ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชีวิตในบั้นปลาย

    [​IMG]
    เจดีย์บู่ทองกิตติ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร



    ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่จาม อายุได้ ๖๒ ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ท่านพิจารณาเห็นว่า เสนาสนะเดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมจากปลวกเกรงจะเป็นอันตรายต่อบรรพชิตและฆราวาส ท่านจึงดำริให้บูรณปฏิสังขรณ์ให้สภาพดีขึ้น และในปี ๒๕๒๑ หลวงปู่ได้ออกแบบกุฏิเสาเดียวสร้างเป็นตัวอย่างครั้งแรก ๑ หลัง สามารถกันปลวกได้ จึงได้เปลี่ยนกุฏิไม้เดิมมาเป็นกุฏิเสาเดียวสร้างด้วยเหล็กถือปูนอีกหลายหลังในระยะต่อๆ มา

    เมื่อปี ๒๕๒๓ หลวงปู่จามได้นิมิตว่า “เทวดาจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระสาวกมาถวายให้” หลังจากนิมิตไม่นานได้มีโยมจากพิษณุโลก ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกมาอย่างละไม่กี่องค์ถวายหลวงปู่ในปีนั้นเอง จึงได้นำมาบูชาไว้ ต่อมาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกก็ได้เสด็จมาเพิ่มเองในภาชนะที่อัญเชิญไว้มากขึ้นๆ ตลอดจนมีญาติโยมก็ได้อัญเชิญมาถวายอีกเป็นจำนวนมากขึ้นอีก ญาติโยมห้วยทรายและบ้านใกล้เคียงเคยเห็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าในเวลาค่ำคืนวันพระเสมอๆ

    ต่อมาเมื่อปลายปี ๒๕๒๗ หลวงปู่เห็นว่าสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุสาวกควรจะเป็นความเหมาะสมกับคติความเชื่ออันเป็นแบบฉบับตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาจึงดำริให้สร้าง “เจดีย์บู่ทองกิตติ” ท่านเป็นผู้ออกแบบเจดีย์โดยประยุกต์ศิลปะลักษณะผสมผสานขึ้น ดังปรากฏเด่นสง่าเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าและพระธาตุสาวกเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะแก่พุทธบริษัทโดยทั่วไป การก่อสร้างเจดีย์ท่านควบคุมก่อสร้างเองโดยอาศัยช่างชาวบ้านถิ่นนี้ ใช้เวลาก่อสร้าง ๓ ปีแล้วเสร็จ มี โยมบัวผัน โยมบู่ทอง โยมเลียงพรรณ โยมสุพจน์ คหบดีเชียงใหม่ ตลอดจนคณะศรัทธาในอำเภอต่างๆ ที่ได้เคยดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่ ช่วงไปบำเพ็ญทำความเพียรที่เชียงใหม่ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง และเมื่อหลวงปู่อาพาธไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลลานนา คณะศรัทธาญาติโยมดังกล่าวได้มีส่วนสำคัญในการร่วมทุนสร้างเจดีย์และเสนาสนะอื่นด้วย

    [​IMG]
    โยมบู่ทอง กิตติบุตร


    ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงได้ประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุสาวก ตลอดจนพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ญาติโยมคณะศรัทธาอัญเชิญมาถวายอีกจำนวนมาก

    นอกจากนี้พระพุทธรูปบูชาองค์ใหญ่ๆ ที่ศรัทธาญาติโยมมาถวายไม่สามารถอัญเชิญไว้ที่ “เจดีย์บู่ทองกิตติ” ได้ ก็จะนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลา และพิจารณามอบให้วัดอื่น ที่ยังขาดพระพุทธรูป พระประธานอีกหลายแห่ง ตลอดจนโรงเรียนต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมพระพุทธรูปส่วนใหญ่จะเป็นปางพระพุทธชินราชมากมายนัก ผู้เขียนจึงค้นหาความจริงได้ว่าหลวงปู่บอกว่า “พระพุทธชินราช เป็นปางที่ใกล้เคียงปุริสลักษณะ”

    (ปุริสลักษณะ หมายถึง ลักษณะพระพุทธเจ้า ๓๒ ประการ)

    ข้อวัตรปฏิบัติที่สำคัญในบั้นปลายนี้หลวงปู่จะเน้นการอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติจิตภาวนา ควบคู่กันไปโดยมุ่งหวังให้พุทธบริษัททั่วไปประพฤติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้รู้เข้าใจในนรก สวรรค์ พรหมโลก มีจริง บาปอกุศลและบุญกุศลมีจริง และนิพพานก็มีจริง อย่าประมาทในชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นโอกาสดีที่สุดแล้ว

    เมื่อปี ๒๕๓๐ ขณะหลวงปู่ปลูกต้นสักในวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ท่านพูดเชิงปรารภกับ พระอาจารย์เพชร อรุโณ ว่า “เมื่อต้นสักนี้โตขึ้นเท่าแขนก็จะละสังขารเพราะมีอายุขัยเพียง ๘๓ ปี”

    ต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านอายุ ๘๓ ปีพอดี หลวงปู่ก็ล้มป่วยหนักเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ญาติโยมจึงกราบนิมนต์ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลลานนาเชียงใหม่ ท่านก็ยินดีและอดทนเดินทางไปรับการรักษา ขณะที่ผ่าตัดเสร็จแล้วหลวงปู่พูดกับพระอาจารย์เพชร และญาติโยมว่า “อายุขัยหมดแล้ว ต่อไปเหลือแต่อายุที่หมอเขาต่อให้”

    มาจนถึงบัดนี้ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ รวมอายุได้ ๙๕ ปี

