ครูบาอินโต วัดบุญยืน จ. พะเยา เทพเจ้าแห่งภูกามยาว

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย อดุลย์ เมธีกุล, 9 พฤศจิกายน 2008.

  1. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    [​IMG]


    พระครูภาวนาธิคุณ (ครูบาอินโต คนฺธํวโส)


    ดินแดนแห่งแผ่นดินลานนา ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นดินแดนที่ร่ำรวยมั่งคั่งด้วยศิลปะและวัฒนธรรมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความรุ่งเรื่องทางพุทธศาสนาบนดินแดนแถบนี้มาช้านาน ปัจจุบันยังปรากฏโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาในอดีต ณ ดินแดนแห่งนี้ได้อย่างดี วิวัฒนาการด้านศาสนาของเมืองพะเยา พระเถราจารย์ล้วนเป็นผู้ที่บทบาทโดยตรงในการทะนุบำรุง ดังจะเห็นได้จากการสืบสานประวัติพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา จากพระธรรมปาละเถระ การจารึกในศิลาหินทรายของวัดต่างๆ การแต่งหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเภระ การบันทึกเหตุการณ์บ้านเมืองของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ตลอดจนการเขียนหนังสือท้องถิ่นของหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี(เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวงองค์ปัจจุบัน) พระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงทางวิปัสสนาธุระจนเป็นที่เคารพนับถือและศรัทธาของชาวเมืองพะเยาถ้วนหน้า อาทิ ครูบาปัญญาปัญโญ ครูบาแก้ว คันธะวังโส แห่งวัดพระเจ้าตนหลวง และครูบาอินโต คันธะวังโส แห่งวัดบุญยืน โดยเฉพาะครูบาอินโต คันธะวังโส หรือพระครูภาวนาธิคุณ นับเป็นพระเถราจารย์ที่ชาวพะเยาให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้จากการออกเหรียญรุ่นแรกที่สร้างเมือง ปี พ.ศ.2508 นั้น นับเป็นเหรียญที่มีการกล่าวเล่าลือถึงความขลังศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลของผู้ได้ครอบครองบูชา กระทั่งมีความต้องการและแสวงหาของผู้คนทั่วไปอยู่ทุกวันนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ประวัติวัดบุญยืน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา<O:p</O:p

    วัดบุญยืน เดิมชื่อ วัดสร้อยคำ สร้างเมื่อ พ.ศ.2410 ปีมะแม จ.ศ.2649 ร.ศ.126 วัดสร้อยคำตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดบุญยืนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันที่ดินของวัดสร้อยคำ ได้กลายเป็นที่ดินของชาวบ้านไปหมดแล้ว ต่อมาทางวัดบุญยืนโดยมีเจ้าอาวาสและคณะศรัทธา ได้พร้อมกันย้ายวัดมาตั้งอยู่ที่ใหม่เมื่อ ปี พ.ศ.2450 โดยเอาที่ดินของวัดสร้อยคำเดิมแลกเปลี่ยนกับที่ดินของ พ่ออุ้ยตื้อ เบิกบาน และเนื่องจากที่ดินของวัดยังคับแคบ ทางวัดจึงได้ขยายที่ดินให้กว้างออกไปโดยได้ซื้อที่ดินของชาวบ้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3 ไร่1 งานโฉนดเลขที่ 91 เป็นจำนวนเงิน 7 แถบหรือรูปีย์(เงินแถบเป็นเงินที่ใช้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1-2) และได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสร้อยคำ มาเป็น วัดศรีบุญยืน และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นวัดบุญยืน มาจนปัจจุบันนี้ วัดบุญยืน มีอาณาเขตที่ล้อมรอบด้วยทางสาธารณะประโยชน์ โดยภายในวัดมีอาคารและเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง วิหารพระพุทธชินราชจำลอง 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง มณฑปที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาอินโต 1 หลัง พระธาตุเจดีย์ 1 องค์ กุฏิสงฆ์ 6 หลัง จำนวน 17 ห้องโรงครัว 1 ห้อง หอระฆัง 2 หลัง<O:p></O:p>



    ทำเนียบลำดับเจ้าอาวาสวัดบุญยืน<O:p</O:p
    • <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">เจ้าอธิการอินตา พ.ศ.2459-2470<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">พระอธิการสาม พ.ศ.2472-2478<O:p</O:p<LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">เจ้าอธิการคัมภีร์ พ.ศ.2478-2492<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">เจ้าอธิการธัมชัย พ.ศ.2492-2496<O:p</O:p<LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">พระครูภาวนาธิคุณ(ครูบาอินโต) พ.ศ.2498-2520<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">พระอธิการประเสริฐ พ.ศ.2522-2523<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">พระสมคิด พ.ศ.2525-2530<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l5 level1 lfo6">พระสุธี วรปัญโญ พ.ศ.2530-2536<O:p</O:p
    • พระอธิการจำรัส จันทะวังโส พ.ศ.2536-ปัจจุบัน
    • ที่มา - คลับคนรักษ์พระ โพสโดย : dangphayao
      http://www.thaiamuletclub.com/forum1...60&action=view<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  2. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    [​IMG]

