พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


    ที่มา
    กาพย์เห่เรือนี้สันนิษฐานว่าทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของ
    สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชิน
    ผู้แต่ง
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
    ลักษณะคำประพันธ์
    แต่งเหมือนกาพย์เห่เรือ ประกอบด้วยโคลงสี่สุภาพ จำนวน 1 บท และกาพย์ยานี 11
    ความมุ่งหมาย
    1. เพื่อเป็นบทเห่เรือพระที่นั่งเวลาเสด็จประพาสส่วนพระองค์
    2.เพื่อชมฝีพระหัตถ์ในการปรุงเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
    เนื้อเรื่องย่อ
    กล่าวถึงอาหารคาวทั้ง 15 ชนิด คือ แกงมัสมั่นไก่, ยำใหญ่,ตับเหล็กลวก, หมูแนม, ก้อยกุ้ง, แกงเทโพ, น้ำยา,
    แกงอ่อม,ข้าวหุงเครื่องเทศ,แกงคั่วส้ม,พล่าเนื้อ,ล่าเตียง หรุ่ม, ไตปลา,แสร้งว่า และอาหารหวานอีก1 ชนิดคือ รังนก
    เมื่อกล่าวถึงอาหารชนิดใด กวีจะพรรณนาเชื่อมโยงไปถึงหญิงคนรัก
    ตัวอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน



    กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน


    แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย
    หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน
    ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา
    แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚




    [​IMG]
    มัสมั่น หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง เป็นแกงเผ็ดอย่างมุสลิม ปรุงด้วยเครื่องเทศ
    นพคุณ หมายถึง นางที่รัก, น้องที่รัก
    ยี่หร่า หมายถึง ชื่อเครื่องเทศชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน
    ภุญช์ หมายถึง กิน, รับประทาน
    ข้อนอก หมายถึง ตีอก

    แกงมัสมั่นไก่ของน้องที่รักของพี่ มีกลิ่นหอมฉุนของยี่หร่า คงมีรสร้อนแรงมากชายใดได้รับประทานเข้าไปแล้ว
    จะทำให้เกิดความรักใคร่และความหวังในตัวน้องจนถึงกับเอามือทุบอกตัวเอง และอยากกลับไปรับประทานอีก



    ๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
    ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

    แกงมัสมั่นของน้องอันเป็นที่รักยิ่งของพี่ มีกลิ่นหอมของยี่หร่าคงมีรสร้อนแรงมาก ชายใดเมื่อได้รับประทาน
    เข้าไปแล้ว จะทำให้คิดถึงแต่คนทำ



    [​IMG]
    ๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
    รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ

    ยำใหญ่ หมายถึง ชื่ออาหารยำแบบไทย ประกอบด้วย
    แตงกวา ไข่ต้กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาด
    ขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม
    หรือหวานก็ได้ เหลือตรา หมายถึง เหลือจะพรรณนา
    หรือเหลือคะเนนับ




    ยำใหญ่ที่มีเครื่องครบครับ จัดวางอยู่ในจานอย่างสุดจะพรรณนาปรุงรสด้วยน้ำปลาญี่ปุ่นทำให้
    น่าลิ้มลองอย่างยิ่ง



    [​IMG]
    ๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
    โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง

    ตับเหล็ก หมายถึง ม้ามของหมู
    โอชา หมายถึง รสอร่อย



    น้องนำตับเหล็กมาลวกแล้วใส่น้ำส้มพร้อมกับโรยพริกไทยลงไป ทำให้มีรสอร่อยมาก ไม่มีที่ไหน
    นำมาเปรียบกับฝีมือของน้องได้



    [​IMG]
    ๏ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
    พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย

    หมูแนม หมายถึง ชื่ออาหารว่างมีหลายแบบ เช่น หมูแนม
    แข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบดและผสมเครื่องปรุง
    แล้วตามด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น
    เก็บไว้ 3 วันจึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกมารับประทาน
    กับผักและน้ำจิ้ม
    รางชาง หมายถึง สวยงาม, เด่น



    หมูแนมมีรสดีเยี่ยม พร้อมมีพริกสดกับใบทองหลางเคียง พี่มองดูห่อหมูแนมแล้วเห็นสวยงาม แต่ครั้นพอ
    พี่ห่างห่อหมูแนม ทำให้หัวใจพี่ปั่นป่วนคิดถึงแต่น้องอยู่ตลอดเวลา



    [​IMG]
    ๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
    รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ

    ก้อย หมายถึง อาหารจำพวกเครื่องจิ้ม ทำจากเนื้อปลา
    หรือกุ้งที่ยังดิบ รับประทานกับผักสด
    ประทิ่น หมายถึง กลิ่นหอม
    แด หมายถึง ใจ



    ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหาร
    ของน้องจึงไม่มีใครเทียบได้



    [​IMG]
    ๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
    น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์

    เทโพ หมายถึง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้าย
    ปลาสวายเนื้อมีรสอร่อย มักใช้แกงคั่วส้ม ใส่ผักบุ้ง
    เรียกว่า แกงเทโพ
    รสครามครัน หมายถึง รสอร่อยมาก



    แกงปลาเทโพโดยใช้เนื้อท้องที่มีมันมาแกง ดูน่าซดเสียเหลือเกิน คงมีรสอร่อยมาก เปรียบเหมือนอาหารทิพย์
    ที่พึงใจ



    [​IMG]
    ๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
    กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น

    แกงขม หมายถึง เครื่องกินกับขนมจีนน้ำยามีมะระหั่นเป็น
    ชิ้นเล็กๆ แล้วลวกให้สุก
    กล หมายถึง เหมือน
    อ่อม หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว แต่ใส่มะระ มัก
    ใช้แกงกับปลาดุก เรียกว่าแกงอ่อมมะระ หรือแกงอ่อม
    มะระปลาดุก
    กล่อมเกลี้ยงกลม หมายถึง รสกลมกล่อม



    ด้วยความรักของน้องที่มีต่อพี่ น้องจึงเปลี่ยนมาทำ
    น้ำยาอย่างแกงขม เหมือนแกงอ่อมมะระ ซึ่งมีรสกลมกล่อม
    ทำให้พี่ต้องชมฝีมือของน้องขาดปาก และคลับคล้ายเห็นหน้า
    น้องตลอดเวลา


    [​IMG]

    มัสมั่นเนื้อวัว



    ยำใหญ่



    ตับเหล็ก



    หมูแนม



    ก้อยกุ้ง



    แกงเทโพ



    แกงขม



    แกงอ่อม


    [​IMG]
    ๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
    ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ

    ลูกเอ็น หมายถึง ลูกกระวาน
    เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ หมายถึง เหมือนกับที่น้องตั้งใจทำ



    ข้าวหุงปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสพิเศษเพราะใส่ลูกกระวานลงไป ใครก็หุงไม่ได้อย่างที่น้องตั้งใจทำ




    ข้าวหุง


    [​IMG]
    ๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
    คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์

    พล่า หมายถึง อาหารยำที่ใช้เนื้อสดๆ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว
    น้ำปลา พริก ตะไคร้ฝอย ใบสะระแหน่ เป็นต้น
    หื่นหอม หมายถึง หอมมากจนเร้าอารมณ์
    เสาวคนธ์ หมายถึง ของหอม, เครื่องหอม, กลิ่นหอม




    หมูป่าต้ม


    น้องรู้เรื่องในการทำอาหารมากจริงๆ นำเอาหมูป่า
    มาต้มทำแกงคั่วส้มใส่ระกำ ทำให้เห็นเค้าเงื่อนแห่งความลับ
    ระหว่างพี่กับน้อง ซึ่งมีแต่ความทุกข์ระทมใจ


    [​IMG]

    แกงคั่ว


    ๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ
    รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม

    แกงคั่วส้ม หมายถึง ชื่อแกงเผ็ด ปรุงน้ำพริกคล้ายแกงส้ม
    แต่ใส่กะทิ
    ความขำ หมายถึง ความลับ
    ระกำ หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมี
    หนามแข็ง ผลออกเป็นกระปุกกินได้



    ห้องทำพล่าเนื้อสดกลิ่นหอมฟุ้งมากจนเร้าอารมณ์พี่ ทำให้คิดถึงครั้งเมื่อเราเคยทะนุถนอมรักใคร่ใกล้ชิดกัน
    ด้วยความสดชื่นหอมหวน



    [​IMG]

    พล่าเนื้อ


    [​IMG]

    ล่าเตียง


    ๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
    ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน

    ล่าเตียง หมายถึง ชื่ออาหารว่างทำด้วยไข่โรยเป็นฝอย
    บนกระทะ แล้วหุ้มใสที่ทำด้วยกุ้งสับปรุงรส
    พับห่อจัดเป็นคำๆ วางเป็นชั้นๆ
    เมืองบน หมายถึง เมืองฟ้า, เมืองสวรรค์
    ลดหลั่นชั้นชอบกล หมายถึง มีลวดลายเป็นชันๆ อย่างสวยงาม
    นิทร หมายถึง นอน



    พอเห็นอาหารที่ชื่อว่าล่าเตียง ทำให้พี่คิดถึงเตียงนอนของน้อง ที่เป็นเตียงทองทำเหมือนอยู่บนสวรรค์
    ซึ่งมีลวดลายเป็นชั้นๆ อย่างสวยงาม เห็นแล้วทำให้คิดอยากนอนกับน้อง



    [​IMG]
    ๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
    เจ็บไกลในอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง

    หรุ่ม หมายถึง อาหารว่างคล้ายล่าเตียง ทำด้วยไข่โรยเป็นฝอย
    แต่ไส้ทำด้วยหมูสับ ห่อเป็นคำแต่คำใหญ่กว่าล่าเตียง
    ไฟฟอน หมายถึง กองไฟที่ดับแล้วแต่ยังมีความร้อนระอุอยู่



    พอเห็นอาหารที่ชื่อว่าหรุ่ม ความเศร้าก็ประดังกันเข้ามาในอก ทำให้ร้อนระอุอยู่ในอก เป็นความเจ็บปวด
    ที่ยาวนานด้วยใจคิดถึงน้อง ทำให้พี่ร้อนรุ่มกลุ้มใจ




    หรุ่ม


    [​IMG]
    ๏ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
    นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน

    รังนก หมายถึง รังนกนางแอ่น ทำด้วยน้ำลายนกที่ขยอกออก
    มาจากลำคอใช้นึ่งแล้วทำเป็นอาหารหวานคาวได้
    เรียม หมายถึง พี่



    เห็นรังนกนึ่งช่างน่าชม และคงมีรสอร่อยกว่าอาหารอื่นๆ ทำให้พี่นึกถึงการที่นกต้องพรากจากรังไป
    ซึ่งก็เหมือนกับการที่ตัวพี่ต้องพลัดพรากจากน้องไป




