ตำนานมนุษย์ในสุวรรณภูมิ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย พนมกุเลน, 12 พฤศจิกายน 2011.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]

    คนสองกลุ่ม คือ ชนชาติมอญ-ขอมนั้น ต้องถือว่าเป็นต้นแบบของตระกูลมนุษย์


    ที่อาศัยในแถบอินโดจีน ก่อนที่จะผสมผสาน กับคนพื้นเมือง เป็นชนกลุ่มอื่นต่อไป มีเรื่องราวที่น่าศึกษาไว้ว่า


    เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑ คือประมาณ ๒๕๐๐ ปีก่อนพุทธศาสนานั้น กลุ่มคนที่มีชาติพันธุ์มอญ-ขอม หรือ กลุ่มออสโตรเอเซียติค ซึ่งน่าจะอยู่แถบจีนตอนใต้นั้น ได้พากันเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ

    โดยกลุ่มชาติพันธุ์มอญนั้น ได้อพยพลงม าตามลำน้ำสาละวิน ลงมาทางดินแดนของเมียนมาร์ แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้น ตามลุ่มแม่น้ำนี้

    ในที่สุด ก็จัดตั้งอาณาจักรมอญของตนขึ้น ที่เมืองสุธรรมวดี คือเมืองสะเทิม
    อยู่ทางตอนใต้ของเมียนม่าร์ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ขอมนั้น ได้อพยพมาตามลำน้ำโขง ลงมาทางตอนใต้ สร้างบ้านแปงเมือง

    จนในที่สุด ได้ตั้งอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ในดินแดนปากแม่น้ำโขง คือประเทศเขมรในปัจจุบัน

    สรุปแล้ว ทั้งชนชาติมอญและชนชาติขอมนั้น เดิมนั้น ต่างมีถิ่นฐานอยู่ทางจีนตอนใต้ แหล่งเดียวกัน ต่อมา ต่างก็พากันแยกย้าย อพยพลงมาตามลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง

    สำหรับชนชาติไทยนั้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ใด เดิมเชื่อกันว่า น่าจะอยู่แถบภุเขาอัลไตโดยหมายเอาชื่อ อัลไตมาเป็น ไต หรือไท ภายหลังได้มีการศึกษา ความเป็นไปได้แล้ว ชนชาติไทยนั้น น่าจะอยู่แถว ภาคเหนือของไทย

    หรืออยู่ขึ้นมา ทางตอนใต้ของจีน เป็นกลุ่มไทลื้อ ไท-ยอง หรือไม่ก็ นับเอาแหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นถิ่นของคนไทย หรือคนสยาม

    เรื่องของชนชาตินั้น มีปรากฏเป็นตำนาน เล่าไว้ในพงศาวดารล้านช้าง
    ปริเฉทที่ ๒ ถึงการกำเนิดของมนุษย์ ในกลุ่มแหลมอินโดจีนนี้ ว่า

    ๐ กาลเมื่อก่อนนั้น ก็เป็นดินเป็นหญ้า เป็นฟ้า เป็นแถน ผีแลคน เที่ยวไปมาหากันบ่ขาด

    ๐ เมื่อนั้น ยังมีขุนใหญ่ ๓ คน ผู้หนึ่ง ชื่อว่า ปู่ลางเชิง ผู้หนึ่ง ชื่อขุนคาน อยู่สร้างบ้านเมืองลุ่ม กินปลา เฮ็ดนาเมืองลุ่ม กินเข้า เมื่อนั้น แถนจึงใช้ให้มา กล่าวแก่คนทั้งหลายว่า

    ในเมืองลุ่มนี้ กินเข้าให้บอก ให้หมาย กินแลงกินงาย ก็ให้บอกแก่แถน ได้กินขึ้น ก็ให้ส่งขา ได้กินปลา ก็ให้ส่งรอยแก่แถน

    เมื่อนั้น คนทั้งหลายก็บ่ฟัง คามแถน แม้นใช้มาบอก สองทีสามที ก็บ่ฟัง หั้นแล

    ๐ แต่นั่น แถนจึงให้น้ำท่วม เมืองลุ่มลีดเลียง ท่วมเมืองเพียงละลาย คนทั้งหลาย
    ฉิบหาย มากนักชะแล

    ๐ ยามนั้นปู่ลางเชิงแล ขุนเด็ก ขุนคาน รู้ว่า แถนเคียดแก่เขาๆ จึงเอาไม้ขาแรงเฮ็ดแพ เอาไม้แปงเรือน เฮ็ดพวง แล้วเขา จึงเอาลูกเอาเมีย เข้าอยู่ในแพนั้น แล้วน้ำ จึงพัดเขาขึ้นเมือบน ขนเอาเมือ เมืองฟ้าพู้นแล

    ๐ พระยาแถน จึงถามเขาว่า สูจักมาเมืองฟ้า ตูพี้เฮดสัง เขาจึงบอกเหตุการณ์ทั้งมวญ พระยาแถนจึงว่า ตูใช้ให้ไปกล่าว แก่สูสองสามที ให้ยำแถน ยำผีเถ้า เจ้ายืนกาย สูงสั่งบ่ฟังคำกู จึงเท่าสูแล้ว

    ๐ ทีนั้น พระยาแถน จึงให้เขา ไปอยู่ที่บึงดอน แถนลอหั้นแล แต่นั้น น้ำจึงแห้งจึงบกเป็นพื้นแผ่นดิน เขาจึงไหว้ขอพระยาแถนว่า ตูข้อยนี้ อยู่เมืองบนบ่แกว่นแล่นเมืองฟ้าบ่เปน ตูข้อย ขอไปอยู่เมืองลุ่มลิดเลียง เมืองเพียงพัก ยอมพู้นเทอญ

