รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 12 เวมานิกเปรต

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 9 เมษายน 2008.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,049
    ต่อจากนี้ไปผมจะขอรวมรวบร่วมเรื่องเกี่ยวพระปัจเจกพระพุทธเจ้าและองนิสงค์เกี่ยวกับการทำการบุญกับพระปัจเจกและเพื่อรวบรวมเป็นความรู้ต่อไป




    <O:p</O:p
    [​IMG]




    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">รักข้ามภพ ( สุตตเปตวัตถุ ) </TD></TR></TBODY></TABLE>​





    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2><TABLE class=contenttoc cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TH></TH></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    หน้า 1 จาก 2

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 301


    สุตตเปตวัตถุ
    ว่าด้วยเปรตอยากกลับไปมนุษยโลก
    หญิงคนหนึ่งไปอยู่กับเวมานิกเปรตตลอด ๗๐๐ ปี เกิดความเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะเวมานิกเปรตนั้นว่า
    [๑๐๘] เมื่อก่อน ฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งเข้าไปขอถึงเรือนของฉัน วิบากแห่งการถวายด้ายนั้น ฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิบังเกิดแก่ฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้น่ารินรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพต่าง ๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตรเทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมายก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งธรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้วจักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.
    เวมานิกเปรตนั้นกล่าวว่าท่านมาอยู่ในวิมานนี้ว่า ๗๐๐ ปี เป็นคนแก่เฒ่าแล้ว จักไปอยู่ในมนุษยโลกทำไม อนึ่ง

    ญาติของท่านตายไปหมดแล้ว ท่านไปจากเทวโลกนี้สู่มนุษยโลกนั้นแล้ว จักกระทำอย่างไร.
    หญิงนั้นกล่าวว่าเมื่อฉันมาอยู่ในวิมานนี้ ๗ ปี ได้เสวยทิพยสมบัติและความอิ่มหนำแล้ว ฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์แล้ว จักทำบุญให้มาขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันไปส่งถิ่นมนุษย์เถิด.เวมานิกเปรตนั้น จับหญิงนั้นที่แขน นำกลับไปสู่บ้านที่นางเกิด แล้วพูดกะหญิงนั้นซึ่งกลับเป็นคนแก่ มีกำลังน้อยที่สุดว่า ท่านพึงบอกชนแม้อื่นที่มาสู่ที่นี่ว่า ท่านทั้งหลายจงทำบุญเถิด ท่านทั้งหลายจะได้รับความสุข เราได้เห็นเปรตทั้งหลาย ผู้ไม่ได้ทำความดีไว้เดือดร้อนอยู่ ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ก็หมู่สัตว์คือเทวดาและมนุษย์กระทำกรรมอันมีสุขเป็นวิบากแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในความสุข.




