ปรามาสพระ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย hyperz, 6 กันยายน 2010.

  1. hyperz

    hyperz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +3,421
    [​IMG]

    "กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพ ในระยะนี้ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ลูกมีอารมณ์อยากจะด่าพระบ้าง ด่าหลวงพ่อบ้าง ปรามาสพระพุทธเจ้าบ้าง ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะหายครับ...?"



    เหตุที่จะเกิดได้เพราะการเจริญกรรมฐาน ถ้าการเจริญกรรมฐานดีขึ้นมาจะข้ามขั้นพอที่มารจะดึงไม่อยู่ อารมณ์นี้จะเกิด เป็นเรื่องของพระยามาราธิราช เขาเรียก กิเลสมาร น่ะ มันเกิดเข้ามาคร่อมใจห้ามได้ดี ถ้าดีกว่านี้จะไม่ตกอยู่ในอำนาจของเขา เรียกว่าจะไม่ลงนรก คิดจะทำจิตใจให้ฟั่นเผือไปโกรธนั่นโกรธนี่ เว้นนั่นเว้นนี่เสีย

    แต่ว่ามันจะเป็นชั่วคราว บางทีก็สัก 4-5 เดือน และต่อไปก็หาย ถ้าอารมณ์ดีขึ้นมาก็ขอขมาโทษพระรัตนตรัย ขอขมาโทษพระพุทธเจ้า ถ้ามันฟุ้งก็ฟุ้งไป ถ้าเลิกฟุ้งรู้สึกตัวขึ้นมาได้ก็ขอขมาโทษใหม่ อย่างนี้ไม่ช้าก็หายนะ ไม่เป็นไร

    แม้แต่ฉันในช่วงเจริญฌานโลกีย์ มันก็มีเหมือนกันก่อนจะขึ้นอันดับสูงนะ นี่มันก็มีอาการอย่างนี้เป็นของธรรมดาที่ท่านบอกว่ากิเลสมารเข้าครอบงำจิต เรายอมแพ้มันเราก็ตกต่ำแน่นอน มันอาจจะเผลอ ขอขมาแล้วเผลอก็ว่ากันไป มีสติใหม่ก็ตั้งใจขอขมาใหม่ ไม่ช้ามันก็เลิก

    อย่าง อาจารย์ฉัตร ลูกศิษย์หลวงพ่อปานหนักกว่านี้ ไม่ใช่อารมณ์ด่าใครหรอก นั่นป่วยแบบท่าน โคธิกะ เลย บวมทั้งตัว ๑ ปี ไม่ขยายตัว หลวงพ่อปานบอกว่าคุณฉัตรเอ้ย ! ลดกรรมฐานสัก ๑ วัดได้ไหม มันจะได้หาย อาการอย่างนี้ไม่ใช่อาการไข้ปกติ มันเป็นเรื่องกิเลสมารแกล้ง

    อาจารย์ฉัตรบอกว่าผมพยายามทำมาตั้งหลายปี ยอมแพ้กิเลสมารวันเดียวผมยอมไม่ได้ ผมยอมตายพร้อมกับธรรมะดีกว่า พอปฏิญาณแบบนั้นรุ่งขึ้นหาย มันสู้ไม่ได้มันเลยเลิก กลัวคนบ้า ไอ้นี่ก็เหมือนกัน อาการอย่างนีต้องสู้กันหลายวันหน่อย เพราะมันอารมณ์ทางจิตใจนะ นั่นมันครอบงำทางกายด้วย เปลื้องง่ายกว่า

    จากหนังสือ ธรรมปฎิบัติ เล่ม ๑๕
    วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  2. ตรีเพชร์

    ตรีเพชร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +528
    ก่อนจะไปทำงานที่ภาคใต้จะไปไหว้ท่านทีวัดท่าซุงสักวันครับ!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    เคารพต่อพระรัตนตรัย
    อนุโมทนากับผู้เผยแพร่ครับ
    ขออนุญาติยกคำพูดนี้ครับ

    อาจารย์ฉัตรบอกว่าผมพยายามทำมาตั้งหลายปี ยอมแพ้กิเลสมารวันเดียวผมยอมไม่ได้
    ซึ้งเลยครับ
    อนุโมทนาอีกครั้งครับ
     