    เมื่อนั้น พระยาแถน จึงให้เอาลงมาส่ง ทั้งให้ควายเขาลู่แก่เขา จึงเอากันลงมาตั้งอยู่ที่นาน้อย อ้อยหนูน ก่อหั้นแล

    แต่นั้น เขาจึงเอาควายนั้น เฮ็ดนากิน นานประมาณ ๓ ปี ควายเขาก็ตายเสีย เขาละซากควายเสีย ที่นาน้อยอ้อยหนูหั้นแล้ว อยู่บ่อนานเท่าใด เครือหมากน้ำ ก็เกิดออกฮูดัง ควายตัวตายนั้น ออกยาวมาแล้ว

    ก็ออกเป็นหมากน้ำเต้าปูง ๓ หน่วย แลหน่วยนั้น ใหญ่ประมาณเท่ารินเขาปลูกข้าวนั้น

    เมื่อเครื่องหมากนั้นแก่แล้ว คนทั้งหลาย ก็เกิดมา อาไศรยซึ่งหมากน้ำ
    เปนดัง นางอาสังโน เกิดในท้องดอกบัว เจ้าฤาษีเอามาเลี้ยงไว้ คนทั้งหลายฝูงเกิดในผลหมากน้ำเต้าฝูงนั้น ก็ร้องก้องนีนันมากนัก ในหมากน้ำนั้นแล

    ๐ ยามนั้น ปู่ลางเชิง จึงเผาเหล็กชีแดงชีหมากน้ำนั้น คนทั้งหลาย จึงบุเบียดกัน
    ออกมาทางฮูทีชีนั้น ออกมาทางฮูทีนั้น ก็บ่เบิ่งคับคั่งกัน ขุนคาน จึงเอาสิ่วไปสิ่วฮู ให้เป็นฮูแควนใหญ่ แควนกว้าง คนทั้งหลาย ก็ลุไหลออกมา


    นานประมาณ ๓ วัน ๓ คืน จึงหมดหั้นแล คนทั้งหลายฝูง ออกมาทางฮูชีนั้น แบ่งเป็น ๒ หมู่ๆ หนึ่งเรียกชื่อ ไทยลม หมู่หนึ่งเรียกว่าไทยลี

    ผู้ออกทางฮูสิ่วนั้น แบ่งเป็น ๓ หมู่ หมู่หนึ่งเรียกไทยเลิง หมู่หนึ่งเรียก ไทยลอ หมู่หนึ่งเรียกชื่อ ไทยควาง แล

    ๐ แต่นั้น ฝูงปู่ลางเชิง จึงบอกสอนเขา ให้เฮ็ดไฮ่ไถนา ทอผ้าทอซิ่น เลี้ยงชีวิตเขา แล้วก็ปลูก แบ่งเขาให้เปนผัวเปนเมีย มีเย่ามีเรือน ก็จึงมีลูกหญิงลูกชายมากนักแล

    เมื่อนั้น ปู่ลางเชิง เล่าบอกให้เขา รักพ่อเลี้ยงรักแม่ เลี้ยงเคารพยำเกรงผู้เถ้าผู้แก่กว่าตนเขาแล

    อยู่หึงนานไป พ่อแม่เขาก็ตาย ท่านปู่ลางเชิง เล่าบอกให้เขา ไหว้พ่อแม่เขาแล้วส่งการเมี้ยนซากฝูง ออกมาทางฮูสิ่วให้เผาเสีย เก็บถูกล้างสร้อยสี แล้วให้แบ่งเถียง ใส่ลูกไว้ ให้ไปส่งเข้าส่งน้ำชุมื้อ

    ฝูงออกทางฮูชีนั้น ให้ฝังเสียแล้ว แปงเถียงกวมไว้เล่า ให้ไปส่งเข้าน้ำชุวัน คั้นเขาไปบ่ได้ ปู่ลางเชิง บอกให้แต่งเพื่อน เข้าเหล้าไว้ห้าห้องเรือน เขาแล้ว ให้เขาเรียกพ่อแม่เขา ฝูงตายนั้น มากินหั้นแล

    ๐ แต่นั้น คนทั้งหลายฝูง เกิดมาในน้ำเต้า ฝูงออกมาทางฮูสิ่วนั้น เปนไทย ฝูงออกมาทางฮูชีนั้น เปนข้า คนฝูงนั้น ลวดเปนข้อย เป็นไพร่ เขาเจ้าขุน ทั้งสามนั้นแล

    เมื่อนั้น คนแผ่พวกมามากนัก มากอย่างหลาย ทรายหลายอย่าง น้ำท่อ ว่าหาท้าวพระยาบ่ได้

    ปู่ลางเชิง ทั้งขุนเด็ก ขุนคาน บอกสอนเขา ก็บ่แพ้ แม้ว่าไคเขา ก็บ่เอาคำ

    ขุนทั้งสาม ก็จึงขึ้นเมือ ขอหาท้าวพระยากวนแถนหลวง พระยาแถน จึงให้ขุนครูและขุนครอง ลงมาเปน ท้าวพระยาแก่เขาหั้นแล

    ๐ เมื่อขุนทั้งสอง ลงมาสร้างบ้าน ก็บ่เปลือง สร้างเมืองก็บ่กว้าง สูกินเหล้าชุมื้อชุวัน นานมา ไพร่ค้างทุกข์ค้างยาก ก็บ่ดูนา

    ๐ เมื่อนั้น ขุนเด็กขุนคาน จึ่งขึ้นเมือ ไหว้สาแก่พระยาแถนๆ จึงถกเอา ทั้งสองหนีเมือบนหน เมือฟ้าดังเก่าเล่าแล พาหิระนิทานํนิฎฐิตํ