    รังนก


    [​IMG]
    พอเห็นอาหารไตปลา และแสร้งว่า ทำให้หวนคิดถึง
    คำพูดที่กระบิดกระบวนของน้อง ครั้นพอแลไปเห็นใบ
    ของต้นโศกก็บอกให้พี่รู้ว่าน้องกำลังคร่ำครวญถึงพี่ทำให้
    พี่เฝ้ารอคอยน้องรักของพี่อยู่ตลอดเวลา




    แกงไตปลา


    [​IMG]

    แสร้งว่า


    ๏ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
    ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเจ้าดวงใจ

    ไตปลา หมายถึง เนื้อที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในกระเพาะปลาบาง
    ชนิดเช่น ปลาทู ใช้หมักเกลือ แล้วปลุงอาหารแบบ
    เครื่องจิ้ม
    แสร้งว่า หมายถึง ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยกุ้งปรุงเป็น
    เครื่องจิ้ม
    เคร่า หมายถึง คอย



    [​IMG]
    ๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
    ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ๚

    ผักโฉม หมายถึง ผักกระโฉมซึ่งเป็นไม้ล้มลุก ชอบขึ้นที่ชื้น
    แฉะ ดอกเล็กๆ สีม่วงแกมชมพูกลางเหลือง ออกเป็น
    กระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่น
    หอมใช้เป็นอาหารและใช้ทำยาได้
    พร้อง หมายถึง พูดถึง
    ผักหวาน หมายถึง ชื่อไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ยอดและดอกอ่อนกินได้



    ผักโฉมเป็นชื่อที่พูดถึงที่มีความไพเราะ ไม่ว่าจะเป็นตัวน้องหรือคนอื่น แต่พอเอ่ยชื่อผักหวานแล้วรู้สึกว่า
    ความหวาน จะแล่นกระจายเข้าไปในอก ทำให้พี่คิดถึงความรักที่อ่อนหวานของน้อง




    ผักหวาน


    การพิจารณาคุณค่า
    กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานฯ นับเป็นวรรณคดีที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง แม้มีเนื้อเรื่องที่ไม่ยาวนัก แต่ให้คุณค่า
    ที่มีประโยชน์หลายประการ คือ
    1. ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารการกินของคนไทยสมัยโบราณ สะท้อนให้เห็นความละเอียดอ่อน
    พิถีพิถันในทุกขั้นตอนของการทำอาหาร
    2. ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณี ความเชื่อต่างๆ เช่น พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ประกอบ
    พิธีในช่วงเดือนยี่
    3. สะท้องสภาพบ้านเมืองในสมัยอดีต มีการติดต่อค่าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย จึงมีการแลกเปลี่ยน
    วัฒนธรรม ด้านอาหารการกินร่วมไปด้วย เช่น ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใสลูกเอ็น ซึ่งเป็นวิธีการหุงข้าวแบบแขกเปอร์เซีย ใส่เครื่องเทศชนิดหนึ่งเรียกว่า "ลูกเฮลท์" เพี้ยนเสียงมาเป็น "ลูกเอ็น"
    4. ให้คุณค่าเชิงวรรณศิลป์ กวีสามารถพรรณนาอาหารแต่ละชินิดได้อย่างเห็นภาพ ใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบลึกซึ้ง
    กินใจ และไพเราะ



    -http://www.yorwor2.ac.th/thaionline/work%20web%20page%20maker/kaphechom.html-



    http://www.yorwor2.ac.th/thaionline/work%20web%20page%20maker/kaphechom.html

    .

     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    หลากคุณประโยชน์ต้านโรค...จากอาหารอีสาน


    [​IMG]

    หลากคุณประโยชน์ต้านโรค...จากอาหารอีสาน (ไทยโพสต์)

    เมื่อพูดถึง "อาหารอีสาน" หลายคนนึกถึงเรื่องของความอร่อยและรสชาติที่จัดจ้านถึงใจ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่คนไทยและคนต่างชาติ แต่จะมีใครที่ตระหนักรู้ว่า อาหารแซ่บอย่างอาหารอีสานนั้นมีคุณค่าสารอาหารครบครัน ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและเกลือแร่ ในขณะที่มีไขมันต่ำ ที่สำคัญอาหารอีสานนั้นยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เพราะส่วนใหญ่เครื่องปรุงและเครื่องเคียงต่างๆ มาจากผักอีสานนานาชนิด

    โดยอาจารย์อรทัย เหรียญทิพยะสกุล อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยว่า ในปัจจุบันทุกคนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองกันมากขึ้น ดัง นั้นเมนูอาหารอีสานเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะแต่ละเมนูมักจะมีเครื่องเคียงที่เป็นผักพื้นบ้านที่หาได้ตามท้องถิ่น มาเป็นส่วนประกอบบนโต๊ะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ลาบหรือน้ำตก

    แต่มีน้อยคนนักที่จะทราบว่าผักพื้นบ้านอีสานหลายชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนประกอบไปด้วยเส้นใยอาหารสูงและไขมันต่ำ ที่สำคัญช่วยในเรื่องการควบคุมน้ำหนัก ลดอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มรสชาติในอาหารอีกด้วย อาจารย์อรทัยจึงได้แนะนำเมนูอาหารพื้นบ้านอีสานแบบง่าย ๆ ที่มีสรรพคุณทั้งเป็นยารักษาโรคและเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทาง โภชนาการมากมาย เช่น

    [​IMG] ต้มไก่ยอดหม่อน

    มีสรรพคุณตั้งแต่รากจรดใบ เนื่องจาก "ต้นหม่อน" นับว่าเป็นพืชอีสานพื้นบ้านที่มีคุณประโยชน์มากมายตั้งแต่ราก ใบ กิ่ง และผล นอกจากใช้ใบในการเลี้ยงหนอนไหมแล้ว ก็ยังสามารถนำมาปรุงอาหารรสอร่อยถึงใจให้หลาย ๆ คนได้ลิ้มลอง อย่างเมนู "ต้มไก่ยอดหม่อน" ที่ใครได้ลิ้มรสแล้วรับรองต้องติดใจในรส "นัว" หรือรสเข้มข้นจากน้ำซุปร้อน ๆ หอมกลิ่นเครื่องเทศ และชูโรงด้วย "ใบหม่อน" และเมนูนี้นับว่าเป็นหนึ่งในเมนูสุขภาพ เพราะมีคุณค่าสารอาหารอยู่มากมายจากส่วนเครื่องปรุงต่าง ๆ อาทิ "ยอดหม่อน" มีคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงสายตา แถม "ใบหม่อน" ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต พร้อมทั้งยังเป็นเมนูช่วยควบคุมน้ำหนัก สำหรับสาว ๆ ที่ต้องการลดความอ้วน เพราะมีไขมันจากเนื้อสัตว์น้อยและไม่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร

    นอก จากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยขับลม โดยเฉพาะเครื่องเทศอย่าง พริก หอม กระเทียม ข่า หัวสิงไค (ตะไคร้) ใบบักอีเว่อ (ใบมะกรูด) บักโป้งเล็น (มะเขือเทศ) บักขาม (มะขาม) ผักอีตู่ นอกจากนี้ส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนยังสามารถนำมาแก้โรคต่างๆ ได้อีก อาทิ "กิ่งหม่อน" ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก ลำไส้ทำงานได้ดี รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริว เหน็บชา "ลูกหม่อน" รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ดกดำ และ "รากหม่อน" ลดปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รวมทั้งรักษาโรคเบาหวานได้

    [​IMG] แจ่วบอง

    หรือน้ำพริก ที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของอาหารอีสาน ซึ่งวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเพียงใช้ปลาร้าปรุงสุกสับให้ละเอียด คลุกเคล้าเข้ากับเครื่องเทศพื้นบ้านที่หาได้ในครัวเรือน อาทิ พริก หอมแดง กระเทียม ข่า หัวสิงไค (ตะไคร้) ใบบักอีเว่อ (ใบมะกรูด) บักโป้งเล็น (มะเขือเทศ) หรือมะขามเปียก เพียงแค่นี้ก็จะได้น้ำพริกรสแซ่บ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แถมช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ นิยมรับประทานพร้อมกับผักเคียง อาทิ มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงค้าง (แตงกวา) ยอดบักอึ (ยอดฟักทอง) หรือเนื้อย่าง ปลาย่าง เป็นต้น

    [​IMG] ซุปบักมี่ หรือซุปขนุน

    อีก หนึ่งเมนูอาหารอีสานที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะอุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตและวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ คลายร้อน และช่วยในการย่อยอาหาร

    วิธีการทำไม่ยุ่งยากเพียงแค่นำขนุนอ่อนมาปอกเปลือก หั่นแว่นไปต้มให้สุก แล้วนำมาโขลกให้ละเอียดเพื่อให้เข้าเครื่องกับพริก หอมแดง กระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ปลาย่างป่น พริกป่น งาขาว งาดำคั่วละเอียด น้ำปลา พร้อมโรยหน้าด้วยผักบั่ว (ต้นหอม) ผักอีหล่า (สะระแหน่) ผักชีหอม ผักหอมเป (ผักชีฝรั่ง) ผักแพว

    [​IMG] อ่อมหอย หรือ แกงคั่วหอยขม

    แกงอีสานน้ำขลุกขลิกชนิดนี้มีสรรพคุณช่วยต้านริ้วรอยจากอนุมูลอิสระ ต้านโรคหวัด บำรุงสายตา ซึ่ง วิธีการทำก็ง่าย ๆ เพียงใส่ผักอีสานนานาชนิดในหม้อต้มพร้อมกันทั้งพริก หอมแดง กระเทียม ข่า หัวสิงไค (ตะไคร้) ใบบักอีเว่อ (ใบมะกรูด) ผักอีเลิด (ชะพลู) และผักบั่ว (ต้นหอม) และผักไฮไลต์อย่างใบชะพลูและผักหวานที่อุดมด้วยวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง จากนั้นใส่หอยขมที่มีโปรตีนสูง และหาได้ง่ายตามห้วยหนองคลองบึง เพียงเท่านี้เราก็ได้เมนูอาหารอีสานต้านโรคหวัด แถมชะลอริ้วรอยได้ง่าย ๆ แล้ว

    อ่านแล้วก็รู้สึกเปรี้ยวปากอยากทานขึ้นมาทันทีเลย



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/210711/42061-
    [​IMG]


