9.ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน พระราชวังพญาไท

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 7 มิถุนายน 2009.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    บัดนี้ ข้าพเจ้าเชิญให้ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายในยังอำเภอบางไทร

    ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อำเภอนี้เกิดขึ้นใหม่แต่เจริญรวดเร็ว ขยายเขตไปจนจดด้านเหนือของ
    ถนนพรหมาสตร์ของอำเภอเขาหลวง ท่านราม ณ กรุงเทพ ย้ายบ้านจากอำเภอปากน้ำมาอยู่ในอำเภอ
    นี้ สมุหเทศาภิบาลมณฑลดุสิตก็ย้ายมาเช่นเดียวกัน นอกจากนี้โรงละครคนธรรพนาฏศาลาก็ย้ายมาจากอำเภอดุสิต

    ท่านราม ณ กรุงเทพ นั้น เป็นผู้มีฐานะดี ท่านมีบ้านอยู่ในตำบลต่าง ๆ ถึง ๑๕ แห่ง ท่าน
    ให้เช่าไปเสีย ๑๒ แห่ง คือ บ้านเย็นใจ บ้านสบายใจ บ้านยาใจ บ้านชื่นใจ บ้านสมใจ บ้านถูกใจ
    บ้านยวนใจ บ้านยั่วใจ บ้านเย้าใจ บ้านปลื้มใจ บ้านเปรมใจ และบ้านปลอดใจ ตัวท่านเองอยู่ที่บ้านผูกใจในอำเภอบางไทรนี้ ท่านเก็บบ้านไว้สำหรับเปลี่ยนบรรยากาศสองแห่ง คือ บ้านหย่อนใจบนเขาหลวง และบ้านโปร่งใจซึ่งเป็นบ้านแบบไทยที่บึงพระราม



    [​IMG]


    วัดพระบรมธาตุ ที่อำเภอบางไทร

    ขอเชิญให้ท่านชมวัดสำคัญในอำเภอนี้ก่อน ชื่อว่าวัดพระบรมธาตุ ท่านจะเห็นพระอุโบสถและเจดีย์อยู่ทางขวา และสังฆวาสอยู่ทางซ้าย วัดนี้มีท่านราม ณ กรุงเทพเป็นมรรคนายก อาคาร ๓ ชั้น ทางซ้ายมือคือส่วนหนึ่งของโรงละครคนธรรพนาฏศาลา (หรือดุสิตนาฏศาลา) อาคารที่มีลักษณะเป็นบ้านทางขวามือนั้น เข้าใจว่าเป็น “บ้านเย็นใจ” ที่ท่านราม ณ กรุงเทพ ให้เช่าไป อาคารที่เป็นฉากหลังนั้น คือ โฮเต็ลเมโตรโปล (ใหญ่)




    [​IMG]
    พระเจดีย์ช้างล้อม ในวัดพระบรมธาตุ

    ภาพเจดีย์ช้างล้อมในวัดพระบรมธาตุ ขอให้ท่านสังเกตดูฝีมือสถาปัตยกรรม ดูเหมือนจะประณีตยิ่งกว่าที่สุโขทัย หรือ ศรีสัชชนาลัยเสียอีก

    สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอำเภอนี้ คือพระราชวังอังกฤษ แต่ได้ทรงพระกรุณาโปรด-เกล้าฯ ให้ย้ายไปปลูกสร้างใหม่ ณ บึงพระรามดังที่ได้กล่าวแล้ว ย้ายไปเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๖๒ เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อได้ย้ายพระราชวังไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่พระราชวังเดิมให้ท่านราม ณ กรุงเทพ

    ท่านรามจึงได้ย้าย “บ้านผูกใจ” ของท่าน ข้ามฟากถนนไปอยู่ ณ ที่นั่นยกที่บ้านเดิมของท่านถวายวัดพระบรมธาตุ






    [​IMG]
    บ้านผูกใจ และ “นางพระธรณี”
    ภาพที่ท่านเห็นอยู่นี้น่าดูมาก เป็นภาพ “บ้านผูกใจ” เดิม ของท่านราม ณ กรุงเทพ ถนนทางซ้ายมือ คือถนนบัลลังก์นาถจักรี ทางขวามือคือถนนมหาศารทูลธวัช บ้านผูกใจอยู่ระหว่างสองถนนนี้แต่ต้นไม้บังอาคารใหญ่เสียบ้าง ท่านรามยกที่ดินตรงมุมบ้านนี้ให้สร้างอนุสาวรีย์นางพระธรณีบิดมวยผม แบบเดียวกับที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาในกรุงเทพฯ (สร้างทีหลังที่กรุงเทพฯ ราว ๑ ปีเท่านั้น) ข้างลำน้ำสุดทางขวามือ คือ ส่วนหนึ่งของพระราชวังอังกฤษก่อนที่จะย้ายไป ส่วนหลังที่แลเห็นในภาพนี้ คือเขาหลวง เห็นคลองส่งน้ำของการประปาจากเขาหลวงยกสูงข้ามลำน้ำไทร และมีถนนครุฑพ่าห์ยกสูงเป็นสะพานลอยข้ามคลองประปาอีกชั้นหนึ่ง งานวิศวกรรมโยธาของดุสิตธานีเจริญพอควรทีเดียว




    ........................................
    <!-- InstanceEndEditable -->

    <!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceEndEditable -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536