    ๐ ปางนั้น พระยาแถนหลวง จึงให้ท้าวผู้มีบุญ ชื่อว่า ขุนบูลมมหาราชาธิราช
    อันได้อาชญา พระยาแถนแล้ว ก็จึ่งเอารี้พลทั้งหลาย ลงเมือ เมืองลุ่มลีดเลียงเมืองเพียงคักค้อย มาอยู่ที่นาน้อย อ้อยหนู อันมีลุ่มเมืองแถน หั้นก่อนแล

    ๐ ทีนั้น คนทั้งหลายฝูง ออกมาแต่น้ำเต้าปูงนั้น ผู้รู้หลักนักปราชญ์นั้น เขาก็มาเป็น ลูกท่านเบ่าเธอ ขุนบูลมมหาราชา แลผู้ใบ้ช้านั้น เขาก็อยู่เปนไพร่ ไปเปนป่า สร้างไฮ่เฮ็ดนากินแล

    จากข้อความข้างต้นนั้น เป็นสำนวนเก่า ที่ต้องทำความเข้าใจความเสียก่อนว่า
    การเกิดขึ้นของมนุษย์นั้น เริ่มต้นที่พ่อขุนทั้งสาม คือ ปู่ลางเชิง ขุนคาน และขุนเด็ก อยู่เมืองลุ่ม

    โดยมีพระยาแถน ซึ่งเป็นเทวดาอยู่เมืองฟ้าเป็นผู้ดูแล ต่อมา ขุนเหล่านั้น เกิดไม่เชื่อฟังพระยาแถน

    พระยาแถนเคือง จึงให้น้ำท่วมเมืองลุ่ม คนกลุ่มนี้ จึงพาเอาลูกเมียลงแพ แต่น้ำได้พัดแพขึ้นไปเมืองฟ้า พระยาแถน ได้กล่าวเตือนพ่อขุนทั้งสามว่า ที่สั่งให้กินข้าว ให้บอกให้หมาย กินแลงกินงาย ให้บอกแถน กินขึ้น ให้ส่งขา กินปลาให้ส่งรอยแก่แถนนั้น

    เป็นการยำแถน ยำผีเถ้า ยำเจ้ายืนกาย ก็ไม่ฟังกัน แล้วพระยาแถน ก็จัดให้คนเหล่านั้น ไปอยู่ที่บึงดอนแถนลอ แต่น้ำแห้ง จึงกลายเป็นแผ่นดิน ต่อมา พ่อขุนเหล่านั้นขอว่า อยู่เมืองบนเมืองฟ้า บ่เป็น ขอกลับไปอยู่เมืองลุ่มลีดเลียง เมืองเพียงคัดค้อย

    พระยาแถนจึงส่งลงมา พร้อมกับควายเขาลู่ และตั้งบ้านที่นาน้อยอ้อยหนู
    ควายนั้น ทำนาได้สามปีก็ตาย เขาและซากควายนั้น ได้เกิดเครือต้นน้ำเต้า ออกเป็นลูกน้ำเต้าใบใหญ่ ภายในน้ำเต้าใบใหญ่นั้น ได้เกิดผู้คน ร้องส่งเสียงกันอยู่
    ภายในหลายเผ่าพันธุ์

    จนปู่ลางเชิง ต้องไชให้คนเหล่านั้นออกมา โดยปู่ลางเชิงนั้น เอาเหล็กแดงมาไชน้ำเต้าใบใหญ่ พอไช ก็มีผู้คนเบียดเสียดกันออกมาคับคั่ง จึงทำให้มีผิวดำเพราะร้อนไหม้

    เมื่อผู้คนผิวดำเช่นนั้น ปู่ลางเชิง ก็เอาสิ่วเจาะรูให้ใหม่ ทำให้ใหญ่ขึ้น ทำให้คนพวกที่ออกทางรูสิ่ว มีผิวขาวกว่า

    คนที่ออกมาทางรูสิ่วนั้นเป็น คนไทย คนที่ออกมาทางไชนั้น เป็นพวกข่า

    น้ำเต้านี้ เมื่อแตกออกมานั้น มีคนเผ่าต่างๆ ออกมาจากน้ำเต้าอีก ๕ พวก คือ ไทยลม ไทยลี ไทยเลิง ไทยลอ ไทยควาง มีผู้รู้บอกว่า ไทยพวกนี้ ได้แก่ พวกข่าแจะ ผู้ไทดำ ลางพุงขาว ฮ่อ แกว

    ทั้งหมดนี้ ต่างเคารพนับถือกันว่า เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ผู้คนทั้งหมดนั้น ปู่ลางเชิง ได้บอกสอน ให้รู้จักทำไร่ทำนา
    ทอผ้า ทอซิ่น เลี้ยงชีวิต

    แล้วทำการปลุกแบ่ง แต่งให้เป็นผัวเป็นเมีย มีเหย้ามีเรือน มีลูกหญิงชายออกมาเป็นเผ่าพันธุ์ใหญ่ พวกที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูง มีอาชีพทำไร่ พวกที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนา

    พระยาแถนได้ให้ ขุนครู ขุนครอง ลงมาเป็นท้าวพระยา ดูแลช่วยเหลือมนุษย์กลุ่มนี้ โดยสร้างบ้านก็บ่เปลือง สร้างเมืองก็บ่กว้าง ได้แต่กินเหล้าทุกมื้อทุกวัน จนไพร่ค้างทุกข์ ค้างยาก จนขุนเด็ก ขุนคาน ต้องไหว้สาพระยาแถน ให้เอาท้าวพระยาทั้งสอง กลับไปเมืองบนเมืองฟ้า

    แล้วให้ขุนบูลมมหาราชาธิราช นำรี้พลลงมา เมืองลุ่มลีดเลียง เมืองเพียงคักค้อย อยู่ที่นาน้อยอ้อยหนู คนที่ฉลาด ก็เป็นบ่าวรับใช้ แก่ขุนบูลมมหาราชาธิราช
    ส่วนคนที่ไม่ฉลาด ก็เป็นไพร่เป็นข้า อยู่ป่าทำไร่ทำนา