  4. arsasrianan

    arsasrianan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +261
    อนุโมทนา สาธุครับ ผมก็เคยเป็นครับ อย่าไปยอมแพ้มันครับกิเลศมาร เราย่อมรู้ดีแก่ใจว่าจิตสำนึกเราไม่เคยที่จะคิดอย่างนั้นเด็ดขาด สำหรับคนที่เป็นอยู่ อย่าไปยอมแพ้มันนะครับผมเอาใจช่วยครับทุกคน ผมคนนึง หากกิเลสมาร มันมีกายเนื้อ ผมจะเอาดาบซามูไรไปฟันมันให้เละเป็นโจ๊กเลย
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,307
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,025
    สําหรับคนที่กําลังเป็นอาการนี้อยู่ อ่านกระทู้นี้ได้ครับ ผมรวบรวมมาให้หมดเเล้วครับ เจริญในธรรมครับ

    กระทู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรามาส ผมรวบรวมมาให้หมดเเล้วในกระทู้นี้

    http://palungjit.org/threads/กระทู้...ามาส-ผมรวบรวมมาให้หมดเเล้วในกระทู้นี้.225534/

    ปล. มีอีกอย่างที่อยากฝากถามคือ ผมเคยได้ยินวิทยุในเวปพลังจิตของเราเปิดเกี่ยวกับตอนที่หลวงพ่อฤาษีิิลิงดํากําลังสอนเกี่ยวกับเรื่องปรามาสอยู่ดี ผมอยากได้คลิปนั้นมาเก็บไว้ฟังมาก เเต่ไม่รู้คลิปจริง ๆ ชื่ออะไร พยายาม search เเล้วเเต่หาไม่เจอ หากใครมีหรือรู้ รบกวนช่วยเเนะนําด้วยครับ อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2015
  6. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,199
    ค่าพลัง:
    +3,381
    สนใจในคลิปนั้นเช่นกันค่ะ ถ้ามีขอด้วยนะคะ ประสงค์ฟังท่านเทศน์ เพราะเป็นเหมือนกัน เป็นมา 3 ปีแล้ว อยู่ดีๆ ก็เป็น แล้วก็เป็นๆ หายๆ ค่ะ ช่วงนี้ไม่ค่อยเท่าไหร่ เงียบไป แต่เชื่อว่ามันจะกลับมาอีก เพราะมันก็ท้าทายเราตลอดเวลาเหมือนกัน เบื่อเต็มทนแล้วกับกิเลสมาร ที่ไม่รู้จบกับเราซักที เบื่อ
     
  7. Numsai

    Numsai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    5,778
    ค่าพลัง:
    +87,677
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านจขกท.ด้วยค่ะ การปรามาสพระถือเป็นกรรมหนักมาก ถึงแม้พระบางองค์ท่านไม่ได้บรรลุมรรคผลแต่อย่างใด แต่อย่างน้อย ท่านก็ถือศีลมากกว่าฆราวาส คือ ศีล ๒๒๗ ข้อ ย่อมมีความละเอียดบริสุทธิ์มากกว่า

    ผู้ใดที่เคยปรามาสพระภิกษุสงฆ์ หรือสามเณรก็ตาม ซึ่งก็ไม่ทราบว่า ท่านทรงภูมิอะไรอยู่ ควรหมั่นขอขมาพระรัตนตรัยบ่อย ๆ เพื่อความก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรมของตัวท่านเอง

    บุญรักษาค่ะ

    Numsai
     
  8. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    23,307
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,025
    ฝากอันนี้ให้ฟังกันด้วยครับทุกคน เจริญในธรรมครับ

    เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาร - Buddhism Audio

    <table class="tborder" id="post11334" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody> <tr valign="top"> <td class="alt1" id="td_post_11334" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <center> เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาร<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    Artist: พระครู ธรรมธรเล็ก สุธัมมปัญโญ
    <fieldset class="fieldset"><legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody> <tr> <td width="20"><input id="play_23902" onclick="document.all.music.url=document.all.play_23902.value;" checked="checked" value="attachment.php?attachmentid=23902" name="Music" type="radio">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>03 - มโนฯ-มาร5(29 - ธค - 46).mp3 (7.20 MB, 2682 views)</td></tr></tbody></table></fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->
    [​IMG]


    เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "มาร"


