พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระประวัติ
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=65790&NewsType=2&Template=1

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์...
    [​IMG]
    เวลา ๐๒.๕๔ นาฬิกา ของวันพุธที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สิ้นพระชนม์ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ภายหลังจากประทับรักษาพระองค์หลายเดือน สิริพระชนมายุ ๘๔ พรรษา

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีที่ทรงพระคุณานุคุณ และทรงปฏิบัติพระกรณียกิจที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองเป็นอเนกปริยาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประดิษฐานพระศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กับให้เจ้าพนักงานจัดเศวตฉัตร ๗ ชั้น กางกั้นพระโกศ พระราชทานเป็นเครื่องเพิ่มเติมพระเกียรติยศ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร (๗ วัน) ปัณรสมวาร (๑๕ วัน) ปัญญาสมวาร (๕๐ วัน) และสตมวาร (๑๐๐ วัน) พระราชทานลำดับตามราชประเพณี ประชาชนชาวไทยก็พร้อมใจกันเดินทางมาถวายสักการะพระศพนับพันคนในแต่ละวัน ทุกคนล้วนแต่สวมชุดดำและยืนเข้าแถวรออย่างสงบเรียบร้อยเพื่อขึ้นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในการร่วมแสดงความอาลัยแด่พระผู้ทรง สถิตในใจ

    สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม ปีกุน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีการบันทึกพระนามในสูติบัตรว่า “เมย์ (May)” ซึ่งตรงกับชื่อเดือนประสูติ และเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้ทรงเป็นพระราชปิตุลา จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระนาม “กัลยาณิวัฒนา” แปลความว่า “ผู้เจริญด้วยความดี” มีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า ด้วยเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ กับหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา

    ขณะที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ทรงศึกษาต่อในวิชาแพทยศาสตร์ที่ประเทศเยอรมนี หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ได้ประสูติที่เมืองไฮเดลเบิร์ก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ปีฉลู พุทธศักราช ๒๔๖๘ และเมื่อเสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้ประสูติ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแต่แรกประสูติ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกย่องหม่อมเจ้าอันเป็นพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ที่ประสูติแด่มารดาที่ไม่ได้เป็นเจ้า ให้มีฐานันดรศักดิ์เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระเชษฐภคินีและพระเชษฐาจึงทรงเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จาก “หม่อมเจ้า” เป็น “พระองค์เจ้า”

    เมื่อสมเด็จพระราชบิดาสำเร็จการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ และกลับมาประทับในสยามประเทศแล้ว ได้ทรงมุ่งมั่นพัฒนาการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข อย่างที่เคยทรงบุกเบิกงานวางรากฐานการศึกษาวิชาเหล่านี้ แต่ด้วยเหตุที่พระพลานามัยที่ไม่สมบูรณ์อยู่แล้วทรุดโทรมลง จึงประชวรและในที่สุดสิ้นพระชนม์ ณ พระตำหนักใหม่ วังสระปทุม ในพุทธศักราช ๒๔๗๒ นำมายังความโทมนัสของพระบรมวงศานุวงศ์ และผู้ที่เคยร่วมทำงานเป็นยิ่งนัก แต่เนื่องจากหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา มีอัจฉริยะเป็นเลิศ ได้อภิบาลพระโอรสธิดาด้วยความหวงแหน มีสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวีพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ใส่พระทัยในพระนัดดา เจ้านายเล็ก ๆ จึงดำเนินพระชนม์โดยราบรื่น พระธิดาได้ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชินี พระโอรสพระองค์โตได้ทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และโรงเรียนเทพศิรินทร์ และพระองค์เล็กทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี

    หลังจากสมเด็จพระราชบิดาได้สิ้นพระชนม์ไม่ถึง ๓ เดือน เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความไม่แน่นอนทางสถานการณ์บ้านเมือง กอปรกับพระพลานามัย ที่อ่อนแอของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันทมหิดล โดยความเห็นชอบของพระบรมวงศ์ระดับสูงและได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต “ครอบครัวมหิดล” จึงได้เดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ห่างไกลจากพระประยูรญาติ ใหม่ต่อภาษา ใหม่ต่อขนบธรรมเนียมความเป็นอยู่

    เจ้านายเล็ก ๆ ทรงศึกษาในสถาบันรับเลี้ยงเด็กของโซเลย์ เป็นเวลา ๒ เดือน เพื่อเรียนภาษาฝรั่งเศส จากนั้นจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย ตามลำดับ สำหรับพระเชษฐภคินีนั้น ทรงสอบผ่านชั้นสูงสุดเทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลายได้ระดับดีเยี่ยม เป็นที่ ๑ ของโรงเรียน และได้ที่ ๓ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ อีกทั้งทรงศึกษาหลักสูตรสังคมศาสตร์-ครุศาสตร์ ในวิชาวรรณคดีและปรัชญา ด้วยความสนพระทัยและเมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระบรมราชชนนีซึ่งทรงทราบดีว่าพระธิดาโปรดการเป็นครูมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ได้ทรงแนะนำให้ทรงงานเป็นอาจารย์ จึงทรงเริ่มต้นเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชาสนทนาภาษาฝรั่งเศส วิชาอารยธรรมฝรั่งเศส และวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส ต่อมาได้ทรงรับงานสอนและงานบริหารเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกทั้งทรงเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นอาทิ นอกจากนี้ ยังได้ทรงจัดทำหลักสูตรภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส ระดับปริญญาตรี สำเร็จในพุทธศักราช ๒๕๑๖ นับเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม ในพุทธศักราช ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปลาบปลื้มของคณาจารย์และลูกศิษย์ยิ่งนัก

    ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองมาโดยตลอด ที่สำคัญคือทรงปฏิบัติเคียงข้างสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้งในเมืองและในต่างจังหวัด ในการเยี่ยมราษฎรไม่ว่าจะห่างไกล การคมนาคม ทั้งในป่า ในเขา ตามชายแดนหรือการเสด็จออกหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) ทรงปรนนิบัติถวายงานในทุกโอกาสด้วยความกตัญญู โปรดที่จะใช้โอกาสที่ตามเสด็จ นำสื่อการศึกษาที่มูลนิธิ สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ พัฒนาขึ้นไปทรงสาธิตให้นักเรียน เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้เด็ก ๆ เหล่านั้น

    ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุนมูลนิธิอานันทมหิดลมิได้ขาด โดยเสด็จพระราชกุศลกองทุนการกุศลสมเด็จย่าที่ทรงเป็นรองประธานคณะกรรมการ มีท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดา เป็นเลขานุการและคณะกรรมการ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กองทุนหมอเจ้าฟ้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทรงรับมูลนิธิ สมาคม องค์กรการกุศลอีกมากไว้ในพระอุปถัมภ์ อาทิ มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ซึ่งนอกจากจะพระราชทานพระราชทรัพย์ช่วยเหลือ ยังทรงเข้าร่วมประชุมเป็นประจำทุกปีและเสด็จเยี่ยมการดำเนินงานเป็นครั้งคราว ทรงตั้งทุนการกุศล กว เพื่อทรงใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ทันท่วงทีก่อนงบความช่วยเหลือจากภาครัฐและหน่วยงานเอกชนจะผ่านการพิจารณา นอกจากนี้พระอนุเคราะห์ที่พระราชทานในการจัดส่งเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในต่างประเทศ ในวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี คอมพิวเตอร์ และชีววิทยา เป็นที่ซาบซึ้งยิ่งนัก ด้วยทรงติดตามความเคลื่อนไหวของการแข่งขันทุกระยะ และพระราชทานกำลังใจและทรงแสดงความยินดีแก่เยาวชนที่ประสบความสำเร็จมาทุกครั้ง ไม่น้อยไปกว่าที่พระราชทานการสนับสนุนนักเรียนดนตรีคลาสสิก ที่พระราชทานทุนทรัพย์ให้ไปศึกษาในหลายประเทศ ณ ทวีปยุโรป และเสด็จไปทรงฟังการแสดงดนตรีคลาสสิกของนักเรียนทุนทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย

    พระนิพนธ์ที่ทรงรวบรวมเรียบเรียง ล้วนมีข้อมูลอันทรงคุณค่า สามารถ ใช้อ้างอิงและประกอบการศึกษาค้นคว้าในศาสตร์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี พระนิพนธ์หลายเล่มเป็นแบบอย่างที่ดีในการประพันธ์ด้วยใช้ถ้อยคำที่เรียบง่าย กระจ่างชัด รัดกุม แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ พระนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชวงศ์ ๑๒ เรื่อง พระนิพนธ์แปล ๓ เรื่อง พระนิพนธ์สารคดีท่องเที่ยว ๑๐ เรื่อง และพระนิพนธ์ทางวิชาการ