    พระครูภาวนาธิคุณ หลวงพ่อครูบาอินโต คันธะวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ได้ถือกำเนิดในตระกูล ยาเจริญ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2439 ตรงกับวันแรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณพ่อหนานตา คุณแม่บัวคำ ยาเจริญ แห่งบ้านต๊ำเหล่า ต.สันนกกก อ.พะเยา จ.เชียงราย เดิมชื่อบุญมี ยาเจริญ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 8 คน คือ 1.นางปั่น 2.นายโป้ 3.เด็กชายบุญมี(ครูบาอินโต) 4.นางแก้ว 5.นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>วงศ์ ยาเจริญ 6.นางคำยวง 7.นาย<st1:personName w:st="on" ProductID="มูล ยาเจริญ">มูล ยาเจริญ</st1:personName> 8.นาง<st1:personName w:st="on" ProductID="แสงหล้า สุวรรณ">แสงหล้า สุวรรณ</st1:personName> ครอบครัวของคุณพ่อหนานตา คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="แม่บัวคำ ยาเจริญ">แม่บัวคำ ยาเจริญ</st1:personName> เป็นครอบครัวใหญ่มีพี่น้องอยู่ด้วยกันหลายคน ทุกๆ คนต่างอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่ ปรองดองและผูกพัน นอกจากนี้ยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติมิตรและเพื่อนบ้านอยู่เสมอ ครอบครัวของคุณพ่อหนานตา จึงเป็นที่รักและนับถือของทุกคนในหมู่บ้านชีวิตเด็กชายบุญมี ยาเจริญ เป็นเด็กที่มีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่มีนิสัยเกเรก้าวร้าว ชอบทำบุญสุนทาน ไม่ชอบรังแกสัตว์ ว่านอนสอนง่าย มีน้ำใจต่อเพื่อนๆ จึงเป็นที่เอ็นดูรักใคร่ของผู้ใหญ่ มักติดตามคุณพ่อหนานตา คุณแม่บัวคำ ไปวัดทำบุญใส่บาตรอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กชายบุญมี เป็นเด็กที่มีจิตใจอ่อนโยน<O:p</O:p
    เมื่อเด็กชายบุญมี ยาเจริญ มีอายุได้ 10 ปี ผู้เป็นบิดาจึงได้พาไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอธิการอภิชัย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้เรียนหนังสือพื้นเมือง อักษรพื้นเมืองหรือตัวหนังสือเมือง จนคล่องแคล่วชำนาญ ในสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การเรียนหนังสือจะต้องใช้ตะเกียงส่องสว่าง เด็กชายบุญมี มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและอุปัฎฐากรับใช้เจ้าอาวาสด้วยความเต็มใจ ขยันหมั่นเพียรทำความสะอาดวัดวาอารามมินิ่งดูดาย เมื่อเด็กชายบุญมีมีอายุได้ 12 ปี ก็ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2451 และได้รับฉายาว่า อินตะ หรือ อินโต นับตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณร ก็ถูกเรียกว่าสามเณรอินโต ตั้งแต่นั้นมา สามเณรอินโต ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยแบบพื้นเมือง ทั้งท่องสูตรสวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานอย่างคล่องแคล่ว ในบางครั้งก็ท่องจำโดยให้เจ้าอาวาสเขียนลงบนแผ่นกระดานใช้ดินสอพองเขียนอักษรอักขระการท่องสูตรมนต์ต่างๆ ต้องท่องกันเป็นกลุ่ม โดยใช้แสงไฟจากตะเกียงและแสงเทียน สามเณรอินโตมีความจำแม่นยำดี มีปัญญาฉลาดไหวพริบดี โดยเฉพาะมีความสนใจในการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ เช่น กัณฑ์ชูชก กัณฑ์มหาราช ซึ่งการเทศน์ทั้งสองกัณฑ์หาผู้เทศน์เสมอท่านยาก ด้วยท่านนี้มีน้ำเสียงกังวานไพเราะและท่วงทำนองที่สนุกสนาน ท่านจึงเป็นที่ชื่นชอบของคณะศรัทธาเพราะในสมัยก่อนนิยมการฟังเทศน์มหาชาติอย่างมาก<O:p</O:p
    เมื่อสามเณรอินโต มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดต๊ำเหล่า ต.ต๊ำ อ.พะเยา จ.เชียงราย โดยมีพระอภิวงศ์ อภิวังโส วัดต๋อมใต้เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการปัญโญ วัดต๊ำม่อน เป็นพระกรรมวาจารย์ พระชัยลังกา วัดต๋อมดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2459 เวลา 11.00 น. ได้รับฉายาว่า คันธะวังโส<O:p</O:p
    พระอินโต คันธะวังโส ภิกษุหนุ่มที่มีความสนใจและใส่ใจต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเบื้องต้นท่านมิได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย รู้แต่หนังสือพื้นเมืองอย่างเดียว จึงต้องการที่จะเรียนหนังสือไทย ปี พ.ศ.2460 พระอินโต ได้ไปศึกษาเล่าเรียนหนังสอไทยที่วัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.ลำปาง กระทั่งพอมีความรู้อ่านออกเขียนได้ ปี พ.ศ.2461 ท่านได้ไปศึกษาต่อที่เชียงใหม่ โดยไปจำพรรษาที่วัดป่าป่อง จ.เชียงใหม่ นานถึง 8 พรรษา จนมีความรู้ทางภาษาไทยดีและสอบได้นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.2468 เรียนจบการศึกษาแล้ว ได้กลับมาอยู่ภูมิลำเนาเดิม โดยได้เป็นเจ้าอาวาสวัดต๊ำเหล่า พอดีตำแหน่งเจ้าคณะหมวดต๊ำว่างลง ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบล) ในปีนั้น ปี พ.ศ.2475 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ควบคุมการบวชบรรพชาอุปสมบท 3 ตำบล คือ ตำบลต๊ำ ตำบลใหม่ ตำบลแม่ปีม เพราะพระอุปัชฌาย์มีน้อย จึงแบ่งงานให้อุปัชฌาย์ควบคุมการบรรพชาเป็นสายๆ ปี พ.ศ.2481 ท่านได้ย้ายมาพำนักอยู่วัดบุญยืนครั้งคราว เพราะสะดวกใกล้ชิดกับพุทธศาสนิกชนผู้มาติดต่อ<O:p</O:p
    การปกครองของคณะสงฆ์อำเภอพะเยา มีความผันแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ อย่างเหตุการณ์ที่เกิดจากพระครูโสภิตจริยากร เจ้าคณะอำเภอพะเยาได้ลาสิกขาบท พระอธิการชื่น วัดราชคฤห์รักษาการหน้าที่แทนในฐานะผู้ใกล้ชิด แต่มิได้เป็นพระคณาธิการแต่อย่างใด เพราะพระป้อม(บุญเลิศ)พระคณาธิการ วัดศรีอุโมงค์คำเป็นเจ้าคณะหมวด พระครูสุทธิสารเวที เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายไม่มีความเต็มใจที่จะแต่งตั้งท่านทั้งสอง มาทำหน้าที่เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยาคนใหม่เพราะคุณสมบัติไม่สมบูรณ์ แต่เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายมีความต้องการที่จะแต่งตั้งท่านพระครูพินิตธรรมประภาส(สว่าง โพธิ์ย้อย) ครูสอนพระปริยัติธรรมที่ย้ายมาจากอำเภอป่าซาง จ.ลำพูน เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยา แต่เมื่อขอมติจากทางคณะสงฆ์อำเภอพะเยา ก็ไม่เห็นชอบด้วย จึงเกิดความสับสนวุ่นวาย ขณะนั้นทางคณะสงฆ์ก็มีมติพ้องตรงกันว่า ครูบาอินโต คันธะวังโส ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์เป็นพระผู้ใหญ่เป็นที่รู้จักและศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน จึงได้เสนอครูบาอินโต เป็นเจ้าคณะอำเภอพะเยา ตัวท่านเองก็ไม่อยากที่จะรับตำแหน่งนี้ แต่ถูกคณะสงห์ข้อร้องและมีมติแต่งตั้งเป็นเอกฉันท์ จึงจำต้องรับภาระตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพะเยาแต่โดยดี<O:p</O:p
    ในปี พ.ศ.2483 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบุญยืนเป็นต้นมาจนกระทั่งมรณภาพ ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพะเยาอยู่นั้น ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของคณะสงฆ์อย่างดี เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระภิกษุสามเณร พ่อค้า ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ด้วยท่านมีความโอบอ้อมอารีย์เผื่อแผ่ยิ่งนัก ครูบาอินโต คันธวังโส ดำรงตำแหน่งหน้าที่เจ้าคณะอำเภอพะเยาได้ไม่นานก็ลาออก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2493 ต่อมาเจ้าคณะตำบลเวียงว่างลง แต่หาภิกษุที่สมควรเหมาะสมกับตำแหน่งไม่ได้ คณะสงฆ์อำเภอพะเยาจึงมีมติเลือกท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลเวียงอีกครั้ง ท่านถึงกับกล่าวว่า เอ้อ...เฮานี้เตเฮือนแล้วมาแป๋งตูบ คือท่านเคยได้รับตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอมาแล้ว กลับมาได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลอีก เท่ากับรื้อตึกมาปลูกเป็นกระต๊อบ คิดแล้วน่าสงสารท่าน แต่ตัวท่านเองก็ไม่ยินดียินร้ายอะไร กลับอนุโมทนารับภาระไว้ ท่านได้ส่งเสริมการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ลูกศิษย์ให้ได้รับการศึกษาทางนักธรรมบาลี จนกระทั่งลูกศิษย์หลายหลายคนสอบได้ถึงเปรียญ และส่งเสริมการศึกษาฝ่ายสามัญ จนได้รับตำแหน่งหน้าที่ทางราชการก็มากมาย นับว่าท่านได้ส่งเสริมความรู้ทุกด้านแก่ลูกศิษย์เป็นอย่างดี