    -http://health.kapook.com/view28311.html-


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จังหวัดกำแพงเพชร


    <TABLE id=table569 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD>
    กำแพงเพชร อยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารต่าง ๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ที่เป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุด กำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฎหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหน้าด่านทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ กำแพงเมืองและป้อมปราการจึงถูกสร้างอย่างแข็งแรงและยังเหลือร่องรอยอยู่จนปัจจุบัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก่อนมีเมืองกำแพงเพชรเคยมีเมืองเก่ามาก่อน 2 เมือง คือเมืองชากังราว ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง และเมืองนครชุม อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง กำแพงเพชร จึงเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และธรรมชาติป่าเขา น้ำตก อันงดงาม มีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เมื่อปี 2534 และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ นก สัตว์ต่าง ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน และอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมความงามอีกด้วย
    </TD></TR><!-- NEW 13 --><TR><TD bgColor=#006699>หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ</TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD><TABLE id=table570 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=186>ที่ว่าการอำเภอ</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 1310</TD></TR><TR><TD width=186>เทศบาลเมือง</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 1055</TD></TR><TR><TD width=186>ประชาสัมพันธ์จังหวัด</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 1820</TD></TR><TR><TD width=186>โรงพยาบาลกำแพงเพชร</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 1234, 0 5571 4223-5</TD></TR><TR><TD width=186>สำนักงานจังหวัด</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 0006</TD></TR><TR><TD width=186>สถานีตำรวจภูธร</TD><TD width=689>โทร. 0 5571 1199, 0 5571 6868, 191</TD></TR><TR><TD width=186>สถานีขนส่งจังหวัด</TD><TD width=689>โทร. 0 5579 9103</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    -http://www.moohin.com/025/-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffcc><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD colSpan=5>อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบัน ลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ

    ภายในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชรมีซากโบราณสถานใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กลางเมืองมีวัดพระแก้ว วัดพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วเป็นบริเวณที่เรียกว่าสระมน (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณวังโบราณ) และเทวสถานศาลพระอิศวรซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณนอกเมืองทางด้านทิศเหนือ มีกลุ่มวัดโบราณขนาดใหญ่น้อยประมาณ 40 แห่ง สร้างอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม จัดเป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่อิริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดเตาหม้อ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร ด้วยโบราณสถานสร้างรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โบราณสถานมีขนาดใหญ่โตอลังการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และมีความงดงามทางศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรควบคู่กันไป

    บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่าเมืองนครชุม ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตรงปากคลองสวนหมาก กำแพงเมืองเป็นลักษณะคันดินสามชั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกทำลายไปมากทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำปิง และการขยายตัวของชุมชนปัจจุบัน
    กลุ่มโบราณสถานสำคัญชองเมืองนครชุมตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ ห่างจากแนวกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม วัดสำคัญได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา

    ประวัติความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชร
    บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ในช่วงก่อนสมัยสุโขทัย อาทิเช่น แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน อำเภอขาณุวรลักษบุรี และแหล่งโบราณคดีบ้านคลองเมือง กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร พบโบราณวัตถุที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ขวานหินขัดแบบมีบ่า เศษเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบ เศษขี้แร่ (ตะกรัน) แวดินเผา (ดินเผาเจาะรูตรงกลาง เป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้าย)

    เมืองไตรตรึงษ์บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผาแบบอินเดีย สันนิษฐานว่า บริเวณเมืองไตรตรึงษ์คงจะเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณ ระหว่างบ้านเมืองในบริเวณภาคกลางกับชุมชนในท้องที่จังหวัดลำพูนหรือหริภุญไชย
    นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว ยังปรากฏเรื่องราวในตำนาน และพงศาวดารหลายฉบับที่กล่าวถึงชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยศิริได้หนีข้าศึกจากเมืองเหนือมาตั้งเมืองใหม่ชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16

    จากหลักฐานทางโบราณคดี ตลอดจนเรื่องราวในตำนานทำให้ทราบว่าได้มีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรก่อนสมัยสุโขทัย แต่การพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมืองกำแพงเพชรขนาดใหญ่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน

    ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลัก รวมไปถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมสถานปนาขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือภายหลังรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ในระยะแรกเมืองนครชุม คงจะมีบทบาทและความสำคัญมากกว่าเมืองกำแพงเพชร ดังหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุกลางเมืองนครชุม พร้อมปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป เมื่อพ.ศ. 1900 ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางเมืองมาอยู่ทางฝั่งเมืองกำแพงเพชร ซี่งอาจจะเนื่องด้วยสาเหตุทางการเมืองกับกรุงศรีอยุธยาที่ขยายอำนาจทางการเมืองขึ้นมาทางเหนือ เมืองนครชุมตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ หรืออาจจะเนื่องจากการประสบปัญหาแม่น้ำปิงกัดเซาะตลิ่ง ตลอดจนเกิดอุทกภัยน้ำหลากจากภูเขาทางทิศตะวันตก น้ำไหลท่วมคลองสวนหมากและตัวเมืองที่เป็นที่ลุ่มต่ำอยู่เสมอ

    เมืองกำแพงเพชรทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคงจะมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเมืองการปกครองในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ในขณะเดียวกันด้านการศาสนาและศิลปกรรมได้เจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับอำนาจการเมืองการปกครอง เรื่องราวที่กล่าวไว้ในตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งสององค์มาชั่วระยะหนึ่ง

    สมัยอยุธยา เมืองกำแพงเพชรได้เป็นหัวเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในกลุ่มหัวเมืองเหนือ และยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านที่ต้องคอยรับศึกจากกองทัพพม่ามาโดยตลอด เมืองกำแพงเพชรคงจะลดบทบาทและร้างไปในที่สุด เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2310

    จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเมืองที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชรที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแคว้นสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา และในขณะเดียวกันก็สามารถติดต่อกับบ้านเมืองเชตล้านนาที่อยู่ทางเหนือได้อย่างสะดวก ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองกำแพงเพชรจึงแสดงลักษณะที่เกี่ยวกับดินแดนทั้งสามแห่ง แต่ก็แฝงไว้ด้วยศิลปะของท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรเอาไว้ด้วย

    การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
    กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน
    โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ยังเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต ดังนั้นคณะกรรมการมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและฑรรมชาติของโลก จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองสุโขทัยและเมืองบริวารคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีพุทธศักราช 2534

    โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง
    วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ถัดมาเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ ฐานมีสิงห์ล้อมรอบ วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบ

    เอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วักพระแก้วแห่งนี้
    วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็กอันเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลาแลงและมีเจดีย์รายอยู่บริเวณมุมด้านหน้าข้างวิหารข้างละองค์
    วังโบราณหรือสระมน อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้ว ติดกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณประตูสะพานโคม มีคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบ กึ่งกลางมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบฐานอาคาร เศษกระเบื้องมุงหลังคา เศษภาชนะดินเผา และหลักฐานที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้อีกจำนวนมาก

    ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร เหลือเฉพาะฐานของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง เดิมประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดซึ่งมีจารึกที่ฐานว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ได้สร้างเทวรูปองค์นี้เมื่อ พ.ศ. 2053 ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยา จารึกยังได้กล่าวถึงการซ่อมแซมถนน คลองส่งน้ำ และการซ่อมแซมพระธาตุทั้งในเมืองและนอกเมือง

    วัดพระนอน เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดใช้ศิลาแลงแทบทั้งสิ้น หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำและศาลาพัก ภายในวัดตอนหน้าวัดเป็นฐานอุโบสถเสาแปดเหลี่ยม ถัดไปเป็นวิหารซึ่งเดิมประดิษฐานพระนอนเป็นประธาน เสาวิหารใช้ศิลาแรงแท่งเดียวตลอดที่มีขนาดสูงใหญ่ ปักเรียงรายอยู่ภายในอาคาร โครงหลังคาเดิมเป็นเครื่องไม้ สังเกตได้จากช่องสี่เหลี่ยมตามหัวเสาสำหรับสอดหัวขื่อหัวคาน ผนังวิหารเรียงศิลาแลงเป็นผนังช่องลูกกรมหรือช่องลม ถัดจากวิหารไปทางด้านหลังเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยม นอกจากสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีสิ่งก่อสร้างอีกจำนวนมากมายในวัดนี้

    วัดพระสี่อิริยาบถ อยู่ทางเหนือของวัดพระนอน ถัดขึ้นไปประมาณ 100 เมตร หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำ และศาลาพักเช่นเดียวกับวัดพระนอน สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดคือ วิหารที่สร้างบนฐานทักษิณขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ตอนหน้าวัด ด้านหลังวิหารสร้างเป็นมณฑป ทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะมณฑปแบบจตุรมุข กึ่งกลางทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุมยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ผนังแต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมก่อให้เว้าเข้าไป และประดิษฐานพระพุทธรูปแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ พระพักตร์เป็นลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร คือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม

    วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนยอดเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก สิ่งสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว ฐานสี่เหลี่ยมด้านล่างสูงใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่เพื่อขึ้นไปถึงลานด้านบน หรือลานทักษิณ ฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา เจดีย์ด้านบนเหลือเฉพาะฐานแปดเหลี่ยม และหน้ากระดานกลม ซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ และประดับรูปเทวดา นางฟ้า กินนร กินรี และหงส์ ด้านหน้าเจดีย์ประธานทีฐานวิหารขนาดใหญ่และถัดไปเป็นสระน้ำที่ขุดลงไปในชั้นศิลาแลง

    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
    อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รหัสไปรษณีย์ 62000 หมายเลขโทรศัพท์ : (055) 711921
    เปิดทำการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
    อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท : ชาวต่างประเทศ 40 บาท

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#ffffcc><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR vAlign=top bgColor=#ffffcc><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    -http://www.oceansmile.com/N/Kampangphet/kampang.htm-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ประวัติจังหวัดกำแพงเพชร

    จังหวัดกำแพงเพชร
    เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี

    นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น"พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร

    ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ

    การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองชากังราวสร้างขนึ้ กอ่ น ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ..1890 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิงคือ เมืองนครชุม
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า

    "เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย

    ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534

    [​IMG]


    ตราประจำจังหวัด

    เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วง ประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม

    รูปกำแพงเมืองมีใบเสมา

    หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่า
    ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้ และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร

    รูปเพชรมีประกายแสง


    หมายถึง ความสวยงาม ความแข็งแกร่งมีคุณค่าเยี่ยงเพชรของกำแพงเมือง
    ประกายแสงแสดงถึงความรุ่งโรจน์ของบ้านเมืองมาแต่โบราณกาล

    รูปวงกลม


    หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวล


    ความหมายโดยสรุป

    คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงาม เป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี

    ธงประจำจังหวัด


    เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้
    มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง

    แถบสีเหลือง


    แสดงว่า จังหวัดนี้เป็นเมืองซึ่งสร้างในสมัยโบราณมีปูชนียวัตถุเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอยู่มาก