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ส่งท้ายไว้ให้คิด

    [​IMG]


    โดยปกติแล้วผู้มีอายุยืนยาวนาน ผู้คนในแผ่นดินก็จะให้การยกย่องเคารพนับถืออย่างสูง เพราะถือว่าได้ผ่านโลกมามากผ่านประสบการณ์ชีวิตอย่างโชกโชน ประกอบกับความสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ และชาติวุฒิ

    สำหรับ องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ นั้นท่านอายุยืนยาวถึง ๙๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ท่านได้ดำรงสมณเพศมายาวนาน การประพฤติตามข้อวัตรและปฏิปทาที่ท่านได้บำเพ็ญคุณงามความดีมาอย่างดี ไม่มีสิ่งด่างพร้อย ถือเป็นบุคคลหาได้ยากท่านหนึ่งในแผ่นดิน น่าที่คนรุ่นหลังจะได้น้อมนำมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจตน และนำมาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี และเป็นการสมควรที่จะเชิดชูยกย่องให้ท่านเป็นปูชนียบุคคลผู้หนึ่งที่สมควรคารวะกราบไหว้บูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าในมงคลสูตรข้อที่ว่า “บูชาบุคคลที่สมควรบูชา ย่อมเป็นมงคลอย่างยิ่ง”

    ผู้เขียนได้มีโอกาสมากราบท่านครั้งแรก ประทับใจในความเมตตาเสมือน “ปู่ใจดี” เมื่อรู้ว่าผู้เขียนมีอาชีพเป็นทหาร ท่านก็เล่าเหตุการณ์ในอดีตเป็นคุ้งเป็นแควอย่างกว้างขวาง เสมือนกับเป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นยอด มีความจำดีมาก ยกเหตุการณ์ต่างๆ เล่าให้ฟังแม้แต่การรบพุ่งการศึกสงคราม ทั้งในประเทศและต่งประเทศผู้เขียนรู้สึกทึ่งในความรู้ความสามารถของท่านอันเป็นความประทับใจครั้งแรกที่ได้พบท่าน

    เป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายจาก พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก ให้ช่วยเขียนประวัติปฏิปทาและสาระธรรมเท่าที่จะทำได้ จึงเดินทางเพื่อหวังจะสอบถามรายละเอียด จะได้มีข้อมูลในการเขียน แต่เอาเข้าจริงหลวงปู่ท่านคงจะรู้ว่าเรามาเพื่อจะเขียนประวัติของท่าน ท่านจึงตอบคำถามแต่เพียงสั้นๆ ทำให้ผู้เขียนหนักใจอยู่แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์ร่วมมือจากหลายท่าน จึงค่อยอุ่นใจบ้างแม้จะไม่สมใจก็ตาม ถึงแม้ว่าหลวงปู่จะตอบสั้นแต่มีสาระที่สมควรนำมาคิด จึงขอนำมาลงบันทึกไว้บ้างดังนี้

    ถาม : หลวงปู่ไม่เอาพระอรหันต์ในชาตินี้หรือ ?

    ตอบ : เอาอยู่ แต่เอาไม่ได้

    ถาม : หลวงปู่สร้างสมบุญญาบารมีไว้มากมายพอหรือยังและได้ญาณทัศนะถึงขั้นไหน ?

    ตอบ : ธรรมดาผู้ที่เกิดตายหลายชาติ นับไม่ไหว ย่อมมีอยู่

    ถาม : พลังอำนาจทางกสิณ หลวงปู่ได้เมื่อใด ?

    ตอบ : มีของเดิมอยู่

    ถาม : หลวงปู่ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องเกิดอีกกี่ชาติ ?

    ตอบ : เกิดตายอีกหลายชาตินับไม่ไหว

    ถาม : เกิดตายอีกหลายชาติ หลวงปู่ไม่เบื่อหรือ ?

    ตอบ : เบื่อไม่ได้ เป็นหน้าที่

    ถาม : เคยเกิดมาเป็นใหญ่เป็นโต เคยเป็นตำแหน่งใดบ้างในอดีตชาติ ?

    ตอบ : พระเจ้าแผ่นดิน ฮ่องเต้ เจ้าชาย พราหมณ์ อาจารย์ทิสาปาโมกข์ ฤาษี แม่ทัพ

    ถาม : หลวงปู่เคยตกนรกไหม ?

    ตอบ : เคย หลายชาติ

    ถาม : หลวงปู่เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานไหม ?

    ตอบ : เคย หลายชาติ

    ถาม : หลวงปู่ กลัวอะไรมากที่สุด ?

    ตอบ : ช้าง เจอต้องหนี

    ถาม : หลวงปู่ชอบ อะไรมากที่สุด ?

    ตอบ : “หัวเราะ” ก็แล้วแต่จะเป็นไป

    ถาม : หลวงปู่เกลียดอะไรมากที่สุด ?

    ตอบ : ตกนรก

    ผู้เขียนได้ฟังคำบอกเล่าจาก พระอาจารย์เพชร อรุโณ ว่าได้เคยมีผู้สื่อข่าวมาถามหลวงปู่ จึงขอนำคำถาม-คำตอบมาลงให้ผู้อ่านพิจารณาเอาเองดังนี้

    ถาม : หลวงปู่ไปธุดงค์ทางไหนบ้าง ?

    ตอบ : ทุกทิศทุกทาง

    ถาม : หลวงปู่เจออะไรบ้าง ?

    ตอบ : เจอทุกอย่างที่พบ

    ถาม : หลวงปู่เจออาจารย์ไหนบ้าง ?

    ตอบ : เจอทุกคนที่เห็น

    ถาม : หลวงปู่เจออุปสรรคอะไรบ้าง ?

