สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    16683862_235268193601223_3906856534740178031_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    16865021_647305892137253_155611740906776301_n.jpg



    ธรรมบรรยาย เรื่อง "ถางป่าในใจตน"
    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    (คัดลอกบางส่วน)

    www.mongkoldhamma.org/พระราชญาณวิสิฐ-ถางป่าใ-video_188ec44d5.html

    *สามารถเปิดฟังได้ ผ่านโปรแกรมอินทราเน็ตทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น*
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    วจีทุจริตนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

    การโกหกหลอกลวง การกล่าววาจาหยาบคาย การกล่าววาจาให้เขาแตกแยกกัน และการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ มีการนินทาว่าร้ายกันโดยไม่เป็นธรรม เป็นต้น นี้กล่าวในความหมายอย่างกว้าง

    คุณความดีที่ตรงกันข้ามกัน ก็คือว่า การกล่าวแต่คำจริง ไม่เจตนากล่าวคำเท็จ มีความจริงใจต่อตนเอง แล้วก็จริงใจต่อผู้อื่น

    กล่าววาจาไพเราะอ่อนโยนอ่อนหวานตามฐานะ ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย ผู้น้อยจะพูดกับผู้ใหญ่ ผู้เสมอกันควรจะพูดอย่างไร นี้..กล่าววาจาที่ดี

    และการกล่าววาจาสมานไมตรี ตรงนี้สำคัญนัก การกล่าววาจาสมานไมตรี บางคนชอบพูดให้คนเขาแตกกัน แม้แต่ในครอบครัว บางทีพูดแล้วคนแตกกัน ต้องระวัง ไปจนถึงสังคม ถึงประเทศชาติ

    เฉพาะในหมู่สงฆ์นี้ ถ้าพระภิกษุใดยังสงฆ์ให้แตกแยกกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่าให้สงฆ์เขาแตกแยก จนถึงกับไม่ลงทำสังฆกรรมด้วยกัน ดังนี้เป็นต้นแล้ว ก็มีโทษหนัก ถ้าว่าสงฆ์สวด "สมนุภาส" ประกาศให้กลับใจ ๓ ครั้ง แล้วยังไม่กลับใจ ไม่กลับคืนดี ต้อง"อาบัติสังฆาทิเลส" และกรรมชั่วอย่างนั้น ยังนำให้ไปเกิดใน"ทุคคติ" คือ อบายภูมิ #โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงอเวจีมหานรกทีเดียว ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

    วจีทุจริตนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่ละข้อ ทุกข้อ ไปถึงข้อนินทาว่าร้าย เหล่านี้เป็นต้น เสียหายมาก

    คุณความดีจะทำอย่างไร ก็กล่าวแต่วาจาสมานไมตรี คนที่โกรธกัน เราพูดให้เขาดีกัน คนเราจะดีกันหรือไม่ดีกันนั้น อาจจะมีคนหนึ่งถูก คนหนึ่งผิด หรืออาจจะผิดทั้งคู่ หรือ อาจจะว่าผิดก็ไม่ใช่ จะว่าถูกก็ไม่เชิง แต่ไม่เข้าใจกัน ไม่ทำความเข้าใจกันให้ดี ก็ผิดใจกันได้ แตกกันได้

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้จักสมานไมตรี ต้องรู้จักแยกแยะผิดและถูก ให้ลึกซึ้ง ให้ถูกต้อง ให้รอบคอบ

    ถ้าว่า..ไม่ได้เหตุปัจจัยแห่งความถูกต้อง หรือความผิดที่แท้จริงแล้ว บางทีเราตัดสินใจพูดไป บางทีพลาด พลาดแล้วแทนที่เขาจะดีกัน เลยแตกกันใหญ่เลย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ในสังคมทุกระดับ ตั้งแต่สังคมครอบครัว ไปจนถึงประเทศชาติ และ ทั้งสังคมอย่างเช่นหมู่พระภิกษุสงฆ์

    เพราะฉะนั้น แม้แต่ตัวอย่างเรื่องในประเทศชาติ มีการใส่ไฟ มีการปัดแข้งปัดขา อะไรต่อมิอะไรกันในคณะบุคคลต่างๆ ทำให้แตกแยก และรวมกันไม่ติด อย่างนี้มีโทษมาก ทำให้บ้านเมืองเสียหาย ในหมู่พระภิกษุสงฆ์ก็ทำให้พระธรรมวินัยที่ตั้งไว้ดีแล้วแต่คนปฏิบัติไม่ดี ก็เลยพลอยทำให้แตกแยกเสียหาย จึงมีโทษมาก

    #เพราะฉะนั้นการกล่าววาจาสมานไมตรี เราจะต้องดูที่เหตุว่า คนเราแตกกันเพราะอะไร เราอย่าไปตอกลิ่มให้แตกลงไปอีก เราต้องดูว่าอะไรผิดอะไรถูกอย่างแท้จริง อย่าเดา

