สวนดาดฟ้า บทเรียนก่อนการออกสู่เศรษฐกิจพอเพียง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 เมษายน 2010.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้คุยกับน้องคนหนึ่ง ว่า จากบ้านผม เดินไป 1 ก.ม. หาผักต้นไม้ที่กินได้ ไม่ได้อีกแล้ว

    เมืองรุ่นใหม่ มีแต่ไม้สวยงามแต่ ไร้ความอุดมสมบูรณ์ ทุกอย่างเป็นเงิน ต้องซื้อต้องจ่ายทั้งหมด แม้กระทั่งน้ำดื่ม ที่ไม่มีการให้

    น้ำดื่ม นั้นหมดไป พร้อมกับน้ำใจที่เหือดแห้ง

    เลยมานึกดูว่าเราเอง ลืมเลือนหรือทิ้งบางสิ่งบางอย่างไปไหม

    บางสิ่งเป็นข้ออ้าง ข้อแก้ตัว ที่ขอไปที

    เราทำอะไรให้โลกให้ส่วนรวมได้มากกว่าที่เราคิด ขอให้ลงมือทำกันครับ

    ลองทำสวนผักดาดฟ้ากันดีไหม

    ลดความร้อนให้บ้าน ประหยัดไฟประหยัดค่าแอร์ ลงไป

    ลดค่าใช้จ่ายที่เราต้องซื้อ ผัก พริก เล็กๆน้อยๆ และเรายังปลูกเป็นผักปลอดสารเคมีได้ด้วย ดีต่อสุขภาพอีก

    ช่วยสร้างออกซิเจนให้บ้านให้โลกใบนี้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดแสงสะท้อน ลดฝุ่น ลดความร้อน ลดมลภาวะให้เมืองที่เรา อยู่

    เป็นการเริ่มต้นสู่เศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวเมือง ง่ายๆในการน้อมนำพระราชดำรัสในหลวงท่านมาปฏิบัติ

    และยามเกิดภัยพิบัติก็ยังพอมีอะไรกิน แถมเรายังเรียนรู้ในการเพาะปลูก การพึ่งพาตนเอง ซึ่งต่อไปความรู้นี้จะมีคุณค่ามหาศาล

    พอฟังประโยชน์แล้ว มาลองดูกันเลยดีกว่า

    เริ่มจากพื้นที่ว่างๆ ร้อนเปรี้ยงที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร บนดาดฟ้า

    [​IMG]

    มาเป็นแบบนี้ดีไหม


    [​IMG]

    หรือ แบบนี้ดี

    [​IMG]

    ดูร่มเย็นสบายขึ้นเยอะ แต่ มันกินไม่ได้นี่นา

    [​IMG]

    แบบนี้ไม่สวยมากนัก แต่กินได้ ใช้งบน้อย เผลอๆสร้างรายได้ให้เราได้อีก

    กินเอง

    เหลือแจกแบ่งปัน

    จากนั้นขาย ได้ค่าขนมให้ลูกๆ หรือเป็นเงินออมให้เขา

    [​IMG]

    หรือเริ่มขยายเป็นไฮโดรฟอร์นิคค์ ปลูกพืชไร้ดิน

    [​IMG]

    ลองหาข้อมูลก่อน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หากเอาประเพณีการลงแขกมาช่วยกันเวียนไปทีละบ้านด้วยก็กลายเป็น งานสนุกๆเบาๆไป

    [​IMG]
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    อีกแนวคิดหนึ่งคือการ ปลูกเป็นไม้กระถาง แต่จัดเรียงให้สวยงาม เน้นทั้งที่ปลูกกินและที่มีดอกบ้าง ไม้หอมบ้าง

    [​IMG]
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    อย่างในรูปมีการวางระบบน้ำด้วย หมุนก๊อกน้ำอย่างเดียว[​IMG]
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ลองคิดดูว่า ซัก 10 เปอร์เซนต์ของตึกแถว ในเมือง ช่วยกันทำ จะเกิดความร่มรื่นอีกมากไหม อากาศดีขึ้นไหม

    ลดค่าไฟฟ้า ลดความร้อนในบ้านเราเองได้อีกมากไหม
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    นี่เล่นปลูกมันบนดาดฟ้าตึก เกิดภัยพิบัติก็พอมีอะไรกิน รอดได้เหมือนกัน

    ในรูปกำลังแบ่งปันให้กันด้วยเมตตา ต้องอร่อยมากๆเลย


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2010
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    [​IMG]