    ที่มา - คลับคนรักษ์พระ โพสโดย : dangphayao
    http://www.thaiamuletclub.com/forum1...60&action=view<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  3. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ครูบาอินโต คันธวังโส ท่านยังเป็นนักปฏิบัติ ท่านเคยเดินธุดงค์รูปเดียวถึงประเทศพม่า ถึงเมืองย่างกุ้ง ทางทิศเหนือจรดถึงรัฐเชียงตุง เลยไปถึงประเทศลาว กัมพูชา ท่านเดินธุดงค์มาหมด ด้านพุทธเวทย์ ท่านมีคาถาอาคมต่างๆ นับว่าท่านก็เอกอุทีเดียว สามารถท่องมนตราต่างๆ ได้ทั้งเล่ม ทั้งจากปั๊บสาและคัมภีร์ใบลาน ทั้งยังได้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพรให้กับญาติโยมที่มาขอรับรักษา และได้สร้างเหรียญยันต์ของท่านให้ลูกศิษย์ลูกหาได้สักการบูชา นำรายได้ไปสร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย คาถาอาคมของท่านนับว่าศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนถึงบารมีในตัวท่าน ได้ปกปักรักษาคุ้มครองลูกศิษย์ให้อยู่รอดปลอดภัย เจริญด้วยเมตตายิ่งนัก อีกทั้งยังสามารถป้องกันอุบัติภัยภยันตรายต่างๆ รวมทั้งภูตผีปีศาจร้ายได้อย่างดี วันหนึ่งๆ จะมีสาธุชนหลั่งไหลไปกราบขอพึ่งบารมีท่านมากมายมิได้ขาด ซึ่งท่านก็เต็มใจให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง แม้บางครั้งท่านอาพาธก็ไม่เคยบ่นต่อว่าลูกศิษย์ที่มากราบขอความเมตตาจากท่าน เสนาสนะที่ครูบาอินโตสร้างในพุทธศาสนา ท่านได้ช่วยพัฒนาสร้างพระธาตุขึ้นที่วัดต๊ำเหล่า วัดเดิมที่ท่านได้บวชอุปสมบทที่นั่น เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาของศรัทธา เป็นพระธาตุแก้ววิเศษที่พ่อหนานเต็ม ใจลา ได้มาจากลูกแตงโมซึ่งไม่เน่าเปื่อย จึงได้นำมาให้ครูบาอินโตดูท่านจึงผ่าแตงโมออก ก็พบพระธาตุแก้ววิเศษอยู่ข้างในเป็นเหตุอัศจรรย์ยิ่งนัก พ่อหนานเต็ม ใจลา จึงได้มอบพระธาตุแก้ววิเศษถวายครูบาอินโต กระทั่งคณุบาอินโตได้ทำการก่อสร้างพระธาตุขึ้น จึงได้นำพระธาตุแก้ววิเศษบรรจุไว้ พร้อมทั้งวัตถุมงคลและแก้วแหวนเงินทองต่างๆ ต่อมาทางวัดต๊ำเหล่าได้จัดให้มีพิธีสรงน้ำพระธาตุทุกปี ในเดือน 7 เป็ง ตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ครูบาอินโต ยังได้สร้างหอธรรมเพื่อเก็บรวบรวมคัมภีร์ปั๊บสาและใบลานไว้ ยามท่านมาวัดต๊ำเหล่า ก็จะพักที่หอธรรมนี้เสมอ สร้างกุฎิสงฆ์ขนาดใหญ่ ไว้ให้พระภิกษุสามเณรได้อยู่อาศัยและเป็นที่รับรองสาธุชนที่มาทำบุญ ได้ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตประจำโบสถ์วัดต๊ำเหล่า ท่านได้จัดงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน มีพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีมากมาย ท่านเองได้นั่งหนักตลอดงานพร้อมทั้งอาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง สิงห์สาม มาจากน้ำอิง ต่อมาได้อาราธนาพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ ไปประดิษฐานที่วัดต๊ำนกกก วัดต๊ำป่าลาน และวัดต๊ำเหล่า และได้สร้างศาลาการเปรียญวัดต๊ำเหล่า สร้างพระธาตุโป่งขาม สร้างโรงเรียนบ้านต๊ำเหล่า สร้างพระธาตุวัดป่าแดงบุนนาค บริจาคพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว ให้แก่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม และได้ร่วมกับนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>จันทร์ ยาดี สร้างวัดกาดถี ซ่อมแซมพระประธานวัดปันเจิง สร้างกำแพงวัดต๊ำเหล่า สร้างเสนาสนะในวัดบุญยืน สร้างศาลาบาตรวัดต๊ำเหล่า ช่วยบูรณะวัดร่องไผ่ วัดต๊ำดอนมูล วัดต๊ำน้ำล้อม วัดต๊ำนกกก วัดต๊ำป่าลาน วัดต๊ำพระแล วัดทุ่มท่า วัดห้วยเคียน วัดโป่งขามและตัดถนนจากป่าช้าไปถึงวัดป่าแดงบุนนาค สร้างถนนบ้านห้วยเคียนมาบ้านต๊ำนกกก โดยท่านนั่งหนักเป็นประธานก่อสร้างจนแล้วเสร็จ<O:p</O:p
    ครูบาอินโต ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาธิคุณ เมื่อ ปี พ.ศ.2516 ยังความปลาบปลื้มให้แก่ลูกศิษย์ลูกหาและสาธุชนเป็นอันมาก ต่อมาท่านเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา มีโรคประจำตัวหลายโรคแต่ที่มีอาการหนักมากคือ โรครูมาติซั่ม คือมีอาการปวดบวมตามข้อมือข้อเท้าและมีอาการมึนเมาเวียนศีรษะ ทั้งนี้แพทย์วินิจฉัยโรคมาว่า ท่านเป็นโรคตกเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ เนื่องจากฉันยาแก้ปวดข้อติดต่อกันมานาน อีกทั้งยังปวดหลัง ปวดเอวและปวดเมื่อยตามข้อต่างๆ รวมทั้งโรคแทรกซ้อนอีกมาก ประกอบกับตัวท่านเองก็ชราภาพมากแล้ว ลูกศิษย์ได้นำท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลพะเยา-เชียงรายประชานุเคราะห์ แต่อาการป่วยของท่านเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ ก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยอาการสงบ ณ วัดบุญยืน เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2520 เวลา 06.45 น. ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของคณาญาติ ศิษยานุศิษย์ กรรมการศรัทธา สิริรวมอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62 สรีระร่างกายของท่านได้บรรจุอยู่บนปราสาทนกหัสดีลิงค์ ที่ประดับตกแต่งอย่างประณีตวิจิตรบรรจงงดงาม สมกับเป็นมหาเถระผู้ยังประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อรับพระราชทานเพลิงศพ ณ ข่วงลานหน้าวัดพระเจ้าตนหลวงอย่างสมเกียรติ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2521