    ทุกคนขยับตัวนั่งในท่าที่สบายของเรา จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ ขยับเปลี่ยนอิริยาบทเสียก่อน เพื่อที่ถึงเวลาจะได้ไม่เมื่อยมาก เพราะว่าถ้าตราบใดที่กำลังใจของเรายังข้องเกี่ยวอยู่กับร่างกาย ยังนึกถึงร่างกาย ยึดติดกับร่างกาย ความรู้สึกต่าง ๆ มันก็จะครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้นเราก็จะนั่งได้ไม่นาน เพราะว่ามันจะเมื่อยจะชา จะปวด ยกเว้นว่า เราต้องดูการดูตัวเวทนา ถ้าอย่างนั้นจะมีการทนนั่งกัน นั่งมันนาน ๆ เพื่อให้อาการเวทนา ความทุกข์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้น แล้วจะได้แยกแยะว่า ความทุกข์ที่มันเกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นกับตัวเรา หรือว่าเกิดขึ้นกับใจของเรา ซึ่งลักษณะแบบนั้น พวกเราจะไม่ถนัดกัน

    ดังนั้นพวกเรานั่งท่าที่สบาย หายใจเข้า-หายใจออกยาว ๆ ทั้ง 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการระบายลมหยาบออกให้หมด ไม่อย่างนั้นบางคนพอเริ่มภาวนาจะรู้สึกอึดอัด รู้สึกแน่น ทำให้ตกใจและบางทีก็ไม่กล้าทำต่อไปเลยก็มี นั่นเป็นอาการที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกมันหยาบไปนิดหนึ่ง


    หายใจเข้า-หายใจออกยาว ๆ ซัก 2-3 ครั้ง ระบายลมหยาบให้หมด แล้วค่อยปล่อยลมหายใจให้เป็นไปตามปกติของมัน หายใจเข้านึกว่าพุทธ หายใจออกนึกว่าโธ กำหนดความรู้สึกไปด้วยว่ามันผ่านจมูก ผ่านกึ่งกล่างอก ลงไปสุดที่ท้อง ออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก ความรู้สึกทั้งหมดของเราต้องอยู่ตรงนี้ ตรงลมหายใจเข้า-ออกนี้ อย่าให้มันเคลื่อนไปไหน นึกถึงเรื่องอื่นเมื่อไร ให้ดึงกลับมาตรงนี้ทันที ถ้าหากว่าเราจะดูกำลังใจของเราตอนนี้เราก็จะได้เห็น ว่าจริง ๆ แล้วมันมีการส่งออกอยู่ตลอดเวลา หรือส่งออกไปยังเรื่องอื่น ไม่ได้อยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ไม่ได้อยู่กับสติสมาธิเฉพาะข้างหน้า

    แม้กระทั่งการปฏิบัติในมโนมยิทธิของเรา คณาจารย์สายอื่นท่านก็กล่าวว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการส่งจิตออกนอก แต่อาตมาขอยืนยันว่า “การส่งจิตออกนอกในลักษณะฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ เป็นคนละเรื่องกับมโนมยิทธิ” มโนมยิทธิ เป็นการส่งจิตออกนอกด้วยกำลังของฌาณสมาบัติ จะมีการควบคุม มีการป้องกัน ควบคุมไม่ให้นิวรณ์กินใจเราได้ ควบคุมไม่ให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นกับใจได้ ต้องการจะไปตรงจุดไหนไปได้ นี่คือการใช้ผลของฌาณสมาบัติ ไม่ใช่ว่าสร้างผลเกิดแล้วไม่สามารถที่จะนำผลนั้นไปใช้ได้


    ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ลืมลมหายใจเข้าออกเมื่อไร คือลืมความดีเมื่อนั้น ดังนั้นทุกวัน ๆ เราต้องทบทวนตัวเอง ต้องอยู่กับลมหายใจเข้าออก ของเรา ทุกเวลาต้องกำหนดรู้อยู่เสมอถ้าไม่รู้ลมหายใจเข้า-ออก ก็ต้องรู้อิริยาบท คือการเคลื่อนไหวของร่างกายแทน เราเดินให้รู้ว่าเดินอยู่ ก้าวเท้าซ้ายรู้อยู่ว่าก้าวเท้าซ้าย ก้าวเท้าขวารู้อยู่ว่าก้าวเท้าขวา แกว่งแขนซ้ายรู้อยู่ว่าแกว่งแขนซ้าย แกว่งแขนขวารู้อยู่ว่าแกว่งแขนขวา อย่างน้อย ๆ ต้องรู้ อิริยาบทเหล่านี้อยู่

