เว็บพลังจิต ประมวลภาพเยือนภูทอก ทอดผ้าป่าวัดป่าเมืองอีสาน 10-12 ธ.ค.54 P.20

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 28 กรกฎาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ได้รับแจ้งจากคุณวันเพ็ญ-คุณสุคนธ์-คุณอิ่มจิต ขอร่วมเดินทางทริปภูทอก-ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จำนวน ๓ ที่

    (ว่าง ๙ ที่)
     
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    พี่แอ๋วสบายใจได้ค่ะ แต่ละทริปของหญิง มี สว. ร่วมเดินทางเยอะ แต่จริง ๆ ก็มีครบทุกวัย ทั้ง สว. และ สส. และอายุของสมาชิกที่เคยร่วมเดินทางสูงสุด คือ ๗๙ ปี ในทริปงานออกนิโรธฯ ครูบาเหนือชัย โฆษิโต ซึ่งลุยกว่านี้เยอะเพราะพาขึ้นภูชี้ฟ้าด้วย เพราะฉะนั้น ทริปนี้พี่แอ๋วกำลังใจเกินร้อย กำลังกายเต็มร้อย รับรองว่าขึ้นได้ครบทุกชั้นแน่นอนค่ะ

    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
  3. ศิษย์หลวงปู่

    ศิษย์หลวงปู่ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +82
    ขอยกเลิกการจองทริปไปภูทอก ของผมครับ เนื่องจากพี่สาว(นู๋กิ๊ก)ได้จองให้ผมแล้ว แต่ไม่ได้มีการนัดหมายพูดคุยกันก่อน จึงขอยกเลิกการจองของผมครับ
    ขออภัยด้วยครับ


     
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและขอบคุณค่ะ :p

     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ-ร่วมเดินทาง

    [​IMG]รายนามผู้ร่วมบุญ ๑๒ กองบุญ ๑๒ วัด
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าคำแคนเหนือ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าวิเวกธรรม
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดโพธิ์สมภรณ์
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดพระธาตุบังพวน
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดโพธิ์ชัย
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดศรีคุณเมือง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าดานวิเวก
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าโนนแสนคำ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าแก้วชุมพล
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดป่าหนองแซง
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>วัดถ้ำกลองเพล (วัดหลวงปู่ขาว อนาลโย)

    ๑. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๕๐ บาท
    ๓. คุณศรีโรจน์ กล้าสมศักดิ์ จำนวน ๓๐๐ บาท
    ๔. คุณ vietnam จำนวน ๒๔๐ บาท
    ๕. คุณพ่อโป่ง-คุณปิยราช-ปิยฤทธิ์-ปิยวัชร์-ปิยศักดิ์ แซ่อุย จำนวน ๒๕๐ บาท
    ๖. คุณธรรมรัตน์ 1974 จำนวน ๑๐๐ บาท

    รวมเงินร่วมบุญ จำนวน ๑,๔๔๐ บาท





    [​IMG] รายนามผู้ร่วมเดินทาง
    . คุณ ญ.ผู้หญิง จ่ายแล้ว ลว.๕/๘/๕๔
    ๒. คุณ HeartofDragon (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๓. คุณ HeartofDragon (๒) ยืนยันการเดินทาง
    ๔. คุณ interionut ยืนยันการเดินทาง
    ๕. คุณ ๒๐๑๑* จ่ายแล้ว ลว.๒/๘/๕๔
    ๖. คุณ kuppa20 (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๗. คุณ kuppa20 (๒)* ยืนยันการเดินทาง
    ๘. คุณกาแฟ (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๙. คุณกาแฟ (๒) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๐. คุณจติญาน จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔ (มังสะวิรัติ)
    ------------------------------
    ๑๑. คุณ Ninana (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๒. คุณ Ninana (๒) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๓. คุณยุ้ย จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔
    ๑๔. คุณรุ้ง จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔
    ๑๕. คุณเสาวนิตย์ (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๖. คุณเสาวนิตย์ (๒)
    ยืนยันการเดินทาง
    ๑๗. คุณเสาวนิตย์ (๓) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๘. คุณเสาวนิตย์ (๔) ยืนยันการเดินทาง
    ๑๙. คุณ viphard (๑) ยืนยันการเดินทาง
    ๒๐. คุณ viphard (๒) ยืนยันการเดินทาง
    ------------------------------
    ๒๑. คุณอรวรรณ* ยืนยันการเดินทาง ลว.
    ๒๒. คุณนู๋กิ๊ก (๑)
    ๒๓. คุณนู๋กิ๊ก ((๒) (ศิษย์หลวงปู่)
    ๒๔. คุณ vena* จ่ายแล้ว ลว.๓/๘/๕๔
    ๒๕. คุณทัศนีย์ ยืนยันการเดินทาง
    ๒๖. คุณอัสนี (๑)* ยืนยันการเดินทาง
    ๒๗. คุณอัสนี (๒)*
    ยืนยันการเดินทาง
    ๒๘. คุณเกสรซ์ (๑)
    ๒๙. คุณเกสรซ์ (๒)*
    ๓๐. คุณ Virach55 (๑) จ่ายแล้ว ลว.๒/๘/๕๔
    ------------------------------
    ๓๑. คุณ Virach55 (๒)* จ่ายแล้ว ลว.๒/๘/๕๔
    ๓๒. คุณเฮฮา (๑) ขอถอนตัว ลว. ๘/๘/๕๔
    ๓๓. คุณเฮฮา (๒)
    ขอถอนตัว ลว. ๘/๘/๕๔
    ๓๔. คุณปาริสุทธิ์ (๑)* ยืนยันการเดินทาง
    ๓๕. คุณปาริสุทธิ์ (๒)* ยืนยันการเดินทาง
    ๓๖. คุณปาริสุทธิ์ (๓)* ยืนยันการเดินทาง
    ๓๗. คุณปาริสุทธิ์ (๔)* ยืนยันการเดินทาง
    ๓๘. คุณปาริสุทธิ์ (๕)* ยืนยันการเดินทาง
    ๓๙. คุณปาริสุทธิ์ (๖)* ยืนยันการเดินทาง
    ๔๐. คุณปาริสุทธิ์ (๗)* ขอถอนตัว ลว. ๘/๘/๕๔
    ------------------------------
    ๔๑. คุณวันเพ็ญ* จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔
    ๔๒. คุณสุคนธ์*จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔
    ๔๓. คุณอิ่มจิต* จ่ายแล้ว ลว.๘/๘/๕๔ ขึ้นที่ร้านห่านพะโล้ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    ๔๔. คุณ อ.เหม ยืนยันการเดินทาง
    ๔๕. คุณศศลักษณ์ ยืนยันการเดินทาง
    ๔๖. คุณสัมพันธ์* ยืนยันการเดินทาง
    ๔๗. คุณนวลกมล* ยืนยันการเดินทาง