    ตอบ : อุปสรรคอื่นไม่มี มีแต่เตะก้อนหินเป็นแผลเดินไม่ได้

    ถาม : หลวงปู่กลัวเสือไหม ?

    ตอบ : บางครั้งก็กลัวบางครั้งก็ไม่กลัว เพราะเสืออยู่ฝายาหม่องพกใส่ยามเลย

    นัยว่าผู้สื่อข่าวพบคำตอบเช่นนี้ จึงไม่มีข้อมูลปาฏิหาริย์จะนำไปเขียนขายหาเงินดังที่หวังไว้แต่เดิม จึงต้องผิดหวังกลับไป



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสือพุทธังกุโร มหาปุญโญ
    โดย พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
    วัดป่านาคำน้อย ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    <!-- m -->
     
  3. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    งานวันเกิดหลวงปู่และสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ใกล้เข้ามาแล้วครับ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขอเชิญร่วมงานบุญมหามงคลอายุวัฑฒนกาล ๑๐๐ ปี หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

    กำหนดการ


    งานบุญมหามงคลอายุวัฑฒนกาล ๑๐๐ ปี


    ขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ


    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร


    วันที่ ๒๗ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓


    [​IMG]



    <O:p< font>

    <TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; MARGIN: auto auto auto 5.4pt; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 424.3pt; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-yfti-tbllook: 480; mso-padding-alt: 0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-border-insideh: .5pt solid windowtext; mso-border-insidev: .5pt solid windowtext" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=566 border=1><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 420.7pt; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=561 colSpan=2>วันเสาร์ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ (ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล)

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144><O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>ลงทะเบียนพระภิกษุ สามเณร แม่ชี</B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 2; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๓.๓๙ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>ทำพิธีบวชเนกขัมมะชีพราหมณ์ โดยพระครูจันทรวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอเมือง-ดงหลวง (ธ) – สมาทานสิ้น เพลา ๑ วัน ๑ คืน</B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 3; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๘.๐๐ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>พร้อมกันที่ศาลา</B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 4; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๘.๑๘ น. <O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาสมาถึง ตัวแทนนำผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร พร้อมคณะขึ้นไปสักการะบรมสารีริกธาตุ บนชั้นสองพระเจดีย์บู่ทองกิตติ</B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 5; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๘.๓๐ น. <O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารเข้าสู่บริเวณศาลา</B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 6; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๘.๓๕ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>พิธีกรเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยประกอบพิธีทางศาสนา อาราธนาศีล รับสรณะและรับสมาทานศีล ประธานสงฆ์ให้สรณะให้ศีล อาราธนาพระปริตรมงคล เจริญพระพุทธมนต์<O:p< font></B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 7; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๙.๔๕ น. </B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>พระเถระแสดงธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารถวายไทยธรรม ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี พระภิกษุ สามเณร อนุโมทนาให้พร<O:p< font></B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 8; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๑๙.๔๕ น.</B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>แสดงพระธรรมเทศนา อบรมจิตภาวนา โดยพระเถระครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน<O:p< font></B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 9; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๒๒.๔๕ น.</B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>แสดงพระธรรมเทศนา อบรมจิตภาวนา โดยพระเถระ ครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน<O:p< font>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 10; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๒๔.๐๔ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>พระภิกษุ สามเณร คณะคุณแม่ชี อุบาสก อุบาสิกาสวดสาธยายธรรมมหาสมัยสูตร พุทธชัยมงคลคาถาพาหุง มงคลจักรวาล ชัยใหญ่ อิติปิโส ๑๐๘<O:p< font>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 11; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 420.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=561 colSpan=2>วันอาทิตย์ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ <O:p< font></B>

    (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล : วันมาฆบูชา)<O:p< b>



    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 12; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๐๗.๐๐ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 312.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=417>พระภิกษุ สามเณร ออกรับบิณฑบาต ๒ สาย ในบริเวณงาน<O:p< font>

    </TD><TD style="BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 13"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 108pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=144>เวลา ๐๘.๓๐ น.<O:p< font></B>

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; WIDTH: 316.3pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-left-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=422 colSpan=2>- ถวายภัตตาหาร<O:p< font></B>

    - ถวายจตุปัจจัยพระมหาเถระ (เป็นกรณีพิเศษ)<O:p< font>
    - พระภิกษุ สามเณร อนุโมทนาให้พร<O:p< font>
    - ญาติโยมสวดมนต์ทำวัตรเช้า<O:p< font>
    - รับประทานอาหาร<O:p< font>
    - เสร็จพิธี<O:p< font>





    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 14; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 420.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=561 colSpan=2>จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมงานบุญมหามงคลอายุวัฑฒนากาล ๑๐๐ ปี ของ องค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ในครั้งนี้ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน<O:p< font></B>

