การฝึกฝนภาคอิทธิฤทธิ์ - บุญฤทธิ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กระเจียว, 22 กันยายน 2004.

  1. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    ภาคอิทธิฤทธิ์ - บุ_ฤทธิ์

    การฝึกฝนภาคอิทธิฤทธิ์ - บุ_ฤทธิ์ นี้เป็นผลพลอยได้มาจากการฝึกสมาธิ ซึ่งส่วนให_่เป็นโลกียะ เช่น

    มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจรวมทั้งการอธิษฐาน คือ นิรมิตกายทิพย์ออกจากกายเนื้อ ดุจชักไส้จากห_้าปล้อง ชักดาบจากฝัก (หรือเรียกว่า ถอดจิต )

    อิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ

    ทิพยโสต _าณที่ทำให้มีหูทิพย์

    เจโตปริย_าณ _าณที่ทำให้สามารถกำหนดหยั่งรู้วาระจิตคนอื่น

    ปุพเพนิวาสานุสติ_าณ เป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติปางก่อนได้ คือ ระลึกชาติ

    จุตูปปาต_าณ _าณที่ทำให้มีตาทิพย์ในการกำหนดรู้เรื่องการจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย



    การฝึกนี้เป็นไปด้วยโลกียฌานที่ยังไม่พ้นกฎแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ไม่จีรังยั่งยืน เกิดขึ้นตั้งอยู่ เสื่อมสลายดับไป ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางอย่างแท้จริงของผู้หวังสู่โลกุตรที่มุ่งหมายความหลุดพ้นจากทุกข์

    ดังนั้น ผู้มุ่งสู่โลกุตระโดยแท้จึงไม่ต้องตะเกียกตะกายกระหายโลภอยากจะได้ให้มีในตน

    แต่ทั้งนี้ ธรรมชาติของผู้บำเพ็_ฝึกสมาธิจนจิตนิ่งตั้งมั่นหรือเจริ_วิปัสสนาจนจิตบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีความคิดไปตามอำนาจปรารถนา และปราศจากอุปกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว มีจิตใจที่ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว มีสติระลึกอยู่ทุกขณะ ซึ่งวาระจิตขณะใดขณะหนึ่งในการบำเพ็_ฝึกจิตดังที่กล่าวนี้ อาจจะเกิดผลพลอยได้มีอิทธิฤทธิ์ หรือบุ_ฤทธิ์เกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมดาของการปฏิบัติจิต เมื่อเกิดทิพยอำนาจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ท่านก็ควรจะสนใจศึกษาและฝึกให้เจริ_ยิ่งขึ้น โดยอาศัยอิทธิบาท 4 คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา



    การฝึกจิตนี้ เหมือนธรรมชาติของการปลูกต้นไม้ เมื่อปลูกจนต้นไม้นั้นเจริ_สมบูรณ์แข็งแรงโตเต็มที่แล้ว ก็จะออกดอก และในขณะที่ดอกเริ่มแรกแย้มท่านก็ควรจะสนใจ เอาใจใส่ต้นไม้ที่ท่านปลูกมากับมือด้วยการใส่ปุ๋ยรดน้ำ ให้ต้นไม้เจริ_ยิ่งขึ้น ถึงขั้นติดผลยังประโยชน์แก่ตนต่อไป

    ซึ่งความรู้ความสามารถเหล่านี้ แม้จะอยู่ในส่วนของโลกียะที่ไม่เที่ยงแท้ แต่ถ้าเราศึกษาอย่างถ่องแท้ด้วยการทบทวนหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลาวางใจเป็นกลางไม่มีอุปาทานฝักใฝ่ น้อมเอียงไปกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะมีสติยั้งคิดไม่หลงงมงายจนถอนตัวไม่ขึ้นทำให้เกิดความรู้แจ้งใน_าณปั__าแห่งโลกุตระโดยแท้และเชื่อมั่นในสัจธรรมแห่งพุทธยิ่งขึ้น คลายจากความลังเลสงสัยได้ เช่น

    การถอดจิต เพื่อปลงอสุภะให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นการพิจารณากายในกาย ก็จะสามารถละลายกิเลสในสันดานได้

    การระลึกชาติ ทำให้เข้าใจในเรื่องภพชาติ ตายแล้วไม่สู_ ผลแห่งการทำดี ทำชั่วที่ส่งผลมาถึง



    ปัจจุบันตามกฎแห่งกรรมเพื่อยืนยันให้เชื่อมั่นอย่างมั่นคงในวัฏะจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

