อชิตมาณวกปัญหานิทเทส

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 17 มกราคม 2007.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    อชิตมาณวกปัญหานิทเทส
    ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ
    [๕๗] (ท่านอชิตะทูลถามปัญหาว่า)
    โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้? โลกไม่ปรากฎเพราะเหตุอะไรสิ?
    อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก.
    อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
    [๕๘] คำว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้ ความว่า โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลก
    เปรตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลก
    กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก โลกนี้อันอะไรปกปิด ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกอันอะไรสิหุ้มห่อไว้?
    [๕๙] บทว่า อิติ ในอุเทศว่า "อิจฺจายสฺมา อชิโต" เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง
    เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ บทว่า
    อิตินี้ เป็นไปตามลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวโดย
    เคารพ บทว่า อายสฺมานี้ เป็นเครื่องกล่าวถึงเป็นไปกับด้วยความเคารพและความยำเกรง. บทว่า
    อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม
    เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษาที่ร้องเรียกกัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ เป็น
    เครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า "อิจฺจายสฺมา อชิโต".
    [๖๐] คำว่า โลกไม่ปรากฎเพราะเหตุอะไรสิ ความว่าโลกไม่ปรากฎ ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
    ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะเหตุอะไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฎ
    เพราะเหตุอะไรสิ?
    [๖๑] คำว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกความว่า อะไร
    เป็นเครื่องฉาบทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง ของโลกนั้น คือ
    โลกอันอะไรฉาบทา ติดให้เปื้อน ให้มัวหมองเปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้ คล้องไว้ พัวพันไว้?
    ขอพระองค์จงตรัสบอก เล่า แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก.

    [๖๒] คำว่า อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ความว่า อะไรเป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่อง
    บีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็นเครื่องขัดข้องของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
    เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า)
    โลกอันอะไรสิห่อหุ้มไว้? โลกไม่ปรากฎเพราะเหตุอะไรสิ?
    อะไรเล่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกนั้น? ขอพระองค์จงตรัสบอก.
    อะไรเล่าเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น?
    [๖๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอชิตะ)
    โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่ปรากฎเพราะความตระหนี่
    เรากล่าวตัณหาว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก. ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของ
    โลกนั้น.
    [๖๔] ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้
    ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องปลาย ความ
    ไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้นและส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและ
    กันเกิดขึ้น คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ชื่อว่า "อวิชชา" ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความ
    ไม่ถึงพร้อมเฉพาะ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือ
    พร้อม ความไม่ถือรอบ ความไม่เห็นเสมอ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความ
    รู้ได้ยาก ความเป็นคนเขลา ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลงใหล ความมัวเมา อวิชชาเป็นโอฆะ
    อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุม อวิชชาเป็นข่าย โมหะ อกุศล
    มูล ชื่อว่า "อวิชชา" ในอุเทศว่า อวิชชายนิวุโต โลโก นี้เรียกว่า อวิชชา. โลกนรก
    โลกเดียรัจฉาน โลกเปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก
    โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก กับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่าโลก. โลกอันอวิชชานี้ ปิดบัง ปกคลุม
    หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
    [๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า "อชิต". บทว่า ภควา นี้
    เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงทำลายราคะ เพราะเหตุนั้น

    จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายโทสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายโมหะ เพราะ
    เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายมานะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายทิฏฐิ
    เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรงทำลายเสี้ยนหนาม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรง
    จำแนก ทรงแจกวิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรตนะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. ทรง
    ทำซึ่งที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. มีกายอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่า ภควา. มีศีลอันอบรมแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. มีจิตอันเจริญแล้ว มี
    ปัญญาอันเจริญแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงเสพเสนาสนะ
    อันสงัด คือ ป่า และป่าเปลี่ยว เงียบเสียง ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากลม แต่หมู่ชน ควรทำ
    กรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระ
    ผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะเหตุ
    นั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส แห่ง
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วน
    แห่งฌาน อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระ
    ภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
    ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๒๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ สมาธิอันสัมปยุต
    อานาปาณัสสติ อสุภฌานสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรง
    มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
    อริยมมรรคมีองค์ ๘ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งกำลัง
    ของพระตถาคต ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควานี้ พระมารดามิได้ทรงตั้ง พระบิดามิได้ทรงตั้ง พระภคินีมิได้
    ทรงตั้ง พระภาดามิได้ทรงตั้ง มิตรและอำมาตย์มิได้ตั้ง พระญาติสาโลหิตมิได้ทรงตั้ง สมณพราหมณ์
    แลเทวดาก็มิได้ตั้ง. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม คือ พระนามที่เกิดขึ้นในที่สุด
    แห่งความหลุดพ้น. พระนามว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พระนามของพระผู้มีพระภาค
    ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว พร้อมด้วยการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้มหาโพธิ์ เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า "อชิตาติ ภควา".
    [๖๖] คำว่า โลกไม่ปรากฎเพราะความตระหนี่ มีความว่า ความตระหนี่ ๕ ประการ
    คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๑ กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๑ ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๑
    วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ๑ ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม ๑ ท่านเรียกว่า เววิจฉะ ความ
    ตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความเป็นผู้ตระหนี่ ความปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความ
    เป็นผู้มีจิตหดหู่โดยความเป็นจิตเผ็ดร้อน ความที่แห่งจิตอันใครเชื่อไม่ได้เห็นปานนี้ เรียกว่า
    ความตระหนี่. อีกอย่างหนึ่ง แม้ความตระหนี่ขันธ์ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ แม้ความตระหนี่ธาตุ
    ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ ๑. แม้ความตระหนี่อายตนะ ท่านก็เรียกว่ามัจฉริยะ ความถือเอา ท่าน
    ก็เรียกว่า มัจฉริยะ ความประมาท สมควรกล่าว การปล่อยจิต ความเพิ่มการปล่อยจิต ในกาย
    ทุจริตก็ดี ในวจีทุจริตก็ดี ในมโนทุจริตก็ดี ในเบญจกามคุณก็ดี หรือความเป็นผู้ทำโดยความ
    ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ทำไม่ติดต่อ ความเป็นผู้หยุดๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน
    ความเป็นผู้ปลงฉันทะ ความเป็นผู้ทอดธุระ ความเป็นผู้ไม่ส้องเสพ ความไม่เจริญ ความ
    ไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่ประกอบเนืองๆ ในการบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็น
    ความประมาท ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ประมาท.
    คำว่า โลกไม่ปรากฎเพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท ความว่าโลกไม่ปรากฎ
    ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ไม่ไพโรจน์ ไม่แจ่ม ไม่กระจ่าง เพราะความตระหนี่นี้ เพราะความ
    ประมาทนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกไม่ปรากฎ เพราะความตระหนี่ เพราะความประมาท.
    [๖๗] คำว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก ความว่า ตัณหา เรียกว่า ชัปปา
    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความยินดี ความพลอยยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัด
    ด้วยความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความปรารถนา ความหลง ความติดใจ ความ
    อยาก ความพัวพัน ความข้อง ความจม ความหวั่นไหว ความลวง ธรรมชาติอันให้สัตว์
    เกิด ธรรมชาติอันให้สัตว์เกิดกับทุกข์ ธรรมชาติอันเย็บไว้ ธรรมชาติเพียงดังข่าย ธรรมชาติ
    อันไหลไป ธรรมชาติอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ความเป็นผู้หลับ ความกว้างขวาง ธรรมชาติ
    อันให้อายุเสื่อม ความเป็นเพื่อน ความตั้งใจไว้ ธรรมชาติอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพ ธรรมชาติ
    เพียงดังว่าป่า ธรรมชาติเพียงดังว่าหมู่ไม้ในป่า ความสนิทสนม ความมีเยื่อใย ความเพ่ง ความ
    พัวพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ความเป็นผู้หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวัง
    ในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ความกระซิบ ความกระซิบทั่ว ความกระซิบยิ่ง กิริยาที่กระซิบ
    ความเป็นผู้กระซิบ ความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ความที่ตัณหาหวั่นไหว ความเป็น
    ผู้ต้องการให้สำเร็จ ความกำหนัดผิดธรรมดา ความโลภไม่สม่ำเสมอ ความใคร่ กิริยาที่ใคร่
    ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ความประสงค์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา รูปตัณหา
    อรูปตัณหา นิโรธตัณหา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
    ธรรมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน ธรรมชาติเป็นเครื่องกั้น ธรรมชาติเป็นเครื่องบัง
    ธรรมชาติเป็นเครื่องปิด ธรรมชาติเป็นเครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย กิเลสเครื่องกลุ้มรุม
    ธรรมชาติเพียงดังว่าเถาวัลย์ ความตระหนี่ มูลแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์
    บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร โคจรแห่งมาร เครื่องผูกแห่งมาร ตัณหาเพียงดังว่าแม่น้ำ ตัณหา
    เพียงดังว่าข่าย ตัณหาเพียงดังว่าสายโซ่ ตัณหาเพียงดังว่าทะเล อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
    นี้เรียกว่า ชัปปา (ตัณหา) ตัณหานี้เป็นเครื่องทา เป็นเครื่องข้อง เป็นเครื่องผูก เป็นอุปกิเลส
    ของโลก โลกอันตัณหานี้ไล้ทา ฉาบทา ให้หมอง ให้มัวหมอง ให้เปื้อน ระคนไว้ ข้องไว้
    คล้องไว้ พันไว้ เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
    ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก.
    [๖๘] ชื่อว่า ทุกข์ ในอุเทศว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์
    พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก ทุกข์ใน
    กำเนิดดิรัจฉาน ทุกข์ในเปตติวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีการ
    ตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความออกจากครรภ์เป็นมูล ทุกข์เนื่องแต่สัตว์ผู้เกิด ทุกข์เนื่องแต่
    ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด ทุกข์เกิดแต่ความเพียรของตน ทุกข์เกิดแต่ความเพียงของผู้อื่น ทุกข์ในทุกข์
    สงสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคในศีรษะ โรคในหู
    โรคในปาก โรคฟัน โรคไอ โรคมองคร่อ โรคริดสีดวงจมูก โรคร้อนใน โรคชรา โรคในท้อง
    โรคสลบ โรคลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน ฝี กลาก โรคหืด โรคลมบ้าหมู
    หิดด้าน หิดเปื่อย คุดทะราด ลำลาบ คุดทะราดใหญ่ โรครากเลือด โรคดี โรคเบาหวาน
    โรคริดสีดวงทวาร โรคต่อม บานทะโรค อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิด
    เพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอกัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิดเพราะผลกรรม

    ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์แต่เหลือบ
    ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ความตายของมารดาก็เป็นทุกข์ ความตายของ
    บิดาก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องชายก็เป็นทุกข์ ความตายของพี่น้องหญิงก็เป็นทุกข์ ความ
    ตายของบุตรก็เป็นทุกข์ ความตายของธิดาก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งญาติก็เป็นทุกข์ ความ
    ฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายเพราะโรคก็เป็นทุกข์ ความฉิบหายแห่งศีลก็เป็น
    ทุกข์ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิก็เป็นทุกข์ รูปาทิธรรมเหล่าใด มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นก็ปรากฏ
    รูปาทิธรรมเหล่านั้นก็มีความดับไปในเบื้องปลายปรากฏ วิบากอาศัยกรรม กรรมอาศัยวิบาก รูป
    อาศัยนาม นามก็อาศัยรูป นามรูปไปตามชาติ ชราก็ติดตาม พยาธิก็ครอบงำ มรณะก็ห้ำหั่น
    ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่มีอะไรเป็นที่เร้น ไม่มีอะไรเป็นสรณะ ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง
    นี้เรียกว่าทุกข์. ทุกข์เป็นภัยใหญ่ เป็นเครื่องบีบคั้น เป็นเครื่องเสียดสี เป็นอันตราย เป็น
    เครื่องขัดข้อง ของโลกนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น.
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้. โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่.
    เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเครื่องฉาบทาโลก. ทุกข์เป็นภัยใหญ่
    ของโลกนั้น.
    [๖๙] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
    กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง. อะไรเป็น
    เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย? ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกธรรม
    เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อม
    ปิดกั้นได้?
    [๗๐] กระแส คือ ตัณหา กระแส คือ ทิฏฐิ กระแส คือ กิเลส กระแส คือ
    ทุจริต กระแส คือ อวิชชา ชื่อว่ากระแสในอุเทศว่า "สวนฺติ สพฺพธิ โสตา" บทว่า
    สพฺพธิ คือ ในอายตนะทั้งปวง. บทว่า สวนฺติ ความว่า ย่อมไหลไป ย่อมไหลหลั่ง ย่อม
    เลื่อนไป ย่อมเป็นไป คือ ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปในรูปทางจักษุ
    ในเสียงทางหู ในกลิ่นทางจมูก ในรสทางลิ้น ในโผฏฐัพพะทางกาย ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป
    ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปในธรรมารมณ์ทางใจ รูปตัณหา ย่อมไหลไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อน
    ไป ย่อมเป็นไปทางจักษุ สัททตัณหาย่อมไหลไป ... ทางหู คันธตัณหาย่อมไหลไป ... ทางจมูก
    รสตัณหาย่อมไหลไป ... ทางลิ้น โผฏฐัพพตัณหาย่อมไหลไป ... ทางกาย ธรรมตัณหาย่อมไหล
    ไป ย่อมหลั่งไป ย่อมเลื่อนไป ย่อมเป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลาย
    ย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง.
    [๗๑] คำว่า อิติ ในอุเทศว่า อิจฺจายสฺมา อชิโต เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวเนื่อง
    เป็นบทยังบทให้บริบูรณ์ เป็นความประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ.
    คำว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท. บทว่า อายสฺมา เป็นเครื่องกล่าวถึงความเป็นไปกับด้วย
    ความเคารพและความยำเกรง. บทว่า อชิโต เป็นชื่อ เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็น
    บัญญัติ เป็นเครื่องร้องเรียก เป็นนาม เป็นการตั้งชื่อ เป็นเครื่องทรงชื่อ เป็นภาษาที่ร้องเรียก
    กัน เป็นเครื่องแสดงให้ปรากฎ เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    "อิจฺจายสฺมา อชิโต".
    [๗๒] คำว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่าอะไรเป็นเครื่องกั้น คือ เป็น
    เครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
    จึงชื่อว่า อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย?
    [๗๓] คำว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า
    ขอพระองค์จงตรัส คือ จงทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
    ประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่อง
    รักษา เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกซึ่ง
    ธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย.
    [๗๔] คำว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดกั้นได้ ความว่า กระแสทั้งหลายอันอะไร
    ย่อมปิดบังได้ คือ ย่อมตัดขาด ย่อมไม่ไหล ย่อมไม่หลั่ง ย่อมไม่เลื่อน ย่อมไม่เป็นไป
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อมปิดได้?
    เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า (อชิตมาณพทูลถามว่า)
    กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอายตนะทั้งปวง. อะไรเป็น
    เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย? ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรม
    เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสทั้งหลายอันอะไรย่อม
    ปิดกั้นได้?
    [๗๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอชิตะ) กระแสเหล่าใด
    ในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น. เรากล่าวธรรม
    เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย. กระแสเหล่านี้อันปัญญา
    ย่อมปิดกั้นได้.
    [๗๖] คำว่า กระแสเหล่าใดในโลก ความว่า กระแสเหล่านี้ใด เราบอกแล้ว เล่าแล้ว
    แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แต่งตั้งแล้ว เปิดเผยแล้ว จำแนกแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ประกาศแล้ว
    คือ กระแสตัณหา กระแสทิฏฐิ กระแสกิเลส กระแสทุจริต กระแสอวิชชา. บทว่า ในโลก
    คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึง
    ชื่อว่า กระแสเหล่าใดในโลก. พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่า อชิตะ.
    [๗๗] ความระลึก คือ ความตามระลึก ความระลึกเฉพาะ สติ ความระลึก ความ
    ทรง ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ สตินทรีย์ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค
    (มรรคเป็นที่ไปแห่งบุคคลผู้เดียว) ชื่อว่า สติ ในอุเทศว่า "สติ เตสํ นิวารณํ" นี้เรียกว่า
    สติ. บทว่าเป็นเครื่องกั้น ความว่า เป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน
    เป็นเครื่องรักษา เป็นเครื่องคุ้มครอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น.
    [๗๘] คำว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ความว่า ย่อมบอก
    ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น
    ย่อมประกาศ ซึ่งธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเครื่องรักษา
    เป็นเครื่องคุ้มครองกระแสทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้น
    กระแสทั้งหลาย.
    [๗๙] ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
    ชื่อว่า ปัญญา ในอุเทศว่า ป?ฺ?าเยเต ปิถิยฺยเร. ข้อว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิด
    กั้นได้ ความว่า กระแสเหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมตัดขาด ไม่ไหลไป ไม่
    หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขารทั้งปวง
    ไม่เที่ยง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สังขาร
    ทั้งปวงเป็นทุกข์ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
    ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาบุคคลผู้รู้เห็น
    ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
    ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแส
    เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ย่อมปิดกั้นได้...
    ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
    สฬายตนะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะ
    สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของ
    บุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแส
    เหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ย่อมปิดกั้นได้ ...
    ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอุปาทานเป็น
    ปัจจัยจึงมีภพ ย่อมปิดกั้นได้ ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะภพ
    เป็นปัจจัย จึงมีชาติ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญา
    ของบุคคลผู้รู้เห็นว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะ
    วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ
    จึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา
    และมรณะจึงดับ ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อมปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป
    ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคล
    ผู้รู้เห็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ
    ดับอาสวะ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า ธรรม
    เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรม
    เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็น
    ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ
    อุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป กระแสเหล่านี้ อัน
    ปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นความเกิด ความดับ คุณโทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งมหารูป ๔
    ย่อมปิดกั้นได้ ... ไม่เป็นไป. กระแสเหล่านี้ อันปัญญาของบุคคลผู้รู้เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี
    ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ย่อมปิดกั้นได้ คือ ย่อม
    ปกปิด ย่อมไม่ไหลไป ไม่หลั่งไป ไม่เลื่อนไป ไม่เป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระแส
    เหล่านี้ อันปัญญาย่อมปิดกันได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    กระแสเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น
    เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านี้
    อันปัญญาย่อมปิดกั้นได้.
    [๘๐] (ท่านอชิตะทูลถามว่า)
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ย่อมดับ
    ไป ณ ที่ไหน? ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัส
    บอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
    [๘๑] ความรู้ชัด กิริยาที่รู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความกำหนดพร้อม
    ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็น
    ผู้ละเอียดอ่อน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ความคิด ความพิจารณา ปัญญาดังแผ่นดิน ความปรีชา
    ปัญญาอันน้อมไป ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาอันเจาะแทงเหมือนประตัก ปัญญินทรีย์
    ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเพียงดังศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญา
    เพียงดังรัศมี ปัญญาเพียงดังประทีป ปัญญาเพียงดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม
    สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าปัญญา ในอุเทศว่า "ป?ฺ?า เจว สติ จาปิ" ความระลึก ความตามระลึก ฯลฯ
    สัมมาสติ ชื่อว่า สติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อชิตมาณพทูลถามว่า ปัญญา สติ.
    [๘๒] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป ความว่า อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม
    มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูป บทว่า มาริส เป็นเครื่องกล่าวด้วยความรัก