    แบบจัดสวนใส่ถุง
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พระราชดำรัส
    พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
    พระราชทาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540
    "...ความ จริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
    อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเองสำหรับครอบครัว อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไรไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
    อย่างนี้นักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย จริง อาจจะล้าสมัย เพราะว่าคนอื่นเขาก็ต้องการมีเศรษฐกิจที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียกว่าเป็น เศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง รู้สึกไม่หรูหรา แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าการผลิตที่พอเพียงทำได้...
    ...รู้ว่าท่านทั้งหลายกำลังกลุ้มใจในวิกฤตการณ์ ตั้งแต่คนที่มีเงินน้อยจนกระทั่งคนที่มีเงินมาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนกลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่ต้องทั้งหมด แม้จะไม่ถึงครึ่ง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถที่จะอยู่ได้ การแก้ไขต้องใช้เวลาไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนใจร้อนเพราะเดือดร้อนแต่ว่า ถ้าทำต้องทำเดี๋ยวนี้ก็จะสามารถที่จะแก้ไขได้...
    ...นี่เป็นเรื่องของการแก้ไขวิกฤตการณ์ แต่ว่าผู้ที่ชอบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่อาจจะไม่ค่อยพอใจ มันต้องถอยหลังเข้าคลอง มันจะต้องอยู่อย่างระมัดระวังและต้องกลับไปทำกิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อน นัก คือใช้เครื่องมือที่ไม่หรูหรา อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องถอยหลัง เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป และถ้าไม่ทำอย่างที่ว่าก็จะแก้วิกฤตการณ์นี้ยาก..."
    การปลูกผักสวนครัวใน กรณีไม่มีที่ดิน..สวนครัวลอยฟ้า..สวนครัวดาดฟ้า
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    การปลูกผักสวนครัวใน ทาวน์เฮ้าส์..สวนครัวรอยฟ้า..สวนครัวกำแพง
    การปลูกผักสวนครัวใน บ้านเดี่ยว..มีทางเลือกหลากหลายแบบ
    การปลูกผักสวนครัวใน พื้นที่ทิ้งร้าง..ผักเทวดาเลี้ยง..ผักริมรั้ว
    จาก ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย
    สวนผักรักษ์ไทย - Windows Live
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ปลูกพืชสวน ครัวปลูกง่ายถ้ารู้เคล็ดลับ
    ...ปลูกผักสวน ครัว 24 ชนิด
    กะเพรา
    ต้นกะเพราจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ย อายุยืนนาน ความสูงพุ่มประมาณ 75 เซนติเมตร ลำต้นและใบมีขนเล็กน้อย ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด และปลูกได้ในทุกฤดูกาล แต่ควรเริ่มปลูกในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นกะเพรางอกงามได้ดีที่สุด ชอบดินร่วนซุย เช่นเดียวกับพืชผักชนิดอื่นๆ พันธ์กะเพราที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 พันธ์คือ กะเพราแดง และ กะเพราขาว ซึ่งมีข้อแตกต่างกันสีของลำต้นและก้านใบ กะเพราแดงนั้นสีของลำต้นและก้านใบจะเป็นสีม่วงแดงคล้ายกับใบโหระพา ส่วนกะเพราขาวนั้นสีของลำต้นและก้านใบจะเป็นสีเขียวอ่อนคล้ายกับแมงลัก การปลูกควรกะระยะให้ต้นห่างกันประมาณ 1 ฟุต
    กะหล่ำปลี
    การปลูกกะหล่ำปลีเป็นผักสวนครัว จะเพาะกล้าลงกระถางหรือลังต่างๆ ก็ได้โดยหว่านเมล็ดพันธ์ลงในแปลงให้กระจาย และหว่านดินผสมปุ๋ยคอกกลบหน้าบางๆ เสร็จแล้วใช้ฟางหรือหญ้าคาแห้งคลุมปิดบนแปลงอีกทีหนึ่ง รดน้ำให้ชุ่ม ในช่วงระยะเมล็ดเริ่มงอกควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้เมล็ดไม่งอกเมื่อกล้าอายุถึง 3-4 สัปดาห์ จึงย้ายไปปลูกในแปลงปลูก แปลงที่จะปลูกขุดดินให้ลึก 30 เซนติเมตร ตากดิน 7 แดด เมื่อดินแห้งดีแล้วเก็บวัชพื้ชออกให้หมด ย่อยดินให้ร่วนซุย ผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เตรียมหลุมสำหรับปลูกต้นกล้าระยะห่างระหว่างต้น 40-70 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60-70 เซนติเมตรหลังจากย้ายต้นกล้าแล้วในวันรุ่งขึ้นควรทำร่มบังแดดให้ 3-4 วัน ( กะหล่ำปลีเป็นพืชไม่กินอาหารเปลือง
    กะหล่ำดอก
    กะหล่ำดอกเป็นผักที่ทรงพุ่มใหญ่ การปลูกแต่ละต้นจึงต้องใช้ระยะที่ห่างพอสมควร ดังนั้นจึงควรเพาะกล้าก่อนย้ายลงในแปลงปลูกจริง เพื่อที่จะได้ประหยัดเมล็ดพันธ์ ประหยัดปุ๋ย และมีเวลาในการดูแลในช่วงที่อย่ในระยะต้นกล้า แปลงเพาะมีขนาด 5-10 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธ์ 100-150 กรัม หลังจากที่กล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเมื่อต้นสูงประมาณ 1 คืบ ก็ถอนย้ายปลูกลงแปลงได้ การถอนกล้าที่จะปลูกต้องถอนไว้ในตอนเช้าก่อนแดดจัด แล้วนำลงเข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุมไว้ในที่ร่ม หรือหากมีแรงงานมากเมื่อถอนแล้วนำปลูกเลยในตอนเย็น ( ไม่ควรเก็บค้างคืน ) วิธีปลูกใช้นิ้วขุดดินตรงจุดที่จะปลูกปักต้นกล้าลงไป กดดินที่โคนต้นให้พออยู่อย่าให้แน่นเกินไป ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จแล้วเอาฟางคุมบางๆ เพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น ระยะตั้งตัวไม่ต้องให้น้ำมากเพื่อป้องกันรากเน่า และเชื่อรา
    คะน้า
    ขั้นตอนการเตรียมดินสำหรับปลูกเริ่มจากขุดดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ที่ไม่ต้องขุดลึกมากเนื่องจากระบบรากของคะน้าไม่ลึกมาก ขุดพลิกดินตากแดดไว้ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนเป็นก้อนเล็กๆ การปลูกคะน้าใช้วิธีหว่านเมล็ดลงในแปลงได้เลย โดยวิธีการหว่านเมล็ดแบ่งออกเป็นสองวิธีคือ การหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งแปลงและวิธีโรยเมล็ดแบบเรีนงแถว ซึ่งการเลือกปลูกวิธีใดขึ้นอยู่กับความสะดวกและความถนัด การใส่ปุ๋ยนั้นเนื่องจากคะน้าเป็นผักกินใบ จึงควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเช่น ปุ๋ย 20-11-11 หรือ 12-8-8 การใส่ปุ๋ยให้ใส่ประมาณ 2-3 ครั้งคือ ครั้งแรกเป็นการใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ครั้งที่สองและครั้งที่สามเป็นการใส่เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 20-30 วัน การพรวนดินและกำจัดวัชพืชนั้นควรทำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเมื่อคะน้ายังเป็น ต้นอ่อนๆ นับว่ามีความจำเป็นอย่างมาก การรดน้ำต้องรดทั้งเช้าและเย็น เนื่องจากคะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอจึงจะเจริญเติบโตได้ดี เพราะถ้าขาดน้ำแล้วคะน้าจะชะงักการเจริญเติบโต ในการปลูกแต่ละครั้งจะเก็บคะน้าบริโภคได้ 3 ครั้ง โดยในครั้งแรกจะเก็บได้เมื่อปลูกไปได้ 20 วัน หรือเมื่อต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ครั้งที่สองเมื่อคะน้าอายุได้ 30 วัน นับเป็นการถอนแยกครั้งที่สอง และที่สามเป็นการตัดต้นคะน้าเมื่ออายุได้ 45-55 วัน
    ขึ้นฉ่าย
    ขึ้นฉ่ายชอบขึ้นในดินร่วนเบา หรือดินปนทรายนับเป็นผักที่มีอายุสั้นพอๆ กับผักกาดหอม ยิ่งถ้าได้ดินดีก็จะเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ขึ้นฉ่ายที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 ชนิดคือ พันธ์จีน ลักษณะก้านใบขนาดเล็ก ใบ 1 ใบมีใบย่อย 3-7 ใบ ลำต้นสั้น และอีกหนึ่งพันธ์คือ พันธ์ฝรั่ง วึ่งกาบใบจะอ้วนหนาก้านใบยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร รูปร่างและขนาดของใบใกล้เคียงกับพันธ์จีน วิธีปลูกใช้หว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูก หรือใช้เพาะในแปลงเพาะก่อนโดยผสมเมล็ดพันธ์กับทรายในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 แล้วหว่านลงในแปลงปลูก หลังจากนั้นต้องคลุมด้วยหญ้าหรือฟางแห้งหมั่นรดน้ำเช้าเย็นประมาณ 40-45 วัน เมื่อต้นแตกใบงอกขึ้นมาแข็งแรงดี จึงค่อยแยกต้นปลูกเป็นกอๆ กอละ 2-3 ต้น กะระยะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร หรือถอนต้นกล้าย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ กะให้มีระยะห่างประมาณ 25X50 เซนติเมตร ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกขึ้นฉ่ายคือ ปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว รดน้ำทั้งเช้าและเย็นให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าให้ถึงกับเฉอะแฉะเกินไปใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ช่วยบ้าง ทุกๆครั้งที่มีการพรวนดิน การเก็บเกี่ยวเมื่อมีใบสีเขียวให้เห็นพอสมควรก็เริ่มเก็บได้ หรือประมาณ 90 วันหลังการย้ายกล้ามาปลูก ซึ่งวิธีการเก็บจะใช้วิธีการถอนออกมาทั้งราก แต่ก่อนที่จะถอนควรรดน้ำให้ดินไม่แข็งเพื่อที่จะถอนได้ง่าย
    ตะไคร้
    พันธ์ที่จะใช้ปลูกเป็นพันธ์พื้นเมืองที่ปลูกต่อๆกันมา ดังนั้นเมื่อคิดที่จะเริ่มปลูกตะไคร้ก็หาซื้อได้จากตลาดสด ซึ่งมักจะมีต้นแก่ไว้ขายเพื่อนำไปปลูกด้วยหรือจะหาซื้อตะไคร้ที่มีขายไว้ บริโภคก็ใช้ปลูกได้เช่นกัน การเตรียมดินสำหรับปลูกตะไคร้ต้องขุดดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน โรยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ย่อยดินให้เล็กลงพรวนดินให้ดินร่วนและโปร่ง นำต้นตะไคร้มาตัดให้ยาวประมาณ 2 องคุลี หรือตะไคร้ที่ตัดใบเรียบร้อยแล้วนำไปปักในดินลึกประมาณ 4-5 เซนติเมตร หลุมละประมาณ 4 ต้น ระยะปลูกของตะไคร้มีระยะห่างระหว่างต้น 35 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 70 เซนติเมตร หลังจากปลูกแล้วพอต้นตะไคร้ตั้งตัวได้ประมาณ 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยข้างๆต้น แล้วกลบพรวนดิน ส่วนการรดน้ำระยะแรกให้รดน้ำช่วงเช่าและเย็น พอตะไคร้ตั้งตัวได้ดีแล้วรดน้ำครั้งเดียวตอนเย็น สำหรับการกำจัดวัชพืชนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากวัชพืชจะป็นตัวแย่งอาหาร ดังนั้นควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอด้วย เมื่อต้นเจริญเติบโตได้ขนาดตามต้องการแล้ว มีข้อควรจำเมื่อเวลาตัดตะไคร้ไปรับประทานนั้น ไม่ควรเห็นว่าตะไคร้ป็นพืชที่ขึ้นง่ายแล้วใช้วิธีดึงถอนโดนไม่คำนึงถึงต้น ที่ฝังอยู่ในกอ และความสวยงามของสวนครัว วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรใช้มีดตัดโคนต้นตะไคร้ให้เสมอระดับดิน เลือกตัดต้นที่เบียดกันออกให้เหลือต้นที่มีระยะห่างสม่ำเสมอกัน จำทำให้ได้ทั้งความสวยงามของกอตะไคร้ที่เหลืออยู่ และยังมีกอตะไคร้ให้ตัดออกไปรับประทานได้อีกนานทีเดียว
    แตงกวา
    การเตรียมดินเพื่อปลูกแตงกวาคือ ขุดดินให้ลึกประมาณ 20-25 เวนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด แต่ถ้าเป็นดินเหนียวหรือดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดิน การปลูกแตงกวาสามารถทำได้สองวิธีคือ ปลูกโดยไม่ค้างไว้ขุดหลุมให้ลึก 3 นิ้ว ระยะห่างระหว่างต้น1 - 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร หยอดเมล็ดลงหลุมๆละ 5 เมล็ด เมื่อเมล็ดงอกและมีใบจริง 2-3 ใบคัดเอาต้นที่แข็งแรง และมียอดไว้หลุมละ 2-3 ต้นแล้วปล่อยให้ต้นโตเลื้อยไปตามพื้นดิน ส่วนการปลูกโดยใช้ค้าง ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 1.5 เมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 5 เมล็ด เมื่อเมล็ดงอกใบจริง 2-3 ใบ ถอนต้นที่อ่อนแอออกให้เหลือต้นที่แข็งแรงไว้หลุมละ 2 ต้น ใช้ค้างยาวประมาณ 2 เมตร ปักเอียงเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อช่วยพยุงต้น การใช้ค้างยังทำให้ผู้ปลูกสามารถดูแลรักษาง่าย เก็บผลได้ง่าย รวมทั้งยังใช้พื้นที่น้อยกว่า และให้ผลผลิตมากกว่าด้วย ข้อควรจำคือ แตงกวาจัดเป็นพืชผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นน้ำจึงจำเป็นมากสำหรับแตงกวาเมื่อหยอดเมล็ดแล้วต้องรดน้ำตามทันที และในระยะเวลาที่เริ่มงอกต้องมีการดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จนกระทั่งแตงกวาเริ่มออกดอกจึงลดจากการให้น้ำลงเหลือ 2-3 วันครั้ง การให้น้ำที่เหมาะสมจะช่วยให้ผลผลิตสูงและผลจะสมบูรณ์ซึ่งแตงกวาที่ขาดน้ำจะ มีรสขมรับประทานไม่อร่อย ในการใส่ปุ๋ยนั้นมีการใส่ครั้งแรกในขั้นตอนการเตรียมดินและก่อนปลูกควรใส่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 รองก้นหลุมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบด้วยดินบางๆก่อนหยอดเมล็ด การใส่ปุ๋ยในครั้งต่อไปเมื่อแตงกวาอายุได้ 7-10 วัน หรือเมื่อมีใบจริง 2-3 ใบ และเมื่อทำการถอนแยกกล้าเสร็จแล้วใช้ปุ๋ยยูเรียโรยระหว่างแถวแตงกวาหรือรอบๆ หลุมห่างจากต้นประมาณ 1 คืบ ทั้งนี้เพื่อเร่งอัตราการเจริญเติบโตของต้น และขณะที่แตงกวาเริ่มออกดอกเมื่อปลูกไปแล้ว 20-30 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12 โรยระหว่างแถวเพื่อให้การติดผลของแตงกวาดีขึ้น หลังจากแตงกวาติดผลควรงดใส่ปุ๋ย เนื่องจากจะทำให้ออกดอก หรือผลร่วงได้ การเก็บแตงกวามาบริโภคเริ่มเก็บได้หลังจากปลูกแล้วประมาณ 30-40 วัน ขึ้นอยู่กับพันธ์แตงกวาที่ปลูก เทคนิคการเก็บแตงกวา ควรเลือกเก็บแตงกวาที่อ่อน โดยสังเกตุได้ว่ามีนวลสีขาวเกาะอยู่ ซึ่งทำให้ได้แตงกวาที่เนื้อแน่น กรอบและรสชาดอร่อย การเก็บควรทยอยเก็บวันเว้นวันไม่ควรปล่อยแตงกวาแก่คาต้น เพราะทำให้ระยะการเก็บผลผลิตสั้นกว่าปกติ ซึ่งถ้ามีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องผู้ปลูกจะสามารถเก็บผลผลิตแตงกวาได้นาน ถึง 1 เดือนทีเดียว
    ตำลึง
    ตำลึง ฟังดูก็ออกจะรู้สึกแปลกๆ ถ้าบอกว่าจะลุกขึ้นมาปลูกผักตำลึงรับประทานเอง ตำลึงเป็นพืชสวนครัว เนื่องจากเราจะเคยชินกับการที่เห็นตำลึงขึ้นเองตามข้างทางและการซื้อตำลึง เป็นกำๆจากตลาดสดราคาถูกมากดังนั้นการปลูกตำลึงจึงไม่เคยอยู่ในความคิด อย่างไรก็ตาม ตามเมืองใหญ่ๆ โอกาศที่จะเห็นตำลึงขึ้นอยู่สองข้างทางนั้นน้อยมาก และตำลึงที่ขึ้นเองนั้นจะไม่ขาวอวบสวยเหมือนรูป และน่าภูมใจในเวลาเก็บมารับประทานเหมือนตำลึงที่ปลูกเองรวมทั้งเรื่องที่ยัง คิดไม่ถึงคือ เรื่องความสะอาดและวางใจได้เมื่อรับประทาน เพราะเมื่อเก็บตำลึงที่ขึ้นเองมารับประทานจะเลือกเก็บที่ขึ้นอยู่สูงๆหน่อย เนื่องจากไม่ค่อยไว้ใจในเรื่องที่ว่าตำลึงนั้น ได้รับการรดด้วยปัสสาวะสุนัขหรือได้ปุ๋ยธรรมชาติจากสุนัขที่ผ่านไปมาหรือ ไม่ ตำลึงขยายพันธ์ได้ 2 วิธีคือ การเพาะเมล็ดและปลูกด้วยเถา ในการเพาะเมล็ดนั้นก็ทำเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดพืชทั่วๆไปวึ่งในครั้งแรก ที่จะเริ่มปลูกคงต้องหาต้นตำลึงข้างทาง ถ้าสังเกตุดีๆ จะเห็นลูกตำลึงแก่มีสีแดงอยู่ตามต้น นำมาแกะออกจะมีเมล็ดอยู่ด้านในนำมาเพาะเป็นต้นตำลึงได้ แต่วิธีนี้ใช้เวลาปลูกนานกว่าวิธีปลูกด้วยเถาและคงต้องคอยเวลาใหลูกตำลึงแก่ จัด และคงต้องแย่งกันกับนกแถวนั้นด้วยเพราะลูกตำลึงเป็นอาหารโปรดของนกด้วยเช่น กัน ส่วนการปลูกด้วนเถาเพียงแต่นำเถาตำลึงแก่มาตัดเป็นท่อนๆให้ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว แล้วนำไปชำไว้ในกะบะเพาะชำ หรือนำไปปลูกได้เลยถ้าจะให้ดีควรปลูกหน้าฝนตันตำลึงจะงอกได้รวดเร็วกว่าช่วง อื่นๆ ประมาณเดือนเดียวก็สามารถเก็บยอดตำลึงรับประทานได้ และก็จะเก็บได้ตลอดไปยิ่งเก็บมากเท่าใดยอดใหม่ยอดใหม่ก็ยิ่งแตกออกมากจนเก็บ ไม่ทันเลยทีเดียว ในส่วนของการบำรุงรักษาแทบไม่ต้องทำอะไรเลยเนื่องจากโดยทั่วไปเรามักเห็น ตำลึงขึ้นเองตามข้างทาง อาจมาจกมูลของนก ? เนื่องจากโดยสภาพธรรมชาติแล้วตำลึงเป็นพืชผักที่ค่อนข้างทนทาน และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เรียกว่าเกิดง่ายตายยาก ( ไม่ใช่แก่ง่ายตายยาก ) แต่ถ้าอยากให้ตำลึงงอกงามดี ถ้าจะทำการค้าก็สมควรเอาใจใส่ดูแล ลดน้ำ พรวนดิ และใส่ปุ๋ยคอกบ้างเท่านั้น ( ใช้ประกอบอาหารเช่น ต้มเลือดหมูตอนเช้า ทำแกงเลียงตอนเย็น เหมาะสำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆเพื่อเป็นการเรียกน้ำนม )
    <embed style="width: 400px; height: 300px;" src="http://widget-d0.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" flashvars="cy=ls&il=1&channel=216172782122235344&site=widget-d0.slide.com" wmode="opaque" quality="high" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" allowscriptaccess="never" allownetworking="internal" align="middle"> <embed style="width: 373px; height: 300px;" src="http://widget-95.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" wmode="opaque" flashvars="cy=ls&il=1&channel=216172782122235541&site=widget-95.slide.com" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" allowscriptaccess="never" allownetworking="internal" align="middle">​

