ศีล ๕ ปรมัตถ์ ที่ต้องศึกษาปฏิบัติเพิ่มเติม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รักเสมอ, 18 เมษายน 2008.

  1. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    พระอาจารย์ผู้คงแก่เรียนที่ผมเคารพท่านหนึ่ง
    เคยพูดเรื่อง ศีล ๕ ปรมัตถ์ ให้ผมฟัง ท่านบอกว่า แม้เราจะรักษาศีล ๕ ปกติได้ดี แต่ก็อาจจะยังละเมิดศีล ๕ ปรมัตถ์ได้

    ศีล ๕ ปรมัตถ์จะเรียกว่า เป็นศีลภายในแห่งจิต ก็ได้
    เป็นศีลที่ต้องควบคุมจิตของเรา ให้มั่นคงอยู่ในพุทธธรรมดำเนิน

    ถ้ารักษาได้ดีแล้ว ศีล ๕ ปกติ ก็เป็นอันรักษาได้บริสุทธิ์ไปด้วย

    ท่านบอกว่า ถ้ารักษาศีล ๕ ปรมัตถ์ได้ดี มรรคผลก็จะอยู่แค่เอื้อมเท่านั้นเอง

    ข้อที่ ๑
    ปาณะ + อติปาตะ
    ปาณะ = สัตว์มีชีวิต, ลมปราณ (โยคะเรียก ปราณยาม)
    อติปาตะ = ยังให้ตกล่วงไป
    ศีล ๕ ปรมัตถ์ หมายถึง การทำลมปราณของตนให้ตกล่วงไป คือประทุษร้ายต่อลมหายใจของตนเอง

    อธิบายว่า ในยามปกติที่กิเลสยังไม่เกิด จิตสงบดีอยู่ ลมหายใจก็จะเดินเป็นปกติ สงบ ละเอียด
    แต่พอเกิดกิเลสขึ้น เช่นในขณะที่เรา โกรธ เครียด หงุดหงิด วิตกกังวล น้อยใจ กลุ้มใจ เศร้าโศก เสียใจ เป็นต้น ในขณะนั้น ลมหายใจย่อมเปลี่ยนไป จากที่เคยหายใจ ยาว เย็น สงบ ก็กลายเป็นสั้น ร้อน หยาบ อึดอัด
    การเกิดกิเลสที่เป็นการทำร้ายต่อลมหายใจของตนเองเช่นนี้ ชื่อว่าผิดศีล ๕ ปรมัตถ์ข้อที่ ๑

    เรื่องนี้คงจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า คนที่ชอบทำร้ายต่อลมหายใจของตนเองอยู่เสมอ เขาจะเป็นคนมักมีความสุข หรือมักจะมีความทุกข์

    ลมหายใจของเรา เปรียบดังปรอทวัดอุณหภูมิของทั้งร่างกาย และจิต...คนที่ร่างกายแข็งแรง ลมหายใจก็มักจะยาว หายใจสบาย คนที่จิตกำลังมีความสุข ลมหายใจก็มักจะยาว หายใจสบาย เช่นกัน

    แต่ครั้นพอร่างกายเจ็บป่วย ลมหายใจก็จะสั้น หยาบ ร้อน หรือถ้าจิตป่วย เพราะถูกกิเลสกลุ้มรุม ลมหายใจก็จะสั้น หยาบ และร้อน ไปด้วย

    ที่เห็นชัดคือในขณะโกรธ จะหายใจเร็ว ฝืด ลมหายใจสั้น ร้อน บางคนโกรธมากจนถึงกับหน้ามืดเป็นลมไปเลยก็มี

    ดังนั้น ผู้ที่ประทุษร้ายลมปราณตนเอง ทำลมหายใจของตนให้ผิดไปจากปกติ จึงชื่อว่า ผิดศีลปรมัตถ์ข้อที่ ๑ โอกาสที่จะเป็นอริยะคงยาก...เพราะพลังจิตจะอ่อนมาก

    การเจริญอานาปานสติภาวนา และเจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่เป็นประจำ ก็จะรักษาศีล ๕ ปรมัตถ์ข้อที่ ๑ นี้ได้ครับ

    ข้อที่ ๒
    อทินนะ + อาทานะ
    อทินนะ = (ที่เจ้าของ) เขาไม่ได้ให้แล้ว
    อาทานะ = การถือเอา
    ศีลปกติ หากไม่ลักขโมยก็ถือว่าไม่ผิด

