32.พี่ประทีปแก้วพาเที่ยวเมืองชาลาวัน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 2 สิงหาคม 2010.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ๓๒

    พี่ประทีปแก้วพาเที่ยวเมืองชาลาวัน

    แนะนำให้รู้จัก พี่ประทีปแก้ว พี่สาวที่น่ารักของสร้อยฟ้ามาลาอีกคน ซึ่งสร้อยฟ้าฯจะเรียกพี่ประทีปแก้วว่า พี่แก้ว

    เมื่อวันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา สร้อยฟ้ามาลาและแมงปอแก้วได้มีโอกาสไปทำบุญที่จังหวัดนครสวรรค์บ้านของแมงปอ ก่อนหน้านั้นได้คุยกับพี่แก้วไว้ พี่แก้วก็ชวนให้ไปพบที่พิจิตรแต่ก็ยังไม่ได้ตกลงกันเป็นมั่นเป็นเหมาะเพราะว่าช่วงเช้าต้องซื้อของเพื่อเตรียมทำบุญวันเข้าพรรษา พอตกประมาณเที่ยงก็เลยโทรศัพท์ไปหาพี่แก้วว่าจะไปหาก็นัดเจอกันที่วัดท่าช้าง จังหวัดพิจิตร แต่งานนี้คุณเจง ศยามล แอบค่อนว่า ไปหาพี่แก้วไม่บอกกันเลย จะได้ฝากผ้าห่มสไบพระพุทธรูปไปให้พี่แก้ว ก็ทีแรกเค้าไม่มั่นใจนี่หน่าว่าจะได้ไปหรือเปล่า ไว้โอกาสหน้าเนอะ พี่เจง พี่สาวที่น่ารัก อิ อิ

    สร้อยฟ้ามาลามาถึงวัดท่าช้างประมาณเกือบบ่ายโมงเห็นจะได้ ก็พบกับพี่แก้ว ตัวจริงเหมือนในรูปเลย พี่แก้วบอกว่ามีโปรแกรมจะพาไปไหว้พระ แต่เผอิญเวลามีไม่มาก งานนี้ก็เลยต้องรีบกันนิดนึง เมื่อมาถึงวัดท่าช้างแล้ว ก็คือสถานที่แรกที่จะพาไปไหว้พระ

    a.jpg

    วัดท่าช้าง
    ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
    ชื่อวัดโดยทางราชการ “วัดท่าช้าง” ชื่อที่ชาวบ้านเรียกชื่อเดิม “วัดท่าช้าง” สังกัดมหานิกายอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ภาค ๔


    ตำแหน่งที่ตั้งวัด เลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตร ที่ดินวัดที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๒ งานมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ โฉนด มีอาณาเขตและเนื้อที่ในปัจจุบันคือ
    ทิศตะวันออก ยาว ๒๙๖ เมตร ติดกับถนนสายบางมูลนาก – ชุมแสง
    ทิศตะวันตก ยาว๒๙๖ เมตร ติดกับแม่น้ำน่าน
    ทิศใต้ กว้าง ๔๘.๖๐ เมตรติดกับสะพานแม่น้ำน่านที่สร้างใหม่
    ทิศเหนือ กว้าง ๑๑๔ เมตรติดกับที่ดินที่มีเจ้าของ
    ที่ธรณีสงฆ์มี ๒ แปลง ดังนี้
    ๑. แปลงที่ ๑ที่บ้านท่าช้างตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
    - มีเนื้อที่จำนวน๔๓ ไร่ – งาน ๘๐ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ คือ โฉนดเลขที่ ๑๒๓๓๖
    ๒.แปลงที่ ๒ ที่บ้านไร่ ๑ งาน ๗๖ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ คือโฉนดเลขที่ ๑๖
    ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
    พื้นที่บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกปัจจุบันทางวัดได้ทำการถมดินภายในบริเวณวัดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาวัดพื้นที่บางส่วนได้ทำการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อเป็นสถานที่จอดรถของประชาชนที่มาบำเพ็ญบุญที่วัดพื้นที่บางส่วนใช้เป็นสถานที่ปลูกสวนป่า มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับเนื่องจากวัดท่าช้างตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านเมื่อถึงฤดูฝนมักจะถูกน้ำกักเซาะตลิ่งพังเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างของวัดทุกปีทำให้พื้นที่ดินเดิมของวัดเสียหายเป็นจำนวนมาก
    ๑.ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ. –
    ๒.กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๔๔๒
    ๓.ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๔๘๔
    เนื้อที่กว้าง ๔๐เมตร ยาว ๘๐ เมตร