    ถั่วฝักยาว
    พันธ์ที่เป็นที่นิยมปลูกได้แก่ พันธ์พื้นบ้าน พันธ์ ก-21-A ของกรมวิชาการเกษตร แลพพันธ์ มก.7 ของมหาวิทยาลัยเกษจรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้คัดพันธ์ถั่วพุ่มกินฝักสด ซึ่งมีลักษณะภายนอกใกล้เคียงกับถั่วฝักยาว โดยใชชื่อว่าถั่งฝักยาวไร้ค้างพันธ์ มข.25 ซึ่งถั่วฝักยาวพันธ์นี้สามารถทรอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดีกว่าถั่วฝักยาว ธรรมดา นอกจากนี้มีพันธ์ถั่วฝักยาวของเอกชนที่เป็นที่นิยมของตลาดทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ การเตรียมแปลงปลูกขุดดินลึกประมาณ 18-22 เซนติเมตร ตากแดดประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักรองก้นหลุมเพื่อปรับปรุงสภาพดินโดยเฉพาะดินทรายและดิน เหนียว และควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 ในการเตรียมดินด้วย....วิธีการปลูก ใช้วิธีการหยอดเมล็ด 3-4 เมล็ด ต่อหลุม ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50-80 เซนติเมตร กลบด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นผิวหน้าดิน หลังจากเมล็ดงอกแล้วให้ถอนต้นที่อ่อนแอออกให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม เมื่อมีใบจริง 4-5 ใบ ปักค้างเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน โดยปักเดี่ยวตั้งตรงหรือเอนเข้าหากันแล้วผูกเป็นกระโจมหรือร้านก็ได้ ส่วนการปลูกถั่วฝักยาวแบบไร้ค้างนั้น ควรปลูกเป็นแถวเพื่อสะดวกในการดูแลเก็บฝักสด ใช้ระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะต้น 30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด แล้วถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้นเท่านั้น ( ห้ามเอาไว้เกิน 1 ต้นเป็นอันขาด หลังจากปลูกได้ 15 วัน ถ้าไม่ถอนแยกจะทำให้ลำต้นไม่ค่อยแข็งแรง และเมื่อมีลมพัดลำต้นจะเสียดสีกันทำให้เกิดแผลและเน่าตายในที่สุด )....ถั่วฝักยาวจะทนแล้งได้เพียงบางช่วง แต่จะทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์ ระยะที่ถั่วฝักยาวต้องการน้ำมากและขาดน้ำไม่ได้คือ ช่วงออกดอกและช่วงพัฒนาฝัก ดังนั้นการปลูกถั่วฝักยาวต้องมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับถั่วฝักยาวคือ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 5-10-5 หรืออาจใส่ปุ๋ยหมักทดแทนก็ได้ โดยแบ่งระยะการใส่ปุ๋ยเป็น 2 ช่วงคือ ใส่รองก้นหลุมและเมื่ออายุได้ประมาณ 20-30 วัน โดยการกำจัดวัชพืชก่อนแล้วจึงพรวนดินใส่ปุ๋ยไปพร้อมกัน ถั่งฝักยาวมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 55-75 วัน ขึ้นอยู่กับพันธ์ที่ปลูก การเก็บโดยใช้มือเด็ดหรือใช้กรรไกรตัด การเก็บเกี่ยวควรทยอยเก็บบ่อยๆ ทุกๆ 2-4 วัน ไม่ควรปล่อยให้ฝักแก่ค้างคาต้นจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยทั่วไปจะสามารถเก็บนานประมาณ 10-20 ครั้ง หรือประมาณ 22-25 วัน ส่วนถั่วฝักยาวไร้ค้างสามารถเก็บฝักสดครั้งแรกได้เมื่ออายุ 42-45 วันหลังการปลูก และจะเก็บผลผลิตได้เรื่อยๆ ทุกๆ 5-7 วัน หลังจากการเก็บฝักสดชุดแรก ควรพ่นสารป้องกันแมลงและหนอนมาเจาะทำลายต้นและดอก ถั่งฝักยาวไร้ค้างสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง

    ถั่วเลาเตา
    ถั่วลันเตาอุดมไปด้วย เบต้า-แคโรทีนซึ่งเมื่อรับปรัทานแล้ว ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตมิน เอ ช่วยบำรุงสายตาและช่วยภูมิคุ้มกันโรค รวมทั้งยังช่วยขจัดปัญหาหัวใจขาดเลือด แม้ว่าจะมีการปลูกถั่วลันเตากันอย่างแพร่หลายแต่ถั่วลันเตายังชอบอากาศค่อน ข้างเย็น ดังนั้นจึงควรปลูกในช่วงฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ทั้งพันธ์ที่บริโภคสด และพันธ์ที่กินเมล็ด สำหรับพันธ์ที่นิยมปลูกในเมืองไทยคือ พันธ์ 2-2003-6 และ พันธ์ฝักใหญ่วึ่งทั้งสองพันธ์นี้ผลผลิตคุณภาพดีคือ ฝักมีขนาดยาว และมีสีเขียวเข้มน่ารับประทาน การเตรียมดิน เหมือนกับการปลูกถั่วฝักยาวเตรียมหลุมปลูกให้มีระยะห่างต้น 30 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธ์หยอดหลุมละ 4-5 เมล็ด เมื่อกล้าโตขึ้นมีใบจริง 2-3 ใบ จึงถอนแยกต้นกล้าให้เหลือต้นที่แข็งแรงหลุมละ 2 ต้น เมื่อถั่วมีอายุ 15 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เริ่มมีมือเกาะจึงใช้ไม้ไผ่ขนาดยาว 1.5 - 2 เมตร ปักทำค้างโดยการปักตรงหลุม ทุกหลุมแล้วจึรวมปลายไม้ไขว้กัน หรือใช้วิธีปักไม้ห่างกันเป็นระยะ 1.5 - 2 เมตรตามแถวปลูก แล้วใช้เชือกไนล่อนหรือเชือกฟางผูกขึงตามแนวนอน ผูกเป็นชั้นห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตรและผูกตามแนวดิ่งอีกทีในระยะห่างพอควร เพื่อช่วยให้มือเกาะได้ดียิ่ง รดน้ำให้ชุ่มชื้นอย่างเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่ออกดอกและติดผลเป็นช่วงที่ขาดน้ำไม่ได้ การใส่ปุ๋ยต้องพิจารณาถึงความสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินสมบูรณ์เพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม และเมื่อถั่วอายุ 30 วันให้เก็บวัชพืช พรวนดินโคนต้น โรยปุ๋ยและใช้ดินกลบ เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 60 วัน และจะเก็บได้เป็นระยะเวลาประมาณ 30-60 วัน เก็บโดบใช้มือเด็ดฝัก เลือกเก็บฝักที่ยาวได้ขนาด เมล็ดเริ่มเกิดและยังผอมลีบจะได้ถั่วลันเตาที่อ่อนนุ่มกรอบไม่พอง รับประทานอร่อย
    บวบ
    บวบเป็นพืชผักประเภทเถาไม้ เลื้อยที่เหาะปลูกเป็นพืชผักสวนครัวเนื่องจากเป็นที่นิยมในการบริโภคเพราะมี รสหวาน แต่คงต้องควรระวังในการบริโภคบวบ เนื่องจากบวบบางลูกจะมีรสขมผิดไปจากรสชาดเดิมอย่างมาก ว่ากันว่าเพราะมีงูเลื้อยผ่านเถาบวบนั้น ทำให้บวบมีรสขม บวบสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นการรวกจ้มน้ำพริก ผัด หรือนำไปแกง เคล็ดลับของการรักษาคุณค่าทางอาหารของบวบไม่สูญเสียไปมากนักกับความร้อนใน การปรุงอาหารคือ เมื่อปอกเปลือกบวบ เพื่อจะปรุงอาหารไม่ควรปอกเปลือกจนเกลี้ยงเกลานัก เหลือเปลือกไว้บ้างเล็กน้อยจะช่วยคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่ของบวบไว้ได้ การปลูกบวบมีลักษณะพิเศษคือ ทนแล้ง ทนฝน ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน แต่มีข้อควรระวังคือ เมื่อแรกปลูกจนถึงขึ้นค้างจะมีแมลงชอบกัดยอด แต่พอทอดยอดขึ้นค้างแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องแมลงอีกต่อไป พันธ์บวบที่นิยมรับประทานกันแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ บวบเหลี่ยมพันธ์นี้เป็นที่นิยมในการบริโภคอย่างมาก มีทั้งพันธ์ผลเบา ผลเล็กสั้นขนาดยาวไม่เกิน 12 นิ้ว อายุจากวันปลูกถึงวันเก็บผลครั้งแรก 50 วัน เหมาะสำหรับปลูกรับประทานเองในสวนครัว และยังทีพันธ์หนักชนิดผลยาว 2-3 ฟุต อายุจากวันปลูกถึงวันเก็บผลครั้งแรก 75 วัน เหมาะสำหรับปลูกเป็นการค้า บวบหอมมีลักษณะกลมรี ความยาว 5-6 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว และชนิดผลยาวประมาณ 24 นิ้ว อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75-120 วัน และบวบงู มีทั้งชนิดสีขาวและสีเขียวลายขาว เนื้อหนารสหาวน ขนาดความยาวของผล 2-3 ฟุต แต่ไม่ค่อยนิยมเหมือนบวบเหลี่ยม การปลูกบวบต้องใช้วิธีแบบทำค้างเช่นเดียวกับถั่งฝักยาว เนื่องจากจะทำให้ได้ผลผลิตมาก และเก็บผลได้นานคือ เก็บทุกๆ 2-3 วัน และเก็บไปได้นานถึง 1 เดือน หรือเดือนครึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าปลูกบวบในลักษณะเป็นพืชสวนครัวนี้ ควรปลูกเป็นพืชผักริมรั้ว โดยใช้รั้วทำค้างทำให้สามารถประหยัดแรงงานและเวลาทำค้างลงได้ ส่วนการปลูกปล่อยให้เลื้อยไปตามพื้นดินก็ทำได้เช่นกัน แต่ผลผลิตไม่ดีมากนักคือ ผลบวบที่ได้จะคดงอ และระยะในการเก็บสั้นลง โดยอาจจะเก็บได้เพียง 4-5 วันครั้งเท่านั้น
    ปูเล่
    เป็นพืชตระกูลกระหล่ำที่ปลูกทาง ภาคใต้ของประเทศไทยมาช้านาน ส่วนใหญ่ปลูกในกระถาง หรือภาชนะอื่นๆ ไว้รับประทานประจำบ้านชอบดินร่วนที่อินทรีย์วัตถุมีการระบายน้ำดีเลี้ยงง่าย ปัญหาเกี่ยวกับโรค และแมลงมีน้อยจึงไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพียงแต่ใช้มือจับก็เพียงพอ ควรปลูกในกระถางเพราะสะดวกในการดูแลรักษา การเจริญเติบโดแยกเป็น 3 ระดับ คือ ระยะที่ 1 เป็นระยะการเจริญเดิบโตเริ่มจากอายุประมาณ 14 วัน ให้ปุ๋ยูเรีย ( 46-0-0 ) อัตราส่วน 1/4 - 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตรรดลงดินควรให้ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอทำทุกๆ 7 วันหรือ 14 วัน จนกระทั่งอายุ 2 เดือน ระยะที่ 2 เป็นระยะการเจริญเติบโตเริ่มจากอายุประมาณ 2 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยยูเรีย โรยรอบโคนต้น พยายามอย่าให้ถูกส่วนของต้น ใช้ในอัตราส่วน 1/2 ช้อนชาต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 15 วัน จนอายุ 4 เดือน หลังจากหว่านปุ๋ยทุกครั้งให้รดน้ำลงดินให้ชุ่ม มิฉะนั้นจะทำให้ต้นเหี่ยวเฉาได้ ระยะที่ 3 เป็นระยะเจริญเติบโตตั้งแต่อายุ 4 เดือน ขึ้นไปเริ่มเก็บใบรับประทานได้ ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 14-14-21 โรยรอบโคนต้น อัตรา 1/2 ช้อนชาสลับกับปุ๋ยยูเรีย อัตราส่วน 1/2 ช้อนชาทุกๆ 10-15 วัน ถ้าสังเกตว่าดินในกระถางยุบตัวลงให้เติมดินผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือดินผสมปุ๋ย คอกลงในกระถางจะทำให้ต้นมีอายุยืนยาว และภาชนะที่ปลูกควรมีขนาดใหญ่ ความจุตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป เมื่อปลูกไปได้ประมาณ 4 เดือนเริ่มเก็บใบรับประทานได้ ใบที่เก็บรับประทานควรมีขนาด 15x20 เซนติเมตรขึ้นไป การเก็บให้เด็ดหรือปลิดใบล่างก่อนโดยโนม้ทั้งใบลงข้างล่าง ก้านใบที่ติดกับลำต้นจะหักออกได้ง่าย การเด็ดใบแต่ละครั้งให้เหลือใบไว้กับต้นไม่น้อยกว่า 12 ใบ เพื่อให้พืชสามารถสร้างอาหารเพียงพอกับการเจริญเติบโต สามารถเก็บใบไปประกอบอาหารได้อีกในระยะทุก 2-3 สัปดาห์ ครั้งละ 5-6 ใบ ในการขยายพันธ์ปูเล่ ใช้การปักชำโดยตัดแขนงที่แตกออกจากซอกใบของลำต้นเลือกแขนงที่มีใบตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไป ยาวไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ปักชำในทรายผสมขี้เถ้าแกลบ ปลูกในสภาพแสงแดดรำไร รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 7 วัน แขนงจะแตกรากเมื่อต้นตั้งตัวได้ดีแล้วประมาณ 20 วัน หลังปักชำย้ายลงปลูกในกระถางที่มีดินผสมอินทรีย์วัตถุ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ผักกวางตุ้ง
    ผักกวางตุ้งชอบดินร่วนที่มีอินทรีย์วัตถุอยู่มากๆ โดยเฉพาะดินน้ำไหลทรายมูลหรือดินที่โปร่ง แต่ดินประเภทอื่นๆเช่น ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินค่อนข้างเหนียว ควรต้องใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูก หรือถ้าดินเหนียวให้ใส่ขี้เถ้าแกลบลงไปในแปลงด้วยเพื่อช่วยให้ดินร่วน ขึ้น การเตรียมแปลงปลูกให้มีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยขุดเป็นร่องแล้วเอาดินขึ้นมาตาก 2 ข้างแปลงประมาณ 3-4 วัน เอาปุ๋ยคอกใส่ในร่องแปลงเกือบครึ่งร่อง นำดินข้างแปลงลงไปคลุกย่อยให้ละเอียด เกลี่ยเป็นรูปแปลงแล้วจึงกระระยะปลูก การปลูกโดยหว่านเมล็ดโดยตรงนั้นใช้เมล็ดพันธ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน หว่านให้ทั่วผิวแปลงกลบด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อเมล็ดงอกได้ 20 วัน ควรถอนแยกและจัดระยะห่างระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร ส่วนการปลูกโดยโรยเมล็ดเป็นแถวโดยตรงลงในแปลง ใช้เมล็ดพันธ์ 1 ส่วน ผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน โดรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวลึกลงในดิน 0.5 - 1 เซนติเมตร ระยะห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คุมด้วยฟางแห้งรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเมล็ดงอกได้ 20 วันให้ถอนแยกกันในแถว โดยพยายามจัดระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 20 เซนติเมตร ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกควรเป็นช่วงฤดูหนาว หรือจะเป็นช่วงท้ายของฤดูฝนก็ได้ แต่ไม่ควรปลูกในช่วงฝนตกชุกเนื่องจากฝนจะชะใบขาดได้ หลังจากปลูกแล้วใหม่ในระยะ 4-5 วันแรกต้องทำที่บังแดดด้วย ตอนเช้าเปิดที่บังแดดรดน้ำแล้วจึงปิด ตอนเย็นเปิดรดน้ำเปิดทิ้งรับน้ำค้างหลังจากนั้นจึงเปิดให้รับแดดได้ตลอดทั้ง วัน เมื่อฝักตั้งตัวได้แล้วเริ่มพรวนดิน ในระยะที่ผักมีอายุ 15-20 วัน พรวนดินทุกๆ 7 วัน และ ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยยูเรียผสมกับน้ำรดโคนต้น ผักกวางตุ้งเป็นผักที่มีอายุสั้น ปลูกเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บรับประทานได้ การเก็บใช้มีดคมๆ ตัดโคนต้นชิดดิน อย่าใช้วิธีดึงถอน เพราะการถอนนั้นถ้าดินแน่นจะทำให้ต้นช้ำและเสียหายง่าย ​
    ผักกาดขาว
    พันธ์ของผักกาดขาวปลีนั้นแงออกตามลักษณะของปลีคือ พวกห่อปลียาวรวมทั้งพันธ์ที่มีหัวโตตั้งตรง สูง และรูปไข่ ได้แก่พันธ์ผักกาดโสภณ หรือผักกาดขาวฝรั่งพวกปลีกลมรวมทั้งปลีป้านทางส่วนบน มักเป็นพันธ์เบาและอายุในการปลูกนั้น พวกปลีหลวมส่วนใหญ่เป็นพันธ์ผักพื้นเมืองของเอเชียพวกนี้ไม่ห่อปลี ปลูกได้แม้ว่าอากาศไม่หนาวได้แก่พันธ์ผักกาดขาวใหญ่ และผักกาดขาวธรรมดาซึ่งปัจจุบันปริมาณการปลูกลดลงเรื่อยๆเนื่องจากความอร่อย สู้พวกห่อปลียาวไม่ได้ รวมทั้งระยะเวลาในการเก็บรักษายังสั้นกว่าด้วย ชื่อของพันธ์ผักกาดขาวที่ชาวสวนนิยมปลูกได้แก่ ตราดอกโบตั๋น ตราช้าง ตราเครื่องบิน ผักกาดขาวปลีสามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนเนื่องจากสามารถระบายน้ำได้ดี เริ่มจากการขุดดินให้ลึก 12 นิ้ว แล้วตากดินให้แห้ง 10-15 วัน ทำการย่อยพรวนดินคลุกกับปุ๋ยคอก การปลูกในลักษณะพืชสวนครัวควรหว่านเมล็ดลงในแปลงเลยเนื่องจากทุ่นเวลาในการ ย้ายกล้า และราคาเมล็ดพันธ์ไม่แพงมากนักโดยหว่านเมล็ดลงไปใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หว่านทับลงไปหนาประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตรเสร็จแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง ทั้งนี้ช่วยรักษาความชื้น เมื่อผักขาวปลีอายุประมาณ 15-20 วัน ควรถอนแยกออกให้มีระยะห่างระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตรในระยะแรกเมื่อเมล็ดงอกควรให้น้ำวันละ 3-4 เวลา เพื่อให้หน้าดินอ่อนสะดวกแก่การงอกของเมล็ด เมื่อผักอายุเกิน 7 วันแล้ว ก็ลดเหลือวันละ 3 เวลา พออายุเกิน 3 เดือนไปแล้วรดน้ำเพียงวันละ 2 เวลา วึ่งผักกาดขาวปลีจะขาดน้ำไม่ได้ในช่วงห่อปลี เพราะจะทำให้การห่อปลีและการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ การใส่ปุ๋ยให้แบ่งใส่ 2 ครั้งคือ หลังจาก 7 วันแล้วครั้งหนึ่ง กับ 15 วันครั้งหนึ่ง ครั้งแรกควรใส่ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตหรือยูเรีย โดยกะประมาณเนื้อที่ 1 ตรางเมตร ใส่ปุ๋ยคอก 3-4 กิโลกรัม ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 100 กรัม หรือปุ๋ยยูเรีย 50 กรัม ( ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ) ผสมให้เข้ากันแล้วจึงหว่านลงในแปลง ครั้งที่2 ใส่เฉพาะปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วต้องพรวนดิน กลบปุ๋ยลงในดินและรดน้ำตามด้วย ผักกาดขาวปลีเป็นผักที่หนอนชอบมาก ผู้ปลูกจึงควรดูแลเอาใจใส่ให้มากทุกๆวันและการฉีดพ่นยาป้องกันและการฉีดพ่น ยาป้องกันและกำจัดแมลง ควรฉีดก่อนผักเริ่มเข้าปลี วึ่งหมายถึงเมื่อผักอายุไม่เกิน 30 วันเพราะถ้าปล่อยให้หนอนเข้าปลีได้แล้วจะไม่สามารถใช้ยากำจัดอย่างได้ผล พืชผักจะเสียหายหมด อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวปลีประมาณ 65-90 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ที่ปลูก ข้อสังเกตุว่าถึงเวลาที่จะเก็บเกี่ยวแล้งคือ ใบนอกเริ่มแห้งและเข้าปลีแน่นพอสมควรนอกจากนี้ควรตัดก่อนปลีจะคลายความแน่น และควรตัดในขณะที่น้ำที่อยู่ตามใบแห้งดีแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผักที่กรอบไม่อวบน้ำจนเกินไปและผักไม่หักช้ำหรือเน่าง่าย ​
    ผักกาดหอม
