คิดอย่างไรกับวัดธรรมกาย ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย My Generation X, 5 มิถุนายน 2009.

  1. piya0101

    piya0101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +255
    ขออ่านเพื่อพิจารณาแต่อย่างเดียว
    ไม่ขอออกความเห็นครับ
    โดยส่วนตัวแล้วแนวทางของวัดนี้ไม่ถูกจริตครับ
     
  2. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,716
    คำสอนใด เป็นไปเพื่อสันโดษ มักน้อย กินน้อย ไม่สะสม ออกจากกาม ไม่เป็นไปเพื่อตัณหา สงบ ระงับ เป็นไปเพื่อหลุดพ้น ธรรมคำสอนจากวัดนั้น ย่อมเป็นทางแห่งกุศล ใช้พิจารณาได้ทุกวัดเลยจ้า..............สาธุ
     
  3. ขมังเวทย์

    ขมังเวทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,829
    ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘

    ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการนี้ มีมาใน โคตมีสูตร อังคุตตรนิกาย เป็น
    ถ้อยคำที่ตรัสแก่ ประเจ้าแม่น้ำโคตมี ซึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ถือกันว่า เป็นหลัก
    สำคัญ มีข้อความที่น่าสนใจเป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งคือ เป็นหลักธรรมที่ทรงเลือก
    สรรมา ในลักษณะเป็นเครื่องตอบแทนคุณแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นมารดา
    อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใด จะเป็นไปถูกต้องตาม
    หลักแห่งการดับทุกข์ หรือไม่ ก็ควรใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินได้โดย
    เด็ดขาด ฉะนั้น จึงเป็นหลักที่แสดงถึง ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา อยู่ใน
    ตัว หลักเหล่านั้น คือ

    ถ้า ธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด
    ๑. เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
    ๒. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ (คือทำให้ลำบาก)
    ๓. เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
    ๔. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ (คือไม่เป็นการมักน้อย)
    ๕. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
    ๖. เป็นไปเพื่อความคลุกคลี
    ๗. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    ๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

    พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่ สัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอน
    ของพระศาสดา) แต่ถ้าเป็นไปตรงกันข้าม จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์
    คือ

    ๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
    ๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
    ๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
    ๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
    ๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
    ๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
    ๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
    ๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย

    มีอธิบายว่า ความกำหนัดย้อมใจ ได้แก่ ความติดใจรัก ยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง
    หรือแวดล้อม ถ้าการปฏิบัติ หรือ การกระทำ หรือ แม้แต่การพูดการคิดอย่างใด ทำ
    ให้ บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆ แล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น
    การดูหนังดูละคร เป็นต้น มันทำให้เกิดความยอ้มใจ อย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของ
    ราคะ เป็นต้น ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือ แม้แต่
    อยู่ในที่สงัด จะเห็นได้ว่า เป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม พึงอาศัยตัวอย่างนี้
    เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆ นี้ ให้ได้ ทั้งในทางรูป เสียง กลิ่น รส
    โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การขอบคิดฝัน ถึง
    สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกยอ้มด้วย ราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น

    คำว่า เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ หมายถึงการทำตนเองให้ลำบากด้วยความไม่
    รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิดในกรณีที่ไม่ควรจะมีความลำบากหรือลำบากแต่
    น้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่า คนเราไม่ชอบความลำบากด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้ว
    ทำไมจึงไปทำสิ่งที่ตนจะลำบาก ทั้งนี้ ก็เพรา อำนาจของโมหะ คือ ความหลงเป็น
    ส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจผิดกลับตรงข้าม แม้ในกรณีที่เป็นเรื่องของการอยากดี
    อยากเด่นอยากมีชื่อเสียง เป็นต้น ก็มีมูลมาจากโมหะอยู่นั่นเอง กรณีที่เป็นการประชด
    ผู้อื่น หรือ ถึงกับประชดตัวเองก็ตาม ย่อมสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ ซึ่งมีมูลอันแท้จริง
    มาจากความหลงสำคัญผิดอย่างเดียวกัน นั่นเอง โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ การปฏิบัติ ที่
    เรียกว่า อัตตภิลมถานุโยค คือ การทรมานตนอย่างงมงาย