    ตำนานมนุษย์ จากพงศาวดารลานช้างนี้ ได้ทำให้มีความเชื่อตามตำนาน ว่า ชนชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ หรือแหลมอินโดจีนนี้ เป็นผู้คน ที่ออกมาจากจากน้ำเต้าใบเดียวกัน คือ แหล่งที่อยู่เดียวกัน

    ส่วนข้อเท็จจริงของน้ำเต้าใบใหญ่นี้ จะหมายถึง ลุ่มแม่น้ำ ที่อยู่อาศัย หรือ บรรพบุรุษคนเดียวกัน ก็น่าจะพอฟังได้ และสอดคล้อง กับการเคลื่อนย้ายของมนุษย์กลุ่มนี้ ลงมาทางตอนใต้ สู่แหลมอินโดจีน

    หมายถึง พากันมาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่เมืองลุ่มลีดเลียง และเมืองเพียงคักค้อย นาน้อยอ้อยหนู ส่วนจะเป็นเมืองใด ในแหลมอินโดจีนบ้าง ต้องศึกษาหาภูมิสถานกันต่อไป

    ขุนบูลมมหาราชาธิราชนั้น เป็นท้าวพระยา ที่พระยาแถนไว้วางใจ ส่งลงมาปกครองบ้านเมืองลุ่มฯ ส่วนจะหมายให้เป็น พระพรหม ในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู คือ ท้าวมหาพรหม หรือพระพรหม ผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ก็ย่อมใช้ได้

    และยังมีเรื่องราวของ ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ผู้มีลูกหลานมากมาย หลายคน จนพากันแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐาน ในเมืองต่างๆ มาเกี่ยวพันด้วยอีก จึงทำให้มองเห็นมนุษย์หลายท้องถิ่น กำลังสร้างบ้านแปงเมืองขึ้น

    สำหรับขุนบูลมมหาราชาธิราช ต้องมีฐานะเป็นผู้ครองเมือง หรือกษัตริย์
    ดังนั้น การค้นหาผู้นำแต่ละชนเผ่า จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ของการดูแลอาณาจักร
    ภายหลัง ได้มีขุนควาง ขุนวี ขุนเลิง ขุนเลน ขุนลอ ผู้นำกลุ่มคนไทย จากน้ำเต้ามาร่วมกัน สร้างบ้านแปงเมือง ในดินแดนสุวรรณภูมินี้ด้วย

    เมืองเชียงแสน
    ในตำนานเมืองเชียงแสนนั้น มีข้อความที่เล่าไว้น่าศึกษาว่า ในสมัยก่อน ได้มีการนับศักราช ซึ่งมหาศักราช ปัทมศักราช สามตุติศักราช และตติยสักราช
    ต่อมาพญาสิงหนตน ซึ่งเป็นพ่อของพญาสุทโทธนะ พร้อมด้วยราชเทวี เห็นว่าศักราชนั้นเก่า

    อาณาจักรของชาวสยาม ได้ตั้งเป็นอาณาจักรได้นั้น สืบเนื่องมาจาก อาณาจักรทวารวดี ซึ่งเป็นอาณาจักร ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครชัยศรี เมืองศรีเทพ เมืองพงตึก และเมืองอู่ทอง

    ดังนั้น ดินแดนดังกล่าว จึงถูกชาวสยามเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่แทน หลังจากที่เสื่อมอำนาจ ลงในเวลาต่อมา กล่าวคือตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑ กลุ่มชนชาวไทย ได้รวมตัวกัน ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณอาณาจักรล้านนา และบริเวณเมืองแถน หรือเดียนเบียนฟู ในประเทศเวียดนามปัจจุบัน โดยมีเมืองสำคัญคือ เมืองเชียงแสน เชียงราย และพะเยา

    แล้วตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งสามารถขยายอาณาเขตครอบคลุมไปทางใต้ ของแหลมทอง ถึงเมืองนครศรีธรรมราช

    ชนชาวสยาม ได้เริ่มปรากฏความสำคัญในประวัติศาสตร์ เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในจารึกของชาวจาม ที่ปราสาทโพนคร เมืองญาตรัง ประเทศเวียดนาม ได้กล่าวถึง ทาสหรือเชลยศึกชาวสยาม ร่วมกับชาวจีน ญวน ขอมและพม่า ในเหตุการณ์สงครามของชาวจาม

    ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ได้ปรากฏในภาพสลัก ที่ระเบียงผนังทิศใต้ ของปราสาทนครวัด เป็นกลุ่มภาพนักรบ ที่แต่งตัวแปลกประหลาด กว่าทหารขอม
    มีแม่ทัพนั่งบนหลังช้าง และมีจารึกสั้น ๆ ว่า “สยม กก” หมายความว่า นักรบแห่งสยาม (สันนิษฐานว่า เป็นชาวสยาม จากลุ่มแม่น้ำกก ใกล้เชียงแสน หรือจากสุพรรณบุรี)

    คำว่า “สยาม” นั้น น่าจะมาจากคำภาษาจีนที่เรียกแคว้นสุวรรณภูมิว่า “เสียน”
    หรือ “เสียม”

    เชื่อว่า มีศูนย์กลางอยฅู่ที่เมืองสุพรรณบุรี โดยผู้ครองนครนั้น มีเชื้อสายทางสุโขทัย จีนเรียกกลุ่มชน ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ว่า “เสียมก๊ก” และเรียกเจ้าผู้ครองแผ่นดินนั้นว่า “เสียนข่านหมู่ตึง” นอกจากนั้น ยังเรียกแคว้นละโว้ว่า “หลอหู”