    เรื่องสุตตเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ ปุเร ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน ดังนี้. อุปบัติเหตุของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร. ได้ยินว่า ใน
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
    หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี เมื่อพระศาสดา ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นนั้นแล นับขึ้นไป ๗๐๐ ปี ยังมีเด็กคนหนึ่ง อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. เมื่อเธอเจริญวัยแล้ว มารดาของเธอจึงไปขอนางกุลธิดาคนหนึ่ง มาจากตระกูลที่เสมอกัน เพื่อประโยชน์แก่บุตรนั้น. ก็ในวันวิวาหะนั้นเอง กุมารนั้น ไปอาบน้ำกับพวกสหาย ถูกงูกัดตายไป. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถูกยักษ์จับก็มี. เธอกระทำกุศลกรรมไว้เป็นอันมาก ด้วยการอุปัฎฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า บังเกิดเป็นวิมานเปรต เพราะค่าที่ตนมีจิตปฏิพัทธ์ในเด็กหญิงนั้น. แต่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก.
    ลำดับนั้น เธอปรารถนาจะนำนางทาริกานั้นมายังวิมานของตน จึงคิดว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ นางจึงจะอภิรมย์ในที่นี้
    กับเรา ให้เป็นกรรมที่จะต้องอำนวยผลในปัจจุบัน จึงพิจารณาถึงเหตุที่ให้ได้เสวยโภคสมบัติอันเป็นทิพย์นั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า กำลังทำจีวรกรรมอยู่ จึงแปลงรูปเป็นคน ไปไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านต้องการด้ายหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า ตอบว่า เราจะทำจีวรกรรมอุบาสก. เวมานิกเปรตนั้นจึงกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงเที่ยวขอด้าย ในที่ชื่อโน้น ดังนี้แล้ว
    ได้ชี้เรือนของนางทาริกานั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ไปในที่นั้นได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ลำดับนั้น นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ยืนอยู่ ในที่นั้น มีจิตเลื่อมใส รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของเรามีความต้องการด้าย จึงได้ให้ด้ายกลุ่มหนึ่ง. ลำดับนั้น อมนุษย์นั้น ได้แปลง
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
    เพศเป็นมนุษย์ ไปยังเรือนของนางทาริกา อ้อนวอนมารดาของนางแล้ว อยู่กับนาง ๒-๓ วัน เพื่อจะอนุเคราะห์มารดาของนาง จึงทำภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ให้เต็มด้วยเงินและทอง แล้วเขียนชื่อไว้ข้างบนภาชนะทั้งหมดนั้น มีอันให้รู้ว่านี้เป็นทรัพย์ที่เทวดาให้ใคร ไม่ควรเอาไป ดังนี้ จึงได้พาเด็กหญิงนั้นไปยังวิมานตน. มารดาของนางได้ทรัพย์เป็นอันมาก ได้ให้แก่พวกญาติของตน แก่คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น ส่วนตนเองบริโภคแล้ว เมื่อจะทำกาละจึงแจ้งแก่ญาติทั้งหลายว่า ถ้าธิดาของเรามาไซร้ ท่านจงให้ทรัพย์นี้แล้วได้ตายไป.
    ครั้นกาลล่วงไป ๗๐๐ ปี แต่กาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมจักรอันบวรประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โดยลำดับ เมื่อหญิงนั้นอยู่ร่วมกับอมนุษย์นั้น ความรำคาญก็เกิดขึ้น. นางเมื่อจะกล่าวกะอมนุษย์นั้นว่า ดีละ พระลูกเจ้า ขอท่านจงนำดิฉันกลับไปสู่เรือนของตนเถิด ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
    เมื่อก่อนฉันได้ถวายด้ายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งได้เข้าไปขอถึงเรือนของดิฉัน วิบากของการถวายด้ายนั้น ดิฉันจึงได้เสวยผลอันไพบูลย์อย่างนี้ ประการหนึ่ง ผ้ามากมายหลายโกฏิ บังเถิดแก่ดิฉัน วิมานของฉันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ น่ารื่นรมย์ วิจิตรด้วยรูปภาพ
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
    ต่าง ๆ เพียบพร้อมไปด้วยเทพบุตร เทพธิดาผู้เป็นบริวาร ฉันเลือกใช้สอยนุ่งห่มตามชอบใจถึงเพียงนี้ สรรพวัตถุอันปลื้มใจมากมาย ก็ไม่หมดสิ้นไป ฉันได้รับความสุขความสำราญในวิมานนี้ เพราะอาศัยวิบากแห่งกรรมนั้น ฉันกลับไปสู่มนุษยโลกแล้ว จักทำบุญให้มากขึ้น ข้าแต่ลูกเจ้า ขอท่านจงนำฉันกลับไปสู่ถิ่นมนุษย์เถิด.