    จะทำการทำงานใด ๆ ก็ตาม สติสัมปชัญญะ ให้อยู่เฉพาะหน้า กวาดใบไม้ ทำความสะอาด ไม้กวาดเราจะไปทางซ้าย ไปทางขวา ไปแรง ไปเบา ต้องรู้อยู่ จะถูพื้น ไม้ถูเคลื่อนไปข้างหน้า กลับมาข้างหลัง เราต้องรู้อยู่ ไม่ว่าทำกิจทำการใด ๆ ก็ตาม ถ้าสติสมาธิไม่ได้อยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ก็ต้องอยู่กับอิริยาบทเฉพาะหน้า ต้องกำหนดรู้มันไว้ ถ้าสติสมาธิทรงตัวอยู่ตรงหน้า นิวรณ์ก็ทำอันตรายเราไม่ได้ มารทั้ง5 ก็ทำอันตรายเราไม่ได้


    การที่เราปฏิบัติความดี จะมีสิ่งที่คอยมาขัดขวางอยู่ เรียกว่า “มาร” รากศัพท์ของมาร เป็นบาลี คือคำว่า “มาระ” แปลว่าผู้ฆ่า คือฆ่าเราเสียจากความดีทั้งปวง ทันทีที่เราเริ่มต้นปฏิบัติภาวนา กำลังใจเริ่มเข้าสู่ตัวปีติ มารจะขัดขวางทันที เพราะบุคคลที่เริ่มเข้าถึงปีติ จะเกิดความยินดี อิ่มเอิบ ไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ จะทุ่มเทความภาคเพียรกับการปฏิบัติ ดังนั้นจะหลุดพ้นจากอำนาจของเขาได้ มารจึงพยายามขัดขวาง

    มารทั้งหมดมี 5 อย่าง

    ขันทมาร 1 ร่างกายนี่แหละที่เป็นมาร เดี๋ยวเจ็บเดี๋ยวป่วย ทำให้เราทำความดีไม่ถนัด สมัยฆราวาส อาจจะกินเหล้าเมายาหัวทิ่มพื้นนอนตากน้ำค้างอยู่ก็ไม่เป็นไร แต่พอมาปฏิบัติภาวนามันเจ็บโน่น ป่วยนี่ บางคนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปเลย คือคิดว่าเพราะมาทำความดีถึงเป็นอย่างนี้ เลยคือ คิดว่าเพราะมาทำความดีถึงเป็นอย่างนี้ ดังนั้นอย่าทำเลยดีกว่า อันนี้คือ ขันทมาร นั่ง ๆ อยู่ก็คันตรงโน้น เจ็บตรงนี้ ปวดตรงนั้น อยู่ ๆ ก็เกิดแปลบปลาบขึ้นมาในร่างกาย ทำให้สมาธิของเราเคลื่อนไป ให้รู้จักหน้าตาของมันไว้ ว่านั่นคือ มาร


    กิเลสมาร ก็คือความชั่วที่ฝังอยู่ในจิตในใจของเรามาเป็นแสน ๆ ชาติแล้ว พยายามจะกระตุ้นเราให้ฟุ้งซ่านให้ไหลไปกับรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ตลอดเวลา ลีลาของมารก็คือ ยั่วให้กำหนัด ล่อให้หงุดหงิด ลวงให้หลงผิด ความกำหนัด ยินดีอยากมีอยากได้ ทำให้เกิดราคะกับโลภะ เพราะโลภจึงอยากได้ เพราะ ยินดีจึงอยากมีอยากเป็น ยั่วให้หงุดหงิด คือกระตุ้นโทสะให้เกิด ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส มันพยายามสอดแทรกเข้ามาในใจของเราอยู่เสมอ จะทำลายเกราะป้องกันจิตใจของเราเพื่อยึดเรา ให้เป็นทาสของมันให้ได้ รู้จักหน้าตาของมันเอาไว้