    แต่ศีลปรมัตถ์ ถือว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งยึดมั่นตนเองด้วย ว่านี่เป็นตัวของเรา นี่เป็นของ ๆ เรา อย่างเหนียวแน่น จริง ๆ จัง ๆ (ตัวกูของกู)

    ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสักสิ่งเดียว ที่จะชื่อว่าเป็นสมบัติของเราอย่างแท้จริงได้เลย

    ทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นสมบัติของแผ่นดิน สมบัติของโลก หรือเรียกว่า ธรรมชาติเป็นเจ้าของ ที่แท้จริงก็ได้

    ตายแล้วมีใครเอาอะไรติดตัวไปได้บ้างเล่า แม้ญาติเอาสตางค์ใส่ปาก ก็ยังถูกสัปเหร่อเก็บเอาไปเลย

    คนที่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็น ตัวกู ของกู จึงชื่อว่า เป็นผู้กล่าวตู่เอาสมบัติที่โลกเป็นเจ้าของ มาเป็นของตัว

    เพราะทรัพย์สิ่งของทั้งหลาย แม้ร่างกายของเราเองที่ยึดครองอยู่นี้ แท้จริงแล้ว เราเป็นเพียงขอยืมเขามาใช้ชั่วคราวเท่านั้น

    หมดกำหนดแล้ว ก็ต้องส่งคืนเจ้าของเดิมเขาไป คือร่างกายต้องกลับคืนไปสู่แผ่นดิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริง ตามเดิม

    ส่วนทรัพย์สิ่งของ ก็ถูกหมุนเวียนให้คนอื่นขอยืมใช้ต่อไป (สมบัติผลัดกันชม)

    ดังนั้น แม้จะไม่ได้ลักขโมยของผู้อื่น ด้วยกาย แต่จิตก็อาจจะชื่อว่า "ขโมยของ ๆ แผ่นดิน" ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของ ๆ เรา อย่างเหนียวแน่นจริง ๆ จัง ๆ อย่างผิด ๆ ดังกล่าว

    ทุกครั้งที่เกิดความยึดมั่นถือมั่นอย่างผิด ๆ ดังกล่าวนี้ จนทำให้เกิดความทุกข์
    ก็จะชื่อว่า ผิดศีล ๕ ปรมัตถ์ข้อที่ ๒

    ผู้ที่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นดังกล่าวได้มากเพียงไร ก็คงจะใกล้ความเป็นอริยะเพียงนั้นครับ

    ข้อที่ ๓
    กาเมสุ + มิจฉาจาร
    กาเมสุ = ในกามทั้งหลาย (พหุพจน์)
    มิจฉาจาร = การประพฤติผิด
    ศีลปรมัตถ์ ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศตรงข้ามเท่านั้น
    แต่หมายถึงประพฤติผิดในกามคุณ ๕

    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าหลงใหลยินดี ท่านจัดว่าเป็น กามคุณ ๕
    กามคุณ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นบ่วงแห่งมาร คือเป็นเครื่องล่อของมาร ให้เราพากันมาติด แล้วก็ฆ่าเราและควักเอาหัวใจของเราไปกิน

    การปล่อยใจให้ยินดี พอใจ หลงใหล มัวเมา อยู่ในกามคุณ ๕ นี้ จัดเป็นกิเสลราคะตัณหา ถือว่า ผิดศีลปรมัตถ์ข้อที่ ๓ นี้ครับ

    การเกิดกิเลสเช่นนี้ ผลก็คือจะบังเกิดความทุกข์ติดตามมา อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

    แต่ถ้าพอใจในการเห็น "พระ"....การฟังเสียงธรรม เสียงสวดมนต์ ...กลิ่นธูปควันเทียน....ไม่ติดในรสอาหาร (ด้วยการพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา) และสัมผัสที่ไม่อ่อนนุ่ม อันชวนให้หลงใหล

    หรือระวังใจไม่ให้เกิดกิเลสตัณหาราคะ ในกามคุณ ๕ นั้นได้ ก็ไม่เป็นการผิดศีลปรมัตถ์ข้อ ๓ ครับ

