กฎของกรรม......บุพกรรมของคน 3 คน ตอนที่2

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 16 มีนาคม 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,049
    มาอีกตอนหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เมื่อภิกษุท่านกล่าวว่า เมื่อภิกษุอีกพวกหนึ่ง โดยสารเรือไปเพื่อต้องการจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน ในขณะนั้น เรือได้หยุดนิ่งเฉยในกลางมหาสมุทร ขณะนั้นเรือได้หยุดนิ่งเฉยในกลางสมุทร ขณะที่เรือวิ่งๆ ไป แล้วมันก็หยุด (ถ้าเป็นสมัยนี้ ก็ต้องดูว่า น้ำมันเชื้อเพลิงหมดหรือไม่ หรือเป็นเพราะเหตุใด แต่ว่าสมัยนั้น เป็นเรือใบ ลมก็มี ใบก็กาง แต่ว่าเรือหยุด )
    บรรดาพวกมนุษย์ทั้งหลาย คือ ชาวเรือ จึงพากันคิดว่า คนกาลกิณีจะพึงมีในเรือนี้ ในสมัยนั้นเขาคิดว่ากันแบบนั้น ถ้าอะไรมันไม่ดีเกิดขึ้น เป็นเหตุผิดวิสัย แสดงว่า มีคนกาลกิณีเกิดขึ้น ต่างคนต่างทำสลากแจก ให้คนทุกคนจับสลาก สลากนั้นเป็นสลากเสี่ยงทาย เมื่อทุกคนจับกันแล้ว ภรรยาของนายเรือ ตั้งอยู่ในปฐมวัย (แสดงว่าเป็นหญิงสาวนายเรือมีภรรยาสาว กำลังน่ารัก เห็นเป็นเด็กสาวรุ่นๆ) เมื่อสลากถึงแก่นาง (หมายความว่า นางจับได้สลากแล้ว) พวกมนุษย์ก็พากันว่า จงแจกสลากอีก (หมายความว่าเอาสลากมาแจกอีกกันอีก) แล้วจึงแจกกันถึง 3 ครั้ง สลากก็ถึงแก่นางนั้นคนเดียว ถึง 3 ครั้ง
    เป็นอันว่า เขาคงเสี่ยงทาย เขียนไว้ในสลากว่า คนไหนเป็นกาลกิณีของสลากนี้จงถึงแก่บุคคลนั้น แล้วเขียนไว้ แล้วม้วน ถ้าใครจับถูกสลากกาลกิณี ก็ชื่อว่า เหตุร้านนี้ เกิดจากคนนั้น แล้วเขียนไว้ แล้วก็ม้วน ถ้าใครจับถูกสลากกาลกิณีนั้น ก็ชื่อว่า เหตุร้ายนี้ เกิดจากคนนั้น เป็นคำอธิฐานของบุคคลทั้งหลาย
    แต่ทว่า ภรรยาของท่านนายเรือเป็นหญิงสาว น่ารัก เป็นหญิงสาววัยรุ่น จับสลากทั้ง 3 วาระ ก็ถูกสลากใบนั้นทุกครั้ง บรรดาพวกที่ไปในเรือมองดูหน้านายเรือ เพื่อจะปรารภว่า นาย นี่จะว่าอย่างไรกัน ภรรยาของท่านเห็นจะเป็นคนกาลกิณีกันแน่ ท่านนายเรือจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจจะให้มหาชนฉิบหายได้
    ทั้งนี้ก็หมายความว่า เมื่อเขาหารือว่า ภรรยาของท่าน เป็นคนกาลกิณีแน่ เพราะการจับสลากก็ไม่มีอคติ การจับ ก็ไม่ได้บอกว่าให้จับทีหลัง ตามธรรมดา นายเรือ กับภรรยาของนายเรือ จับก่อน แต่ทว่าเจ้าหล่อนก็จับถูกสลากใบที่เป็นกาลกิณีทุกที
    บรรดาลูกเรือทั้งหลายจึงปรึกษานายว่า ทำอย่างไรกันแน่ นาย จะกล่าวโทษก็เกรงว่า เจ้านายนายจะโกรธ
    ถ้าจะไม่พูดอะไรเลย ก็เกรงว่า อันตรายจะพึงมี จึงหันเข้าไปปรึกษานายว่า จะทำอย่างไร สำหรับนายท่านก็ดีท่านรักชีวิตคนมากยิ่งกว่าภรรยาของท่าน ท่านจึงกล่าวว่า เราไม่ต้องการให้คนอื่นฉิบหาย คนจำนวนมาก คือเมียของเราคนเดียว แต่คนในเรือนี้มากไปกว่านั้น เราไม่ต้องการให้คนทั้งหลายเหล่านี้ ต้องย่อยหยับไปด้วย ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แก่นางนี้ พวกท่านจงทิ้งเขาน้ำเถิดหมายความว่า ถ้าเขาจะรักเมีย เพื่อประโยชน์กับนาง ก็ปล่อยให้คนอื่นตายแต่ถ้ารักคนมากว่า ก็ต้องปล่อยให้เมียตาย เขาจึงบอกว่าเราจะยอมให้คนอื่นฉิบหายไม่ได้ เพื่อประโยชน์แก่นางคนเดียว ก็ปล่อยให้คนอื่นตาย เขาจึงบอกให้คนทั้งหลายเหล่านั้น จับโยนไปในลงน้ำ
    นางนั้น เมื่อพวกมนุษย์จะจับโยนทิ้งน้ำ กลัวต่อมรณภัย ก็ร้องขอความช่วยเหลือ ร้องขอความเมตตา นายเรือได้ยินเสียงร้องนั้น จึงกล่าวว่า น้องน่ารัก ประโยชน์อะไรด้วยอาภรณ์ของนางนั้น ถ้าหากว่าเราพอใจในเธอความฉิบหายจะเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลายเปล่าๆซึ่งคนทั้งหลายมีชีวิตยิ่งกว่าเธอ (ชีวิตมากกว่าเอ เธอคนเดียว )
    จงเสียสละชีวิตเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
    เป็นอันว่า นายเรือมีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ไม่เห็นกับความสาว ไม่เห็นกับความสวย ของภรรยาที่น่ารัก ฉะนั้น จึงกล่าวว่าพวกท่านจงเปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับของนางให้หมด ในนางนุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่ง แล้วจงทิ้งไปในน้ำนั้นเป็นอันว่า เขาจะทิ้งน้ำ เขาบอกว่าให้บรรดาคนทั้งหลาย เปลื้องเครื่องประดับของนาง ที่แต่งสวยสดงดงาม
