ขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับสำนัก "พุทธวจน" ท่านคึก วัดนาฯ ด้วยใจเป็นกลาง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย debboy, 5 พฤษภาคม 2016.

  1. debboy

    debboy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +5
    พุทฺธํสรณํคจฺฉามิ ธมฺมํสรณํคจฺฉามิ สงฺฆํสรณํคจฺฉามิ

    ขอโอกาส....

    ลองสรุปเรื่องราวท่านคึกหน่อย

    คำว่า “พุทธวจน” เป็นคำที่มีกำลังเพราะใครได้ยินก็ต้องฟัง ต้องหันมาพิจารณา เพราะการไม่เชื่อไม่ฟัง “พุทธวจน” นั้นเหมือนเป็นการไม่ฟังคำตถาคต ไม่ฟังคำพระศาสดา ดังนั้นถ้าท่านไม่ตั้งชื่อเป็น “พุทธวจน” (เราไม่พูดถึงความตั้งใจดีที่มีมาแต่เดิมทุกสำนักย่อมมีอยู่)

    - คงไม่มีลาภ สักการะ บรรณาการ การนิยมจากประชาชน
    - ไม่เป็นที่เพ่งเล็งมากในสายตาประชาชน

    แต่เมื่อตั้งชื่อกลุ่มว่า “พุทธวจน” ก็จะเป็นที่เพ่งเล็ง เมื่อยิ่งเป็นที่เพ่งเล็ง เป็นที่ประชาชนสนใจ ยิ่งต้องระวังธรรมะที่เผยแพร่ออกไป เพราะเมื่อผิดแล้ว

    ๑. ก็จะกลายเป็นการสอนสิ่งผิด สอนมิจฉาทิฏฐิให้แพร่กระจ่ายออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งมีโทษมากและการตั้งชื่อกลุ่มว่า “พุทธวจน” ทำให้กลายเป็นการกล่าวตู่ตถาคตทันที
    ๒. ก็จะมีคนที่พร้อมจะดึงท่านลงมาด้วยความอิจฉาก็ตาม การขัดลาภและผลประโยชน์ก็ตาม หรือเพื่อปกป้องพระศาสนาก็ตามย่อมออกมาชี้โทษ

    เป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องพิจารณาสิ่งที่เขาทั้งหลายชีโทษว่าท่านถูกหรือผิดและเป็นจริงไหม อย่าดื้อด้านไม่ละทิ้งทิฏฐิเดิมที่ผิดนั้น ๆ

    ๑. “เอาแต่คำตถาคต” เดิมเป็นสิ่งดีแต่การปฏิเสธคำสาวก หรืออรรถกถา คือการปฏิเสธสรณะที่ ๓ ที่เป็นหลักในพระพุทธศาสนา เป็นสรณะที่ตถาคตทรงสรรญเสริญ แล้วท่านใยปฏิเสธ แล้วท่านไม่ใช่สาวกหรือ มิเช่นนั้นแล้วประชาชนควรที่จะฟังท่านหรือในเมื่อท่านเองก็เป็นเพียงสาวกเช่นกัน
    ๒. “ปฏิเสธ คำสาวก” คือการไม่เคารพในพระสงฆ์อันได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อานาคามี และอรหันต์ การไม่ฟังคำสาวกในพระพุทธศาสนานั่นหมายถึงท่านมีสรณะเพียง ๒ เท่านั้นแล้วท่านจะเข้าถึงสัมาทิฏฐิได้อย่างไร แล้วเมื่อไม่มีสัมมาทิฏฐิยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงมรรคผลเลย ซึ่งก็ไม่เป็นไปตามคำตถาคตอีกเช่นกัน ตถาคตสรรเสริญผู้ที่มีความเชื่อมั่นหยั่งลึกในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ไม่ใช่แค่พระพุทธ...
    ๓. เมื่อกล่าวว่า “เอาแต่คำตถาคต” ยิ่งต้องห้ามผิดเพราะผิดเมื่อไหร่กลายเป็นว่าท่านกล่าวตู่ตถาคตทันทีว่าตถาคตกล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นบาปมหันต์เพราะจะทำให้คนไม่รู้ ไม่ได้ศึกษาเข้าใจผิดจากสิ่งทีท่านสอน
    ๔. และเมื่อรู้ว่าผิดต้องปรับและแก้ไขให้ไวเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้ถูกต้องไว้ให้ได้มากที่สุด ไม่ให้ผิดไปจากความเป็นจริง และเพื่อไม่ให้เป็นการเผยแพร่ธรรมที่ผิดออกไปในนาม “พุทธวจน” และมีผลต่อพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
    ๕. เรื่องการแปลความในพระไตรปิฎกบาลี เป็นไทย ท่านบางทีก็มึน ๆ บางทีท่านว่าเอามาจากพระไตรปิฎกฉบับหลวงทั้งหมด ก๊อปแปะมา แต่ทำไมเนื้อความไม่เหมือนกัน เมื่อมีคนท้วงติงก็ไม่ยอมรับปรับแก้แต่กลับดึงดันว่าของตนถูก “ท่านก็อบมาแต่ไม่เหมือนของเขาแต่บอกว่าของตัวถูก” ตรรกะนี้มันเพี้ยน ๆ นะครับ
    ๖. ความดื้อด้าน “มานะ” ก็ตาม “สักกายะทิฏฐิ” ก็ตาม ทำให้
    - ท่านถูกขับออกจากสำนักอาจารย์ของตน สายหลวงปู่มั่น/ชา วัดหนองป่าพง 
    - กลายเป็นว่าเจตนาท่านไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่แต่เพื่อลาภ สักการะ