    ครั้นเมื่อ แคว้นละโว้ และดินแดนสุวรรณภูมิ ได้รวมกัน ด้วยความสัมพันธ์
    การแต่งงาน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดังกล่าวมาแล้ว โดยมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา สถาปนาเป็นราชธานี ของอาณาจักรสยามขึ้น ในเอกสารจีน เรียกอาณาจักรทั้งสอง ที่รวมกันนี้ว่า “เสียนหลอหู”

    สมัยต่อมา ได้มีการเรียกชื่ออาณาจักรนี้ เป็นสำเนียงจีนกลางว่า “เสียนโหล” และสำเนียงจีนแต้จิ๋วว่า “เสียมล้อ”

    เรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรสยาม ที่อยู่ในเอกสารราชการจีนนั้น ขุนเจนจีนอักษร ได้แปลเป็นภาษาไทย และ พิมพ์ไว้ ในชุดประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔
    ในหนังสือ หวงเฉียวบุ๋นเหียนทงเค้า เล่มที่ ๓๔ หน้า ๔๐–๔๑

    ซึ่งเป็นหนังสือหลวง เรียบเรียงในสมัยราชวงศ์ไต้เชง เมื่อครั้งแผ่นดินเขียนหลงปีที่ ๔๒ เตงอีว (ตรงกับปีระกา จ.ศ ๑๑๓๙ พ.ศ.๒๓๒๐ ) สมัยกรุงธนบุรี ได้ สรุปไว้ว่า

    “เสียมหลอก๊ก (กรุงศรีอยุธยา) อยู่ฝ่ายทิศตะวันออกเมืองก้วงหลำ เฉียงหัวนอน(เฉียงใต้) เมืองกั้งพู้จ้าย (กัมพูชา) ครั้งโบราณมีสองก๊ก เสี้ยม (สยามคือสุโขทัย) ก๊กหนึ่ง หลอฮก (ละโว้) ก๊กหนึ่ง

    อาณาเขต พันลี้เศษ (๓๖๐ก้าวเท้า เรียกว่า ลี้) ปลายแดนมีภูเขาล้อมตลอ แผ่นดินเปียกแฉะ ชาวชน ต้องอยู่เรือนหอสูง หลังคามุงด้วยไม้หมาก เอาหวายผูก ที่มุงด้วยกระเบื้องก็มี

    ประชาชนนับถือเซกก่า (พุทธศาสนา) หากชาวชนถึงแก่ความตาย ก็เอาน้ำปรอทกรอกปาก แล้วจึงเอาไปฝังศพ ถ้าเป็นคนจน เอาศพไปทิ้งไว้ ที่ฝั่งทะเล
    ในทันใด ก็มีกาหมู่หนึ่งมาจิกกิน


    สิ่งของที่มีในประเทศ คืออำพันทองที่หอม ไม้หอมสีทอง ไม้หอมสีเงิน ไม้ฝาง ไม้แก่นดำ งาช้าง หอระดาน กระวาน พริกไทย ผลไม้ ทองคำ และหินสีต่าง ๆ ตะกั่ว แรด ช้าง นกยูง นกแก้วห้าสี เต่าหกขา ไม้ไผ่ ทับทิม แตง ฟัก”

    (จาก ประชุมพงศาวดารเล่ม ๔ องค์การค้าของคุรุสภา พ.ศ.๒๕๐๖ หน้า ๔๒–๕๐)

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

    “อันดินแดนสยามประเทศนี้ เดิมเป็นภูมิลำเนา ของพวกชาวละว้า หรือลัวะ อาณาเขตด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศเขมร และทิศตะวันตก จรดรามัญประเทศ ด้วยเหตุที่ชาวละว้า ไม่มีความเจริญและสามารถเท่าใดนัก จึงตกเป็นประเทศราชของขอม และชาติอื่น เป็นครั้งคราว”

    (ข้อมูลจาก หนังสือสยามในอดีต และหนังสือศิลปวัฒนธรรม ตุลาคม ๒๕๔๒ หน้า ๑๖)

    [​IMG]

    [MUSIC]http://www.oknation.net/blog/home/video_data/425/2425/video/11585/11585.mp3[/MUSIC]
     
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ยุคสุวรรณภูมิ ของชุมชนเมืองท่า ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่โคกพลับ

    ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2554


    เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเรื่องไหนแง่ใดก็ตาม ไม่ได้เป็นสิ่งที่หาข้อยุติ หรือสรุปได้ โดยปราศการเพิ่มเติมข้อมูล หรือการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ เรื่องของสุวรรณภูมิ ที่ยังต้องสืบค้นร่องรอย เพื่อเติม ชิ้นส่วนจิ๊กซอว์แผ่นดินทองแห่งนี้ ให้เข้าใกล้ สภาพความจริงของยุคนั้น ให้มากขึ้น

    ซึ่งจังหวัดนครปฐม และราชบุรี คือส่วนหนึ่ง ของร่องรอยหลักฐาน ความเชื่อมโยงเกี่ยวข้อง ของดินแดน และผู้คนสุวรรณภูมิ ทั้งในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน และในอุษาคเนย์

    มีสถานที่อยู่แห่งหนึ่ง เป็นแหล่งทางโบราณคดี ที่อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนัก แต่สำหรับ ในแง่ของความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ต้องบอกว่า น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับความเป็นยุคมั่งคั่งแห่งสุวรรณภูมิ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่หลายคน อาจไม่เคยสนใจ หรือลืมไปแล้ว

    โคกพลับ คือชื่อของสถานที่ดังกล่าว อันเป็น เนิน หรือ โคก ในพื้นที่ท้องทุ่ง และบ่อปลาของ ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นแหล่งโบราณคดี ที่เป็นผลจากการขุดพบโดยบังเอิญ ขณะกรมชลประทาน ทำการขุดคลองส่งน้ำ ผ่านกลางเนินโคกพลับ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2520