    พระบารมีเต็มเปี่ยมสมกับที่ทรงอุบัติขึ้นมาเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพียบพร้อมทั้งพระชาติวุฒิ พระวัยวุฒิ พระคุณวุฒิทางพระสติปัญญา ทางวิชาการ และที่สำคัญยิ่งคือ พระจริยวัตรที่วางพระองค์ได้เหมาะสมกับพระฐานะ มีพระเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงได้รับการสรรเสริญทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานยศทหาร เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญส่วนพระองค์ในระดับชั้นสูงสุด และเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘ ในโอกาสที่พระเชษฐภคินีทรงเจริญพระชนมายุ ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระเกียรติ โดยมี พระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ แต่ไม่นานเดือนหลังจากนั้น ในปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบันนี้เองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต้องสลดพระราชหฤทัยเป็นสุดประมาณด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม แต่พระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็มิได้สะดุด ด้วยพระธิดาได้ทรงสืบสานงาน ทรงประกอบพระกรณียกิจโดยต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานมูลนิธิขาเทียม และมูลนิธิ พอ.สว. เป็นต้น การทรงเยี่ยมราษฎร และตรวจรักษาผู้ป่วยตามหมู่บ้านในต่างจังหวัดหรือทรงรับผู้ป่วยไว้ในพระอนุเคราะห์ส่งต่อไปรักษา ณ โรงพยาบาล เป็นการพระราชทานสงเคราะห์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทุกเพศทุกวัย สมกับที่เป็นพระธิดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรง “ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แบบแผนโบราณราชประเพณี
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=65791&NewsType=2&Template=1

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน จะเกิดขึ้นตามแบบแผนของโบราณประเพณี
    [​IMG]
    ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี หรือพระบรมวงศ์ ซึ่งทรงประกอบคุณงามความดีไว้แก่ชาติบ้านเมืองสิ้นพระชนม์ พระมหากษัตริย์ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลและถวายพระเพลิงตามลำดับเกียรติยศหรือพระอิสริยศักดิ์ พระบรมศพจะบรรจุไว้ในพระโกศทอง อัญเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดลในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มีการตกแต่งที่ประดิษฐานพระโกศและกางกั้นด้วยเศวตฉัตรตามพระอิสริยยศ จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำวันและทุกสัตตมวาร (๗ วัน) ปัณรสมวาร (๑๕ วัน) ปัญญาสมวาร (๕๐ วัน) และสตมวาร (๑๐๐ วัน)
    เมื่อถึงกาลอันควรคือสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเสร็จพร้อมที่จะถวายพระเพลิงได้ ก็อัญเชิญพระบรมศพ หรือพระศพจากพระบรมมหาราชวังไปยังท้องสนามหลวงเพื่อถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ซึ่งสร้างเป็นพิเศษ ดังกล่าวแล้ว เรียกว่า ‘งานออกพระเมรุ’ ที่มีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนชื่นชม และถือเป็นงานออกทุกข์ในเวลาเดียวกัน โดยงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมศิลปากรดำเนินการจัดแสดงมหรสพตามแนวทางเมื่อครั้งงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาทิ การแสดงหนังใหญ่ โขน การแสดงหุ่นกระบอก และการแสดงละครนอกแล้ว ครั้งนี้ยังเพิ่มการบรรเลงดนตรีสากล การแสดงหุ่นละครเล็ก ซึ่งเป็นการแสดงที่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์ท่าน เทิดพระเกียรติร่วมถวายความจงรักภักดี ความอาลัย
    การเชิญพระบรมศพ พระศพ สู่พระโกศ การบำเพ็ญพระราชกุศล ตลอดจนการสร้างพระเมรุมาศ พระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง การเคลื่อนพระบรมศพ พระศพ จากพระบรมมหาราชวังสู่พระเมรุที่ท้องสนามหลวง การตกแต่งพระจิตกาธาน การอัญเชิญพระบรมอัฐิ พระอัฐิ พระสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ล้วนมีแบบแผนกำหนดไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบัติ
    คนไทยแต่เดิมยึดถือเรื่องไตรภูมิตามคติทางพระพุทธศาสนา ที่กล่าวถึงจักรวาล ซึ่งมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม ที่รายล้อมด้วยสรรพสิ่งนานา ตั้งแต่วิมานท้าวจตุโลกบาล เขาสัตตบริภัณฑ์ จึงนำคติดังกล่าวมาเป็นแนวทางประกอบพิธีถวายพระเพลิง เพื่อให้ได้ถึงภพแห่งความดีงาม อันมีแดนอยู่ที่เขาพระสุเมรุนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ สิ่งก่อสร้างในการพระราชพิธีถวายพระเพลิง จึงมีส่วนจำลองให้คล้ายกับดินแดนเขาพระสุเมรุ เช่น การสร้างพระเมรุมาศในสมัยโบราณนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา จะมีรูปสัตว์ป่าหิมพานต์ นานาชนิด บนหลังตั้งสังเค็ดผ้าไตรถวายพระสงฆ์อยู่ในกระบวนอิสริยยศอัญเชิญแห่พระบรมศพสู่พระเมรุมาศ
    การสร้าง ‘พระเมรุมาศ’ จะมีขนาดและแบบงดงามวิจิตรแตกต่างกันตามยุคสมัย และตามความบันดาลใจของช่างที่มีปรัชญาในการออกแบบว่าเป็นพระเมรุของกษัตริย์ นักรบ หรือฝ่ายสตรี ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นพระเมรุมาศและปริมณฑลโดยยึดคติโบราณที่สืบทอดกันมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานคติการสร้างพระเมรุมาศ หรือพระเมรุว่า ได้ชื่อมาจากการปลูกสร้างปราสาทอันสูงใหญ่ ท่ามกลางปราสาทน้อยที่สร้างขึ้นตามมุมทิศ มีโขลนทวาร (โคปุระ) ชักระเบียงเชื่อมถึงกัน ปักราชวัติเป็นชั้นๆ ลักษณะเหมือนเขาพระสุเมรุตั้งอยู่ท่ามกลางมีเขาสัตตบริภัณฑ์ล้อม จึงเรียกเลียนชื่อว่า ‘พระเมรุ’ ภายหลังเมื่อทำย่อลง แม้ไม่มีอะไรล้อม เหลือแต่ยอดแหลมๆ ก็ยังคงเรียกเมรุด้วย
    แผนผังพระเมรุมาศเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พระเมรุมาศอยู่กลาง แวดล้อมด้วยอาคารรายรอบเป็นปริมณฑล ประดุจโบสถ์หรือวิหารซึ่งมีระเบียงล้อมรอบ คือ ทับเกษตร เป็นที่พัก ซ้างหรือสำส้าง คือมุมคดของทับเกษตร ทั้ง ๔ มุม เป็นที่พระสวดพระอภิธรรม ตรงข้ามพระเมรุมาศจะเป็นพระที่นั่งทรงธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จในการถวายพระเพลิง บริเวณองค์พระเมรุมาศจะประดับตกแต่งด้วยราชวัติฉัตรธง เสาดอกไม้พุ่ม สรรพสัตว์ตกแต่งให้ประดุจเขาพระสุเมรุราชในเรื่องไตรภูมิ กล่าวกันว่าในสมัยโบราณพระเมรุมีขนาดสูงใหญ่โอฬารมาก เช่น พระเมรุมาศของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยอยุธยา
    ส่วนการถวายพระเพลิง หรือออกพระเมรุ ในสมัยโบราณจะทำเป็นงานใหญ่แล้วแต่กำหนด ตั้งแต่ ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน ๙ วัน ถึง ๑๕ วัน สุดแต่สะดวก ซึ่งในปัจจุบันพระราชพิธีจะมีขอบเขต คือ
    วันแรก อัญเชิญพระบรมศพออกสู่พระเมรุ ด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศขึ้นประดิษฐานบนพระเมรุมาศ
    วันที่สอง ถวายพระเพลิงพระบรมศพ จะมีเครื่องประกอบพระราชพิธีและวิธีปฏิบัติเฉลิมพระเกียรติยิ่งใหญ่
    วันที่สาม สมโภชพระบรมอัฐิ
    เมื่อถวายพระเพลิงแล้วจะประกอบพระราชพิธีสามหาบตามหลักพระพุทธศาสนา แล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิ พระอัฐิ ด้วยกระบวนพระราชอิสริยยศ พระอิสริยยศ เข้าสมโภชภายในพระบรมมหาราชวัง พระบรมอัฐิ พระอัฐิ จะบรรจุในพระโกศทองคำ แล้วประดิษฐานไว้บนพระมหาปราสาท จัดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศล ส่วนพระบรมราชสรีรางคาร พระสรีรางคาร จะนำไปประดิษฐานไว้ยังพุทธสถาน พระอารามหลวงตามราชประเพณี.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับโบราณราชประเพณี
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=65792&NewsType=2&Template=1

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโบราณราชประเพณี พระราชพิธีพระศพ
    - การสางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง
    การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงาม หรือมีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีก
    - เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพ
    เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน ในส่วน สัปตปฎลเศวต ฉัตรยอดพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นฉัตรผ้าขาวเจ็ดชั้นระบายขลิบทองสามชั้น หมายถึงการซ้อนผ้าระบายโดยรอบแว่นฉัตรแต่ละชั้น ซ้อนกันสามรอบวงแว่นฉัตร โดยให้ชั้นในสุดยาวกว่าชั้นนอกสุดตามลำดับ ทุกชั้นฉัตรที่ชายระบายชั้นล่างสุดของชั้นฉัตร ห้อยระย้าจำปาทองโดยรอบ
    - การประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง
    การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.

    - สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น 'เจ้าฟ้า'
    ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ ‘พระศพ’ จะเรียกแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า ‘พระศพ’ ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า ‘พระบรมศพ’

    - การบรรจุพระศพลงหีบพระศพแทนพระโกศ
    ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จสวรรคต จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพ ลงในพระโกศ แต่ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมศพ และพระศพ ลงหีบพระศพ แทนใส่การใส่พระโกศ ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชอัธยาศัย
    [​IMG]
    รูปแบบพระเมรุ
    'พระเมรุ' เป็นกุฎาคารเรือนยอดประธานมณฑล หันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นพระเมรุทรงปราสาทจัตุรมุขย่อมุมไม้สิบสอง ปักพระสัปตปฎลเศวตฉัตร จากฐานถึงยอดฉัตรสูง 38.65 เมตร กว้าง 31.80 เมตร ยาว 39.80 เมตร สร้างด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็กประดับด้วยผ้าทองย่นตกแต่งด้วยลวดลาย
    สำหรับรูปแบบพระเมรุยอดปราสาท ได้ศึกษาจากการออกแบบพระเมรุมาศของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยยึดเค้าโครงพระเมรุมาศของสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี มาเป็นต้นแบบ โดยแนวคิดหลักได้ยึดถือความเชื่อ เรื่องเขาพระสุเมรุ ตามแบบโบราณราชประเพณี ด้วยการจำลองปราสาท ซึ่งเปรียบเสมือนสถานที่สถิตของเหล่านางฟ้า เทวดา มาเป็นตัวองค์ของพระเมรุ ส่วนยอดพระเมรุ ประกอบด้วย ยอดชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น ต่อยอดด้วย ชั้นบัวคลุ่มจนถึงปลายยอดประดับฉัตร 7 ชั้น เอกลักษณ์ของพระเมรุ ที่จะใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่ที่หน้าบันทั้ง 4 ทิศ เนื่องจากได้อัญเชิญตราพระราชลัญจกร กว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาประดิษฐานที่หน้าบันของพระเมรุทั้ง 4 ด้าน

    องค์พระเมรุทั้งด้านในและด้านนอก ประดับตกแต่งด้วยผ้าทองย่นเกือบทั้งหมด ใช้สีทองเป็นหลักและประกอบด้วยสีอื่น ๆ ที่เป็นสีอ่อนหวาน เหมาะกับพระอุปนิสัยและพระจริยาวัตรที่นุ่มนวลสง่างามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

    ด้านหลังของพระเมรุ จะเห็นอาคารยาวเรียกว่า พระที่นั่งทรงธรรม เป็นอาคารโถงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงธรรมและทรงประกอบพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในการออกพระเมรุพระศพ รวมทั้งมีที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน สมาชิกรัฐสภา ตลอดจนคณะทูตานุทูต เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