    คำว่า สะสมกองกิเลส หมายถึงการเพิ่มพูนโลภะ โทสะ โมหะ โดยรอบด้าน ผิด
    จากความกำหนัดย้อมใจ ตรงที่ข้อนี้ หมายถึงเป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องสนับสนุน
    การเกิดของกิเลสทั่วไปและให้ทวียิ่งขึ้นด้วย การสะสมสิ่งซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
    กิเลส อยู่เป็นประจำ ในกรณีของ คนธรรมดาสามัญ บางอย่างอาจจะ ไม่จัดเป็น
    การสะสมกองกิเลส แต่จัดเป็นการสะสมกิเลส อย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติ เพื่อความ
    ดับทุกข์ โดยตรง เช่น พวกบรรพชิต หรือในบางกรณี ก็จัดว่า เป็นการสะสมกอง
    กิเลส ทั้ง คฤหัสถ์ และ บรรพชิต เช่น การมีเครื่องประดับ หรือ เครื่องใช้ชนิดที่
    ไม่มีความจำเป็น แก่การเป็นอยู่ แต่เป็นไป เพื่อความลุ่มหลง หรือ ความเห่อเหิม
    ทะเยอทะยาน ประกวด ประขันกัน โดยส่วนเดียว เป็นต้น เป็นการขยาย ทางมา
    ของกิเลส ให้กว้างขวาง ไม่มีที่สิ้นสุด

    คำว่า ความอยากใหญ่ หมายถึง การอยากเกินมาตรฐานแห่งภาวะ หรือสถานะ
    หรือกำลังสติปัญญาของตน เป็นต้น ส่วนความไม่สันโดษ ไม่ได้หมายถึง ความ
    อยากใหญ่ เช่นนั้น แต่หมายถึง ความไม่รู้จักพอใจ ในสิ่งที่ได้มาแล้ว หรือมีอยู่
    แล้ว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็น คนยากจนอยู่เนืองนิจ เป็นทางให้เกิดความอยาก
    ใหญ่ หรือ กิเลสอย่างอื่นต่อไปได้ หรือในทางตรงกันข้าม ทำให้เกิดการทำลาย
    ตัวเอง จนถึงกับฆ่าตัวตายก็ได้ โดยภาษาบาลี ความอยากใหญ่ เรียกว่ามหิจฺฉตา
    ความไม่สันโดษ เรียก อสันตุฎฐิ โดยพยัญชนะ หรือโดยนิตินัย เราอาจจะแยกได้
    ว่า เป็นคนละชั้น คนละตอน หรือคนละอย่าง แต่โดยพฤตินัย ย่อมเป็นไปด้วยกัน
    จนถึงกับหลงไปได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน

    คำว่า ความคลุกคลี หมายถึง การระคนกันเป็นหมู่ เพื่อความเพลิดเพลินอย่างใด
    อย่างหนึ่ง จากการกระทำอันนั้น ความเพลิดเพลิน จากการคลุกคลีนี้ มีรสดึงดูด
    ในทางธรรมารมณ์เป็นส่วนใหญ่ และก็มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ที่ได้รับทาง
    ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุฉะนั้นเอง คนเราจึงติดใจรสของ
    การที่ได้ระคนกันเป็นหมู่นี้ ทำให้จิตใจลุ่มหลงมีลักษณะเหมือนกับจมไม่ลง ทำให้
    ความคิด ความอ่าน ดำเนินไปอย่างผิวเผิน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการคิด อย่างแยบคาย
    หรือ ลึกซึ้ง แต่พึงทราบไว้ว่า การประชุมกันเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปรึกษาหารือ กิจ
    การงาน อันเป็นหน้าที่เป็นต้นนั้น ท่านไม่เรียกว่า การคลุกคลีกัน เป็นหมู่ในที่นี้
    แต่อีกทางหนึ่ง ท่านยังหมายกว้างไปถึงว่า การถูกกิเลสทั่วไป กลุ้มรุม ด้วยสัญญา
    อดีต ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่หนหลัง แม้นั่งคิดฝัน
    อยู่คนเดียว ก็กลับสงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่ อย่างหนึ่งด้วยเหมือน
    กัน เพราะมีมูล มาจาก ความอาลัย ในการระคนด้วยหมู่