    [​IMG]
    วัชรพยาบาล ที่อำเภอบางไทร

    สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอำเภอนี้ คือวัชรพยาบาล ใช้ศัพท์ “วัชระ” เช่นเดียวกับ พระวัชรินทร์ราชนิเวศน์ และพระวัชรเจดีย์ แต่ทวยนาครไม่ระมัดระวังในการพูด จึงมักจะกลายเป็น “วชิรพยาบาล” ไป โรงพยาบาลแห่งนี้ใหญ่มาก มีพระยาบำเรอภักดิ์ เป็นผู้อำนวยการ หมอ อาร์ ปัวร์ เป็นนายแพทย์ใหญ่ มีตึกบัญชาการตรวจโรคและจำหน่ายยาหลังหนึ่ง โรงเลี้ยงเด็กหลังหนึ่ง ตึกแพทย์ผดุงครรภ์หลังหนึ่ง ตึกที่อยู่คนป่วยหลังหนึ่ง ตึกที่ออกกำลังกายหลังหนึ่ง ตึกเอ็กซเรย์หลังหนึ่ง ตึกผ่าตัดหลังหนึ่ง ตึกตรวจโรคหลังหนึ่ง ตึกโรงอาบน้ำร้อนหลังหนึ่ง ตึกที่ไว้ศพหลังหนึ่ง ตึกนายแพทย์ใหญ่หลังหนึ่ง

    ท่านทั้งหลายโปรดสังเกตด้วยว่า หลังโรงพยาบาลแห่งนี้มีอาคารหนาแน่นที่อาจเรียกได้ว่า
    ศูนย์การค้า ในแถบนี้เองมีที่ตั้งสำนักงานกรุงเทพและพึ่งบุญ บริษัทอรุณวงศ์วัฒกี (สาขา) ฉายาดุสิต และฉายาบรรทมสินธุ์ ฉายาบรรทมสินธุ์นี้เองเป็นผู้ถ่ายภาพเหล่านี้ไว้ ทำให้ท่านผู้มีเกียรติได้ชมในครั้งนี้

    เสาสีขาวสี่เสาทางมุมซ้ายบน คือเสาของสะพานพระรามทรงศรี

    ภาพนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะแสดงที่ตั้งของนาครศาลา(ใหญ่) อย่างชัดเจน ท่านจะแลเห็นประตูทางเข้าสองประตู ประตูทางซ้ายเป็นทางเข้าไปยังนาครศาลา(ใหญ่) ประตูทางขวาเป็นทางเข้าไปยังสวนของโฮเต็ลเมโตรโปล (ใหญ่)






    [​IMG]
    อาคารในวัชรพยาบาล

    ภาพนี้คืออาคารหลังหนึ่งของวัชรพยาบาล ถ่ายจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ เห็นพระที่นั่งอัมพรสถานอยู่ไกลๆ







    [​IMG]

    โฮเต็ลเมโตรโปล ที่อำเภอบางไทร

    ภาพนี้แสดงให้เห็นกลุ่มอาคารของโฮเต็ลเมโตรโปล (เล็ก) ซึ่งประกอบด้วยอาคารใหญ่น้อย ๑๒ หลัง อยู่ที่ถนนเอนทราสตร์ ตรงทางแยกถนนกระบี่ธุช ในอำเภอนี้มีถนนชื่อคล้องกัน คือ

    ถนนอโยธยารังสรรค์
    ถนนอนันตนาคราช
    ถนนบัลลังก์นาถจักรี
    ถนนกระบี่ธุช
    ถนนครุฑพ่าห์
    ถนนมหาศารทูลธวัช
    ถนนสวัสดิ์ไตรรงค์

    เลยไปตามถนนเอนทราสตร์นี้ ถ้าท่านสังเกตให้ดีจะแลเห็นโรงละครคนธรรพนาฏศาลา อาคารใหญ่ที่เป็นฉากหลังอยู่ที่มุมซ้าย คือ โรงบิลเลียดของโฮเต็ลเมโตรโปล (ใหญ่) ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากโฮเต็ลเมโตรโปล (เล็ก)

    ข้าพเจ้าขออนุญาตกล่าวถึงรายละเอียดของโฮเต็ลเมโตรโปล (ใหญ่) สักเล็กน้อย โฮเต็ลแห่งนี้มีกุ๊กฝีมือดี จึงมีการเลี้ยงกันระหว่างทวยนาครบ่อยๆ ข้าพเจ้าได้พบใบรับเงินค่าอาหารเข้าฉบับหนึ่ง ออกให้นายจ่ายวด ในการเลี้ยงฉลองสัญญาบัตร เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ มีผู้มากินเลี้ยง ๖๕ คน อาหารเย็นอิ่มละ ๓ บาท แชมเปญขวดละ ๘ บาท บุหรี่ฝรั่งมวนละ ๑๐ สตางค์ ให้ผู้รับใช้ ๑๖ คน คนละ ๑ บาท รวมค่าใช้จ่ายเลี้ยง ๖๕ คน เป็นเงิน ๕๓๓ บาท ๖๐ สตางค์ จมื่นเด็กชาเป็นผู้รับเงิน ข้าพเจ้าส่งใบรับเงินฉบับนั้นไปดุสิตธานีที่ศาลาแดง กรุงเทพฯ ท่านผู้จัดการฝ่าย บริการจัดอาหาร กรุณาตีราคาให้ว่า ถ้าจำนวนคนเท่านี้ มารับประทานอาหารอย่างนี้ จะเสียเงินเท่าไร ปรากฏว่าจะเสียเงิน ๒๐,๕๔๐ บาท ๘๕ สตางค์ แพงกว่าเดิมเกือบ ๓๘ เท่า ภายในเวลา ๕๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๓)