    ที่มา - คลับคนรักษ์พระ โพสโดย : dangphayao
    http://www.thaiamuletclub.com/forum1...60&action=view<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  4. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ครูบาอินโต คันธะวังโส ล่วงลับดับขันธ์ เหลือแต่คุณงามความดีอันยิ่งใหญ่ไพศาลของท่าน ที่จารึกอยู่ในใจของศรัทธาญาติโยม ยากที่จะลืมเลือนได้ พระมหาเถระนักพัฒนาผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม ค้ำจุนผดุงศาสนา พุทธบุตรของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง นาม ครูบาอินโต คันธะวังโสท่านพระครูภาวนาธิคุณ ได้ทำนุบำรุงสถานที่ต่างๆ มากมาย กระทั่งสถานที่ศึกษาเล่าเรียนแล้ว ท่านยังจัดสร้างวัตถุมงคลและพระเครื่องพระบูชา เหรียญบูชา รูปหล่อ พระผง พระยอดขุนพล พระรอด ตะกรุด ผ้ายันต์ ฯลฯ และวัตถุมงคลของท่านล้วนแล้วมีประสบการณ์สูงแทบทั้งสิ้น เด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นที่นิยมของชาวเมืองเหนือและพุทธศาสนิกชนมากมายผู้ที่คอบครองมักจะหวงแหนไม่ค่อยออกมาให้ชมให้เห็นกันเท่าไรนัก<O:p</O:p