    คำว่า ความเกียจคร้าน และคำว่า เลี้ยงยาก มีความหมายชัดเจนแล้ว การปฏิบัติ
    ทำความดับทุกข์ เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัย ความเพียร ความเลี้ยง
    ง่าย จึงจะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระ เรื่องอาหาร มากกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้เสีย
    เวลา และเสียวัตถุมากไปเปล่าๆ โดยที่อาจจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ อย่างอื่นได้

    ลักษณะทั้ง ๘ นี้ แต่ละอย่างๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดย
    ตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี และเป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี จึงถือว่าไม่ใช่
    ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ต่อเมื่อปฏิบัติ ตรงกันข้าม จาก ๘ อย่างข้าง
    ต้น จึงจะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ หรือ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ นี้นับ
    ว่าเป็น หมวดธรรมที่เป็นอุปกรณ์ แห่งการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ อย่างหนึ่ง
    ในฐานะที่เป็นหลักสำหรับยึดถือ หรือให้ดำเนินไปถูกทาง

     
  4. atataya

    atataya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +278
    การให้ทานนั้นขึ้นอยู่ที่ใจครับ ใจมีปรารถณาดี ยินดีในการให้ ให้แล้วมีความสุข ถึงจะให้มากให้น้อยก็ได้บุญเท่ากัน แม้แต่คนที่ได้ทราบข่าวงานบุญงานทานแม้ไม่ได้บริจาคเลยแค่อนุโมทนาด้วยใจที่ยินดีเช่นนี้ก็ได้บุญแล้วครับ ส่วนบริจาคเงินมากๆผมว่าเป็นเรื่องทางโลกที่กำหนดขึ้นเองมากกว่านั่นก็เพราะกิเลศอีกนั่นแหละ
     
  5. tarh2o

    tarh2o เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +168
    มารในผ้าเหลืองและมนุษย์ผู้โง่เง่าหลงอยู่กับกงจักร (นรกรอยู่ทั้งวัด...ไม่ใช่วัดนิ...)
     
  6. จีโอ14

    จีโอ14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +262
    เมื่อก่อน (หลายสิปปีมาแล้ว) ผมต่อต้านอย่างมาก ยิ่งตอนเป็นข่าวเป็นคดี ยิ่งมากกว่าเดิม..เกลียดเข้าใส้..อะไรกัน.ทำบุญ.ไม่ลืมหูลืมตา..

    จนกระทั้งไม่กี่ปีมานี้..ได้มีโอกาสเข้าวัด ฟังธรรม รักษาศีล ปฏิบัติธรรม (จากวัดใกล้บ้าน) ได้เรียนรู้บุญ และอานิจสงค์ของบุญ..รู้ว่าไม่มีอะไรไม่เกิดจากเหตุ...ผลดีก็มาจากเหตุดี..รู้ว่าคนเรามีจริตมีอินทรีย์แตกต่างกัน..ปราถณาและอธิฐานมาต่างกัน..พบตัวที่ทำให้เราตระหนักถึงทุกข์จนไม่อยากจะทุกข์อีก..พบครูบาอาจารย์ที่ต้องกับจริตของตัวเองแล้ว..รู้แล้วว่าการจะสมปราถณาต้องเริ่มจากอะไร..รู้ซึ้งกับคำว่า..พระคุณของพระรัตนตรัย..มากมายเหลือประมาณ เท่านั้นแหละครับ...กราบ...กราบ...ขอขมาพระรัตนตรัย..ขอขมาหลวงพ่อวัดธรรมกาย..ขอขมาหลวงตาบัว..ขอขมาหลวงพ่อพิชัย..เพราะเข้าใจครับ มิใช่งมงาย ( มันบอกไม่ถูกครับ ) แม้ปัจจุบันก็ไม่ได้เข้าวัดท่านหรือทำบุญกับท่านเลย