    .......................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3853_1s.jpg
      IMG_3853_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334 KB
      เปิดดู:
      5,717
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    ประวัติความเป็นมาของวัดท่าช้าง

    ไม่มีหลักฐานบ่งชัดว่าสร้างเมื่อใดแต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๕มีประวัติความเป็นมาดังนี้
    วัดท่าช้างมีผู้เล่าให้ฟังว่าเดิมชื่อ “วัดเทพกุญชรดิตถาวราราม” ที่ได้นามเช่นนั้นมีผู้อาวุโสเล่าสืบ ๆ กันมาว่ามีนายพรานผู้หนึ่งนามว่า สรรพยา อยู่ที่เมืองภูมิ ปัจจุบันคือหมู่บ้านหนองเต่าตำบลภูมิ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร นัยว่าพรานผู้นี้เป็นพระสหายกับพระเจ้าแผ่นดิน ได้พบช้างเผือกงาเนียม ขี้หอมเชือกหนึ่งจึงได้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงได้ส่งอำมาตย์ไปคล้องช้างกับนายพรานสรรพยาช้างเชือกนั้นมามว่า “ พ่อพลายนิมิต”ประวัติความเป็นมาของวัด
    ไม่มีหลักฐานบ่งชัดว่าสร้างเมื่อใดแต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๑๕มีประวัติความเป็นมาดังนี้
    วัดท่าช้างมีผู้เล่าให้ฟังว่าเดิมชื่อ “วัดเทพกุญชรดิตถาวราราม” ที่ได้นามเช่นนั้นมีผู้อาวุโสเล่าสืบ ๆ กันมาว่ามีนายพรานผู้หนึ่งนามว่า สรรพยา อยู่ที่เมืองภูมิ ปัจจุบันคือหมู่บ้านหนองเต่าตำบลภูมิ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร นัยว่าพรานผู้นี้เป็นพระสหายกับพระเจ้าแผ่นดิน ได้พบช้างเผือกงาเนียม ขี้หอมเชือกหนึ่งจึงได้กราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงได้ส่งอำมาตย์ไปคล้องช้างกับนายพรานสรรพยาช้างเชือกนั้นมามว่า “ พ่อพลายนิมิต”


    เมื่อคล้องได้แล้ว จึงนำมายังฝั่งแม่น้ำน่านที่วัดท่าช้างในปัจจุบันพากันต่อแพนำช้างล่องแพที่ฝั่งแม่น้ำน่าน ล่องไปยังกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นสถานที่นั้นจึงได้นามว่า “ท่าช้าง” และวัดแห่งนี้จึงได้นามว่า “วัดท่าช้าง” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาภายหลังแม่พังขวัญใจซึ่งเป็นภรรยาของพ่อพลายนิมิตเมื่อไม่เห็นพ่อพลายนิมิต เที่ยวแสวงหาไปในที่ต่าง ๆ ไปพบรอยเท้าพ่อพลายนิมิตเดินทางมายังฝั่งแม่น้ำน่าน ก็เดินตามมานัยว่าพ่อพลายนิมิตระหว่างถูกนำมาฝั่งแม่น้ำน่านนั้นได้เดินเหยียบรอยเท้าเดิมของตนเพื่อมิให้แม่พังขวัญใจและลูกเดินตามมาถูกแม่พังขวัญเมื่อเดินมาฝั่งแม่น้ำน่านที่วัดท่าช้างแล้ว ปรากฏว่าไม่พบพ่อพลายนิมิตเที่ยวเดินวนเวียนหาอยู่หลายวัน เมื่อไม่พบพ่อพลายนิมิตเกิดความเศร้าโศกเสียใจจึงกลั้นใจตาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำน่านนั้น