    พันธ์ผักกาดหอมที่นิยมปลูกในบ้านเรามี 2 ประเภทคือ พันธ์หัวห่อ ( Crisp Head ) หรือที่เรียกกันว่าผักกาดแก้ว และพันธ์ใบ ( Loose leaf ) หรือที่เรียกกันว่าผักกาดหอมใบหยิกซึ่งเป็นที่นิยมปลูกกันมาก สีของใบมีตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปจนถึงสีม่วงแดง การเตรียมดิน สำหรับการปลูกผักกาดหอมใบหยิกเป็นการเตรียมดินเพื่อหว่านเมล็ดพันธ์ โดยขุดพลิกดินลึก 18-20 เซนติเมตรตากดินไว้ 7-10 วัน ย่อยพรวนดินและใส่ปุ๋ยคอก หว่านเมล็ดลงบนแปลงหรือใช้วิธีการหยอดเมล็ดเรียงแถว โดยมีระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 20 เวนติเมตร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ก็เริ่มถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งและจัดระยะห่างระหว่างต้น โดยเมื่อทำการถอนแยกครั้งสุดท้ายเมื่อผักอายุได้ 3 สัปดาห์ให้จัดระยะห่างประมาณ 20x20 เซนติเมตร ถ้าปลูกในฤดูร้อนควรมีการคลุมแปลงผักโดยการใช้ไม่ไผ่ปักสูลประมาณ 2 - 2.5 เซนติเมตร อย่าให้เตี้ยเกินไปเพราะจะทำให้ต้นผักหอมสูงชลูด ส่วนการเตรียมดินของการปลูกผักหอมพันธ์หัวห่อนั้น ต้องมีการเพาะกล้าก่อน เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนกล้าออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันแน่นเกินไป จะทำให้โรคโคนเน่าและดินอ่อนแอเมื่อต้นกล้าอายุได้ 25-30 วัน จึงย้ายมาปลูกในแปลงปลูกซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวังมาก เนื่องจากต้นกล้าบอบช้ำได้ง่าย ในระยะเวลา 2-3 วันแรก อาจช่วยต้นกล้าให้แข็งแรงด้วยการใช้กรวยกระดาษหรือใบตองคลุมต้นกล้าไว้ ระยะที่เหมาะสมในการปลูกผักกาดหอมห่อคือ 30x50 เวนติเมตร การใส่ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การใส่ปุ๋ยรองพื้นนั้นต้องดูจากสภาพดินเป็นสำคัญ เนื่องจากดินในแต่ละท้องที่มีความสมบูรณ์ไม่เท่ากัน ส่วนปุ๋ยบำรุงใส่ในระยะหลังจากปลูก 7 วัน โดยควรใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใช้ปุ๋ยยูเรียละลายน้ำรดผักในอัตรา 1 ช้อนสังกะสีต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตรางเมตร รดวันเว้นวันเพื่อเร่งให้โตเร็ว เมื่อผักอายุ 15-20 วัน ควรเปลี่ยปุ๋ยโดยสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมคือ ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เนื่องจากผักกาดหอมต้องการธาตุโปรแตสเวี่ยมากกว่าธาตุไนโตรเจน เพราะธาตุโปรแตสเวี่ยมทำให้ผักบางกรอบ ไม่มีรอยจุดบนใบ และผักกาดหอมที่มีธาตุไนโตรเจน มากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียวจัดและ รสไม่อร่อย ผักกาดหอมใบหยิกสามารถเก็บรับประทานหลังจากปลูกได้ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ดลงแปลงแล้ว การเก็บควรเลือกเก็บขณะที่ใบยังอ่อน ใบจะกรอบ ไม่เหนียวกระด้ง ต้นจะสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร ส่วนผักกาดหอมหัวห่อสามารถเก็บได้เมื่อปลูกเป็นเวลา 60-75 วัน ควรเก็บขณะที่หัวห่อแน่นไม่หลวม รูปร่างค่อนข้างกลม ไม่ควรปล่อยให้แก่จัดเกินไป วึ่งจะทำให้หัวยืดตัวในทางตั้งและแทงดอก ​
    ผักกาดเขียว ปลี
    การเตรียมดินเพื่อปลูกผักกาดเขียวปลี ให้ขุดดินเป็นรองเอาดินขึ้นมาตากแดดไว้ทั้งสองข้างแปลง โดยควรให้ได้แดดสัก 3-4 แดดก็พอใส่ปุ๋ยคอกลงในร่องนำดินที่ขุดขึ้นมากลบโรยเมล็ดใส่หลุมกดลงในหลุม ให้แน่นเล็กน้อย เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะ หลังจากปลูกแล้วประมาณ 4-5 วัน ควรหาที่กำบังแดดมากๆ มิฉะนั้นจะทำให้ต้นเหี่ยวเฉาได้ ควรรดน้ำทุกๆเช้า เย็นในช่วงเย็นก็ควรเปิดที่บังแดดเพื่อให้ผักได้รับน้ำค้างพอสมควร เมื่อผักตั้งตัวได้แล้วก็ให้เอาที่บังแดดออก เมื่อผักมีอายุได้ 15-20 วัน ก็เริ่มลงมือพรวนดินได้ต่อไปก็พรวนดินทุกๆสัปดาห์ ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักซึ่งจะได้ผลดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อปลูกได้ประมาณ 55-75 วัน ก็เก็บรับประทานได้ ข้อควรจำคือ ควรเก็บผักในช่วงตอนเช้าจึงจะได้ผักสดคุณภาพดีนอกจากนี้ควรเลือกตัดหัวปลี ที่แน่นได้ขนาดที่ต้องการ โดยใช้มีดสะอาดตัดทีเดียวให้ขาดเก็บใส่ภาชนะรีบนำเข้าร่ม สำหรับเรื่องผักกาดเขียวปลีนี้ ขอแถมในเรื่องการแปลรูปผักเขียวปลีด้วย เนื่องจากการนำผักเขียวปลีไปดองนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าการบริโภคสด เริ่มต้นจากการนำผักเขียวปลี 1 กิโลกรับ น้ำเกลือร้อยละ 10-15 ( ละลายเกลือ 100-150 กรัมในน้ำสะอาด 1 ลิตร ) น้ำตาลทรายขาว 1 ช้อนโต๊ะ ล้างผักให้สะอาด ผึ่งแดดให้เหี่ยว 1 วัน เรียงผักใส่ไหที่สะอาด เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงให้ท่วม หาของหนักๆทับไว้ตอนบน ทิ้งไว้จนเปรี้ยวรับประทานได้ ซึ่งระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับปริมาณเกลือที่ใช้ ถ้าใช้เกลือน้อนจะเปรี้ยวเร็วกว่า ​
    ผักชี
    ประโยชน์ของผักชีนั้น นอกจากจะใช้ส่วนใบแล้วยังมีการใช้รากผักชีเป็นส่วนประกอบในเครื่องปรุงของ อาหารหลายประเภททีเดียว และเมล็ดหรือที่เรียกกันว่าลูกผักชีนั้นยังเป็นเครื่องเทศอย่างหนึ่งด้วย สรรพคุณของผัดชีคือ ช่วยย่อยอาหารทำให้ไม่เป็นโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ วึ่งในประเทศแถบยุโรปใช้ลูกผักชีเพื่อแก้ปวดท้อง ผักชีปลูกขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท และตามปกติผักชีนั้นปลูกได้ตลอดทั้งปีแต่ในช่วงฤดูแล้งผลผลิตจะน้อยลง ทำให้ในช่วงฤดูแล้งผักชีจะมีราคาแพง ปัจจัยที่สำคัญในการปลูกผักชีให้ได้ผลผลิตสูงคือ ต้องคัดเลือกเมล็ดพันธ์ที่แน่ใจว่ามีการงอกสูง และมีการปฏิบัติดูแลอย่างเอาใจใส่ ซึ่งเมล็ดพันธ์ผักชีที่เกษตรกรใช้กันและมีการงอกดีคือ พันธ์พื้นเมืองและพันธ์สิงคโปร พันธ์สิงคโปรมีเมล็ดดำ พันธ์ไต้หวัน และพันธ์แอฟริกา ถ้าจะปลูกผักชีในลักษณะพืชผักสวนครัวควรใช้วิธีการหว่านเมล็ดลงในแปลงปลูก โดยการเอาเมล็ดพันธ์มาบดให้แตกเป็นสองซีกก่อน นำไปแช่น้ำพอท่วมประมาณ 2-3 ชั่วโมง เอาขึ้นมาผึ่งลมให้แห้งแล้วคลุกเคล้ากับทราย หรือขี้เถ้า เมื่อเมล็ดเริ่มงอก จึงนำไปหว่านในแปลงแล้วคลุมด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้งเพื่อป้องกันต้นอ่อนและรักษาความชุ่มชื้นของผิวดิน รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 เวลาเพื่อให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ การให้ปุ๋ยกับผักชีนั้นมีหลายแบบในหลายท้องที่ แต่วิธีที่ให้ผลผลิตที่สูงคือ ควรทำตั้งแต่การใส่ปุ๋ยคอก รองพื้นในตอนที่เตรียมดินก่อนปลูกเมื่อแตกใบแล้วจึงใช้ปุ๋ยหมัก ถ้าจะเร่งให้งามเร็วก็ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต โดยผสมกับน้ำ 3-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บฉีดพ่นในแปลง เทคนิคของการปลูกผักชีให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นต้องปลูกในดินร่วน เนื่อจากผักชีเป็นผักที่ใช้ประโยชน์จากรากด้วย ดังนั้นการถอนขึ้นมาจากดินจะต้องได้รากที่สมบูรณ์ จึงต้องการดินร่วนพอสมควรนอกจากนี้เพื่อให้ได้ผักชีต้นโต รากสวย จึงควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักทุกครั้งที่ปลูก ผักชีเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-60 วัน วิธีเก็บคือ ถอนทั้งต้นและราก ก่อนถอนควรรดน้ำให้ดินนิ่มเสียก่อน เพื่อที่จะถอนได้สะดวกและรากไม่ขาด ​
    ผักบุ้งจีน
    ผักบุ้งไทย แบ่งออกเป็นผักบุ้งนามีลักษณะต้นสีแดงใบเล็ก และผักบุ้งน้ำ ซึ่งมีทั้งต้นสีแดงและสีเขียวลำต้นอวบ
    ผักบุ้งจีน มีลำต้นสีเขียว และอ่อนนุ่มกว่าผักบุ้งไทย ลำต้นไม่ยาวและไม่แตกกิ่งก้านเหมือนผักบุ้งไทย แต่จะมีใบยาวกว่า เมล็ดพันธุ์ที่วื้อจากร้านค้านั้นจะเป็นพันธุ์ที่คละกัน ระหว่างเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนพื้นเมืองของไทยกับพันธุ์ไต้หวัน เนื่องจากลักษณะพันธุ์ของเมล็ดของผักบุ้งทั้งสองพันธุ์นี้ไม่มีความแตกต่าง กันมากนัก แต่เมล็ดพันธุ์ไต้หวันนั้นนิยมปลูกเพื่อการส่งออกเนื่องจากใบยาวเรียว และไม่เหี่ยวช้ำง่ายลำต้นอวบและมีสีเขียวสวยกว่า วิธี หว่านเมล็ดลงในแปลง ซึ่งนับว่าเป็นวิธีนิยมอย่างมาก เมล็ดพันธ์ผักบุ้งมีราคาถูกก่อนหว่านต้องนำเมล็ดแช่น้ำไว้ประมาณ 12 ชั่วโมงเพื่อช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นเมื่อหว่านเมล็ดแล้วใช้ดินผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักดรยทับบางๆ แล้วคลุมด้วยฟาง วิธีโรย เป็นแถว ทำร่องตามขวางหรือตามยาวของแปลงให้ลึกประมาณ 1 นิ้วโรยเมล็ดให้ห่างกันโดยใช้ระยะระหว่างเมล็ด 1 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 10-15 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดแล้วใช้ดินผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักกลบทับบาง ๆ แล้วคลุมด้วยฟาง รดน้ำให้ชุ่ม วิธีนี้จะทำให้ผักบุ้งมีต้นสม่ำเสมอ และยังช่วยประหนัดเมล็ดพันธุ์ด้วย วิธีใช้ท่อนพันธุ์ปลูก ตัดต้นผักบุ้งเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ20-30 เซนติเมตร แล้วปักลงในดินห่างกันประมาณ 5-10 เซนติเมตร ปล่อยน้ำให้ขังในแปลงสูงประมาณ 10 เซนติเมตรแต่ถ้ารดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มก่อนปลูก 1 วัน ก็ไม่ต้องขังน้ำในแปลงเพียงแต่ต้องให้น้ำบ่อยๆ ผักบุ้งจะออกรากรวดเร็วตามข้อ แต่วิธีการนี้มักนิยมใช้กับการปลูกผักบุ้งไทย ผักบุ้งชอบดินชื้นแฉะจึงควรให้น้ำบ่อย ๆ และสม่ำเสมอเพียงพอ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต และแข็งกระด้าง ในส่วนของการใส่ปุ๋ยนั้นเริ่มตั้งแต่ผักบุ้งมีใบจริงหรืออายุ 5-7 วัน หลังจากการหว่านเมล็ดควรให้ปุ๋ยยูเรียโดยใช้วิธีหยอดหน้า หรือหว่าน แล้วรดน้ำตามทันทีอย่าให้ปุ๋ยเกาะที่ใบ และควรให้ปุ๋ยหลังจากนั้นอีกทุกๆ 3-5 วัน หรืออาจจะใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับน้ำ รดทุกวันแทนน้ำธรรมดาโดยใช้ความเมข้นร้อยละ 0.5 ( ปุ๋ย 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ) จะช่วยให้ผักบุ้งโตเร็ว การดูแลไม่ต้องมีพิธีรีตองมากนักเพียงแต่อย่าให้หญ้ามาแย่งอาหาร และคอยดูแลพวกแมลงจะมากัดกินใบ หรือเมล็ดที่หว่านเท่านั้น เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของผักบุ้ง ที่มีโรคและแมลงศัตรูรบกวนน้อย ทำให้ผู้ที่ปลูกผักสวนครัว ควรนำไปใช้ประโยชน์โดยการใช้ผักบุ้งจีนเหมือนเป็นกันชน โดยซ่อนผักประเภทกินใบที่มีแมลงรบกวนมากเช่น คะน้า กวางตุ้ง เป็นต้น เอาไว้ตรงกลางแปลงทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการใช้สารกำจัดศัตรู พืช หลังจากหว่านเมล็ดไปแล้วประมาณ 25-30 วัน จะเก็บผักบุ้งรับประทานได้ การเก็บเลือกวิธีตัดให้เหลือตอเพื่อที่จะแตกใหม่หรือถอนทั้งรากก็ได้ ถ้าเป็นผักบุ้งจีนนิยมถอนรากแล้วล้างดินออกก่อนนำไปรับประทาน ​
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    พริกขี้หนู
    พริกขี้หนูในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พริกขี้หนูเม้ดใหญ่ ขนาดของผลยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอยู่หลายพันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ หัวสีทน หัวเรือ จินดา ยอดสน ป้านใน ไส้ปลาไหล สร้อย นิ้วมือนาง น้อนผลยาว ช่อม ข. เดือยไก่ และพริกขี้หนูเม็ดเล็ก ขนาดของผลยาวต่ำกว่า 2 เซนติเมตร พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ ขี้หนูสวน ขี้หนูหอม กะเหรี่ยง ขี้นก การปลูกพริกขี้หนูในลักษณะผักสวนครัวนั้นนิยมการหว่านเมล็ดลงในแปลงปลูก ไม่เหมือนกับการปลูกในลักษณะเป็นการค้าที่ต้องมีการเพาะกล้าก่อนแล้วจึงย้าย ลงแปลงปลูก การดูแลรักษาพริกนั้นมีเทคนิคที่ควรจำเล็กน้อยคือ พริกเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำหนักมากถ้ามีความชื้นสูงไป ควรพรวนดินให้น้ำระเหยออกจากดิน ส่วนในกรณีที่ดินแห้งไป และไม่อาจให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอ ควรใช้วัสดุคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชด้วย สำหรับการกำจัดวัชพืชนั้น ต้องทำอย่างระมัดระวังเนื่องจากพริกมีระบบรากที่แผ่กว้างอยู่ในระดับผิวดิน การกำจัดวัชพืชอาจจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากวึ่งมีผลต่อการเจริญเดิบโต ดังนั้นควรกำจัดวัชพืชตั้งแต่ยังเป็นต้นอ่อน การใส่ปุ๋ยในระยะเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังการปลูกแล้ว 10-15 วัน โดยใส่ครั้งละ 1 ช้อนแกง โรยห่างจากต้นประมาณ 1 ฟุตแล้วใช้ดินกลบเพื่อป้องกันการสูญเสียของปุ๋ยสำหรับระยะการใส่ไม่มีข้อ กำหนดตายตัว แต่เพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประโยชน์ที่สุดควรแบ่งใส่หลสย ๆ ครั้ง พริกจะเริ่มออกดอกหลังจากขึ้นเป็นกล้าอ่อนประมาณ 60-70 วัน และเริ่มเก็บผลสุกได้เมื่ออายุ 90-100 วัน การเก็บเกี่ยวจะทำได้ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการบำรุงรักษาดี และให้น้ำอย่างเพียงพอ พริกก็จะมีอายุให้เก็บถึง 1 ปีทีเดียว ​
    พริกชี้ฟ้า