    ..............................
    <!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceEndEditable -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  3. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    โห้ค่าเงินทำมั้ยมันถึงได้ต่างกับปัจจุบันมากมายเนาะ
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    คุณบุษฯ จ๋า สมัยก่อน เงิน ๑๐๐ บาท สร้างบ้านเรือนไทยได้ ๑ หลังเลยนะ
     
  5. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    จริงเหรอ เมื่อตอนกลางวันยังคุยกับหัวหน้าอยู่เลยนะ หัวหน้าเค้าบอกว่าสมัยนั้น วัวคู่นึงราคา (ไม่แน่ใจระหว่าง 6 สลึงกับ 10 สลึง แหะๆๆ ขออภัย) หัวหน้าบอกว่าอิ่มละ 3 บาทอ่ะสมัยนั้นกินล้างกินพลานแล้วนะ
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536

    [​IMG]
    คนธรรพนาฏศาลา ที่อำเภอบางไทร

    นี่คือภาพคนธรรพนาฏศาลา หรือ ดุสิตนาฏศาลา (มีสองชื่อ) ที่ชื่อคนธรรพนาฏศาลาก็เพราะว่าเดิมอยู่ในสวนคนธรรพอุทยาน เมื่อขยายเขตอำเภอบางไทรจึงย้ายมาที่นี่





    [​IMG]
    ลำน้ำไทร

    ภาพนี้คือลำน้ำไทร ซึ่งมีถนนอนันตนาคราชเลียบอยู่ทางขวา และถนนบัลลังก์นาถจักรีเลียบอยู่ทางซ้าย ลำน้ำไทรนี้ไหลไปรวมกับลำน้ำดุสิตแล้วลอดสะพานพระรามทรงศรีอันสวยงาม ที่แลเห็นเสาสีขาวอยู่ในภาพ





    [​IMG]
    นาครศาลา ของดุสิตธานี

    ภาพนี้เป็นภาพสุดท้าย ข้าพเจ้าได้พาท่านทั้งหลายมาถึงนาครศาลา ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนอโยธยารังสรรค์ ข้าพเจ้ายกให้สถานที่แห่งนี้เป็นหัวใจของดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุใดข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าเป็นหัวใจของดุสิตธานี ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายคงจะได้ฟังจากการอภิปรายต่อไป




    .............................
    <!-- InstanceEndEditable --><!-- InstanceEndEditable -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536

    อิ่มละ ๓ บาทนี่เป็นสมัยน่าจะประมาณ ๔๐ - ๕๐ ปีก่อนมั้ง

    แต่บ้านเรือไทยหลังละ ๑๐๐ นี่ จะเป็นสมัยประมาณราวๆ รัชกาลที่ ๔ เจ้าค่ะ
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พาชมดุสิตธานี
    คำบรรยายของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
    ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติ
    ในงานพระบรมราชานุสรณ์
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๓

    **********************
    ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย


    วันนี้ ข้าพเจ้ามีความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ประการแรกยินดีที่ได้มาอยู่ ณ ที่นี้ร่วมกับท่านทั้งหลาย เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในอดีต ประการที่สองคือได้รับเกียรติให้มาบรรยาย ณ สถานบันแห่งชาติ ในเรื่องที่ไม่เคยมีการบรรยาย พาท่านไปชมเมืองที่ได้สูญหายไปแล้วโดยไม่มีร่องรอย ยิ่งกว่าเมืองปอมเปย์ในสมัยโรมัน หรือกรุณศรีอยุธยา เมื่อ ๒๐๐ ปี มาแล้ว

    ก่อนดำเนินการในหน้าที่มรรคุเทศก์ ข้าพเจ้าขอชี้แจงแก่ท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นเยาวชนว่า ดุสิตธานีคืออะไร อยู่ที่ไหน ซึ่งเห็นจะต้องเริ่มกล่าวว่า
    “ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างอุทยานสถานให้เป็นที่สำราญพระราชหฤทัย ได้เสด็จประพาสเนืองๆ และทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมข้างทิศใต้ คลองสามเสนข้างทิศเหนือ เป็นที่สวนและทุ่งนา มีชัยภูมิดีสมควรเป็นที่เสด็จประพาส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่ตำบลนี้ตามราคาอันสมควรจะราษฎรเจ้าของที่ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ใช้จ่ายการในพระองค์
    เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ร. ศ. ๑๑๗ ได้เสด็จทอดพระเนตรภูมิสถานที่นั้นและได้โปรดเกล้าฯ ให้ลงมือเริ่มตัดต้นไม้เป็นปฐมฤกษ์ แล้วได้ทำการสืบมามีตัดถนน ขุดคลอง ทำสะพาน และสร้างพระราชอุทยาน ปลูกรุกขชาติต่าง ๆ พระราชทานนามว่า “ สวนดุสิต”
    นี่แหละคือต้นเรื่องของสวนดุสิต หรือคำว่า “ ดุสิต” ข้าพเจ้าขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า ร. ศ. ๑๑๗ นั้น คือ พ. ศ. ๒๔๔๑ คือ ๗๒ ปีมาแล้ว และสิ่งที่ควรทราบอีกข้อหนึ่งก็คือ วัดเบญจมบพิตร ซึ่งมีพระอุโบสถสวนงามมากนั้น ก็มีกำเนิดมาในระยะเดียวกันนั่นเอง ที่แถวนั้นเคยเป็นสวนและทุ่งนาอย่าง ไม่มีปัญหา มีพยานหลักฐานที่มองเห็นด้วยตาในขณะนี้อยู่บ้างคือ ถ้าท่านขึ้นรถยนต์จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปทางถนนศรีอยุธยา พอเห็นพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรทางขวามือ เหลียวกลับมาทางซ้ายจะเห็นต้นตาลอยู่ต้นหนึ่ง ต้นตาลต้นนี้แหละคือสิ่งที่เหลืออยู่จากสมัยที่บริเวณที่แห่งนี้ยังเป็นทุ่งนา
    ย้อนกลับไปกล่าวถึงสวนดุสิต หรือพระราชวังดุสิต ซึ่งเริ่มสร้างใน พ. ศ. ๒๔๔๑ หลังจากนั้น ๔ ปี จึงได้สร้างพระที่นั่งอัมพรสถาน และต่อจากนั้นอีก ๖ ปี คือ ใน พ. ศ. ๒๔๕๑ จึงได้เริ่มสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นรัฐสภาในปัจจุบันนี้
    ท่านทั้งหลายคงจะทราบอยู่แล้วว่า พระที่นั่งอัมพรสถานนั้นอยู่หลังพระที่นั่งอนันตสมาคมทางทิศตะวันตก และมีพระที่นั่งองค์เล็กองค์หนึ่งเป็นตึกสองชั้น มีนามว่าพระที่นั่งอุดร อยู่ทางทิศเหนือของพระที่นั่งอัมพรสถาน มีระเบียงสองชั้นเป็นทางเดินติดต่อกันระหว่างพระที่นั่งสององค์นั้น ที่รอบ ๆ พระที่นั่งอุดรนี้เอง คือ “ ดุสิตธานี” ที่ข้าพเจ้าจะพาท่านไปชม