    อาคาร 2 หลัง ที่อยู่ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของพระที่นั่งทรงธรรม เรียกว่า ศาลาลูกขุน เป็นอาคารโถงทรงโรง สร้างตรงปลายปีกพระที่นั่งทรงธรรม ทั้ง ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ใช้เป็น ที่เข้าเฝ้าฯของข้าราชการ
    หีบพระศพ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณให้ นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ จัดสร้าง 'หีบพระศพ' สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ทำหีบพระศพให้คล้ายคลึงกับหีบพระศพของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี ดังนั้น จึงมีการสร้างหีบพระศพทรงหลุยส์ผสมบุษบกจากแผ่นไม้สักทอง อายุ 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียว ที่นำมาจาก จ.เชียงใหม่ ไม่มีรอยต่อ และใช้หมึกจีน พ่นสีโอ๊กม่วง ขนาดความกว้าง 26 นิ้ว ความยาว 2 .29 เมตร น้ำหนักเกือบ 300 กิโลกรัม ทั้งนี้ สีโอ๊กม่วงนั้น เป็นสีที่เข้มแข็ง น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับงาน
    หีบพระศพดังกล่าว ประกบด้วยปุ่มมะค่าทองรอบใบ ลวดลายของหีบพระศพเป็นลายกุหลาบ แสดงถึงความรัก ส่วนด้านขอบล่างเป็นลายหลุยส์ ส่วนฝาด้านบนเป็นบุษบก 3 ชั้น ภายในหีบพระศพใช้ผ้าไหมสีครีมทองประดับตกแต่งและดิ้นชายรอบ ทั้งนี้ การออกแบบและจัดสร้างทั้งหมดใช้เวลา 30 วัน ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง
    พระโกศไม้จันทน์
    ในส่วนของ 'พระโกศไม้จันทน์' ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทางสำนักพระราชวัง ได้นำคณะพราหมณ์ทำพิธีบวงสรวงเทพยดาป่าขออนุญาตนำไม้จันทน์หอม จำนวน 3 ต้น ภายในอุทยานแห่งชาติ กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มาจัด สร้างพระโกศ ที่ออกแบบและจัดสร้างโดย นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น มีลักษณะเป็นทรง 8 เหลี่ยม ในอัตราส่วน 1:5 ในส่วนของการปรับขยายแบบให้เท่าของจริงเป็นหน้าที่ของ สมชาติ มหัทธนะสิน
    สำหรับจัดสร้างพระโกศ ในสมัยโบราณ จะนำไม้จันทน์มาเป็นฝืนในการเผาศพ แต่สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ จะถูกนำมาแปรรูปจากท่อนฟืนให้มีลวดลายขึ้นเป็นพระโกศไม้จันทน์ มีการเลื่อยไม้เป็นแผ่นบาง ๆ ติดแบบทำการฉลุลาย จากนั้นนำมาประกอบติดกับโครงซึ่งโบราณจะใช้โครงไม้ แต่ในปัจจุบันดัดแปลงมาเป็นโครงลวดเหล็ก บุตาข่าย เพื่อความสะดวกในการจัดสร้าง
    ทั้งนี้ 'พระโกศไม้จันทน์' จะมีขนาดความสูง 162.5 เซนติเมตร มีความกว้างส่วนฐาน 82 เซนติเมตร จะประกอบด้วยชิ้นส่วนของลวดลายต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 6,033 ชิ้น ส่วนฐานรองพระโกศเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฝาปิด ขนาดความยาว 260 เซนติ เมตร กว้าง 140 เซนติเมตร สูง 92 เซนติเมตร ใช้จำนวนชิ้นลายทั้งสิ้น 10,159 ชิ้น ลวดลายที่ใช้ประกอบ มีทั้งสิ้น 35 แบบ อาทิ ลายหน้ากระดาน ลายบัว ลายท้องไม้ บัวคว่ำ บัวหงาย ฯลฯ โดยลายส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของแนวลายใบเทศ คือ ถ้าเป็นกระจังจะเป็นกระจังทรงใบเทศ ถ้าเป็นกระหนกก็จะเป็นกระหนกลายใบเทศ ซึ่งโดยรวมแล้วลวดลายจะให้อยู่ในลักษณะของลายใบเทศ ซึ่งเป็นลายเครื่องประดับของไทยที่มีความงดงามและใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
    ส่วนของพระโกศที่ค่อนข้างทำยาก คือ ส่วนของบัวถลาหรือบัวคว่ำ ซึ่งอยู่ในส่วนของฝาพระโกศ เพราะมีลักษณะโค้งทำให้ลายต้องลดหลั่นกันลงมา จึงต้องมี การตัดชิ้นไม้ขึ้นมาเพื่อเลื่อย เป็นรูปโค้งแล้วถึงจะมาต่อเป็นแผ่น ๆ ให้ได้ความกว้างและขนาดลาย จากนั้นจึงจะนำมาโกรกฉลุ
    การสร้างพระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตราราชรถ
    การสร้างราชรถ จะจำลองราชรถเป็นดั่ง เขาพระสุเมรุ คือ จากฐาน เป็นนาคซึ่งอยู่ในภพล่างสุดที่เรียกว่า ภพอสูร ครุฑ นาค แล้วถัดขึ้นมาเป็นสวรรค์ชั้นต่างๆ ที่เป็นที่อยู่ของเทวดา ก่อนจะขึ้นไปเป็นบุษบกปราสาทชั้นสูงสุด ซึ่งก็คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    ราชรถขนาดใหญ่ มีด้วยกัน 2 องค์คือ พระมหาพิชัยราชรถ และเวชยันตรราชรถ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่จะต่างกันตรงที่กระจังด้านล่างสุด หากเป็นเวชยันตรราชรถ กระจังจะพลิ้วไปตามน้ำ ส่วนพระมหาพิชัยราชรถ กระจังก็จะทวนน้ำ ส่วนสาเหตุต้องมีราชรถถึง 2 องค์ สันนิษฐานว่าหลังจากงานพระราชพิธีครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 1 พระพี่นางทั้งสองพระองค์ของพระองค์สิ้นพระชนม์ในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงมีราชรถถึง 2 องค์ ตั้งแต่นั้นมา (เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ยังไม่มีหลักฐานใดปรากฎ)
    'พระมหาพิชัยราชรถ' ราชรถองค์สำคัญในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อการพระบรมศพพระปฐมบรมมหาราชชนก เมื่อปี 2338 พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถขนาดใหญ่ คือมีขนาดสูง 1,120 เซนติเมตร ยาว 1,530 เซนติเมตร ใช้คนฉุดชักทั้งหมด 216 คน
    มาจนถึงวันนี้ 'พระมหาพิชัยราชรถ' มีอายุรวมถึง 213 ปี จึงทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทำให้ต้องมีการซ่อแซมเพื่อให้ใช้ได้เป็นระยะ ดังเช่น การบูรณะในปี 2539 ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยกรมศิลปากร ได้บูรณะซ่อมแซมเสริมความมั่นคงโดยทำให้น้ำหนักเบา เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายพระมหาพิชัยราชรถเข้าขบวนพระราชพิธี แต่รักษาความงดงามทางศิลปกรรมเดิมไว้อย่างครบถ้วน
    สำหรับการบูรณะ 'พระมหาพิชัยราชรถ' เพื่อใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีผู้รับผิดชอบคือ กรมสรรพาวุธทหารบก โดย พ.อ.ศักดา ศิริรัตน์ ผู้อำนวยการกองโรงงานช่างแสง ศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ นำคณะทหารช่างกว่า 30 นาย เข้ามาถอดอุปกรณ์ช่วงล่างของราชรถอย่างละเอียดพิถีพิถัน ซึ่งครั้งนี้จะใช้ราชรถ 2 องค์ คือ 'พระมหาพิชัยราชรถ' และ 'เวชยันตรราชรถ' ราชรถน้อย ซึ่งจำลองมาจากสวรรค์ชั้นไพชยนต์ซึ่งเป็นวิมานของพระอินทร์ มีลักษณะคล้ายคลึงราชรถองค์ใหญ่คือมีส่วนตัวรถที่แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก คานที่ยื่นออกมาเป็นรูปนาคราช บนราชรถมีบุษบกตั้งอยู่เช่นกันแต่มีขนาดเล็กกว่า
    เศวตฉัตร 7 ชั้น กางกั้นพระโกศ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เศวตฉัตร 7 ชั้น กางกั้นพระโกศ
    ในองค์พระเศวตฉัตรองค์นี้ประกอบด้วยความงามด้านประณีตศิลป์ พร้อมด้วยความหมายของ 'ฉัตร' ซึ่งเป็นเครื่องแสดงพระเกียรติยศและเครื่องสูงที่สำคัญยิ่ง รวมถึงฉัตรประเภทต่าง ๆ ที่รายล้อมรอบพระเมรุ มณฑลพิธี ตลอดจนในริ้วขบวนแห่ ฯลฯ
    'ฉัตร' มาจากภาษาสัน สกฤตแปลว่า 'ร่ม' เป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งประดิษฐานในอาคารหรือเชิญถือในขบวนแห่ โดยถือชูขึ้นข้างบนซึ่งการถือชูตั้งขึ้นข้างบนจะเป็นไปในแนวดิ่งจึงเรียกว่า เครื่องสูง ในการนำมาใช้ของบุคคลธรรมดาก็จะถือร่มชั้นเดียว แต่เมื่อมียศสูงขึ้น ก็จะมีการซ้อนชั้นร่มขึ้น และการซ้อนชั้นนั้น มีความหมายบอกถึง ชั้นของพระเกียรติยศ
    ในส่วน 'สัปตปฎลเศวต' ฉัตรยอดพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นฉัตรผ้าขาวเจ็ดชั้น ระบายขลิบทองสามชั้น หมายถึง การซ้อนผ้าระบายโดยรอบแว่นฉัตรแต่ละชั้น ซ้อนกันสามรอบวงแว่นฉัตร โดยให้ชั้นในสุดยาวกว่าชั้นนอกสุดตามลำดับ ทุกชั้นฉัตรที่ชายระบายชั้นล่างสุดของชั้นฉัตร ห้อยระย้าจำปาทองโดยรอบ
    'สัปตปฎล' หมายถึงฉัตรเจ็ดชั้น 'เศวตฉัตร' คือฉัตรผ้าขาว เป็นเครื่องประกอบแสดงฐานานุศักดิ์และตามที่กล่าวมาฉัตรเจ็ดชั้นขึ้นไปจะมีระบายสามชั้น สัปตปฎล ครั้งนี้จึงเป็น 'ฉัตรเจ็ดชั้นขลิบทองชายระบายสามชั้น'
    การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระศพ
    การบรรเลงดนตรีไทยในงานพระราชพิธี ถือว่าเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นส่วนหนึ่งในของงานพระราชพิธีที่บรรเลงตามขั้นตอนของงานพระราชพิธี คู่กับวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง
    เดิมการประโคมดนตรีที่เป็นลักษณะประโคมย่ำยาม มีเฉพาะของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง เท่านั้น ประกอบด้วยวงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ มีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง

    ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี ๒ หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะ) และวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
    การประโคมย่ำยาม มีขั้นตอนเรียงลำดับ ดังนี้
    วงประโคมลำดับที่ 1 คือ วงแตรสังข์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ประโคม “เพลงสำหรับบท” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 2 จึงเริ่มขึ้น
    วงประโคมลำดับที่ 2 คือ วงปี่ไฉนกลองชนะ (หรือเรียกว่า วงเปิงพรวด) ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ไฉน กลองชนะ เปิงมาง “ประโคมเพลงพญาโศกลอยลม” จบแล้ว วงประโคมวงที่ 3 จึงเริ่มขึ้น
    วงประโคมลำดับที่ 3 คือ วงปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง “ประโคมเพลงชุดนางหงส์”
    เมื่อประโคม ครบทั้ง 3 วงแล้ว ถือว่าเสร็จการประโคมย่ำยาม 1 ครั้ง.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เส้นทางขบวนพระราชพิธี
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=65787&NewsType=2&Template=1

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    กำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ
    สำนักพระราชวังแจ้งหมายกำหนดการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.
    เริ่มจาก วันที่ 14 พ.ย. เป็นพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยทุกขบวนเสด็จจะไม่ใช้ถนนราชดำเนินนอก
    วันที่ 15 พ.ย. ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป เป็นพิธีเชิญพระโกศออกพระเมรุ จัดเป็น 3 ริ้วขบวน โดยริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศพระศพ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    สำหรับเส้นทางของริ้วขบวนที่ 1 ใช้เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ประตูเทวาภิรมย์ ถนนมหาราช ถนนท้ายวัง ถนนสนามไชย
    จากนั้นเป็นริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพนฯ สู่พระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง โดยใช้เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ผ่านถนนสนามไชย กระทรวงกลาโหม ศาลหลักเมือง ถนนราชดำเนินใน เข้าสู่ถนนกลาง ท้องสนามหลวง
    ริ้วขบวนที่ 2 นั้น มีความสวยงาม และยาวที่สุด โดยหัวริ้วขบวนอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม ส่วนท้ายขบวนอยู่บริเวณโรงเรียนราชินี มีวงโยธวาทิตนำหน้าตามด้วยเหล่าทหารบก จำนวน 5 กองทัพ และทหารสามเหล่าทัพ ปิดท้ายอีก 5 กองทัพ ระหว่างริ้วขบวนประกอบด้วยกลองชนะ 200 ลูก แตรฝรั่ง แตรงอน สังข์ 52 ชิ้น ฉัตรทองแผ่ลวด เหล่านางข้าหลวง สนมฝ่ายใน และผู้ติดตาม
    ณ จุดดังกล่าว ประชาชน สมารถเข้าชมความงามของริ้วขบวนได้ที่บริเวณหน้ากรมทหารรักษาดินแดน
    เมื่อริ้วขบวนเข้าสู่ที่หมาย ณ ท้องสนามหลวง ในริ้วขบวนที่ 3 จะเชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน เวียนรอบพระเมรุ โดยอุตราวัฏ(เวียนซ้าย) จำนวน 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศ ประดิษฐานบนพระเมรุ จากนั้นเวลา 16.30 น. จะเป็นพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ และพระราชทานเพลิงพระศพฯ จริงในเวลา 22.00 น. ตามลำดับ
    วันที่ 16 พ.ย. เวลา 08.00 น. เป็นริ้วขบวนที่ 4 ขบวนพระอิสริยยศพระอัฐ เชิญพระโกศพระอัฐ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และเชิญพระสรีรางคาร โดยพระวอสีวิกากาญจน์ ใช้เส้นทางถนนสายกลาง สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ถนนหน้าพระลาน ประตูวิเศษไชยศรี เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง
    วันที่ 18 พ.ย. เวลา 10.30 น. เป็นริ้วขบวนที่ 5 โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
    และ วันที่ 19 พ.ย. เวลา 16.30 น. เป็นริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปบรรจุพระอังคาร ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ใช้เส้นทางจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประตูวิเศษไชยศรี ถนนพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนอัษฎางค์ ถนนราชบพิธ ถึงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม.
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เส้นทางขบวนพระราชพิธี
    http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=2&Template=1