    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 15; mso-row-margin-right: 3.6pt"><TD style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 420.7pt; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent; mso-border-alt: solid windowtext .5pt; mso-border-top-alt: solid windowtext .5pt" vAlign=top width=561 colSpan=2><O:p< font></B>
    หมายเหตุ : <O:p< font>
    ๑. ญาติโยมควรนำเครื่องนอนมาเอง เช่น - เต็นท์ ถุงนอน<O:p< font>
    ๒. ทุกท่านสามารถร่วมบุญบูชาองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ได้โดย<O:p< font>
    ๒.๑ ธนาณัติหรือ Draft ในนาม พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว <O:p< font>
    เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ.ห้วยทราย อ.คำชะอี <O:p< font>
    จ.มุกดาหาร ๔๙๑๑๐<O:p< font>
    ๒.๒ โอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาคำชะอี <O:p< font>
    เลขที่ ๔๓๖ - ๐ - ๑๔๙๙๐ – ๕ <O:p< font>
    ชื่อบัญชี พระอธิการจาม มหาปุญโญ<O:p< font>
    ๒.๓ ร่วมบุญบริจาคโดยตรงที่วัด โดยใส่ลงในตู้บริจาคเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจัดเตรียมงานสถานที่, หนังสือธรรมประวัติ ตลอดจนจตุปัจจัยไทยธรรมเพื่อถวายพระภิกษุสามเณรในวันงาน<O:p< font>
    <O:p< font>
    ๓. โปรดแจ้งความประสงค์ที่จะตั้งโรงทานล่วงหน้า ได้ที่เบอร์โทร. ตามข้อ ๔.<O:p< font>
    ๔. ขออนุโมทนาสาธุ ในกุศลเจตนาของทุกท่าน สอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่... <O:p< font>
    [COLOR=navy]ผอ.อุทิศ ผิวขำ[/COLOR][COLOR=navy] (๐๘ - ๑๙๙๙ - ๔๗๑๓)[/COLOR][COLOR=navy]<O:p< font>[/COLOR]
    [B][COLOR=navy]คุณมุก (๐๘ - ๙๗๑๓ - ๒๒๔๑)<O:p< font>[/COLOR][/B][COLOR=navy][/color]
    [B][B][COLOR=navy]<O:p< font>[/COLOR][/B][COLOR=navy][/color][/B][COLOR=navy][/color]



    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0cm; PADDING-LEFT: 0cm; BORDER-LEFT-COLOR: #f4f4f4; BORDER-BOTTOM-COLOR: #f4f4f4; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-TOP-COLOR: #f4f4f4; PADDING-TOP: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-RIGHT-COLOR: #f4f4f4; mso-cell-special: placeholder" width=5></B>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</O:p>
    <!-- google_ad_section_end -->
    </O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<></O:p<>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล

    บทนำ

    " บุคคลผู้เคารพในธรรม
    โดยแท้จริงเท่านั้น
    ที่เพียรอ่านจนจบ
    แล้วนำไปขบคิดจนแตกฉาน
    จนที่สุด....
    ก็นำไปเป็นอุบายปฎิบัติ
    ได้ถูกต้อง "
    ..........................................................................................

    อย่าให้เสียผลประโยชน์

    ต่อแต่นี้ไป

    จงพร้อมพากันตั้งใจของตนทุกคน

    เพราะความตั้งใจนี้

    เมื่อตั้งได้แล้ว

    จะเป็นผลเป็นประโยชน์ได้มาก

    อย่า

    ให้เสียผลเสียเปล่าประโยชน์

    นี่

    ก็ได้มาพบพระพุทธศาสนาแล้ว

    ก็ตนของตน

    มีเจตนาจะเพิ่มเติมบุญบารมี

    ไว้ให้แก่ตน

    มิใช่หรือ.
    ......................................................................................

    ผู้มีปัญญา

    ให้รู้สึกใจของตนให้ได้

    ว่า

    ตนของตนมีทุกข์อยู่

    เป็นทุกข์ใจอยู่

    เป็นทุกข์กายอยู่

    ให้คิดว่าตนของตนเกิดมาหาทุกข์

    รู้สึกทุกข์มีอยู่

    จึงจะพ้นทุกข์ได้

    ผู้รู้สึกในทุกข์

    ชื่อว่า

    เป็นผู้มีปัญญา

    ที่จะแก้ไขให้ตนของตน

    พ้นจากทุกข์ไปได้

    ดับทุกข์ได้.
    ...........................................................................................
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มันไม่รู้จบ

    บำรุงบำเรอแล้ว

    มันได้อะไรให้แก่ตนบ้าง

    ข้าวน้ำโภชนาหารลูกไม้ผลไม้

    คาวหวานทิ้งลงทุกวัน

    วันละหลายครั้ง

    ก็ไม่เห็นได้อะไรขึ้นมา

    มันยังมีเจ็บไข้

    มีแก่ชรา

    มีคร่ำคร่าทรุดโทรม

    มีดับมีตาย
    นั่นก็ทุกข์ นี่ก็ทุกข์ มันไม่รู้จบ

    เหตุเพราะมัวเมาแก้ไขแต่ภายนอก

    ภายในทำไมไม่แก้ไขบ้าง

    คิดอ่านบ้าง เสาะหาหนทางบ้าง

    แก้ไขใจของตนบ้าง
    เพราะใจภายในนี้มันจบลงได้.
    .............................................................................................

    ชีวิตนี้



    วันนี้

    เดี๋ยวนี้

    ให้ตั้งใจฝึกหัดไว้

    ฝึกฝนตนของตน

    ให้ได้นิสัยไว้ ใจเรามีอยู่

    รู้ดีรู้ชั่วอยู่แล้วทุกคน

    รู้แล้วให้รู้ว่าอยู่ในตัว
    ดี -๑-
    ชั่ว -๑-
    ใจ -๑-
    อยู่ได้ด้วยกันอย่างนี้

    จะทำตนของตน

    ให้บริสุทธิ์ ได้ด้วยอาการอย่างใด

    ให้คิดอ่านในตนให้ดีเถิด.
    ................................................................................................
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บารมียังไม่แก่กล้า

    บารมียังไม่แก่กล้า

    ก็ฝึกหัดเกิดตายไปก่อน

    จนกว่าจะเบื่อหน่ายการเกิดตาย
    จึงมาฝึกหัดให้รู้จักทุกข์

    จนเบื่อหน่ายในทุกข์ เบื่อหน่ายในสุข

    ก็จะละสุขทิ้งทุกข์ไปได้

    จึงจะพ้นจากการเป็นสุขเป็นทุกข์ได้
    กิจใด ๆ ก็เป็นธรรม

    รูปก็เป็นพระธรรม

    นามก็เป็นพระธรรม

    จบบริบูรณ์ได้ตลอดไป

    เพราะยินดีมัวเมาในสุข

    จึงไม่ชอบทุกข์ ก็ไม่รู้จักทุกข์

    ละคลายหน่ายถอน จึงไม่เป็น.
    ...................................................................................................