    ข้อที่ ๔
    มุสา + วาท
    มุสา = ผิด, หลงลืม
    วาท = การพูด
    ข้อนี้ ศีลปกติหมายถึง การกล่าวผิดไปจากความจริง หรือพูดเท็จ

    แต่ศีลปรมัตถ์ หมายรวมถึง การกล่าว หรือ การพูดจาที่ขาดสติ
    การทำ การพูด การคิด ใด ๆ ก็ตาม ที่ทำไปด้วยความหลง ก็เพราะเหตุคือ "ขาดสติ"

    พระอรหันต์ท่านมีสติอันสมบูรณ์ เพราะกำจัดความหลงได้สิ้นเชิงแล้ว จึงเป็นผู้มีสติอันไพบูลย์ ก็จะไม่มีการกล่าวผิดอีกต่อไป

    แต่ปุถุชนเมื่อขาดสติกำกับจิต ในเวลาพูด ย่อมจะทำให้เกิดวจีทุจริตได้ทุกประการ

    เราจึงต้องตั้งสติให้ดี คิดใคร่ครวญให้ดี ไม่ให้ผิดไปจากหลักศีลธรรม ก่อนเปล่งวาจาทุกครั้ง เพื่อให้เป็นวจีสุจริต

    ก็จะรักษาศีลปรมัตถ์ข้อที่ ๔ นี้ได้

    ข้อที่ ๕
    คำว่า ปมาทัฏฺฐานา แปลว่า
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (ปมาทะ ในภาษาบาลี แปลว่า มัวเมา)

    ท่านบอกว่า ถึงแม้จะมิได้ดื่มเหล้า หรือของมึนเมาอย่างอื่นใด ก็อาจจะผิดศีลปรมัตถ์ข้อนี้ได้

    ถ้าเกิดความเมาทางจิต ซึ่งมี ๔ อย่างคือ

    ๑. ชาติมทะ ความเมาในชาติกำเนิด และเมาในสถานะ หรือสถานภาพที่ตนเองกำลังเป็นอยู่ เช่น เมาในยศตำแหน่ง ของตน จนยกตนข่มผู้อื่น

    ๒. วยมทะ (วะยะมทะ) ความเมาในวัย คือหลงทะนงตนว่า ยังเป็นหนุ่ม เป็นสาว อยู่ แล้วปฏิเสธการทำบุญกุศล ว่าไว้รอตอนแก่เสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ
    ทั้งที่ความตายมิได้เลือกวัยเลย ความตายย่อมเกิดได้ทุกวัย มีแม้ตั้งแต่ยังไม่ได้คลอดรอดออกมาเป็นคนเสียด้วยซ้ำ
    จึงถือว่าเป็นการคิดที่ผิด เพราะความจริง ตนเองอาจจะอยู่ไม่ถึงแก่ก็ได้

    ๓. อาโรคฺยมทะ เมาในความไม่มีโรค คือหลงทะนงตนว่ามีร่างกายแข็งแรง แล้วมัวเมาแสวงหาแต่ในอารมณ์กิเลสต่าง ๆ ด้วยความลำพองใจ โดยไม่สนใจการทำบุญทำกุศล
    แท้จริง ความเจ็บป่วยอาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยอาจไม่มีสัญญาณบอกเหตุให้ทราบก่อนล่วงหน้าด้วย
    หรืออาจเกิดการเจ็บป่วย จากอุบัติเหตุ หรือจากการถูกทำร้ายก็ได้

    ๔. ธนมทะ ความเมาในทรัพย์ มีนัยเช่นเดียวกัน คือหลงทะนงว่าตนมีทรัพย์มากมาย ไม่มีความจำเป็นต้องทำบุญทำกุศล เพื่ออานิสงส์คือการได้ทรัพย์และความสุข แต่อย่างใด

    โดยลืมคิดไปว่า ทรัพย์สมบัติภายนอก หลอกให้หลง เป็นของไม่เที่ยงแท้มั่นคงถาวรแต่อย่างใด มีได้ก็หมดได้เช่นกัน (มีลาภ - เสื่อมลาภ...โลกธรรม ๘)

    ซ้ำร้ายบางที ทรัพย์จำนวนมากนั้นเอง กลับนำความทุกข์มาให้ด้วยซ้ำไป เช่น เกิดการทะเลาะแก่งแย่งกัน ถูกผู้คนคอยรบกวน หรือถูกปล้นฆ่า เป็นต้น

