พระกำแพงแก้ว วัดรัมภาราม จ.ลพบุรี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 25 มกราคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระกำแพงแก้ว ของวัดรัมภาราม
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->พระกำแพงแก้วที่ทางวัดรัมภาราม (วัดกล้วย) อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๔ ได้เก็บรวบรวมมวลสารอันเป็นมงคลต่างๆมาเป็นส่วนผสมดังนี้

    ๑. ดินกรุพระเครื่องมีชื่อ ๗ กรุ
    ๒. ไคลเสมาจากวัดที่มีชื่อลงท้ายว่า "แก้ว" ๗ วัด
    ๓. ดินสังเวชนียสถาน ๗ ตำบล
    ๔. ทรายจากกระถางธูปหน้าพระพุทธรูปที่มีคนมาสักการะมาก ๗ แห่ง
    ๕. เกสรดอกไม้ในที่บูชาตามสถานที่สำคัญ ๗ แห่ง
    ๖. ใบโพธิ์ตรัสรู้จากประเทศอินเดีย ๗ ต้น
    ๗. พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
    ๘. ดินจอมปลวก ๗ จอม
    ๙. น้ำมนต์ ๗ วัดเป็นเครื่องประสานอาทิน้ำมนต์คาถาแสนวัดรัมภารามปีพ.ศ. ๒๕๐๑, น้ำมนต์ ๑๐๐ ปีวัดบวรนิเวศและวัดราชบพิตร, น้ำมนต์เสาร์ ๕ วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลก, น้ำมนต์หลวงพ่อทองคำวัดไตรมิตร, น้ำมนต์หลวงพ่อโตวัดอินทรวิหาร, น้ำมนต์จากวัดระฆังฯ

    นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วแผ่เป็นแผ่นผูกดวงชะตาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือดวงประสูติ ดวงตรัสรู้ ดวงปรินิพพาน
    นอกจากนี้ยังได้รับผงเกสรดอกไม้ และว่านต่างๆจากอีกหลายพระคณาจารย์เช่น


    - หลวงปู่นาค วัดระฆัง มอบผงสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผงเศษพระปิลันธน์กับผงที่ท่านทำเอง

    - พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี มอบผงที่ท่านเก็บสะสมไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างพระรุ่นอินโดจีน

    - หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มอบผงมหาราช

    - หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มอบผงพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณมูลกัจจายน์, อิทธิเจ

    - หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง มอบผงมหาราช ปถมัง ตรีนิสิงเห ๑๐๘ เกสร ๑๐๘ และว่านต่างๆ

    - หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ มอบผงวิเศษมหานิยมแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

    - พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ มอบเศษพระจากกรุวัดบ้านกร่างและดินกลางใจเมือง ๘ จังหวัดดิน ๕๓๔ วัดดินสระ ๗ สระดินโป่ง ๕ แห่งดินจากสถานที่สำคัญอีก ๒๔ แห่ง

    - พระอาจารย์ถนอมเขมจาโร วัดนางพญา จ.พิษณุโลก มอบเศษพระชำรุดเป็นจำนวนมากจากหลายกรุหลายจังหวัดคือจากพิษณุโลก ๑๑๕ กรุ รวมทั้งเศษพระนางพญาสุโขทัย ๑๖ กรุ อุตรดิตถ์ ๑ กรุกำแพงเพชร ๑ กรุ พิจิตร ๑ กรุ ลพบุรี ๑ กรุ ลำพูน ๑ กรุ

    - พระอาจารย์ประหยัด วัดสุทัศน์ฯ มอบผงที่เหลือจากการสร้างพระเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งปลุกเสกโดยพระอาจารย์หลายสิบรูปเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนรวมทั้งผงเศษตะไบพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

    - พระครูปริยัติยานุกูล วัดพระงาม จ.ลพบุรี มอบทรายทองในถ้ำสังกิจโจ และเม็ดพระศกหลวงพ่อพระงาม

    นอกจากนั้นยังมีผงศักดิ์สิทธิ์จากพระคณาจารย์อื่นๆที่มอบให้อีกเป็นจำนวนมาก

    มวลสารที่ได้มาในคราวหลังนี้นำมาผสมรวมกับคราวแรกจัดพิมพ์เป็นพระเครื่องเนื้อผงด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังค์ล้อมด้วยซุ้มเส้นลวดเป็นกำแพง ๗ ชั้นใต้สุดมีตัวหนังสือว่ากำแพงแก้วด้านหลังเรียบปราศจากอักขระเลขยันต์ใดทั้งหมดอยู่ในกรอบพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดความกว้างประมาณ ๒.๑ ซม. ยาวประมาณ ๓.๔ ซม. เนื้อหาเป็นเนื้อผงอมน้ำมันสีน้ำตาลอมเขียวจำนวนไม่ทราบแน่ชัดแต่ประมาณว่าคงจะอยู่ในราว ๓,๐๐๐ องค์เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางวิทยาคมจำนวน ๒๗ รูปมาร่วมพิธีปรกปลุกเสก

    พิธีพุทธาภิเษกได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๓๑ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๐๔ ตั้งแต่วันขึ้น ๙ ค่ำถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ รวมเวลา ๗ วัน ๗ คืน รายนามพระคณาจารย์ที่อาราธนามานั่งปรกปลุกเสกหมุนเวียนกันก็มีอาทิเช่น

    ๑.) พระเทพสิทธินายก ( หลวงปู่นาค ) วัดระฆัง
    ๒.) พระครูทักษิณานุกิจ ( หลวงพ่อเงิน ) วัดดอนยายหอม
    ๓.) พระครูวิริยะกิตติ ( หลวงปู่โต๊ะ ) วัดประดู่ฉิมพลี
    ๔.) พระครูประสาธน์วิทยาคม ( นอ ) วัดกลางท่าเรือ
    ๕.) พระครูอาคมสุนทร ( มา ) วัดสุทัศน์ฯ
    ๖.) พระครูศรีพรหมโสภิต ( แพ ) วัดพิกุลทอง
    ๗.) พระครูรักขิตวันมุนี ( ถิร ) วัดป่าเลไลย์
    ๘.) พระครูนิสิตคุณากร ( กัน ) วัดเขาแก้ว
    ๙.) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    ๑๐.) หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    ๑๑.) หลวงพ่อซวง วัดชีประขาว
    ๑๒.) หลวงพ่อชม วัดตลุก
    ๑๓.) หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    ๑๔.) หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
    ๑๕.) หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน
    ๑๖.) หลวงพ่อฉาย วัดป่าธรรมโสภณ
    ๑๗.) หลวงพ่อผัน วัดพยัคฆาราม
    ๑๘.) หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง
    ๑๙.) หลวงพ่อสาย วัดไลย์
    ๒๐.) หลวงพ่อโสภิต วัดรัมภาราม

    และพระคณาจารย์ชื่อดังอีก ๗ รูปเท่านี้ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีแล้วว่าพระเครื่องที่สร้างขึ้นครั้งนี้ย่อมจะบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชาหากไม่คิดเห็นเป็นอย่างอื่นในเรื่องของพระหลักพระนิยมแล้วพระสมเด็จกำแพงแก้วหรือพระกำแพงแก้วของวัดรัมภารามท่าวุ้งลพบุรีนี้จึงควรค่าแก่การสะสมสักการบูชาอย่างยิ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ขอบคุณท่านเพชรครับที่ได้นำพระพิมพ์ที่ไม่ค่อยได้พบให้เป็นความรู้ครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...