    ผู้รู้

    ผู้รู้ - ผู้เดียว

    รู้อยู่

    ทำความรู้สึกอยู่

    รู้สึกในจิตอยู่

    ให้จับเอาแต่ผู้รู้

    อย่าละทิ้งผู้รู้

    จิตตั้งได้เพราะมีผู้รู้ รู้อยู่
    การจะวางภาระ- การจะวางสัมผัส

    การจะวางทุกข์สุข

    การจะวางตนของตน
    ต้องมี ผู้รู้

    จะขาดผู้รู้ไปไม่ได้

    รู้ได้

    จึงจะวางได้.
    ................................................................................................
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อะไรสำคัญกว่า

    อายุจะมากจะน้อยไม่สำคัญ

    จะบวชวันนี้วันวาน

    หรือ
    จะเป็นพระเถระอาวุโส

    ไม่สำคัญ

    สำคัญว่า

    ตนของตน

    มีศีล

    มีวิริยะ

    มีศรัทธา

    มีสติ

    มีปัญญา
    อยู่ในตนของตนหรือไม่

    จึงว่า
    ควรตั้งใจของตนอยู่เสมอ.
    ...............................................................................................

    อย่าเมาเกินไป

    เราทั้งหลาย
    อย่าเมาเกินไป
    อย่าลืมเพลิดเพลินจิต
    จนลืมสาระของใจ
    แต่ละชาติเกิดมา
    เข้าใจว่าโลกนี้เป็นของใหม่
    เพราะปัญญาไม่พอ
    โลกนี้ที่แท้
    ก็เป็นของเก่าในวัฏฏะ
    เกิดตายหลงใหลในของเก่า
    ให้ตั้งใจให้ดี
    อย่ามัวเมาประมาทเกินไป.
    ...................................................................................................
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้อบรมตนเอง

    ทุกคนต้องสอนตนเอง
    ดีกว่าที่จะให้

    ใครผู้ใครคนอื่นมาบอกมาสอน
    จะเอาอะไรมาสอน
    -๑- ศีล
    -๒-สมาธิ
    -๓-ปัญญา

    นี่หวังความเข้าใจ
    หวังความเจริญ
    จึงชี้ช่องบ่งโทษให้
    เอ็นดูอยากให้รู้อยากให้แจ้ง
    จึงบอกให้อบรมตนของตน
    ผู้อบรมตนของตน

    ต้อง
    เป็นผู้บอกตนสอนตนได้.
    .............................................................................................

    รู้รักษา


    การรักษาใจของเรานี้
    เราต้องรู้จักรักษาอารมณ์
    โกรธเกิดจากอะไร
    รู้อย่างไร
    ดับอย่างไร
    อยากได้เกิดจากอะไร
    รู้อย่างไร
    ดับอย่างไร
    หลงมัวเมาเกิดจากอะไร
    รู้อย่างไร
    ดับอย่างไร
    มีอารมณ์ใดบ้างที่หนีไปจาก
    ทุกอนจจอนตฺตา
    มีไหม ?
    ไม่มี !.
    ......................................................................................................
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ก็แต่ชอบใจ

    ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตัวเอง
    ชี้บอกไว้แล้ว
    จะทำหรือไม่ทำหรืออย่างไร

    ก็แต่ชอบใจ
    ขี้เกียจขี้คร้าน
    ข้ออ้างวุ่นวาย

    ก็สุดแล้วแต่เพราะ
    มีทุกข์ในวัฏฏะรอคอยอยู่แล้ว

    เกิด
    แก่
    เจ็บไข้
    ตาย

    หนีไม่พ้นหรอก เพราะ
    ตัวตนไม่ใส่ใจตนของตน.
    .....................................................................................................

    หน้าที่ของใจ

    อยากได้จะไม่ได้
    อยากเป็นจะไม่เป็น
    อยากเห็นจะไม่เห็น

    ไม่อยากมันก็อยาก
    ใจนี้มันของยากที่สุด
    ตั้งใจให้ดี
    หน้าที่ของใจ
    คือ กำหนดภาวนา
    ให้ยินดีพอใจแต่ไม่ใช่ไม่อยาก
    เต็มใจทำ - ตั้งใจทำ
    พากเพียรของตน

    จะได้ - ไม่ได้
    จะเป็น - ไม่เป็น
    ก็สุดแต่เหตุ..
    หน้าที่เราตั้งใจเท่านั้น.
    ..........................................................................................................
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทำไปดีกว่าไม่ทำ

    การทำความดีทั้งปวงก็เพื่อให้ได้เป็น
    นิสัยอุปนิสัยเหตุปัจจัย ในตนของตน

    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ยังมีอยู่ครบ

    นี้เองแหละ
    ที่เป็นหลักฐานของความดับทุกข์
    อย่าประมาท
    ตั้งใจรักษาตนของตนไป
    ได้เท่าใดก็ให้ยินดีเท่านั้น
    หนทางมีอยู่

    เราต้องเดินตามทาง อย่าออกนอกทาง
    ทำดีกว่าไม่ทำ เพราะ
    ผลของการปฏิบัติยังมีอยู่.
    ...................................................................................................