    บุญกุศลจึงเป็นสิ่งที่เราควรรีบกระทำ ในทุกกรณีไป

    ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า

    พึงรีบขวนขวายในการทำกุศล เพราะถ้าทำช้าไป กิเลสมารอาจเข้าแทรกจิต ทำให้เลิกคิดทำกุศลไปก็ได้

    ดังนั้น แม้ไม่เมาเหล้าทางกาย แต่มีความมัวเมาทางใจดังกล่าวนี้
    ก็ชื่อ ผิดศีล ๕ ปรมัตถ์ ข้อที่ ๕ นี้ครับ

    ผมจึงขอนำหลักธรรมอันเป็นประโยชน์นี้มาเสริมเพิ่มความรู้ แก่เพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ
    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
     
  2. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    พึ่งได้เห็นครับ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว เหมือนกับการเอา กิเลส ตัญหา อุปปาทาน และอกุศลกรรม มารวมกับศีลห้า
    แต่อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีนะครับ
    โมทนาด้วยครับ
     
  3. แอบยิ้ม

    แอบยิ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    151
    ค่าพลัง:
    +455
    เป็นความรู้ใหม่ที่ยอดเยี่ยมครับ

    แต่ลำพังศีลห้าธรรมดา ยังรักษาค่อนข้างจะยากเล้ย
    เจอศีลห้าปรมัตถ์อย่างนี้เข้า ก็หัวหมุนไปเลยอ้ะซี

    แต่คิดว่าคงจะจริงนะ ถ้ารักษาได้ก็เป็นพระอริยะแน่ ๆ
    เพราะต้องเป็นผู้มีกิเลสเบาบางแล้ว จึงจะทำได้

    ขอขอบคุณ คุณรักเสมอมากครับ ที่นำความรู้ดี ๆ มาให้เราได้ทราบกัน

    ผมจะจดบันทึกเอาไว้เลย

    และรักษาให้เป็นศีลมูลค่าเพิ่ม

    เพื่อเพิ่มคุณธรรม และสติปัญญา แก่จิตวิญญาณ

    เพื่อจะได้เป็นพระอริยะกับเค้ามั่งครับ
     
  4. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    จากที่อ่าน ทำให้เข้าใจว่า ศีล5 ปรมัตถ์ เป็นข้อปฏิบัติให้การรักษาศีล5 ได้บริสุทธิ์มากขึ้น
    แต่การจะเป็นพระอริยะเจ้า แนวทางปฏิบัติ น่าจะมีมากกว่านี้
    ดิฉันเข้าใจถูกมั้ยคะ
     
  5. ธรรมทิพย์

    ธรรมทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +433
    ขออนุโมทนาค่ะ ลึกซึ้งกินใจปุถุชนเข้าไม่ถึงค่ะ เพราะเหตุนี้นี่เล่าจึงเรียกว่า ศีลปรมัตถ์
     
  6. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    ถ้าเรามีหิริโอตัปปะคือความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่วแล้ว ไม่ว่าศีลกี่ข้อก็รักษาได้ครับ จิตเมื่อมันเกิดความละอายเสียแล้วมันจะวิรัตตัวเองให้คอยสำรวมระวังไม่ให้เกิดบาปครับ...สาธุดีจริงพระธรรม
     
  7. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    คุณ NARONG ได้โพสต์ไว้ว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พึ่งได้เห็นครับ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว เหมือนกับการเอา กิเลส ตัญหา อุปปาทาน และอกุศลกรรม มารวมกับศีลห้า
    แต่อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีนะครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถูกต้องครับ
    <O:p</O:p
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    ก็เพื่อละกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม นั่นเองครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตามหลักธรรมท่านกล่าวว่า
    <O:p</O:p
    กิเลสแบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    - ขั้นหยาบ<O:p</O:p
    - ขั้นกลาง<O:p</O:p
    - ขั้นละเอียด
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขั้นหยาบต้องแก้ด้วย การรักษาศีล (๕, ๘, ๑๐, ๒๒๗)<O:p</O:p
    ขั้นกลางต้องแก้ด้วย การบำเพ็ญสมาธิ<O:p</O:p
    ขั้นละเอียดต้องแก้ด้วย การเจริญวิปัสสนา จนเกิดปัญญาญาณ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ศีลปรมัตถ์ที่ท่านพูดถึงนี้<O:p</O:p
    เป็นการผนวกเอาแนวทางการเจริญวิปัสสนา มาเพิ่มเติมในการรักษาศีล
    <O:p</O:p
    เป็นอุบายวิธีที่สอนให้คนผู้สนใจแต่เพียงการรักษาศีล<O:p</O:p
    ให้เพิ่มการปฏิบัติวิปัสสนาเข้าไปด้วย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และถ้าพิจารณาให้ละเอียดจะเห็นว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลักการปฏิบัติของศีลปรมัตถ์นี้ ถ้าปฏิบัติได้ดีพอสมควร<O:p</O:p
    จะช่วยบรรเทากิเลสตัณหาได้มากทีเดียว
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความทุกข์ใจอันเกิดจากกิเลสตัณหานั้น ก็ย่อมจะลดน้อยลงด้วยอย่างแน่นอนครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2008
  8. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    คุณอดุลย์ เมธีกุล กล่าวว่า