    จึงขออนุญาติกราบทุก ๆ ท่าน อย่าหาภัยเข้าตัวเลย..หาบุญเข้าตัวดีกว่า..แม้เราไม่อยากทำบุญกับวัดนี้ แต่มาอนุโมทนาบุญกับเขาเถอะ..กับผู้ที่กำลังสะสมบุญบารมีเพื่อวันข้างหน้า..ได้บุญ.ได้กำไร..ครับ

    แล้วมาดูตัวของตัวเอง..ว่าตัดสินใจจะออกจากทุกข์แล้วหรือยัง ?
    รีบ ๆ ก้มหน้าก้มตาทำกิจของตัวเองให้เสร็จเร็ว ๆ เถอะครับ..ทุกข์จะแย่อยู่แล้ว
     
  7. ศิษย์ตถาคต

    ศิษย์ตถาคต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +27
    การทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่การที่ทำบุญเพื่อหวังที่นั่งในตำแหน่ง

    ที่สูงๆ นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเช่นกัน หลายๆ ครั้งที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวจากสถานที่แห่งนี้มา

    ส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในทางลบทั้งสิ้น หลายๆ ความคิดเห็นในที่นี้สอดคล้องกับความคิดโดยส่วนตัวของผม

    แต่ความคิดของผมนั้นก็มิได้นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ

    ดังนั้นสิ่งที่ไม่พ้องกับความคิดตัวเราหรือแตกต่างจากตัวอย่านำไปสู่เรื่องของการกล่าวล่วงยังสถานที่แห่งนั้นเลยนะครับ

    มันจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีติดตัวเราไป

    วัดที่จะดีนั้นไม่จำเ็ป็นต้องใหญ่โต วัดที่จะดีนั้นน่าจะเป็นวัดที่นำพาผู้คนทุกๆ คนไปในสู่หนทางแห่งความสุข หนทางของการดับทุกข์

    ขออนุโมทนา
     
  8. Fluffy (New)

    Fluffy (New) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +1,228
    เคยไปประมาณ 4-5 ครั้งเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ครั้งล่าสุดได้หยิบหนังสือที่มีสำหรับแจกเล่มหนึ่งสีแสดเล่มขนาดกลางเกี่ยวกับศีล 5 ก็เลยหยิบมาอ่านตรงข้อมุสามีคำอธิบายย่อ ๆต่อว่าถ้าพระพูดโกหกหรือไม่จริงแต่เพื่อเป็นการทำให้คนเชื่อถืออะไรทำนองนั้นถือว่าไม่บาป ก็เลยงง ๆพอประมาณ ว่ามีการยกเว้นด้วยหรือจากนั้นมาก็เลยไม่ไป ไม่รู้ว่าเราคิดมากไปหรือเปล่า แต่ก็อ่าน ๆแล้วพิจารณาด้วยปัญญาเอง
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,310
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    ผมไม่ขอออกความเห็นครับ บอกได้เเค่เพียง สิ่งที่ท่านสอนใน Dmc ดูเเล้วก็มีสาระดีครับ ได้ความรู้กลับมาทุกครั้ง อนุโมทนาครับ
     
  10. งูขาว

    งูขาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +1,824
    ธรรมกาย นี้มีอยู่จริง นอกนั่น วัด" ใจ " เป็นอุเบกขา
     
  11. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +405
    ศรัทธาต้องคู่กับปัญญาครับ สองอย่างนี่มันต้องไปด้วยกัน มีแต่ศรัทธาแต่ขาดปัญญามันก็อย่างที่เห็นๆกันอยู่ทุกๆวันนี้แหละครับ ทำบุญบริจาคทานมันต้องแล้วแต่ศรัทธาและตามกำลังครับ มีมากก็ทำได้มากเสียสละได้มาก มีน้อยก็ทำตามน้อย คนมีสิบบาททำห้าบาทถือว่าทำเยอะแล้ว
     
