พม่า ศรีลังกา ธิเบต

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย xxonnn, 24 เมษายน 2011.

  1. xxonnn

    xxonnn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    เห็นมีหลายคำทำนายที่บอกว่าไทยจะเหลือรอดเยอะสุด เพราะเราเป็นประเทศนับถือพุทธ กันมาก แล้วอย่าง พม่า ศรีลังกา ธิเบต จะเป็นอย่างไรมั่งครับ เท่าที่ดูสารคดี ประชาชนเค้าดูเหมือนจะเคร่งครัดในเรื่องศีลมากกว่าบ้านเราด้วยโดยเฉพาะธิเบต เวลา ตายยังเอาร่างบริจาคให้ แร้งกิน แทนการเผา เลย
     
  2. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    <table class="wikitable"> <tbody> <tr> <th>อันดับ</th> <th>ประเทศ/เขตปกครองพิเศษ</th> <th>จำนวนประชากร</th> <th>วันที่อัปเดต
    ครั้งหลังสุด</th> <th> % ประชากรเทียบ
    กับประชากรโลก</th> <th class="unsortable">แหล่งอ้างอิง</th></tr> <tr> <td>—</td> <td> โลก</td> <td>6,907,600,000</td> <td>
    </td> <td>100%</td> <td><small>US Census – International Programs Department</small></td></tr> <tr> <td>1</td> <td> จีน
    <small>ไม่นับรวมเขตปกครองพิเศษ</small></td> <td>1,343,890,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>19.46%</td> <td><small>Chinese Population clock</small></td></tr> <tr> <td>2</td> <td> อินเดีย</td> <td>1,193,650,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>17.28%</td> <td><small>Indian Population clock</small></td></tr> <tr> <td>3</td> <td> สหรัฐอเมริกา</td> <td>311,990,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>4.52%</td> <td><small>Official USA Population clock</small></td></tr> <tr> <td>4</td> <td> อินโดนีเซีย</td> <td>231,369,500</td> <td>
    </td> <td>3.35%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>5</td> <td> บราซิล</td> <td>194,695,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>2.82%</td> <td><small>Official Brazilian population clock</small></td></tr> <tr> <td>6</td> <td> ปากีสถาน</td> <td>172,410,500</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>2.5%</td> <td><small>Official Pakistani Population clock</small></td></tr> <tr> <td>7</td> <td> บังกลาเทศ</td> <td>162,221,000</td> <td>
    </td> <td>2.35%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>8</td> <td> ไนจีเรีย</td> <td>154,729,000</td> <td>
    </td> <td>2.24%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>9</td> <td> รัสเซีย</td> <td>141,842,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>2.05%</td> <td><small>Russian State Statistics Service</small></td></tr> <tr> <td>10</td> <td> ญี่ปุ่น</td> <td>127,590,000</td> <td>1 สิงหาคม 2009</td> <td>1.85%</td> <td><small>Official Japan Statistics Bureau estimate</small></td></tr> <tr> <td>11</td> <td> เม็กซิโก</td> <td>107,550,697</td> <td>กลางปี 2009</td> <td>1.56%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%"><small>INEGI estimate</small> <small>National Population Statistics of Mexico</small>
    </td></tr> <tr> <td>12</td> <td> ฟิลิปปินส์</td> <td>92,222,660</td> <td>กลางปี 2009</td> <td>1.34%</td> <td><small>National Statistics Office medium projection</small></td></tr> <tr> <td>13</td> <td> เวียดนาม</td> <td>90,549,390</td> <td>กรกฎาคม 2011</td> <td>1.31%</td> <td><small>CIA Factbook about Vietnam</small></td></tr> <tr> <td>14</td> <td> เยอรมนี</td> <td>82,046,000</td> <td>30 พฤศจิกายน 2008</td> <td>1.19%</td> <td><small>Federal Statistical Office</small></td></tr> <tr> <td>15</td> <td> เอธิโอเปีย</td> <td>79,221,000</td> <td>กรกฎาคม 2008</td> <td>1.15%</td> <td><small>Ethiopia Central Statistics Agency</small></td></tr> <tr> <td>16</td> <td> อียิปต์</td> <td>78,945,000</td> <td>4 กันยายน 2010</td> <td>1.12%</td> <td><small>Official Egyptian population clock</small></td></tr> <tr> <td>17</td> <td> อิหร่าน</td> <td>74,196,000</td> <td>
    </td> <td>1.07%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>18</td> <td> ตุรกี</td> <td>71,517,100</td> <td>31 ธันวาคม 2008</td> <td>1.04%</td> <td><small>Turkish Statistical Institute estimate</small></td></tr> <tr> <td>19</td> <td> ไทย</td> <td>67,354,820</td> <td>31 ธันวาคม 2010</td> <td>0.98%</td> <td><small>สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร</small></td></tr> <tr> <td>20</td> <td> สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก</td> <td>66,020,000</td> <td>
    </td> <td>0.96%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>21</td> <td> ฝรั่งเศส
    <small>รวมดินแดนโพ้นทะเลอีก 7 แห่ง</small></td> <td>65,073,482
    <small>เฉพาะฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่
    คิดเป็น 64,303,482 คน </small></td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.94%</td> <td><small>Official INSEE estimate</small></td></tr> <tr> <td>22</td> <td> สหราชอาณาจักร</td> <td>61,634,599</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.89%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>23</td> <td> อิตาลี</td> <td>57,354,820</td> <td>กันยายน 2010</td> <td>0.87%</td> <td><small>ISTAT estimate</small></td></tr> <tr> <td>24</td> <td> พม่า</td> <td>50,020,000</td> <td>
    </td> <td>0.72%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>25</td> <td> แอฟริกาใต้</td> <td>49,320,000</td> <td>1 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.71%</td> <td><small>Statistics South Africa</small></td></tr> <tr> <td>26</td> <td> เกาหลีใต้</td> <td>48,333,000</td> <td>
    </td> <td>0.7%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>27</td> <td> ยูเครน</td> <td>46,029,281</td> <td>1 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.67%</td> <td><small>Official UKRSTAT estimate</small></td></tr> <tr> <td>28</td> <td> สเปน</td> <td>45,929,476</td> <td>1 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.66%</td> <td><small>Official INE estimate</small></td></tr> <tr> <td>29</td> <td> โคลอมเบีย</td> <td>45,094,646</td> <td>18 กันยายน 2009</td> <td>0.65%</td> <td><small>Official Colombian Population clock</small></td></tr> <tr> <td>30</td> <td> แทนซาเนีย</td> <td>43,739,000</td> <td>
    </td> <td>0.63%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>31</td> <td> ซูดาน</td> <td>42,272,000</td> <td>
    </td> <td>0.61%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>32</td> <td> อาร์เจนตินา</td> <td>40,134,425</td> <td>30 มิถุนายน 2009</td> <td>0.58%</td> <td><small>Official INDEC estimate</small></td></tr> <tr> <td>33</td> <td> เคนยา</td> <td>39,802,000</td> <td>
    </td> <td>0.58%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>34</td> <td> โปแลนด์</td> <td>38,100,700</td> <td>ธันวาคม 2009</td> <td>0.55%</td> <td><small>Official Central Statistics Office of Poland</small></td></tr> <tr> <td>35</td> <td> แอลจีเรีย</td> <td>34,895,000</td> <td>
    </td> <td>0.51%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>36</td> <td> แคนาดา</td> <td>34,400,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>0.5%</td> <td><small>Official Canadian Population clock</small></td></tr> <tr> <td>37</td> <td> ยูกันดา</td> <td>32,710,000</td> <td>
    </td> <td>0.47%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>38</td> <td> โมร็อกโก</td> <td>31,591,183</td> <td>22 กันยายน 2009</td> <td>0.46%</td> <td><small>Official Moroccan Population clock</small></td></tr> <tr> <td>39</td> <td> อิรัก</td> <td>30,747,000</td> <td>
    </td> <td>0.45%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>40</td> <td> เนปาล</td> <td>29,331,000</td> <td>
    </td> <td>0.42%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>41</td> <td> เปรู</td> <td>29,132,013</td> <td>30 มิถุนายน 2009</td> <td>0.42%</td> <td><small>Official INEI estimate</small></td></tr> <tr> <td>42</td> <td> เวเนซุเอลา</td> <td>28,482,150</td> <td>18 กันยายน 2009</td> <td>0.41%</td> <td><small>Official Venezuelan Population clock</small></td></tr> <tr> <td>43</td> <td> อัฟกานิสถาน</td> <td>28,150,000</td> <td>
    </td> <td>0.41%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>44</td> <td> อุซเบกิสถาน</td> <td>27,488,000</td> <td>
    </td> <td>0.4%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>45</td> <td> มาเลเซีย</td> <td>27,468,000</td> <td>
    </td> <td>0.4%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>46</td> <td> ซาอุดีอาระเบีย</td> <td>25,721,000</td> <td>
    </td> <td>0.37%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>47</td> <td> เกาหลีเหนือ</td> <td>24,051,706</td> <td>
    </td> <td>0.35%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>48</td> <td> กานา</td> <td>23,837,000</td> <td>
    </td> <td>0.34%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>49</td> <td> เยเมน</td> <td>23,580,000</td> <td>
    </td> <td>0.34%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>50</td> <td> ไต้หวัน
    <small>และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ
    ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นหมู่เกาะไต้หวัน</small></td> <td>23,069,345</td> <td>30 มิถุนายน 2009</td> <td>0.33%</td> <td><small>Official National Statistics Taiwan estimate</small></td></tr> <tr> <td>51</td> <td> โมซัมบิก</td> <td>22,894,000</td> <td>
    </td> <td>0.33%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>52</td> <td> ออสเตรเลีย
    <small>รวมเกาะคริสต์มาส หมู่เกาะโคโคส์ และเกาะนอร์ฟอล์ก</small></td> <td>22,514,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>0.33%</td> <td><small>Official Australian Population clock</small></td></tr> <tr> <td>53</td> <td> ซีเรีย</td> <td>21,906,000</td> <td>
    </td> <td>0.32%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>54</td> <td> โรมาเนีย</td> <td>21,498,616</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.31%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>55</td> <td> โกตดิวัวร์</td> <td>21,075,000</td> <td>
    </td> <td>0.31%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>56</td> <td> ศรีลังกา</td> <td>20,238,000</td> <td>
    </td> <td>0.29%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>57</td> <td> มาดากัสการ์</td> <td>19,625,000</td> <td>
    </td> <td>0.28%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>58</td> <td> แคเมอรูน</td> <td>19,522,000</td> <td>
    </td> <td>0.28%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>59</td> <td> แองโกลา</td> <td>18,498,000</td> <td>
    </td> <td>0.27%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>60</td> <td> ชิลี</td> <td>17,229,000</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>0.25%</td> <td><small>Official INE projection (p. 36)</small></td></tr> <tr> <td>61</td> <td> เนเธอร์แลนด์</td> <td>16,540,092</td> <td>18 กันยายน 2009</td> <td>0.24%</td> <td><small>Official Netherlands population clock</small></td></tr> <tr> <td>62</td> <td> คาซัคสถาน</td> <td>15,776,492</td> <td>1 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.23%</td> <td><small>National Statistics Agency estimate</small></td></tr> <tr> <td>63</td> <td> บูร์กินาฟาโซ</td> <td>15,757,000</td> <td>
    </td> <td>0.23%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>64</td> <td> ไนเจอร์</td> <td>15,290,000</td> <td>
    </td> <td>0.22%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>65</td> <td> มาลาวี</td> <td>15,263,000</td> <td>
    </td> <td>0.22%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>66</td> <td> กัมพูชา</td> <td>14,805,000</td> <td>
    </td> <td>0.21%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>67</td> <td> เอกวาดอร์</td> <td>14,048,296</td> <td>18 กันยายน 2009</td> <td>0.2%</td> <td><small>Official Ecuadorian population clock</small></td></tr> <tr> <td>68</td> <td> กัวเตมาลา</td> <td>14,027,000</td> <td>