    แถบสีแดง

    แสดงว่า จังหวัดนี้ได้เคยเป็นชนชาตินักรบมาแต่โบราณได้เคยทำศึกสงครามกับพม่าหลายครั้งหลายหน

    แถบสีเขียวใบไม้

    แสดงว่า จังหวัดนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาชนิด อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดเป็นอย่างดี

    ต้นไม้ประจำจังหวัด


    คือ ต้นสีเสียดแก่น


    ดอกไม้ประจำจังหวัด

    คือ ดอกพิกุล


    **************************

    คำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร

    กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก

    สภาพทั่วไปของจังหวัดกำแพงเพชร
    จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศไทย มีความเจริญรุ่งเรืองสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว จากการศึกษาหลักศิลาจารึกโดยนักโบราณคดีทำให้ทราบว่าจังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง เช่นเมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองคณฑี เป็นต้น

    ปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีโบราณสถานเก่าแก่ ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรอย่างยิ่ง


    1.สภาพทางภูมิศาสตร์


    1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต


    จังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยอยู่ห่างจากรุงเทพมหานคร 358 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก และอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
    ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอโพธิ์ทะเล อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

    1.2 ขนาดพื้นที่


    จังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ 8,607.5 ตารางกิโลเมตร (5,379,687.5 ไร่) เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ 5,272 ตารางกิโลเมตร (3,295,470 ไร่) ป่าไม้ 2,146 ตารางกิโลเมตร (1,341,718 ไร่) พื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่
    อื่น ๆ อีกประมาณ 1,064.65 ตารางกิโลเมตร (665,403 ไร่)

    1.3 ลักษณะภูมิประเทศ


    จังหวัดกำแพงเพชรมีแม่น้ำปิงไหลผ่านเป็นระยะทางยาวประมาณ 104 กิโลเมตรมีลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
    ลักษณะที่ 1


    เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างแบบตะพักลุ่มน้ำ (ALLUVIAL TERRACE) มีระดับความสูง
    ประมาณ 43-107 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกและใต้ของจังหวัด

    ลักษณะที่ 2


    เป็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับที่ราบ พบเห็นบริเวณด้านเหนือ และตอนกลางของจังหวัด


    ลักษณะที่ 3

    เป็นภูเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งแร่ธาตุ และต้นน้ำลำธารต่างๆ ที่สำคัญ เช่น คลองวังเจ้าคลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทร ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

    โดยสรุป

    ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ด้านตะวันตกเป็นภูเขาสูงลาดลงมา ทางด้านตะวันออกลักษณะดินเป็นดินปนทรายเหมาะแก่การทำนา และปลูกพืชไร่



    -http://www.industry.go.th/ops/pio/kamphaengphet/Lists/general/Attachments/25/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3.pdf-


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • kumpang.JPG
      kumpang.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.8 KB
      เปิดดู:
      862
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กษัตริย์เมืองเทพนคร สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง สอนชู


    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองเทพนคร
    สืบค้นโดยอาจารย์รุ่งเรือง สอนชู

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นอาณาจักรที่ แผ่ขยายอาณาเขตกว้างขวางออกไป จากภาคเหนือ ภาคตะวันออกถึงภาคใต้ของประเทศไทยและบางส่วนของพม่า มีอายุยืนยาวกว่า 400 ปี แต่พระราชประวัติของพระองค์นั้นมีที่มาจากหลายแหล่งแต่ยังไม่มีหลักฐานที่ยุติได้ว่ามีเชื้อสายหรือพระราชวงศ์มาจากที่ใดแน่ มีผู้ที่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์หลายท่านยังเชื่อว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ผู้เขียนจึงขอนำหลักฐานจากพงศาวดาร โบราณคดี ที่ผู้ที่มีความรอบรู้ได้กล่าวไว้นั้น มานำเสนอให้ผู้สนใจได้รับรู้ถึงพระราชประวัติอีกครั้งหนึ่ง
    พระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ฉบับดั้งเดิม
    จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกที่กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส(สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 189-191 ได้ทรงเทศนาถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ดังนี้
    “ บัดนี้จะได้รับพระราชทานถวายพระสัทธรรมเทศนา ในจุลยุทธการวงศ์ สำแดงเรื่องลำดับโบราณกษัตริย์ในสยามประเทศนี้ อันบุพพาจารย์รจนาไว้ว่า
    กาลเมื่อพระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้ยุทธสงครามแต่พระยาสตองเสียพระนคร พาประชา
    ราษฎรชาวเมืองเชียงราย ปลาสนาการมาสู่แว่นแคว้นสยามประเทศ ถึงราวป่าใกล้เมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระองค์ สมเด็จอมรินทร์ทราธิราชนิมิตพระกายเป็นดาบสมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง ตรัสบอกให้ตั้งพระนครในที่นี้เป็นชัยมงคลสถาน บรมกษัตริย์ก็ให้สร้างพระนครลงในที่นั้น จึงให้นามชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์ พระองค์เสวยไอศุริยสมบัติอยู่ในพระนครนั้นตราบเท่าทิวงคต พระราชโอรสนัดดาครองสมบัติสืบๆ กันมาถึงสี่ชั่วกษัตริย์
    ครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง เป็นปุ่มปมไปทั้งร่างกาย ทำไร่ปลูกพริกมะเขืออยู่ในแดนพระนครนั้น เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้ห้าง บุรุษนั้นไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือนั้นออกผล ผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง พอพระราชธิดาไตรตรึงษ์มีพระทัยปรารถนาจะเสวยผลมะเขือ จึงให้ทาสีไปซื้อ ก็ได้ผลใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถาม ก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาสกับบุรุษใด ต่อมาพระธิดา
    ประสูติพระราชกุมาร พระรูปโฉมงามประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์ พระญาติทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนโตขึ้น ประมาณพระชนม์สองสามขวบ สมเด็จพระอัยกาปรารถนาจะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องบุรุษชาวเมืองทั้งหมด ให้ถือขนมหรือผลไม้ติดมือมาทุกคน มาพร้อมกันที่หน้าพระลาน ทรงพระอธิษฐานว่าถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของทารกนั้น ขอจงทารกนี้รับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษนั้นมาบริโภค แล้วให้อุ้มกุมารนั้นออกไปให้ทุกคนรับรู้ บุรุษกายปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง พระราชกุมารนั้นก็เข้ากอดเอาคอ แล้วรับเอาก้อนข้าวมาบริโภค ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียนต่าง ๆ สมเด็จพระบรมกษัตริย์ก็ละอายพระทัย ได้ความอัปยศ จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระนัดดาให้แก่บุรุษแสนปมให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือไกลจากพระนครทางวันหนึ่ง บุรุษแสนปมก็พาบุตรภริยาขึ้นสู่ไร่อันเป็นที่อยู่ ด้วยอานุภาพแห่งชนทั้งสาม บันดาลให้สมเด็จอมรินทริราช นิมิตกายเป็นวานรนำทิพยเภรีมาส่งให้นายแสนปมนั้น แล้วตรัสบอกว่า ท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้ อาจให้สำเร็จที่ความปรารถนาทั้งสิ้น บุรุษแสนปมปรารถนาจะให้รูปงามจึงตีกลองนั้นเข้า อันว่าปมเปาทั้งปวงก็อันตรธานหาย รูปชายนั้นก็งามบริสุทธิ์ จึงนำเอากลองนั้นกลับมาสู่ที่สำนัก แล้วบอกเหตุแก่ภริยา ส่วนพระนางนั้นก็กอร์ปด้วยปิติโสมนัส จึงตีกลองนิมิตทอง ให้ช่างกระทำอู่ทองให้พระราชโอรสไสยาสน์ เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้พระนามปรากฏว่าเจ้าอู่ทองจำเดิมแต่นั้นมา เมื่อจุลศักราชล่วงได้ 681 ปี บิดาแห่งเจ้าอู่ทองราชกุมาร จึงประหารซึ่งทิพยเภรีนิมิตเป็นพระนครขึ้นใหม่ที่นั้น ให้นามชื่อว่าเทพนคร มีมหาชนทั้งปวงชวนกันมาอาศัยอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก พระองค์ก็ได้เสวยไอศุรียสมบัติเมืองเทพนคร ทรงพระนามกรชื่อพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เมือจุลศักราชล่วงได้ 706 ปี พระเจ้าศิริไชยเชียงแสนเสด็จดับขันธ์ทิวงคต กลองทิพย์นั้นก็อันตรฐานหาย สมเด็จพระเจ้าอู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ 6 พระวัสสา ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่ จึงให้ราชบุรุษให้เที่ยวแสวงหาภูมาประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ครบทุกสิ่ง ราชบุรุษเที่ยวหามาโดยทักษิณทิศ ถีงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณมัจฉาชาติพร้อมบริบูรณ์ สมเด็จบรมกษัตริย์ทรงทราบ จึงยกจตุรงค์โยธาประชาราษฎรทั้งปวง มาสร้างพระนครลงในประเทศที่นั้นในกาลเมือจุลศักราชล่วงได้ 712 ปี ให้นามบัญญัติชื่อว่ากรุงเทพมหานครนามหนึ่ง ตามนามพระนครเดิมแห่งพระราชบิดา ให้ชื่อว่าทวาราวดี นามหนึ่ง เหตุมีคงคาล้อมรอบเป็นของเขตดุจเมืองทวาราวดี ให้ชื่อศรีอยุธยานามหนึ่ง เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง อันชื่อยายศรีอายุและตาอุทะยาเป็นสามีภริยากัน อาศัยอยู่ในที่นั้น ประกอบพร้อมด้วยนามทั้งสามจึงเรียกว่า กรุงเทพหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา
    สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษก เสวยสวริยาธิปัตย์ถวัลยราท ณ กรุงเทพมหานคร ทรงพระนามสมเด็จพระรามาธิบดี และวันเมื่อราชาภิเษกนั้น ได้สังข์ทักษิณาวรรต ณ ภายใต้ต้นไม้หมันในพระนคร เมื่อแรกได้ราชสมบัตินั้นพระชนม์ได้ 37 พระวัสสา แล้วให้พระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐาธิราชไปปกครองสมบัติ ณ เมืองสุพรรณบุรี ให้พระนามพระราเมศวรกุมารไปผ่านสมบัติ ณ เมืองลพบุรี
    ครั้งนั้นมีเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงเทพมหานคร 16 เมือง คือ เมืองมะละกา เมืองชะวา
    เมืองตะนาวสี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพระพิศนุโลกย์ เมืองสุโขทัย เมืองพิไชย เมืองพิจิตร เมืองสวารรคโลกย์
    เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์
    พระองค์ทรงสร้างพุไทยสวรรค์ยาวาศวิหารและรัตนะวนาวาศรีวิหาร คือวัดป่าแก้ว พระสถิตอยู่ในราชสมบัติ 20 พระวัสสาก็เสด็จทิวงคต ”
    จากเรื่องเทศนาจุลยุทธการวงศ์ได้กล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)นั้น พอที่จะสรุปเป็นข้อๆได้ว่า
    1. พระราชวงศ์ทางผ่ายพระชนนีมาจากเชียงราย สร้างเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนพระชนก(บุรุษแสนปม)ทรงพระนามภายหลังว่าพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ยังไม่ทราบว่ามาจากที่ใด
    2. พระเจ้าศิริไชยเชียงแสนสร้างเมืองเทพนครเมื่อจุลศักราช 681 หรือพุทธศักราช 1862
    3. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเทพนครต่อจากพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เมือจุลศักราช 706 หรือปีพุทธศักราช 1887 ครองเมืองเทพนครได้ 6 พรรษาได้ย้ายไปสร้างเมืองกรุงศรีอยุธยาและสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมือจุลสักราช 712 หรือพุทธศักราช 1893
    4. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) มีความเกี่ยวข้องกับพระบรมราชาธิราช(หลวงพะงั่ว) ถือเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ และตรัสเรียกพระเชษฐา
    พระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จากเทศนาจุลยุทธการวงศ์
    ข้อความที่กล่าวในแต่ละข้อ มีหลักฐานจากพงศาวดาร และโบราณคดีที่จะนำมารับรองได้ว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นเชื้อสายชาวกำแพงเพชรจริง ดังนี้
    พระราชวงศ์ทางผ่ายพระชนนีมาจากเชียงรายสร้างเมืองไตรตรึงษ์
    พงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7
    หน้า 489-491 กล่าวถึง พระเจ้าไชยศิริเจ้าเมืองไชยปราการ ถูกกองทัพจากเมืองสเทิม(รามัญ)เข้าโจมตี ไม่สามารถป้องกันรักษาเมืองไชยปราการไว้ได้ จึงพาบรรดาข้าราชการและประชากรหลบหนีมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งริมแม่น้ำปิง(เมืองแปบ)เมือครบกำหนด 3 วัน ได้ฝังหลักเมืองตั้งพระนคร ขนานนามขึ้นเป็น “เมืองกำแพงเพชร” เมื่อจุลศักราช 366 วันอังคาร เดือน 9 แรม 4 ค่ำ ปีมะเส็ง (พ.ศ. 1547) และได้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ในเวลาต่อมา