    [​IMG]
    แผนผังที่ท่านเห็นอยู่นี้ คือ บริเวณสวนดุสิตที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านจะเห็นลานพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร สนามเสือป่า เขาดินวนา พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งอัมพรสถาน และพระที่นั่งอุดร บริเวณที่ลูกศรขึ้นนั้น คือ “ ดุสิตธานี” ทางที่จะไปยังดุสิตธานีก็คือ อ้อมเป็นครึ่งวงกลมตามกำแพงพระราชวังรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม แล้วเข้าประตูพระราชวังตรงเข้าไปไม่เลี้ยวเลย ก็จะถึงดุสิตธานี
    เพื่อความสมบูรณ์ กันมิให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า “ ดุสิตธานี” เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีอยู่ ๒ แห่ง มีประวัติโดยย่อดังนี้
    แห่งที่ ๑ ดุสิตธานีรอบ ๆ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต ดังที่ข้าพเจ้าได้ชี้ให้ดูในแผนผังนั้นแล้ว เริ่มสร้างเมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๑ และตั้งอยู่ ณ ที่นั้นจนเดือนธันวาคม ๒๔๖๒
    แห่งที่ ๒ เนื่องด้วย “ ดุสิตธานี” แห่งแรกคับแคบ มีทวยนาครเพิ่มขึ้นประจวบกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แปรพระราชฐานไปประทับที่วังพญาไทตั้งแต่เดือน ธันวาคม ๒๔๖๒ และอยู่ต่อมาจนสิ้นรัชกาล สถานที่ “ ดุสิตธานี” แห่งที่สองนี้ ใน ปัจจุบันเป็นสวนด้านหลังของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ
    ส่วนโรงแรมดุสิตธานีที่ศาลาแดงนั้น แม้จะสูงตระหง่าน ก็เป็นเด็กที่เกิดใหม่สร้างขึ้นเสมือนว่าฉลองอายุครบ ๕๐ ปี ของดุสิตธานีแห่งแรก แต่ก็ไม่มีผู้ใดนอกจากข้าพเจ้าที่กล่าวว่าเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบว่ามีผู้ใดแต่งคำประพันธ์ชมดุสิตธานีที่ศาลาแดงหรือไม่ แต่ “ ดุสิตธานี” เมืองประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีผู้เขียนชมความงามไว้มากด้วยกัน เช่น บุคคลผู้เป็นนาครผู้หนึ่ง ใช้นามปากกาว่า “ ขันตี” ได้ประพันธ์โคลงสี่ไว้ดังนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 align=center border=0><TBODY><TR><TD>“ เรื่อเรื่อสุริยะโพล้ เพล้แสง
    จวนจะสิ้นแสงแดง จับน้ำ
    จวบจันทร์แจ่มโลกแปลง มาเปลี่ยน
    แสงต่อแสงทอกล้ำ ทั่วท้องชโลทร
    จันทราคลาเคลื่อนขึ้น เวหา
    แสงส่องทั่วพารา แหล่งน้อย
    นามจังหวัดดุสิตธา นีรุ่ง เรืองเฮย
    งามสุดจะกล่าวถ้อย ถูกถ้วนขบวนงาม”