    </td> <td>0.2%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>69</td> <td> มาลี</td> <td>13,010,000</td> <td>
    </td> <td>0.19%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>70</td> <td> แซมเบีย</td> <td>12,935,000</td> <td>
    </td> <td>0.19%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>71</td> <td> เซเนกัล</td> <td>12,534,000</td> <td>
    </td> <td>0.18%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>72</td> <td> ซิมบับเว</td> <td>12,523,000</td> <td>
    </td> <td>0.18%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>73</td> <td> กรีซ</td> <td>11,257,285</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.16%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>74</td> <td> ชาด</td> <td>11,206,000</td> <td>
    </td> <td>0.16%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>75</td> <td> คิวบา</td> <td>11,204,000</td> <td>
    </td> <td>0.16%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>76</td> <td> เบลเยียม</td> <td>10,754,528</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.16%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>77</td> <td> โปรตุเกส</td> <td>10,627,250</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.15%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>78</td> <td> สาธารณรัฐเช็ก</td> <td>10,467,542</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.15%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>79</td> <td> ตูนิเซีย</td> <td>10,327,800</td> <td>1 กรกฎาคม 2008</td> <td>0.15%</td> <td><small>National Statistics Institute of Tunisia</small></td></tr> <tr> <td>80</td> <td> สาธารณรัฐโดมินิกัน</td> <td>10,090,000</td> <td>
    </td> <td>0.15%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>81</td> <td> กินี</td> <td>10,069,000</td> <td>
    </td> <td>0.15%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>82</td> <td> เฮติ</td> <td>10,033,000</td> <td>
    </td> <td>0.15%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>83</td> <td> ฮังการี</td> <td>10,031,208</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.15%</td> <td><small>Eurostat estimate</small></td></tr> <tr> <td>84</td> <td> รวันดา</td> <td>9,998,000</td> <td>
    </td> <td>0.14%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>85</td> <td> โบลิเวีย</td> <td>9,863,000</td> <td>
    </td> <td>0.14%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>86</td> <td>[​IMG] เซอร์เบีย
    <small>นับรวมคอซอวอ</small></td> <td>9,850,000</td> <td>
    </td> <td>0.14%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>87</td> <td> เบลารุส</td> <td>9,671,900</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.14%</td> <td><small>Official statistics of Belarus</small></td></tr> <tr> <td>88</td> <td> สวีเดน</td> <td>9,302,133</td> <td>31 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.13%</td> <td><small>Statistics Sweden</small></td></tr> <tr> <td>89</td> <td> โซมาเลีย
    <small>นับรวมโซมาลิแลนด์</small></td> <td>9,133,000</td> <td>
    </td> <td>0.13%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>90</td> <td> เบนิน</td> <td>8,935,000</td> <td>
    </td> <td>0.13%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>91</td> <td> อาเซอร์ไบจาน</td> <td>8,629,900</td> <td>1 มกราคม 2008</td> <td>0.12%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[2]</td></tr> <tr> <td>92</td> <td> ออสเตรีย</td> <td>8,355,260</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.12%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>93</td> <td> บุรุนดี</td> <td>8,303,000</td> <td>
    </td> <td>0.12%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาตื</td></tr> <tr> <td>94</td> <td> สวิตเซอร์แลนด์</td> <td>7,745,900</td> <td>31 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.11%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official Switzerland Statistics estimate</td></tr> <tr> <td>95</td> <td> บัลแกเรีย</td> <td>7,606,551</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.11%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>96</td> <td> ฮอนดูรัส</td> <td>7,466,000</td> <td>
    </td> <td>0.11%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>97</td> <td> อิสราเอล</td> <td>7,446,700
    <small>ประมาณการเมื่อกลางปี ค.ศ. 2009 ของ
    สหประชาชาติอยู่ที่ 7,170,000 คน โดย
    ไม่นับรวมผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์</small></td> <td>31 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.11%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Israeli Central Bureau of Statistics</td></tr> <tr> <td>98</td> <td> ฮ่องกง</td> <td>7,008,900</td> <td>31 ธันวาคม 2008</td> <td>0.101%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Hong Kong Census and Statistics Department</td></tr> <tr> <td>99</td> <td> ทาจิกิสถาน</td> <td>6,952,000</td> <td>
    </td> <td>0.101%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>100</td> <td> ลาว</td> <td>6,835,345</td> <td>กรกฎาคม 2009</td> <td>0.099%</td> <td>[3]</td></tr> <tr> <td>101</td> <td> ปาปัวนิวกินี</td> <td>6,732,000</td> <td>
    </td> <td>0.097%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>102</td> <td> โตโก</td> <td>6,619,000</td> <td>
    </td> <td>0.096%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>103</td> <td> ลิเบีย</td> <td>6,420,000</td> <td>
    </td> <td>0.093%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>104</td> <td> ปารากวัย</td> <td>6,349,000</td> <td>
    </td> <td>0.092%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>105</td> <td> จอร์แดน</td> <td>6,316,000</td> <td>
    </td> <td>0.091%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>106</td> <td> เอลซัลวาดอร์</td> <td>6,163,000</td> <td>
    </td> <td>0.089%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>107</td> <td> นิการากัว</td> <td>5,743,000</td> <td>
    </td> <td>0.083%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>108</td> <td> เซียร์ราลีโอน</td> <td>5,696,000</td> <td>
    </td> <td>0.082%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>109</td> <td> เดนมาร์ก</td> <td>5,519,441</td> <td>30 มิถุนายน 2009</td> <td>0.08%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistics Denmark</td></tr> <tr> <td>110</td> <td> คีร์กีซสถาน</td> <td>5,482,000</td> <td>
    </td> <td>0.079%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>111</td> <td> สโลวาเกีย</td> <td>5,413,548</td> <td>31 มีนาคม 2009</td> <td>0.078%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistics Slovakia</td></tr> <tr> <td>112</td> <td> ฟินแลนด์
    <small>รวม เกาะโอลันด์</small></td> <td>5,347,277</td> <td>6 ตุลาคม 2009</td> <td>0.077%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official Finnish Population clock</td></tr> <tr> <td>113</td> <td> เติร์กเมนิสถาน</td> <td>5,110,000</td> <td>
    </td> <td>0.074%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>114</td> <td> สิงคโปร์</td> <td>5,076,700</td> <td>กลางปี 2010</td> <td>0.073%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistics Singapore</td></tr> <tr> <td>115</td> <td> เอริเทรีย</td> <td>5,073,000</td> <td>
    </td> <td>0.073%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>116</td> <td> นอร์เวย์
    <small>รวม สวอลบาร์ด (2,701) และ เกาะยานมาเยน</small></td> <td>4,839,600</td> <td>8 ตุลาคม 2009</td> <td>0.07%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official Norwegian Population clock</td></tr> <tr> <td>117</td> <td> สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์</td> <td>4,599,000</td> <td>
    </td> <td>0.067%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>118</td> <td> คอสตาริกา</td> <td>4,579,000</td> <td>
    </td> <td>0.066%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>119</td> <td> ไอร์แลนด์</td> <td>4,459,300</td> <td>1 เมษายน 2009</td> <td>0.064%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Irish Central Statistics Office estimate</td></tr> <tr> <td>120</td> <td> โครเอเชีย</td> <td>4,435,056</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.064%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>121</td> <td> สาธารณรัฐแอฟริกากลาง</td> <td>4,422,000</td> <td>
    </td> <td>0.064%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>122</td> <td> จอร์เจีย
    <small>รวมสาธารณรัฐอับาคาเซีย (216,000) และเซาท์ออสซีเซีย (70,000)</small></td> <td>4,385,400</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.063%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistics Georgia</td></tr> <tr> <td>123</td> <td> นิวซีแลนด์</td> <td>4,393,500</td> <td>23 เมษายน 2011</td> <td>0.062%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official New Zealand Population clock</td></tr> <tr> <td>124</td> <td> เลบานอน</td> <td>4,224,000</td> <td>
    </td> <td>0.061%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>125</td> <td> เปอร์โตริโก</td> <td>3,982,000</td> <td>
    </td> <td>0.058%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>126</td> <td> บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา</td> <td>3,767,000</td> <td>
    </td> <td>0.055%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>127</td> <td> ปาเลสไตน์</td> <td>3,761,646</td> <td>1 ธันวาคม 2007</td> <td>0.054%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">2007 Palestinian Bureau Census</td></tr> <tr> <td>128</td> <td> สาธารณรัฐคองโก</td> <td>3,683,000</td> <td>
    </td> <td>0.053%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>129</td> <td> มอลโดวา
    <small>รวม ทรานนิสเตรีย (555,347)</small></td> <td>3,567,500</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.052%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">National Bureau of Statistics of Moldova</td></tr> <tr> <td>130</td> <td> ไลบีเรีย</td> <td>3,476,608</td> <td>มีนาคม 2008</td> <td>0.05%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">2008 Population and Housing Census</td></tr> <tr> <td>131</td> <td> ปานามา</td> <td>3,454,000</td> <td>
    </td> <td>0.05%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>132</td> <td> อุรุกวัย</td> <td>3,361,000</td> <td>
    </td> <td>0.049%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>133</td> <td> ลิทัวเนีย</td> <td>3,349,872</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.048%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>134</td> <td> มอริเตเนีย</td> <td>3,291,000</td> <td>
    </td> <td>0.048%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>135</td> <td> อาร์เมเนีย</td> <td>3,230,100</td> <td>1 มกราคม 2008</td> <td>0.043%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[4]</td></tr> <tr> <td>136</td> <td> แอลเบเนีย</td> <td>3,170,000</td> <td>1 มกราคม 2008</td> <td>0.046%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[5]</td></tr> <tr> <td>137</td> <td> คูเวต</td> <td>2,985,000</td> <td>
    </td> <td>0.043%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>138</td> <td> โอมาน</td> <td>2,845,000</td> <td>
    </td> <td>0.041%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>139</td> <td> จาเมกา</td> <td>2,719,000</td> <td>
    </td> <td>0.039%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>140</td> <td> มองโกเลีย</td> <td>2,671,000</td> <td>
    </td> <td>0.039%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>141</td> <td> ลัตเวีย</td> <td>2,257,300</td> <td>พฤษภาคม 2009</td> <td>0.033%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official Statistics of Latvia</td></tr> <tr> <td>142</td> <td> นามิเบีย</td> <td>2,171,000</td> <td>