    ต่อไปเป็นเทวบุตรมาร ก็คือ การทดสอบของเทวดาก็ดี ครูบาอาจารย์ก็ดี แต่คราวนี้ถ้าเกิดเราสอบตก อย่างเช่นว่าท่านมาทำร้ายเรา อาจจะทำร้ายในนิมิตก็ดี หรือทำร้ายตัวตนของเราจริง ๆ ก็ดี จนใกล้จะถึงความตาย แทนที่เราจะรำลึกถึงความตายได้ นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ คิดว่าถ้าตายเราไปนิพพานได้ ก็กลายเป็นว่าเราไปกลัวตาย เราไปดิ้นรน เราไปต่อสู้ ถ้าหากว่าเราปล่อยวางร่างกายไม่ได้ เขาก็คือมาร เพราะว่าขวางเรา ทำให้เราก้าวไม่ผ่านจากจุดนั้น แต่ถ้าปัญญาของเราดี ก้าวผ่านไปได้ เขาก็กลายเป็นผู้หนุนเสริมของเรา


    ”อธิสังขารมาร” คือบุญคือบาป บาปนั้นขวางเราอย่างไร เรารู้อยู่ ตกนรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน โอกาสจะประกอบกรรมทำความดีนั้น สัตว์นรก เปรต อสูรกายไม่มีโอกาสเลย สัตว์เดรัจฉานมีน้อยเหลือเกินที่จะได้ทำความดี ดังนั้นมันขวางเราให้เข้าถึงความดีได้ยากแบบนี้

    ส่วนบุญที่ขวางเรา ไม่ให้เข้าถึงความดีนั้น ก็มีกำลังของการฌาณสมาบัติ โดยเฉพาะ อรูปฌาณ ถ้าได้ อรูปฌาณ ต้องไปเกิดเป็น อรูปพรหม หนึ่งหมื่นมหากัปป์ สองหมื่อนมหากัปป์ สี่หมื่นมหากัปป์ แปดหมื่นมหากัปป์ อยู่กันเนิ่นนานเหลือเกิน นานจนกำหนดเป็นตัวเลขแล้วเราไม่สามารถจะอ่านมันออกมาได้ ดังนั้นโอกาสที่จะทำความดีต่อของเราก็ไม่มี ถ้าเศษบุญเก่าไม่เหลืออยู่ หลุดจากจุดของอรูปพรหม อาจจะลงอบายภูมิไปเลย แต่ถึงเศษบุญเก่ามีเหลืออยู่ ได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องมาลำบากยากเข็ญกันต่อไป ดังนั้นเขาจึงขวางเราด้วยวิธีนี้


    ตัวสุดท้ายคือ มัจจุมาร คือความตายที่คอยขวาง หลายคนกำลังใจแรงกล้า มอบกายถวายชีวิตต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขารู้ว่าขวางไม่ได้ด้วยวิธีอีก 4 อย่างที่ผ่านมาก็ทำให้ตายไปเลย แต่นั่นหมายความว่าช่วงนั้นเราต้องมีอุปฆาตกรรมเข้ามาถึงด้วย กรรมใหญ่ที่เราเคย ฆ่าคน ฆ่าสัตว์ เศษกรรมนั้นจะมาสนองช่วงนั้นพอดี เป็นวาระ เป็นเวลาที่เปิดให้เขา

    ดังนั้น เขาจึงสามารถทำอันตรายเราได้ เพราะเขารู้จังหวะรู้เวลานั้น ๆ ถ้าไม่ใช่จังหวะอย่างนั้นไม่ใช่เวลาอย่างนั้น เขาทำอะไรเราไม่ได้ มารมีตัวมีตนจริง ๆ เป็นตัวเป็นตน จับได้ต้องได้ แต่ว่าเรากว่าจะรู้กว่าจะเห็นเขา บางทีกลายเป็นสนับสนุนเขา มารมีความสามารถมาก เวลาเราต่อสู้กับเขา ถ้าหากว่าเราโกรธเรามีโทสะเราก็แพ้เขา เพราะว่าการล่อให้หงุดหงิด เขาสามารถทำได้สำเร็จแล้ว แต่ถ้าเราไปยินดี กับสิ่งที่เขามาล่อลวงโลภะ กับราคะ ก็เกิดการยั่วให้กำหนัดของเขาก็สำเร็จอีกแล้ว ตา หู จมูก ลิ้นกายของเราทั้งหมด มารจะส่งข้อสอบมาทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาทีหัวข้อข้อสอบก็จะรัก โลภ โกรธ หลง แค่ 4 ข้อนี่แหละเขาออกข้อสอบได้เป็นล้าน ๆ ทดสอบเราอยู่ตลอดเวลาคนรอบข้างของเรา วัตถุทุกชิ้น ข้าวของทุกอย่าง เขาสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ อยู่ ๆ คนข้างตัวของเราที่เรารัก เราไว้เนื้อเชื่อใจ อาจจะพูดอะไรบางอย่างที่กระทบใจเราอย่างรุนแรงได้ นั่นเป็นการดลใจของมาร ให้ทำดังนั้น เห็นข้าวของที่วางอยู่เดินผ่านมาเราอารมณ์เสียอย่างกระทันหัน ใครกันวะ มันวางข้าวของเกะกะขนาดนี้ไม่รู้จักเก็บไม่รู้จักงำ