    จึงเห็นได้ว่าความอวดรู้ หวังในลาภ สัการะ สรรญเสริญของนั้นเป็นดาบสองคมและไม่ควรมีในสมณะผู้กล่าวว่าตนเป็นศิษย์ของตถาคตเลย สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเพียรเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อความรู้พร้อมเป็นไปเพื่อความไม่รู้ ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้สันโดษเป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อการสลัดสัตว์ออกเป็นไปเพื่อการรวมสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปความคลายกำหนัดเป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผุ้เลี้ยงง่ายเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงยาก ... สิ่งที่ท่านกำลังกระทำไม่ใช่ธรรมของตถาคต

    ตถาคตเองก็ได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกถึงลักษณะธรรมที่ควรฟังและไม่ควรเข้าไปฟัง แต่ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวว่า “ไม่ควรฟังคำสาวก” และในพระสูตรที่ท่านมักยกมาอ้างบ่อย ๆ นั้นก็ไม่ได้หมายถึงสาวกในพระพุทธศาสนา แต่หมายถึงสาวกในปริบทที่เขียนไว้ก่อนหน้าว่า เป็นคำแต่งใหม่ เป็นคำกวีร้อยกรอง ...

    อยากให้ท่านพึงพิจารณา...

    แต่หากท่านไม่ใช้ชื่อกลุ่มว่า “พุทธวจน” ลาภ สักการะก็ไม่มาก บุคคลก็ไม่เพ่งเล็ง การกล่าวผิดก็ไม่เป็นการตู่ตถาคต.... หนังสือที่พิมพ์ผิดออกมาก็แก้ไขพิมพ์ใหม่ครั้งต่อไปก็ไ่ม่เป็นปัญหา ไม่ส่งผลกระทบมากถึงพระไตรปิฎก

    บทความนี้ไม่ได้เขียนให้ท่านเปลี่ยนชื่อกลุ่มแต่ให้ท่านเล็งเห็นโทษและความรับผิดชอบต่อพระศาสนา เมื่อท่านเลือกที่จะทำดังนี้แล้วท่านก็มีหน้าที่

    1. กระจายความรู้ที่ถูกต้องตาม “พุทธวจน” ด้วยเจตนาเพื่อส่วนรวมแท้จริง
    2. เมื่อมีผู้ตักเตือนควรพิจารณาความผิดพลาดของตนแล้วแก้ไขให้เร็ว
    3. ปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดอย่างเรียบง่าย

    กรณีวัดพระธรรมกายเป็นที่สุดด้านหนึ่งคือความไม่เข้าใจไร้แก่นสารในพระพุทธศาสนา กรณีวัดนาป่าพงก็เป็นที่สุดอีกด้านหนึ่งคือความยึดมั่นในรูปบุรุษบุคล (ในที่นี้คือพระศาสดา) จนขาดความเป็นกลาง อันไม่ใช่สิ่งที่ตถาคตทรงสรรญเสริญเลย แต่ควรยึดมั่นใน “ธรรม” คือสิ่งที่ตถาคตทรงสรรญเสริญ พิจารณาธรรมให้เห็นชัด แล้วสอนให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย ดังที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เคารพพระธรรม” ๑ “ผู้เห็นใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ๑ จะเห็นว่ามีแต่หลักฐานที่แสดงว่าตถาคตให้ยึดมั่นในพระธรรม และชี้ให้เห็นการเข้าถึงสรณะที่ ๑ นั้นต้องผ่านสระที่ ๒ ที่เรียกว่าพระธรรม และการเข้าถึงสรณะที่ ๒ นั้น ต้องผ่านสรณะที่ ๓ คือสงฆ์สาวกในพระพุทธศาสนา เช่นนี้จึงจะกล่าวได้ว่าท่านเคารพรักตถาคตจริงสมกับเป็น ภิกษุ สาวกในพระพุทธศาสนา

    ขอทุกท่านเจริญในธรรม
    (ขอไม่กล่าวถึงกรณีสีกาคุณอ้อยและ ข้อวัตรอื่น ๆ ที่เป็นข่าว)
     
  2. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    สาเหตุนั้นพระพุทธองค์ บอกไว้แล้ว
    พอถึงกึ่งศาสนา...