    ดังนั้นจากเทศนาจุลยุทธการวงศ์ กษัตริย์เชียงรายผู้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ ตรงตาม
    พงศาวดารโยนกคือพระเจ้าไชยศิริ เจ้าเมืองไชยปรากการ ที่พาประชากรหลบหนีมาถึงเมืองแปบแล้วสถาปนาขึ้นเป็น “เมืองกำแพงเพชร”และสร้างเมือง “ไตรตรึงษ์”ในคราวหลัง


    พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน(บุรุษแสนปม)สร้างเมืองเทพนคร
    เทศนาจุลยุทธการวงศ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน(บุรุษแสนปม)ได้ทรงสร้างเมืองเทนคร เมื่อจุลศักราช 681(พุทธศักราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชร ไว้




    สถานที่ตั้งและและภาพถ่ายเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนคร
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร
    ตำนานกรุงเก่า ตอน 1 ประวัติกรุงเก่า พระราชพงศาวดารสังเขป ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม5 หน้า 9 ได้กล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร ก่อนไปตั้งกรุงศรีอยุธยา โดยคัดลอกข้อความเป็นบางส่วนมาอธิบายดังนี้
    “ ครั้นเมื่อจุลศักราช 712 ปี พระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์เชียงราย ซึ่งเสวยราชสมบัติในเมืองเทพนคร เมืองนี้ที่จะอยู่ใกล้กับเมืองที่มีอำนาจ จะเป็นที่คับแคบ ซึ่งพระเจ้าอู่ทองจะขยายเขตแดนออกไปอีกไม่ได้ หรือกลัวเมืองอื่นจะมาทำอันตรายได้ง่ายในอย่างใด จึงได้เสด็จลงมาสร้างเมืองหลวงขึ้นที่ตำบลหนองโสนข้างทิศตะวันตกกรุงศรีอยุธยา”
    จากข้อความ สรุปได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง)ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองเทพนครต่อจากพระเจ้าศิริใชยเชียงแสน แล้วจึงย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยาในคราวหลัง

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร
    กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จาก พงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพงั่ว
    ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง
    เรื่อง “อธิบายรัชการครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช(หลวงพงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
    (พระเจ้าอู่ทอง) ดังนี้
    “ อธิบาย เห็นว่าควรจะนับเปนราชวงษ์สุวรรณภูมิ์ เพราะเปนราชโอรสของพระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิ์ ไม่ได้ร่วมวงษ์กับสมเด็จเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นแต่เขยราชวงษ์สุวรรณภูมิ์”
    ชาวเมืองสุพรรณบุรี ได้กล่าวถึงประวัติของเมืองสุพรรณบุรีที่พบได้ในเอกสารต่าง ๆ กล่าวไว้ดอนหนึ่งมีข้อความว่า
    “เมื่อพระเจ้ากาแต เชื้อสายมอญได้เสวยราชย์ในเมืองอู่ทอง แล้วย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่เมืองพันธุมบุรี ได้มอบหมายให้มอญน้อย (พระญาติ) สร้างวัดสนามไชยและบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ในบริเวณเมืองพันธุมบุรีเสียใหม่ เมื่อบูรณะวัดแล้วทางราชการได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา และชวนกันออกบวชถึงสองพันคน จึงได้เรียกชื่อเมืองนี้ใหม่ว่า "เมืองสองพันบุรี"
    เมืองอู่ทอง มีกษัตริย์ครองราชย์สืบต่อกันมาหลายพระองค์ เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง" ทั้งสิ้น และพระราชธิดาของพระเจ้าอู่ทอง ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าราม โอรสพระเจ้า
    ศิริชัยเชียงแสน ต่อมาพระเจ้ารามขึ้นครองเมืองอู่ทองแทน (พ่อตา) คนทั่วไปก็เรียกว่า "พระเจ้าอู่ทอง" เมื่อขุนหลวงพะงั่ว (พี่มเหสี) ขึ้นครองเมืองสองพันบุรี และได้ย้ายไปครองเมืองอู่ทอง
    เมืองอู่ทองต้องกลายเป็นเมืองร้าง เพราะแม่น้ำจระเข้สามพันเปลี่ยนทางเดินใหม่และตื้นเขิน ซ้ำร้ายยังเกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) อีกด้วย ขุนหลวงพะงั่วจึงย้ายกลับมาประทับที่ เมืองสองพันบุรี และภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองสุพรรณบุรี" เมื่อ พ.ศ. 1890”

    จากหลักฐานที่นำมากล่าวนั้นพอที่จะสรุปได้ว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง)ได้เป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เมืองอู่ทอง(เป็นน้องเขยหลวงพะงั่ว) ต่อมา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ได้ขึ้นครองเมืองอู่ทอง และในคราวหลังหลวงพะงั่วได้ขึ้นครองเมืองอู่ทองต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
    บทสรุป
    หลักฐานต่าง ๆ ที่นำมาอธิบายนั้นสามารถที่จะกล่าวพระราชประวัติของสมเด็จรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ว่า เป็นชาวกำแพงเพชร เป็นโอรสของพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้สร้างเมืองเทพนคร ได้เป็นราชบุตรเขยเมืองอู่ทอง( เป็นน้องเขยของหลวงพะงั่ว) ได้เป็นกษัตริย์เมืองอู่ทอง ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร และครั้งสุดท้ายเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
    ดังนั้น บุคคลผู้เป็นโอรสของพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เป็นกษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร และเป็นปฐมกษัตริย์กรุงศรีอยุทธยา ก็คือบุคคลคนเดียวกันนั่นเอง ที่ทรงพระนามว่า
    “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)”

    อ้างอิง
    คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
    ภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2542.
    คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
    ภิเษก เล่ม 5. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2544.
    คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนา
    ภิเษก เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, 2545.



    -http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?topic=256.0-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <CENTER>สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    </CENTER>
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีพระนามเดิมว่า พระอินทราชา เป็นพระราชโอรสในพระเอกาทศรถ ก่อนหน้าที่สมเด็จพระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต
    พระอินทราชาได้เสด็จออกผนวชอยู่จนถึงรัชสมัยพระศรีเสาวภาคย์ เมื่อพระศรีเสาวภาคย์เสด็จสวรรคตแล้ว พระศรีศิลป์และบรรดาเจ้านายขุนนาง
    ได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระอินทราชาให้ทรงลาผนวชและขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๔ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงพระนามพระเจ้าทรงธรรม
    หรือพระสรรเพชญ์ที่ ๕ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งพระศรีศิลป์ ผู้เป็นพระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงประพฤติราชธรรมอย่าง
    มั่นคงเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระองค์ไม่นิยมการศึกสงคราม ทรงเจริญรอยตามสมเด็จพระเอกาทศรถ ในด้านการ
    ปกครองบ้านเมือง ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระมเหสี คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร กับพระอาทิตยวงศ์
    พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดลอกพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์
    เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวงถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบน
    ยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมืองสระบุรี พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร-
    การเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา พระพุทธบาทสระบุรี จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชน
    ตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน
    พระองค์ทรงมีสัมพันธไมตรีกับบรรดาต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าที่สำคัญในภูมิภาคแถบนี้ของโลก
    ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะฮอลันดา อังกฤษและญี่ปุ่น ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ และสมเด็จพระเอกาทศรถ
    พระองค์ก็ได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้ง
    คลังสินค้า และในปี พ.ศ.๒๑๕๕ พระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุ-
    ญาติให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยาได้สะดวก ส่วนชาวญี่ปุ่น ปรากฏว่ามีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวน
    มาก จนได้มีการจัดตั้งกรมอาสาญี่ปุ่น ขึ้นมาช่วยราชการกรุงศรีอยุธยา ชาวญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการเมืองในรัชสมัยของพระองค์ คือ ยามาดะ
    นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข
    เนื่องจากพระองค์ไม่นิยมการทำสงคราม ด้วยเหตุนี้กรุงศรีอยุธยาจึงต้องเสียเมืองทวาย อันเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางตะวันตก ในทะเลอันดามัน
    พม่ายกกำลังมาตีเมืองทวายได้เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๕ ต่อมากัมพูชา และเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นประเทศราช ของไทยมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระ
    นเรศวร ฯ ต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา
    ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ทรงประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐา-
    ธิราชกุมาร และทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัย เป็นผู้ดูแล
    พระเชษฐาธิราช จนกว่าจะได้ครองราชย์
    สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ครองราชย์ได้ ๑๗ ปี