    ต่อมาพ่อพลายน้อยซึ่งเป็นลูกของพ่อพลายนิมิตและแม่พังขวัญใจเมื่อไม่เป็นพ่อและแม่ก็เดินทางตามหาถึงฝั่งแม่น้ำน่านเมื่อไม่พบพ่อและแม่จึงกลั้นใจตาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำเช่นกัน ปัจจุบันวัดท่าช้างได้ปั้นรูปเหมือนพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อยถึงเป็นช้างที่ปั้นด้วยปูนช้างก็จริง แต่มีอิทธิฤทธิ์ อภินิหารน่าอัศจรรย์ยิ่งนักวันดีคืนดีมีชาวบ้านเห็นพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อยออกเดินเพ่นพ่านอยู่กลางถนนสายบางมูลนาก – ชมแสง หน้าวัดท่าช้างอยู่เป็นประจำอนึ่งใครบนหลวงพ่อหินเมื่อสำเร็จตามความประสงค์แล้วไม่มาแก้บนตามที่ให้คำหมั้นสัญญาไว้แล้วพ่อพลายนิมิตแม่พังขวัญใจ และพ่อพลายน้อย มักจะไปตามทวงอยู่เสมอถึงแม้จะอยู่ไกลแสนไกลอยู่ต่างประเทศก็ตาม เรื่องนี้มีผู้เล่าให้ฟังมิได้ขาดทุกวันนี้จึงมีผู้นำ กล้วยบ้าง อ้อยบ้าง ไปเลี้ยงพ่อพลายนิมิต แม่พังขวัญใจและพ่อพลายน้อย เป็นประจำมิได้ขาด ถ้าไม่เชื่อก็ไปสังเกตการณ์ ได้ที่ วัดท่าช้าง

    .............................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3857_1s.jpg
      IMG_3857_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      343.7 KB
      เปิดดู:
      4,215
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    ปูชนียวัตถุ – โบราณวัตถุ

    วัดท่าช้างมีพระพุทธรูปที่ประชาชนศรัทธามาก คือหลวงพ่อหิน เดิม ประดิษฐานอยู่ที่วัดการ้อง (วัดการ้องเป็นวัดเก่าตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันตกปัจจุบันพังลงน้ำหมดแล้ว เพราะน้ำกัดเซาะริมตลิ่งพังจึงเหลือแต่ชื่อวัด)หลวงพ่อหินเป็นพุทธรูปที่สกัดด้วยหินทรายปางมารวิชัยสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคต้นเพราะพระพุทธรูปสมัยนี้มักสลักด้วยหินทรายสัดส่วนไม่สมบูรณ์และสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะเศียรเมื่อครั้งที่กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์เสด็จกลับจากวัดหิรัญญารามได้แวะนมัศการหลวงพ่อหินที่วัดการ้อง

    พระองค์ทรงพอพระทัยหลวงพ่อหินมาก เห็นเศียรหลวงพ่อเศียรหักตกอยู่จึงขอเศียรหลวงพ่อหินไปไว้ที่พิพิธภันฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมา ราวปี พ.ศ.๒๔๘๐ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างเศียรหลวงพ่อหินต่อเติมขึ้นใหม่แล้วนำหลวงพ่อหินมาประดิษฐานยังวัดท่าช้างพร้อมทั้งสร้างวิหารให้ด้วย วิหารนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออกปัจจุบันมีการสร้างมลฑปหลวงพ่อหินหลังใหม่มีความงดงามมาก มูลค่านับสิบล้านบาทเพื่อประดิษฐานหลวงพ่อหินการก่อสร้างในครั้งนี้ได้รับเงินบริจาคด้วยแรงศรัทธาของประชาชนชาวอำเภอบางมูลนากและอำเภอใกล้เคียงที่มีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อหินชาวบ้านนิยมไปนมัสการและบนบานเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ และเมื่อประสบความสำเร็จก็จำนำหัวหมู ไก่ทองคำเปลว มาลับ ดอกไม้ และอื่น ๆ ไปถวายอยู่เสมอมิได้ขาด