    ถ้าเรามีหิริโอตัปปะคือความละอายและเกรงกลัวต่อความชั่วแล้ว ไม่ว่าศีลกี่ข้อก็รักษาได้ครับ จิตเมื่อมันเกิดความละอายเสียแล้วมันจะวิรัตตัวเองให้คอยสำรวมระวังไม่ให้เกิดบาปครับ...สาธุดีจริงพระธรรม

    ถูกต้องครับ

    แต่ยังขาดรายละเอียดบางประการครับ

    เช่น วิรัติท่านจัดไว้เป็น ๓ คือ

    ๑. สมาทานวิรัติ
    ๒. สัมปัตตวิรัติ
    ๓. สมุจเฉทวิรัติ

    และการปฏิบัติจำเป็นต้องพูดถึง หรือต้องอาศัย สติ สัมปชัญญะ เป็นสำคัญด้วยครับ

    การละกิเลสนั้น มีความจำเป็นจะต้องรู้อุบายวิธีต่าง ๆ พอสมควร
    เพราะกิเลสมีมากมาย (ที่ท่านกล่าวว่า กิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘)

    ถ้าเรารู้วิธีต่อสู้เพียงเล็กน้อย ทั้งขาดอาวุธยุทโธปกรณ์
    ก็ไม่อาจจะต่อสู้กับพลังอันยิ่งใหญ่ และกลมายาของกิเลสได้

    อุปมาเหมือน มีโรคภัยเกิดขึ้นมากมาย
    แต่เรามียาโอสถเพียง ๒ - ๓ ขนาน
    ก็ไม่อาจจะบำบัดโรคได้ทั้งหมด

    จำเป็นจะต้องมียาโอสถมากเพียงพอ และต้องฉลาดรู้จริงในตัวยาและวิธีใช้ยานั้นเป็นอย่างดีด้วย
    จึงจะต่อสู้กับโรคภัยได้ครับ

    นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผมท่านั้นครับ
    ผิดถูกอย่างไร
    ขอฝากท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
    ขอบคุณมากครับ



    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2008
  9. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    จิตเมื่อมันเกิดความละอายเสียแล้วมันจะวิรัติตัวเองให้คอยสำรวมระวังไม่ให้เกิดบาปครับ...สาธุดีจริงพระธรรม

    การที่จิตมันวิรัติตัวเองและคอยสำรวมระวังไม่ให้เกิดบาปน่ะ มันประกอบไปแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ถ้าจิตไม่มีศีล ก็คงไม่เกิดความละอาย

    ถ้าจิตไม่มีสมาธิความตั้งใจมั่นคือมีสติ มันคงไม่เห็นความชั่วที่เป็นบาปเข้ามากระทบกับใจ และถ้าไม่มีปัญญา จิตมันก็คงไม่สามารถที่เห็นและละได้ครับ

    ธรรมะมันขึ้นอยู่กับการพิจารณาและแยบคายตามสภาวะของปัญญาแต่ละคนความเข้าใจของเราและของเขาบางทีการแสดงออกไปตามสภาวะของตน เลยอาจทำให้คนที่มีความเข้าใจต่างกัน ขออภัยด้วยครับ