    กำหนดเปิด-ปิดเส้นทางจราจร วันพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ
    [​IMG]
    ในวันระหว่างพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    มีถนนที่ปิดการจราจรทั้งหมดไม่ให้รถโดยสารประจำทางเข้า-ออก ตั้งแต่เวลา 00.01 น.ของวันที่ 15 พ.ย. ประกอบด้วย ถนน 16 สาย รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ดังนี้ 1.ถนนราชดำเนินใน 2.ถนนราชินี 3.ถนนหน้าพระธาตุ 4.ถนนพระจันทร์ 5.ถนนมหาราช 6.ถนนหน้าพระลาน 7.ถนนหับเผย 8.ถนนหลักเมือง 9.ถนนสนามไชย 10.ถนนกัลยาณไมตรี 11.สราญรมย์ 12.ถนนท้ายวัง 13.ถนนพระพิพิธ 14.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงถนนอัษฎางค์ 15.ถนนเชตุพน และ 16.ซอยเศรษฐการ โดยปิดการจราจรเรื่อยไปจนกว่าพระราชพิธีจะแล้วเสร็จ
    ส่วน ถนนที่ปิดการจราจร อนุญาตเฉพาะรถโดยสารประจำทางผ่านเข้า-ออกได้ ตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 15 พ.ย. จำนวน 18 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.ถนนราชดำเนินกลาง 2.ถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนวิสุทธิกษัตริย์ (แยก จปร.) 3.สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 4.ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าแยกถนนอรุณอัมรินทร์ 5.จักรพงศ์ 6.ถนนตะนาว 7.ดินสอ 8.ถนนประชาธิปไตย 9.ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนวิสุทธิกษัตริย์ (แยกบางขุนพรม) ถึงแยกถนนพระสุเมรุ(แยกบางลำพู) 10.ถนนพระสุเมรุ 11.ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงแยกถนนเจริญกรุง 12.ถนนเฟื่องนคร 13.ถนนพระอาทิตย์ 14.ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกจักรพรรดิพงษ์ ถึงแยกผ่านฟ้า 15.ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกหลานหลวง) ถึงแยกผ่านฟ้า 16.ถนนมหาไชย ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง (แยกสำราญราษฎร์) 17.ถนนบริพัตร ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนดำรงรักษ์ 18.ถนนดำรงรักษ์ ตั้งแต่แยกผ่านฟ้าถึงแยกถนนจักรพรรดิพงษ์
    และ ถนนที่ห้ามจอดรถทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 15 พ.ย. เรื่อยไปจนกว่าพระราชพิธีจะแล้วเสร็จ 22 สาย ประกอบด้วย 1.ถนนอัษฎางค์ตลอดสาย 2.ถนนพระพิทักษ์ 3.ถนนบ้านหม้อ 4.ถนนเฟื่องนคร 5.ถนนตะนาว 6.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่อัษฎางค์ถึงทางแยกถนนตรีเพชร 7.ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่แยกถนนอัษฎางค์ถึงทางแยกถนนจักรพรรดิพงษ์ 8.ถนนบุญศิริ 9.ถนนดินสอ 10.ถนนมหาไชย ตั้งแต่ถนนราชดำเนินกลางถึงแยกถนนสวนหลวง 11.ถนนพระสุเมรุ 12.ถนนจักรพงศ์ 13.ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกถนนพระสุเมรุ ถึงแยกถนนวิสุทธิกษัตริย์ 14.ถนนประชาธิปไตย 15.ถนนบวรนิเวศน์ 16.ถนนสิบสามห้าง 17.ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกผ่านฟ้า ถึวแยกถนนกรุงเกษม 18.ถนนหลานหลวง ตั้งแต่แยกผ่านฟ้า ถึงแยกถนนกรุงเกษม 19.ถนนวิสุทธิกษัตริย์ 20.ถนนจักรพรรดิพงษ์ 21.ถนนวรจักร 22.ถนนตีทอง
    [​IMG]
    สำหรับการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่จะเดินทางมาวางดอกไม้จันทน์ ตามซุ้มรอบบริเวณท้องสนามหลวง ด้านทิศเหนือและใกล้เคียง รวม 8 จุดนั้น ทางขสมก.ได้จัดรถโดยสารประจำทางไว้ให้ โดยประชาชนสามารถใช้บริการจากจุดรับ-ส่งทั้งสิ้น 6 จุด คือ 1.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านภัตตาคารพงหลี เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ไปตามถนนพญาไท เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีอยุธยา เลี้ยวซ้ายถนนราชดำเนินนอก ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ
    2.วงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วงเวียนใหญ่) ด้านถนนลาดหญ้า เริ่มต้นจากวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากฯ เข้าถนนประชาธิปก ข้ามสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ถนนตรีเพชร ถนนตรีทอง สุดเส้นทางที่ศาลาว่าการกรุงเทพฯ
    ส่วนทางกลับ เริ่มต้นจากเสาชิงช้า มาตามถนนตรีทอง แยกซ้ายเข้าถนนเจริญกรุง แยกขวาเข้าถนนจักรเพชร ข้ามสะพานพระปกเกล้า ไปตามถนนประชาธิปก สุดเส้นทางที่ถนนลาดหญ้า
    3.สนามม้านางเลิ้ง เริ่มจากสนามม้านางเลิ้ง ถนนพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าถนนราชดำเนินนอก แยกขวาเข้าถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพฯ
    4.สนามศุภชลาศัย บริเวณหน้าอาคารนิมิบุตร เข้าถนนพระราม 1 เลี้ยวขวาถนนพระราม 6 เลี้ยวซ้ายถนนเพชรบุรี เข้าถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพฯ
    5.ต่างระดับราชพฤกษ์ ตัดถนนบรมราชชนนี ด้านถนนราชพฤกษ์เข้าถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับรถใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    6.สถานีรถไฟหัวลำโพง มาตามถนนพระราม 4 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพญาไท เลี้ยวซ้ายถนนพระราม 1 เลี้ยวขวาถนนพระราม 6 เลี้ยวซ้ายถนนเพชรบุรี เข้าถนนหลานหลวง ราชดำเนินกลาง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แยกซ้ายเข้าถนนดินสอ สุดเส้นทางศาลาว่าการกรุงเทพฯ โดยให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง
    สำหรับพระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 16 พ.ย. เวลา 08.00 น. นั้น จะปิดถนนราชดำเนินใน และถนนหน้าพระลาน โดยหลังเสร็จพระราชพิธีแล้วจะเปิดให้รถผ่านได้ตามปกติ
    วันที่ 17 พ.ย. เวลา 16.30 น. พระราชพิธีการพระราชกุศลพระอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และ วันที่ 18 พ.ย. เวลา 10.30 น.พิธีเลี้ยงพระสงฆ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศพระอัฐิ ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทนั้น จะไม่มีการปิดถนน
    วันที่ 19 พ.ย. เวลา 16.30 น. พระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคาร ณ อนุสรณ์สถานรังสีวัฒนา วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยขบวนม้าและรถยนต์พระที่นั่งจากพระศรีรัตนเจดีย์ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จะปิดเฉพาะเส้นทางที่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย และถนนราชบพิธ หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีจะเปิดเส้นทางให้รถวิ่งได้ตามปกติ.
    46 สถานที่ถวายดอกไม้จันทน์ ทั่วกรุงเทพฯ
    [​IMG]
    ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาชราชนครินทร์ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถเดินทางไปถวายดอกไม้จันทน์ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายนได้ที่วัด ทั้ง 46 แห่ง ประกอบด้วย วัดคลองเตยใน เขตคลองเตย, วัดอนงคารามวรวิหาร เขตคลองสาน, วัดคู้บอน เขตคลองสามวา, วัดบุญศรีมุนีกรณ์ เขตคันนายาว, วัดเสมียนนารี เขตจตุจักร, วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เขตจอมทอง, วัดดอนเมือง เขตดอนเมือง, วัดพรหมวงศาราม เขตดินแดง, วัดรัชฎาธิษฐาน เขตตลิ่งชัน, วัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา, วัดทุ่งครุ เขตทุ่งครุ, วัดเวฬุราชิณวรวิหาร เขตธนบุรี, วัดเจ้าอาม เขตบางกอกน้อย, วัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่, วัดเทพลีลา เขตบางกะปิ, วัดเลา เขตบางขุนเทียน, วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร เขตบางเขน, วัดราชสิงขร เขตบางคอแหลม, วัดมัชฌันติการาม เขตบางซื่อ
    วัดบุณยประดิษฐ์ เขตบางแค, วัดบางนาใน เขตบางนา, วัดนินสุขาราม เขตบางบอน, วัดวิมุตยาราม เขตบางพลัด, วัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก, วัดนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม, วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน, วัดกระทุ่มเสือปลา เขตประเวศ, วัดไผ่ตัน เขตพญาไท, วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เขตพระโขนง, วัดจันทร์ประดิษฐาราม เขตภาษีเจริญ, วัดบำเพ็ญเหนือ เขตมีนบุรี, วัดปริวาส เขตยานนาวา, วัดดิสหงษาราม เขตราชเทวี, วัดราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ, วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง, วัดสาครสุ่นประชาสรรค์ เขตลาดพร้าว, วัดบึงทองหลาง เขตวังทองหลาง, วัดธาตุทอง เขตวัฒนา, วัดยาง เขตสวนหลวง , วัดราชโยธา เขตสะพานสูง, วัดยานนาวา เขตสาธร, วัดอยู่ดีบำรุงธรรม เขตสายไหม, วัดอุดมรังสี เขตหนองแขม, วัดหนองจอก เขตหนองจอก, วัดหลักสี่ เขตหลักสี่, วัดอุทัยธาราม เขตห้วยขวาง.
    [​IMG]
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    หลอมรวมทุกดวงใจไทย 'ทำความดี' ถวายเป็นพระราชกุศล
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=65809&NewsType=2&Template=1