    ปี พ.ศ.๒๕๐๘ เหรียญครูบาอินโต รุ่นแรก<O:p</O:p
    • <LI class=MsoNormal style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l1 level1 lfo1">บล็อกขีดเดียว เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง (กะไหล่เงิน แจกกรรมการ)<O:p</O:p<LI class=MsoNormal style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l1 level1 lfo1">บล็อกขีดเดียว สังฆาฏิต่อเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l1 level1 lfo1">บล็อกสองขีดเนื้อทองแดง กะไหล่ทอง<O:p</O:p <LI class=MsoNormal style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l1 level1 lfo1">บล็อกสามขีด เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง<O:p</O:p<LI class=MsoNormal style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l1 level1 lfo1">บล็อกสี่ขีด เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง<O:p</O:p
    • บล็อกแจกแม่ครัว เนื้อทองแดง กะไหล่ทอง มีสองบล็อก ๘ หางขึ้น กับ ๘ หางลง<O:p</O:p
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๗<O:p</O:p
    • <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l3 level1 lfo2">เหรียญครูบาอินโต รุ่นสอง นิยมเรียก “เหรียญฟ้าผ่า” เนื้อเงิน ทองแดง<O:p></O:p>
    • รูปหล่อรุ่นแรก ๕ นิ้ว เนื้อโลหะผสมรมดำ<O:p</O:p
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เหรียญ รุ่นสาม นิยมเรียก เหรียญหน้าใหญ่<O:p</O:p
    • <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l6 level1 lfo3">เหรียญรูปไข่ เนื้อทองคำ เงิน นวะโลหะ ทองแดง<O:p</O:p
    • เหรียญกลมเล็ก เนื้อทองคำ เงิน นวะโลหะ ทองแดง<O:p</O:p
    ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ (พิธีปลุกเสกพร้อมวัตถุมงคลของวัดพระเจ้าตนหลวง)<O:p</O:p
    • <LI class=MsoNormal style="TEXT-JUSTIFY: inter-cluster; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; COLOR: blue; TEXT-ALIGN: justify; tab-stops: list 36.0pt; mso-list: l2 level1 lfo4">รูปหล่อบูชา รุ่นสอง ขนาด ๕ นิ้ว เนื้อโลหะผสมรมดำ<O:p</O:p
    • รูปหล่อลอยองค์ รุ่นแรก เนื้อนวะโลหะ ฐานเจาะอุดผง<O:p</O:p
    หมายเหตุ <O:p</O:p



    เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๘ มีการสร้างขึ้นมาหลายบล็อก ครูบาอินโต ได้ปลูกเสกพร้อมกันทั้งหมดในมณฑลพิธีเดียวกัน ส่วนเหรียญบล็อกสามขีดมีมาก จึงตกค้างที่วัดเป็นเวลานานหลายปี ครูบาอินโต ท่านจึงเมตตาปลูกเสกให้ตลอดจนเหรียญหมดไปจากวัด ถือว่าเหรียญสามขีดปลุกเสกนานที่สุด นอกจากเหรียญข้างต้นแล้วครูบาอินโต ท่านยังสร้างวัตถุมงคลอื่นๆ ไว้ตลอด <O:p</O:p
    • พระผงครูบาอินโตโพธิ์พันต้น พิมพ์เล็บมือ เนื้อขาว และเนื้อดำ
    • [​IMG]



      [​IMG]
    ที่มา - คลับคนรักษ์พระ โพสโดย : dangphayao
    http://www.thaiamuletclub.com/forum1...60&action=view

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  5. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  6. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  7. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  8. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ขออนุโมทนาสำหรับข้อมูลดีๆครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากๆเลยครับ
     
  9. ปทุมธานี

    ปทุมธานี ยอมไม่ทำดีกว่าทำร้ายคนอื่น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,876
    ค่าพลัง:
    +1,218
    องค์นี้ป๋าให้ผมใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  10. พระอดุลย์ อตุโล

    พระอดุลย์ อตุโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    912
    ค่าพลัง:
    +1,162
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2008
  11. ตนโอวันติน

    ตนโอวันติน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +43
    [​IMG]
     
  12. sinpet

    sinpet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +396
    ด้วยจิตคารวะ ครูบาอินโต

    จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ น่าเที่ยว ค่าครองชีพต่ำ ผู้คนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ทรัพยากรธรรมชาติมีครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นขุนเขา ป่าไม้ สายธาร และทะเล (สาบน้ำจืด) ที่สวยงาม มีมนต์ขลัง

    <O:p</O:pใครไปแล้วก็ต้องไปอีก ผมเองอยู่พะเยา ก็ผูกพันจนไม่อยากจะจากไปไหน..