    การรักษาศีลตัวใจนะครับที่รักษา สมาทานเบื้องต้น สัมปัตตวิรัติเบื้องกลาง สมุทเฉทพระอริยะเจ้าครับที่ถือไว้ในใจแล้วมันเป็นเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องมาคอยลูบคลำศีลพรตตนเองแล้ว ว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เวลากิเลสมันเกิดมันไม่รอขั้นตอนหรอกครับ พรวดเดียวถึงตัวเลย ลองพิจารณาให้ดี นะครับหิริโอตัปปะมันไม่ใช่ธรรมะเล็กน้อยนะครับ เป็นธรรมคุ้มครองโลกได้ ที่สามารถนำจิตของคนให้เป็นเทวดาตั้งแต่ยังเป็นคนนะครับ และคนถ้าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญาไม่สามารถที่จะรักษาคุณธรรมข้อนี้ได้หรอกครับ


    ยิ่งเปรียบการต่อสู้หิริโอตัปปะนี่ยิ่งเปรียบเป็นวินัยคือหัวใจของทหารเลยครับถ้าทหารขาดวินัยคงไม่ใช่ทหาร

    ถ้าเปรียบเป็นยา หิริโอตัปปะก็คือ ยาพารา ที่เบื้องต้น ปวดหัวตัวร้อนก็ต้องนึกถึงยาพาราก่อนครับ


    จำเป็นครับหิริโอตัปปะเป็นพื้นฐานของการที่จะยกระดับจิต จากปุถุชนก้าวล่วงสู่พระอริยะครับ มันมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นองค์ประกอบกันหมด ไม้ถ้ามีแต่แก่นไม่มีเปลือก กะพี้ ใบ จะเติบใหญ่เป็นต้นไม้ได้ไหม ศีลถ้าไม่มีหิริโอตัปปะจะบำเพ็ญรักษาให้บริบูรณ์ได้ไหม หิริโอตัปปะถ้าไม่มีสติ มีปัญญาจะก้าวล่วงทุกข์ได้ไหมครับ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวแสดงไว้ด้วยดีแล้ว ก็มีแต่เราละครับ ที่จะแสดงประพฤติปฏิบัติตามสติปัญญาได้แค่ไหน

    จิตเมื่อถึงหิริโอตัปปะแล้วแค่คิดจะ มันยังไม่กล้าคิดต่อเลยครับมันละอายครับ
    ความชั่วต่างๆ มันถึงไม่เข้าถึงใจพระโสดา ท่านถึงไม่ไปอบายก็เพราะหิริโอตัปปะ

    ศีลคือความเป็นปรกติของจิต ถ้าจิตเคลื่อนออกจากความเป็นปรกติท่านก็มองเห็นมันดีมันชั่ว ความละอายมันเกิดท่านจึงไม่ล่วงละเมิดศีลครับ ไม่ใช่แบบทำผิดแล้วก็ไปสมาทานขอศีลใหม่ ไปวิรัติขึ้นมาใหม่ถ้าใจมันไม่เห็นความละอายเกรงกลัวต่อความชั่วทั้งหลายแล้ว ขอกี่ครั้งมันก็ไอ้แค่นั้นแค่ได้แบกยี่ห้อว่าฉันรักษาศีล ฉันวิรัติศีล

    ขอแสดงความคิดเห็นครับ ไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่น ขออภัยด้วยครับ

    ด้วยความเคารพ
    อดุลย์ เมธีกุล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2009
  10. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    ขออนุโมทนา และขอบคุณ คุณอดุลย์ เมธีกุล เป็นอย่างยิ่งครับ

    ที่ได้กรุณาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีก

    ผมเห็นด้วยทุกประการครับ

    เรื่อง ธรรมะคุ้มครองโลก นั้น

    เคยอ่านในนิทานธรรมบท มีอยู่เรื่องหนึ่งจำได้ว่า

    มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้า
    เกี่ยวกับการรักษาศีล และหลักธรรมที่จะนำมาปฏิบัติ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากเหลือเกิน ว่าไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้

    พระองค์จึงตรัสถามว่า

    เธอจะรักษาเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่ ?

    พระภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า ได้

    พระองค์จึงตรัสสอนพระภิกษุรูปนั้นว่า

    ให้รักษาจิตเพียงอย่างเดียว

    นี่ก็เป็นพุทธกุสโลบายของพระองค์ และพระรูปนั้น ก็มีอินทรีย์บารมีแก่กล้าพอสมควร แก่การบรรลุธรรมแล้ว

    แต่ถ้าจะนำมาใช้ในสมัยปัจจุบัน คงจะลำบากหน่อยครับ

    เพราะไม่รู้ว่าจะรักษาจิตให้ถูกต้อง เพื่อการบรรลุธรรมได้อย่างไร

    ถ้ามิได้ศึกษาหาความรู้ในพุทธธรรมเพิ่มเติม อย่างจริงจัง และมากพอ

    ศีล ๕ ปรมัตถ์ ก็คงจะเป็นกุสโลบาย เพื่อขยายหรือส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจในพุทธธรรม
    ให้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้นบ้างครับ

    อนึ่ง คำว่า "วิรัติ" ได้กล่าวผิดไปคำหนึ่งครับ

    คำว่า เจตนาวิรัติ ต้องเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" และวางเรียงอยู่ในข้อที่ ๓ ครับ
     
  11. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    ถึงปัจจุบันหรือพุทธกาลก็ไม่ต่างกันครับถ้าเราตั้งใจจริง

    ขอบคุณ ครับ ธรรมะของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงหนอ

    ขอบคุณ ครับ ท่านเจ้าของกระทู้ที่นำธรรมะดีๆมาจรรโลงใจให้ผู้อ่านได้เห็นชอบในหลักธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้วให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมและผู้ที่ยังไม่เข้าใจได้เข้าใจ


    ขออนุโมทนาสาธุการด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  12. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    คุณน้ำใสไหลเย็น ได้กล่าวว่า
    <O:p</O:p
    จากที่อ่าน ทำให้เข้าใจว่า ศีล 5 ปรมัตถ์ เป็นข้อปฏิบัติให้การรักษาศีล 5 ได้บริสุทธิ์มากขึ้น
    แต่การจะเป็นพระอริยะเจ้า แนวทางปฏิบัติ น่าจะมีมากกว่านี้ ดิฉันเข้าใจถูกมั้ยคะ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผมคิดว่า คงเข้าใจไม่ผิดหรอกครับ
    <O:p</O:p
    แต่แนวทางมีจะมีมากขนาดไหนน่ะหรือครับ<O:p</O:p
    ก็มากขนาดถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นั่นแหละครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ทว่า เราคงไม่อาจจะศึกษา และนำมาปฏิบัติตามได้<O:p</O:p
    จนหมดสิ้น มิใช่หรือครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ครูบาอาจารย์ที่ท่านเชี่ยวชาญฉลาดในการปฏิบัติ
    <O:p</O:p
    ท่านจึงรวบรวมคำสอน ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทั้งสิ้น<O:p</O:p
    มาสรุปลงเป็นแนวทางการปฏิบัติโดยย่อ<O:p</O:p
    ให้ผู้ที่ยังศึกษาน้อย ยังมีสติปัญญาน้อย สามารถที่จะปฏิบัติตาม และพึงหวังผลจากการปฏิบัติได้
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านบอกว่า การศึกษาธรรมะ ถ้าสรุปไม่เป็นคงลำบาก
    เพราะจะเฝือได้ และไม่ทราบจะเริ่มปฏิบัติอย่างไรถูก
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านจึงสรุปคำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ วางเป็นหลักใหญ่ ๆ คือ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    และสรุปเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติ ๓ ข้อ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑. เว้นจากการทำบาปทั้งปวง<O:p</O:p
    ๒. กระทำกุศลให้ถึงพร้อม<O:p</O:p
    ๓. กระทำจิตของตนให้ขาวรอบ คือผ่องใสบริสุทธิ์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ศีล ๕ ปรมัตถ์นี้ ผมได้พิจารณามาหลายปีแล้ว
    <O:p</O:p
    เห็นว่า ถ้าประพฤติปฏิบัติได้จริง<O:p</O:p
    ย่อมชื่อว่า ดำเนินไปในแนวทางแห่งมรรคผลอย่างแน่นอน
    <O:p</O:p
    เพราะตามหลัก ท่านกล่าวว่า ศีล ๕ ปกติ ก็เป็นระดับศีลคุณธรรมของพระโสดาบันอยู่แล้วครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความจริงแค่ศีล ๕ ปรมัตถ์ข้อ ๒ ก็เป็นอันสรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดอยู่แล้วครับ