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเห็นจะต้องเริ่มทำหน้าที่มรรคุเทศก์เสียที เพื่อพาท่านไปชมดุสิตธานีแห่งแรกรอบพระที่นั่งอุดร และจะกล่าวถึงดุสิตธานีแห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้น “ ดุสิตธานี” เป็นจังหวัดที่ตั้งศาลารัฐบาลมณฑลดุสิต ตามระบบการปกครองที่เรียกว่า “ เทศาภิบาล” แต่เกิดระบบการปกครอง “ นคราภิบาล” ขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะทดลองปกครองระบอบประชาธิปไตย เห็นความจริงข้อนี้ได้จากกระแสพระราชดำรัส เมื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศาลารัฐบาลมณฑลดุสิต เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๖๒ ว่า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1>“ วิธีการที่ดำเนินเป็นไปนี้ เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์ได้เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้แน่ชัดเสียก่อน … วิธีดำเนินการในธานีเล็ก ๆ ของเราเป็นไปเช่นไร ก็ตั้งใจไว้ว่าจะให้ประเทศสยาม กระทำเช่นเดียวกัน”
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตยนี้ มีทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ปราสาทพระราชวัง วัดวา อาราม สถานที่ราชการ โรงทหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาดร้านค้า ธนาคาร โรงละคร โรงภาพยนต์ สโมสร บริษัท สำนักงาน แต่อาคารสถานที่เหล่านั้นย่อส่วนลงให้เล็กเหลือประมาณหนึ่งในยี่สิบของของจริง ที่ขาดไปก็คือมหาวิทยาลัย ปั๊มน้ำมัน และสถานโบว์ลิ่ง
    ส่วนเวลานั้นย่อให้เหลือหนึ่งในสิบสอง หนึ่งปีดุสิตเท่ากับหนึ่งเดือนธรรมดา ภาษีอากรซึ่งควรจะเสียกันปีละครั้ง ก็ต้องเสียกันทุกเดือน รายได้ต่าง ๆ นั้น ก็นำมาใช้จ่ายสำหรับธานีบ้าง ส่งสมทบทุนซื้อเรือรบ “ พระร่วง” บ้าง เมื่อซื้อเรือ “ พระร่วง” สำเร็จแล้วก็ส่งสมทบทุนซื้อปืนให้เสือป่า
    จังหวัดดุสิตธานีตั้งอยู่ในพระราชวังดุสิต คล้ายกับกรุงวาติกันตั้งอยู่ในกรุงโรมในประเทศ อิตาลี
    ท่านผู้มีเกียรติคงจะเห็นจากแผนผัง ว่า ดุสิตธานีตั้งล้อมรอบพระที่นั่งอุดรอยู่ มีอำเภอและกิ่งอำเภอคือ ดุสิต- ปากน้ำ- ดอนพระราม- บึงพระราม- เขาหลวงและบางไทร