    รวม ๔๔ คน (ว่าง ๖ ที่)




    หมายเหตุ
    ๑. รับจำนวนจำกัดเพียง ๕๐ คน
    ๒. ค่าเดินทาง ๒,๓๐๐ บาท
    ๓. สมาชิกที่ลงชื่อร่วมเดินทางและประสงค์จะ ยกเลิกการเดินทางต้องแจ้งเข้ามาภายในวันที่ ๘ ส.ค.๕๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. เนื่องจากผู้จัดได้ทำการติดต่อจองและมัดจำค่าที่พักตั้งแต่วันที่ ๕ ส.ค.๕๔
    ๔. โรงแรมที่พักจัดให้นอนห้องละ ๒ คน สมาชิกที่ประสงค์จะนอนคนเดียวต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่ม และสมาชิกคนใดที่ทานมังสะวิรัติ ขอให้แจ้งระบุเข้ามา
    ๕. ปิดรับการยืนยันการเดินทาง วันจันทร์ที่ ๘ ส.ค.๕๔ เวลา ๑๒.๐๐ น.
    ๖. ปิดรับการโอนชำระเงิน วันเสาร์ที่ ๒๐ ส.ค. ๕๔ เวลา ๒๐.๐๐ น.
    ๗. สมาชิกท่านใดที่โอนชำระค่าเดินทางแล้ว กรุณารักษาสิทธิ์ของท่าน โดยการโพสต์หรือส่ง SMS ที่เบอร์ ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑ (081-7359261) แจ้งวัน-เวลาและจำนวนเงินที่โอนให้ทราบเพื่อจะได้ทำการปรับปรุงข้อมูล
    ๘. * หมายถึง สมาชิกที่เป็น สว. หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เมารถ

    ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า


    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1">






    __________________
    อัพเดทกำหนดการกิจกรรมบุญล่าสุด คลิก[/COLOR][/SIZE][/B]
    ทริปกฐินสร้างพระอุโบสถวัดรั<wbr>ตนานุภาพ (กฐินปลดหนี้ ๕๔) ๑๔-๑๗ ต.ค. คลิก

    เรียนเชิญร่วม
    เป็นเจ้าภาพมหากุ<wbr>ศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมครูบาวิฑ<wbr>ูรย์ ชินวโร ๑๗-๒๕ ก.ย. คลิก

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2011
  6. ปาริสุทธิ์

    ปาริสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    125
    ค่าพลัง:
    +817
    น้องหญิงคะอีก 3 ที่ รวมทั้งหมดของพี่เป็น 7 ที่ นะคะ ขอบคุณค่ะ
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและปรับปรุงรายชื่อให้แล้วค่ะ

    (ว่าง ๕ ที่)
     
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัติพระอริยสงฆ์ ที่จะไปกราบในทริปนี้กันเถอะ

    [​IMG]

    หลวงปู่โส กสฺสโป
    วัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ)

    อ. มัญจาคีรี จ. ขอนแก่น


    พระอริยสงฆ์สายศิษย์หลวงปู่มั่น แห่งจังหวัดขอนแก่น วัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่โส กสฺสโป ท่านเป็นชาวอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีเถาะ

    หลวงปู่โส กสฺสโป ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และหลวงปู่ผาง ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่ง ชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตมาแต่ไหนแต่ไรแล้วครั้นที่ยังอยู่กับหลวงปู่ผางที่วัดป่าอุดมคงคาคีรีเขต ชึ่งเป็นท่านหลวงปู่โสก็สหธรรมมิกกับหลวงปู่ผาง สมัยก่อนท่านบำเพ็ญเพียรที่หุบเขา ต่อมาเมื่อท่านชราภาพจนถึงปัจจุบันท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดวัดป่าคีรีวัน อรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่โส กสฺสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่น จึงไม่ได้เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นโดยตรง แต่จะว่าเป็นศิษย์มาในสายนี้ก็พอได้อยู่ ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระอาจารย์มหาสีทน ได้เป็นศิษย์ปฏิบัติมาในสายหลวงปู่มั่น เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๗๕

    พระอาจารย์มหาสีทน มีศิษย์สำคัญ ๒ องค์ คือ หลวงปู่โส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) จ.อุบลฯ ซึ่งภายหลังอาพาธมารักษาตัวและมรณภาพที่ วัดบุญญานุสรณ์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง เฉพาะหลวงปู่สิงห์นี้ได้เข้าไปกราบเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นด้วย

    หลวงปู่โสขณะนี้อายุได้ ๙๐ กว่าปีแล้ว ชราภาพมาก ๆ แต่สุขภาพแข็งแรงดี


    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร
     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก
    วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา)
    อ. เมือง จ.ขอนแก่น