    ที่พระองค์ตรัสสอนว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอให้พิจารณาดูให้ดี ๆ เถิดครับ<O:p</O:p
    ขอบคุณมากครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  13. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ขอบคุณ และอนุโมทนาด้วย
    หลายคำตอบ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นจริงค่ะ

    (แต่ตัวหนังสืออ่านยาก ไม่รู้เกิดอะไรขึ้นคะ)
     
  14. 道教พินอิน

    道教พินอิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +510
    อริยะเจ้ามีหลายละดับ การปฏิบัตินั้นไม่ใช่การบีบบังคับโดยใช้ข้อปฏิบัติที่ถูกตั้งขึ้น
    มาปฏิบัติจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยะ แต่การปฏิบัตินั้น คือการปลูกสร้างจิตสำนึก
    ที่ดีให้เกิดขึ้นกับจิตใจ สร้างปัญญาที่มองเห็นโทษภัยในการกระทำบาปชั่วทั้งปวง
    เมื่อจิตมองเห็นสิ่งดีสิ่งชั่ จิตมีธรรมอันประเสร็จแล้ว ย่อมไม่ไปกระทำสิ่งอันเป็นบาป ศีล๕ปรมัตถ์นั้น คือวิธีการน้อมจิตให้เข้าถึงกระแส่แห่งธรรม สร้าง หิริ โอตตับปะ
    ความละอายต่อการทำบาป ความกลัวต่อการทำบาป สร้างสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์บริบูรณ์
    ศีล๕ปรมัตถ์ คือ ทางของการเจริญกรรมฐานอย่างหนึ่ง โดยการประยุกต์เอา ข้อห้ามกับ หลักการของการเจริญกรรมฐาน เข้าด้วยกัน
    นับว่าเป็นสิ่งดีงามเป็นหนทางอันทำให้เกิดความสงบได้เป็นแม่นมั่น หากทุกๆคน กระทำตามศีล๕ปรมัต์ได้แล้ว จะไม่มีการถือตัวแบ่งแยกกันและกัน
    พุทธศาสนของเราจะมีความร่มเย็นอีกมากมาย คนในโลกนี้หากปฏิบัติตาม
    โลกคงประสบกับความสุขสันติ อย่างมั่นคง สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 เมษายน 2008
  15. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ขออนุโมทนาแก่ผู้ตั้งกระทู้ และผู้ตอบให้ความรู้มากยิ่งขึ้นค่ะ
     
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ
     
  17. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    ____________________________________________________________
    "หลังดื่มเหล้าแล้วเจ้ายังคงรักษาสติสัมปชัญญะ รักษากิริยาสง่างามอยู่ได้ไหมจุดนี้เจ้าจึงเทียบกับพระอริยเจ้าไม่ได้บางครั้งพระอริยเจ้าอุบัติมาในโลกเพื่อล้อเล่นชีวิต"


    ขออนุโมทนาคุณ เฮียปอ ตำมะลัง ที่ได้นำประโยคคำพูดของผู้บรรลุอริยธรรมแล้ว มาให้สมาชิกได้อ่านกัน

    ผู้ยังไม่สำเร็จการศึกษา ก็ต้องคร่ำเคร่งขวนขวายกับการศึกษาให้มาก เพื่อความสำเร็จ

    แต่ผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่ต้องเคร่งครัดอะไรอีกต่อไปก็ได้

    สามารถกระทำตัวได้ตามสบาย ๆ เพราะมีความรู้เต็มที่แล้วนั่นเอง
    <!-- / sig -->
     
  18. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861

    จะเป็นอริยะเจ้าต้องถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ นะครับ

    ปุถุชนยากที่จะเข้าถึง หากยังต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน
    แต่ศีล ๕ ขั้นปรมัถต์ สามารถปิดอบายภูมิได้แล้ว น่ะครับ

    (good) (good) (good) (good) (good) (good)
     
  19. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ขอขอบคุณ และ อนุโมทนา สำหรับคำตอบเพิ่มเติม

    "โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ" หากช่วยแนะนำหาที่ดีดีให้อ่าน
    จะเป็นพระคุณมากค่ะ

    :cool:
     
  20. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861

    มาแล้ว ครับ

    http://www.geocities.com/samathi2005/

    อนุโมทนา....สาธุ กับผู้ปฏิบัติทุกท่าน นะครับ[​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...