    เมื่อได้ความจริงที่แท้จริงแล้วเราจึงค่อยว่า ถ้าใครผิดเราค่อยๆแนะนำ ว่านี้ตามที่เป็นจริงเธอผิดอย่างไร

    แต่ต้องรู้จักวิธีพูด หาโอกาสพูดตามความเหมาะสม เพราะคู่กรณีอาจจะเป็นผู้ใหญ่ อาจจะเป็นผู้เสมอกัน อาจจะเป็นผู้น้อย เมื่อเรารู้เหตุรู้ปัจจัยที่ทำให้เขาแตกกันอย่างนั้นแล้ว เราค่อยสมานไมตรีได้

    แล้วเราก็พยายามทำให้คนผิด ให้กลับตัวเป็นคนถูก คนถูกอยู่แล้วให้รู้จักให้อภัย คนผิดก็ให้รู้จักว่าตนผิด ตามที่เป็นจริงอย่างไร ไม่ใช่ตะบี้ตะบันผิดต่อไปอีก อย่างนี้เป็นต้น

    แต่ถ้าคู่กรณีเอาทิฏฐิเข้าหากัน สังคมนั้นเป็นสังคมที่จะต้องลุกเป็นไฟ เพราะการที่บุคคลไม่เข้าใจกันอย่างนี้ มีปัญหามากในสังคมทุกระดับ แม้แต่ในวัด ในครอบครัว และในสังคมประเทศชาติ

    เพราะฉะนั้น ข้อนี้ให้สังวรไว้มากๆ

    ตลอดไปจนถึงเรื่อง การกล่าววาจาเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ #ต้องพูดแต่สิ่งที่มีสาระประโยชน์ #ไม่เอะอะคอยแต่จะนินทากันอย่างโน้นอย่างนี้ นินทาไปทำไม หยุดทำชั่วทางปาก อย่าไปพูดเลอะเทอะเลย

    #การพูดเลอะเทอะนี้ ปากต่อปาก ค่อยๆหลุดออกจากความเป็นจริงไปทุกทีๆ จนกระทั่งหาต้นสายปลายเหตุไม่เจอ เหล่านี้เป็นต้น หนักๆเข้าก็กลับกลายเป็น ทำให้คนแตกกันอีกแล้ว นินทาว่าร้ายทำให้คนแตกกันได้

    เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ เรามาปฏิบัติธรรมแล้วให้ลึกซึ้งลงไป ต้องเข้าใจว่า ความดีอยู่ตรงไหน ความชั่วอยู่ตรงไหน ต้องให้มีความสังวรวะวัง.

    _______________
    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________



     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    16938603_648467955354380_1805677529636959664_n.jpg



    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ ๓/๔
    ช่วงอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ปี 2548
    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    (คัดลอกบางส่วน)

    www.mongkoldhamma.org/พระเทพญาณมงคล-ตอบปัญหา-video_22e25850…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    16730113_648034352064407_5459753282009081748_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ ๔ ทรงนำความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔ นั้นมาแสดงเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก
    ******************************************
    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ พระนามว่า วิปัสสี สิขี
    เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และ โคดม
    บทว่า ธมฺมภูเตหิ ได้แก่ มีธรรมเป็นสภาวะ เพราะเป็นธรรมกาย
    คือเกิดจากโลกุตรธรรม ๙ หรือบรรลุธรรม.
    ชื่อว่า อริยสัจ เพราะประเสริฐและจริง เพราะอรรถว่าแท้.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงสัจจะ หรือเพราะสัจจะอันกระทำความ
    เป็นพระอริยะ.
    ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นของน่าเกลียด และเพราะเป็น
    ของว่างเปล่า ได้แก่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕.
    ชื่อว่า สมุทัย ได้แก่ตัณหา เพราะเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์.
    ชื่อว่า มรรค เพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไป หรือเพราะผู้ต้องการพระนิพพานจะต้องแสวงหา ได้แก่ธรรม ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น.
    ชื่อว่า นิโรธ เพราะในพระนิพพานนั้นไม่มีฝั่ง กล่าวคือสงสารเป็นที่เที่ยวไป หรือว่าเมื่อบุคคลบรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อม
    ไม่มีฝั่ง หรือเป็นที่ดับทุกข์ ได้แก่พระนิพพาน.
    อรรถกถาสรภังคเถรคาถา ขุ.เถร.อ.(ไทย) ๕๒/๒๗๔-๒๗๕ มหามกุฏฯ


    16830808_1130506370405850_2192243156441956781_n.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เทป รายการ บ่ายนี้มีคำตอบ ช่อง 9


    น้อมนำธรรมะพระเจ้าอยู่หัวนำชาติพ้นภัย
    โดยพระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)

    เจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม












     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เกิดธรรมกายไม่เห็นกายมนุษย์หยาบถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะทำอย่างไร ?