    _าณแห่งตาทิพย์ สามารถเห็นเรื่องทิพย์ โดยเฉพาะวิ__าณ และยังสามารถมองเห็นที่มาของอุปสรรคที่ขวางกั้นจิตในการเจริ_สมาธิ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขต่อไป

    ผลพลอยได้จากสมาธิเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะยังการเจริ_ปั__าให้ถึงพร้อมได้โดยง่ายตามที่จิตมุ่งหมายสู่_าณแห่งโลกุตรความรู้แจ้งที่เที่ยงแท้แน่นอนที่มนุษยชาติต้องศึกษาให้ถึงแก่นแท้อย่างจริงจังคือ

    วิปัสสนา_าณ คือ ปั__าที่พิจารณาเห็นสังขารคือ เห็นนาม รูปเป็นไปโดยพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน

    เมื่อฝึกต่อไป ก็จะเจริ_ถึง

    อาสวักขย_าณ _าณหยั่งรู้ในธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสาวะกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่หมักหมนอยู่ในจิตสันดาน
     
  2. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    รากฐานแห่งความสำเร็จบรรลุฤทธิ์

    รากฐานแห่งความสำเร็จบรรลุฤทธิ์

    ความสำเร็จอำนาจฤทธิ์นั้นบรรลุด้วยปั__าความรู้อันแตกฉานจากรากฐานที่จิตไม่หวั่นไหว 16 ประการ

    1. จิตที่ไม่ฟุบลง เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน

    2. จิตที่ไม่ฟูขึ้น เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความคิดพล่าน

    3. จิตที่ไม่โอบไว้ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความกำหนัดยินดีในกาม

    4. จิตที่ผลักออก เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความพยาบาทอาฆาต ผูกใจเจ็บคิดร้ายแก่ผู้อื่น

    5. จิตที่ไม่เกาะเกี่ยว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความดื้อดึงที่เชื่อในความเห็นของตน

    6. จิตที่ไม่ผูกพัน เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความพอใจรักใคร่ยินดีในกามเนื่องด้วย

    หน้า326

    อารมณ์ที่ชอบใจมีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นต้น

    7. จิตที่หลุดพ้น เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความกำหนัดความใคร่ด้วยอำนาจกิเลสกามคุณ

    8. จิตที่ไม่พัวพัน เพราะไม่หวั่นไหวด้วยกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ โลภ โกรธ หลง

    9. จิตที่ทำให้ไม่มีเขตแดนพื้นที่ที่จำกัดกำหนดขีดคั่นไว้ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจอาณาเขตของกิเลส

    10. จิตที่ถึงความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เพราะไม่หวั่นไหวด้วยกิเลสต่างๆ

    11. จิตที่ศรัทธากำกับแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ

    12. จิตที่วิริยะความขยันกำกับแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน

    หน้า327

    13. จิตที่สติกำกับแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความเลินเล่อ

    14. จิตที่สมาธิกำกับแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความคิดพล่าน

    15. จิตที่ปั__ากำกับแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่รู้

    16. จิตที่ถึงความสว่างแล้ว เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความมืด คือ อวิชชาความโง่
     
  3. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    สังวรก่อนฝึกอิทธิฤทธิ์ - บุณยฤทธิ์

    สังวรก่อนฝึกอิทธิฤทธิ์ - บุ_ฤทธิ์

    ใครที่บังอาจใช้อำนาจพลังจิต ในทางผิดศีลธรรม ไม่ว่าจะทำด้วย ความโลภ โกรธ หลง ขอให้พลังจิตที่ฝึกได้นั้น เสื่อมสลายโดยฉับไวและกรรมจงตามทัน

    ท่านควรสังวรว่า การที่ท่านมีพรสวรรค์ในฌาน_าณอันวิเศษมากนี้ จงสงวนความดีเหล่านี้ไว้ให้อยู่เพื่อความดี อย่าให้จิตใจหลงตกอยู่ภายใต้พลังอำนาจมืดที่จะใช้พรสวรรค์ในทางที่ผิด

    อย่าลืมว่า การกระทำความชั่วร้ายไม่ใช่ความผิดของร่างกาย

    จิตใจซิเป็นให_่ ความคิดอันชั่วร้ายจะบดบังเบียดเข้ามาที่จิตใจเท่านั้น ท่านจะต้องตั้งสติด้วยดวงจิตอันบริสุทธิ์ที่แกร่งด้วยความดี ติดตามอย่างใกล้ชิดกับภาวะของความชั่วร้ายที่จะเข้าแทรก ในดวงจิตของเราอยู่เสมอ เมื่อรู้ทันต่อเหตุการณ์นั้นแล้ว จิตย่อมคงทนต่อการบังคับของพลังความชั่วร้าย สามารถชนะกิเลสมารเหล่านั้นได้
     