  12. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    เท่าที่สังเกตุมาวัดใดจะบอกบุญส่วนใหญ่ก็เห็นบอกว่า ทำบุญแล้วจะขึ้น
    สวรรค์ทำแล้วมีโชควาสนาจะรวย ชาติหน้าจะสวย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอุบายทั้งนั้น
    หลักการทำบุญที่จริงก็เพื่อฝึกให้จิตใจไม่ยึดติดกับสิ่งนอกกาย รู้จัก
    เสียสละ เราควรจะดูผลว่าจะเกิดประโยชน์ในอนาคตหรือกับผู้อื่นหรือไม่
    อย่างกรณีวัดธรรมกาย ได้รับเงินบริจาคมาเยอะแต่สิ่งก่อสร้างก็มากมายใหญ่โต
    ต้องยอมรับนะครับว่า สิ่งก่อสร้างเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็น
    หลักฐานและจรรโลงพุทธศาสนาของเราไว้มิให้เสื่อมไป
    . ส่วนเรื่องคำสอนแนวทางปฏิบัติใครศรัทธาสำนักไหน ก็ต่างคนต่างปฏิบัติกัน
    ไป ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะบอกว่าบุคคลที่ตนเคารพเป็น
    อรหันต์แต่อีกฝ่ายเป็นมาร ยิ่งสมัยนี้เอาการเมืองมาปนกับศาสนาด้วย
    (ไม่เคยทำบุญกับวัดนี้นะครับ)
     
  13. dhamaskidjai

    dhamaskidjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,855
    ค่าพลัง:
    +5,727
    ----- ย้อนคดีแห่งประวัติศาสตร์แห่งชาติ คดีธรรมกาย -----


    อย่างนี้เค้าเรียก มิจฉาทิฐิ รึเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  14. OLDMAN AND A CAR

    OLDMAN AND A CAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +2,752
    ...ขออนุโมทนา กับความเห็นนี้อย่างมากๆ...วัดที่ใหน ก็ ตาม ล้วนสำเร็จได้ ด้วยแรงใจ และ กำลังทรัพย์ และ ศรัทธา จาก พุทธบริษัท แม้ว่า จะ เป็นการทำบุญเพื่ออามิสบูชา...แต่ก็ยัง จัดว่า เป็นบุญกุศล...ส่วนใครทำอะไร ดี หรือ ไม่ดี อย่างไร.. ไม่เกี่ยวกับวัด.. เป็นเรื่อง ที่ใครหรือ ที่บุคคลนั้นๆ จะ ต้อง รับผลแห่งการกระทำด้วยตนเอง....

    ..ผมเอง และ ครอบครัว เคยเป็น ผู้นำบุญของวัดนี้มาก่อน...และ ได้ร่วมแรงใจ แรงทรัพย์ ในการจัดสร้าง มหาธรรมกายเจดีย์ และ พระพุทธรูปประจำตัวมาแล้ว เป็นอุบาสกแก้วรุ่นแรก ของ วัด..แม้ในปัจจุบัน จะ ไม่ได้ ทำบุญที่วัดนี้แล้ว ก็ ตาม แต่ ก็ เป็นเพราะ เห็นว่า วัดไปได้ดีแล้ว...ขอไปทำบุญ ในสิ่งและ สถานที่ ที่ ที่ยังมีความขาดแคลนมากๆ ตามจริตตน...
     
  15. TKKH

    TKKH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +554
    "...ผู้ไม่รู้ทั่วถึงธรรม ย่อมถูกชักนำไปในคำพูดของผู้อื่นได้ง่าย..."