    “หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก” หรือ “พระโสภณวิสุทธิคุณ” มีนามเดิมว่า บุญเพ็ง เหล่าหงษา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๑ ตรงกับวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๙๐ ณ บ้านบัวบาน ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โยมบิดาชื่อ นายเอี่ยม เหล่าหงษา โยมมารดาชื่อ นางคง เหล่าหงษา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน เป็นชาย ๕ คน เป็นหญิง ๒ คน ท่านเป็นลูกหล้าคือบุตรคนสุดท้อง ดังมีรายชื่อตามลำดับต่อไปนี้

    ๑. นางแถว เหล่าหงษา

    ๒. พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม)
    ๓. นางสาย เหล่าหงษา
    ๔. นายเลียบ เหล่าหงษา
    ๕. นายเลี่ยม เหล่าหงษา
    ๖. นายสำเริง เหล่าหงษา
    ๗. พระโสภณวิสุทธิคุณ (หลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก)


    ปัจจุบันพี่ของท่านมรณภาพและเสียชีวิตลงหมดแล้ว


    ครอบครัวของหลวงปู่บุญเพ็งมีอาชีพทำไร่ทำนาตามสภาพของคนในชนบท มีฐานะพอมีอันจะกินตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านบัวบาน หลวงปู่ได้มีโอกาสศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยควบคุมดูแลการหลบลูกระเบิดสมัยสงครามอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ตั้งแต่ท่านเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีความฉลาดเฉลียว และมั่นใจในตนเองมาตั้งแต่เด็ก


    ในการประกอบสัมมาชีพของท่านนั้น ในแต่ละวันท่านก็ยังคิดเมตตาสงสารวัวควายที่ท่านใช้แรงงาน และคิดสลดสังเวชการวนเวียนดำเนินชีวิตของผู้คนรอบข้างที่ทุกข์ยาก สู้ภัยธรรมชาติปีแล้วปีเล่า แม้ว่าหลวงปู่ท่านอยากจะบวช แต่ก็ต้องรับผิดชอบในการทำงานแทนบรรดาพี่ชายซึ่งบวชกันไปหมด จนกระทั่งท่านมีอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้มีโอกาสบวช ก่อนออกบวชท่านก็ได้ทดแทนคุณโยมบิดา-มารดา ด้วยการสร้างบ้านให้โยมบิดา-มารดาและพี่น้องด้วยตัวท่านเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่หาไม้จนกระทั่งสำเร็จเป็นบ้านอยู่อาศัยได้


    มูลเหตุที่หลวงปู่ท่านมีความตั้งใจอยากจะบวชเป็นพระ แทนการสร้างครอบครัวเฉกเช่นชาวบ้านคนอื่น ก็คงเป็นเพราะท่านเกิดมาในตระกูลที่ฝักใฝ่ในทางศีลธรรม ประกอบกับพระพี่ชายของหลวงปู่ท่าน คือ
    พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) ก็ได้บรรพชาอุปสมบทตั้งแต่หลวงปู่ท่านยังเป็นเด็ก จนได้เป็นพระกรรมฐานผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธ บริษัทอย่างกว้างขวาง

    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์หลายรูป ได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มาธุดงค์กรรมฐานที่โคกเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่ารก เป็นป่าช้าผีดุ แล้วก็มี หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ, หลวงปู่คำดี ปภาโส ฯลฯ มาอยู่รับการอบรมธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่สิงห์

    [​IMG]
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    [​IMG]
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    [​IMG]
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

    [​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    [​IMG]
    หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ

    [​IMG]
    หลวงปู่คำดี ปภาโส


    พอออกพรรษาเข้าหน้าแล้ง บรรดาพระกรรมฐานท่านเหล่านี้ก็พากันไปแสวงหาที่วิเวกภาวนา โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ก็ได้ไปแสวงหาที่วิเวกกรรมฐานทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น คือไปทางจังหวัดมหาสารคาม ได้ไปพักอยู่ที่ป่าช้าหัวหนองตอกแป้น บ้านบัวบาน อำเภอเชียงยืน และได้อบรมหลักการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมบ้านบัวบาน รวมทั้งโยมบิดา-มารดาของหลวงปู่ท่านด้วย

    โยมบิดา-มารดาของหลวงปู่มีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เทสก์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้มอบบุตรชายคนโตคือ
    พระครูศีลสารวิมล (ล้วน สีลราโม) เป็นลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เทสก์ไปธุดงค์กรรมฐานตามสถานที่ต่างๆ กระทั่งได้อุปสมบทและปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม วัดคีรีวัลล์ อำเภอท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา จนเกิดความมั่นใจในความรู้ความเข้าใจในธรรมะคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว ก็นึกถึงญาติพี่น้องทางบ้าน จึงกลับมานำญาติพี่น้องบวช และได้มาจำพรรษา ณ วัดเทพนิมิต บ้านบัวบาน ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อโปรดโยมบิดา-มารดาและญาติพี่น้อง ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่ท่านมีอายุประมาณ ๑๔-๑๕ ปี และต้องรับภาระการประกอบอาชีพดูแลครอบครัว นี้จึงเป็นเหตุให้ท่านไม่เคยมีโอกาสบรรพชาเป็นสามเณร

    ในการประกอบอาชีพ หลวงปู่ท่านก็สามารถทำได้ดีกว่าชาวบ้านทั่วไป ท่านรู้จักประกอบอาชีพหารายได้นอกฤดูทำนา จนมีเงินทองมาจุนเจือครอบครัวอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ หลวงปู่ท่านยังมีพรสวรรค์ในการรักษาโรค โดยใช้วิธีการพื้นบ้านตามที่โยมบิดาของท่านสอนให้ เช่น รักษาตาต้อ คางทูม ฯลฯ เป็นเหตุให้ท่านได้สอนให้พวกลูกศิษย์ลูกหาใช้คาถาและพลังจิตรักษาโรคมาจน กระทั่งปัจจุบัน ท่านบอกว่า เอาไว้ช่วยตนเองและสงเคราะห์คนอื่น ยามที่ไม่อาจรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันได้ อ่านเพิ่มเติม คลิก