  4. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฝึกอิทธิฤทธิ์ บุณยฤทธิ์

    ข้อห้ามและข้อควรระวังในการฝึกอิทธิฤทธิ์ บุ_ฤทธิ์
    ท่านที่จะศึกษาเรื่องโลกทิพย์ ท่านจะต้องปฏิบัติตามกฎข้อห้ามข้อบังคับ ดังต่อไปนี้อย่างเข้มงวด ซื่อสัตย์ ต่อคำเตือนนี้ ท่านก็จะพ้นจากอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้

    มิฉะนั้น แล้ว ขอให้ท่านถอยออกไปห่างๆอย่าแตะต้องบทเรียนต่อไปนี้อย่างเด็ดขาด

    ข้อห้ามและข้อควรระวัง

    1. จะต้องเป็นบุคคลไม่คุยโว้โอ้อวด เรียนไม่ถึงจุดแห่งความสำเร็จแล้วมานั่งทดสอบและอวดดีอาจจะถูกคนอื่นที่เก่งกว่าทดลองก็คงเจ็บไปหลายวันและถ้าอวดดีทั้งๆที่ตนยังเรียนไม่ถึงดี คนจะหาว่าเราบ้ามากกว่าดี เพราะท่านไม่มีความแม่นยำ


    2.จะต้องมีความพอใจศรัทธา พากเพียร กล้าหา_ อย่างยิ่ง กล้าต่อสู้กับอุปสรรคอยู่เนืองนิจ

    จะต้องใคร่ครว_พิจารณาในข้อวัตรปฏิบัตินั้นให้ถูกต้อง ท่านก็จะเข้าถึงจุดแห่งความสำเร็จตามเป้าหมายที่ขีดขั้นไว้

    3. พิสูจน์อำนาจพลังงานแห่งทิพย์

    หลังจากท่านสำเร็จตามข้อ 2. แล้ว เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับค้นคว้าต่อไป โดยอย่าได้มีการเปิดเผยตัว ขอให้เป็นการพิสูจน์แบบปิดเงียบรู้เฉพาะในหมู่คนสนิทเท่านั้น

    4. ทุกครั้งที่มีการใช้อำนาจจิตแล้ว จะต้องเข้าฝึกสมาธิอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อสร้างเสริมกำลังภายในกาย เหมือนหม้อแบตเตอรี่ที่ใช้งานแล้วต้องคอยชาร์ทเสริมไฟเพิ่มเติมอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วหม้อไฟนั้นก็จะเสื่อมคุณภาพไร้ค่าถึงขั้นเสียหายใช้การไม่ได้อีก ตัวเราก็เหมือนกัน ถ้าใช้พลังจิตแล้วกายทิพย์จะเสื่อม อ่อนอำนาจพลังลงและถ้าเสื่อมมากๆแล้ว อาจจะถึงตายได้ง่ายๆ โดยตายก่อนอายุขัย


    5.ระหว่างพิสูจน์อยู่นั้นพยายามอย่าริอ่านเป็นคนสอดรู้สอดเห็น เต็มไปด้วยความอยากเพราะจะเป็นทางพาท่านไปตายได้ง่ายๆ แม้ว่าท่านฝึกจนสำเร็จตามขั้นขีดที่วางไว้ ขอร้องขอวิงวอนว่าอย่าโอ้อวดผลงานแก่คนทั่วไป มิฉะนั้น ท่านอาจจะได้รับปั_หานานาประการจากชาวบ้านและรับการขัดขวางและทำลายจากฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อท่าน

    อย่าลืมว่า
     
  5. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    โทษของอุปกิเลสจากนิมิตและวิธีแก้ไข

    โทษของอุปกิเลสจากนิมิตและวิธีแก้ไข

    ท่านที่ฝึกสมาธิบรรลุขั้นตอนมาตลอดนั้น จิตใจอาจจะหลงใหลยึดเหนี่ยวข้องอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นภาวะกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดอุปสรรคขัดขวางกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าเจริ_ต่อไปถึงฌานที่สูงขึ้น เพราะจิตเกิดหลงเข้าใจผิดว่า ตนบรรลุมรรคผลแล้ว จิตจึงยึดแน่นติดอยู่กับอารมณ์นั้น