    [​IMG]

    พระมหากรุณาธิคุณแห่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรไทยนั้น มีมากมายจนเกินกว่าจะแจกแจงกันได้ครบถ้วนด้วยพื้นที่อันจำกัด การ “เสด็จสู่สรวงสวรรค์” ของพระองค์ท่านจึงนำมาซึ่งความอาดูร-อาลัยยิ่งต่อพสกนิกรไทยทั่วประเทศ ทั้งนี้ นอกจากการมีส่วนร่วมส่งเสด็จพระองค์ท่านระหว่างงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ก็ควรอย่างยิ่งที่พสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าจะได้พร้อมกาย-พร้อมใจ “ทำความดีน้อมถวายเป็นพระราชกุศล”

    “ทำความดี” ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เมืองไทยปัจจุบัน

    “ถวายเป็นพระราชกุศล” แล้วยังมีผลดีต่อคนไทย-เมืองไทย

    ทั้งนี้ กับการทำความดีน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในยุคที่ สังคมไทยเต็มไปด้วยหลากหลายปัญหาสังคม เศรษฐกิจประเทศอยู่ในภาวะระส่ำ และโดยเฉพาะด้านการเมืองเป็นยุควุ่นวายแตกแยกจนน่ากลัวนั้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีคำแนะนำคือ.....

    การทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล ในภาวะเศรษฐกิจไทยย่ำแย่ ประการสำคัญคนไทยเราต้องยอมรับความจริงก่อน แล้วจึงตั้งต้นใหม่กับปัญหาที่ต้องเผชิญหน้า เมื่อเรายอมรับความจริงแล้วเราก็สามารถตั้งต้นสภาพชีวิตว่าควรจะดำเนินไปอย่างไร ทั้งนี้ ควรดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ถ้าเรามองในแง่ดีก็เห็นว่าเราโชคดีที่มีวิกฤติเยอะแยะให้เรียนรู้ และควรปรับพฤติกรรมการกินอยู่เสียใหม่ ไม่ใช่กินตามความอยาก แต่ควรกินอยู่และบริโภคตามความจำเป็น หรือบริโภคเพื่อมุ่งประโยชน์ มิฉะนั้นมีเงินเท่าไรก็ไม่พอใช้จ่าย

    “ทำดีโดยลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นในชีวิต ละกิจกรรมที่เกินความเป็นจริงออกไปเสีย ที่สำคัญต้องดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติอะไรขึ้นมาเราก็จะไม่ฟุบหรือล้มจนลุกไม่ขึ้น ต้องใช้ชีวิตไม่ประมาทและเป็นหลักประกันตัวเองและครอบครัวให้อยู่ได้ในอนาคต”

    กับปัญหาสังคมไทยที่มีอันตราย ทั้งจี้ ปล้น วิ่งราว ปลิ้นปล้อน หลอกลวง ทำร้ายกัน ฆ่า ข่มขืน ท่าน ว.วชิรเมธีบอกว่า... ตรงนี้แม้ป้องกันได้ยาก แต่เราก็สามารถทำความดี โดยทางที่ดีควรหันมาป้องกันตัวเองก่อน ดูแลให้ตนเองเป็นคนดี ทำให้สังคมปลอดภัย คนที่อยู่ใกล้ ๆ เราไม่เดือดร้อน

    “ทำดีโดยดูแลสังคมให้ปลอดภัย โดยต้องดูแลตัวเองก่อน”

    สำหรับปัญหาการเมืองไทยที่เกิดจากความขัดแย้งที่ซับซ้อน ท่าน ว.วชิรเมธีบอกว่า... การแก้ปัญหาทันทีทันใดคงจะยาก ทางออกที่ดีคือคนไทยช่วยกันทำดีในเรื่องนี้โดยควรมองปัญหาด้วยปัญญา ปฏิสัมพันธ์คนด้วยเมตตาจิตก็จะไม่เกิดความชิงชังเคืองแค้น เพราะแท้ที่จริงเราเองก็คือส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด

    “ทำดีโดยต้องระมัดระวังอย่าให้ตนเองไปเป็นเครื่องมือความรุนแรง ความแค้น ชิงชัง ต้องมองการเมืองด้วยปัญญาและมองคนด้วยความเมตตา” ...ท่าน ว.วชิรเมธีระบุ

    ด้าน พระเทพวิสุทธิกวี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวางแผน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร.) ก็ได้ให้คำแนะนำคนไทยในการทำความดีน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เมืองไทยปัจจุบัน โดยบอกว่า.....

    สถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ด้านเศรษฐกิจอยากให้คนไทยทุกคนช่วยกันประหยัด ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และตามแนวทางพุทธศาสนา คือ “ยินดีในสิ่งที่ตนได้ พอใจในสิ่งที่ตนมี พอมี พอกิน พอใช้ ขอให้ทุกคนนำไปใช้เพื่อความสงบสุขในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง”

    และในส่วนของการประกอบพิธีบูชา-สวดมนต์ ก็ขอให้ประชาชนคนไทยตั้งใจด้านการปฏิบัติมากกว่าการโชว์วัตถุ ปฏิบัติดี-ปฏิบัติชอบตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการทำความดีน้อมถวายเป็นพระราชกุศล

    “ที่สำคัญคือสังคมไทยต้องรู้รักสามัคคี ที่มีปัญหากันก็ควรจะเลิก แล้วหันหน้าเข้าหากัน พิจารณาความจริงของชีวิต ช่วยกันประกอบความดีให้เป็นที่ยกย่อง ขอกลุ่มที่มีปัญหาต่อกันยุติความรุนแรงและกล่าวให้ร้ายกัน เห็นแก่ประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก ไม่ใช่แบ่งพรรคแบ่งพวกและชิงดีชิงเด่นเพื่อความสะใจ” ...พระเทพวิสุทธิกวีกล่าวถึงการทำความดีในด้านที่ตอนนี้ยังคงเป็นประเด็นร้อน