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร

     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    พระอุดมญาณโมลี
    (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    วัดโพธิสมภรณ์
    อ.เมือง จ.อุดรธานี



    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป หรือพระอุดมญาณโมลี เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺต มหาเถระแม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิต ที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจยิ่ง

    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ นั้น ฝันเห็นพระ ๙ รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน ๙ รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง ๙ รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า

    ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก ๑ คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ

    พระ เถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก ๑ เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔

    ปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ศรี สิริอายุได้ ๙๘ พรรษา ๗๘ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)

    การบรรพชาและอุปสมบท
    ด.ช.จันทร์ ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง ๗-๘ คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ

    อายุได้ ๘ ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ ๑๐ ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง ๑ เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้นประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๐ สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่าง ๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง ๓ ปี จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร ๑๓ ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด

    ครั้นต่อมาได้ ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ. หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ. อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ ๗ วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔ โดยมีพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูพิศาลอรัญญเขต เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน ๒๕ รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า จนฺททีโป อันมีความหมายเป็นมงคลว่า ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ

    อุปสมบท ได้เพียง ๗ วัน ท่านก็ได้ติดตามพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร ๑๓ ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพฯ อ่านเพิ่มเติม คลิก

    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร


     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    <center>
    พระธาตุบังพวน
    อ. เมือง จ.หนองคาย

    พระธาตุบังพวน เป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และสำคัญยิ่งของจังหวัดหนองคาย และเป็นพระธาตุที่สำคัญองค์หนึ่งของภาคอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านพระธาตุบังพวน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

    </center>
    ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระยาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระยาคำแดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย อุดรธานี พระยาจุลณี พรหมทัต เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ) พระยาอินทปัตนคร เจ้าเมืองอินทปัตนนนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง (ตรงข้ามนครพนม) ได้ร่วมกันอุปถัมภ์พระมหากัสสเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์อีก ๕๐๐ องค์ ทำการก่อสร้างพระธาตุพนมแล้วเสร็จ และได้บรรลุพระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ต่อมาได้เดินทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ๔๕ พระองค์ นำมาประดิษฐานไว้ ณ สถานที่ ๔ แห่งคือ บริเวณเมืองหนองคาย และเมืองเวียงจันทน์ หนึ่งในสี่แห่งนั้น คือ พระธาตุบังพวน ซึ่งได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาพักที่ร่มไม้ปาแป้ง (ไม้โพธิ) ณ ภูเขาหลวง อันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ พระธาตุบังพวนปัจจุบัน

    จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า พระธาตุบังพวนได้มีการก่อสร้างสืบเนื่องกันมาสามสมัย คือ ฐานเดิมสร้างด้วยศิลาแลง ชั้นที่สองสร้างด้วยอิฐครอบชั้นแรก และต่อมาได้มีการก่อสร้างให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้น จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่ขุดได้ ๔ องค์ ในจำนวนทั้งหมด ๖ องค์ ระบุศักราชที่สร้างไว้ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๘ พ.ศ. ๒๑๕๐ พ.ศ. ๒๑๕๘ และ พ.ศ. ๒๑๖๗ และข้อความในจารึกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๗ มีประวัติในการสร้าง โดยได้กล่าวถึงพระเจ้าโพธิสาลราช ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง มีราชธานีอยู่ที่นครเชียงทอง ซึ่งก็ตรงกับรูปแบบการก่อสร้างโบราณสถานในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน ที่แสดงถึงอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง

    พระธาตุบังพวนเป็นพระสถูปเจดีย์ ทรงเรือนปราสาทสี่เหลี่ยม เป็นองค์ประธานซึ่งมีชื่ออยู่ในศิลาจารึกว่า พระธาตุบังพวนพระเจดีย์ศรีสัตตมหาทาน ภายในวัดมีกลุ่มพระธาตุขนาดต่าง ๆ อีก ๑๕ องค์ สันนิษฐานว่า คงจะสร้างในสมัยใกล้เคียงกันกับพระธาตุบังพวน มีวิหาร ๓ หลัง อุโบสถ ๑ หลัง สระน้ำ และบ่อน้ำโบราณ นอกจากนั้นยังมีโบราณสถานอีกกลุ่มหนึ่ง ภายในบริเวณเดียวกัน เรียกว่าสัตตมหาสถาน อันเป็นสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติ เมื่อครั้งแรกตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย สัตตมหาสถานที่สร้างขึ้นมาภายหลัง มีอยู่ ๓ แห่งอยู่ ที่ประเทศพม่าหนึ่งแห่ง และที่ประเทศไทยสองแห่ง คือที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ และที่วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคายแห่งนี้

    สัตตสถานที่วัดพระธาตุบังพวนยังมีครบถ้วนทั้งเจ็ดองค์ และมีแผนที่ตั้งเหมือนกันกับที่พุทธคยา ประมวลได้ดังนี้

    <center>
    [​IMG]

    </center>
    พระโพธิบัลลังก์

    ตั้งอยู่ตรงจุดศูนย์กลาง สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นพระสถูปทรงกลมสูงประมาณสองเมตรครึ่ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเจ็ดเมตรครึ่ง โพธิบัลลังก์หรือวัชรอาสน์นี้ เป็นอาสน์ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิตจนบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ก่อนพระพุทธศักราช 45 ปี ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎก กล่าวว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประทับนั่งอยู่บนโพธิบัลลังก์นี้เป็นเวลา ๗ วัน ทรงพิจารณาธรรมที่ตรัสรู้แล้ว คือ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งสายเกิด และสายดับ กลับไปกลับมา ขณะพิจรณาธรรมทั้งสามในราตรีนั้น แล้วเปล่งพุทธอุทานในแต่ละยามดังนี้
    อุทานในยามต้นว่า
    <center>
    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