    </td> <td>0.031%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>143</td> <td> เลโซโท</td> <td>2,067,000</td> <td>
    </td> <td>0.03%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>144</td> <td> มาซิโดเนีย</td> <td>2,048,620</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.03%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>145</td> <td> สโลวีเนีย</td> <td>2,047,009</td> <td>4 ตุลาคม 2009</td> <td>0.03%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official Slovenian population clock</td></tr> <tr> <td>146</td> <td> บอตสวานา</td> <td>1,950,000</td> <td>
    </td> <td>0.028%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>147</td> <td> แกมเบีย</td> <td>1,705,000</td> <td>
    </td> <td>0.025%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>148</td> <td> กินี-บิสเซา</td> <td>1,611,000</td> <td>
    </td> <td>0.023%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>149</td> <td> กาบอง</td> <td>1,475,000</td> <td>
    </td> <td>0.021%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>150</td> <td> กาตาร์</td> <td>1,409,000</td> <td>
    </td> <td>0.02%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>151</td> <td> เอสโตเนีย</td> <td>1,340,415</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.019%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[6]</td></tr> <tr> <td>152</td> <td> ตรินิแดดและโตเบโก</td> <td>1,339,000</td> <td>
    </td> <td>0.019%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>153</td> <td> มอริเชียส
    <small>รวม อากาเลอกา, เกาะโรดริเกส และ คาร์กาดอส</small></td> <td>1,288,000</td> <td>
    </td> <td>0.019%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>154</td> <td> สวาซิแลนด์</td> <td>1,185,000</td> <td>
    </td> <td>0.017%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>155</td> <td> ติมอร์ตะวันออก</td> <td>1,134,000</td> <td>
    </td> <td>0.016%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>156</td> <td> จิบูตี</td> <td>864,000</td> <td>
    </td> <td>0.013%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>157</td> <td> ฟิจิ</td> <td>849,000</td> <td>
    </td> <td>0.012%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>158</td> <td> ไซปรัส
    <small>รวม นอร์เทิร์นไซปรัส</small></td> <td>793,963</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.011%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>159</td> <td> บาห์เรน</td> <td>791,000</td> <td>
    </td> <td>0.011%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>160</td> <td> กายอานา</td> <td>762,000</td> <td>
    </td> <td>0.011%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>161</td> <td> ภูฏาน</td> <td>697,000</td> <td>
    </td> <td>0.01%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>162</td> <td> คอโมโรส
    <small>ไม่นับรวมเกาะมายอต</small></td> <td>676,000</td> <td>
    </td> <td>0.01%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>163</td> <td> อิเควทอเรียลกินี<sup class="reference" id="cite_ref-2">[3]</sup></td> <td>676,000</td> <td>
    </td> <td>0.007%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>164</td> <td> มอนเตเนโกร</td> <td>624,000</td> <td>
    </td> <td>0.009%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>165</td> <td> มาเก๊า</td> <td>546,200</td> <td>31 มีนาคม 2009</td> <td>0.008%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Macau Statistics and Census Service</td></tr> <tr> <td>166</td> <td> หมู่เกาะโซโลมอน</td> <td>523,000</td> <td>
    </td> <td>0.007%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>167</td> <td> ซูรินาเม</td> <td>520,000</td> <td>
    </td> <td>0.008%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>168</td> <td> เวสเทิร์นสะฮารา</td> <td>513,000</td> <td>
    </td> <td>0.007%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>169</td> <td> เคปเวิร์ด</td> <td>506,000</td> <td>
    </td> <td>0.007%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>170</td> <td> ลักเซมเบิร์ก</td> <td>493,500</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.007%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>171</td> <td> มอลตา</td> <td>413,627</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.006%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Eurostat estimate</td></tr> <tr> <td>172</td> <td> บรูไน</td> <td>408,146</td> <td>
    </td> <td>0.006%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>173</td> <td> บาฮามาส</td> <td>342,000</td> <td>
    </td> <td>0.005%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>174</td> <td> เบลีซ</td> <td>322,100</td> <td>30 มิถุนายน 2008</td> <td>0.005%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistical Institute of Belize</td></tr> <tr> <td>175</td> <td> ไอซ์แลนด์</td> <td>319,246</td> <td>1 กรกฎาคม 2009</td> <td>0.005%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Statistics Iceland</td></tr> <tr> <td>176</td> <td> มัลดีฟส์</td> <td>309,000</td> <td>
    </td> <td>0.004%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>177</td> <td> บาร์เบโดส</td> <td>256,000</td> <td>
    </td> <td>0.004%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>178</td> <td> วานูอาตู</td> <td>240,000</td> <td>
    </td> <td>0.003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>179</td> <td> เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส</td> <td>198,000</td> <td>
    </td> <td>0.003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>180</td> <td> ซามัว</td> <td>179,000</td> <td>
    </td> <td>0.003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>181</td> <td> กวม</td> <td>178,000</td> <td>
    </td> <td>0.003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>182</td> <td> เซนต์ลูเซีย</td> <td>172,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>183</td> <td> เซาตูเมและปรินซิปี</td> <td>163,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>184</td> <td> ไมโครนีเซีย</td> <td>111,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>185</td> <td> หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา</td> <td>110,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>186</td> <td> เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์</td> <td>109,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>187</td> <td> อารูบา</td> <td>107,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>188</td> <td> เกรเนดา</td> <td>104,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>189</td> <td> ตองกา</td> <td>104,000</td> <td>
    </td> <td>0.002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>190</td> <td> คิริบาส</td> <td>98,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>191</td> <td> เจอร์ซีย์</td> <td>89,300</td> <td>31 ธันวาคม 2006</td> <td>0.001%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[7]</td></tr> <tr> <td>192</td> <td> แอนติกาและบาร์บูดา</td> <td>88,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>193</td> <td> หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา</td> <td>87,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>194</td> <td> อันดอร์รา</td> <td>86,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>195</td> <td> เซเชลส์</td> <td>84,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>196</td> <td> เกาะแมน</td> <td>80,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>197</td> <td> โดมินิกา</td> <td>67,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>198</td> <td> อเมริกันซามัว</td> <td>67,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>199</td> <td> เบอร์มิวดา</td> <td>65,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>200</td> <td> หมู่เกาะมาร์แชลล์</td> <td>62,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>201</td> <td> เกิร์นซีย์</td> <td>61,811</td> <td>1 มีนาคม 2007</td> <td>0.001%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">UN estimate: Series A, Table 2</td></tr> <tr> <td>202</td> <td> กรีนแลนด์</td> <td>57,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>203</td> <td> หมู่เกาะเคย์แมน</td> <td>56,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>204</td> <td> เซนต์คิตส์และเนวิส</td> <td>52,000</td> <td>
    </td> <td>0.001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>205</td> <td> หมู่เกาะแฟโร</td> <td>49,006</td> <td>1 สิงหาคม 2009</td> <td>0.001%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">Official statistics of the Faroe Islands</td></tr> <tr> <td>206</td> <td> ลิกเตนสไตน์</td> <td>35,593</td> <td>1 มกราคม 2009</td> <td>0.0005%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[8]</td></tr> <tr> <td>207</td> <td> โมนาโก</td> <td>33,000</td> <td>
    </td> <td>0.0005%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>208</td> <td> หมู่เกาะเติร์กและไคคอส</td> <td>33,000</td> <td>
    </td> <td>0.0005%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>209</td> <td> ยิบรอลตาร์</td> <td>31,000</td> <td>
    </td> <td>0.0004%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>210</td> <td> ซานมารีโน</td> <td>30,800</td> <td>1 มกราคม 2008</td> <td>0.0004%</td> <td style="FONT-SIZE: 75%">[9]</td></tr> <tr> <td>211</td> <td> หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน</td> <td>23,000</td> <td>
    </td> <td>0.0003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>212</td> <td> หมู่เกาะคุก</td> <td>20,000</td> <td>
    </td> <td>0.0003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>213</td> <td> ปาเลา</td> <td>20,000</td> <td>
    </td> <td>0.0003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>214</td> <td> แองกวิลลา</td> <td>15,000</td> <td>
    </td> <td>0.0002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>215</td> <td> ตูวาลู</td> <td>10,000</td> <td>
    </td> <td>0.0001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>216</td> <td> นาอูรู</td> <td>10,000</td> <td>
    </td> <td>0.0001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>217</td> <td> มอนต์เซอร์รัต</td> <td>5,900</td> <td>
    </td> <td>0.0001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>218</td> <td> เซนต์เฮเลนา
    <small>รวม เกาะแอสเซนชัน และ ทริสตาน ดา คุนหา</small></td> <td>4,500</td> <td>
    </td> <td>0.0001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>219</td> <td> หมู่เกาะฟอล์กแลนด์</td> <td>3,000</td> <td>
    </td> <td>0.00005%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>220</td> <td> นีอูเอ</td> <td>1,500</td> <td>
    </td> <td>0.00003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>221</td> <td> โตเกเลา</td> <td>1,200</td> <td>
    </td> <td>0.00003%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>222</td> <td> นครรัฐวาติกัน</td> <td>800</td> <td>
    </td> <td>0.00002%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr> <tr> <td>223</td> <td> หมู่เกาะพิตแคร์น</td> <td>50</td> <td>
    </td> <td>0.000001%</td> <td>ประมาณการสหประชาชาติ</td></tr></tbody></table>
    รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2011
  3. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    หากดูจากจำนวนประชากรของโลก ไทยอยู่ ลำดับที่ 19
    เปอร์เซ็นต์ของผู้นับถือพุทธศาสนา ก็มากกว่าประเทศอื่นๆ
    ซึ่งภัยจะเบาบาง ตามพุทธทำนาย ไทย มีพุทธสถาน และ
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มากมาย เป็นดินแดนที่จะรักษาพุทธศาสนาไป
    จนครบ 5,000 ปี และมีพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงบารมีธรรม
    ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติแล้ว ก็น่าจะมีผู้รอดภัยพิบัิติมากที่สุด
    ไทย ก็น่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจในยุคศรีวิไลต่อไป
    ตรงตามคำทำนายของพระอริยะเจ้าครับ
     