    พร้อมกันนี้ท่านยังบอกต่อไปอีกว่า... อยากให้คนไทยดูประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่าง เขาแข่งขันกัน แต่ก็รู้แพ้-รู้ชนะ และรู้อภัย ไม่ใช่ถือทิฐิแล้วทำให้ประเทศชาติเสียหาย หากทำตามตัวอย่างที่ดีได้ การที่เมืองไทยเจอวิกฤติหลายต่อหลายครั้งเพราะมีปัญหาเรื่องจริยธรรม ก็จะมีน้อยลง
    สังคมไทยในยุคนี้มีความสลับซับซ้อน วิกฤติด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้นั้น อยากให้ทุกฝ่าย “เอาธรรมเป็นที่ตั้ง” ตั้งมั่นทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เรื่องไหนที่ทำแล้วเพิ่มความขัดแย้งก็ควรจะเพลา ๆ ลง ให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ศาสนาคือศาสนา และการเมืองการปกครองเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอย่างธรรมาภิบาล ถ้าทำได้ดังนี้ทุกอย่างในเมืองไทยก็จะดีขึ้น แล้วต่างประเทศก็จะไม่สามารถเอาเปรียบไทยเราได้

    ทิ้งท้าย พระเทพวิสุทธิกวีกล่าวว่า... “ขอให้พุทธศาสนิกชนไทยถือโอกาสนี้ สร้างกุศล สร้างคุณ สร้างประโยชน์ให้กับตัวเองและบ้านเมือง นำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะช่วยแก้ปัญหาในสังคมไทยซึ่งทวีความรุนแรงได้ ก็จะเป็นการทำความดีถวายเป็นพระราชกุศล เป็นสิ่งที่ดีที่สุด”
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทายนิสัยจากการสวมแหวน
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=65846&NewsType=2&Template=1

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top>อยากทราบหรือไม่ว่า การสวมแหวนนั้นบ่งบอกนิสัยอย่างไร วันนี้เดลินิวส์ออนไลน์มีการทายนิสัยจากการสวมแหวนมาฝาก...
    - นิ้วก้อย
    มักจะตกอยู่ในโลกของความฝันมากกว่าโลกของความเป็นจริงมีนิสัยน่ารัก แต่เก็บกด มักไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมาให้คนอื่นได้รู้ได้เห็น ในเรื่องของความรัก มักจะคล้อยตามอารมณ์ ความรู้สึกร่วมไปด้วยเสมอกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อาจจะร้องไห้เมื่อเพื่อนสนิทอกหัก หรืออาจจะกรี๊ดกร๊าดเมื่อเพื่อนมีความสุขเมื่อพบกับหนุ่มหล่อเท่ห์ เป็นคนที่จิตใจเยือกเย็น พอใจในคนรักของตัวเองไม่จุกจิกจนน่ารำคาญใจ ผู้ใดใกล้ชิดหรืออยู่ด้วยก็สบายใจ เวลาที่ชายหนุ่มได้คุยกับคุณสักพักเขาจะรู้สึกสบายใจและสนุกสาน คุณมีคุณสมบัติของลูกผู้หญิงเต็มตัวลักษณะเด่น คือ สามารถทำให้ผู้ชายรู้สึกตัวว่าอยู่ด้วยแล้วมีความสุข เป็นคนที่จริงใจกับความรักเสมอต้นเสมอปลาย ไม่เคยลืมวันสำคัญ ๆ เลย ลึก ๆ แล้วเป็นคนที่โรแมนติก
    - นิ้วนาง
    เป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง หนุ่มใดที่มาใกล้ชิดเอาอกเอาใจ แต่ไม่ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมา คุณจะเกลียดมาก จนไม่อยากจะเจอะเจออีกเลย แต่ในขณะเดียวกัน คุณก็ชอบเห็นชายหนุ่มมากหน้าหลายตามาตามจีบ หรือ ให้ความสนใจ คุณเป็นคนที่กล้าหาญชาญชัย แต่จะมีอยู่คนหนึ่งที่รู้นิสัยจริง ๆ คนที่ใกล้ชิดเท่านั้น ที่จะรู้ว่าภายใต้ความรู้สึกที่เข้มแข็งนั้น คือความบอบบาง คุณเป็นคนที่ชอบคุยและก็คุยได้สนุกเสียด้วยสิ การได้โต้เถียงหรือทำตัวเหมือนดื้อรั้น คือ ความสุขจริง ๆ คุณอาจจะรู้สึกเหงาหรือไม่มีเพื่อน ถึงแม้จะผิดหวังอกหัก แต่ก็สามารถบอกกับใคร ๆ ได้ว่า ธรรมดา ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ฉันไม่ได้ใส่ใจด้วย ทั้งที่ลึก ๆ แล้วปวดร้าวน่าดู แต่แค่ระยะเวลาไม่นานก็จะกลับมาเฮฮาปาร์ตี้ได้เหมือนเดิม
    - นิ้วกลาง
    เป็นคนที่มีจิตใจรื่นเริงแจ่มใส มีจิตนาการสูงในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มีบทบาทมากมายในชีวิตบางทีก็ดูเงียบขรึม บางทีก็ดูร่าเริง และในบางครั้ง ก็จะทำตัวเป็นที่น่าสงสารของผู้ได้พบเห็น เป็นคนที่อ่อนโยนและเป็นผู้หญิงที่ขี้อายถ่อมตน มักจะประหม่าหรือเคอะเขินเมื่อยู่ใกล้ชายหนุ่ม นิสัยไม่มั่นใจในตัวเอง จึงกลัวไปทุกเรื่อง กลัวว่าจะสวยไม่พอ กลัวว่าหุ่นจะไม่ดี กลัวว่าจะไม่ฉลาดพอ หนุ่มใดมาจีบต้องสร้างความมั่นใจให้กับคุณโดยการพูดซ้ำบ่อย ๆ ให้รู้สึกว่าสิ่งที่มีอยู่ดีเลิศ
    - นิ้วชี้
    มักจะชอบทำอะไรแปลก ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกัน มีเสน่ห์บางอย่างในตัวที่ดึงดูดใจผู้ที่มาใกล้ชิดมีแบบฉบับการแต่งตัวเป็น ของตัวเองมีความเชื่อมั่นว่าตัวจะดูดีในชุดที่เลือกใส่เอง ไม่จำเป็นที่จะต้องไปวิ่งตามแฟชั่นให้มันเมื่อยตุ้ม รักความหรูหราแบบแปลก ๆ ไม่เหมือนใคร ยิ่งเป็นเครื่องประดับที่แปลก ๆ หายากหรือไม่เหมือนชาวบ้านด้วยแล้วเป็นอะไรที่โปรดปรานมากเลย ความเฉลียวฉลาด ความสง่างามนั้นนับว่าเป็นสาวไฮโซทรงเสน่ห์ที่มีแรงดึงดูดเพศตรงข้ามได้มากมาย มีรสนิยมสูง หนุ่มคนใดหวังจะชวนไปทานข้าว จำไว้เลยว่าร้านข้าวแกงข้างถนนชวนได้ครั้งเดียวเท่านั้น ต่อไปคุณไม่ไปไหนมาไหนกับหนุ่มคนนี้อีก อย่าลืมว่าคุณชอบของแปลก ๆ ในความแปลกของคุณ คือ จุดอ่อน
    - นิ้วโป้ง
    เป็นคนแปลกไม่แคร์สังคม ไม่แคร์สายตาผู้อื่นเป็นตัวของตัวเอง และเป็นแบบฉบับชองตัวเองมากที่สุด มีความเชื่อมั่นมากและมีความภูมิใจในตัวเองอยู่เงียบ กฏของสังคมไม่สามารถมาล้อมกรอบได้ ทั้งนี้เป็นเพราะมีความอิสระซ่อนเร้นอยู่มากมาย ความหลักแหลมซื่อสัตย์ตะลุยฟันผ่าไปค้นหาในสิ่งที่อยากได้ จะไม่สนใจอะไรแบบมองผ่าน ๆ ไปที่ความสนใจที่มีต่อสิ่งที่สนใจอยู่จึงมีมาก อารมณ์รุนแรงความโกรธรุนแรงกระทั่งสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ใกล้มือใกล้เท้าก็พังหมด
    ใส่แหวนแบบไหน ก็ลองนำไปทายนิสัยกันดู จะได้รู้ว่าเขาคนนั้นเป็นคนยังไง.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">รถเมล์ฟรีพระราชพิธี6จุด
    [15 พ.ย. 51 - 04:26]