    </center>​
    อุทานในยามเป็นท่ามกลางว่า
    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
    เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย

    อุทานในยามที่สุดว่า

    เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
    เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น
    <center>

    [​IMG]

    </center>
    พระอนิมมิสเจดีย์

    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐสอปูน ตามพุทธประวัติจากอรรถกถา กล่าวว่า เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จมาประทับยืนอยู่ ณ ที่นี้ แล้วทรงทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ ที่ให้ร่มเงาปกคลุมโพธิบัลลังก์อยู่ ๗ วัน



    <center> พระรัตนจงกรมเจดีย์
    </center>ที่พุทธคยาจะตั้งอยู่ระหว่างพระโพธิบัลลังก์กับพระอนิมมิสเจดีย์ แต่ที่วัดพระธาตุบังพวนนั้น พระรัตนจงกรมเจดีย์ตั้งอยู่ค่อนไปทางเหนือ เป็นพระเจดีย์ก่อด้วยอิฐสอปูน มีลาดพระบาทก่อด้วยอิฐกว้างประมาณสองเมตรครึ่ง จรดพระอนิมมิสเจดีย์ ตอนกลางมีรอยพระพุทธบาทใหญ่ ตามพุทธประวัติจากอรรถกถา กล่าวว่า เมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่อนิมมิสเจดีย์ ครบ ๗ วัน แล้ว ได้ทรงเดินจงกรม เพื่อพิจารณาบรรดาสัตว์โลกที่จะเสด็จไปโปรด อยู่ ๗ วัน
    <center>

    [​IMG]

    </center>
    พระรัตนฆรเจดีย์

    ที่พุทธคยา จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระโพธิบัลลังก์ แต่ที่วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุม ก่อด้วยอิฐสอปูนขนาดใหญ่ ทรงปราสาทเรือนธาตุ มีซุ้มและพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามพุทธประวัติจากอรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรมตลอด ๗ วัน ทรงประทับอยู่ที่เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตถวาย บังเกิดฉัพพรรณรังษีรอบพระวรกาย<center>

    [​IMG]

    </center>
    พระอชปาลนิโครธเจดีย์

    ที่พุทธคยาจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ที่วัดพระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นพระสถูปเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม มีซุ้มพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎก กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ผู้มีทิฐิมานะคนหนึ่ง ที่ชอบว่าคนอื่น ตามอรรถกถากล่าวว่า ทรงมีพุทธฎีกาต่อธิดาพญามาร ๓ ตน มีนามว่า ตัณหา ราคา และอรดี ที่รับอาสาพญามารนามว่า วสวัตตี ผู้เป็นพ่อ มายั่วยวนพระพุทธเจ้า แต่ก็พ่ายแพ้อันตรธานไปในที่สุด พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ ที่นี่เป็นเวลา ๗ วัน
    <center>

    [​IMG]

    </center>
    พระมุจลินทเจดีย์

    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อยู่คู่กับสระน้ำ ที่พระธาตุบังพวน ได้สร้างวิหารแบบโปร่งไม่มีผนัง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ที่สระน้ำมีรูปปั้นพระยานาค ๗ เศียร อยู่กลางสระ ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎกกล่าวว่า ช่วงนี้อยู่ในสัปดาห์ที่สามหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ในช่วงเวลาที่ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน พญามุจลินทนาคราชได้ขึ้นมาขนดและแผ่พังพาน เพื่อบังลมและฝนให้ เมื่อพายุหายแล้ว ก็คลายขนด จำแลงกายเป็นมาณพน้อย ยืนประคองอัญชลีนมัสการพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเปล่งพุทธอุทานว่า<center>
    ความสงัดของผู้ที่ยินดีในธรรมเป็นสุข การระมัดระวังไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย การละกามคุณได้เป็นสุข การละอัสมิมานะ (ความถือตัว) เสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง


    [​IMG]

    </center>
    พระราชายตนะเจดีย์

    ตั้งอยู่ทางทิศใต้ เป็นพระเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม และมีซุ้มพระพุทธรูปปางสมาธิ เช่นเดียวกับ อชปาลนิโครธเจดีย์ ตามพุทธประวัติจากพระไตรปิฎกกล่าวว่า ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับที่ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกตุ) ณ ที่นี้ได้มีพ่อค้าสองคน มีนามว่า ตปุสสะ กับ ภัลลิกะมาพบ ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง และได้เปล่งวาจาถึงพระพุทธและพระธรรม เป็นสรณะ เนื่องจากตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์

    <center>
    [​IMG]
    </center>
    พระธาตุบังพวน ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยต่อมา แต่ไม่ต่อเนื่องนัก ในระยะหลังจึงทรุดโทรมมาก และได้พังทะลายลงมา เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการบูรณขึ้นใหม่ โดยก่อคอนกรีตเสริมฐานเดิม ซึ่งที่ฐานล่างเป็นศิลาแลง ต่อมาเป็นฐานทักษิณ ๓ ชั้น บัวคว่ำ ๒ ชั้น ต่อด้วยปรางค์สี่เหลี่ยมบัวปากระฆัง บัวสายรัด ๓ ชั้น รับดวงปลีบัวตูม แล้วตั้งฉัตร ๕ ชั้น ฐานล่างรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละประมาณสิบเจ็ดเมตร สูงถึงยอดฉัตรประมาณสามสิบสี่เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน และร่วมยกฉัตรสู่ยอดพระธาตุบังพวน เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑


    <center> [​IMG]
    </center>
    ในวันเพ็ญเดือนสาม ของทุกปี จะมีงานเทศกาลนมัสการ พระธาตุบังพวน เป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน

    ขอบคุณที่มา : พระธาตุบังพวน
     
  12. เฮฮา

    เฮฮา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +52

    ขอยกเลิก 2 ที่นะค่ะ เนื่องจากติดงานค่ะ
     
  13. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รับทราบและขอบคุณค่ะ



    ;aa59

    เรียนสมาชิกทุกท่านทราบ

    สมาชิกท่านใดที่แจ้งความประสงค์ลงชื่อร่วมเดินทาง ต้องการยกเลิกการเดินทาง ขอให้แจ้งเข้ามาด่วนเนื่องจากต้องขอเรียนทุกท่านตามตรงว่า เฉพาะทริปนี้ตั้งแต่วันที่ ๕ ส.ค. ที่ผ่านมาทุกท่านมีค่าใช้จ่ายเรื่องที่พักเกิดขึ้นแล้วท่านละ ๑,๓๐๐ บาท (จำนวน ๒ คืน) เนื่องจากไม่ได้พักที่วัดเหมือนดังทุกทริป และผู้จัดไม่ได้เรียกเก็บเงินมัดจำค่าเดินทางล่วงหน้าหรือตั้งค่าใช้จ่ายสูงเพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตรงนี้ แต่ประมาณการราคาตามจริงและให้สิทธิ์ทุกท่านเต็มที่

    เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้จัด จึงขอให้สมาชิกที่ลงชื่อร่วมเดินทางทุกท่าน แจ้งยืนยันการเดินทางเข้ามาภายในวันจันทร์ที่ ๘ ส.ค. ๕๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. เพื่อที่ผู้จัดจะำได้ทราบจำนวนสมาชิกที่เดินทางแน่นอน และได้เตรียมการแก้ไขได้ถูก

    อนึ่ง! สมาชิกท่านใดที่ยกเลิกการเดินทางหลังจากวัน-เวลาที่ระบุไว้ ท่านจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามจริง ณ วันนี้คือ จำนวน ๑,๓๐๐ บาท แม้จะไม่ได้ร่วมเดินทางก็ตาม

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

     
  14. beautyangel

    beautyangel Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +52
    ๒๕. คุณทัศนีย์ ส่งsmsยืนยันไปค่ะ

    หมายเลข ๒๕. คุณทัศนีย์ ส่งsmsยืนยันไปค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2011
  15. s3515941

    s3515941 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +1,193
    มายืนยันการจองครับพี่หญิง 2 ที่นะครับ สุวัฒน์+นินันท์
     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัติสถานที่และพระอริยสงฆ์ ที่จะไปกราบในทริปนี้กันเถอะ (ต่อ)

    [​IMG]

    หลวงพ่อพระใส
    วัดโพธิ์ชัย

    อ.เมือง จ.หนองคาย



    หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคาย ที่ประชาชนชาวอิสานให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสมาช้านาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๑ เซนติเมตร สูงจากฐานล่างถึงยอดเกศ ๒.๒๔ เมตร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๓-๒๑๑๕)

    ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง (บางท่านเชื่อว่า เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส มีขนาดลดกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง ส่วนพระใสประจำคนสุดท้อง
    ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นำเป็นเวลา ๗ วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพลเหลือหลวงตากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้ปรากฏชีปะขาวตนหนึ่งมาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้าแล้ว และไม่เห็นชีปะขาวแล้ว

    หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้างมาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาไว้ดังเดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทร์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทร์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย

    มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่าง ๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยังหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดัง กล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น ๒ ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพงขาว


    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย
     
  17. interionut

    interionut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +619
    ขอยืนยันการจองครับ
     
  18. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    หลวงพ่อพระสุก
    วัดศรีคุณเมือง (วัดป่าขาว)

    อ.เมือง จ.หนองคาย


    หลวงพ่อพระสุก ได้สร้างขึ้นรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อพระเสริม และพระใส สมัยกรุงล้านช้าง ประเทศลาว โดยพระธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ชื่อ สุก-เสริม-ใส เป็นผู้สร้างขึ้นแล้วนำเอาพระนามมาตั้งชื่อให้ และในสมัยต่อมาจะนำพระพุทธรูปทั้ง ๓ พระองค์นี้มาประดิษฐาน ณ เมืองหนองคาย จึงได้นำลงแพเพื่อล่องลอยมาตามลำน้ำโขง พอมาถึงบ้านหนองกุ้ง หนองแก้ว บริเวณปากน้ำงึม และเกิดพายุพัดกระหน่ำจนแพแตก ทำให้หลวงพ่อพระสุกตกลงไปในลำน้ำโขงบริเวณนั้นชาวบ้านเรียกว่า "เวินพระสุก" จนปัจจุบันเลยได้แต่พระเสริม พระใสมาประดิษฐานโดยพระใสประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย

    พระเสริมได้ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม จ.กรุงเทพ ส่วนพระสุก วัดศรีคุณเมืองได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์แทนพระสุกที่จมลงในแม่น้ำโขง โดย พระอาจารย์สุทัตถ์ สุวรรณมาใจ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐ พระผู้มีอิทธิฤทธิ์ และพระอาจารย์สุทัตถ์ สุวรรณมาโจ ก็ได้อัญเชิญดวงวิญญาณพระสุกให้สิงสถิตย์อยู่ในพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นแทนพระองค์ที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง ผู้อุปถัมภ์ในการสร้างคือ ท่านขุนพิพัฒน์ โภคา พระสุกจึงได้ประดิษฐานอยู่ในวัดศรีคุณเมืองจึงได้เรียกว่า "หลวงพ่อพระสุก" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระสุก
    มีพระเกจิอาจารย์ได้มาพักค้างคืนที่วัดศรีคุณเมือง บอกว่าได้นั่งสมาธิถอดจิตพูดคุยสนทนาธรรมกับองค์หลวงพ่อพระสุกทั้งคืน ถามว่าสนทนาเรื่องธรรมะ และอีกเรื่องได้จากแม่ชีดวน รันต์จันทร์ ได้เล่าให้ฟังว่าสมัยหนึ่งคุณแม่สุก ซึ่งเป็นแม่ของมอน และเป็นภรรยาของพระยาปทุมเทวาภิบาล เจ้าเมืองหนองคาย ได้ไปบนบานศาลกล่าวขอลูกกับองค์หลวงพ่อพระสุกเพื่อให้มีบุตรแก่นายอ้วนและนางบุญมา รันตจันทร์ สองสามีภรรยา ซึ่งได้แต่งงานกันมาถึง ๑๒ ปี ไม่มีบุตรเมื่อมาขอไปแล้ว เกิดมีบุตรให้กับนายอ้วนและนางบุญมา รัตนจันทร์ จริง ๆ สมความปรารถ จึงได้ผูกลูกตนเองเป็นบุตรบุญธรมของหลวงพ่อพระสุกและตั้งชื่อว่า นางดวน รัตนจันทร์ (แม่ชีดวน) ขณะที่ผู้เขียนประวัติ แม่ชีดวนอายุได้ ๘๓ ปี ได้บวชอยู่ที่วัดเนินพระเนาวนาราม จังหวัดหนองคาย ซึ่งได้มากราบไหว้หลวงพ่อพระสุก

    แม่ชีดวนเป็นผู้เล่าให้ฟัง เลยได้บันทึกไว้และนอกจากนี้ก็ได้มีคนจำนวนมากมา บนบานศาลกล่าวกับหลวงพ่อพระสุกอยู่เป็นประจำ ก็ได้ประสบผลสำเร็จดั่งที่ หวังเป็นจำนวนมาก ก็ด้วยอาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระสุกนี้เองจึงขอเรียนเชิญท่านไปกราบไหว้บูชาได้ทุกโอกาส

    ได้มีผู้คนชาวคุ้มวัดศรีคุณเมือง เล่ากันว่าหากอัญเชิญหลวงพ่อพระสุก หรือนำหลวงพ่อพระสุกออกไปจากอุโบสถตากแดดไม่เกิน ๓ วันก็จะทำให้เกิดพายุ เกิด ลม เกิดฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ เรื่องนี้ก็อาศัยการเล่าสืบต่อกันมาเพราะหลวงพ่อพระสุกท่านชอบเย็น ท่านจึงได้จมอยู่ในแม่น้ำ จะถูกแดดไม่ได้ และเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างหนึ่งตามที่ผู้เขียนประวัติได้สังเกตมาหลายครั้งเหมือนกัน เมื่อวัดศรีคุณเมืองจัดงานบุญทีไรก็มักจะมีฝนตกลงมาทุกที ไม่ว่าหน้าแล้งหรือหน้าฝน

    ขอบคุณที่มา : เว็บสบายดีหนองคาย
     
  19. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    หลวงปู่ทุย
    วัดป่าดานวิเวก (วัดแสงอรุณ)
    อ. โซ่พิสัย จ. หนองคาย

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    หลวงปู่ทุย
    เป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด ไปเติบโตที่ อ. สว่างดินแดน จังหวัดสกลนคร บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย สมัยบวชเรียนเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นรุ่นน้องของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งหลวงตามหาบัวเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ที่มีปฏิปทาของพระป่าในสมัยโบราณที่ถือธุดงควัตร ๑๓ อย่างแน่นแฟ้น และเป็นผู้ปกปักรักษาป่าอย่างถวายชีวิต ซึ่งหลวงปู่ทุยได้เจริญรอยตาม หลังจากที่หลวงตามหาบัวสร้างวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง

    หลวงปู่ทุยได้ประมวลเรื่อง "พระป่า สมัยกรุงรัตนโกสินทร์" ไว้ตอนหนึ่งว่า พระธุดงคกรรมฐาน ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ป่าเขาลำเนาไพรได้ถูกทำลายลง ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเคยเป็นสถานที่บำเพ็ญศีลบำเพ็ญธรรม ถูกทางกฎหมายบ้านเมืองครอบครองจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพราะเป็นยุคเป็นสมัยโลกาภิวัฒน์โลกาธิปไตยทั่วโลกดินแดน ทรัพยากรที่สำคัญ ๆ ซึ่งเป็นที่สัปปายะถูกทำลายให้ลดน้อยลง เนื่องจากคนเกิดเป็นจำนวนมาก ๆ ไม่มีมีที่อยู่อาศัยหาเลี้ยงชีพ โดยพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น เป็นพระป่านิสัยชินกับหลักธรรมชาติ ตามนิสัยของท่านรักธรรมชาติมาก ท่านจึงชอบสงวนที่ป่าเขาลำเนาไพร มีมากมีน้อยท่านไม่ค่อยทำลาย

    หลังจากท่านฝึกกรรมฐานจนสำเร็จ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล จ. อุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู ) ก็แนะนำให้ท่านธุดงควัตรมาที่ดงสีชมพูนี้เมื่อปี ๒๕๐๙ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่สีแดงที่คอมมิวนิสต์ยึดครองอยู่ ท่านอยู่ที่นี่ได้สองปีก็ตั้งวัดป่าดานวิเวกขึ้นในปี ๒๕๑๑ ชื่อของวัดมาจากพื้นที่แห่งนี้เป็นดานหินทราย ส่วนชื่อที่เป็นทางการ คือวัดแสงอรุณ

    ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยพื้นที่ป่าหลายส่วนรวมกัน ๒,๔๐๐ ไร่ ส่วนพื้นที่ของวัดเองประมาณ ๑๔ ไร่ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติที่เช่าโดยถูกต้องตามกฎหมาย รวมกันพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ให้วัดดูแลอีก ๗๐๐ ไร่ และพื้นที่ สปก. อีก ๑,๔๐๐ ไร่ เดิมเป็นพื้นที่ซึ่งชาวบ้านปลูกมันสำปะหลัง แล้วกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ก็ยกให้หลวงปู่ทุยดูแล ท่านก็ชวนชาวบ้านใน ๓ ตำบล อ.โซ่พิสัย ปลูกป่าใหม่ขึ้นมา ทั้งไม้ประดู่ ชิงชัง เต็ง รังจนไม้เติบใหญ่ขึ้นเป็นป่าใหม่อายุ ๑๔ ปีแล้ว พื้นที่ทั้งหมดนี้ท่านถวายเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในหลวงทรงครองราชย์ ๖๐ ปี ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านทุกคนจะได้ช่วยกันดูแล นอกจากนี้ท่านยังหาแหล่งน้ำให้ชาวบ้านไว้ใช้ในการเกษตรอีกด้วย

    สำหรับวัดป่าดานวิเวกไม่มีสิ่งก่อสร้างใด นอกจากศาลาใหญ่หลังหนึ่งและกุฏิที่อยู่ห่าง ๆ กันไปเท่าที่จำเป็น อาสนะของพระสูงกว่าพื้นดินเพียงคืบเดียว หลวงปู่ทุยท่านมีปฏิปทาว่าจะไม่สร้างวัตถุถาวรใด ๆ เกินความจำเป็น มุ่งปลูกป่าอย่างเดียว กฎข้อหนึ่งในสิบข้อของวัดนี้ คือห้ามตัดไม้ใด ๆ จนกว่าไม้นั้นจะล้มเองจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ และการใช้ประโยชน์จากไม้นั้นต้องเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์เท่านั้น คือนำไปใช้ในการทำศาลา โรงเรียน สะพาน แล้วแต่ชุมชนนั้นจะช่วยกันพิจารณา

    ปกติวัดป่าดานวิเวกจะมีการทำบุญประทายข้าวเปลือกเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี โดยที่ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกมาทำบุญร่วมกันแล้วถวายพระโดยไม่ต้องใช้เงิน ประเพณีนี้กำนันสัญญาเล่าว่า วัดอื่นไม่มี มีที่นี่ที่เดียว หลวงปู่ทุยท่านตั้งใจพาปฏิบัติแบบโบราณ ยึดกับของเก่า ไม่ใช้เทคโนโลยี ท่านบอกว่า เทคโนโลยีเข้ามาจะเป็นผลเสีย คนสมัยนี้วิ่งเร็วเกินตัวเองไปมากอันตราย

    กำนันสัญญาเล่าเพิ่มเติมว่า หลวงปู่ทุยท่านไม่ขอรับตำแหน่ง หรือสมณศักดิ์ใด ๆ ท่านบอกว่า ขอเป็นพระเฉย ๆ ก็พอแล้ว สำหรับพระใหม่ที่จะมาบวชต้องมาอยู่ให้หลวงปู่ทดสอบก่อน ๒ เดือน ไม่ได้บวชกันง่าย ๆ และเมื่อบวชแล้วท่านให้เดินเท้าเปล่าตลอด พระทุกรูปจึงเท้าหนา และถือบิณฑบาตทุกวัน ไม่มีเว้น นอกจากเจ็บป่วยจริง ๆ พระรูปไหนอ้วนท่านจะเรียกไปคุยแสดงว่าขี้เกียจภาวนา

    [/FONT]"หลวงพ่อทุยท่านจะรับเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสท่านไม่สะดวกที่จะให้พัก เพราะท่านจะเน้นเอาใว้สำหรับให้พระได้ปฏิบัติธรรมภาวนา ช่วงเช้า ฆราวาสทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ได้ทุกวัน หลังจากนั้นจะเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่จะต้องบำเพ็ญภาวนา"

    ฆราวาสสามารถไปภาวนาได้ กุฏิของโยม (ผู้ชายจะอยู่บริเวณรอบนอก) ระเบียบก็คล้าย ๆ วัดป่าทั่วไป คือฉันมื้อเดียว เน้นภาวนา และช่วยพระทำกิจวัตร (ปัดกวาด, จัดอาหาร, ช่วยที่โรงฉันน้ำร้อน) โดยเฉพาะการภาวนา ท่านมักจะเดินมาดูว่ามา "ภาวนา" จริง หรือมา "ภาวนอน" ถ้าเห็นว่าเอาแต่นอนก็จะถูกไล่เก็บกระเป๋าทันที

    ข้อห้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ ห้ามบุคคลใดก็ตามถ่ายรูปตัวท่านและภายในวัด เพราะท่านไม่เห็นประโยชน์ และท่านก็สั่งไปทางหน่วยงานราชการว่าไม่ต้องให้ยศให้ตำแหน่งแก่ท่าน และทางวัดก็จะไม่รับกฐิน เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายจีงไม่ต้องใช้เงิน
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    ขอบคุณที่มา :
    [/FONT]หลวงปู่ทุย วัดป่าดานวิเวก
     
  20. จุติญาณ

    จุติญาณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +91
    จุติญาณ ยืนยันการเดินทาง และโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว จำนวน ๒๓๐๐ บาท
    ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๒๕
    ขอบพระคุณครับผม

    *ปล.ผมมังสะวิรัติครับ*
     

แชร์หน้านี้

Loading...