  4. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    BlogGang.com : : sirivinit :

    พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา


    พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่จากอินเดียสู่ลังกา เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ในอินเดีย

    และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม 9 สายด้วยกัน ใน 9 สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล ได้แก่ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน โดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาและเป็นพระสหายของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ทั้งสองพระองค์ยังไม่เคยพบกัน

    พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศมหาเมฆวันอุทยานเป็นวัด เรียกว่า “ วัดมหาวิหาร ” ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์

    พระพุทธศาสนาเข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นพุทธศาสนาแบบเถรวาท พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย การเดินทางไปสู่ลังกาของพระมหินทเถระในครั้งนั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวลังกา

    เพราะท่านมิเพียงแต่นำเอาพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ท่านยังได้นำเอาอารยะธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม เข้าไปด้วย ลำดับต่อมา พระนางอนุฬาเทวีมเหสีและสตรีบริวารจำนวนมาก ปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง

    พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศก ทูลขอพระนางสังฆมิตตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ด้านทักษิณมาสู่ลังกาทวีป

    และพระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นอุปัชญาย์บรรพชาอุสมบทแก่สตรีชาวลังกาได้ตั้งคณะภิกษุณีขึ้นในลังกา

    สงครามกับชาวทมิฬ และความเสื่อมของพุทธศาสนา

    เมื่อ พ.ศ. 400 เศษ รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามนีอภัย ได้มีพวกทมิฬเข้ามาตีและเข้าครองอนุราธปุระเป็นเวลา 14 ปี จนพระองค์ต้องเสียราชบัลลังก์ เสด็จลี้ภัยไปซ่องสุมกำลัง ระหว่างนั้นทรงได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติสสะ

    ต่อมากลับมาครองราชย์อีกครั้ง ได้ทรงให้ทำการสังคายนา และได้ทำการจารึกพระพุทธพจน์ลงในใบลานเป็นครั้งแรก ได้อุปถัมภ์พระมหาติสสะ พร้อมได้สร้างวัดถวาย คือวัด อภัยคีรีวิหาร จนทำให้พระภิกษุชาวมหาวิหารไม่พอใจ

    จนเป็นเหตุให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมหาวิหาร กับคณะอภัยคีรีวิหาร ตั้งแต่นั้นมาคณะสงฆ์ลังกาได้แตกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แต่ยังเป็นนิกายเถรวาท

    มีลักษณะต่างกันคือ คณะมหาวิหาร ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระธรรมวินัยใด ๆ และยังตำหนิรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็นอลัชชี คณะอภัยคีรีวิหาร เป็นคณะที่เปิดกว้าง ยอมรับเอาความคิดเห็นต่างนิกาย ไม่รังเกียจภิกษุต่างนิกาย

    ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 17 เป็นยุคที่ลังกาเดือดร้อนวุ่นวายเพราะการรุกรานจากอินเดียบ้าง ความไม่สงบภายในบ้าง ในระหว่างยุคนี้เองที่ภิกษุณีสงฆ์สูญสิ้น และพระภิกษุสงฆ์เสื่อม

    จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ทรงมีพระราชประสงค์จะฟื้นฟูศาสนาในปี พ.ศ. 1609 ทรงหาพระภิกษุที่อุปสมบทถูกต้องแทบไม่ครบ 5 รูป และต้องทรงอาราธนาพระสงฆ์จากพม่าตอนใต้มากระทำอุปสมบทกรรมในลังกา

    ชำระพระศาสนา
    เมื่อ พ.ศ. 1697 - 1730 พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 (เป็นพระโอรสของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ) ทรงเป็นมหาราชที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของลังกา ทรงปกครองบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อย

    ในด้านการพระศาสนาทรงชำระการพระศาสนาให้บริสุทธิ์ ยังคณะสงฆ์ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ปกครองสงฆ์ทั้งประเทศเป็นครั้งแรก

    ทรงสร้างวัดวาอาราม เป็นยุคที่มีศิลปกรรมงดงาม และลังการได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ปรากฏเกียรติคุณแพร่ไปทั่ว มีพระสงฆ์และนักปราชญ์เดินทางจากประเทศใกล้เคียง เพื่อมาศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา

    แล้วนำไปเผยแพร่ในประเทศของตนเป็นอันมาก พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังรัชกาลนี้แล้วพวกทมิฬจากอินเดียก็มารุกรานอีก และได้เข้าตั้งถิ่นฐานมั่นคงขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ

    อาณาจักรสิงหลต้องถอยร่นทางใต้ ต้องย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อย ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ยาก นอกจากจะเพียงธำรงรักษาความมั่นคงเข้มแข็งไว้เท่านั้น

    เหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่ง คือ ใน พ.ศ. 2019 พระภิกษุคณะหนึ่งจากพม่า ได้มารับการอุปสมบทกรรมที่ลังกาและนำคัมภีร์ภาษาบาลีเท่าที่มีอยู่ไปยังพม่าโดยครบถ้วนเมื่อประมาณ พ.ศ. 2050

    ยุคโปรตุเกส และฮอลันดา

    ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขาย และถือโอกาสรุกรานชาวสิงหลขณะที่กำลังอยู่ในความวุ่นวาย พวกโปรตุเกสก็ได้ดินแดนบางส่วนไว้ครอบครอง และพยายามบีบบังคับประชาชนที่อยู่ใต้ปกครองให้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก

    คราวหนึ่งถึงกับยึดอำนาจกษัตริย์ได้ ทำให้พุทธศาสนากลับเสื่อมถอยลง จนถึงกับนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศพม่ามาให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกา

    ต่อมาชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายในลังกาและได้ช่วยชาวลังกาขับไล่พวกโปรตุเกสได้ในปี พ.ศ. 2200 แล้วฮอลันดาก็เข้ายึดครองพื้นที่ที่ยึดได้ และนำเอาคริสต์ศาสนามาเผยแพร่ พยายามกีดกันพระพุทธศาสนา แต่ไม่สำเร็จ

    สถานการณ์พุทธศาสนาในขณะนั้นย่ำแย่ลงมาก เนื่องจากเกิดการแก่งแย่งกันแล้ว พุทธศาสนาก็ถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกสและฮอลันดา ประชาชนไม่น้อยก็ไปเข้ารีตกับศาสนาคริสต์

    พวกชาวพุทธในใจกลางเกาะ มัวแต่รบราฆ่าฟันกัน พุทธศาสนาก็ขาดผู้อุปถัมภ์และยังเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง จนพระภิกษุสงฆ์ต้องทิ้งวัดวาอาราม

    จนไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่เลย คงมีสามเณรเหลืออยู่บ้าง โดยมีสามเณรสรณังกรเป็นหัวหน้า

    นิมนต์พระสงฆ์จากสยาม
    เมื่อ พ.ศ. 2294 (พ.ศ. 2293 ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อสามเณรสรณังกรได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น

    ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน 10 รูป มีพระอุบาลีเป็นหัวหน้า เดินทางมาประเทศลังกา

    มาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึงสามพันคน ณ เมืองแคนดี้ สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ขึ้นในลังกา

    ต่อมาพระอุบาลีเถระเกิดอาพาธและได้มรณภาพในลังกาในเวลาต่อมา ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกาย “ อมรปุรนิกาย” ขึ้น

    อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาตั้งนิกาย “ รามัญนิกาย” ขึ้น ในสมัยนี้ได้มีนิกายเกิดขึ้นในลังกา 3 นิกาย คือ

    1.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์
    2.นิกายอมรปุรนิกาย
    3.นิกายรามัญ
    นิกายทั้ง 3 นี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ยุคอังกฤษปกครอง และปัจจุบัน