    อย่าสงสัย


    ให้เอาใจรู้ใจ
    จะรู้จะเห็นอะไรก็ตามอย่ายินดี

    ทำความรู้อยู่ที่ใจเท่านั้น
    ให้รู้สึกว่า ใจอยู่ที่ใจ

    รู้สึกด้วยตนเอง
    ทำสติปัญญาไว้

    อย่าสงสัย
    ความเชื่อ -๑-
    ความจริง -๑-

    ย้ำให้มั่นคงลงให้ได้ในใจ
    จะประกอบกิจใด ๆ ก็ตาม

    ต้องรู้สึกอยู่ที่ใจ
    ใจกับกิริยานอก

    ใจกับกิริยาใน
    รู้จักใจของตน.
    ....................................................................................................
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธาตุนอกธาตุใน

    คนหนุ่มราคะกำหนัดมันแรง
    ต้องพิจารณาธาตุให้แตกให้แจ้ง

    ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ จิต
    ธาตุ อสุภะ
    ธาตุ อสุภัง
    ธาตุ ปฏิกูล

    พิจารณาจากนอกเข้าใน
    ปัจจัย ๔ นั้นเป็นธาตุนอก

    ส่วนรูปกายนั้นเป็นธาตุใน
    เมื่อปฏิกูลสกปรกเน่าเหม็น

    ก็เพราะธาตุในเน่าบูดแปรปรวน
    ทำให้ธาตุนอกเปรอะเปื้อนไปด้วย

    ธาตุ ทุกฺขํ ธาตุ อนิจฺจํ ธาตุ อนตฺตาพิจารณาให้ชัด..
    กำหนดรู้ใจจึงลงได้เพราะสังเวช.
    ..........................................................................................................


    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 2 )

    ระวังบาป

    ทางมาของบาปของตน
    เพราะ
    ๑. ไม่ดูความผิดของตน
    ๒. ทำผิดจนเคยตัว
    ๓. คิดผิดธรรมผิดวินัย
    จึงว่า..
    ให้ระลึกถึงตน ตรวจตราตนเอง
    จิตดีก็คิดดีเพราะสังขารมันดี
    จิตทรามก็คิดทรามเพราะสังขารไม่ดี
    ฉะนั้น..
    รักษาจิตให้ดี
    อย่าทำผิด – อย่าทำชั่ว – อย่าคิดผิด
    ประเดี๋ยวจะเป็นบาปได้บาป.

    .........................................................................................


    อย่าหลงฤทธิ์ของใจ

    จิตเบา ทำให้กายเบา
    จิตหนัก ทำให้กายหนัก
    ท่านอาจารย์ตื้อ (อจลธมฺโม) ฝึกหัด
    จนจิตเบากายเบาซาน (เหาะ) ไปได้ท่ามกลางอากาศ
    เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ห้ามไว้ “ตื้อ ไม่อัศจรรย์หรอก
    แมงขี้หมูก็บินได้ นกก็บินไปมาได้
    อย่าหลง.!”
    “ครับผมไม่หลง”
    ผู้จิตหนักกายหนัก หนักจนแผ่นดิน
    หนาแสนหนาก็รับเอาไว้ไม่ได้จน
    แผ่นดินสูบลงไปถึง อเวจีมหานรกเช่น พระเทวทัตเป็นต้น

    ...................................................................................
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ไม่มีทุกข์

    เมื่อ โทษทุกข์ของตนไม่มี
    ก็ให้รู้ว่าตนไม่มีโทษ
    เพราะเราเป็นเราอยู่วันนี้
    ก็อาศัยการอบรมด้วย
    อาการหยาบเราก็เอา
    อย่างกลางเราก็อบรม
    ที่สุดละเอียดเราก็อบรม

    นิสัยปัจจัยได้จากการอบรม
    ผู้อบรมตนได้ดีแล้วก็หาโทษไม่ได้
    ผู้ไม่มีโทษ
    ก็ไม่มีทุกข์
    ไม่มีทุกข์ เพราะ ไม่มีโทษภัย.
    ...............................................................................
    กามกับใจ

    ความชอบใจ - ความไม่ชอบใจ
    ความยินดี - ความยินร้าย
    อำนาจความใคร่ความปารถนา
    ความนิยมว่าตน ว่าของตน

    รวมลงคือความยึดถือในวัตถุใดๆ
    เหล่านี้ท่านว่าเป็นชาติของกาม
    แล้วก็ยึดถือด้วยอำนาจของกาม

    กามมันอยู่ของมันเฉยๆ
    แต่ใจที่โง่เขล่าเศร้าหมองกลับไปดำริ
    ยินดีก็ใจ ยินร้ายก็ใจ
    ชอบก็ใจไม่ชอบก็ใจ
    ใคร่ปารถนาก็ใจ

    ยึดนิยมตนก็ใจ ผู้อื่นก็ใจ
    ฝึกให้ทันใจ ให้รู้ใจ
    รู้ใจได้ จึงรู้แยกกามออกไปได้.
    .....................................................................................
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คือใจ

    ย่อลงให้เหลือที่สุด
    ก็เหลือแต่การประกอบกุศล
    คำว่า “ประกอบ” มีอยู่ ๒ ส่วน
    ส่วน -๑- ทำให้มีขึ้น
    ส่วน -๒- ป้องกันไม่ทำ
    ขจัดบาปให้หมดไป
    หากจะว่าแล้วย่อที่สุดก็คือใจ
    อยู่ในอันเดียว ใจใครใจมัน.
    .........................................................................................


    เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของตน

    การมีสติ
    การมีความละอาย
    การมีความสะดุ้งกลัวบาป
    ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของตน
    เพราะ..
    เราประพฤติตนเป็นผู้กีดกันบาป
    ไม่เปิดทางให้กิเลส
    ทำตนไม่ย่อหย่อน
    สำรวมระมัดระวังตั้งมั่นอยู่เสมอ
    รักษาตนของตนให้ดีเน้อ.
    ......................................................................................


    เรื่องที่ต้องศึกษา

    ความรู้ความเข้าใจในเบื้องต้น
    เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเริ่มต้น
    เพราะว่า หากเป็นความรู้ถูก
    เราก็เข้าใจถูก
    นำไปปฏิบัติได้ถูก
    ผลออกมาก็ถูกต้อง
    “การปฏิบัติผิดทาง ไม่เป็นผลแล้วซ้ำยัง ให้โทษเป็นโทษ”
    ให้เข้าใจว่า ตัวเรานี้เป็นธรรมทั้งหมด
    กายใจนี้เองเป็นธรรม
    แต่ต้องใช้กายให้เป็น
    ใช้ให้เป็น เพราะ
    กายใจเป็นฐานที่ตั้งลงของพระธรรม
    คำสั่งสอนและธรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องศึกษา.
    ..............................................................................................
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหตุปัจจัยของธรรม

    เหตุผลของความดี
    คือ..
    - เหตุดี
    - คิดดีคิดชอบ
    - พิจารณาดี
    - ภาวนาไว้ชอบ
    - ประกอบด้วยธรรม
    - เป็นเหตุให้ฉลาด
    ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ถึงได้
    “ใจที่อยู่ในธรรมนั้น...
    คือใจที่อยู่ในปกติ”
    จึงเป็นเหตุปัจจัยของธรรม.
    ..............................................................................
    ทางปลอดภัย

    สุขทุกข์ไม่ติดตาม
    สุขทุกข์ไม่มีอำนาจ
    ไม่มีอารมณ์ใดจะมาแผดเผาใจ
    ไม่หวั่นไหว
    ไม่หวนไปหวนมา
    ที่สุดแห่สุขทุกข์ไม่มีอำนาจอีก
    เมื่อเป็นเช่นนี้ พระนิพพาน
    จึงเป็นสุขโดยส่วนเดียว
    ด้วยเหตุนี้..
    ต้นทางจึงว่าเราต้องคบหาแต่คนดี.
    .................................................................................................


    ดูที่ผล

    ให้ดูที่ผล
    ตัว โลภะ ย่อมให้ผลเป็นทุกข์
    เมื่อให้ผลเป็นทุกข์ก็ให้ละเสีย
    แต่สิ่งใดให้ผลเป็นสุข
    ก็อย่านับเข้าว่าเป็นโลภ
    เพราะเป็นมรรคเป็นทางปฏิบัติ
    สุขนั้นก็ต้องเป็นสุขอย่างธรรม
    เมื่อเป็นไปเพื่อธรรม
    ก็ควรทำให้เกิดทำให้ดีขึ้น
    การแก้เหตุต้องรู้ผล
    มีสติรู้ตนอยู่เสมอ.
    ...............................................................................................
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้มีความสามารถ

    ให้เชื่อว่าตนนั้น
    เป็นผู้มีความสามารถคนหนึ่งพอที่จะ
    รักษาศีลได้
    ทำภาวนาได้
    มีปัญญาอยู่ได้
    ตั้งใจรักษาศีล บำเพ็ญตนของตน
    ให้สะอาดใน ศีล สมาธิ ปัญญา
    กิจวัตรอันใดควรแก่ตนมิให้ท้อถอย
    อุตสาหะพยายามทำให้เต็มที่ทุกอย่างไป
    เพื่อเค้นตนนี้ให้สมบูรณ์ด้วยศีลแลวัตร
    จากนั้นตั้งใจบำเพ็ญทำจิตให้ตั้งสงบได้
    เมื่อใดปัญญาเกิดขึ้นก็จักรักษาแก้ไขได้
    เราทำของเราอยู่อย่างนี้..
    จึงจะได้ชื่อว่า
    เป็นผู้ปฏิบัติตามโอวาทของพุทธะ.
    ........................................................................................



    แก้บ้า

    คนที่ภาวนาแล้วเป็นบ้า
    บ้าเพราะหลงอารมณ์หลงจิตหลงนิมิต
    เรียกบ้ามันเกิดเพราะสมาธิอีกทั้ง

    มีบุปพกรรมแต่ปางหลังส่งผลด้วย
    ไม่ใช่ว่าภาวนาแล้วบ้าทุกคนไป
    ให้เลิกวิตก วิจาร
    ทำใจให้เป็นอุเบกขา
    ดีก็ช่าง
    ร้ายก็ช่าง

    อะไรก็ช่าง
    อุเบกขารู้ตัวอยู่
    เจตนาแรงกล้าเป็นตัวอยาก
    อยากเป็นกิเลส เป็นวิปัสสนู
    เพราะทำจิตให้ผิดปกติเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง
    แก้บ้าต้องละวิตก ละวิจาร ละอยาก.
    ............................................................................................
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876

    ความกว้างของนักบวช

    เราบวชกันเข้ามาแล้ว
    ต้อง
    อบรมจิตของตนให้..
    กว้างขวาง
    เผื่อแผ่
    เมตตามักน้อย
    สันโดษ และ
    ให้เฉลียวฉลาด..
    ในศาสนาอุบายธรรม
    การปฏิบัติ จึงจะเป็นไปได้บ้าง.
    ..............................................................................................