    บุพกรรม 16 ประการ จะทำงานรองรับศาสนายุคนี้...

    มันจึงเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน...
     
  3. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ยุคสมัยมีความเปลี่ยนแปลง ท่านทั้งหลายผู้นำเหล่าทัพแห่งธรรม
    ย่อมมีปัญญา กำลังบารมีในการขับเคลื่อนธรรมแห่งพุทธ องค์ความรู้
    แม้มีปัญญา ถ้าเป็นปัญญาของปถุชน ผู้เข้าไม่ถึงความเป็นอริยะย่อม
    รู้ผิด ถูกบ้างก็เป็นธรรมดา การสร้างจุดยืน จะการสร้างแบรนด์ โลโก้
    หรือ จุดยืนที่เด่นชัด เป็นการสร้างกระแสธรรมตามความเชื่อ ศรัทธา
    ผู้มีกำลังน้อยก็ตามกระแสเหตุแห่ง ทาน บารมี กุศล ผู้มีศรัทธาประกอบ
    ด้วยปัญญา ก็สมาธิ ภาวนา ปัญญาไป
    เราเห็นทุกการกระทำ การกระทำที่เห็น เป็นการที่เราได้รับรู้ว่า
    สิ่งนั้นท่านทั้งหลายผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญา ภาวนาได้แสดงเหตุเป็นตัวอย่าง
    ให้เราผู้มีปัญญาว่าว่า สิ่งไหนควร ไม่ควรอย่างไร ความเป็นกลางที่เราจะปฏิบัติ
    รับรู้นั้นเป็นทางอย่างไร อย่างน้อยก็ทำไห้เราได้เห็นว่า ความตึง หรือย่อหย่อน
    หรือสายกลางนั้นอยู่ตรงจุดใด เราผู้รู้อยู่ว่าสิ่งใดถูกต้องที่เราทั้งหลายจะรับมันได้
    มันก็เป็นเพียงความคิดเห็นเพียงคนๆเดียว หรือเพียงกลุ่มเล็กน้อยเท่านั้น
    เราไม่มีแรง กำลังบารมีไปขับเคลื่อนกระบวนการนั้นได้ ผู้ขับเคลื่อนจะใช้คนนอก
    ไม่ได้ (คนนอกในที่นี้หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่เพศนักบวช) ต้องเป็นผู้มีความชอบธรรม
    เป็นเถระผู้ใหญ่ผู้มีแรงบันดาน ความศรัทธาเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อว่ามีบารมีธรรมเป็นที่สุด
    มีความเห็นชอบเป็นกลาง ไม่มีความโน้มเอียง มีความเป็นผู้ศรัทธาตั้งมั่นในการปฏิบัติ
    และมีจริยวัตรเป็นที่น่าเคารพนับถือ เลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก มองความเป็นกลาง
    ในการทำหน้าที่ของ เถรวาทและมหายาน ให้มีความสอดคล้องกันโดยยึดพระธรรมวินัย
    หรือไตรปิฎกเป็นหลัก จะต้องมีการประชุมหรือวางแนวทางกันว่า สิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมาย
    สูงสุด หรือแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ของพุทธศาสนาอยู่ที่ใด ไม่นำความเชื่อศรัทธา
    ที่ได้มานั้น มาทำเพื่อหาผลประโยชน์ต่อตนเอง เราควรทำเพื่อประโยชน์ของศาสนา
    อย่างแท้จริง
    อย่างน้อยเราได้เห็นถึงผลความย่อหย่อน หรือตึงของระบบแล้ว สักวันคงจะมีผู้มีบารมี
    มาทำงานตรงนี้ให้ศาสนาของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้คุณค่าของพุทธศาสนาที่มี
    เป็นศาสนาที่เป็นศาสนาของปัญญาอย่างแท้จริง เป็นศาสนาที่เข้าถึงสัจธรรมความเป็น
    อริยสัจที่มีอยู่ เป็นศาสนาเหตุผลที่ควรค่าแก่การศึกษาปฏิบัติให้ถึงแก่นของศาสนาที่มีอยู่
    เมื่อทุกอย่าง ณ.ปัจจุบัน พุทธศาสนาได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแล้วส่วนหนึ่ง แม้วิถีหรือวิธี
    จะผิดอยู่บ้าง ก็หวังว่าผู้มีบารมีจะมาแก้ไข ขยายความให้ถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นที่สุด ให้พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์โดยแท้จริง สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...