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2340 และอีก 19 ปีต่อมา อังกฤษได้ครองอำนาจแทนฮอลันดา ขยายอำนาจไปทั่วประเทศลังกา โดยรบชนะกษัตริย์แคนดี ได้ตกลงทำสนธิสัญญารับประกันสิทธิของฝ่ายลังกาและการคุ้มครองพระศาสนา

    ครั้นต่อมาได้เกิดกบฏขึ้น เมื่อปราบกบฏได้สำเร็จ อังกฤษได้ดัดแปลงสนธิสัญญาเสียใหม่ ระบบกษัตริย์ลังกาจึงได้สูญสิ้นตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาปกครองลังกาตอนต้น พระพุทธศาสนาได้รับความเป็นอิสระมากขึ้น ด้วยสนธิสัญญาดังกล่าว

    ครั้นต่อมาภายหลังจากการปกครองของอังกฤษประมาณ 50 ปี พระพุทธศาสนาก็ถูกกีดกันและต่อต้านจากศาสนาคริสต์ รัฐถูกบีบจากศาสนาคริสต์ให้ยกเลิกสัญญาที่คุ้มครองพุทธศาสนา

    บาทหลวงของคริสต์ได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาของตน และโจมตีพุทธศาสนาอย่างรุนแรง โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ นับตั้งแต่อังกฤษเข้าปกครองลังกามาเป็นเวลากว่า 300 ปี จนได้รับอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. 2491

    จากการที่พุทธศาสนาถูกรุกรานเป็นเวลาช้านานจากศาสนาคริสต์ ทำให้ชาวลังกามีความมุ่งมานะที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาอย่างจริงจัง จนปัจจุบันประเทศศรีลังกา ได้เป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ


    ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    สิริสวัสดิ์ภุมวาร กมลมานปรีดิ์ปราโมทย์ค่ะ
     
  5. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    พระพุทธศาสนาในทิเบต


    ดินแดนทิเบต มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามากในอดีต พุทธศาสนาในทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น

    ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

    ลักษณะเฉพาะ

    พุทธศาสนาในทิเบตเป็นแบบมหายานเน้นทางวัชรยานและตันตระ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ภิกษุถือปาติโมกข์ ตามนิกายมูลสรวาสติวาท มีสิกขาบท 253 ข้อ มีความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าต่างจากนิกายเถรวาทคือ

    นับถือพระธยานิพุทธะ 5 พระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนะพุทธะ พระอักโษภยะพุทธะ พระอมิตาภะพุทธะ พระอโมฆสิทธิพุทธะ และพระรัตนสัมภวะพุทธะ

    นอกจากนี้ยังนับถือพระโพธิสัตว์อีกหลายพระองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระชายาคือพระนางตารา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และพระวัชรปาณิโพธิสัตว์ เป็นต้น

    ลักษณะเด่นอื่นๆของพุทธศาสนาในทิเบตได้แก่ ลามะ ตรรกวิภาษ และการปฏิบัติแบบตันตระ

    ลามะ

    คำว่าลามะหมายถึงอาจารย์ ในการปฏิบัติธรรมในทิเบต ให้ความสำคัญกับอาจารย์มาก โดยความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์มีผลต่อความสำเร็จของศิษย์ในการปฏิบัติตามสายตันตระ โดยถือว่าลามะเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ โดยเมื่อกล่าวสรณคมน์ ศิษย์จะระลึกถึงลามะเป็นที่พึ่งด้วยครับ

    ตรรกวิภาษ

    เป็นการโต้วาทีทางธรรมโดยใช้หลักตรรกะ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมในพุทธศาสนาดีขึ้น ขจัดความเห็นผิด วิธีการของตรรกวิภาษจะประกอบด้วยผู้ถามและผู้ตอบ ก่อนเริ่มต้นทั้ง 2 ฝ่ายจะสวดมนต์บูชาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ที่ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญาจากนั้นจึงเริ่มถามตอบ

    การปฏิบัติแบบตันตระ

    เป็นการฝึกจิตเพื่อให้จิตอยู่ในสภาวะประภัสสร เพื่อเข้าถึงสูญญตา การปฏิบัติตามแบบตันตระแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ

    กริยาตันตระ ให้ความสำคัญกับท่ามุทราต่างๆ และการท่องมนต์
    จรรยาตันตระ ให้ความสำคัญกับท่าทางไปพร้อมๆกับการฝึกจิต เน้นการทำสมาธิ เข้าเงียบ
    โยคะตันตระ เน้นการฝึกภายในมากกว่าท่าทางภายนอก
    อนุตรโยคะตันตระ เน้นการฝึกจิตภายในอย่างเดียว เพื่อเข้าถึงรากฐานของจิตประภัสสร โดยขับพลังหยาบของจิตออกไป ซึ่งจะทำให้เข้าถึงศูนยตาในที่สุด

    ประวัติ
    ยุคเริ่มต้น

    ใน พ.ศ. 976 พระเจ้าลาโธ โธรี เย็นเซ เป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้รับเครื่องบรรณาการจากตัวแทนชาวอินเดีย โดยนำคัมภีร์พระพุทธศาสนา และพระพุทธรุปเข้ามาในทิเบต ถือว่าเป็นครั้งแรกที่คนทิเบตได้รู้จักกับพระพุทธศาสนา

    แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก เพราะชาวทิเบตยังนับถือลัทธิบอนซึ่งมีความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจอยู่มาก ชาวธิเบตเป็นชนชาติที่ชอบสงคราม ไม่มีอารยธรรมชั้นสูงเหมือนชนชาวเขาทั่วไป แต่ด้วยอิทธิพลของพุทธศาสนาจึงทำให้ทิเบตกลายเป็นผู้ใฝ่สันติสุข

    และเป็นชาวเขาที่มีอารยธรรมสูงส่งจนถึงมีอักขระพิเศษเพื่อพระศาสนา โดยนำแบบอย่างมาจากอักษรอินเดีย จากนั้นมา พระพุทธศาสนาจากอินเดียก็เข้าถึงทิเบตครั้งแรก เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 และประดิษฐานมั่นคงในพุทธศตวรรษที่ 16

    ยุคประวัติศาสตร์

    ใน พ.ศ. 1173 ถือว่าเป็นยุคประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของทิเบต พระเจ้าซรอนซันกัมโป สนับสนุนให้มีการศึกษาพุทธศาสนาจากคัมภีร์ที่นำเข้ามาตั้งแต่ยุคต้น (พ.ศ. 976) พร้อมดำเนินการปฏิรูปศรัทธาทิเบต

    ต่อมาประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยการสนับสนุนของพระมเหสี 2 พระองค์ คือพระนางเหวินเฉิง พระธิดาของกษัตริย์ถังไท้จงแห่งจีน และพระนางภริคุติเทวี พระธิดาของพระเจ้าอัมสุวารมาแห่งเนปาล

    ทั้งสองพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามหายานอย่างเคร่งครัด จึงได้นำพระพุทธรูปมาด้วยทั้งสองพระองค์ คือเจ้าหญิงเหวินเฉิง นำพระพุทธรูปชื่อโจโว มาประดิษฐานที่วัดซิลลากัง ในกรุงลาซา

    และเจ้าหญิงภริคุตเทวีได้นำพระพุทธรูปศากยมุนีที่สำคัญมาประดิษฐานที่วัดราโมเช ซึ่งเป็นวัดหลวง และมีความสำคัญรองเป็นอันดับสองในกรุงลาซา ช่วงนี้ได้มีชาวทิเบตเชื้อพระวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษาในจีน และพระภิกษุชาวจีนก็มาศึกษาในทิเบตเพื่อแปลพระคัมภีร์และพระสูตรจำนวนมาก

    ในยุคนี้พระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ทรงส่งทูตชื่อ ทอนมี สัมโภตะ ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทา แล้วกลับทิเบต ท่านได้เริ่มงานประดิษฐ์อักษร และเขียนไวยากรณ์สอนชาวทิเบต โดยใช้อักษรพราหมี ที่นิยมใช้กันในกัษมีร์ (แคชเมียร์)

    และดำเนินงานเผยแผ่พุทธศาสนาทำให้ประชาชนเลื่อมใส นับว่าพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการทำให้ชาวทิเบตมีวัฒนธรรมด้านภาษา แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะได้รับความต้านทานจากความเชื่อเดิม

    การที่ภาษาทิเบตที่มีรากฐานมาจากอินเดียรักษาความหมายในการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาสันสกฤตเป็นทิเบตได้ดี หากต้นฉบับสันสกฤตสูญหาย ก็ใช้ต้นฉบับของทิเบตเทียบเคียงของเดิมได้ดีที่สุด

    คุรุรินโปเชเผยแผ่หลักธรรม

    ใน พ.ศ. 1298-1340 กษัตริย์องค์ที่ 5 นับจากพระเจ้าซรอนซันกัมโปได้ไปอาราธนา พระศานตรักษิต ที่เคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนาลันทามาเผยแผ่หลักคำสอนอันบริสุทธิ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากท่านสอนแต่หลักธรรม ไม่สอนเวทมนตร์คาถา แต่ชาวทิเบต มีความเชื่อเรื่องอำนาจภูติผีของลัทธิบอน

    และขณะนั้นเกิดโรคระบาด และภัยธรรมชาติ ทำให้ประชาชนเชื่อว่าท่านนำเหตุการณ์นี้มาด้วย ท่านได้กลับไปอินเดีย แล้วไปอาราธนา พระปัทมสัมภวะ พระราชโอรสของพระเจ้าอินทรภูมิ แห่งแคว้นอุทยานซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน

    ให้ไปเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิตันตระ ถูกกับอัธยาศัยของประชาชน ท่านมีความชำนาญในเรื่องไสยศาสตร์สามารถปราบปีศาจ และทำให้ภูติผีปีศาจกลับมาสนับสนุนปกป้องพระพุทธศาสนาด้วย เหตุการณ์จึงสงบประชาชนฝ่ายข้าราชการ และฝ่ายราชสำนักก็ยอมรับนับถือท่านว่าเป็น คุรุรินโปเช คือพระอาจารย์ใหญ่ของพวกเขา