    -http://www.sch.ac.th/Social%20Pathom%205/Lesson%207/Thai%20History/King%20auttaya/king22.html-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>นิทานสอนใจ : ความทะนงตัวของแมลงวัน
    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090929-
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>24 กรกฎาคม 2554 08:53 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=270 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=270>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กลับมาแล้วครับกับนิทานสอนใจหลากหลายรส หลังจากที่ห่างหายกันไปเสียนาน อาทิตย์นี้ทีมงาน Life & Family มีนิทานสอนใจเรื่อง "ความทะนงตัวของแมลงวัน" มาฝากให้หายคิดถึงกันครับ

    ////////////

    แมลงวันตัวหนึ่งไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มันเที่ยวบินเร่ร่อนหาของกินไปทั่ว และไม่ได้คิดถึงอะไรมากนัก นอกจากคิดว่า ตนเองมีความสุขสบายดีแล้วที่มีชีวิตแบบนี้ เพราะเป็นผู้ไม่มีภาระและไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย

    วันหนึ่งในฤดูร้อน แมลงวันตัวนี้บินเตร็ดเตร่ไปหาของกินทางทิศเหนือพบฝูงมดง่ามฝูงหนึ่งกำลังขนอาหารไปสู่รังอย่างขะมักเขม้น แมลงวันเฝ้าสังเกตเหล่ามดง่ามอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะปล่อยเสียงหัวเราะออกมาอย่างเย้ยหยัน มดง่ามตัวหนึ่งได้ยินดังนั้น จึงเงยหน้าขึ้นมองแล้วถามแมลงวันว่า

    "มีใครในหมู่พวกเรา ทำให้ท่านขบขันถึงปานนั้นหรือ"

    "อ้อ...หามิได้หรอกท่าน" แมลงวันร้องบอก "ข้ามิได้ขบขันผู้ใดผู้หนึ่งในหมู่ท่าน แต่ข้าพเจ้ารู้สึกเวทนาในชะตาชีวิตของพวกเจ้ามากกว่า"

    "เวทนาเพราะสิ่งใดเล่า" มดง่ามถาม

    "เวทนา เพราะพวกท่านต้องทำงานอยู่ตลอดเวลาจึงจะมีอาหารประทังชีวิต ผิดกับตัวข้าพเจ้าที่ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่สามารถหาอาหารมาปรนเปรอกระเพาะได้ตลอดเวลา" แมลงวันตอบอย่างเยาะหยัน

    "ชะตาชีวิตของพวกเราทำให้ท่านรู้สึกอย่างนั้นหรือ...ผิดแล้วล่ะ ท่านต้องคิดกลับกันต่างหาก เพราะการทำงานอย่างขยันขันแข็ง ทำให้ชีวิตของพวกเรามีคุณค่าเป็นที่ประจักษ์ทั้งตัวเราเองและผู้อื่น แต่ข้าพเจ้าก็พอเข้าใจอยู่หรอกว่า สำหรับท่านซึ่งทำตนเสมือนอยู่ไปวันๆ นั้นคงไม่รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของผู้อื่นหรอก เพราะแม้แต่ตัวท่านเอง ยังทำตนให้เกิดคุณค่าใดๆ มิได้เลย" มดง่ามพูด

    แมลงวันเมื่อได้ยินมดง่ามกล่าวดังนั้น ก็รู้สึกขุ่นเคืองใจเป็นอย่างมาก ด้วยคิดว่ามดง่ามนั้นช่างไม่รู้สำนึกตน จึงได้พูดจากลบเกลื่อนความต่ำต้อยของตนเอง และกล่าวแดกดันแมลงวันออกมาเช่นนั้น มันจึงชูคอขึ้นด้วยความหยิ่งผยองราวกับว่าตนคือพญาอินทรี แล้วกล่าวต่อไปว่า

    "มดง่ามเอ๋ย...ตัวท่านนั้นหาได้มีดีดังว่าไม่ และตัวข้าพเจ้าก็ไม่ได้เป็นดังเช่นคำพูดท่านด้วย ลองคิดดูสิ ระหว่างท่านกับข้าพเจ้านั้น ใครเล่าคือผู้ยิ่งใหญ่และถือครองบุญวาสนากว่ากัน ข้าพเจ้าจะบอกอะไรบางอย่างแก่ท่าน ซึ่งท่านอาจจะไม่เคยรู้เลยว่า ตัวข้าพเจ้าสามารถบินวนไปรอบๆ ที่บูชา และข้าพเจ้าก็เที่ยวดั้นด้นไปทั่วทุกวิหารของเทพเจ้ามาแล้ว นอกจากนั้น ข้าพเจ้ายังเป็นผู้แรก ที่ได้มีโอกาสลิ้มรสเครื่องในตับไตไส้พุงของเครื่องเซ่นสรวงในวิหารเหล่านั้น...

    "ท่านรู้หรือไม่ เมื่อข้าพเจ้ามองเห็นเศียรของกษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าเหนือหัวของผู้คนทั่วแผ่นดินนั้น ข้าพเจ้าสามารถบินร่อนลงไปเกาะได้ในไม่ช้า...

    "นอกจากนั้น ข้าพเจ้ายังทำในเรื่องที่บุรุษทุกคนต้องอิจฉา เพราะข้าพเจ้าสามารถจุมพิตริมฝีปากสาวบริสุทธิ์ทุกคนได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุรุษทั่วไปไม่อาจกระทำได้ตามอำเภอใจ...

    "และสุดท้าย ข้าพเจ้าขอย้ำให้ท่านฟังอีกครั้งหนึ่งว่า ข้าพเจ้านั้น ไม่ต้องดิ้นรนทำงาน แต่ก็มีชีวิตที่โอ่อ่าหรูหราได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหากเปรียบกับตัวท่าน ผู้ที่ฟันยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมแล้ว ข้าพเจ้าก็คิดว่าไม่มีสิ่งใดหรอกที่จะนำมาเทียบกันได้"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> มดง่ามนิ่งฟังอย่างสงบ แล้วตอบว่า

    "แน่ทีเดียว ท่านแมลงวัน...เราต้องภาคภูมิใจเมื่อได้รับประทานอาหารกับเทพเจ้า แต่ก็ต่อเมื่อได้รับการเชื้อเชิญอย่างยินดี ไม่ใช่ถือตนเข้าไปเองโดยไม่มีการต้อนรับ แล้วท่านเล่า เคยได้รับการเชื้อเชิญแบบนั้นหรือไม่..."

    "ท่านเคยได้ไปเยือนสถานที่บูชาอย่างนั้นหรือ? อาจเป็นเช่นนั้นได้ แต่ท่านก็ถูกขับไล่ออกมาอย่างรวดเร็ว มิใช่หรือ..."

    "ท่านพูดถึงพระเศียรของกษัตริย์ และริมฝีปากของหญิงสาว แต่ทั้งสองเป็นสิ่งที่ควรปกปิดจากการสัมผัส และแม้แต่เด็กยังรู้ว่าต้องให้ความเคารพ และปฏิบัติกับสิ่งเหล่านั้นอย่างให้เกียรติ แต่ท่านเล่า เหตุใดจึงทำการล่วงละเมิดเช่นนั้นอยู่เป็นนิจ หรือในชีวิตของท่าน ไม่เคยรู้จักกับกาลเทศะและความสงบเสงี่ยมเลย..."

    "ท่านไม่ทำงานเลยหรือ? ใช่แล้ว เพราะเช่นนี้อย่างไรเล่า ท่านจึงต้องขาดแคลนบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้เอง ขณะเมื่อข้าพเจ้าทำงานเก็บไว้กินในฤดูหนาว ข้าพเจ้าเคยแลเห็นท่านเที่ยวหากินตามกองขยะ และสิ่งปฏิกูลใกล้ๆ กำแพงเมือง ซึ่งต้องเสี่ยงเผชิญกับความหนาวเย็นที่อาจจะทำให้ท่านตายได้ทุกเมื่อ..."

    "และนั่นคือเหตุผลที่ว่า เหตุใดข้าพเจ้าและเพื่อนๆ จึงต้องทำงานกันอย่างหนักในตอนนี้ เพราะอาหารที่พวกเรากำลังขนเข้าไปในรัง จะกลายเป็นเสบียงอาหารชั้นดี ที่ช่วยให้พวกเราอยู่รอดตลอดหน้าหนาวนั้น โดยที่ไม่ต้องออกไปเสี่ยงภัยหนาวอยู่ข้างนอก..."

    "แล้วตัวท่านเล่า ในเมื่อฤดูหนาวไม่ทำงาน เที่ยวมาคอยรบกวนการทำงานของข้าพเจ้า ฤดูหนาวท่านก็ต้องทนจับเจ่าหลบลมหนาว หาความปลอดภัยให้แก่ชีวิตไม่ได้เป็นธรรมดา ข้าพเจ้าคิดว่า เท่าที่ข้าพเจ้าพูดมานี้ ก็พอจะลดความหยิ่งผยองของท่านได้มากแล้ว"

    กล่าวจบมดง่ามก็ละความสนใจจากแมลงวันแล้วกลับเข้ากลุ่มมด เพื่อทำงานตามหน้าที่ตนเองอย่างแข็งขันต่อไป

    ส่วนแมลงวันนั้นรู้สึกเสียหน้าอย่างมาก มันรีบบินออกไปไกลจากฝูงมด และไม่เคยกลับมาทางนี้อีกเลย

    ดังนั้น เธอทั้งหลายจงอย่าดูแคลนว่าผู้อื่นต้อยต่ำ แล้วทะนงตนเองว่าสูง เพียงเพราะเห็นว่า ตัวเองมั่งมีสุขสบายกว่าเขา เพราะนั่นเป็นเพียงเปลือกนอกที่ฉาบฉวยเกินกว่าจะเอามาตัดสินคุณค่าชีวิตของใครคนใดคนหนึ่งได้

    รู้ไว้เถิดว่า สำหรับคนที่สูงส่งจริงๆ แล้ว เขามักจะอยู่อย่างเจียมตน และไม่อวดอ้างหรอกว่าตนเองอยู่เหนือกว่าผู้อื่น เนื่องจากคนที่สูงส่งที่แท้จริงย่อมทำตนเองให้มีคุณค่ามากพอ จนเกิดความรู้สึกอิ่มเอมในชีวิต และไม่จำเป็นต้องยกตนเพื่อไปเปรียบเทียบ หรือคุกคาม ข่มเหงใครๆ เพียงเพราะต้องการให้ตนเองดูยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น เพราะผู้ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่คนที่สูงส่งอะไร แต่เป็นคนต่ำต้อยที่อยากให้ใครๆ รู้ว่าตนเองสูงส่งเท่านั้น

    //////////////

    ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ฟรีมายด์ที่เอื้อเฟื้อนิทานสอนใจดี ๆ ในชุดหนังสือนิทานสีขาวของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=270 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=270> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    .