    <O:p</O:p
    สมัยเด็กผมจำได้ว่าเคยได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ครูบาอินโต ที่จัดขึ้นหน้าวัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งไม่ไกลจากวัดบุญยืน ของหลวงพ่อ เหล่าสานุศิษย์ ไปกันมืดฟ้ามัวดินนับหมื่น นับแสน มาจากแหล่งที่ต่างๆ ทั้งในพะเยา และจังหวัดใกล้เคียง

    <O:p</O:pที่สนใจของเหล่าศิษย์ นอกจากมาเพื่อแสดงกตัญญุตาจิต ทำบุญถวายหลวงพ่อแล้ว ยังรอเก็บเถ้า
     
  13. บัวเกี๋ยง

    บัวเกี๋ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2008
    โพสต์:
    549
    ค่าพลัง:
    +431
    บ้านผมต้องไปกราบแน่นอน
     
  14. jupiter1971

    jupiter1971 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +255
    ..

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับพี่ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว

    ขออนุโมทนากับทุก ๆ ท่านที่คิดดีทำดีครับผม
     
  15. ธัมมานุสรณ์

    ธัมมานุสรณ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +47

    ผมไม่เคยไปวัดเลยครับ

    เส้นทางไปวัด ยากไหม๊

    ไม่ทราบว่า คุณอดุลย์ พอจะบอกทางได้บ้างไหม๊ครับ

    ( มีภาพด้วยก็ดี )

    ... ขอบคุณล่วงหน้าครับ ...

     
  16. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    <TABLE class=tborder style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR title="Post 1646844" vAlign=top><TD class=alt2 align=middle width=125>ศิษย์แพร่ง</TD><TD class=alt1>จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ น่าเที่ยว ค่าครองชีพต่ำ ผู้คนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ทรัพยากรธรรมชาติมีครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นขุนเขา ป่าไม้ สายธาร และทะเล (สาบน้ำจืด) ที่สวยงาม มีมนต์ขลัง

    <O:p</O:pใครไปแล้วก็ต้องไปอีก ผมเองอยู่พะเยา ก็ผูกพันจนไม่อยากจะจากไปไหน..

    <O:p</O:p
    สมัยเด็กผมจำได้ว่าเคยได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ครูบาอินโต ที่จัดขึ้นหน้าวัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งไม่ไกลจากวัดบุญยืน ของหลวงพ่อ เหล่าสานุศิษย์ ไปกันมืดฟ้ามัวดินนับหมื่น นับแสน มาจากแหล่งที่ต่างๆ ทั้งในพะเยา และจังหวัดใกล้เคียง

    <O:p</O:pที่สนใจของเหล่าศิษย์ นอกจากมาเพื่อแสดงกตัญญุตาจิต ทำบุญถวายหลวงพ่อแล้ว ยังรอเก็บเถ้า – อัฐิ ของหลวงพ่อ เพื่อเอาไปเป็นศิริมงคลกับตัว และที่สำคัญ คือ ผ้าเหลืองที่ผูกไว้บนปลายไม้สี่มุม ครอบจิตกาธาน ต่างก็ส่องกล้องหมายตาอยากได้กันมาก รวมทั้งผมด้วยแหละ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จำได้ว่าเย็นวันนั้น ขณะประกอบพิธีพระราชทานเพลิง มีทั้งลม และละอองฝนโปรยปรายอยู่ตลอด ให้เป็นที่อัศจรรย์ เหมือนประหนึ่ง เหล่าเทวดามาร่วมสาธุการด้วย

    <O:p</O:p
    ช่วงชุลมุน เกิดขึ้นหลังจากมีการพระทานเพลิงไปได้ระยะหนึ่ง เพราะมีคนกรูกันเข้าไปแย่งผ้าเหลือง ที่ปลิวโปรยลงมา หลังจากที่โดนเปลวไฟที่โหมรุนแรงลามเลียขึ้นไปเผา

    <O:p</O:pบางคนคว้าได้ คว้าไม่ได้ หลายคนล้มคว่ำคะมำหงาย ผมเองตอนนั้น ก็จำไม่ได้ว่ายืน หรือนั่งอยู่จุดไหนแต่ก็รู้สึกสนุกไปกับบรรยากาศขณะนั้น ฟังจากผู้ใหญ่พูดกันในหลายวันต่อมาว่า คนที่ไปงาน พากันเก็บเถ้า ธุลี ของท่าน ไปจนเกลี้ยง ตั้งแต่ไฟกองสุดท้ายยังไม่ทันจะมอดดับ เลยทีเดียว