    พริกชี้ฟ้าจัดเป็นพริกใหญ่ที่มีรสเผ็ด เมื่ออ่อนเป็นสีเขียวเข้มแต่พอแก่แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงขนาดผลยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองลักษณะเนื้อหนาสีแดงเข้ม หรือเขียวเข้ม การเตรียมดินสำหรับการปลูก พริกชี้ฟ้ากรณีปลูกเป็นพืชสวนครัวใชวิธีการขุดหลุมแล้วเอาปุ๋ยคอกใส่หลุม ประมาณ 2 กำมือ เอาดินคลุกเคล้าให้เข้ากันให้เต็มหลุมก็ลงมือปลูกได้ หลุมปลูกโดยทั่วไปควรมีขนาดกว้าง 1 คืบ ยาว 1 คืบ ก่อนเอาลงปลูกควรเพาะเมล็ดในกะบะเพาะเสียก่อน เมื่อต้นพริกสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร จึงค่อยย้ายลงปลูกในหลุมใหม่ ไม่ควรย้ายกล้าพริกปลูกตอนเช้าหรือสาย เพราะต้นพริกจะถูกความร้อนเผาตายได้ง่าย การย้ายกล้าพริกลงปลูกให้ได้ผลดีควรทำในตอนเย็นเนื่องจากต้นกล้าจะมีเวลาได้ พักตัวในตอนกลางคืน ฤดูที่ควรปลูกควรเป็นฤดูฝนเนื่องจากมีความชื้นในดินสูง ต้นพริกตั้งตัวได้ง่ายควรให้ฝนตกเสียก่อนจึงเริ่มปลูก ถ้าภายหลังจากการปลูกใหม่ๆ แล้วยังไม่มีฝนตกต้องรดน้ำทั้งเช้าและเย็นจนกระทั้งต้นพริกตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยพรวนดินรอบๆหลุมกว้างออกไปอีก เพื่อให้รากพริกชอนไชได้สะดวก พริกจะเริ่มออกดอกหลังจากลงกล้าประมาณ 60-70 วันหลังย้ายผลผลิตจะน้อย เริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น และผลผลิตลดลงอีกครั้งเมื่อต้นเริ่มแก่ การเก็บมารับประทานทำได้ทุก 5-7 วัน โดยการเด็ดทีละผล ใช้เล็บจิกตรงรอยก้านผลต่อกับกิ่ง ถ้ามีการบำรุงรักษาดี และมีน้พพอเพียง ต้นพริกก็จะมีอายุให้เก็บผลผลิตได้นานถึง 6-7 เดือน หรืออาจถึง 1 ปี จนกระทั้งต้นเหี่ยวไปในที่สุด ​
    มะเขือเทศ
    การเตรียมดืนเพื่อปลูกมะเขือเทศนั้นต้องพิถีพิถันมาก เนื่องจากมะเขือเทศต้องการดินที่มีการระบายน้ำดี และต้องกำจัดวัชพืชให้หมด เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและอาหารรวมทั้งยังเป็นที่อาศัยของโรคและมะ แรงอีกด้วย สำหรับการปลูกในลักษณะสวนครัวนั้นควรเพาะกล้ามะเขือเทศในกะบะ ในกะบะควรมีความลึก 10 เซนติเมตร มีรูระบายน้ำ นำดินที่ร่อนแล้ว 1 ส่วนกับปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน ผสมให้เข้ากัน ปรับหน้าดินให้เรียบ ทำเป็นร่องเล็กๆ ห่างกันประมาณร่องละ 5-7 เซนติเมตร โรยเมล็ดลงในร่อง กลบด้วยแกลบหรือทรายบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อเมล็ดเริ่มงอกใช้ยากัย รา อัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ รดอีกครั้งหนึ่งเมื่อกล้าอายุได้ 15 วันหรือเริมมีใบจริง 2 ใบ ก็ย้ายลงใส่ถุงพลาสติกขนาด 4x6 นิ้วที่บรรจุดินผสม เมื่อกล้าอายุ 30 วันจึงย้ายลงแปลงปลูกโดยกรีดถุงให้ขาดเพื่อให้รากไม่กระทบกระเทือน ในแปลงปลูกขุดดินให้ลึก 25-30เซนติเมตรตากดินไว้ 5-7 วัน แล้วใส่ปุ๋ยหมักเคล้าลงในดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลังจากนั้นแบ่งใส่ปุ๋ยอีก 3 ครั้งคือ ใส่หลังจากย้ายปลูก 7 วัน ที่สองครั้งที่สองหลังจากย้ายปลูก 22 วันและครั้งที่สามใส่เมื่อย้ายปลูก 40 วัน โดยปุ๋ยที่เหมาะกับมะเขือเทศนั้นต้องพิจารณาสภาพดินกล่าวคือ ถ้าเป็นดินเหนียวควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปตัสเซี่ยมสูง ระยะปลูกที่เหมาะสมของมะเขือเทศแบบไม่ใช้ค้างใช้ระยะห่างระหว่างต้นและแถว ประมาณ 30-40x70 เซนติเมตร ควรทำค้างเมื้อต้นเริ่มเเล้อย หรืออายุ 8-10 วันหลังย้ายปลูกโดยปักค้างไม้ไผ่รอบหลุม เอนปลายเข้าหากันแล้วปลูกเป็นกระโจม วางไม้พลาดประมาณ 2-3 ช่วงหรืออาจปักไม้ค้างที่หัวแถวกับท้ายแถวแล้วใช้รวดขึง ใช้เชือกผูกต้นมะเขือเทศไว้ที่ราวลวด การทำค้างนี้นับว่าช่วยอำนวยความสะดวกในการดูแลได้ทั่วถึง และสะดวกในการเก็บผลผลิตอีกด้วย เคล็ดรับการปลูกมะเขือเทศคือ มะเขือเทศต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอดังนั้นต้องมีการให้น้ำตั้งแต่เริ่มปลูกไป จนถึงเริ่มแก่คือ ผลเริ่มเปลี่ยสี หลังจากนั้นจึงลดการให้น้ำเพื่อป้องกันผลแตก และการปลูกมะเขือเทศเพื่อรับประทาน ผลสดนั้นนิยมแบบขึ้นค้าง ควรตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 1-2 กิ่งต่อต้น เพื่อให้มะเขือเทศที่ได้มีผลใหญ่ การเก็บผลผลิตเริ่มเมื่อมะเขือเทศมีอายุประมาณ 70-90 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์อายุตั้งแต่เริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยว ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 4-5 เดือน ​
    มะระ
    มะระเป็นพืชผักล้มลุกลำต้นเป็นเถา ชอบดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง นับว่าเป็นพืชผักที่อายุสั้น ซึ่งถ้าหากนับจากวันเริ่มปลูกถึงวันเก็บผลผลิตได้ประมาณ 45-55 วันขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก แต่ก่อนที่จะปลูกต้องทำความเข้าใจว่าการปลูกมะระนั้นต้องเอาใจใส่ดูแลเป็น พิเศษ โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลกำจัดแมลง เนื่องจากเมื่อแมลงเข้าทำลาย จะทำให้ผลร่วงหรือแคระแกร็นได้ มะระที่ปลูกในบ้านเราที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมีอยู่ 2 ชนิดด้วกันคือ มะระขี้นก ซึ่งมีลักษณะผลป้อม เล็ก มีรสจัด ผิวขรุขระเป็นหนามแหลม เนื้อบาง ปลูกง่ายและผลดก นิยมนำไปลวกรับประทานเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริกต่างๆ และมะระจีนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลมีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร ผลสีเขียวอ่อน เนื้อหนา มีรสขมเพียงเล็กน้อนเป็นที่นิยมบริโภคมาก เนื่องจากสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายประเภทเช่นต้มจืด แกงคั่ว ผัดเผ็ด ผัดไข่ ลวก ต้มจิ้มน้ำพริก เป็นต้น การเพาะมะระนั้นต้องเพราะเมล็ดก่อนนำปลูกลงแปลง ทำได้ 3 วิธี วิธีการเพาะในแปลง การเพาะวิธีนี้ต้องพรวนดินให้ ร่วนซุย ผสมปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อให้ดินร่วนซุยยิ่งขึ้น นำเมล็ดมะระมาเรียงห่างกันประมาณ 3 เซนติเมตรกลบด้วดินหนา 2-3 เซนติเมตรเอาฟางคลุมรดน้ำ 3-4 วันรอจนต้รกล้ามีใบจริงหรืออายุประมาณ 8-10 วันก็ย้ายปลูกแปลงโดยก่อนการถอนควรรดน้ำให้ชุ่มเสียก่อนเพื่อให้ต้นกล้าไม่ บอบช้ำนัก วิธีการเพาะกล้าในถุงกระดาษ นำ ดินผสมปุ๋ยคอกใส่ถุงกระดาษ ขนาด 7x8 เวนติเมตร แช่เมล็ดมะระในน้ำประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดเพาใส่ถุงละ 1 เมล็ดรดน้ำให้พอชุ่มเมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 ใบจึงย้ายลงแปลงปลูก วิธีการเพาะกล้างอก คล้าย กับการเพาะถั่วงอกส่งเนการบ้านสมัยเรียนหนังสือ โดยนำเมล็ดมะระมาแช่ในน้ำประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาห่อผ้าชื้นประมาณ 2-3 วันเมื่อเปิดดูจะเห็นว่ารากเริ่มโผล่ออกมาไปปลูกเมื่อได้กล้ามะระแล้วก็เจรี ยมแปลงปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ขุดหลุมให้ลึกประมาณ 1 ศอก ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ในปริมาณหลุมละ 1 กระป๋งนมกลบดินให้หลุมตื้นแล้วจึงนำกล้ามะระใส่ลงหลุมๆ ละ 2 ต้นกลบดินเพียงบางๆอย่างไรก็ตามการเพาะเมล็ดนั้นสามารถใช้วิธีหยอดหลุมที่ แปลงปลูกโดยไม่ต้องเพะกล้าก่อนก็ได้ โดยหยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด ลึกลงในดินประมาณ2.5 - 3.5 เวนติเมตรกลบด้วยดินผสมปุ๋ยคอก เมื่อต้นกล้างอกใบจริง 2 ใบ ก็ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้งให้เหลือหลุมละ 2 ต้น เช่นเดียวกับการเพาะด้วยกล้า การปลูกมะระนั้นจำเป็นต้องทำค้างเพื่อให้มะระนั้นเลื้อยขึ้นไปได้ ซึ่งการทำค้างต้องใช้ไม้รวก หรือไม้ผ่าซีกยาวประมาณ 2 เมตรปักลงข้างๆ หลุมแล้วรวบปลายไม้ทำเป็นจั่วมัดให้เลือปลายไม้ไว้ แล้วใช้ไม้ยาวพาดอีกทีหนึ่ง เมื่อมะระอายุได้ 40 วัน จะออกดอกและติดผลเท่าปลายนิ้วก้อย ผู้ปลูกต้องเริ่มห่อผลโดยใช้กระดาษทำเป็นถุงขนาด 15x20 เซนติเมตร ปากถุงเปิดทั้ง 2 ข้างนำปากถุงด้านหนึ่งสวมเข้ากับผลมะระ ใช้ไมกลัดปากถุงแขวนไว้กับผลมะระ การห่อผลมะระนั้นช่วยป้องกันในเรื่องแมลงรบกวน และช่วยให้มะระมีผลสีเขียวอ่อนน่ารับประทานด้วย การใส่ปุ๋ยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะการเตรียมดินหรือปุ๋ยรองก้น เพื่อช่วยดินร่วนและอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ระยะที่สองใส่ในช่วงการย้ายกล้าไปปลูกแล้ว 7 วัน หรือเมื่อกล้าเริ่มตั้งตัวได้แล้ว ถ้าใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ควรใส่ประมาณ 1 กำมือต่อต้นโรยรอบๆต้น ทุกๆ 3 วัน หรือ 7 วันถ้าใส่ปุ๋ยเคมี ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซันเฟต หรือปุ๋ยยูเรียใส่ประมาณ 1 ช้อนแกงต่อต้น โดยต้องระมัดระวังไม่ให้โรยถูกต้น และการใส่ปุ๋ยในระยะสุดท้ายคือ การใส่ปุ๋ยเมื่อต้นมีอายุได้ 30 วัน ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ โดยใส่ 2 ช้อนแกงต่อต้น มะระจะให้ผลเก็บเกี่ยวเป็นรุ่นไป รุ่นแระเกษตรกรเรียกกันว่ามะระตีนดินมีลักษณะผลอ้วน ป้อม สั้น ผลจะอยู่ยริเวณโคนเถาเกือบติดดิน เก็บผลได้วันเว้นวัน เมื่อเก็บมะระรุ่นใหญ่ไปได้ 3 ครั้ง ก็ถึงมะระรุ่นเล็ก ซึ่งเรียกกันว่า มะระปลายเถา ผลมีขนาดเล็กลง ในการเก็บมะระควรเลือกเก็บเมื่อผลยังอ่อน สีเขียว และโตได้ขนาดที่ต้องการ ​
    [​IMG] [​IMG]
    สะระแหน่
    สะระแหน่เป็นพืชผักที่ใช้ส่วนของใบและยอดอ่อน เพื่อปรุงอาหารประเภทยำ ลาบ พล่า ต้มยำ เพราะสามารถดับกลิ่นให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น เนื่องจากการรับประทานสะระแหน่ส่วนใหญ่เป็นการรับประทานสด ดังนั้นจึงยังอุดมไปด้วยวิตามินซีทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย และกลิ่นหอมเฉพาะตัวของสะระแหน่ ช่วยให้ความคิดแจ่มใส สมองปลอดโปร่งด้วย สะระแหน่เป็นพืชไม้เลื้อยคลุมดิน ใบลักษณะเป็นป้อมๆ สีเขียวสด ขอบใบย่นชอบดินร่วนซุย ปลูกง่าย งอกงามได้รวดเร็ว ถ้าผู้ปลูกดูแลรักษาดีๆ ก็ยิ่งงามและเก็บใบได้เร็วยิ่งขึ้น การปลูกสะระแหน่ใช้วิธีปักชำลงในแปลงได้เลย หรือจะชำในแปลงเพาะก่อน แล้วจึงย้ายมาปลูกได้เช่นกันแต่ข้อสำคัญต้องเตรียมดินให้ร่วนซุยดีเสียก่อน เนื่องจากสะระแหน่ชอบดินประเภทนี้ ดังนั้นถ้าจะปลูกในภาชนะเช่น กระถาง ลังไม้ หรือปลูกในลักษณะเป็นพืชผักสวนครัวในพื้นที่จำกัดนั้นควรใช้ดินผสมที่มีส่วน ผสมของดิน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย คลุกเคล้ากันให้ดี แต่ถ้ามีเนื้อที่พอสมควรปลูกข้างบ้านควรเตรียมดินด้วยการขุดดินลึก 15-20 เซนติเมตร ขึ้นมาตาก 5-7 วัน จนดินร่วนแตก แล้วเอาปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักโรยทับลงไป โดรยปูนขาวทับบางๆ อีกชั้นหนึ่งทิ้งไว้ 3 วัน จึงกลับดินพรวนดินคลุกดินให้ร่วนเข้ากันได้ดี ถ้าดินเป็นดินเหนียวมากควรเติมทรายลงไปผสมด้วยเพื่อให้ดินร่วนวุยขึ้น ในการปลูกเลือกกิ่งสะระแหน่ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตัดส่วนยอดของลำต้นยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ปักจิ้มลงในแปลงเพาะชำหรือแปลงปลูก ก่อนปักชำต้องรดน้ำให้ชุ่มปักให้เอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะแล้วโรยแกลบทับกลบดิน ทั้งนี้เพื่อรักษาความชื่นให้หน้าดิน และเมื่อแกลบผุจะกลายเป็นปุ๋ยต่อไป ต้นสะระแหน่ต้องการดินที่ร่วนซุย แต่ไม่ต้องการแสงแดดมากนัก จึงปลูกในที่ร่ำไรได้ เมื่อเจริญเติบโตจนเก็บยอดได้ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบ้าง แต่ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี เนื่องจากจะมีผลทำให้ต้นสะระแหน่เหี่ยวตายได้ หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ก็จะเก็บผลผลิตได้ โดยใช้มีดคมๆ ตัดส่วนยอด ส่วนยอดที่ถูกตัดนี้ในไม่ช้าก็จะแตกยอดใหม่ขึ้นมาเหมือนเดิม ​
    โหระพา และ แมงลัก
    ลักษณะของต้นโหระพาและแมงลักมีลักษณะคล้ายคลึงกับต้น กะเพรา โดยขนาดของทรงพุ่มก็ใกล้เคียงกันคือ มีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมจร ลักษณะต้นและใบคล้ายกัน จะต่างกันตรงกลิ่น และสีไม่เหมือนกันใบของโหระพานั้นใบเป็นมัน และหนากว่า ก้านใบและลำต้นมีสีม่วงแดง ส่วนใบของแมงลักมีสีเขียวอ่อน ก้านใบและลำต้นก็มีสีเขียวอ่อนเช่นกัน และมีขนอ่อนอยู่ตามใบและก้านดอก ทั้งโหระพาและแมงลักชอบดินเบาและร่วน รวมทั้งชอบความชื้น ดังนั้นต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ฤดูที่เริ่มต้นปลูกควรเป็นฤดูฝน ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้นเพียงใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมก่อนการปลูกเท่านั้น การปลูกโหระพาจะปลูกด้วยวิธีการหว่านเมล็ด หรือปลูกด้วยกิ่งปักชำก็ได้ โดยปักเป็นกอๆ ให้ระยะห่างกันพอสมควร ส่วนการปลูกแมงลักต้องเพาะกล้าเสียก่อน โดยเตรียมดินกับการปลูกพืชผักโดยทั่วๆไป เมื่อหว่านเมล็ดลงไปแล้วประมาณ 4-5 วันเมล็ดจะงอกทิ้งไว้ในแปลงเพาะประมาณ 1 เดือนจึงย้ายแปลงปลูกในที่เตรียมไว้โดยต้นกล้าอายุ 1 เดือนจะสูงประมาณ 1 ฟุต เมื่อถอนต้นกล้าไปปลูกควรตัดยอดทิ้ง หรือตัดออกครึ่งต้นก็จะดี ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรแต่งรากด้วย เนื่องจากต้นแมงลักที่ตัดรากออกจะขึ้นงามมากกว่าการปลูกลงทั้งราก แต่ทั้งนี้เวลานำไปปลูกต้องหมั่นรดน้ำ ใช้ปลูกหลุมละ 2-3 ต้น ให้ห่างกัน 40x40 เซนติเมตร เมื่อต้นแมงลักเติบโตแตกกิ่งก้านใบก็จะคลุมถึงต้นหมด เมื่อปลูกแล้วประมาณ 1 เดือนถึงเดือนครึ่งก็สามารถเก็บรับประทานได้โดยการใช้มีดคมๆ ตัดส่วนกิ่งที่ติดยอด ซึ่งจะมีการแตกกิ่งใหม่ออกมาให้เก็บรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ​
     