    เป็นเครื่องกล่าวโดยเคารพ บทว่า มาริสนี้ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพและความ
    ยำเกรง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ... นามรูป.
    [๘๓] คำว่า เอตมฺเม ในอุเทสว่า "เอตมฺเม ปุฏโ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2007
  2. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    ทดลองอ่าน เก็บข้อมูล ปรับแต่ง
    .
    ......
    1. ใช้ไมค์แบบครอบหู
    2.กางไมค์ให้ห่างปากเล็กน้อย
    3.ให้หัวไมค์ อยู่ระดับใต้ ริมฝีปาก เพื่อไม่ให้โดนลมหายใจจากปากทำให้ไม่มีเสียงหายใจเข้าไปมากนัก
    -เสียงผมเบามากฉะนั้น จึงเร่งไมค์ตอนอัดสุดขีดแดง
    -และให้เสียงอ่านน้ำเสียงธรรมดาๆ ไม่ตะเบ็งเหมือนครั้งก่อนๆ
    4.อ่านออกเสียงเรื่องนี้หลายเที่ยว เพื่อความคล่องตัว แต่ยังไม่อัดเพราะการซ้อมหลายเที่ยว อัดทันที จะทำให้ได้เสียง แข็งๆ เกร็งไม่เป็นธรรมชาติ
    5.เมื่อสบายใจดี ไม่เครียด ต่อการฝึกซ้อม ก็อัดเสียง โหลดมาฟังกัน
    6.ยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีก เชิญวิจารย์ได้ครับ