    1. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในขณะที่จิตนิ่งชั่วขณะหนึ่งเห็นเป็นสีแสงต่างๆ หรืออาจจะเป็นภาพก็ได้ อย่าเพิ่งไปสนใจและปักใจว่าต้องเป็นของเที่ยงแท้ เพราะภาวะนี้ จิตยังไม่ได้บรรลุฌาน_าณปั__าโดยแท้

    2. ปีติ ความรู้สึกยินดีอิ่มเอิบเบิกบานใจ จนลืมตัว

    3. ปัสสัทธิ ความสงบสบายระงับจากอารมณ์ภายนอก ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จิตก็ปรุงแต่งหลงนึกว่าถึงนิพพาน

    4. สุข ความรู้สึกที่เสวยความชุ่มชื่นสุขสำรา_เพลิดเพลินใจ ซึ่งเป็นผลจากการฝึกสมาธิก็อย่าหลงยึดไว้เพราะเป็นของไม่เที่ยงแท้

    5. อธิโมกข์ ความปลงใจเชื่อด้วยศรัทธาอันแก่กล้าโดยไม่มีเหตุผล จะทำให้กิเลสทั้งหลายกำเริบหลงมากยิ่งขึ้น

    6. ปัคคาหะ ความขยันหมั่นเพียรที่ไม่ย่อหย่อนท้อท้อย ก็อย่าหลงเข้าใจผิดว่าภาวะนี้เป็นภาวะได้สำเร็จมรรคผล

    7. ยาณ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลพลอยได้จากการฝึกสมาธิ ซึงเป็นโลกีย_าณยังเป็นของไม่เที่ยง ก็อย่าหลงว่าได้บรรลุความรู้แจ้ง

    8. อุปัฏฐาน สติเข้าไปตั้งมั่นแก่กล้าอยู่เฉพาะอารมณ์นั้นเกิดภาวะจิตสงบเยือกเย็น ทำให้หลงว่าได้บรรลุนิพพาน

    9. นิกกันติ ความยินดีพอใจจนเกิดการติดใจ ในผลแห่งการปฏิบัติจิต จึงทำให้จิตข้องอยู่ในขั้นนั้น ไม่ก้าวหน้าต่อไป

    10. อุเบกขา ความมีจิตเป็นกลาง ด้วยการวางเฉยที่เป็น อารมณ์หนึ่งจากการฝึกสมาธิโดยเข้าใจผิดว่า ภาวะนี้ บรรลุนิพพาน ไม่ต้องทำอะไรต่อไปอีก

    พึ่งเข้าใจว่ากิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นในภาวะการฝึกสมาธิให้เกิดฌาน ซึ่งยังอยู่ในภาวะระดับโลกียะที่อยู่ในสามั_ลักษณะที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร ทนอยู่ในสภาพไม่ได้และต้องแตกดับไปในที่สุด จึงไม่น่ายึดมั่นถือมั่นจนหลงตนยึดตนว่าเป็นผู้วิเศษ

    อันเป็นเหตุทำให้สติวิปลาสคือบ้าได้

    วิธีแก้ไข

    1. ระหว่างที่ฝึกสมาธินั้น ต้องมีสติสัมปชั__ะ คือ จิตตั้งมั่นคงอยู่รู้ตัวอยู่เสมอที่ไม่เผลอตัว ไปหลงใหลคลั่งไคล้กับความรู้สึกในสภาวะนั้น จนเกิดการยึดมั่นถือมั่น

    2. ถ้ารู้สึกว่า ตนเองเริ่มสนใจหลงเข้าไปยึดกับสภาวะนั้นแล้ว ก็พยายามหาเหตุผลมาลบล้างด้วยการปฏิบัติตามอริยสัจ 4 พิจารณา ว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้นที่ทนอยู่ในสภาพไม่ได้ ด้วยเหตุที่เราเข้าไปยึดจึงทำให้เราเป็นทุกข์ จึงต้องหาวิธีปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์นี้ ด้วยมรรควิธี


    3. พอรู้ตัวว่า ตนเอง ยึดติดกับอารมณ์เหล่านี้อย่างเหนียวแน่นจนถอนตัวไม่ขึ้นแล้ว ก็ต้องถอนตัวคลายออกจากสมาธิไม่ฝึกสมาธิด้วยการหลับตาอีก เพื่อไม่ให้จิตสงบรวมเข้าสู่ภวังค์หลงเข้าไปในอารมณ์นั้นอีก

    เปลี่ยนการบำเพ็_ใหม่ ด้วยการทำงานให้มากให้หนักจนจิตเป็นสมาธิวุ่นอยู่กับงานเพื่อให้ลืมอารมณ์ต่างๆที่ปรากฏ