    ท่านปัทมสัมภวะได้สร้างวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกของทิเบตในนาม วัดสัมเย ตามความเชื่อของอินเดียที่มีเขาพระสุเมรุ (อ่านว่า เขา-พระ-สุ-เมน) อยู่ตรงกลาง มีอารามอยู่ 4 ทิศ และมีอารามด้านนอกอีกแปดทิศ เป็นสัญลักษณ์ของทีปในจักรวาล

    มีอีกวัดทางตะวันออก และตะวันตกเฉียงเหนือเป็นสัญลักษณ์พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในวัดนี้มีห้องสมุด ห้องนั่งสมาธิโดยอาจารย์สอนสมาธิจากจีน พุททธศาสนาลัทธิตันตระ เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนถึง พุทธศตวรรษที่ 16 มีชื่อกำหนดแยกจำเพาะออกไปว่า "นิกายเนียงมา (เนียงมาปะ) หรือนิกายหมวกแดง"

    ต่อมาพระศานตรักษิต ได้กลับทิเบตเพื่อปฏิบัติศาสนกิจครั้งจนมรณภาพที่นั่น ท่านได้แปลพระคัมภีร์ และเป็นอุชฌาย์บวชให้แก่ชายหนุ่มทิเบต 5 คน เพื่อวางรากฐานการบวชสายทิเบต

    ตามพระราชดำริขอพระเจ้าตริสองเดซัน อุปสมบทกรรมที่นั่นมีพระนิกายสรวาทสติวาทร่วมด้วย 12 รูป พระภิกษุ 5 รูป ที่ได้รับการอุปสมบทนั้นได้เผยแผ่หลักธรรมประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

    เนื่องจากว่าอุชฌาย์ คือท่านศานตรักษิตเป็นอนุรักษ์นิยม และมีพระนิกายสรวาทที่มีหลักธรรมเหมือนกับเถรวาทมากที่สุดในบรรดาที่ใช้คัมภีร์สันสกฤต จึงทำให้มีปัญญาชนที่สนใจหลักคำสอนอันบริสุทธิ์ไม่เจือไสยศาสตร์เข้ามาบวชถึง 300 คน

    การร่ายรำชุดดำ

    พุทธศาสนาในยุคนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ทิเบตเป็นอย่างดี บางองค์เป็นนักปราชญ์รอบรู้พุทธธรรมลึกซึ้ง คือ พระเจ้าเสนาเล ซึ่งทรงสละราชสมบัติออกผนวชเป็นภิกษุ ใน พ.ศ. 1357 ได้มีการทำพจนานุกรมภาษาสันสกฤต-ทิเบต

    และในรัชสมัยของพระเจ้าราลปาเชน (พ.ศ. 1359) มีการเขียนประวัติศาสตร์ทิเบตเป็นฉบับแรก กษัตริย์พระองค์นี้ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้าถึงกับสยายพระเกศารองเป็นอาสนะให้พระสงฆ์นั่งล้อมแสดงธรรมถวายพระองค์

    พระสงฆ์ได้รับสิทธิพิเศษเป็นราชครู มีพระรูปหนึ่งมีผู้ถวายอาหารเจ็ดครอบครัว มีการลงโทษผู้ที่ไม่เคารพพระสงฆ์ สุดท้ายมีการลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากพระองค์ทรงแต่งตั้งชาวพุทธให้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร หรือสนับสนุนพุทธศาสนาเกินไป

    จากนั้น พระเจ้าลางทรมาที่ทรงถือลัทธิบอนก็ครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งตนเป็นปรปักษ์ต่อพุทธศาสนาอยู่หลายปี ได้ทำลายวัดวาอารามที่สำคัญสองแห่งในนครลาซา กำจัดพระสงฆ์โดยให้ลาสิกขา ต่อมามีพระสงฆ์แต่งตัวด้วยชุดดำ ทาม้าสีดำ สวมหมวกสีดำเข้ามาปะปนกับประชาชน

    ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าลางทรมาสำเร็จ เป็นที่มาของฉากร่ายรำของพระทิเบตเรียกว่า การร่ายรำชุดหมวกดำ ถือว่าสิ้นสุดการทำลายล้างพุทธศาสนา คราวนี้พระสงฆ์ที่หนีภัยกลับทิเบตมีอำนาจเข้มแข็งกว่าเดิม

    พระทีปังกรศรีชญาณ (อตีศะ)

    ใน พ.ศ. 1600 ถือว่าเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าสู่ทิเบตโดยตรง ประดิษฐานมั่นคง เป็นศาสนาประจำชาติครั้งใหญ่สุดท้าย และมีนิกายแตกแยกออกไปมาก โดยมีพระทีปังกรศรีชญาณ หรือ พระอติศะ จากมหาวิทยาลัยวิกรมศาลาในแคว้นพิหาร ได้เข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาในทิเบต

    ชาวทิเบตจึงนับถือพระอตีศะรองจากพระปัทมสัภวะ โดยมีชื่อเรียกว่า "โจโวเจ" ซึ่งมีความหมายว่า ท่านอาจารย์ที่เคารพ คำสอนของท่านเป็นแบบโยคาจารที่ผสมผสานกันระหว่างมหายาน และหินยาน บังคับให้พระสงฆ์ถือพรหมจรรย์ และไม่สนับสนุนไสยศาสตร์

    กำเนิดนิกายเกลุก

    หลังจากนั้นปลายยุคนี้ ท่านสองขะปะ (พ.ศ. 1918) ซึ่งเป็นนักปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่ของทิเบต ได้อาศัยหลักคำสอนนี้แล้วตั้งนิกาย "นิกายเกลุก หรือเกลุกปะ หรือหมวกเหลือง" ขึ้น นิกายนี้องค์ดาไลลามะปัจจุบันสังกัดอยู่ และมีอิทธิพลในภาคกลางของทิเบต

    ท่านได้ชำระหลักพุทธธรรมให้บริสุทธิ์จากลัทธิพิธีต่างๆ มีการรวบรวมคัมภีร์ที่ได้แปลแล้วนั้นออกเป็น 2 หมวด คือ พุทธพจน์ 100 เล่ม และอรรถกถา 225 เล่ม คัมภีร์เหล่านี้เรียกว่าพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับทิเบต ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบัน

    ยุคมองโกล

    ใน พ.ศ. 2089-2130 มีกษัตริย์มองโกลนามว่า อัลตัลข่าน ได้พบกับประมุขสงฆ์ของนิกายเกลุกที่ชื่อว่า สอดนัมยาโส แล้วเลื่อมใส เนื่องจากท่านสืบเชื้อสายมาจากนิกายสักยะ และพักโมดรุ ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลในทิเบต มีการดัดแปลงวัดที่นิกายอื่นอ่อนแอในการปกครอง และทิ้งให้ร้างให้เป็นวัดนิกายเกลุก (หมวกเหลือง)

    นิกายนี้เรียบง่าย เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ชาวบ้านจึงนิยมมาก อีกอย่างหนึ่งกษัตริย์มองโกลทรงเชื่อว่าประมุขสงฆ์นี้เคยเป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อน

    เมื่อพระองค์เสวยพระชาติเป็นกุบไลข่าน จึงถวายตำแหล่ง "ทะเล" แต่ทิเบตออกเสียงเป็น "ทะไล" (Dalai) ในความหมายของไทยก็คือทะเลเช่นกัน (คำว่าทะไลลามะ "ทะไล" เป็นภาษามองโกลแปลว่า ทะเล หรือ กว้างใหญ่ "ลามะ" หมายถึง พระหรือคฤหัสถ์ที่มีความรู้ความชำนาญ แต่ชาวทิเบตนิยมใช้คำว่า "คยาวา ริมโปเช" คือ ชัยรัตนะ)

    นับว่าเป็นต้นกำเนิดทะไลลามะครั้งแรก และท่านสอดนัมวังยาโสก็ได้ถวายตำแหน่ง "ธรรมราชาทรงความบริสุทธิ์" แก่อัลตันข่านเป็นการตอบแทน ท่านสอดนัมวังยาโสถือว่าตนเองเป็นทะไลลามะองค์ที่ 3 เพราะท่านได้ถวายตำแหน่งย้อนขึ้นไปแก่อวตารในสองชาติแรกของท่านด้วย

    ในขณะที่ท่านมีพระชนม์ชีพท่านได้สร้างวัดพระพุทธรูปหนึ่งพันองค์ ได้เผยแผ่พระศาสนาสู่มองโกเลีย และทิเบตตะวันออกซึ่งเคยเป็นดินแดนอิทธิพลของลัทธิบอน จนท่านได้ตำแหน่งพิเศษจากราชวงศ์หมิงของจีน ถึงยุคทะไลลามะองค์ที่ 4 นิกายหมวกเหลืองก็ยังเจริญรุ่งเรืองเพราะมีทหารมองโกลหนุนหลังอยู่

    ยุคทะไลลามะครองอำนาจ

    ในยุคของโลซัง กยัตโส ทะไลลามะองค์ที่ 5 (พ.ศ. 2158-2223) ชาวมองโกลในทิเบตไม่มีเอกภาพ ทำให้เจ้าเมืองซังอัน ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งของทิเบตชิงบัลลังก์ลาซาไปได้ ทะไลลามะองค์นี้ซึ่งมีมองโกลสนับสนุน จึงขอความช่วยเหลือไปยัง กุชรีข่าน ผู้นำมองโกลให้มายึดอำนาจคืนสำเร็จ

    และมอบอำนาจการปกครองทิเบตทั้งหมด คือฝ่ายอาณาจักร และศาสนจักรให้แก่ทะไลลามะ และเป็นครั้งแรกที่ทะไลลามะได้อำนาจสูงสุดทั้งหมด จากนั้นท่านก็ได้ย้ายที่ประทับที่พระราชวังโปตาลา นครลาซา