    กลายเป็นว่าของชิ้นหนึ่ง คนคนหนึ่ง คำพูดคำหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม รอบข้างของเรา เขาสามารถใช้เป็นเครื่องมือจัดการกับเราได้ทั้งหมด เราแผ่เมตตาให้เขาได้อย่างเดียว แต่การที่เราแผ่เมตตาให้เขาอย่างเดียวบางทีกำลังเราไม่พอ เนื่องจากว่าเมตตาขนาดพระพุทธเจ้าแผ่ให้เขา เขายังไม่ยินดีที่จะรับ แล้วกำลังของเราเท่าพระพุทธเจ้าหรือไม่ ? แต่ขณะเดียวกันถ้าเราใช้โทสะเราก็แพ้เขาอีก

    ดังนั้นว่าเมตตาก็ไม่ไหวโทสะก็ไม่ได้แล้ว เราจะทำอย่างไร ? ก็ต้องพิจารณาให้เห็นจริง ว่ามารนั้นไม่ใช่ศัตรู แต่เป็นครูที่ดีที่สุดของเราสิ่งที่เขาเอามาทดสอบ ถ้าเราสามารถก้าวผ่านไปได้ เราจะไม่ตกต่ำจากจุดนั้นอีก ข้อสอบชนิดนี้จะไม่สามารถทำอันตรายเราได้อีก ถ้าเราสอบตกต่างหาก เขาจึงจะเป็นผู้ขวางจะเป็นผู้ฆ่าของเรา ดังนั้นว่าจริง ๆ แล้ว มารคือครูบาอาจารย์ประเภทหนึ่ง เป็นครูบาอาจารย์ที่ขยันเหลือเกิน ออกข้อสอบทดสอบเราอยู่ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที เผลอเมื่อไหร่ รักโลภ โกรธ หลงกินใจเราเมื่อนั้น เผลอเมื่อไหร่ ก็รับเข้าทางตา รับเข้าทางหู รับเข้าทางจมูก รับเข้าทางลิ้น รับเข้ากายแล้วก็เข้าไปสู่ใจเมื่อนั้น


    พระพุทธเจ้าท่านถึงได้สอนให้เรารู้จักสำรวมอินทรีย์ คือ รู้จักระมัดระวังตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ของเราเอาไว้ ไม่ให้ยินดียินร้ายกับสิ่งที่มากระทบ ตาเห็นรูปหยุดอยู่แค่นั้น รูปทำอันตรายเราไม่ได้ อย่าไปปรุงแต่งว่านั่นเป็นหญิง นั่นเป็นชาย นั่นสวย นั่นไม่สวย ถ้าหากว่าเริ่มปรุงแต่งเมื่อไหร่ ก็เสร็จเขาเมื่อนั้นดังนั้น เราต้องรู้จักหน้าค่าตาของเขาเอาไว้

    ขอให้ทุกคนตั้งใจว่า เราทำหน้าที่ของเรา คือพยายามที่จะไปนิพพานให้ได้ เขาทำหน้าที่ของเขา คือเขามีหน้าที่ขวางก็ขวางไปต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัว ไม่มีใครทำอะไรขัดกัน ไม่มีใครเป็นศัตรูกัน มารไม่ใช่ศัตรูแต่เป็นครูที่ดีที่สุด เป็นครูที่ขยันออกข้อสอบมากที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของเรา ที่ต้องสร้าง”สติ สมาธิ ปัญญา” ให้มั่นคงเพื่อจะได้รับมือกับเขาได้ บริวารของเขาทั้งหลายที่ส่งออกมา อยู่ในลักษณะของ

    กามฉันทะ “ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท ความผูกโกรธ อาฆาตแค้นผู้อื่นเขา”