    “...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักข้อหนึ่ง ที่มีโทษมาก เหมือนมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด)นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลาย มีมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอย่างยิ่ง”
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p

    เป็นพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ในสมัยพุทธกาล ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเข้ากันได้กับกรณีของ สำนักธรรมกายได้ดีที่สุด ผมขอยกตัวอย่างและอธิบายเปรียบเทียบคำสอน สำนักธรรมกาย กับคำสอนของศาสนาพุทธ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำสอนหลักๆที่เป็นปัญหาของสำนักธรรมกาย ที่พยายามอ้างอิงคำสอนของศาสนาพุทธก็คือ สำนักธรรมกายสอนว่า <O:p
    - นิพพานเป็นอัตตา<O:p</O:p
    - อายตนนิพพาน มีตั้งอยู่ มีขนาดกว้างยาว มีพื้นที่ชัดเจน<O:p</O:p
    - พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ยังมีอยู่ ในอายตนนิพพาน เรียกว่า พระนิพพาน เข้านิโรธสมาบัติอยู่ สามารถกวนข้าวทิพย์ไปถวายพระพุทธเจ้าได้<O:p</O:p
    - เน้นการทำบุญ สร้างบารมี มีผ่อนได้ โดยมุ่งหวังสภาวะหรือภพภูมิที่ดี และจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ “อายตนนิพพาน” <O:p</O:p
    - การเล่าเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ เพื่อสร้างศรัทธา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ลองมาดูรายละเอียดกัน จากเอกสารของสำนักธรรมกาย ที่สอนว่า<O:p</O:p
    "...นิพพานนั้นคือ กายธรรม ที่ได้บรรลุ อรหัตผลแล้ว...พระนิพพานนี้ประทับอยู่ในอายตนะนิพพาน...อายตนนิพพานก็มีหน้าที่ดึงดูดพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เข้าไปสู่อายตนะของตน สถานอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าเรียกว่า "อายตนนิพพาน" ส่วนพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในอายตนนิพพานนั้น เราเรียกว่า "พระนิพพาน"...อายตนนิพพานคือที่ประทับของ พระนิพพาน(ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตผลแล้ว) ที่เข้าอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว...ในอายตนนิพพานนั้นมีแต่พระนิพพาน ซึ่งทรงประทับเข้านิโรธสงบตลอดกันหมด ไม่มีการไปมาหาสู่กันดังเช่นสัตว์โลกทั้งหลาย ที่เห็นกันอยู่ในภพสามนี้..."อายตนนิพพาน" มีลักษณะกลมรอบตัวขาวใสบริสุทธิ์ จนกระทั่งมีรัศมีปรากฏ ขนาดของอายตนนิพพานนั้น วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ราว 141,330,000(หนึ่งร้อยสิบสี่ล้านสามแสนสามหมื่น)โยชน์ ขอบของอายตนนิพพานหนาด้านละ 15,120,000(สิบห้าล้านหนึ่งแสนสองหมื่น)โยชน์ รอบขอบทั้งสองด้านเป็น 30,240,000(สามสิบล้านสองแสนสี่หมื่น)โยชน์ ขอบนี้ก็กลมรอบตัวเช่นเดียวกัน ส่วนเน้อที่ๆอยู่ในขอบเท่าไร เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าทังสิ้น ในนิพพานเป็นสถานที่โอ่โถง ปราศจากสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น สว่างไสวไปด้วยรัศมีธรรมอันโชติช่วง ปราศจากความสว่างจากรัศมีอื่นใด...อายตนะนิพพานนี้มีอยู่ สูงขึ้นไปจากภพ 3 นี้ เลยออกไปจากขอบเนวสัญญานาสัญญายตนะภพ ส่วน "พระนิพพาน” นั้นคือ กายธรรมที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว กายเหล่านี้มี กาย หัวใจ ดวงจิต และดวงวิญญาณวัดตัดกลาง 20 วา เท่ากันทั้งสิ้น หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา เกศดอกบัวตูมขาวใสบริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏ พระนิพพานนี้ประทับอยู่ในในอายตนะนิพพาน บางพระองค์ที่เป็นพระสัพพัญญพุทธเจ้า ก็ทรงประทับอยู่ท่ามกลางพระอรหันตสาวกบริวาร เป็นจำนวนมาก บางพระองค์เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มิได้เคยสั่งสอนหรือโปรดผู้ใดมาก่อนในสมัยที่ยังมีพระชนม์อยู่ องค์นั้นก็ประทับโดดเดี่ยวอยู่โดยลำพัง หาวาวกบริวารมิได้ ส่วนรังสีที่ปารกฏ ก็เป็นเครื่องบอกให้รู้ถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นว่า มาน้อยกว่ากันเพียงไร แค่ไหน...”
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทีนี้ลองมาดูของศาสนาพุทธกันบ้าง พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงนิพพานไว้ว่า