    ชาวทิเบตมีความเชื่อว่าทะไลลามะเป็นอวตารของพระอวโลกิเตศวรพระโพธิสัตว์ผู้กรุณา และเชื่อว่าปันเชนลามะ ผู้มีอำนาจรองจากทะไลลามะเป็นอวตารของพระอมิตาภะ แต่ทะไลลามะนั่งสมาธิแบบเนียงมา พลอยทำให้นิกายเนียงมาเจริญไปด้วย

    แต่นิกายโจนังหลังจากท่านตารนาถ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์มีชื่อเสียงแล้วถูกยึดวัดทั้งหมด ถือว่านิกายเกลุกพัฒนารุ่งเรืองตามคำสอนของพระนาครชุน พระอสังคะ เป็นต้น แม้ลัทธิบอนก็ยังนำไปพัฒนาตนเองของตนเอง จนทะไลลามะสวรรคต ชาวทิเบตจึงถวายพระนามว่า "มหาปัญจะ"

    เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ แม้พระองค์จะเสด็จสวรรคตแล้วยังมีผู้อ้างว่าทะไลลามะทรงเข้าสมาธิระยะยาว แล้วสำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยปิดข่าวการสวรรคตนานถึง 13 ปี เพื่องานฟื้นฟูวังโปตาลาต่อไป

    จากนั้นมีการแต่งตั้งทะไลลามะองค์ที่ 6 แต่พระองค์โปรดการแต่งกวี และสนใจผู้หญิง ไม่สนใจบริหารประเทศ จึงถูกเนรเทศไปจีนแต่สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

    จีนคอมมิวนิสต์ยึดทิเบต

    จนถึง พ.ศ. 2351-2401 คาลซังกยัตโส ได้ขึ้นเป็นทะไลลามะองค์ที่ 7 โดยการสนับสนุนของราชวงศ์ชิงของจีน ซึ่งจีนเคยมีบทบาทต่อตำแหน่งปันเชนลามะ หรือ บัณฑิตเซ็นโป แปลว่านักวิชาการใหญ่ จากนั้นมีสงครามกลางเมือง ฝ่ายทะไลลามะแพ้ต้องหนีภัยจากเมือง ทำให้นิกายเกลุกอับอายครั้งแรกในประวัติศาสตร์

    จากนั้นมามีผู้สำเร็จราชการเป็นลามะเกลุก มีรัฐมนตรีเป็นลามะและฆราวาสด้วย ทะไลลามะอีก 4 พระองค์ต่อมาก็มีพระชนม์สั้นทั้งหมด บางองค์ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ จนถึง องค์ทะไลลามะองค์ที่ 14 เข้ามาบริหารประเทศ ทรงหลีกเลี่ยงติดต่อกับอังกฤษ

    โดยอาศัยจีนติดต่อกับรัสเซีย จนมีความผันผวนทางการเมือง องค์ทะไลลามะจึงลี้ภัยไปจีน เมื่อจีนรุกรานก็ลี้ภัยไปอินเดีย เมื่อจีนปฏิวัติท่านก็กลับทิเบต แล้วมีความสัมพันธ์กับอังกฤษ จากนั้นเหล่ามิชชันนารีชาวคริสต์เข้าไป ความสัมพันธ์กับอินเดียค่อยๆ เลือนลางไป

    พระสงฆ์จากที่เคยมาจากอินเดียก็เสื่อมไป ต่อมาทิเบตก็ปิดประเทศโดดเดี่ยว พอใจกับอำนาจที่นิกายเกลุกดำรงอยู่ติดต่อกันจนสวรรคตในปี พ.ศ. 2476 ก็มีผู้สำเร็จราชการปกครองประเทศ

    สิบแปดปีต่อมาจีนแดงยึดทิเบต ภิกษุลดลงอย่างมาก เนื่องจากจีนให้ลงทะเบียน ตามรายงานของวัดเดรปังบอกว่า มีพระสงฆ์จำนวน 7,700-10,000 รูป เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลทิเบตสลายตัว มีคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมาบริหาร โดยมีปันเชนลามะเป็นประมุข

    ปัจจุบัน

    ทะไลลามะองค์ที่ 14 ท่านเทนซิน กยัตโส ได้ลี้ภัยไปที่ ธรรมศาลา เชิงเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย และจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นของทิเบตที่นี่ ต่อมาก็เป็นศูนย์รวมใจชาวทิเบตในต่างแดน ชาวทิเบตในจีน

    ช่วงแรกทำถนนทำให้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศ จนบางคนเป็นวัณโรค บางคนเป็นโรคทางเดินหายใจ ต่อมาก็มาค้าขายเสื้อผ้าที่อินเดีย และได้ขยายไปตั้งนิคมอยู่ที่รัฐไมซอร์ ประเทศอินเดีย

    ในยุคนี้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบทิเบตไปทั่วโลกทั้ง 4 นิกาย ได้แก่ นิกายเนียงมา นิกายกาจู นิกายสักยะ และนิกายเกลุก ในอเมริกา มีชาวพุทธทิเบตประมาณ 5 ล้านคนและส่วนใหญ่เป็นของนิกายหมวกเหลือง

    ทะไลลามะยังต่อสู้เพื่อเอกราชของตนโดนสันติวิธี พร้อมกับรักษาจิตวิญญาณของชาวพุทธไว้อย่างมั่งคง









    ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ภุมวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสวัฒนสิริค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2011
  6. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="94%"><tbody> <tr> <td class="postbody" valign="top">พระพุทธศาสนาในพม่า
    โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์



    ตามตำนานพุทธศาสนามาถึงชายฝั่งพม่าตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพ่อค้าชาวมอญสองคนนำพระเกศาของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานในวัดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมากลายเป็นเจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon) ที่มีชื่อเสียง สมัยพระจักรพรรดิอโศกมหาราชแห่งอินเดีย (ประมาณ 310 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ.) พระธรรมทูตได้เดินทางเผยแผ่พุทธศาสนามายังดินแดนมอญแห่งสุวรรณภูมิ ตราบกระทั่งถึงยุคอาณาจักรพุกาม (Pagan) เรืองอำนาจเท่านั้น (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11) ที่พุทธศาสนาเถรวาทได้หยั่งรากลึกลงสู่วัฒนธรรมพม่า และกลายเป็นศาสนาแห่งรัฐของพม่านับแต่นั้น

    การแตกนิกายของคณะสงฆ์พม่า

    การแตกนิกาย (gaing) ของพุทธศาสนาในพม่านั้น มีความเก่าแก่เท่าๆ กับประวัติศาสตร์คณะสงฆ์แห่งพม่าเลยทีเดียว พระเจ้าอนุวัตร (Anawrahta) แห่งอาณาจักรพุกามได้รวบรวมคณะสงฆ์ให้เป็นปึกแผ่นภายใต้แนวทางของสำนัก "ชินอรหัน" (Shin Arahan) ทำให้พุทธศาสนาของพม่าเกิดเอกภาพขึ้นประมาณหนึ่งศตวรรษ ต่อมาในสมัยพระเจ้าอุษนา (Uzana) คณะสงฆ์ได้แยกออกเป็นสองฝ่ายคือ อรัญวาสี (พระป่า) กับคามวาสี (พระบ้าน)

    คริสต์ศตวรรษที่ 15 พระบ้านได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอินวา (Inwa) ในตอนบนของพม่า ส่วนตอนล่างของพม่านั้น พระเจ้าธรรมเจดีย์ (Dhammaceti) แห่งเมืองบาโก (Bago) ได้รวบรวมคณะสงฆ์ให้เป็นปึกแผ่น โดยการให้พระสงฆ์อุปสมบทใหม่ทั้งหมดภายใต้พุทธศาสนานิกายมหาวิหาร (Mahavihara) จากศรีลังกา (ประมาณ ค.ศ.1480)

    ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 พระสงฆ์พม่าโดยรวมเกิดความย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ราชวงศ์โคนบวง (Konbaung) จึงได้เข้ามาตรวจสอบคณะสงฆ์ จนเกิดเป็นเอกภาพขึ้นมาอีกประมาณ 7 ทศวรรษ

    คณะสงฆ์พม่าเกิดแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง เมื่ออูจาการา (U Jagara) เจ้าสำนักพระป่าชเวกิง (Shwegyin) ผู้เคร่งครัดในพระวินัย ได้รับนิมนต์จากพระเจ้ามินดง (Mindon) ให้เข้าไปพำนักในเมืองมัณฑเลย์ (Mandalay) อันเป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ.1860 โดยพระเจ้ามินดงทรงให้คำมั่นว่า คณะสงฆ์ของท่านจะได้อยู่อย่างเป็นเอกเทศโดยไม่ต้องปะปนกับพระสงฆ์อื่นๆ ทำให้เกิดเป็น "นิกายชเวกิง" (Shwegyin Gaing) ขึ้นในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันพระสงฆ์ที่เหลือทั้งหมดซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ของประเทศ และอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสังฆราช (Thathanabaing) ก็ได้กลายเป็น "นิกายธุธรรมะ" (Thudhamma Gaing) นับแต่นั้น

    พุทธศาสนาในพม่าได้แตกแยกออกเป็นนิกายย่อยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ธรรมานุธรรมะ มหาดวายะ (Dhammanudhamma Mahadwaya), ไวลูวุน (Weiluwun), ธรรมวินัยนุโลม มูลาดวายะ (Dhammavinayanuloma Muladwaya), ธรรมยุติกะ (Dhammayuttika), จาตุภูมิกะ มหาสติปัฏฐาน เฮนเกทวิน (Catubhummika Mahasatipatthana Hngettwin), คณะวิมุตกาโด (Ganavimut-Gado) และ อนุกจอัง ดวายะ (Anaukchaung Dwaya) เป็นต้น

    นิกายเหล่านี้แตกต่างกันเพียงรายละเอียดของพระวินัยและข้อวัตรปฏิบัติเท่านั้น

    เมื่อพม่าได้รับเอกราชในปี ค.ศ.1948 นั้น นิกายธุธรรมะและนิกายชเวกิงได้กลายเป็นนิกายหลักของพม่า โดยนิกายชเวกิงก้าวหน้ามากที่สุดในแง่ของการจัดองค์กรและการมีระเบียบแบบแผนที่รัดกุม