    [​IMG]

    ตามประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อหิน น่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบทวารวดียุคต้น(พ.ศ.๑๐๐๐- ๑๒๐๐) เพราะพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคต้นได้รับอิทธิพลจากคุปตะมา จะสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะเศียรเท่านั้น พระพุทธรูปแบบทวารวดีพุทธศตวรรษที่ ๑๐ – ๑๗ ถือกำเนิดจากศิลปะคุปตะโดยตรงมีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐมและได้แผ่ออกไปทางภาคอีสาน เขมร ภาคใต้ถึงนครศรีธรรมราชทวารวดีแบ่งออกเป็น ๓ ยุค
    ยุคต้น พ.ศ.๑๐๐๐ – ๑๒๐๐ มักสร้างด้วยหินขนาดใหญ่ สัดส่วนไม่สมบูรณ์ ได้รับอิทธิพลมาจากคุปตะจะสวยงามเป็นพิเศษเฉพาะพระเศียรเท่านั้น
    ยุคกลาง พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๕๐๐ พระพุทธรูปยุคนี้สร้างด้วยหิน ดินเผา และห่อด้วยทองสำริดฝีมือสูงขึ้น พระเศียรมีลักษณะกลมเกลี้ยงขึ้น พระเนตรโปนโต พระนลาฎแคบ
    ยุคปลาย พ.ศ.๑๕๐๐ – ๑๗๐๐ ยุคนี้สร้างด้วยหิน ดินเผา ปูนปั้น มีทั้งขนาดใหญ่เล็ก ทั้งแบบลอยตัวและจำหลักนูน ที่สร้างด้วยสำริดก็มีบ้างแต่ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดเล็ก สูงไม่เกินครึ่งฟุต มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย

    [​IMG]

    ..............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3845_1s.jpg
      IMG_3845_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.8 KB
      เปิดดู:
      5,269
    • IMG_3848_1s.jpg
      IMG_3848_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334.6 KB
      เปิดดู:
      3,894
    • IMG_3860_1s.jpg
      IMG_3860_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      387.9 KB
      เปิดดู:
      3,982
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    หลังจากไหว้หลวงพ่อหินเสร็จแล้ว พี่แก้วก็พาไปเที่ยวบ้านซึ่งอยู่ไม่ค่อยจะไกลกันมากเท่าไหร่ พี่แก้วให้หนังสือธรรมะมาหลายเล่มและหลวงพ่อเงินมา ๑ องค์ ยังเลี้ยงน้ำองุ่น เลี้ยงขนมด้วย ขอบคุณมากๆ จ่ะ

    [​IMG]
    มะเฟืองบ้านพี่แก้ว

    ............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3861_1s.jpg
      IMG_3861_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      369.7 KB
      เปิดดู:
      3,890
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    วัดต่อไปเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ บ้านพี่แก้ว ชื่อว่า

    วัดวังสำโรง
    ตั้งอยู่ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคาสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓

    [​IMG]

    ข้อมูลของวัด สร้อยฟ้าฯ หามาได้เพียงแค่นี้เอง ที่วัดแห่งนี้ พี่แก้วได้พาไปไหว้หลวงพ่อเขียน ซึ่งท่านมีวาจาสิทธิ์ เดี๋ยวรายละเอียดจะอยู่ในวัดถัดไป



    [​IMG]


    [​IMG]
    มณฑปนี้ภายในมีรายพระพุทธบาทจำลอง
    พี่แก้วบอกว่าวัดนี้เป็นวัดที่ต้นตระกูลพี่แก้วเป็นผู้สร้าง