    ถีนมิททะ ความง่วงหงาวหาวนอนความขี้เกียจปฏิบัติจะได้อยู่กับเขาต่อไป

    อุทัฐจะ ความฟุ้งซ่านอารมณ์ไม่ตั้งมั่น

    วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ ลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ลังเลสงสัยในครูบาอาจารย์ว่าจะมีความสามารถจริงหรือไม่ ? นั่นเป็นการดลใจของมาร เป็นบริวารของมาร


    เราสามารถหลีกพ้นได้ง่ายที่สุด คืออยู่กับลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้าก็นึกว่าพุทธ หายใจออกก็นึกว่าโธ กำหนดภาพพระให้แนบแน่นอยู่ในใจ ภาพพระไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออก เข้าไปเล็กลง ออกมาใหญ่ขึ้น เข้าไปเล็กลง ๆ ออกมาใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น กำหนดใจให้นิ่งอยู่อย่างนี้ บริวารของมารจะทำอันตรายเราไม่ได้ เนื่องเพราะว่าจิตของเราอยู่เฉพาะหน้า ไม่ได้ส่งออก ไม่ได้ปรุงแต่งไปในอารมณ์อื่น ๆ มารทั้งหลาย ที่เขาขัดขวางเรา เพราะไม่ต้องการให้เราหลุดพ้น หน้าที่ของเขาก็คือสร้างความลำบากนานับประการให้แก่เรา ให้เราต่อสู้ ให้เราฟันฝ่า เพื่อบารมีของเราได้เข้มแข็งขึ้น ได้มั่นคงขึ้น กำลังจะได้สูงขึ้น เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้ง่าย

    ดังนั้น มารไม่ใช่ศัตรู เราไม่ใช่คนมีศัตรู เราอย่าไปคิดเป็นศัตรูกับใคร เพราะนั่นเป็นกำลังใจของ ”วิหิงสาวิตก” คือการตรึกในการจะเบียดเบียนคนอื่น เป็นกำลังใจของ "พยาปาทวิตก" คือการตรึกที่จะอาฆาตแค้นโกรธเคืองคนอื่น ให้วางกำลังใจลงเสีย คิดว่าเราเป็นผู้ไม่เป็นศัตรูกับใคร เรายินดีเป็นมิตรกับคน และสัตว์ทั่วโลก


    ขอให้มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ทุกภพ ทุกภูมิ ทุกหมู่ ทุกเหล่า ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นจงอย่าได้มีเวรมีกรรม และเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ ได้ประสบแต่ความสุข โดยถ้วนหน้ากัน ทุก ๆ คนเทอญ


    จับภาพพระของเราให้สว่างไสวเอาไว้ กำหนดใจแผ่เมตตาให้เป็นปกติ เมตตาต่อคน เมตตาต่อสัตว์ อย่าให้มีประมาณ อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง อย่าไปดูว่าคนนี้สวยเราเมตตา คนนี้หล่อเราเมตตา สัตว์ตัวนี้สวยเราเมตตา
    สัตว์ตัวนี้ไม่สวยเราไม่เมตตา อย่างนั้นใช้ไม่ได้

    กำลังใจของเราต้องเป็น”อัปปมัญญา “คือหาประมาณไม่ได้ ตั้งเจตนาไว้ว่าเราจะสงเคราะห์คนและสัตว์ทั้งหมดให้มีความสุขเสมอหน้ากัน เวลาออกทำการ ทำงานทำหน้าที่ของเรา ฆราวาสทำการทำงานก็ดี กำหนดใจให้สบาย ให้สดชื่น ให้แจ่มใส ให้เห็นว่าคนรอบข้างของเรา คือเพื่อน ร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ถ้าเขามีสุขเรายินดีในความสุขของเขา เขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ในชีวิตเรายินดีกับเขา ถ้าเขาอยู่ในความทุกข์ เราพร้อมจะช่วยเหลือเขา ถ้าหากว่าความทุกข์นั้น เกินจากความสามารถของเรา เราก็ยังพร้อมที่จะช่วยเหลือ ถ้าหากว่ามันมีความสามารถถึงเมื่อไหร่ เราช่วยเมื่อนั้น

    เป็นพระเป็นเณร ถึงเวลาออกบิณฑบาตร กำหนดใจให้ญาติโยมทั้งหลาย ไม่ว่าจะใส่บาตรก็ดี ไม่ใส่บาตรก็ดี ขอให้เขาเหล่านั้น มีแต่ความสุข ล่วงจากความทุกข์โดยทั่วหน้ากัน