    http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=111504

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แจ้งว่า ตามที่ ขสมก. ได้เตรียมความพร้อมในการจัดรถบริการประชาชน ในวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นวันจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อให้ประชาชนเดินทางไปร่วมถวายดอกไม้จันทน์และสักการะพระศพ โดยจัดรถบริการเฉพาะกิจ Shuttle Bus รับ-ส่ง อีก 6 จุด บริการฟรี ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น. ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ฝั่งภัตตาคารพงหลี), สนามม้านางเลิ้ง, สนามศุภชลาศัย (หน้าอาคารนิมิบุตร), สถานีรถไฟหัวลำโพง, วงเวียนใหญ่ และสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ สายใต้ (ตลิ่งชัน) นั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่คาดว่าจะมีประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดเดินทางเข้ามาร่วมพิธีในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งการให้ ขสมก.เพิ่มเวลาการให้บริการรถเฉพาะกิจ Shuttle Bus ทั้ง 6 จุด จากเดิมให้บริการเวลา 10.00-19.00 น. เป็นเวลา 04.30-24.00 น. ได้แก่จุดจอดรถที่ 1 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ด้านภัตตาคารพงหลี จุดจอดรถที่ 2 สนามม้านางเลิ้ง จุดจอดรถที่ 3 สนามศุภชลาศัยบริเวณหน้าอาคารนิมิบุตร จุดจอดรถที่ 4 สถานีรถไฟหัวลำโพง จุดจอดรถที่ 5 วงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วงเวียนใหญ่) ด้านถนนลาดหญ้า จุดจอดรถที่ 6 สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ สายใต้ (ตลิ่งชัน) โดยจุดที่ 1-5 จะมาส่งประชาชนที่บริเวณศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ส่วนจุดที่ 6 จะมาส่งประชาชนที่ใต้สะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โดยรถเฉพาะกิจที่ให้บริการฟรีครั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถสังเกตได้จากป้ายหน้าด้านบนจะมีข้อความว่า
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เชิญพระโกศออกพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ
    http://www.komchadluek.net/specialreport/princess/specialreportnews.php?id=560


    <!-- by Line --><!--โดย : สุทธิชัย
    --><!-- End by line -->[​IMG]
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงทอดผ้าไตรก่อนเชิญพระโกศ พระราชาคณะ 30 รูป สดับปกรณ์ โปรดเกล้าฯ ให้เปลื้องพระลองทองใหญ่ประกอบพระโกศออก เชิญพระโกศลงจากพระแท่นสุวรรณเบญจดล ไปประดิษฐานที่พระยานมาศสามลำคานที่ประตูกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็จฯ ตามไปส่งที่ลานพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทมุขเหนือ เชิญพระโกศด้วยพระยานมาศสามลำคานออกจากพระบรมมหาราชวัง โดยขบวนพระอิสริยยศไปยังพระมหาพิชัยราชรถหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ตามพระโกศไปยังพลับพลายกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงทอดผ้าไตร 20 ไตร ที่ท้ายเกรินบันไดนาคพระมหาพิชัยราชรถ พระสงฆ์สดับปกรณ์เที่ยวละ 5 รูป เชิญพระโกศทองใหญ่ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ ยาตราขบวนแห่เชิญพระโกศไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ตามพระโกศ
    ขบวนกองทหาร ขบวนพระอิสริยยศแห่เชิญพระโกศเข้าสู่ท้องสนามหลวงเทียบพระมหาพิชัยราชรถ เชิญพระโกศทองใหญ่จากพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาค ประดิษฐานพระโกศทองใหญ่ที่พระยานมาศสามลำคาน ตั้งขบวนพระอิสริยยศ เข้าสู่ในราชวัติ เวียนพระเมรุ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระราชวงศ์ พร้อมด้วยท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และครอบครัว เสด็จฯ ตามพระโกศ เวียนพระเมรุครบ 3 รอบ แล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ ประทับ ณ พระที่นั่งทรงธรรม
    เทียบพระยานมาศสามลำคานทรงพระโกศทองใหญ่ที่เกรินบันไดนาคพระเมรุ เชิญพระโกศโดยเกรินขึ้นสู่พระเมรุประดิษฐาน ณ พระจิตกาธานปิดพระฉากและพระวิสูตรประกอบพระโกศจันทน์ ตั้งแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เปิดพระฉากและพระวิสูตร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จขึ้นสู่พระเมรุ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย สักการะพระศพ เสด็จลงจากพระเมรุ เสด็จขึ้นผ่านพระที่นั่งทรงธรรมไปประทับรถยนต์พระที่นั่งหลังพระที่นั่งทรงธรรม เสด็จฯ กลับ

    เส้นทางเสด็จริ้วขบวนพระโกศพระศพ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวง
    คติความเชื่อตามโบราณราชประเพณี สถาบันพระมหากษัติรย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เปรียบเสมือนสมมติเทวราช เมื่อสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์ ก็หมายถึงได้เสด็จกลับสู่สวรรคาลัย ณ เทวสถาน คือเขาพระสุเมรุ สำหรับเส้นทางเสด็จริ้วขบวนพระโกศพระศพสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง มีดังนี้

    เชิญพระโกศออกพระเมรุ
    วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ประกอบด้วยริ้วขบวนที่ 1-3
    ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศจากพระที่นั่งดุสิตฯ ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ ณ ถ.มหาราช-ท้ายวัง ไปยัง ถ.สนามไชย (วงเวียน นสร.)
    ริ้วขบวนที่ 2 ริ้วขบวนเชิญพระโกศไปสู่พระเมรุท้องสนามหลวง
    ริ้วขบวนที่ 3 ริ้วขบวนเชิญพระศพเวียนพระเมรุ

    พระราชทานเพลิงพระศพ

    วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 16.30 น.
    เสด็จฯ มายังพระที่นั่งทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระศพทรงธรรมที่พระเมรุ พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบ พระราชาคณะ 50 รูป สวดศราทธพรตถวายไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์และทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศน์ พระสงฆ์ที่สวดศราทธพรต
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ ชาวพนักงานประโคม สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ และปี่พาทย์ ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ เป่าแตรนอน และยิงปืนเล็กยาว เฉลิมพระเกียรติพร้อมกับทหารปืนใหญ่ยิงปืนเฉลิมพระเกียรติ 21 นัด เสด็จฯ ประทับมุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม

    ลำดับขึ้นถวายพระเพลิงพระศพ
    สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะและบรรพชิต พระบรมวงศานุวงศ์ ประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะทูตานุทูต รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการทหาร-พลเรือน ผู้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เสด็จฯ กลับ

    วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน เวลา 22.00 น.
    เสด็จฯ มายังพระที่นั่งทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดผ้าไตรถวายพระสงฆ์ 30 รูป พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ เสด็จฯ ประทับมุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่ ขึ้นถวายพระเพลิงพระศพ เจ้าพนักงานปฏิบัติการถวายพระเพลิงพระศพเสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นพระเมรุ ทรงทอดผ้าไตร ที่พระจิตกาธาน พระสงฆ์ ๑๐ รูปสดับปกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ กลับ
     
  12. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    หุหุ อาชีพหมอ เอาไว้ทำบุญครับ กำลังหางานหลักอยู่ครับ
     
  13. gnip

    gnip สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +14
    ไม่ได้มีโอกาสไปร่วมถวายดอกไม้จันทร์นะคะ แต่ได้นั่งสมาธิถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านเมื่อคืนค่ะ ยังไงวันนี้ขอเชิญร่วมทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลกันนะคะ
     
  14. พรสว่าง_2008

    พรสว่าง_2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    356
    ค่าพลัง:
    +402
    **-**

    เรียนคุณ Sithiphong ได้รับพระเครื่องแล้วครับ หลังจากที่วางสาย พัสดุก็มาถึงครับ ขอบพระคุณมากครับ...โมทนาสาธุครับ..
     
  15. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อ้าว.ลูกโด....เป็นลิงไปซะแล้ว เจี๊ยกๆ
     
  16. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เอิ๊ก....ขอแค่ในลังนั้นใบเดียว
     
  17. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,309
    ใครเคยวัดเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด มั่งครับผมเคยไปแล้วรอบหนึ่ง
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอแถมรูป วัดเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด นะครับ<!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>


    รูปครับ

    พี่ไม่เคยไปไกลๆขนาดนั้นครับ
     
  19. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    งามมากๆครับ

    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 21 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 17 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, ake7440+, nongnooo+, Shinray01</TD></TR></TBODY></TABLE>

    มีเรื่องเล่าให้ฟัง

    ผมโทร.ไปหาคุณnongnooo แล้วขอคุยกับท่านโด บอกท่านโดว่า เยี่ยมมาก เห็นรูปแล้ว ท่านโดบอกว่า กำลังจะบอกคุณพ่อให้เปิดคอมฯ จะมาบอกว่าขอบคุณมาก แต่ไม่ต้องเปิดแล้ว ขอบคุณมากครับ หุหุ

    ท่านโดมีคำพูด "หุหุ" แล้วครับท่าน เดี๋ยวจะไม่เหมือนต้นแบบ เหอๆๆๆๆ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...