    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    -------------------------------------------------------



    ตอบ:





    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ ถึงธรรมกายเลยทีเดียว ไม่ผิดครับ ถูก ไม่ต้องกังวลใจ เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด คือว่า



    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย หยุดนิ่งกลางธรรมกาย ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่ โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ให้ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต ขนาดหน้าตักและความสูง 20 วาขึ้นไป ให้ใสสว่างดี พอใสสว่างดีแล้ว นึกชำเลืองดูนิดเดียว นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด เห็นเป็นดวงใส ศูนย์กลางขยายออก เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ ใจหยุดกลางกายทิพย์ หยุดนิ่งเป็นดวงใส ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส รูปพรหมก็ปรากฏ ทำไล่ไปทีละกายๆ อย่างนี้ในภายหลังก็ได้ ไม่ยาก เมื่อทำไล่ไปทีละกาย ถึง 18 กายสุดท้าย ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ ดำเนินต่อไป เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่ กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่ต้องเป็นห่วง



    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น เมื่อถึง 18 กายแล้วนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ 18 กายทุกวันๆ ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู 18 กาย ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย ไม่ต้องสนใจ ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่ เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ ไม่ได้เกิดที่ไหน เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว กระดิกใจดูนิดเดียว เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียด เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย คือไม่ติดอยู่ แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี เป็นสักแต่เป็น นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ



    สำหรับผู้เบื้องต้น เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ 18 กายให้ครบ เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ) เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า สะดวกกว่า



    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ อันเป็นสังขารธรรม เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต” อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ 18 กายนั้นเอง เป็นเถาเหมือนปิ่นโต แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ กลางของกลางซึ่งกันและกัน ศูนย์กลางตรงกัน 18 กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา 18 กายนั้นแล้ว กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี 18 กาย ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ 18 กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน



    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี 18 กาย ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้ นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ทั้งหมด จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ” เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ของกายในภพ 3 และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังติดอยู่ เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้



    เพราะฉะนั้น ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยไปจนถึงนิพพาน ทำไปเถิด 18 กายอยู่ข้างในนั้น ไม่มีปัญหา เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ 3 ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ‘เห็นองค์พระ’ กับ ‘เข้าไปเป็นองค์พระ’ ต่างกันอย่างไร ?
    เวลาปฏิบัติธรรม คำว่า "เห็นองค์พระ" กับ "เข้าไปเป็นองค์พระ" ต่างกันอย่างไร ?

    ตอบ:

    คำว่า “เห็นองค์พระ” หมายถึง มองเห็นที่อยู่ห่างออกไป ไม่ใช่ตัวเรา

    คำว่า “เป็นองค์พระ” หมายถึง เมื่อเห็นองค์พระปรากฏขึ้น ให้นึกเข้าไปที่ศูนย์กลางองค์พระ องค์พระก็จะขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และจะปรากฏองค์ใหม่และดวงใหม่ที่ศูนย์กลางองค์พระ ละความรู้สึกเป็นตัวเราหรืออันเนื่องกับกายเนื้อ ก็จะปรากฏองค์พระที่ใสละเอียดกว่าเดิม เกิดขึ้นใหม่ เอาใจจรดเข้าไปเป็นองค์พระใหม่เรื่อยๆ เรียกว่า “ดับหยาบไปหาละเอียด” แล้วก็หยุดในหยุด กลางของหยุด ที่ศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายละเอียดใหม่ ให้เห็นใสละเอียด ทั้งดวงและกายเรื่อยๆ ไปจนสุดละเอียด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่วิชชาจะเจริญขึ้น ดับกิเลส อวิชชามูลรากฝ่ายเกิดได้ดี
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    17361580_657520564449119_3793912950102013075_n.jpg

    คติธรรมโดย พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺมโม)
    รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
    อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา
    ผู้สร้างพระผงธรรมขันธ์วัดปากน้ำ รุ่นที่ 4

    (คัดลอกบางส่วน) จากหนังสือ สาระ-คติธรรม หน้า ๒๖
    หนังสือจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในวันรับพัดเปรียญธรรม ๖ ประโยค
    ของคณะผู้สำเร็จเปรียญธรรม ปี ๒๕๔๔ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

    หรือ หนังสือ นิตยสารธรรมกาย ลำดับที่ ๑๘ หน้า ๒๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ธรรมเอก ผุดขึ้น

    พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๔
    สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๘๖ ข้อที่ ๓๔๗ (คัดลอกบางส่วน)



    [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร
    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่าผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    17522903_663700720497770_5069963227258020137_n.jpg

    "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ"
    (คัดลอกบางส่วน) หน้า ๘๑ พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มิถุนายน ๒๕๔๒
    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ************************************************************************
    จากคำถาม +++

    ถ้าเราอุทิศส่วนบุญทุกครั้งที่ได้ทำบุญไป จะไม่ได้หมายความว่า สุดท้ายแล้วบุญของเราก็จะพร่องหมดไป ไม่มีเหลือ สำหรับเป็นทุน สำหรับเราเองหรอกหรือ?

