหลายก็เห็นทั้งมนุษย์และเหล่าเทวดา เรียกว่าทั้งสามโลกมองเห็นกันทะลุปรุโปร่ง

    ในวันนี้พระพุทธคุณนั้นเป็นอานุภาพที่ไร้ขอบเขต ทรงฤทธานุภาพสูงสุดในจักรวาล ในวันนั้นเทวดามนุษย์และสัตว์เดรัจฉานทั้งปวงต่างๆ ก็ได้พบพ่อแม่ พี่น้อง ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย และบริวารเก่าๆ ที่กำลังเสวยผลกรรมอยู่ในภพต่างๆ กัน เป็นทุกขเวทนาบ้าง สุขเวทนาบ้าง จึงเกิดเมตตาจิต อธิษฐานอโหสิกรรมผู้ที่ได้เคยกระทำชั่วต่อกันมาให้ได้พ้นจากบาป กรรมเวรเหล่านั้น

    ในวันนั้นเอง มีผู้มีปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายคลายความยินดีในภพชาติ หลุดพ้นจากอาสวะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก จากนั้นมาธรรมะเปิดโลกก็มิได้ปรากฏในพระประวัติพระพุทธศาสนาอีกเลย

    จนกระทั่งเมื่อหลวงพ่อคง จตฺตมโล พุทธสาวกสมัยพุทธกาลนี้ ได้ถือเนกขัมมะวัตรเป็นบรรพชิตบำเพ็ญเพียรด้วยวิริยะอันแรงกล้า วิรัติแล้วจากการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งโดยตรงและโดยทางอ้อม ตั้งแต่อยู่ในฆราวาสวิสัย ดำริมั่นที่จะออกจากกาม ได้จาริกเพื่อเจริญวิมุติญาณเข้าสู่โลกกุตระสภาวะมาโดยลำดับ

    จนกระทั่งลุถึง ถ้ำอรหันต์ เขาสมโภชน์ ลพบุรี ท่านได้ปฏิบัติธรรมกรรมฐานเป็นอุกฤษฏ์ จนบังเกิดความตึงเครียดในทุกส่วนของประสาท ก็ยังไม่สำเร็จผลดังหวัง ทำให้รู้สึกท้อแท้ ท่านจึงน้อมจิตอธิษฐานว่า หากคุณพระพุทธเจ้ามีจริง ขอทรงมาโปรดให้ท่านมีดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด ในครั้งนี้เอง ก็มีปรากฏการณ์บังเกิดขึ้นกับหลวงพ่อ ท่านได้พบพระวิสุทธิสัมมาสัมพุทธเทพ และได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติกรรมฐาน อาศัยบุญบารมีเก่าที่หลวงพ่อคงเคยเป็นหลวงพ่อร่วง ผู้รจนาคัมภีร์ไตรภูมิกถาไว้สั่งสอนปวงชนมาก่อน พระพุทธองค์จึงทรงประทานธรรมะเปิดโลกให้ เมื่อหลวงพ่อใช้กำลังสติปัญญาเข้าพิจารณาภูมิอันเป็นอาสวะแห่งงวัฏฏะแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จิตใจมุ่งเข้าสู่ความบริสุทธิ์ สำเร็จวิสุทธิญาณในวันนั้นเอง

    จากนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมโลกเชษฐ์ได้ทรงประทานพุทธานุญาตให้ หลวงพ่อคงโปรดแสดงธรรมะเปิดโลกแก่พสกนิกรพุทธบริษัทได้ โดยอาราธนาพระพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และอริยสังฆานุภาพ มาเป็นอำนาจเปิดโลก เพื่อให้พุทธบริษัทได้เข้าใจแจ้งเรื่องกรรมและกลไกของกรรมโดยถ่องแท้

    กรรมฐานธรรมะเปิดโลก จึงได้รับการถ่ายทอดสาธิตจากหลวงพ่อคงนับตั้งแต่นั้นมา
     
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [​IMG]
    รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อคง จตฺตมโล

    อดีตจะเป็นอย่างไรแท้ไม่อาจทราบได้ แค่พยายามสืบค้นเท่าที่ได้

    แต่กรรมฐานเปิดโลกนั้น ผู้ลองแล้วได้สัมผัสสภาวธรรมจริง

    ผุ้สนใจ ศึกษาได้ที่
    ปฏิบัติธรรม > กรรมฐานเปิดโลก วัดเขาสมโภชน์ จังหวัดลพบุรี [Engine by iGetWeb.com]

    วัดเขาสมโภชน์
    http://www.watkhaosomphod.com/watkhaosomphod/Home.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2012
  11. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไตรภูมิพระร่วง

    มีหลายชื่อเรียกได้แก่ "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"
    เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสันฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
    วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คติความเชื่อของชาวไทย เป็นจำนวนมาก เช่น นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ

    ..

    เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอนให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตกนรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็ไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิตที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้โดยมิต้องมีออกกฎบังคับกันแต่อย่างไร

    ..

    เนื้อหา
    ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้ง 31 คือ กามภูมิ11, รูปภูมิ16 และอรูปภูมิ4 ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้รวมเรียกว่าเขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า มหานทีสีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล

    ไตรภูมิพระร่วง - วิกิพีเดีย
     

แชร์หน้านี้

Loading...