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ปลูกผักสวน ครัวในทาวเฮ้าส์,สวนครัวลอยฟ้า,สวนครัวบ้านเดี่ยว,ในพื้นที่ทิ้งร้าง และริมรั้ว
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG][​IMG]
    ผักรวม[​IMG]
    <embed style="width: 189px; height: 168px;" src="http://widget-8b.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" wmode="opaque" flashvars="cy=ls&il=1&channel=216172782122099851&site=widget-8b.slide.com" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" allowscriptaccess="never" allownetworking="internal" align="middle"> ทดลองปลูกที่บ้านซิคะ...เป็นงาน อดิเรกที่มีคุณค่า ค่ะ
    การปลูกพืชสวนครวรอยฟ้า ในกรณที่ไม่มี ที่ดิน
    สวนครัวอากาศ หรือสวนครัวลอยฟ้า รูปแบบสวนครัวที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่มีพื้นที่จำกัด เน้นการปลูกในภาชนะแขวนตามจุดหรือมุมต่างๆ ตามความเหมาะสม หลักสำคัญการปลูกผักสวนครัวลอยฟ้าก็คือ สวนครัวอากาศควรแขวนสูงประมาณ 150 เซนติเมตรจากพื้นเครื่องปลูกอาจจะทำขึ้นจากกากมะพร้าวแล้วเอาลวดร้อยรัด แล้วใส่เครื่องปลูกอาจใช้แกลลอนน้ำมันเครื่องผ่าวีก หรือกระถางดินเผาที่มีขายตามท้องตลาดที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ก็ได้ ผักที่เลือกมาปลูกเป็นผักที่หยั่งรากตื้น หรือต้องเป็นผักที่มีรากลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตรได้แก่ ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง ผักกาดหอม ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กุยฉ่าย ผักชีฝรั่ง ใบกระเพรา พริกขี้หนู และชะพลู นอกจากนี้ควรเป็นผักที่ชอบอากาศเย็น เนื่องจากอุณหภูมิที่พืชผักเหล่านี้ได้รับนั้น จะต่ำกว่าพืชผักที่ปลูกบนผิวดิน ข้อควรระวังคือ ความชื้นของเครื่องปลูกในภาชนะที่แขวนห้อยจะระเหยออกไปได้รวดเร็วมาก จึงควรหมั่นรดน้ำวันละสองเวลา