    .
    .

    ............................ยังจะโหลดมาอีกหลายไฟล์แล้วจะทำ เพลย์ลิสต์เพื่อฟังต่อเนื่องกันอีกทีครับ
    .
    เชิญครับ ร่วมฝึกซ้อมเพื่อความพร้อมและลงตัวของตัวเองกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2007
  3. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,895
    ขออนุโมทนาคะ
    คราวนี้พี่ผ่อนทดลองอ่านหลายตอนเชียว
    อ่านมากๆ อีกหน่อยก็คล่องนะคะ แต่เสียงข้างนอกแทรกมานะคะ เดี๋ยวกบจะลองปรับวอลลุ่ม ถ้าได้ผลจะมาแนะนำคะ






     
  4. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    ที่เสียงแทรกเพราะผมยังไม่อัดจริงจังนัก เนื่องจากกำลังซ้อมเก็บข้อมูลปรับปรุง จึงเดินงานปริ้นเตอร์ไปด้วย เสียงกลไกปริ้นเตอร์จึงแทรกเข้ามาน่ะครับ ถ้าอัดจริงๆก็จะระงับเสียบรอบข้างน่ะครับ


    รู้สึกว่า เรายิ่งหัดอัดเราก็ยิ่งมีความมั่นใจและ ทดลองต่างๆ เพื่อการปรับปรุงอีกครับ

    ขอบคุณคุณกบ และทุกๆท่านมากครับ ที่แวะมาเยี่ยมฟังเสียงอ่านที่กำลังฝึกซ้อมของผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2007
  5. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    เนื่องจากเสียงผมเบามาก เร่งไมค์อัดสุดขีดแล้วก็ฟังดูเบา ผมจังปรับก้านไมค์ให้ใกล้ปากขึ้น แต่ปรับระดับไมค์ให้อยู่ใต้ช่องปาก ไม่ให้แรงลมจากช่องปากพุ่งกระทบไมค์ เสียงในไฟล์ต่อไปจะดังชัดเจนกว่าแรกๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2007
  6. Niranya

    Niranya สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +18
    อนุโมทนา กับบุญนี้ด้วยค่ะ

    ดิฉันเคยนึกว่าสักวันมีเวลาจะอ่านพระไตรฯ แล้วแจกผู้สนใจในธรรม แต่ตอนนี้ไม่ต้องแล้ว ดิฉันชอบแจกธรรมะ เพราะธรรมะเท่านั้นที่จะนำสัตว์โลกออกจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง.

    ดิฉันได้ฟังเสียงธรรม จากบางท่าน แต่ดิฉันคิดว่าถ้าเราใคร่ศึกษาธรรม เสียงที่ได้ยินจะไพเราะหรือไม่ นั้นไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่เรากำลังฟังอยู่ คือ ธรรม. เพียงแต่ให้เสียงนั้นออกมาจากจิตที่ สงบ เปี่ยมด้วยเมตตา ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป ชัดเจน น้ำเสียงมั่นใจ ฟังแล้วคล้ายฟังเสียงน้ำไหลนิ่ง เราสามารถตามทัน.

    ดิฉันขอกราบขอบพระคุณ ที่ท่านได้มีเมตตาอ่านพระไตรฯ ให้ดิฉันได้ฟัง เพื่อน้อมจิตสู่ธรรม น้อมจิตสัมมาทิฐิ ฯลฯ

    ขออนุโมทนาค่ะ และขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยดลบันดาลให้ท่านได้เข้าถึงธรรมและบรรลุธรรม ดับทุกข์ได้สิ้นเชิง ค่ะ.

    สุดท้ายนี้ ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ดิฉันใคร่ขอความกรุณาท่านอ่านช้าลงอีกนิดค่ะ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ ( ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ดิฉันก็จะขอติดตามฟังต่อไปค่ะเพราะ ธรรมะ คือ สิ่งที่ดิฉันฟัง.)
     
  7. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,698
    เสียงก็ผ่อนคลายจริงๆนะคะ เสียงนุ่มๆๆ
     
  8. maysa79

    maysa79 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    6,075
    ค่าพลัง:
    +18,575
    [​IMG] อนุโมทนาค่ะพี่ผ่อน อ่านยาวมากๆ เลยค่ะ
     
  9. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำในการอัดเสียงคะ (อ่านน้อยครั้งเวลาอัดแล้วเสียงแข็งจริง ๆ ทราบแล้วคะ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...