    หมายเหตุ

    คนเหล่านี้ที่หลงติดอยู่ในอารมณ์เหล่านี้ ส่วนมากจะลืมตัว จึงจำเป็นต้องการผู้อยู่ใกล้คอยเตือนสติ หรือ มีครูอาจารย์คอยแนะนำให้ตั้งสติให้ดี

    การฝึกสมาธินั้น จะต้องไม่มีอุปาทาน ที่เข้าไปยึดมั่นในอารมณ์ที่ได้ขณะนั้นโดยนึกเอาเองว่าจะต้องเป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะผู้ฝึกจิตโดยแท้ล้วนต้องการ " ละ " ทิ้งจากการยึดมั่นถือมั่นกิเลสเหล่านั้น เพราะเข้าใจดีว่า นิมิตหมายเหล่านั้นเป็นเพียงทางผ่านไปสู่โลกแห่งการมีชีวิตอันประเสริฐบริสุทธิ์ จึงตั้งสติพร้อมพิจารณาสละสลัดกิเลสเหล่านี้
     
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    คุณกระเจียวขอรับ การฝึกสมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดอิทธิฤทธิดอกขอรับ เข้าใจผิดหรือว่า เพี้ยนไปแล้วมั้งขอรับ
    การฝึกสมาธิ จะต้องไม่เห็นสิ่งใด จะต้องไม่คิดสิ่งใด และเป็นเพียง การฝึกขั้นพื้นฐานเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ได้
    อิทธิฤทธิ์นั้น เป็นเพียงผลพลอยได้ ของผู้มีธรรมอันวิเศษ อยู่ในระดับ อริยะบุคคลเท่านั้น นอกเหนือจากที่ข้าพเจ้ากล่าวไปแล้ว ล้วนแต่พวกบ๊อง พวกบ้า ไม่เข้าเรื่อง โม้ซะไม่มี
    ฝึกสมาธิ แล้วเกิดนั่นเกิดนี่ บ้านะคุณ คิดเอาเอง
    ฝึกสมาธิ ก็เพื่อให้ เกิด สติ สัมปชั__ะ และเป็นการพักผ่อนครายความเครียดให้กับสรีระร่างกายเท่านั้นนะคุณ
    เปลี่ยนความเข้าใจให้ถูกต้องเถิด
    และถ้าหากยังสงสัย และยากเห็นหรือพิสูจน์คำพูดของข้าพเจ้าก็มาพบข้าพเจ้าได้นะขอรับ รับรองว่าคุณจะได้รู้ได้เห็นสิ่งที่คุณนึกไม่ถึงว่าจะมีจะเป็น ฉะนี้
    ลืมบอกไปว่า ข้าพเจ้า อยู่ที่เชียงใหม่ ชื่อ ลุงให_่ ตอนนี้ยังพักอยู่ในค่ายกาวิละ นะขอรับ
     
  7. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    telwada เพี้ยนไปแล้วเหรอเพคะ กระเจียว ก็อปมาเพื่อให้อ่านกันนะเพคะ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเลยนะเพคะ ไปคุยกับเจ้าของบทความเองละกันนะเพคะ
     
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,938
    การฝึกสมาธิ เป็นการที่เราให้เวลากับตัวเอง เลี้ยวมามองจิตใจของเราเองมากขึ้น ผลที่ได้จากสมาธิคือ"ความสงบ"

    ยิ่งเราค่อยๆฝึก ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สมาธิก็จะพัฒนาขึ้น ทรงได้นานขึ้น เข้าอารมณ์ได้ไวขึ้น ระดับของสมาธิจะละเอียดขึ้น

    ในเมื่อระดับจิตละเอียดขึ้นเกินขีดระดับของปุถุชน คนธรรมดาทั่วๆไปแล้ว
    มีผลทำให้เราได้รุ้ได้เห็นสิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามไปด้วยน่ะครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือคนทั่วๆไปจะสัมผัสได้น่ะครับ
    .
    แต่สิ่งพวกนี้เป็นของไม่เที่ยงน่ะครับ บางทีอาจจะดีขึ้นกว่าเดิม หรืออาจจะห่วยลงกว่าเดิม หรืออาจจะหายไปเลยก็ได้ หรืออาจจะนั่งเจอของจริงบ้าง ของปลอมบ้าง มันก็มีหลายสาเหตุน่ะ
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    ม่ายด้ายเพี้ยนดอกคุณ ข้าพเจ้าเตือน เพราะเห็นว่า ไม่ถูกต้อง สอนผิด รู้ผิด ทำตาม ก็ผิด ก๊อปมาลงก็ผิด เพราะเข้าใจผิดคิดว่า ถูก เจ้าของบทความเป็นใคร ถ้าข้าพเจ้ารู้จัก และอยู่ไม่ไกลเกินไป ข้าพเจ้าจะไปแสดงฤทธิ์ ให้ชมเป็นขวั_ตา คุณนำมาลง ผู้อื่นนำไปปฏิบัติ หรือรู้ผิดๆตามบทความที่คุณนำมาลง ไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ แล้ว ยังเกิดอันตรายอีกด้วยขอรับ
     