    [​IMG]
    ด้านเหนือของดุสิตธานีจดอ่างหยก ( ๑) มีสะพานข้ามไปยังพระที่นั่งวิมานเมฆ ซึ่งรื้อย้ายมาจากเกาะสีชัง ริมอ่างหยกทางด้านใต้คือด้านที่ดุสิตธานีตั้งอยู่ มีอาคารใหญ่ตั้งอยู่ จากซ้ายไปขวาหรือตะวันตก ไปตะวันออก คือ พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ ( ๒) นาครศาลา ( ๓) โฮเต็ลเมโตรโปล ( ๔) และโรงบิลเลียด ( ๕) ทางทิศตะวันตกมีคลอง ชื่อคลองเม่งเส็ง ระบายน้ำจากอ่างหยกผ่านหลังพระที่นั่งอัมพรสถาน หลังสวนอัมพร หลังวังปารุสกวัน และหลังกระทรวงศึกษาธิการ ไปออกคลองผดุงกรุงเกษม ที่หน้าวัดมกุฎกษัตริยาราม ริมคลองนี้ตรงที่ดุสิตธานีตั้งอยู่มีอาคารเป็นตึกยาว ใช้เป็นที่ทำการสมุหเทศาภิบาล และสโมสรของพรรคแพรแถบสีน้ำเงิน ( ๖)
    ในดุสิตธานีมีสวนสาธารณะหลายแห่ง เช่น สวนลุมพินี ( ๗) สวนพระรามประทาน ( ๘) สวนคนธรรพอุทยาน ( ๙) สวนวิจิตรมาลี ( ๑๐) สวนนันทอุทยาน ( ๑๑) และสวนสราญรมย์ ( ๑๒)
    มีทางเข้าไปยังดุสิตธานี ๓ ทาง ทางแรกนั้นข้าพเจ้าได้แจ้งให้ทราบแล้ว คือ อ้อมกำแพงพระราชวังรอบพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นครึ่งวงกลม แล้วตรงเลยเข้าไปจนถึงอำเภอบางไทรของดุสิตธานี ตรงข้าง “ วังนวรัตน” ของ หม่อมเจ้าปรานีนวบุตร นวรัตน สมุหเทศาภิบาล ทางทิศตรงกันข้ามมีประตูเข้าออกได้ ตรงบ้านนายจ่ายง ในอำเภอดุสิต ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นทางที่ใช้มากที่สุด คือทางด้านใต้ตรงอัฒจันทร์ พระที่นั่งอุดร ถ้าขึ้นบนพระที่นั่งอุดรมาก่อนแล้วลงจากพระที่นั่งทางอัฒจันทร์ด้านเหนือ จะมาถึงพระราชวังพระวัชรินทร์ราชนิเวศน์ ที่ใจกลางดุสิตธานีเลยทีเดียว ถ้าเดินเลาะตามบาทวิถีรอบพระที่นั่งทางด้านตะวันตกจะเข้าถึงอำเภอบึงพระรามทางด้านสวนลุมพินี ถ้าเลาะทางด้านตะวันออกจะถึงอำเภอเขาหลวงทางด้านสวนสราญรมย์ ผู้ที่เข้ามายังดุสิตธานีโดยมากย่อมมุ่งที่จะไปยังนาครศาลาและโฮเตลเมโตรโปล พอเดินเลาะตามบาทวิถีรอบพระที่นั่งอุดรแล้ว ก็มักจะลงจากบาทวิถี เดินลัดผ่านบ้านเจ้าหมื่นไวยวรนาถไปยังถนน วารุณาสตร์ จนเกิดเรื่อง “ คุณพระนาย” ผู้เป็นเจ้าของบ้านบ่อยๆ เพราะบริเวณบ้านถูกเหยียบย่ำจนเกิดความเสียหาย
    ดุสิตธานีนี้มีประวัติว่า พระบาทสเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จลงที่บริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอุดร เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจับจองที่ดินกัน ขณะนั้นประเทศสยามได้เข้าสู่มหายุทธสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้ครบหนึ่งปีพอดี พอถึงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ก็ได้ยินคำว่า “ ดุสิตธานี” กันแล้ว จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า ได้พระราชทานนาม “ ดุสิตธานี” ให้แก่เมืองใหม่ภายในระยะเวลาวันสองวันนั้นเอง ในชั้นต้นมีเพียง ๓ อำเภอ คือ อำเภอดุสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดและมีพระราชวัง คือ พระรวัชรินทร์ราชนิเวศน์ อีดสองอำเภอคือ อำเภอปากน้ำ และอำเภอดอนพระราม ทวยนาครนั้นเป็นชายล้วนทีแรกย่อมมีจำนวนน้อย แต่ภายใน ๑ ปี ก็เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ ๒๕๐ คน ส่วนจำนวนหลังคาเรือนนั้นกว่า ๑ , ๐๐๐ เพราะสถานที่บางแห่ง เช่นพระราชวังและวัด มีอาคารแห่งละหลายหลัง มีการเลือกตั้งนคราภิบาลครั้งแรกในเดือนตุลาคม ๒๔๖๑ นั้น และข้าพเจ้าดูเหมือนจะเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีสิทธิเลือกตั้ง คือ มีอายุเพียง ๑๕ ปี กับ ๓ วันเท่านั้น ภายในระยะเวลาเดือนครึ่งหลังจากนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นดังนี้
    ๑. เกิดมีหนังสือพิมพ์ขึ้นในดุสิตธานีถึงสามฉบับ คือ “ ดุสิตสมัย” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันฉบับที่ ๒ และ “ ดุสิตสมิต” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “ ดุสิตสักขี” นั้นมีชื่อที่ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษปนว่า ดุสิตเรคอร์เด้อร์ด้วย
    ๒ . เยอรมันยอมแพ้ในมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ ดุสิตธานีตกแต่งธงทิว และโคมไฟเพื่อ ฉลองเป็นการใหญ่ งดงามมาก อีก ๒๐ วันต่อมาจึงมีการฉลองที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ
    ๓ . ขยายดุสิตธานีออกไปทางทิศอาคเนย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ตั้งเป็นอำเภอเรียก ว่า อำเภอเขาหลวง
    ๔ . ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ “ ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล ดุสิตธานี พ. ศ. ๒๔๖๑ “ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๑ แล้ว ได้มีการเลือกตั้งนคราภิ บาลตามธรรมนูญนั้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๖๑
    การที่สัมพันธมิตรมีชัยในมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ นั้น ส่งผลมาถึงดุสิตธานีเป็นอันมาก ทำให้เกิดถนนชัยชนะสงคราม ถนนสยามชนะศึก ถนนพิลึกฤทธิ์ไทย ถนน ๒๒ กรกฎาคม และ ถนน ๑๑ พฤศจิกายน ขึ้นในอำเภอดุสิต
    ในปีต่อมาหนังสือพิมพ์ดุสิตสมัยลงข่าวดังนี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1>“ เราได้อ่านหนังสือพิมพ์ยักษ์ฉบับหนึ่ง ลงวันที่ ๑๘ เดือนนี้ มีความเห็น บรรณาธิการแนะนำรัฐบาลให้ตัดถนนเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ในการสงคราม ถ้าถนน ที่กล่าวนั้นได้มีขึ้นจริงแล้ว ตัวท่านบรรณาธิการผู้ออกความเห็นคงกระโดดโหยงยิ้มจนแก้มกระตุก คุยกับเพื่อนได้หลายร้อยครั้งว่า รัฐบาลได้ทำตามความเห็นของตนแต่ความจริงนาครดุสิตได้ชมถนน ๒๒ กรกฎาคม , ถนน ๑๑ พฤศจิกายน, ถนนชัยชนะสงคราม , ถนนสยามชนะศึกมากกว่า ๖ เดือนแล้ว”