    หลังจากนั้น กรมศิลปากร จึงเข้าทำการสำรวจ และขุดค้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 – 2521 จากรายงานการขุดค้น พบโครงกระดูกรวม 48 โครง มีสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับมีค่า ที่แสดงฐานะ ความเป็นบุคคลชั้นสูง หรือชนชั้นนำของกลุ่ม

    เช่น กำไลรูปคล้ายดาว 6 แฉก ทั้งแบบที่ทำจาก กระดองตะพาบ หรือเต่า และแบบที่ทำด้วย หินสี คล้ายหินควอทไซท์ สวมติดอยู่บนข้อมือ ต่างหู ทำจาก หินเซอร์เพนไทม์ และคาร์เนเลียน เป็นต้น

    และยังมีเศษซากสัตว์ทะเล ที่แสดงถึง การใช้ทรัพยากรจากทะเลของชุมชน ในการดำรงชีวิตด้วย

    ผลการขุดค้น ได้สรุปว่า โคกพลับ เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ของชุมชนโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อราว 2,000 – 3,000 ปี มาแล้ว และนับเป็นชุมชน สมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งเดียว และแห่งแรก ที่พบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มต่ำ ใกล้ชายฝั่งทะเล

    โดยมีลักษณะเป็นโคกหรือเนิน อยู่ทางตอนล่าง ระหว่างลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำแม่กลอง เป็นชุมชนติดชายฝั่งทะเล หรือชวากทะเล มีทะเลโคลนล้อมรอบตัวเนิน หรือลักษณะคล้ายเกาะ เนื่องจาก ชายฝั่งเมื่อราว 3,000 ปีก่อน บางส่วน อยู่ลึกเข้ามาถึงจังหวัดราชบุรี

    เพราะการตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โคกพลับ จึงมีฐานะเป็นเมืองท่าสินค้า สำหรับส่งผ่านหรือแลกเปลี่ยนสินค้า รวมทั้ง ติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยเฉพาะ ชุมชนภายในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำท่าจีน ที่อยู่ลึกเข้ามาในแผ่นดินใหญ่ เช่น บ้านเก่า จังหวัด กาญจนบุรี บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และทางแถบลพบุรี เป็นต้น

    นอกจากนี้ จากหลักฐานหลายชิ้น ยังแสดงถึงการติดต่อ กับชุมชนภายนอก บริเวณชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น จีน เวียดนาม ฟิลิบปินส์ และพม่า อีกด้วย

    และผลจากการขุดค้นทางโบราณคดี รวมถึงการขุดพบเจอ โดยชาวบ้าน ในบริเวณรอบๆ นั้นอีกมาก ที่แสดงว่า โคกพลับแห่งนี้ เป็นชุมชนเมืองท่าที่สำคัญ ของยุคสุวรรณภูมิ ที่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างชุมชนอื่นๆ ร่วมยุค เป็นสถานที่แห่ง ร่องรอยชุมชนรากเหง้าบรรพชน แห่งยุคสุวรรณภูมิที่สำคัญ

    [​IMG]

    ด้านหน้าของภาพ คือคลองชลประทาน และด้านหลัง คือ สถานที่ซึ่งเคยทำการขุดค้นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ชุมชนยุคสุวรรณภูมิ ที่โคกพลับ (ถ่ายเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551)
     
  3. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ไม่มีกรุงเทพฯ ในแผนที่สุวรรณภูมิ ?

    ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ผู้คนเมื่อหลายพันปีก่อน ไม่เคยมีใครเหยียบแผ่นดินกรุงเทพฯ เพราะเวลานั้น พื้นที่บริเวณนี้ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล

    เมื่อราว 5,000 ปีก่อน ขอบอ่าวไทย กินพื้นที่ลึกเข้าไปไกล กว่าจุดที่ตั้งกรุงเทพฯ ราว 100 กิโลเมตร

    ต่อมา ตะกอนดินจากแม่น้ำ ได้ทับถม จนทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นแผ่นดิน เมื่อ 1,000 กว่าปี มานี้เอง

    ด้วยเหตุนี้ เมืองสำคัญในยุคสุวรรณภูมิ นอกจาก เมืองชายฝั่งทะเลภาคใต้แล้ว ยังมีเมืองที่อยู่ลึกเข้าไป ถึงสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม เมืองเหล่านี้ คือ เมืองชายทะเลในสมัยสุวรรณภูมินั่นเอง

    [​IMG]

    เมื่อราว 5,000 ปีก่อน ยังไม่มีกรุงเทพฯ

    [​IMG]

    กรุงเทพฯ กลายเป็นแผ่นดิน เมื่อ 1,000 กว่าปี มานี้เอง
     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    พุทธมณฑล เมื่อ 5,000 ปีก่อน เป็นทะเลโคลนของสุวรรณภูมิ

    5,000 ปีมาแล้ว พื้นที่กรุงเทพฯ ยังอยู่ใต้ทะเลโคลน แม้ถึงสมัยแรก ที่พุทธศาสนาจากชมพูทวีป แผ่เข้ามาถึงสุวรรณภูมิ ราว 2,000 ปีมาแล้ว (หลัง พ.ศ.500) กรุงเทพฯ ก็ยังเป็นทะเลโคลนตม กว้างใหญ่ไพศาล (ในหนังสือสุวรรณภูมิ ต้นกระแสประวัติศาสตร์ไทย มีรายละเอียดเรื่องนี้)

    และหลัง พ.ศ.500 บริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ยังเป็นทะเลโคลนตม ต่อมา โคลนตม ถมทับเป็นดอนขึ้น แล้วมีบ้านเมืองขึ้น