    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000090929-
    .
     
  9. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    ดีครับผม สบายดีนะครับวันอาทิตย์ยามบ่าย
    มื่อคืนฝนตกหนักมากครับ น้ำท่วมแถวบ้านเลยนะครับ ยังดีที่วันนี้ไม่ใช่วันทำงานนะครับ ไม่งั้นรถติดแย่เลยนะครับ
    คุณหนุ่มส่งทรายมายังครับผม ถ้าส่งมาแล้วผมขอโทษด้วยนะครับ เพราะยังไม่ได้รับนะครับ
    ไม่ทราบว่าในสมัยวังหน้านั้น พระสมเด็จเนิ้อพระธาตุ นี้ทำจากพระธาตุใดหรือครับผม
     
  10. rung847

    rung847 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    818
    ค่าพลัง:
    +3,418
    ผมได้บริจาค ต่อชีวิตพระเณร แล้วครับ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    500 บาท ไม่ทราบยังพอมีพระสมเด็จวังหน้าเหลือไหมครับ เอาพิมพ์ไหนก็ได้ ขอให้หลวงปู่เทพโลกอุดรกับสมเด็จโต ปลุกเสก ผมอยากได้มาบูชาเเละคุ้มครองตัวครับ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    นายรุ่งเรือง สารวิจิตร<o:p></o:p>
    โรงเรียนบ้านนาลึ่ง ต.เหล่ากอหก อ.นาแห้ว <o:p></o:p>
    จ.เลย 42170<o:p></o:p>
    โทร. 0845750954<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pariyut.jpg
      pariyut.jpg
      ขนาดไฟล์:
      222.4 KB
      เปิดดู:
      81
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    รับทราบครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  12. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    สวัสดีครับพี่หนุ่ม สบายดีนะครับ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระธาตุของพระอรหันต์ครับ

    เป็นการนำมาผสมลงในองค์พระครับ

    ส่วนทราย ยังไม่ได้ส่งเลยครับ สัปดาห์หน้า หากกลับบ้านไม่ดึก จะรีบเตรียมส่งให้ครับ

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ทำไมน้ำหนักเพชรต้องเป็นกะรัต


    [​IMG]


    เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมหน่วยวัดน้ำหนักอัญมณีต่าง ๆ จึงไม่เป็นสากลแบบกรัมหรือมิลลิกรัม แต่กลับเรียกว่ากะรัต

    สาเหตุที่เรียกหน่วยในการวัดระดับของน้ำหนักอัญมณี เช่น เพชร พลอย ทับทิม ฯลฯ ว่า "กะรัต" (Carat) เนื่องมาจากในสมัยโบราณ ยังไม่มีการกำหนดอัตราในการวัดน้ำหนักสิ่งของต่าง ๆ เป็นสากลแบบระบบเมตริกในปัจจุบัน จึงได้ใช้พืชชนิดหนึ่งเรียกว่า "แคร็อบ" หรือในภาษาอังกฤษ Carob ซึ่งมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม พบในแอฟริกาใต้ มาใช้เป็นสื่อกลางในการวัดน้ำหนักของเพชร เพราะเจ้าแคร็อบนี้ มีสิ่งที่มหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งนั่นคือเมล็ดจะมีน้ำหนักเท่ากันทุกเมล็ด จึงได้มีการตกลงกันให้ใช้เมล็ดเป็นมาตรฐานในการวัด ซึ่ง 1 เมล็ด เท่ากับ 0.2 กรัม โดยการชั่งก็คือใช้ตราชั่งแบบ 2 แขน วัดให้ 2 ข้างเท่ากัน ก็จะได้น้ำหนักเพชร คำว่าแคร็อบจึงเพี้ยนมาเป็น "กะรัต" อย่างทุกวันนี้

    น้ำหนักกะรัต เป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในการวัดน้ำหนักของอัญมณี ซึ่งจะเทียบกับในระบบเมตริกได้คือ 1 กะรัต จะมีค่าเท่ากับ 0.2 กรัม และเท่ากับ 100 สตางค์ หรือหากวัดในระดับความบริสุทธิ์ของทองคำ ทองคำ 24 กะรัตจะมีค่าความบริสุทธิ์ 100%.





    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=152865-



    Daily News Online > โทรโข่ง > หน้าเกร็ดความรู้ > ทำไมน้ำหนักเพชรต้องเป็นกะรัต

    .
     
  18. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    8 อาการป่วยปุบปับ เตือนโรคร้าย

    วันจันทร์ ที่ 25 กรกฎาคม 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    หลายคนคงเคยมีอาการเจ็บป่วยแปลกๆ เกิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นอวัยวะส่วนที่มีอาการผิดสำแดงก็ดูเป็นปกติดี ส่งผลให้ทั้งตนเองและคนรอบข้างเกิดอาการจิตตก กังวลไปต่างๆ นานา เพราะไม่รู้ว่า อาการที่เกิดขึ้นแบบปุบปับเหล่านั้นเป็นสัญญาณของโรคใด มีความอันตรายมากน้อยแค่ไหน

    ด้วยเหตุนี้เอง นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ มี 8 อาการ ที่มักเกิดขึ้นชนิดสายฟ้าแลบ พร้อมคำเฉลยของอาการแปลกๆ เหล่านั้น มาบอกให้ผู้อ่านเดลินิวส์ออนไลน์ได้ทราบ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และทราบถึงความรุนแรงของโรค

    @@@@@

    โรคแปลกที่ทำให้ท่าน “แปลบ” ขึ้นมาชั่วพริบตามีอยู่มากด้วยกัน แต่จะขอนำที่ควรรู้ทันและพบบ่อยมาฝากไว้ให้ดังต่อไปนี้ครับ

    เห็นด้วยตา อาการเห็นแสงไฟแว้บในตาเหมือนแฟลชต้องระวัง “จอตา” ไว้ให้ดีว่าเริ่มมีขาดมีทะลุ ยิ่งร่วมกับอาการมองเห็นจุดดำลอยไปมาเวลามองเพดานขาวยิ่งเป็นสัญญาณอันตรายให้ไปถ่างขยายม่านตาตรวจดูน้ำวุ้นและจอตาดูสักทีดีกว่าครับ

    ตาดับ จู่ๆโลกก็หายวับไป บางรายอาจเหมือนม่านดำค่อยๆ คลื่ลงมาคลุมจนดับสนิทหรือบางชนิดก็ดับปุบปับไปเลย อย่างนี้ถือเป็น “ฉุกเฉิน” ทางจักษุวิทยาให้รีบหาหมอตาโดยเร็วเพราะอาจบ่งถึงหลอดเลือดอุดตันในจอตาได้

    เจ็บลงขา น่าตกใจเวลาเดินหรือก้มหลังแล้วมีเจ็บร้าว ให้สงสัยว่ามาจาก “เบื้องบน” กว่านั้นคือเส้นประสาทใหญ่หรือไม่ก็มาจาก “ไขสันหลัง” โดยตรงที่คงมีบางสิ่งมากดเช่นกระดูกสันหลังหรือก้อนหินปูนงอกมาจนบดเอาประสาทร้าวไป ในบางท่านถึงกับต้องผ่าตัดทีเดียวครับ

    เลือดออกตา จู่ๆเกิดตาแดงไม่ธรรมดานั่นคือ “แดงฉาน” ราวหมึกแดงหกราดตาขาว อาการนี้เป็นสัญญาณไม่ดีว่าเส้นเลือดตาแตกซึ่งอาจพบได้ในคนที่เลือดออกง่ายหรือไม่ก็มีความดันโลหิตสูงไม่ควบคุม ต่อไปอาจมีรุมเร้าเข้าถึงเส้นเลือดสมองจนแตกได้เช่นกัน

    สมองขาดเลือด เรียกโรคลมปัจจุบันเป็นโรคดุดันที่ทำให้กายขยับไม่ได้กลายเป็นอัมพาต สามารถเป็นในอายุน้อยได้ บางรายแขน-ขาอ่อนแรงไปซีกเดียว บางรายเป็นชั่วคราวแต่ก็ทำเอาตกใจขวัญบินทั้งที่กินเวลาไม่นาน แต่ถ้าเกิดอาการขึ้นไม่ว่าอย่างไรควรไปสแกนสมองตรวจดูว่ามีผู้ร้ายอยู่จุดใดครับ

    แน่นลิ้นปี่ มีอาการกลางดึกนึกว่าจะไม่รอด อาการเช่นนี้อาจมีได้จากโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อนที่รักษาไม่หาย ทำให้จุกแน่นขึ้นมาได้ถึงอกจนหายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่มักชวนให้คิดถึงโรคหัวใจเสมอ ถ้าเผลอเป็นขึ้นมาอย่าตระหนกมากให้นอนนิ่งสักพักถ้าเจ็บมากขึ้นแล้วค่อยว่ากัน

    เจ็บหน้าอก ยังไม่ต้องตกใจเพราะเจ็บอกจากหัวใจต้องมีอาการสามคือ เจ็บเหมือนถูกกดทับ,นับตอนเหนื่อยและเรื่อยไปแขนซ้าย ถ้าได้ครบให้รีบคิดถึงโรคหัวใจขาดเลือดทันที เพราะอาจมี “ช็อก”ได้ถ้าทิ้งนานครับ

    โรควูบ จัดเป็นกลุ่มใหญ่เกิดได้จากแค่เป็นลมธรรมดาไปจนถึงจากอาการช็อกเพราะเสียเลือด คนป่วยโรควูบจะไม่รู้ตัว จู่ๆก็จะหมดสติไปเกิดได้จากน้ำตาลต่ำมากหรือจากเบาหวานที่มีอาการช็อกได้ บางรายเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกครับ

    @@@@@

    แม้โรคที่ว่าจะไม่น่ารักเหมือนประกันที่มาไวแล้วก็ไปไวด้วย แต่บางอาการก็ช่วยเตือนเราได้ก่อนถูกโรคภัยไข้เจ็บเล่นงานหนัก เช่น ตาที่เห็นแสงวูบวาบขึ้นมาถือว่าช่วยเตือนให้ไปรักษาเนิ่นๆ ทันก่อนจอตาจะหลุด หรือเส้นเลือดตาแตกก็ต้องหยุดความดันที่พุ่งสูงให้ได้เสียก่อนที่จะไปแตกในสมอง.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    อานิสงส์ดอกเบี้ยแบงก์ฟันกำไรเละ