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามที่ใช้ศัพท์ “ นาครดุสิต” นั้น ท่านทั้งหลายคงจะทราบว่า หมายความว่าชาวดุสิตธานีนั่นเอง ถ้าจะกล่าวว่าราษฎรทั้งหลาย หรือประชาชน ก็ใช้ศัพท์ว่า “ ทวยนาคร” นาครทุกคนจะต้องมีอาชีพ นายราม ณ กรุงเทพ ก็เป็นนาครผู้หนึ่งมีอาชีพเป็นทนายความ เราเรียกว่า “ ท่านราม”
    ตำบลและอำเภอต่าง ๆ ในดุสิตธานีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย ได้ลดฐานะอำเภอปากน้ำและอำเภอดอนพระรามเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นอำเภอดุสิต หลังจากนั้นได้ขยายเขตอำเภอเขาหลวงขึ้นไปทางทิศอีสาน ต่อมาได้แยกที่ตรงนั้นเป็นตำบลหนึ่งต่างหาก เรียกว่า ตำบลบางไทร ซึ่ง เจริญก้าวหน้ารวดเร็วมาก ทางทิศหรดีก็มีการพัฒนา ตั้งตำบลใหม่มีชื่อว่า ตำบลบึงพระราม แล้วยกฐานะ ดอนพระรามกลับเป็นอำเภอตามเดิมมีข่าวในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับสถานที่ในตำบลใหม่นี้ที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ดังนี้
    “ สวนลุมพินี ได้สร้างขึ้นที่กิ่งอำเภอดอนพระราม ข้างบึงพระราม เราเชื่อว่าสวนนี้ ถ้าแล้ว คงจะเป็นสถานที่ที่งดงามแห่งหนึ่งในกิ่งอำเภอนั้น”
    สวนลุมพินีที่กล่าวนี้ มีกำเนิดเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๖๒ ก่อนสวนลุมพินีของนาครกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง แต่การตกแต่งให้เป็นสวนที่งดงามนั้น ดูเหมือนจะไม่เคยสำเร็จ เพราะมีผู้ขอเช่าเอาไปทำเป็นโรงเรียนศรีวรรธนาลัย และทางการได้สั่งอนุญาตเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ศกเดียวกันนั้นเอง สวนลุมพินีแห่งแรกในกรุงสยาม จึงมีอายุเพียง ๔๐ วันเท่านั้น



    เขาหลวงทางทิศอาคเนย์เป็นแหล่งน้ำสำคัญ มีลำธารไหลไปทางบางไทร กลายเป็นลำน้ำไทรสายหนึ่ง ลำธารที่ไหลไปทางตะวันตกชื่อธารพิกุล ไปรวมกับธารสายหยุดกลายเป็นลำน้ำดุสิต ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญที่สุดของดุสิตธานี ไหลไปทางทิศเหนือแล้ววกไปทางทิศตะวันตก ธารสายหยุดนั้นไหลมาจากเขาเตี้ย ๆ ทางทิศทักษิณ ทางด้านหรดีมีน้ำพุขึ้นในเขตบ้านโปร่งใจของท่านราม ที่บึงพระราม แล้วไหลไปทางเหนือ เข้าคลองศรีเมือง แล้วไปออกลำน้ำดุสิต ในอำเภอดุสิตนั้นมีลำน้ำและคลองเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไหลไปออกทะเลทางอำเภอปากน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แยกเป็นสองสาย คือ ลำน้ำดุสิตทางหนึ่ง และคลองขวัญเมืองอีกทางหนึ่งยังมีคลองสำคัญอีกคลองหนึ่ง คือคลองมิ่งเมือง เป็นคลองลัดขณะที่ลำน้ำดุสิตวกเวียนไปทางใต้และเป็นคลองที่แบ่งอาณาเขตระหว่างดุสิตและปากน้ำ





    ............................................






    เมืองจำลองดุสิตธานี ก็จบเรื่องราวเพียงเท่านี้......

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • map.jpg
      map.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.1 KB
      เปิดดู:
      2,295
    • map1.jpg
      map1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.2 KB
      เปิดดู:
      2,264
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ภาพเก็บตก....

    [​IMG]

    ปีมะโรง ปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปปูนปั้น อยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานจักรี


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    ............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6034.jpg
      IMG_6034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.2 KB
      เปิดดู:
      1,479
    • IMG_6081_1.jpg
      IMG_6081_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.9 KB
      เปิดดู:
      1,415
    • IMG_6083_1.jpg
      IMG_6083_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.6 KB
      เปิดดู:
      1,324
    • IMG_6116_1.jpg
      IMG_6116_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.7 KB
      เปิดดู:
      1,430
    • IMG_6118.jpg
      IMG_6118.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      1,278
    • IMG_6137_1.jpg
      IMG_6137_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.9 KB
      เปิดดู:
      1,265
    • IMG_6196.jpg
      IMG_6196.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.8 KB
      เปิดดู:
      1,256
    • IMG_6174.jpg
      IMG_6174.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.6 KB
      เปิดดู:
      1,266
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    วันนี้กะว่าจะโพสต์ภาพเก็บตกชุดสุดท้าย
    เพราะว่ากระทู้นี้ยืดเยื้อมานาน เกรงว่าหลายคนคงจะเบื่อแล้ว
    ต้องขออภัย หากกระทู้นี้ไปเกะกะขวางหู ขวางตา หรือขัดความรู้สึกใคร
    เพราะตั้งใจจะนำเสนอแต่สาระความรู้และภาพที่พูดได้ว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์
    ที่หาดูหาชมได้ยากของ ดุสิตธานี นครที่ถูกลืม...

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
    ไม่อยากจะพูด ซื้อกินได้แต่พอหมดก็ทิ้งให้เกลื่อน

    [​IMG]


    [​IMG]




    ขอบคุณเพื่อนทุกๆ ท่าน และผู้ที่ผ่านมา เข้ามาเยี่ยมชม

    ขอจบกระทู้ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน พระราชวังพญาไท เพียงเท่านี้
    โอกาสหน้า จะไปตามหาความทรงจำที่ไหนต่อนั้น ถ้าไม่เบื่อกันเสียก่อน
    ก็คอยติดตามชมกันนะเจ้าคะ...


    [​IMG]
    สร้อยฟ้ามาลา




    ............................