    ตอบ +++

    ไม่ใช่เช่นนั้น บุญกุศลนั้น เหมือนกับแสงสว่าง หรือแสงเทียน ลองนึกว่า ถ้าท่านมีเทียนสว่างไสวอยู่ในมือ และมีแสงสว่าง(ของผู้อื่นที่ต่อเทียนกับเรา) รอบท่านทั้งหมดด้วย การอุทิศส่วนบุญกุศล ก็เสมือนว่าท่านเชื้อเชิญทุกคนให้มาชื่นชมแสงสว่าง(ความดี)ของท่าน และรับแสงสว่างจากท่าน หรืออาจพูดว่าทุกคนมาพร้อมด้วยเทียน ขอจุดต่อจากท่านเช่นนั้น ท่านจะเห็นว่าแสงเทียนของท่านก็มิได้อ่อนลง แต่แท้ที่จริงกลับสว่างยิ่งขึ้น
    เพราะเหตุไร? เพราะว่าแสงจากเทียนของทุกคนที่ท่านเชื้อเชิญมาต่อเทียนจากท่าน จะสว่างไสว สะท้อนกลับมายังตัวท่านอีกด้วย
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    17457402_664147707119738_2016050131945735330_n.jpg



    พระธรรมเทศนา “ประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    โอวาทแด่ภิกษุ สามเณร ในพระอุโบสถ หลังจากทำวัตร
    เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๘

    (คัดลอกบางส่วน)
    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/ประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ความสำคัญของ... “ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗”

    โดย
    * มงคลบุตร
    * ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)




    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จนฺทสโร) ได้ย้ำนักหนาว่า.....

    ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้...สำคัญนัก
    ให้เอาใจไปจรดไว้ที่นั่นเสมอ...ทุกอิริยาบถเมื่อมีโอกาส
    ไม่ว่าจะในขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือ ในขณะไหว้พระสวดมนต์
    และ อธิษฐานปรารถนาในสิ่งที่ดีที่ชอบทั้งหลาย
    เพราะที่ศูนย์กลางกายนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าที่ใดๆทั้งสิ้น



    การรวมใจให้หยุดในหยุด ณ ศูนย์กลางกายนั้น...นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก
    เพราะเป็นจุดแห่ง “ดุลย” ทั้งกายภาพและจิตใจ กล่าวคือ


    ในทางกายภาพ
    ศูนย์กลางของสรรพวัตถุทั้งหลาย ย่อมอยู่ในแนวเดียวกันกับแรงดึงดูดของโลก
    ที่เรียกว่า Center of Gravity



    ส่วนทางด้านจิตใจ
    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาธรรมจนถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    ก็จะสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า.....
    ศูนย์กลางกายนั้นเอง คือ “ที่ตั้งถาวรของใจ”


    เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    ดวงธรรม...จะลอยมาสู่ศูนย์กลางนี้ก่อนอื่นที่เดียว
    และศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ.....
    อายตนะภพสาม อายตนะนิพพาน และ อายตนะโลกันต์



    จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด มีพลัง และอำนาจมากที่สุด
    ช่วยให้รู้เห็นได้แม่นยำ และกว้างขวาง...ไม่มีประมาณ



    [​IMG]


    *** คัดลอกบางตอนจาก
    หนังสือ ธรรมสู่สันติ เล่มที่ ๑
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    มิถุนายน ๒๕๒๐
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน ตัณหานั่นเอง ได้แก่ กามตัณหา ความทะยานอยาก เกี่ยวด้วยอารมณ์ 6 มีรูปเป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบ ด้วย สัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร วิภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์ เทียบเคียงให้เห็น ดังเช่น สามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า ภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว มิไยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทาน อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้ หมดทุกข์

    ที่มาจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อวัดปากน้ำ กัณฑ์พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ



    ?temp_hash=e3fed297719dd46cdabcac6636abee69.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    12388078_440750016122822_409981350_n.jpg

    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี


    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    17952775_673906869477155_1699416319472475192_n.jpg

    พระธรรมเทศนา “ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๗
    (คัดลอกบางส่วน)

    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว




    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...