  10. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    เหรอคะ ดีใจด้วยนะคะที่ไม่เพี้ยน


    แล้วคุณเห็นว่ามันผิดยังไงล่ะ ว่ามาให้กระจ่างเลย คนมาอ่านจะได้รู้ว่าควรเลือกอะไร

    เท่าที่กระเจียวอ่านบทความที่กระเจียวเอามาลง กระเจียวว่า มันเป็นบทความที่พยายามไม่ให้คนหลง ไปกับฤทธิ์ด้วยนะ คุณลองอ่านดีๆสิ นี่เป็นบทความที่หวังดีนะ ไม่ให้อวดตน ไม่ให้หลงกับตัวเอง เข้าใจปะคะ
     
  11. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    ช่วยอ่านทุกบรรทัดได้รึเปล่า
     
  12. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    ต.ย.

    "การฝึกฝนภาคอิทธิฤทธิ์ - บุ_ฤทธิ์ นี้เป็นผลพลอยได้มาจากการฝึกสมาธิ ซึ่งส่วนให_่เป็นโลกียะ เช่น"


    ช่วยอ่านทุกบรรทัดได้รึเปล่า ขอร้อง ใจกว้างหน่อยนะคนเรา เหมือนจะอ่านไม่ทันได้ศัพท์ก็มาว่ากันแล้ว
     
  13. บัวหลวง

    บัวหลวง บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    การฝึกสมาธินั้นตามความเป็นจริงแล้วเป็นการฝึกจิตใจให้เรียนรู้ตนเองเพราะจิตของคนมีสภาวะไม่แน่นอน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องฝึกสมาธิให้เข้มแข็งเพื่อต่อสู้ความไม่แน่นอนของอารมณ์เช่น ดีใจ เสียใจ เพราะเราต้องเจออะไรอีกมากมายในชีวิต ต้องเตรียมพร้อมที่จะรับอย่างมีสติ นั้นคือสิ่งที่จะได้จากการฝึกสมาธิ ถ้าเราทำอะไรด้วยสติแล้วเราก็จะไม่ประมาท นั้นแสดงว่าปั__าได้เกิดขึ้นแล้ว ผลที่ได้รับก็จะดีตามเหตุที่กระทำ
     
  14. มารวิกะ

    มารวิกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +526
    อ่านแล้วรู้สึกแปลกๆหรือว่าปั__าเราน้อยเอง
     
  15. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    ความจริงแล้วหลายๆท่าน ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับสมาธิ ถูกต้องอยู่บ้างแล้ว ไม่ต้องให้ความกระจ่างอะไรอีกแล้ว
    คุณรู้ไหมว่า ผู้ที่เขียนบทความนั้นขึ้นมา รู้ไม่จริง คือ รู้ไม่มาก อีกทั้งเขาก็ยังไม่เคยประสบมาด้วยตัวเอง ดอกว่า การมีฤทธิ์นั้นเป็นอย่างไร
    ข้าพเจ้าจะบอกให้คุณได้รู้ว่า ผู้มีฤทธิ์ ไม่เกิดความหลงในฤทธิ์ของตัวเองโดยเด็ดขาด เพราะการหลงในฤทธิ์ นั้น ไม่เกิดประโยชน์ ฤทธิ์ หรือการมีฤทธิ์ การแสดงฤทธิ์ มีไว้เพื่อการหลุดพ้น มิได้มีไว้เพื่อหลง กล่าวอย่างนี้คุณจะเข้าใจหรือไม่ ก็ไม่รู้ซิแฮะ
    เอาเป็นว่า พระอริยะบุคคล มีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้ แต่ ฤทธิ์ แห่งพระอริยะบุคคลนั้นๆ มีไว้เพื่อขจัดอาสวะ และป้องกันความทุกข์ อันอาจเกิดจากพวกจิตใจต่ำทราม อันอาจเกิดจากสรรพสิ่งต่างๆที่เป็นธรรมชาติ อีกทั้ง ฤทธิ์ แห่งพระอริยะบุคคลนั้น อาจมีไว้หรือต้องใช้เพื่อช่วยเหลือสรรพสิ่งเมื่อถึงคราวจำเป็น
    แต่ขอบอกอีกอย่างหนึ่งว่า การมีฤทธิ์ ไม่ใช่จะมีกันได้ง่าย ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ แล้วจะมีฤทธิ์ ไม่มีทางดอกคุณ ต่อให้นั่งสมาธิสัก 100 ปี ก็ไม่มีทางมีฤทธิ์ ฉะนี้
     