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_6200.jpg
      IMG_6200.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.1 KB
      เปิดดู:
      1,245
    • IMG_6189.jpg
      IMG_6189.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.8 KB
      เปิดดู:
      1,225
    • IMG_6191_1.jpg
      IMG_6191_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.4 KB
      เปิดดู:
      1,166
    • IMG_6255.jpg
      IMG_6255.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      1,189
    • IMG_6302_1.jpg
      IMG_6302_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.7 KB
      เปิดดู:
      1,208
    • IMG_6365_1.jpg
      IMG_6365_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.8 KB
      เปิดดู:
      1,252
    • IMG_6373_1.jpg
      IMG_6373_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.8 KB
      เปิดดู:
      1,194
    • IMG_6377_1.jpg
      IMG_6377_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.7 KB
      เปิดดู:
      1,186
    • IMG_6376_1.jpg
      IMG_6376_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.5 KB
      เปิดดู:
      1,165
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  11. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    [​IMG]
    ขอบคุณมากค่ะคุณสร้อยฟ้า ไม่เคยเบื่อกระทู้ของคุณสร้อยเลย
    เพราะได้ความรู้ การบรรยายภาพ และภาพสวยๆทุกครั้ง
    รอชม...คราวต่อไปค่ะ
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบคุณจ้าพี่แอ๊ด... กระทู้นี้หนูใช้คำแรงไปบ้างในบางโพสต์ เป็นไปตามความรู้สึกอ่ะจ่ะ ก็เลยกลัวว่าจะมีคนที่ไม่ชอบอ่ะสิ... สิ่งที่บอกออกไปก็คือความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2009
  13. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    ภาพเก่าที่เสื่อมโทรมบอกเล่าความเป็นมาในอดีตได้ชัดเจน
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    อยู่ที่ว่าคนรุ่นใหม่จะเห็นคุณค่าหรือเปล่านะพี่แก้ว.....
     
  15. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,465
    ขอบคุณกับกระทู้ดีๆอย่างนี้ และด้วยเห็นว่ามีความเกี่ยวพันกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่ผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลแทบจะทุกท่านต่างให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์มรดกอันล้ำค่านี้ และที่ด้านหลังของ รพ.ฯยังมี ศาลของท้าวหิรัญฯ
    (ที่หลวงปู่โง่นท่านได้ไปพบในระหว่างทาง เมื่อครั้งที่เดิน
    ทางไปปลดปล่อยวิญญาณพระพี่นางสุพรรณกัลยา และ...)
    ที่ทุกคนที่เดินผ่านศาลแห่งนี ไม่ว่าจะเป็นคนป่วยหรือไม่ป่วย แม้กระทั่งจนท.ทุกคนของ รพ.จะให้การเคารพสักการะ

    ทริปต่อไปอยากให้คุณสร้อยฯ นำเที่ยวพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งเป็นของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เหมือนกัน ถ้าได้เคยกล่าวถึงแล้วก็ต้องขออภัย แต่ถ้ายังก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้า นะขอรับ
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบคุณคุณจงรักภักดีเป็นอย่างสูง ที่ให้เกร็ดความรู้เพิ่มเติม เป็นกำลังใจในการเขียนกระทู้มากมายนัก...

    พระราชวังสนามจันทร์เคยไปแล้วแต่ยังไม่เคยเก็บภาพและเขียนเป็นกระทู้ขึ้นมา... แต่ที่หมายจะไปครั้งต่อไป ก็เป็นพระราชวัง.... ยังบอกไม่ได้แต่ตั้งใจไว้แล้วว่าจะไป เกรงว่าบอกไปแล้วอาจมีอุปสรรค์ในการเขียน...เพราะกำหนดการและเหตุปัจจัยข้างหน้ายังไม่แน่นอน...

    ขอบคุณเจ้าค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2009
  17. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    เข้ามาให้กำลังใจว่า เป็นกระทู้ที่ดีมาก ๆๆๆๆๆ ค่ะ

    รักแรกของพระองค์ก็ทรงหมั้นที่วังพญาไท
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบพระคุณคุณ omioเจ้าค่ะ สำหรับคำติชมและกำลังใจ...

    ตอนนี้กำลังจะเริ่มกระทู้ตามหาความทรงจำ อีกตอนหนึ่งแล้ว โปรดติดตามชมนะเจ้าคะ ในเวลาอันใกล้นี้... กำลังย่อขนาดรูปอยู่....
     
  19. พรรณนา

    พรรณนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +1,178
    งดงามจริงๆครับพี่สร้อยฟ้า...เห็นแล้วบางทีก็ผ่านมา ก็ผ่านไป ยังไม่เคยเข้าไปเลยสักครา

    ขอขอบคุณที่นำภาพสวย และเรื่องราวดีๆ จะติดตามตลอดนะครับขอเป็นกำลังใจให้พี่ครับ
     
  20. พรรณนา

    พรรณนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +1,178
    PHP:
    ผมขอโทษพี่สร้อยฟ้าด้วยนะครับ ที่ถือวิสาสะนำเพลงนี้เข้ามา
    ขอฝากเพลงนี้ให้พี่สร้อยฟ้า และพี่ๆ เพื่อนๆ ด้วยครับ

    ตั้งใจว่าจะนำเพลงนี้ให้ เรื่อง ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน พระราชวังบางปะอิน พอดีพี่สร้อยลง ลาวคำหอมแล้ว เกรงเสียงเพลงจะชนกัน

    ก็นำเพลง ลาวม่านแก้ว มาฝาก ฟังแล้วไม่เต็มเพลง รบกวนพี่สร้อยฟ้าสอนผมอีกทีครับจะนำให้เต็มเพลงนำแบบไหนกัน
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...