    บรรดาบทเหล่านั้น
    บทว่า ปพฺพชิตสฺส ภิกฺขุโน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ย่อมควรที่จะกล่าวได้ว่า เป็นบรรพชิตเพราะขับไล่ คือละพลังแห่งกามจากสันดานของตนโดยเด็ดขาด และควรกล่าวว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลส.
    บทว่า สุติตํ ได้แก่ด้ายอันสำเร็จด้วยฝ้าย.
    บทว่า อุปสงฺกมฺม ได้แก่ เข้ามายังเรือนของฉัน.
    บทว่า ยาจิตา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ขอด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา กล่าวคือ การประกอบด้วยกายวิญญัติ ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมยืนเจาะจง นี้เป็นการขอของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    บทว่า ตสฺส ได้แก่ ถวายด้ายนั้น.
    บทว่า วิปาโก วิปุลผลูปลพฺภติ ความว่า บัดนี้ได้ คือ เสวยผลอันไพบูลย์คือวิบากอันตั้งขึ้นอย่างใหญ่หลวง.
    บทว่า พหุกา แปลว่า มิใช่น้อย
    บทว่า วตฺถโกฏิโย ได้แก่ โกฏิแห่งผ้า อธิบายว่า ผ้าหลายแสนประเภท.


    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
    ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ อย่างมอบกายถวายชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระโคดมผู้เจริญทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วกลับ.
    โสณทัณฑพราหมณ์ทูลความประสงค์ของตน
    [๑๙๗] ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พราหมณ์โสณทัณฑะได้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ในนิเวศน์ของตนเสร็จแล้วให้คนไปกราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โสณทัณฑะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้. พราหมณ์โสณทัณฑะ ได้อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยว ของฉันอันประณีต ให้อิ่มหนำด้วยมือของตนเสร็จแล้ว.
    [๑๙๘] ครั้งนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำกว่า นั่ง พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์กำลังอยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน จะพึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระโคดมผู้เจริญ ชุมนุมชนนั้นจะพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ด้วยเหตุนั้นได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศพึงเสื่อมจากโภคสมบัติ เพราะได้ยศข้าพระองค์จึงมีโภคสมบัติ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์กำลังอยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน จะพึงประคองอัญชลี ขอพระโคดมผู้เจริญจงเข้าพระทัยว่า แทนการลุกจากอาสนะ ถ้าข้าพระองค์กำลังอยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน จะพึงเปลื้องผ้าโพกออก ขอพระโคดมผู้เจริญจงเข้าพระทัยว่าแทนการอภิวาทด้วยศีรษะ ถ้าข้าพระองค์กำลังไปในยาน จะพึงลงจากยานแล้วถวายอภิวาทพระโคดม ชุมนุมชนนั้นจะพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ด้วยเหตุนั้นได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นย่อมเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศพึงเสื่อมจากโภคสมบัติเพราะได้ยศ ข้าพระองค์จึงมีโภคสมบัติ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์จะพึงไปในยาน จะพึงยกปฏักขึ้น ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงเข้าพระทัยว่า แทนการลงจากยานของข้าพระองค์ ถ้าข้าพระองค์กำลังไปในยาน จะพึงลดร่มลง ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงเข้าพระทัยว่า แทนการอภิวาทด้วยศีรษะของข้าพระองค์ดังนี้.
    ลำดับนั้นพระมีพระภาคเจ้า ได้ทรงยังพราหมณ์โสณทัณฑะ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ดังนี้แล.
    จบโสณทัณฑสูตร ที่ ๔







    คาถาเงินล้าน<O:p</O:p



    ตั้ง นะโม ๓ จบ


    นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
    มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
    วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
    มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
    สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
    เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา

    <O:p</O:p

    (บูชา 30 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)

    พระราชพรหมยาน ( หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)<O:p</O:p




    วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี




    บทสวดคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือคาถาเงินล้าน
    นำสวดโดยหลวงพ่อและวิธีสวด
    รวมเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ตอนที่ 20 หลวงพ่อเล่าเรื่องประวัติคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า<








    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คาถาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือคาถาเงินล้าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...