    ราวหลัง พ.ศ.1500 ปากน้ำเจ้าพระยาอ่าวไทย อยู่ตรงบางกะเจ้า (คุ้งกระเพาะหมู) ทุกวันนี้ มีแผนที่จากภาพดาวเทียม แสดงร่องรอยทะเลโคลนตม เมื่อ 5,000-3,000 ปี มาแล้ว ขอบทะเลเหนือสุด ถึงจังหวัดลพบุรี

    โดยพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บนที่ดอน ขอบทะเลโคลนตม เมื่อหลัง พ.ศ.1000 ขณะนั้น บริเวณศาลายา อ.พุทธมณฑล ยังเป็นทะเลโคลนตม ถมทับถึงกรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ฯ

    ซึ่งเคยมีทหารชุดพัฒนา ได้ขุดดิน บริเวณก่อสร้างมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ลึกลงไป 50 เมตร พบซากหอยกาบเดียว 8 ชนิด หอย 2 ฝา 16 ชนิด

    ต่อมา พระเทพปริยัติวิมล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรักษาการ แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และนายวัฒนา ตันเสถียร นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีวิทยา มาตรวจสอบ พบว่า ซากหอยมีอายุกว่า 5,000 ปี

    สันนิษฐานได้ว่า ในอดีต บริเวณนี้ น่าจะเคยเป็นท้องทะเลกว้างใหญ่มาก่อน

    พุทธมณฑล เมื่อ 5,000 ปี เป็นทะเลโคลนของสุวรรณภูมิ=
     
  5. Stormtrooper

    Stormtrooper สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบคุณครับ
    ได้ความรู้เยอะเลยครับ ^ ^"
     
  6. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    ขอบคุณครับ นานๆจะมี สาระดีๆมาซะที:cool:
     
  7. roongruang

    roongruang สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2006
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +16
    ได้สาระมีประโยชน์มากเลยครับ ขอบคุณครับ
     
  8. thanan

    thanan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,667
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +5,217
    เรื่องยาวมาก แต่ก็เป็นสาระเรื่องราวดี ๆ ครับ
     
  9. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="99%"><TBODY><TR><TD class=text_head>สภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลท่วมสูง ทะเล เคยท่วมภาคกลางจริงหรือ?
    <HR SIZE=1>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=text_normal border=0 cellSpacing=0 cellPadding=8 width="99%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top width="1%" align=center>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=left></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="1%" align=center>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=left></TD></TR><TR><TD vAlign=top width="1%" align=center>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=left>
    ประเด็นที่น้ำทะเลเคยท่วม ที่ราบลุ่มภาคกลาง ในสมัยทวารวดี แต่กลับกลายเป็นแผ่นดิน ในสมัยปัจจุบัน มักจะถูกแย้งว่า เกิดจากการทับถมของตะกอน ไม่ใช่เกิดจาก การที่ระดับน้ำทะเลลดลง

    เราคงต้องดูแผนที่โบราณประกอบ แผนที่ข้างล่างนี้มาจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ ราชฑูต ที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระนารายณ์มหาราช พศ. 2230

    จะเห็นว่า ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ 320 ปีก่อน อยู่แถวๆ อ.เมืองสมุทรปราการ

    ลองเทียบดู กับแผนที่ปากน้ำเจ้าพระยา ในสมัยปัจจุบัน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="1%" align=center>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=left>จะเห็นว่า 320 ปีผ่านไป แผ่นดินบริเวณปากแม่น้ำงอกออกมาได้ ไม่กี่กิโลเมตร

    ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ทะเลโบราณ ในสมัยทวารวดีเมื่อพันปีก่อน จะถูกตะกอนทับถมจนเต็ม ในสมัยสุโขทัย ซึ่งห่างกันประมาณสามร้อยปี

    ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา พอๆ กัน กับจากอยุธยาตอนปลาย จนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ ตำแหน่งเมืองโบราณ ในสมัยทวารวดี จะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจุบัน ประมาณ 3-3.5 เมตร

    รวมทั้ง บางเมืองยังมีหลักฐาน การขุดคูคลองออกสู่ทะเล ในช่วงเวลาคาบเกี่ยว ที่น้ำทะเลเริ่มลด

    เป็นหลักฐานที่ควรสันนิษฐานว่า ระดับน้ำทะเลได้ลดลง ไม่ใช่เกิดจาก ทะเลตื้นเขิน จนกลายเป็นแผ่นดิน

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  10. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย

    [​IMG]

    ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทย เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน และมีการแทรกซ้อนของหินแกรนิต ตามช่องว่าง

    ต่อมา บริเวณรอยคดโค้งเหล่านั้น ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงกดดัน ทำให้ชิ้นหินบางส่วน กลายเป็นหินแกรนิต

    เขตทิวเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นภูเขา ที่ประกอบด้วยหินชั้นและหินแปร ที่เป็นแบบโครงสร้างคดโค้ง ซึ่งส่วนใหญ่ มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิก

    ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินทราย และชั้นหินดินดานของมหายุคพาลีโอโซอิก

    ส่วนบริเวณตามขอบตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ ของที่ราบสูงโคราช และทิวเขา ภาคตะวันออก จะมีชั้นหินที่มีโครงสร้างโค้งงอ ของมหายุคพาลีโอโซอิก

    บริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่ เป็นที่สะสมของชั้นตะกอน อายุอ่อน คือ ชั้นหินมหายุคซีโนโซอิค ซึ่งประกอบด้วย ชั้นตะกอนของยุคเทอร์เชียรี และตอนบนของชั้นตะกอนเหล่านี้ จะถูกปกคลุมทับถม ด้วยตะกอน กรวด หิน ของยุคควอเตอร์นารี

    ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย

    ถ้าพิจารณาจากแผนที่ แสดงลักษณะภูมิประเทศของไทย จะเห็นว่า ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขต ดังนี้คือ

    1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้ มีลักษณะเป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา มีความสูงชัน จากบริเวณ ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำลงมา สู่ที่ราบต่ำ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ และตอนกลาง

    แล้วค่อย ๆ สูงขึ้นอีก ทางบริเวณตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือในเขต จ.น่าน คือ แถบเทือกเขา หลวงพระบาง บริเวณที่สูงเหล่านี้ นับเป็นแหล่งกำเนิด ของแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านใต้และ ลงสู่ลุ่มน้ำสาละวิน ทาง ตะวันตก

    หุบเขาและแอ่งแผ่นดิน ที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่าน จะเกิดที่ราบดินตะกอน ที่แม่น้ำไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐาน ทำให้ กลายเป็นแหล่งชุมชนสำคัญ ของภาค

    2.เขตที่ราบภาคกลาง ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลาง และตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา และสาขาที่ไหลมาจากที่สูง โดยรอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทย ที่อยู่ตอนใต้ของภาค

    ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอน ที่หนาและกว้างขวางมากที่สุด ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ ยังมีที่ราบลูกฟูก และภูเขาโดด เหลืออยู่ โดยเฉพาะ อาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่ง หรือที่เคยเป็นเกาะมาก่อน

    สันนิษฐานว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบภาคกลางในอดีต เคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล ต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ประกอบกับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้ง การกระทำของแม่น้ำหลายสาย ซึ่งมีทั้งการกัดเซาะ สึกกร่อน และทับถมพอกพูน จึงทำให้ บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ของประเทศ

    3.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก ลักษณะของภูมิประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขา เหมือนทางภาคเหนือ และที่ราบไม่กว้างขวาง เหมือนภาคกลาง

    ภูมิประเทศของเขตนี้ ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่อง มาจากทิวเขาทางภาคเหนือ ลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขา สลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขา จากบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ มายังตะวันออกเฉียงใต้

    4.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศ จะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขา และที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และมีที่ราบชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ ลงสู่อ่าวไทย

    ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่ง และเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ และหาดทรายสวยงาม

    5.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะแยกจากภาคเหนือ และภาคกลางอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะ การยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตก และด้านใต้ ทำให้เกิดขอบสูงชัน ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ด้านตะวันตก

    ส่วนทางด้านใต้ ก็เป็นขอบสูงชัน ตามแนวทิวเขาสันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้ มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน

    ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพาน ทอด โค้งยาว ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพาน ไปทางเหนือ มีแอ่งทรุดต่ำของแผ่นดิน เรียกว่า แอ่งสกลนคร

    ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่ง ได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น

    พื้นที่ราบสูง จะยกตัวสูง ทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียง ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ลงสู่แม่น้ำโขง

    แม่น้ำสำคัญ ที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก

    6.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้ มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทย ทางด้านตะวันออก และ ทะเลอันดามัน ทางด้านตะวันตก ประกอบด้วย ทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทร และที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ลาดลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน

    โดยที่ราบด้านชายฝั่งตะวันออก กว้างขวางกว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบ และยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก เป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้าๆ แหว่งๆ มีเกาะใหญ่น้อย เป็นจำนวนมาก

    [​IMG]
     
  11. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,962
    พี่ครับ มีตำนาน อุษานาคี ตอนที่พระพุทธองค์มาโปรดแล้วพวกอุษานาคีขอบวชแต่พระพุทธองค์ไม่ให้บวชเพราะอะไรสักอย่าง แต่ที่สงใสคือ มันชนกับตำนานเดียวกัน กับตอน ที่ นาคที่เป็นงูมาขอบวชกับพระพุทธองค์เหมือนกัน
     
  12. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    ประเพณีของ "นาค" อุษาคเนย์ ที่ไม่มีในอินเดีย-ลังกา

    นาค เป็นคำใช้เรียกคนผู้ชายที่จะขออุปสมบท คือบวชเป็นพระภิกษุ


    แต่ไม่เคยพบหลักฐานว่า ถ้าคนผู้หญิงขออุปสมบทเป็นภิกษุณี จะมีคำเรียกว่าอะไร?

    จะเรียกนาคีไหม?

    ประเพณีไทยแต่โบราณนานมาแล้ว ไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่า บวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกบวชนาคให้เป็นพระ

    ในพระวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่องบวชนาค (ให้เป็นพระ) ฉะนั้น พิธีบวชนาค จึงไม่มีในชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) แต่เป็นประเพณีพื้นเมือง ของภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะ บริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นพม่า มอญ เขมร ลาว และไทย

    ปัจจุบัน ที่ลังกามีการบวชนาค แต่เขาอธิบายไม่ได้ว่าคืออะไร? มาจากไหน?

    ชี้ให้เห็นว่า พิธีบวชนาคในลังกา รับไปจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระอุบาลี จากวัดธรรมาราม อยุธยา รับนิมนต์ไปประดิษฐาน "สยามวงศ์" ที่ลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๕

    แต่ครั้นไต่ถามความจริง จากผู้คนในอุษาคเนย์แท้ๆ ก็อธิบายไม่ได้ ว่าพิธีบวชนาคคืออะไร? มาจากไหน?


    แล้วพากันโยนกลับไปที่อินเดีย ตามความเคยชินที่ว่า "คิดอะไรไม่ออก บอกว่ามาจากอินเดียไว้ก่อน" ทั้งๆ ที่ในอินเดีย ไม่เคยมีการบวชนาค

    [​IMG]


    อ้างอิงจาก นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ 1 กันยายน 2546 (ปีที่ 24 ฉบับที่ 11)


     

แชร์หน้านี้

Loading...