    .............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3865_1s.jpg
      IMG_3865_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      363.9 KB
      เปิดดู:
      5,594
    • IMG_3866_1s.jpg
      IMG_3866_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      344.9 KB
      เปิดดู:
      3,471
    • IMG_3867_1s.jpg
      IMG_3867_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      371.6 KB
      เปิดดู:
      3,542
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    วัดต่อไปที่พี่แก้วและพี่บูลย์จะพาไปก็คือ



    วัดสำนักขุนเณร
    ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๕ บ้านสำนักขุนเณร หมู่ ๑ ตำบลสำนักขุนเณร อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๔ มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๒ งาน ๒๒ ตารางวา วัดสำนักขุนเณรประกาศสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคารามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๓ ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๖ เดิมมีนามว่า วัดขุนเณร มีปูชนียวัตถุ คือ พระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร

    หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิตโต มีวาจาสิทธิ์ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสที่วัดนี้ มีประวัติน่าสนใจมากทีเดียว ลองอ่านกันดูนะ

    [​IMG]


    (โครงเรื่อง จากงานเขียนของ คุณ “น้ำน่าน”)
    “มีคนเล่าลือถึง หลวงพ่อองค์หนึ่งว่า วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์นัก ทั้งมีการประพฤติปฏิบัติ ในทางกรรมฐาน เคร่งครัดโดยเฉพาะเวลาวิกาลแล้ว มักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ และ ที่มหัศจรรย์ผิดแผกกว่าพระอาจารย์อื่นๆ ก็คือ ท่านหัวเราะเหมือนเสียงไก่ขัน ! หลวงพ่อรูปนี้ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีชื่อว่า หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต

    หลวงพ่อเขียน เมื่อเป็นฆราวาสนั้น ท่านมีชื่อว่า เสถียร เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล (พ.ศ. ๒๓๙๙) ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

    เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็นสามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัดทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขรสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่านสมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น

    สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำพรรษา ณ ที่นั้น

    ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัดธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง

    [​IMG]


    ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น

    หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้ามาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไปไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้น และร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลองหลวงพ่อน่อ”

    วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้าอ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง

    อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิดโมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมา เมียมรรคทายกนวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความโมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้าไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ

    หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูปเทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย

    [​IMG]


    ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึงปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไปไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา

    ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้มประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน

    แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นผู้รักษาเงิน และบัญชี ได้ยักยอกเอาเงินก่อสร้างอุโบสถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ทำลายหลักฐานบัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่นายช่าง หลวงพ่อก็เรียกปัจจัยจากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูกเบิกจ่ายไปหมดแล้ว

    เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น การก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถามหลวงพ่อ ท่านบอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่ารายไหนก็รายนั้น เป็นต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหายวายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ”

    อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติก็บังเกิดขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วยเกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด เงินทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่ายในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้องจูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระเหระหน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสายเหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !

    สมัยหนึ่ง มหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ มหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ที่บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจากบ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดงเรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในดงช้านาน บ้านช่องผู้คนก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว

    จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึงตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพักค้างคืนกับหลวงพ่อเขียนก่อน เพราะจะเดินทางต่อไปจนถึงบางมูลนากไม่ไหว ท่านมหาบุญเหลือรู้จักกับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อ ก็เห็นประตูหน้าต่างปิดหมด แลเห็นแสงไฟทางช่องลมสลัวๆ ท่านมหาทั้งสองจึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปเรียกท่านเลย จะเป็นการรบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนข้างนอกหน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้นจึงเอนกายลงนอน ด้วยความอ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดินหลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนกันเสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ

    เมื่อครั้งหลวงพ่ออยู่วัดวังตะกูนั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิเช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตามหลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้านเสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอกกับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณรน่อแล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวงพ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก

    เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่านถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออกตามหาท่านอาจารย์ได้ถูกต้องทุกครั้ง

    อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นกวางวัด นึกว่าเป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อเขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิดผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูกนัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไว้วัดเข้าที่ตาข้างขวา ถึงกับตาแตก และบอดในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์... (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)

    หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็นแถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดดเดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของหลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน อีกทั้งในขณะนั้น ทายกเก่าๆ ก็ตายเกือบหมดแล้ว ท่านจึงขาดที่พึ่ง

    [​IMG]


    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นยังเป็น กำนันตำบลวังงิ้ว เป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทั้งมีความเคารพนับถือหลวงพ่อมาก จึงพร้อมกับ คณะทายก อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อ ขอให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดวังตะกู ประมาณ ๕ กิโลเมตร คณะที่ไปนิมนต์หลวงพ่อได้รับปากกับท่านว่า จะช่วยสร้างกุฏิให้พอเพียงกับพระภิกษุสงฆ์ ที่ติดตามท่านไปด้วย ทั้งจะสร้างคอกม้าให้กว้างขวาง พอที่จะบรรจุม้าทั้ง ๗๐ ตัวของหลวงพ่อ ได้อย่างสบาย หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดี และเสียอ้อนวอนมิได้ ก็รับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ระหว่างวัดสำนักขุนเณร กับวัดวังตะกู มิได้ขาด

    ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อจึงตัดสินใจที่จะไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร แต่ก่อนท่านจะจากไป หลวงพ่อได้ไปยืนทำสมาธิ ที่ต้นไม้ทุกต้น ภายในบริเวณวัดวังตะกู เสมือนหนึ่งท่านจะอำลาเทพยดา ที่ต้นไม้เหล่านั้น เพราะท่านอยู่ที่นี้มาถึง ๓๐ พรรษา เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย ก็พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปจำพรรษา ที่วัดวังตะกูตามเดิม ด้วยความเมตตา ท่านก็กลับไปอยู่วัดวังตะกูอีก ๑ สัปดาห์ แล้วท่านก็ขอตัวกลับมาอยู่ วัดสำนักขุนเณร แต่นั้นมา

    สมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์ประทุม สุนทรเกล้า เจ้าอาวาสวัดวังตะกูสมัยหนึ่ง ได้ไปกราบนมัสการหลวงพ่อเขียน ที่สำนักวัดขุนเณร ได้ขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจะจัดพิธีพุทธาภิเษก ให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวังตะกู หลวงพ่อก็อนุญาต

    ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ทางคณะกรรมการได้นิมนต์ พระอาจารย์สำคัญๆ หลายรูปมาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นอันมาก ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ก็ปรากฏว่า... สายฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พระอาจารย์ต่างๆ ที่กำลังทำพิธีต้องหนีขึ้นกุฏิหมด เหลือแต่หลวงพ่อองค์เดียว

    กรรมการก็รีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุกจากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า “ฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง ๕ นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ฤกษ์ดีน่อ” บรรดากรรมการทั้งหลาย ได้ฟังหลวงพ่อบอกเช่นนั้น ก็คอยจับเวลาดู ครั้นได้เวลาครบ ๕ นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที !

    ท่านอาจารย์ประทุมคิดว่า สายฝนกระหน่ำอย่างนี้ หลวงพ่อคงจะเปียกฝน โชกไปทั้งตัว จึงนำเอาผ้าไตรไปถวายหลวงพ่อ เพื่อให้ครองใหม่แทนผืนเก่า แต่หลวงพ่อบอกว่า “ไม่ เปลี่ยนน่อ” ปรากฏว่า ผ้าไตรที่หลวงพ่อครองอยู่นั้น ไม่เปียกฝนแม้แต่น้อย และบริเวณที่ท่านนั่งอยู่ ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ประดุจมีคนมากางกลดเฉพาะตัวท่านฉะนั้น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ฝนตกแต่ในบริเวณวัดเท่านั้น นอกเขตวัดออกไป ไม่มีฝนตกเลย แม้แต่เม็ดเดียว