    <O:p</O:pทำให้ผมจำจนติดตาทุกวันนี้ ว่าบารมีของครูบาอินโต นั้น ครองใจผู้คนได้มากมายจริงๆ จนแม้สมัยปัจจุบัน ก็ยากที่หาครูบาอาจารย์ท่านใดมาเทียบได้อีก ถือว่าท่านเป็นหนึ่งไม่มีสอง ในพะเยา จริงๆ

    <O:p</O:pขอคารวะท่านครูบาอินโต มา ณ โอกาสนี้ ครับ

    <O:p</O:pศิษย์แพร่ง


    สงสัยต้องถามคุณศิษย์แพร่งละครับ คุณธัมมานุสรณ์ เพราะเขาอยู่แถววัดครับ ถ้าใกล้ๆก็น่าไปกราบนะครับ<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sinpet

    sinpet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +396
    ไปวัดบุญยืน..

    อิทธิปาฎิหาริย์ของครูบาอินโต มีอยู่มาก ที่เล่าสืบต่อกันมาชาวบ้านที่ใช้เหรียญของท่าน ทั้งโดนฟ้าผ่า หรือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็รอดมาได้จนเป็นที่ประจักษ์ ทุกวันนี้ พระเครื่องของครูบาอินโต ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพะเยา อย่างหนึ่ง คือ ถ้าพูดถึงพระเจ้าตนหลวง พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ของพะเยา ก็ต้องพูดถึงหลวงพ่อท่านด้วย..


    สมัยผมเด็กๆ เวลามีงานประจำปีของวัดพระเจ้าตนหลวง ก็พากันเดินไปงานไม่นั่งรถ เพราะคนเยอะจัด เมื่อผ่านวัดบุญยืน ของหลวงพ่อครูบาอินโต ก็จะพากันยกมือท่วมหัวไหว้ท่านเพื่อเป็นศิริมงคล ทำกันอย่างนี้ตลอด..

    <O:p
    ด้านพระเครื่องแต่ละรุ่นของท่าน ปัจจุบัน ที่จะหาได้ก็คนเก็บพระที่สะสมพระพื้นที่ นี่กลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่ง ก็ชาวบ้านทั่วไป ที่เก็บพระของหลวงพ่อสืบลูกสืบหลานกันมา ซึ่งกลุ่มหลังนี้อาจจะขอดูลำบากหน่อยต้องวิ่งลงไปเรียกกลางนาเพราะช่วงนี้กำลังเกี่ยวข้าว
    <O:p
    สำหรับราคาเช่าบูชา เหรียญที่ทันหลวงพ่อ ราคาก็ยังหลักพันต้นๆ ส่วนที่สวยสภาพดี ก็ต้องบวกไปอีกหน่อยตามสภาพ

    <O:p
    ผมเป็นคนรู้น้อย แต่ฟังมาก ขอเรียนเตือนไว้หน่อยว่า ต้องให้แน่ใจว่าเป็นพระแท้ มีที่มาที่ไป เพราะที่ฟังๆ มา ก็มีประเภททำเทียมและเลียนแบบเข้ามาด้วยไม่น้อย ผมว่าคนเก็บพระทุกชมรมทุกคณะ ในพื้นที่ก็รู้กันมานาน
    <O:p

    วัดบุญยืนอยู่ในตัวอำเภอเมือง ไม่ไกลจากขนส่งจังหวัดพะเยา จ้างรถมอเตอร์ไซค์ หรือ สามล้อถีบ แถวนั้น ถ้าไม่พาไปขับวนมั่ว ก็ใช้เวลา 5
     
  18. จรัสกุล

    จรัสกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,547
    ค่าพลัง:
    +2,127
    ครับ
    อนุโมทนาครับ
    ขอบคุณครับ

    <!-- / message -->
     
  19. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,570
    ผมมีอยู่องค์หนึ่งครับ พระผงเกษาครูบาอินโต เจอแบบนี้ที่ไหนเก็บเรียบเลยนะครับ ประสบการณ์ดีเยี่ยม

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  20. หนานหล้า

    หนานหล้า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    ตุ๊ลุง

    ขอเสริมนิดนะครับ บังเอิญผมเป็นคนบ้านต๊ำเหล่าครับ ได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง ครูบาอินโต ชาวบ้านต๊ำเหล่าเรียก ตุ๊ลุงครับ ตุ๊ คือคำเรียกพระสงฆ์ มีเรื่องเล่าว่าท่านสามารถคุยกับ นก ได้นะครับ
    ส่วนที่ครูบาอินโตสร้างพระธาตุนั้น เพิ่งรู้วันนี้นะครับผมกลับบ้านเมื่อใหร่ก็ไหว้พระธาตุเสมอ


    คนบ้านต๊ำเหล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...