    <embed style="width: 400px; height: 300px;" src="http://widget-ca.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" wmode="opaque" flashvars="cy=ls&il=1&channel=216172782122100682&site=widget-ca.slide.com" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" allowscriptaccess="never" allownetworking="internal" align="middle">
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ที่ มาลงเพราะอยากให้เราทุกๆคน ได้เกิดไอเดียว่า เราสามารถปลูกต้นไม้ได้ในทุกๆพื้นที่บนโลกใบนี้

    ช่วยโลกสร้างความอุดมสมบูรณ์ สร้างพื้นที่สีเขียว

    สร้างเมืองที่อุดมสมบูรณ์และศานติสุขขึ้น

    [​IMG]
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    อีกเรื่องหนึ่งคือ การปลูกบนดาดฟ้า ระวังการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งเราอาจนำแผ่นพลาสติกดำปูรองพื้นก่อนได้ครับ
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ก่อนที่เราจะ พัฒนาผิดทางไปจนผืนแผ่นดินกลายเป็นแบบนี้

    [​IMG]


    [​IMG]

    "ไฮเทคมากมาย แต่แผ่นดินกลายเป็นทะเลทรายไปหมดสิ้น"
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สวนที่จัดแสงดีๆนี่ดูสวยงามมากมาย ในยามค่ำคืน ไว้พักผ่อน ทำสมาธิได้สบาย

    [​IMG]
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ซ้อมเอาไว้ก่อนออกไปสู่ .............

    [​IMG]
     
  16. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    แบบที่ใช้พื้นที่น้อยมากๆ จากเวบนี้

     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เพิ่งโพสต์ กระทู้นี้ ตอนเย็นช่อง 3 ออกอากาศ ช่วงข่าว เรื่อง สวนผัก สลัมในเมืองไนโรบีของ เคนยา ที่ หันมาใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ ที่น้อยที่สุด โดย การปลูกผักในกระสอบปุ๋ย แถมยัง เจาะ รูเล็กๆรอบๆ กระสอบ นอกเหนือจากปากถุง

    <!--endclickprintinclude--><!-- google_ad_section_end --><!--startclickprintexclude--> <!--endclickprintexclude--><!-- google_ad_section_start --><!-- CONTENT --><!--startclickprintinclude--> <script language="JavaScript" type="text/javascript">var clickExpire = "-1";</script> <!-- REAP --><!--startclickprintexclude--> <!--===========IMAGE============-->[​IMG]

    ผลคือ ได้เพื่มพื้นที่ปลูกในแต่ละกระสอบอีก 43 ต้น แถมใช้น้ำน้อยเพราะกระสอบปุ๋ยไนลอนช่วยอุ้มน้ำ

    และชาวสลัม มีอาหารที่มีคุณค่ากินมากขึ้น มีผักขายได้เงินเลี้ยงชีพมากขึ้น




    pril 8, 2010 -- Updated 1130 GMT (1930 HKT)<!--endclickprintinclude--><!-- google_ad_section_end --><!--startclickprintexclude--> <!--endclickprintexclude--><!-- google_ad_section_start --><!-- CONTENT --><!--startclickprintinclude--> <script language="JavaScript" type="text/javascript">var clickExpire = "-1";</script> <!-- REAP --><!--startclickprintexclude--> <!--===========IMAGE============-->[​IMG]<!--===========/IMAGE===========--><!--===========CAPTION==========-->Nairobi's poor working on a mini-farm where the vegetables come in sacks.

    <!--===========/CAPTION=========-->

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]



    <script type="text/javascript">var CNN_storyImageGallery = [{caption: "Nairobi's poor working on a mini-farm where the vegetables come in sacks.",image: "/2010/WORLD/africa/04/08/kenya.farm.slums/story.farm.jpg"},{caption: "Each sack contains 43 seedlings and are grown in Nairobi's Mathare slum.",image: "/2010/WORLD/africa/04/08/kenya.farm.slums/story.farm2.jpg"},{caption: "Each sack provides food for at least one family and any spare vegetables can be sold.",image: "/2010/WORLD/africa/04/08/kenya.farm.slums/story.farm3.jpg"}];cnn_stryichgInit();</script><!--endclickprintexclude--><!-- /REAP -->STORY HIGHLIGHTS

    • <!-- google_ad_section_start -->
    • Farms in sacks provide food and means of income for slum dwellers in Nairobi
    • Each sack contains 43 seeds to impoverished families
    • Italian organization provides sacks and lessons in urban farming skills
      <!-- google_ad_section_end -->


    Nairobi, Kenya (CNN) -- For centuries Africa has been a rural continent, but there is a steady stream of people heading into the crowded cities -- where many find their new home is in a slum.
    In Nairobi's densely populated slums people have hard lives and some are going back to their agricultural roots to get ahead.
    The "farm-in-a-sack" project provides poor families with more than 40 seedlings, which can be grown into food in just a few weeks.
    Nairobi's Mathare slum is not a paradise for green-fingered ambitions -- the streets are narrow and garbage is strewn everywhere.
    But mini-farms are cropping up on spare land.
    The project was started by the Italian organization Cooperazione Internazionale (COOPI), which brought in rural agriculturists to teach community groups how to create vegetable farms in the slums.
    COOPI provided each participating household in the project with one sack containing soil mix and 43 seedlings to cultivate: 25 spinach, 15 kale, 2 capsicum and 1 spring onion. COOPI also provides the expertise.
    The vegetables can be harvested many times for at least one year. The capsicum and spring onions are used for passive pest control instead of chemicals. The spinach sometimes even grows out of the side of the sack.
    Nairobi's urban centers are increasingly cramped, so what they try to do is use the minimum amount of space to get the maximum amount of output.
    Claudio Torres, from COOPI, said: "There are two effects. There is the main effect that they really have more food and that's like nutrition and micronutrients. But also, as you can see, this brings together the community."
    <!--startclickprintexclude--> <script type="text/javascript"> var currExpandable = "expand1"; var currExpandableHeight = 360; </script> [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]<cite class="expCaption">Video: Nairobi's slum farms</cite><script type="text/javascript"> var mediaObj = new Object(); mediaObj.type = 'video'; mediaObj.contentId = ''; mediaObj.source = '/video/world/2010/04/08/mckenzie.urban.kenya.slum.farm.cnn'; mediaObj.source = mediaObj.source.replace('/video/',''); </script>
    <script type="text/javascript"> mediaObj.lgImage = $(currExpandable).select('img.box-image')[0].readAttribute('src'); mediaObj.lgImageX = 640; mediaObj.lgImageY = currExpandableHeight; mediaObj.origImageX = $(currExpandable).select('img.box-image')[0].readAttribute('width'); mediaObj.origImageY = $(currExpandable).select('img.box-image')[0].readAttribute('height'); mediaObj.contentType = 'Video'; CNN.expElements.expand1Store = mediaObj; </script> <script type="text/javascript"> var cnnRelatedTopicKeys = []; </script> RELATED TOPICS

    • <script type="text/javascript"> cnnRelatedTopicKeys.push('Kenya'); </script>Kenya
    • <script type="text/javascript"> cnnRelatedTopicKeys.push('Food_Security_and_Hunger'); </script>Food Security and Hunger

    <!--endclickprintinclude--><!-- google_ad_section_end --><!--startclickprintexclude--> <!--endclickprintexclude--><!-- google_ad_section_start --><!-- CONTENT --><!--startclickprintinclude--> <script language="JavaScript" type="text/javascript">var clickExpire = "-1";</script> <!-- REAP --><!--startclickprintexclude--> <!--===========IMAGE============-->[​IMG]
    <!--endclickprintexclude-->And the city communities are swelling. Currently one-third of Africans live in urban areas but in 30 years half the population is expected to be city dwellers. See how urban populations have exploded
    There is food available but it's expensive and the quality is unreliable.
    Even schoolchildren are being taught urban farming. Some who have never been out of the city are getting their hands dirty in soil.
    The farms can make a big difference. There, COOPI provides basic tools such as fencing, water tanks, spades and hoes. They also become a base for learning good farming practices like water management.
    One of the slum farms feeds more than 150 families, who harvest the crops twice a week.
    It fills a hole in their stomachs, and when there is produce left over it can be sold to fill a hole in their pockets.
    COOPI said 1,000 households were involved in the project as of the end of January 2010 and that will also help improve the nutrition intake of those families.
    And it's an elegant solution for Africa's rapidly growing cities.




    เราก็ประยุกต์ใช้ได้ครับ หากขาดแคลนหรืองบน้อยจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2010
  18. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    ปลูกผักในถุงปุ๋ยอันนี้ไอเดียดีจังค่ะ เหมือนทำคอนโดให้ผักอยู่ ปลูกได้หลายต้นใช้พื้นที่น้อยลงปรับเป็นแนวตั้งเหมือนที่เราปลูกเห็ด แถมใช้น้ำน้อยกว่า เพราะถุงช่วยรักษาความชื้นได้ระดับหนึ่งด้วย ดีค่ะ
     
  19. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
  20. ศิลาพร

    ศิลาพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2009
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +391
    ดีจังค่ะอาจารย์เล็กที่มีกระทู้นี้ ปกติหลอดชอบปลูกต้นไม้มาก แต่ที่พัก..พื้นที่ก็น้อยมาก ก็อาศัยห้องน้ำค่ะแปลงร่างเป็นสวนไปแล้ว นอกจากปลูกว่านต่างๆและแคตตัสแล้ว ก็ปลูกพริก ปลูกกะเพรา ปลูกหอม กำลังจะลงตะไคร้เพิ่ม ทั้งหมดปลูกในกระถางเพราะสะดวกในการย้ายลงมารับแดด จริงๆแล้วอยากจะลงอีกหลายอย่างแต่มีข้อจำกัดเรื่องแสงแดดเลยต้องตัดใจค่ะ จริงๆก่อนมาเจอกระทู้ของอาจารย์ก็แพลนว่าจะหาซื้อดินก้ามปูที่ขายเป็นถุงๆนะค่ะ จะเอามาปลูก(ในถุง)พวกไม้เลื้อยจำพวกตำลึง ถั่วพู ทำค้างให้เค้าเลื้อยบนดาดฟ้าใกล้ๆที่วางมอเตอร์แอร์(แดดจัดมาก ร้อนเกินบรรยาย)

    ...การปลูกต้นไม้เป็นความสุขอย่างยิ่งสำหรับคนรักต้นไม้ นอกจากความเย็นที่ได้รับแล้ว ก็เป็นการฝึกเรื่องความรักความเอาใจใส่ได้เป็นอย่างดี
    ..ทุกๆเช้า ต้องย้ายต้นที่ไม่ค่อยเจอแดด ลงมารับแสงบ้าง
    ..จัดวางกระถางที่ชอบแดดเป็นพิเศษ ไว้ในมุมแดดแรง
    ..ย้ายต้นที่ชอบแดดรำไร ไว้มุมหลบร้อน
    ..คอยดูว่ามีเพลี้ยบ้างหรือเปล่า ปุ๋ยพอมั้ย ใครกำลังผลิดอกบ้าง ทั้งหมดล้วนเป็นความสุขและความภาคภูมิใจค่ะ ..ความสุขง่ายๆใกล้ตัว ลองดูนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...