    **ให้เมตตาเป็นปกติ กรุณาเป็นปกติ มุฑิตาเป็นปกติ และวางกำลังใจให้อุเบกขาเป็นปกติ ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายต่อสิ่งทั้งปวงที่มากระทบ ตาเห็นรูป สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน จมูกได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้นได้รสสักแต่ว่าได้รส กายสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัส ให้สติรู้เท่าทัน หยุดมันเอาไว้แค่นั้น อย่าให้เข้ามาทำอันตรายจิตใจของเราได้


    ถ้าใจของเราอยู่กับพระ ใจของเราอยู่กับการภาวนา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะทำอันตรายเราไม่ได้ ดังนั้นทุกเวลาที่สติ สมาธิ ทรงตัว พยายามเกาะภาพพระให้เป็นปกติ เกาะลมหายใจเข้าออกให้เป็นปกติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ หน้าที่การงานทุกอย่างของเรา ให้คิดว่าวันนี้เป็นวันสุดท้าย เรามีแค่วันนี้วันเดียว หรือว่าเรามีแค่ลมหายใจเข้าออกชุดเดียวเท่านั้น หายใจเข้า ถ้าไม่หายใจออก อาจจะตายไปเลย หายใจออก ไม่หายใจเข้าก็อาจจะตายไปเลย

    ดังนั้น ถ้าเวลาเราน้อยจนขณะนี้ เราก็ต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด หน้าที่การงานอะไรที่เรารับผิดชอบ ทำเหมือนกับว่ามันเป็นวันสุดท้ายของชีวิต ทำแบบทุ่มเท ทำให้ดีที่สุด เพื่อถึงเวลาแล้วเราจะได้จากไปอย่างสง่างามที่สุด



    ดังนั้นในเมื่อเรามีแค่ตอนนี้ มีแค่เดี๋ยวนี้เท่านั้น ถ้าหากว่าดูเวรกรรมเก่า ๆ ที่เราทำไว้มันมากเวลาที่เหลืออยู่แค่ตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ชั่วโมงข้างหน้าไม่มี นาทีข้างหน้าไม่มี เราจะรีบตะเกียกตะกายสร้างความดี เพื่อให้หนีความชั่ว ให้ได้มากที่สุด สมควรที่จะทำดังนี้แล้วหรือไม่ ในเมื่อ ความชั่วในอดีตที่ทำไว้มากเหลือเกิน เกาะติดหลังมาแล้ว เราจะต้องรีบยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดลมหายใจเข้า-ออก ยึดพระนิพพานให้แนบแน่นเข้าไว้ ไม่อย่างนั้นกรรมเก่าที่เกาะติดมาอยู่ ก็จะลากเรา ลงสู่อบายภูมิ ทำให้เราต้องทุกข์ยากลำบาก หาที่สิ้นสุดไม่ได้


    น้อมจิต น้อมใจเกาะภาพพระให้เป็นปกติ ตั้งใจว่านั่นคือพระพุทธเจ้าของเรา ท่านไม่อยู่ที่ ไหนนอกจากพระนิพพาน เห็นท่านเมื่อไหร่คือเราอยู่กับท่าน อยู่กับท่านเมื่อไหร่คือเราอยู่บนพระนิพพานด้วย ให้จิตจดจ่ออยู่กับเฉพาะหน้าอย่าส่งไปอารมณ์อื่น การรับรู้อารมณ์อื่นถ้าขาดสติกัน มันไม่ทัน มันทำอันตรายให้กับเราได้ทันที


    ค่อยๆ คลายสมาธิ ออกมาสู่อารมณ์ปกติ อย่างระมัดระวัง แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งเกาะภาพพระ เกาะการภาวนาไว้ให้เป็นปกติ เพื่อที่เราจะได้ทำหน้าที่การงานของเราต่อไป




    http://palungjit.org/forums/หลวงพี่เล็ก.61/
    <!-- google_ad_section_end -->
    </td></tr> <tr> <td class="alt2" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px 1px; border-style: solid; border-color: rgb(255, 255, 255);">[​IMG] </td></tr></tbody></table>
     
  9. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,199
    ค่าพลัง:
    +3,381
    ขอบคุณมากค่ะ ขออนุโมทนาบุญด้วยเป็นอย่างสูง สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...