  16. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    อืมก็ใช่น่ะสิคะ


    การมีฤทธิ์ ไม่ได้มีไว้เพื่อหลง ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดตน ไม่ได้มีไว้ใช้แสดงว่าตนเองเก่ง รู้เยอะ หากมีขึ้นมา ก็ควรนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ไปช่วยคนหรือไปทำอะไรที่ยังประโยชน์ให้โลก
    หากจับใจความไม่ได้ ก็แล้วแต่ปัณยา สติ ศรัทธา โลกทัศน์ ฯลฯ

    ถึงแม้มันจะไม่ใช่แก่น แต่นี่แหละที่คอยห่อหุ้มเนื้อในและแสดงผลให้ปุถุชนธรรมดาเห็นแล้วเกิดความศรัทธา เกิดความอยากฝึกปฏิบัติ แม้จุดมุ่งหมายจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังดีกว่าวันๆไปเที่ยวอาร์ซีเอแล้วเมาหยำเปมิใช่หรือ

    อย่างน้อย ผู้มีสติปั__าในยุคนี้ เขาก็ไม่อ้างว่าตนเองเป็นพระศรีอาริยเมตไตรหรอกนะคะ

    ไม่รู้คุณจะเข้าใจรึเปล่าแฮะ
     
  17. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,818
    คุณกระเจียวขอรับ ข้าพเจ้าไม่ได้แอบอ้างตัวว่าเป็นศรีอริยเมตไตยดอกขอรับ แต่ข้าพเจ้าคือ ศรีอริยเมตไตยจริงๆ
    และคุณควรทำความเข้าใจไว้ว่า คำว่า กระพี้ ในศาสนานั้น หมายความถึง รายละเอียด อันจะรู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้ มิได้หมายความถึงสิ่งที่เป็นเปลือกหุ้มขอรับ อ่านแล้วพิจารณาจะได้มีปั__าเพิ่มขึ้น
    และขอบอกอีกนิดว่า ฤทธิ์ที่เกิดขึ้นมีขึ้นนั้น พระอริยะบุคคลเขาไม่หลงดอกขอรับ ที่ไม่หลงก็เพราะว่า มีฤทธิ์ ก็เหมือนกับมีเงินไว้ซื้อสิ่งของ ใครก็มีเงินไว้ซื้อสิ่งของกันได้ เป็นเรื่องธรรมดาขอรับ และขอย้ำเตือนคุณว่า ควรทำความเข้าใจไว้ว่า คำว่า "กระพี้" ในทางศาสนานั้น หมายความถึง รายละเอียด ที่จะรู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้ เป็นรายละเอียดปลีกย่อย ที่ไม่ช่วยหรือไม่เป็นสิ่งที่จักนำบุคคลให้หลุดพ้นได้ มิไหมายความถึงสิ่งที่เป็นเปลือกหุ้มขอรับ
    โอ้โฮ อ่านถึงตอนนี้ ปั__าคงเกิดแล้วละซินะ
     
  18. กระเจียว

    กระเจียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,353
    ค่าพลัง:
    +2,011
    สงสารจังค่ะ


    ก็ใช่นะสิคะ พระอรหันต์ ไม่มีทางหลงในฤทธิ์แน่นอน

    แต่คนที่ยังไม่บรรลุดี แล้วมีฤทธิ์ ต้องมีปั__าและสติมากๆ เท่านี้แหละค่ะ ที่อยากเตือน