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ซึ่งไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีลม ไม่มีไฟ ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอายตนะนั้นแม้เราตถาคตก็กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการมา กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการไป กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการตั้งอยู่ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการจุติเคลื่อนย้าย ตาย กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการเกิดขึ้นอายตนะนั้นไม่มีตั้งอยู่โดยแท้ ไม่มีการเป็นไปโดยแท้ ไม่มีอารมณ์โดยแท้ นี้นั่นแลคือที่สุดแห่งทุกข์
    <O:p</O:p
    ในพระไตรปิฎกของศาสนาพุทธไม่ปรากฏมีคำว่า "อายตนนิพพาน" เลยสักแห่งเดียว(ลองไปค้นดู) มีกล่าวถึงบ้างดังตัวอย่างพุทธพจน์ที่ยกมานี้ ก็มีแต่คำว่า "อายตนะนั้นมีอยู่" ซึ่งหมายถึง สภาวะที่สามารถรู้ได้คือนิพพานนั้นมีอยู่ และชัดเจนกว่านั้นคือที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้อีกว่า อายตนะนั้นไม่มีตั้งอยู่โดยแท้ ไม่มีการเป็นไปโดยแท้ ไม่มีอารมณ์โดยแท้
    แต่ "นิพพาน" ของสำนักธรรมกายนั้นมีที่ตั้งมีขนาดชัดเจน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ลองพิจารณาเปรียบเทียบกันด้วยปัญญาของท่านเองดูก่อนนะครับ<O:p</O:p


    แล้วค่อยมาดูกันต่อ เป็นข้อๆไป<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  16. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    วัดธรรมกายก็เฉยๆๆ ชอบเฉพาะตอนที่นั่งสมาธิ
    แต่อย่างอื่น เหม่งๆๆ ตั้งแต่
    v
    v
    v
    v
    v
    v
    v


    <CENTER>
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]</CENTER><CENTER>เคยเห็นไหม..เครื่องประดับชาวสวรรค์วัดธรรมกาย
    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>



    มีคนแนะนำให้เข้าไปอ่านกระทู้หนึ่งใน pantip น่ะค่ะ
    ก็เลยขออนุญาตเจ้าของเอามาเผยแพร่ต่ออีกที
    ดูเอาเองก็แล้วกันเน้อ ไม่รู้จะเกริ่นเริ่มอย่างไร.....
    [​IMG]

    หมวดสร้อยคอ...
    [​IMG]
    เก๋ไก๋จริงด้วย..แต่ทำไมเหลือลูกชิ้นลูกเดียว?
    [​IMG]
    ขาดปลาร้าไป ไม่ครบเครื่องค่ะ
    [​IMG]
    ถ้าทำบุญด้วยข้าวหลามคงหนักคอพิลึก!

    หมวดแหวน...
    [​IMG]
    งั้นก็ต้องมีแหวนข้าวเหนียวด้วยเป็นแน่แท้...
    [​IMG]
    ต้องเป็นช็อกโกแล็ตหุ้มเยลลี่ ชัวร์!
    [​IMG]
    ฮ้า! งี้ทำบุญด้วยไอติมกะทิดีกว่า จะได้ออกมาเป็นแหวนเพชร
    [​IMG]
    วงนี้ดีไซน์เก๋ แต่เวลาใส่จริงจะลำบากนะคะ หัวแหวนยื่นออกมามากไป
    [​IMG]
    ไม่แน่ใจว่าจากอานิสงค์แห่งการช่วยแมวหรือถวายแมว..?
    [​IMG]
    ก็ว่ากันไป....
    [​IMG]
    คงหมายถึงแก่ๆ แล้วอย่าเอาแต่รักสวยรักงามใช่ไหม?