    การปฏิรูปคณะสงฆ์ในพม่า

    ตลอดประวัติศาสตร์นั้น พม่าได้พยายามชำระสะสางพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ด้วยการปฏิรูปคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงการกลับไปหาพระวินัยดั้งเดิม และการจัดองค์กรสงฆ์เสียใหม่เพื่อให้เกิดเอกภาพขึ้น ชาวพม่าได้ยกย่องพระเจ้าอนุวัตรแห่งอาณาจักรพุกาม ว่าเป็นกษัตริย์ "ธรรมราชา" (Dhammaraja) พระองค์แรก ผู้ทรงอุปถัมภ์ค้ำจุนพุทธศาสนาเถรวาทและทรงรวบรวมคณะสงฆ์ให้เป็นปึกแผ่น นับจากนั้นอีก 8 ศตวรรษ กษัตริย์เกือบทุกพระองค์แห่งอาณาจักรพุกาม (Pagan) พินยา (Pinya) อินวา (Inwa) ทวนคู (Toungoo) อมรปุระ (Amarapura) และมัณฑเลย์ (Mandalay) ทางตอนเหนือของพม่า และอาณาจักรบาโก (Bago) ของมอญทางตอนล่างของพม่า ได้พยายามเจริญรอยตามอุดมคติของ "ธรรมราชา" ด้วยการปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนา และส่งเสริมสนับสนุนคณะสงฆ์

    คริสต์ศตวรรษที่ 15 พระเจ้าธรรมเจดีย์แห่งอาณาจักรบาโกของมอญ (ผู้ทรงเคยผนวชมาก่อน) ทรงปฏิรูปพุทธศาสนาโดยการกำหนดให้คณะสงฆ์เคร่งครัดในพระวินัย และทรงให้พระสงฆ์บวชใหม่อีกครั้งหนึ่งในนิกายมหาวิหาร (Mahavihara) จากศรีลังกา อันกลายเป็นแบบฉบับของการปฏิรูปคณะสงฆ์ของพม่าในเวลาต่อมา นับเป็นการย้ำบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองที่มีต่อคณะสงฆ์ตามแบบอย่างพระจักรพรรดิอโศกมหาราชแห่งอินเดีย

    ในอีกสี่ศตวรรษต่อมา พระเจ้ามินดง (Mindon) ทรงเปิดการประชุมสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่ 5 ขึ้นในปี ค.ศ.1871 โดยทรงโปรดให้พระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง แล้วโปรดให้จารึกพระไตรปิฎกทั้งหมดลงบนแผ่นหินอ่อน ซึ่งรู้จักกันต่อมาว่า "ศิลาจารึกแห่งมัณฑเลย์" (Mandalay Inscriptions)

    ต่อมาพระเจ้าธิบาว (Thibaw) กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าทรงโปรดให้สมเด็จพระสังฆราชและพระสงฆ์อาวุโสชั้นนำอื่นๆ ว่ากล่าวตักเตือนคณะสงฆ์มิให้ย่อหย่อนในพระวินัย และมิให้ประพฤติตนแบบอลัชชี (นักบวชนอกรีต)

    พุทธศาสนากับสังคมพม่ายุคสมัยใหม่

    ตลอดระยะเวลาเกือบ 60 ปีภายใต้ลัทธิอาณานิคม นโยบายการไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนาของอังกฤษทำให้เกิดช่องว่างในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาขึ้น การอุปถัมภ์ค้ำจุนของรัฐที่มีต่อพุทธศาสนาได้หยุดชะงักไป อย่างไรก็ตาม ความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยของพระสงฆ์พม่าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นในเวลาต่อมา การก่อตั้งสภากลางสามัคคีสงฆ์ (General Council of Sangha Samaggi, GCSS) ขึ้นในปี ค.ศ.1922 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิรูปองค์กรคณะสงฆ์เพื่อการต่อสู้ทางการเมืองนั้น ไม่อาจดึงดูดพระสงฆ์ส่วนใหญ่ได้ ทั้งๆ ที่เกิดกระแสชาตินิยมอย่างรุนแรงขึ้นมาในพม่า

    ระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1942-45) รัฐบาลของ ดร.บาเมียว (Dr.Ba Maw) ที่ญี่ปุ่นหนุนหลังอยู่ ได้จัดตั้งสภากลางสงฆ์ทุกนิกาย (Grand Council of the Sangha of All Orders) ขึ้นเพื่อรวมพระสงฆ์พม่าในทุกนิกายให้เป็นหนึ่งเดียว ภายหลังจากที่อังกฤษได้เข้ายึดครองพม่าอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1945 ผู้นำพระสงฆ์ (sayadaw) ทางตอนล่างของพม่าได้พยายามที่จะฟื้นฟูสภากลางสงฆ์ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะความแตกต่างทางนิกายได้

    ในปี ค.ศ.1947 ออง ซาน (Aung San) ผู้นำพม่าประสบความสำเร็จในการเจรจาที่กรุงลอนดอน เพื่อให้มีการเลือกตั้งขึ้นในพม่า ออง ซาน (Aung San) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แต่ก็ถูกลอบสังหารเสียก่อน และกลายเป็นวีรบุรุษของการต่อสู้เพื่อเอกราช อูนุ (U Nu) ได้เข้ามาสานงานต่อ จนกระทั่งพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948

    ทศวรรษที่ 1950 นายกรัฐมนตรีอูนุได้พยายามฟื้นฟูพุทธศาสนา ทำให้พุทธศาสนากลายเป็นสถาบันหลักในโครงสร้างของรัฐ มีการสังคายนาพุทธศาสนาครั้งที่ 6 ในปี ค.ศ.1954 อูนุพยายามผลักดันนโยบาย "พุทธสังคมนิยม" (Buddhist Socialism) ในแบบฉบับของพม่า โดยรัฐจะให้หลักประกันในด้านปัจจัยสี่ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) แก่ประชาชน และพุทธศาสนาให้แนวทางในด้านจิตใจและจริยธรรม ความพยายามของอูนุยังไม่ประสบผลสำเร็จนักก็เกิดรัฐประหารขึ้นก่อน รัฐบาลทหารพม่าได้แยกตัวออกจากเรื่องของศาสนา โดยปล่อยให้คณะสงฆ์ดำเนินการด้านศาสนาไปตามลำพัง

    การชุมนุมเรียกร้องของชาวพุทธประสบความสำเร็จ ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ.1980 เมื่อมีการผ่านร่างกฎหมาย 3 ฉบับ (การจัดระเบียบคณะสงฆ์ การแก้ไขความขัดแย้งด้านพระวินัย และการถือหนังสือสุทธิของพระสงฆ์) การลงมติ 4 ข้อ (การปฏิรูประบบการสอบพระปริยัติธรรม การห้ามพิมพ์พระพุทธรูปและเจดีย์ในสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่เหมาะสม การห้ามบุคคลภายนอกพักอาศัยในเขตสงฆ์ และการจับพระปลอมสึก) และการเลือกตั้งองค์กรศาสนาที่สำคัญอีก 3 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อรักษาพระศาสนาให้บริสุทธิ์ รุ่งเรือง และยั่งยืน ภายหลังการชุมนุม เจดีย์มหาวิชายะ (Mahavijaya) ได้ถูกสร้างขึ้นบนเนินเขาเล็กๆ ตรงข้ามกับเจดีย์ชะเวดากอง เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการรวมตัวครั้งสำคัญของคณะสงฆ์พม่า

    ออง ซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) บุตรสาวของออง ซาน (Aung San) วีรบุรุษของพม่า ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งปี ค.ศ.1990 แต่รัฐบาลทหารกลับล้มการเลือกตั้งนั้น และกักตัวออง ซาน ซูจี ไว้ที่บ้าน จนนำไปสู่การประท้วงจากนักศึกษา พระสงฆ์ และประชาชนพม่าอย่างกว้างขวาง โดยได้รับการสนับสนุนในทางสากลจากนานาประเทศกระทั่งสถานการณ์เข้าสู่ยุคปัจจุบัน


    หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
    คอลัมน์ หน้าต่างความจริง
    วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10501</td></tr> <tr> <td> </td></tr></tbody></table>
     
  7. Rins

    Rins เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +489
    จากข้อมูลดูแล้ว พุทธศาสนา ในประเทศอื่นๆ ยังมีปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับ
    การเมือง การปกครอง อยู่มากครับ
     
  8. wawa99

    wawa99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +645
    ประเทศลาว น่าจะเกิดภัยพิบัติน้อยน้าค่ะ ดูลักษณะภูมิประเทศและความมีศีลธรรมของประชาชน
     
  9. xxonnn

    xxonnn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    โห คุณ Rins ข้อมูลเพียบเลย ขอบคุณครับ
     
  10. แมวน้ำ9

    แมวน้ำ9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    689
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +512
    สุดยอดค่ะคุณRins:cool::cool::cool:
     
  11. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,660
    ค่าพลัง:
    +51,921
    *** สัจจะธรรม พิพากษา ****

    โลก เขาไม่ได้ดูที่ ศีล
    แต่เขาดูที่ "สัจจะ" ของผู้นั้น ว่าเขาทำได้ หรือทำไม่ได้
    ถ้าทำความชั่ว โดยตกอยู่ในความเชื่อผิดๆ ... ผลตอบแทนก็ลำบากแน่นอน
    ถ้าศีลทำความดี ....แต่ขาดสัจจะ ไม่เกิดเป็นความจริงขึ้นมา
    ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง เดี๋ยวทำ เดี๋ยวลืม ไม่ตั้งใจแท้จริง ....ผลตอบแทนก็ไม่เที่ยง
    ชีวิตหาความเที่ยงไม่ได้ อุบัติเหตุ โรคภัย....ก็มาแบบไม่เที่ยง มาแบบไม่ตั้งใจให้เกิด
    ที่บอกนี้มีเหตุผลเดียว... คือ สัจจะธรรม
    "ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน"

    คนทำความดี ด้วยสัจจะมีน้อยมากในโลก
    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...