    ธุรกิจ-ลูกหนี้บ้านกระอักจ่ายเพิ่ม

    ท่ามกลางสารพัดปัจจัยเสี่ยงที่ถาโถมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทย ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นว่าจะหยุดยั้งอยู่ ในระดับใดกันแน่ ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่นิ่งไม่เงียบอย่างแท้จริง แม้จะได้รัฐบาลชุดใหม่ที่มีผู้นำเป็นผู้หญิงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติตาม ที่คนไทยส่วนใหญ่ต้องการแล้วก็ตาม

    ที่สำคัญนโยบายซื้อใจรากหญ้าของรัฐบาลชุดใหม่ที่ต้องใช้เงินมหาศาล เพื่อให้คนไทยมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องมือ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเพิ่มเงินเดือนให้กับผู้จบปริญญาตรีที่ระดับ 15,000 บาท รวมไปถึงการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาทุกเม็ดในราคาตันละ 15,000 บาท กลับกลายเป็นดาบสองคมที่เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นมากไปอีก

    ด้วยความเสี่ยงเหล่านี้จึงทำให้ผู้คุมนโยบายด้านการเงินอย่างธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) ออกมาส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้พุ่งทะยานเพิ่ม ขึ้น จนกลายเป็นอุปสรรคซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยถลำลึกลงอีก โดยธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปี 53 ที่ผ่านมา

    ที่สำคัญ ธปท.ยังได้ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน!! ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติภายในปี 54 เพราะทุกวันนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังคงติดลบอยู่ที่ 0.7% ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 54 ธปท.โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง.ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% ตามการคาดหมายของทุกฝ่าย แถมยังคาดหมายกันอย่างต่อเนื่องด้วยว่า นับจากนี้ไปจนถึงสิ้นปีหรืออาจไปจนถึงกลางปีหน้า กนง.จะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึง 4% เพื่อให้ดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติอย่างที่ธปท.ตั้งเป้าหมายไว้

    อัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้นเช่นนี้ ต่างซ้ำเติมให้ผู้ที่มีภาระสารพัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามนุษย์เงินเดือน ทั้งหลายที่ยังต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือแม้แต่เด็กนักเรียนที่พ่อแม่ต้องกู้เงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องกู้เงินแบงก์มาลงทุน มาทำธุรกิจ มาต่อชีวิตให้ตัวเอง ก็ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    แม้ในด้านของผู้ที่มีเงินฝากที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก จะออกอาการยิ้มร่าเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ตาม แต่รายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำปรับเพิ่มมาก ขึ้นนัก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ฝากเงินช่วงหลังจึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภท อื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า บางรายหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มมากขึ้นแทนแม้จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่ก็ได้รับดอกเบี้ยที่งอกเงยกว่า

    ขณะเดียวกันหากกลับไปพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้ว ต้องถามกลับไปว่ารายได้จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นให้กับธนาคารพาณิชย์หรือไม่ ???

    เพราะนับตั้งแต่ต้นปี 54 เป็นต้นมา ธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 5 ครั้ง รวม 1.5% แต่ปรากฏว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย เพียง 0.10-0.50% เท่านั้น แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ต่างเฮโลปรับขึ้นเฉลี่ยไปจนถึงระดับ 1.5% ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับขึ้นเฉลี่ย 0.50% กลายเป็นดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีเงินฝากประจำที่มีเงื่อนไขการฝากเงิน ขั้นต่ำ ขณะที่เงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกยังคงต่ำเตี้ยติดดิน เพราะจนถึงขณะนี้ยังมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเพียง 0.875% เท่านั้น

    แต่เมื่อหันมาดูที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แล้วต่างกลับกันอย่างสิ้นเชิง เพราะทุกครั้งที่ กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ต่างพร้อมใจกันปรับขึ้นสูงในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทันทีคือที่ระดับ 0.25% และเป็นการปรับขึ้นในทุกประเภทของเงินกู้ จนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลานี้ต่างทะยานสูงถึง 7.125 -7.875%

    อย่างครั้งล่าสุดที่กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ปรากฏว่าธนาคารพาณิชย์ก็พาเหรดกันขึ้นดอกเบี้ยตามกันไปด้วย โดยธนาคารกรุงเทพ ปรับขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.125% ส่วนเงินฝากประจำปรับขึ้นสูงสุดที่ 0.50% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับขึ้นทันที 0.25% เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทย ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.125% เงินฝากประจำ 0.125-0.25%

    ด้านธนาคารธนชาตและธนาคารนครหลวงไทย ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.10-0.45% ส่วนธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.15% ต่อปี ส่วนเงินกู้ปรับเพิ่ม 0.25% แม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารพาณิชย์จะถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะเมื่อมีธนาคารคู่แข่งปรับขึ้น ก็ต้องปรับขึ้นตามไปด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและการทำกำไรของตัวเอง

    เหตุนี้เรื่องของ ’ส่วนต่างดอกเบี้ย“ จึงกลายเป็นประเด็นร้อนทุกครั้งเมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยว่า ธนาคารพาณิชย์ฟันส่วนต่างดอกเบี้ยสูงเกินไปเพื่อรักษากำไรของตัวเองให้เติบ โตอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกธนาคารต่างมีส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 3%

    ด้านธนาคารพาณิชย์เองต่างพยายามชี้แจงว่า ไม่สามารถนำดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไปลบกัน แล้วถือเป็นกำไรที่ธนาคารได้จากการนำเงินชาวบ้านไปปล่อยกู้ไม่ได้ แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการ การกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จ่ายเงินสมทบเข้า สำนักงานคุ้มครองเงินฝาก 0.4% และยังค่าใช้จ่ายอีกสารพัด ดังนั้นรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และธนาคารเองมีกำไรต่างกันตามประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ

    แต่หากย้อนกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 50 พบว่าธนาคารพาณิชย์มีส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิหรือนิมอยู่ที่ 3.05% ปี 51 อยู่ที่ 3.51% ขณะที่ปี 53 อยู่ที่ 3.25% ส่วนในปี 54 แต่ละธนาคารต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องรักษาส่วนต่างนี้ให้ได้ที่ระดับ 4%

    ดังนั้น…จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในงวดครึ่งปีแรก ของปี 54 ที่จะพากันโกยกำไรเป็นกอบเป็นกำกว่า 42.25% เพราะจากการรายงานผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 9 แห่ง ที่แจ้งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 70,821.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,036.38 ล้านบาท หรือ 42.25% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 49,785.12 ล้านบาท

    ส่วนในงวดไตรมาสสองปี 54 มีกำไรสุทธิรวม 34,079.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,570.38 ล้านบาท หรือ 33.60% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรรวม 25,509.03 ล้านบาท ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรในงวดไตรมาสสองเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น และบางแห่งยังสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะมีรายได้จากนิมและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น

    จากข้อมูล พบว่าธนาคารกรุงไทยมีกำไรถึง 5,241.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.36% ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,737 ล้านบาท หรือ 29% ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ เพิ่มขึ้นเป็น 2.68% ตามด้วยธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 8,132.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,816.78 ล้านบาท หรือ 52.99% ถือเป็นผลประกอบการที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 29.7% เป็นต้น

    แม้ว่าธนาคารพาณิชย์เองจะปรับกลยุทธ์ทางการตลาดของตนเองโดยหันมาใช้นโยบาย แจกของแถมมาล่อใจ ทั้งไอโฟน ไอแพด ทองคำ ซึ่งคนไทยกำลังนิยมอย่างบ้าคลั่ง เพื่อดึงเงินฝากเข้ากระเป๋ามารองรับกรณีที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดวงเงิน คุ้มครองกรณีสถาบันการเงินถูกปิดกิจการเหลือเพียงแค่ 50 ล้านบาท และจะลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทในปี 55 ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. นี้เป็นต้นไป แทนให้ดอกเบี้ยแบบตรง ๆ ชัด ๆ กันไป ซึ่งธนาคารพาณิชย์อ้างว่าสิ่งของเหล่านี้มีค่าเสมือนกับเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน

    แต่หากทุกฝ่ายคำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมกับผู้ฝากเงินแล้วเห็นได้ชัด ว่าการจะได้รับสิ่งของล่อตาล่อใจแทนดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคาร อีกเช่นกัน ที่สำคัญสิ่งของเหล่านี้หากนำมาคิดแบบเป็นชิ้นเดียวอาจมีมูลค่าสูงบางครั้ง หากเทียบกับดอกเบี้ยแล้วอาจสูงกว่าก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการสั่งซื้อสินค้าลอตใหญ่เช่นนี้ราคาย่อมถูกกว่าการ ซื้อแยกชิ้นหรือราคาที่ปรากฏอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า ผู้ฝากเงินที่ควรจะได้รับผลตอบแทนแบบเต็ม ๆ อาจได้เพียงครึ่งเดียวก็เป็นได้เช่นกัน

    แม้ว่าที่ผ่านมา ธปท.จะออกหนังสือเวียนเพื่อท้วงติงการใช้โปรโมชั่นแจกของแถมของบรรดาธนาคาร พาณิชย์ว่าธปท.ไม่สนับสนุนให้แจกผลตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย แต่ถูกตอกกลับโดยฉับพลันเพราะธนาคารพาณิชย์ต่างนำมูลค่าของแจกมาเทียบเป็น ดอกเบี้ยให้ ธปท. เห็นกันชัด ๆ ไปเลย สุดท้ายธปท.ต้องกำหนดให้ธนาคารบอกอัตราผลตอบแทนที่ชัดเจนและต้องแจกให้กับ ทุกคนแบบไม่มีเงื่อนไข เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ลูกค้า แต่ก็เหมือนเดิมเพราะไม่มีธนาคารพาณิชย์แห่งใดที่อดทนต่อศึกแย่งเงินฝากได้ เพราะทุกค่ายต่างต้องเร่งทำผลกำไรด้วยกันทั้งนั้น

    สุดท้ายผลกำไร…ที่เกิดขึ้นมากมายจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ “พุงปลิ้น” ต่างมาจากรายได้ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ โดยที่รายได้ดอกเบี้ยยังคงเป็นรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธปท. เป็นการช่วยผู้ออมเงินจริงหรือไม่ หรือเป็นการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์กอบโกยรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้อย่าง เป็นกอบเป็นกำกันแน่!!!.

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152919-

    .




    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong</td></tr></tbody></table>

    อรุณสวัสดิ์ยามเช้า วันอังคารเบิกบานครับ


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...