    ทรงเครื่องใหญ่...
    [​IMG]
    แฟชั่นการกุศลมีให้เห็นถมไป..เดินแบบประกอบงานกฐินจะเป็นไรมีเล่า

    ที่มา...
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    http://www.thaiseoboard.com/index.php?PHPSESSID=oir7no77lk3pno6i64epgalbs5&topic=32778.20
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2009
  17. d.risuta

    d.risuta สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +4
    สาธุ.. อนุโมทนากับคำตอบของคุณปัทมินทร์

    วัดพระธรรมกาย เป็นวัดที่นำคำสอนขององค์พระบรมศาสดามาสั่งสอนเช่นเดียวกับวัดอื่นๆครับ วัดนี้ก็สอนในด้านการบำเพ็ญบุญบารมี อันมี ทาน ศีล ภาวนา เช่นกันครับ

    วัดที่ยั่งไม่พัฒนา เพราะไม่พัฒนา
    ทำบุญกับพระอรหันต์ดีกว่าครับ

    \\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\

    หลวงตามหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด ของแท้????

    งมงายมากเกินไป?
    งมงายมากเกินไป?
    งมงายมากเกินไป?


    ____________________

    คนรวย ทำมาก เพราะเขามีมาก
    คนจน ทำน้อย เพราะเขามีน้อย
    แต่ถ้าเจตนาของทั้ง คนรวยและคนจน มีเท่าเทียมกัน บุญก็ได้เท่ากันครับ
    เพราะบุญเกิดขึ้นตั้งแต่คนเหล่านั้นเจตนาแล้ว บุญเค้าไม่ได้มาตัดสินที่จำนวนเงินหรอกครับ
    _____
    แท้


    อนุโมทนา
     
  18. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed; empty-cells: show" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'"><TD class=smalltext style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'" vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed; empty-cells: show" width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'"><TD style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'" vAlign=top width="85%" height="100%">เอารูปมาเสริมให้ [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]






    </TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'"><TD class=smalltext style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'" vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed; empty-cells: show" width="100%" border=0><TBODY><TR style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'"><TD class=smalltext style="FONT-SIZE: 10pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'" width="100%" colSpan=2></TD></TR><TR style="FONT-SIZE: 12pt; COLOR: rgb(0,0,0); FONT-FAMILY: Tahoma, helvetica, 'MS Sans Serif'"></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.thaiseoboard.com/index.php?PHPSESSID=oir7no77lk3pno6i64epgalbs5&topic=32778.20
    </TD></TR></TBODY></TABLE></SPAN></SPAN>
     
  19. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,612
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ถ้าใครมีโอกาสศึกษาคำสอนก็จะเข้าใจว่าเนื้อหาโอเคเลยครับ

    ส่วนรูปแบบการหาทุนหรือการรับบริจาคนั้น แล้วแต่วิจารณญาณแต่ละท่านครับ

    แต่อยากจะฝากว่า สิ่งใดที่เราไม่รู้และเราไปตัดสินใจด้วยความไม่รู้นั้น

    เสี่ยงต่อการปรามาส ซึ่งกันและกันครับ ดังนั้น "อุเบกขา" ดีกว่าครับ

    โมทนาสิ่งดีๆที่ทางวัดทำครับ อันไหนสงสัยก็วางเฉยดีกว่า จะได้ไม่ขาดทุนครับ
     
  20. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    โดยส่วนตัวนับถือหลวงปู่สดนะคะ^^
    แต่ด้านอื่นๆๆ เริ่มมีกลิ่นตุๆๆน่ะค่ะ
    โพสท์ไว้ โปรดใช้วิจารณญาณในการชมค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...