    ก็ดีใจกับคุณด้วยนะคะ ที่มีอารมณ์คิดว่าตนคือพระศรีอาริยเมตไตร
     
  19. Unregistered

    Unregistered บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ขอโทษนะครับ ขอแจมด้วยคน ถ้าจะผิดก็ขอโทษไว้ก่อนนะครับ
    ขอพูดดังนี้ครับ
    ใครสนใจเรื่องการทำสมาธิ และ ผลของสมาธิ ให้ไปอ่าน "วิสุทธิมรรค" ครับ
    1 ชุด มี 6 เล่ม แปลเป็นไทยแล้วนะครับ มีขายราคาถูกมากๆครับ ที่ ร้านมูลนิธิมหามกุฏ (ตรงข้ามวัดบวรฯ) หรือ มหาจุฬาฯบรรณาคาร (ที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
    เป็นหนังสือที่ ได้รับการยกย่องมานาน มากแล้ว ว่า เป็น 1 ในคัมภีร์เพชรน้ำอก ที่ขาดไม่ได้ และ เป็นหลักสูตรของพระ ป.ธ. ด้วยนะครับ
    ผมเองก็ยังอ่านไม่จบหรอก แต่ ของดีมากๆอย่างนี้ อยากแนะนำให้อ่านกันครับ

    เล็ก
     
  20. mastertana

    mastertana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +201
    พระศรีอาริย์ท่านจะลงมาต่อเมื่อสิ้นกัปนี้

    ท่านเทวดามิสมควรจะอ้างแบบนั้นหละนะ นรกมันจะไม่ใกล้ตัวเลยหละท่าน ศาสนาพระสมนโคดมท่านยังไม่สิ้น พระศรีอาริย์ จะลงมาจุติ ก็ต่อเมื่อ สิ้นกัปนี้ ตามพุทธพยากรณ์ท่านว่า จุติลงแถวประเทศพม่า ตอนนี้ยัง..... ท่านยังอยู่บนชั้นดุสิตเลย ท่านเทวดา อ่างแบบนี้ไม่กลัว เทพยา ดา และ พรหม จะเขม่นท่านเหรอ มิสมควรเลยหละนะ ประวัติท่านน่ายกย่องมาก ตัดเศียรเป็น พุทธบูชา หากแม้ได้ฟังธรรม แค่นิดเดียว ... ท่านน่ายกย่องสรรเสริฐมาก บารมีท่านมาก ใกล้จะถึงที่ท่านจุดติ โลกนี้มิน่าอยู่เลยหละ ท่าน มีแต่รบราฆ่าฟันกันมากยิ่งขึ้น จนคนดีต้องหนีไปอยู่ป่า คนชั่วฆ่าฟันกันวุ่นวาย เหมือนจะสิ้นกัป หลังจากนั้นจะมี สิ่งอัศจรรย์ทั้งหลาย 12 ประการเกิดขึ้น ในวันใกล้รุ่ง ในวัน เพ็_ เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ... แค่นี้ยัง...ตอนนี้ท่านยังไม่จุติ....

    พุทธลักษณะ....
    สมเด็จพระศรีอาริยะเมตรไตรยมีพระรูปพระโฉมงดงาม ตามพุทธลักษณะครบถ้วนทุกประการ คือ....
    องค์พระวรกายสูงได้ 88 ศอก พระองค์ให_่กว้างได้ 25 ศอก ตั้งแต่ ฝ่าพระบาทถึงพระชานุ (เข่า) มีประมาณ 22 สอก ตั้งแต่พระชานุถึงพระนาภี (ท้อง) ประมาณ 22 ศอก ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวั_ (ไหปลาร้า) ทั้ง 2 ประมาณ 22 ศอก ตั้งแต่พระรากขวั_ขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้าที่สุดยอดพระ อุณหิตเปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ 22 ศอก เสมอกันทั้ง 4 ส่วน พระรากขวั_ ทั้ง 2 แต่ละอันนั้นยาวได้ 5 ศอก ฯลฯ

    ข้าพเจ้าขอชมบารมีท่าน เป้นบุ_ตาแด่ชาว เวปพลังจิต สิขอรับได้ โปรดเอาภาพท่านมาให้พวกข้าพเจ้ายลหน่อย ผู้มีบารมี เหนือสามโลกแบบนี้ น่าชมบารมีนัก ...

    ของสูงอย่าอวดอ้างเล่นมิได้เป็นภัยแด่ตัว เจ้าที่เจ้าทางผีสางท่านไม่ยอม เทวดาพรหมท่านไม่ย่อม อย่าเล่น ขอขอมาต่พระรัตนไตรยเสีย ไม่งั้นไม่รู้ชะตากรรมหละ ...

    แก่นพระพุทธศาสนาคือ รู้ว่า สวรรค์ นรก นิพพานมี จริง..... ผลของการปฏิบัติมีจริง..... นี่ใครไปได้ถึงได้รู้ได้ นั้นคือ ถึงแก่นแท้ของพระพุทธ ศาสนา แท้จริง

    ขอปัยยาเกิดแด่ท่าน

    ธนา mastertana
     

แชร์หน้านี้

Loading...