    เป็นธรรมดามาก ภรรยานายเรือก็แต่งตัวสวยมาก เพราะมีทุนมากเขาบอกต่อไปว่า ข้าพเจ้าจะไม่ดูนาง เป็นอันว่า นายเรือเองกลัวก็ใจอ่อนเหมือนกัน ถ้าขืนมองดูเธอ ก็อาจจะใจอ่อน อาจยับยั้ง ไม่ให้จับเธอ โยนทิ้งน้ำ แต่ความจริง คนเรามาด้วยกันดีๆ จู่ๆ ก็จะจับโยนทิ้งน้ำให้ถึงแก่ความตาย ก็ต้องคิด แต่ว่าก็มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว เห็นประโยชน์ส่วนน้อย ที่จะพึงรักษาภรรยาไว้แต่เพียงผู้เดียว แต่คนอื่นต้องตาย เขาไมทำ น้ำใจแบบนี้น่าจะหาเอามาเป็นผู้นำประเทศ ผู้นำจังหวัด ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำตำบล ถ้าพวกเราได้คนแบบนี้ ประเทศชาติกำลังจะมีความสุข
    เมื่อเขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่ดูนางนั้น ผู้ลอยอยู่เหนือกระแสน้ำได้ เพราะฉะนั้น พวกท่านจงเอากระออม หมายความว่า ที่ใส่น้ำเอาทรายใส่ไว้ให้เต็ม ผูกไว้ที่คอ โยนนาง ลงไปเสียในมหาสมุทร ทั้งนี้ก็เพราะ เวลานั้น ปรากฏ ปลา และเต่า ก็รุมกินนางนั้น ที่ตกไปในน้ำ (เวลานี้คงเป็นเหยื่อฉลาม เป็นต้น )
    ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังเรื่องเหล่านั้น ก็คิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์ คนละพวกกับพวกก่อน เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ความจริงภรรยาท่านก็อยู่ดีๆ ไม่ได้ทำความผิด ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทุกอย่าง ตามหน้าที่ภรรยาที่ดี แล้วตามหน้าที่ของหมายที่ของแม่บ้าน แต่ทว่าจู่ๆเขาหาว่า เธอเป็นกาลกิณี เจ้ามือนี้มันระยำนี้มันก็แปลก มันดันไปหยิบเอาสลากขึ้นมาได้ สลากนั้นเขามีความหมายอย่างไร คนที่ไม่ดีเท่านั้นจะต้องเป็นผู้ถือสลากนี้ แต่บังเอิญเป็นยอดนารี เธอจับได้ถึง 3 ครั้ง
    ถ้าคิดว่า คนอื่นใจร้าย มันก็บอกไม่ถูก ถ้าคิดว่า คนอื่นใจดี พิจารณาตามถูกตามควร ก็บังเอิญเป็นเคราะห็กรรม ไปจับถูกสลากนั้นเข้า มันก็ไม่ควรเหมือนกัน เป็นอันว่า การกระทำของบุคคลทั้งหลาย (ชาวเรือนั้น) จะผิด หรือจะถูก นางไม่ได้ นอกจากองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครรู้แน่
    ฉะนั้น เมื่อพวกเราไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกเราจะทูลถามเนื้อความนี้แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันว่า เป็นรายที่สองแล้ว ตายหาความผิดไม่ได้ ทีนี้มาอีกตอนหนึ่ง ในสูตรเดียวกันท่านกล่าวว่า


    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    (พระมหาวีระ ถาวโร ) วัดจันทาราม จ. อุทัยธานี)<O:p</O:p



    อ่านจบแล้วอย่าลืมอุทิศส่วนกุศลด้วยนะครับ<O:p</O:p

    คำอุทิศส่วนกุศล
    โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
    วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี<O:p</O:p



    อิทังปุญญะผะลังผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]จะเป็นกาลกิณี จริง</st1:personName> หรือไม่จริง ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นคิดอย่างนั้น พากันคิดว่า เรารู้<font color=" /><st1:personName w:st="on" ProductID="เวร ทั้งหลาย">เวร ทั้งหลาย</st1:personName> ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี<FONT color=#040772>ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย<FONT color=#040772>จงโมทนาส่วนกุศลนี้<FONT color=#040772>ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้าและเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราชขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดีเสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับ<O:p</O:p
    <O:p



    http://teporrarit.hi5.com<O:p

    http://buraphatic.hi5.com
    <O:p</O:p
    <O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...