    ธรรมชาติของสังขาร

    ธาตุดิน
    ธาตุน้ำ
    ธาตุลม
    ธาตุไฟ
    นี้เองเผาให้เราถึงธรรม
    ธรรมะ คือ เห็นความแปรปรวน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    การดับไปของ
    สังขารทั้งปวง
    นั่นคือ
    เห็นธรรมชาติของสติสังขาร
    เห็นอย่างรู้ทัน
    เห็นอย่างรู้แจ้ง
    เห็นอย่างรู้ได้
    เห็นแล้วเข้าใจ.
    ...............................................................................
    ในตนของตน

    รูปร่างกายนี้มีอาการ ๓๒
    อันเป็นเครื่องหมายนิมิตของธาตุ

    ของแข้นแข็งธาตุดิน
    ของเลอะเหลวธาตุน้ำ

    ของร้อนอุ่นธาตุไฟ
    ของพัดไหวธาตุลม
    ของโปร่งเบาธาตุอากาศ
    โดยมากรู้กันแค่นี้ ไม่ทำความรู้ให้มากกว่านี้
    -อะไรอสุภะ ?
    -อะไรปฏิกูล ?

    -อะไรทุกขัง ?
    -อะไรเป็นธรรม ?
    -อะไรอสุภัง ?

    -อะไรอนิจจัง ?
    -อะไรอนัตตา ?
    ต้องให้รู้ได้เข้าใจได้ให้ลึกซึ้ง
    ให้ได้ในตนของตน.
    .......................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 3 )

    หลง​

    หลงตน เป็นโลภ
    หลงรูป เป็นตัณหา
    หลงอารมณ์ เป็นกิเลส
    หลงจิต เป็นวิปัสสนู
    หลงโลก เพราะเล่นอยู่กับใจ
    ตามใจเจ้าของ
    ก็ไหลตามกิเลส
    ก็เมาซ้าย เมาขวา เมาหน้า เมาหลัง
    ไม่รู้จบไม่รู้แจ้ง
    หลงตน หลงทาง หลงโลก
    กำลังญาณไม่พอก็เป็นเช่นนี้
    จะละก็อาลัย
    จะไปก็คิดฮอด
    จะถอดถอนก็ไม่รู้ช่องทาง.
    ...........................................................

    ทั้งสองอย่าง
    เจริญจิตอย่างเดียว
    จนรู้ภพ-ชาติ- เกิด-ตาย
    จนระลึกชาติได้ได้ฤทธิ์ได้เดช
    รู้จิตรู้วาระจิตของผู้อื่น
    รู้นึกคิดของผู้อื่น
    นี่ก็ยังไม่พอ เพราะ โมหะยังคลุมจิตอยู่
    ที่นี้เจริญจิตแล้วต้องเจริญวิปัสสนา
    ควบคู่กันไปด้วย
    จิตจึงไม่หวั่นไหวได้ เพราะ
    เพิกโมหะหลงตนหลงจิต
    ออกไปได้
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อจิตดับนิวรณ์ได้
    แต่ยังดับวิปัสสนูยังไม่ได้
    จึงว่าต้องเจริญทั้งสองส่วนควบคู่กันไป
    ตลอดไป.
    .........................................................................

    มากมายหลายอาการ
    จริตนิสัยของเรานั้น
    มันเหมือนกันเมื่อใดเล่า
    มันสุดแต่ความฉลาดของตน
    ไหวพริบในการดำเนินจิต เพราะ
    จิตใจของเรานี้มากมายหลายอาการ
    จิตใจของปุถุชนต้องเป็นเช่นนี้
    แต่.. อุบายในการดำเนินจิตนี้
    ต้องควบคู่กันไป
    เหมือนกับการก้าวเดินไปซ้ายไปขวา
    นี่เหมือนกัน
    ต้องทำทั้งจิตในสมถะและ
    ทำจิตในวิปัสสนา
    ควบคู่กันไป
    ให้รู้สึกได้ในทุก ๆ วันตลอดไป.
    .......................................................................​
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความละเอียดถี่ถ้วน
    ภายนอกให้ละเอียดเสียก่อน
    ให้ละเอียดทุกกิริยาอาการ
    ข้อศีล ข้อวัตร ข้อธุดงค์ ข้อปฏิบัติ
    ส่วนภายใน คือ วิชชา ปัญญา ธรรมะ
    จึงจะละเอียดตามได้
    ภายนอกข้อหยาบก็ คือ ปัจจัย ๔
    ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่หยูกยา
    นี่ก็ต้องละเอียดถี่ถ้วน
    - ศีล
    - สมาธิ
    - ปัญญา
    จึงต้องละเอียดตามเป็นลำดับ.
    จึงได้ความรู้เพียงพอ.
    .........................................................................

    คำว่า “ละเอียด”
    คำว่าละเอียดถี่ถ้วนคือ ให้รู้ว่า
    - คุณคืออย่างใด ?
    - โทษคืออย่างใด ?
    - อันใดเป็นความเศร้าหมอง
    - อันใดเป็นความบริสุทธิ์
    - มรรคปฏิปทาของจิตเป็นอย่างใด
    ดีขึ้นหรือเสื่อมถอย ?
    ให้รู้จักสังเกตตนของตน
    อย่าเป็นอยู่ใช้สอยใช้ชีวิตให้
    เป็นไปรอท่า เจ็บไข้แก่ตายเท่านั้น
    คิดอ่านพิจารณาตรวจตรองตนเองให้ดี
    แม้เล็กน้อยก็อย่าประมาท
    ของเล็กน้อยนั่นแหละมักให้โทษ และ
    ของเล็กน้อยนั่นเองก่อคุณอันยิ่งใหญ่
    ให้แก่ตนของตนได้.
    .........................................................................​
     

แชร์หน้านี้

Loading...