    เนื่องจากสัตว์ป่า ที่ชาวบ้านเขานำมาถวายหลวงพ่อ มีจำนวนมากขึ้นทุกที และสัตว์เหล่านั้นมักจะไปเหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน ได้มีบุคคลบางคนเขียนบัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอบางมูลนาก ทางอำเภอจึงส่งเรื่องให้เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรพิจารณา

    ทางเจ้าคณะจังหวัด ได้รับหนังสือจากนายอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งคณะกรรมการไปสอบสวนหลวงพ่อเขียน ประกอบด้วยผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และมีปลัดอำเภอบางมูลนากร่วมด้วย ทางคณะสงฆ์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ไปสอบสวนให้ได้ตัวเจ้าทุกข์ ว่าเป็นความจริงตามคำร้องเรียนหรือไม่ และให้สอบถามชาวบ้าน หากจะปลดหลวงพ่อเขียน จากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้พระที่อาวุโสรองลงมาเป็นเจ้าอาวาสแทน จะขัดข้องหรือไม่

    เมื่อคณะกรรมการเดินทางไปถึงวัด ได้เรียกประชุมชาวบ้าน ในเบื้องต้น ปลัดอำเภอฯได้สอบถามหลวงพ่อเขียนว่า “หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์ และผสมพันธุ์ จนมีเป็นจำนวนมาก ใช่หรือไม่ ? ”

    หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาไม่ได้เลี้ยง ชาวบ้านเขาพากันนำมาถวาย ขัดศรัทธาไม่ได้ก็รับไว้น่อ ทั้งอาตมาก็ไม่ได้ผสมมัน พวกมันผสมกันเองน่อ”

    จากนั้น คณะกรรมการได้สอบถามหาตัวเจ้าทุกข์ผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวออกมา ครั้นคณะกรรมการสอบถามชาวบ้าน ถึงเรื่องจะเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส ว่าเห็นสมควรให้พระอาวุโสองค์ใด เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อเขียน ก็ไม่มีผู้ใดเสนอ เมื่อสอบถามต่อไปว่า ผู้ใดเห็นควรให้หลวงพ่อเขียนเป็นเจ้าอาวาสต่อไป ปรากฏว่าชาวบ้านสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ในที่สุดคณะกรรมการก็เอาผิดหลวงพ่อเขียนไม่ได้ และจำต้องให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

    หลวงพ่อเขียน พร้อมด้วยกำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ได้ช่วยกันก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดสำนักขุนเณร หลายอย่าง ดังนี้
    ๑. กุฏิหอสวดมนต์
    ๒. หอประชุมสงฆ์
    ๓. สร้างสะพานข้ามคลอง เชื่อมวัดกับหมู่บ้าน
    ๔. สร้างพระประธาน ๑ องค์
    ๕. สร้างศาลาหลังใหญ่ กว้าง ๑๒ วา ยาว ๑๕ วา
    ๖. สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง

    เนื่องจาก กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ ได้ยกที่ดินให้ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน หลวงพ่อเขียน ท่านได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มอบปัจจัยจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทแก่ทางราชการ เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ เมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งคุณความดีของหลวงพ่อ โรงเรียนแห่งนี้ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้น ประถมปีที่ ๑ ถึง ประถมปีที่ ๗ (ปัจจุบันเหลือแค่ ประถมปีที่๖) นับว่าหลวงพ่อได้ช่วยสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเมตตาธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง

    การเจริญกรรมฐานของหลวงพ่อนั้น ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงรบกวน ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่มีผู้ใดทราบ ว่าหลวงพ่อใช้เวลาเจริญกรรมฐานตอนไหน เพราะในยามค่ำคืน จะมีแสงไฟสลัวๆ ในกุฏิของหลวงพ่อเสมอๆ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว

    ตามปกติในเวลากลางวัน ท่านก็ต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน ที่พากันหลั่งไหลมานมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ แม้กระทั่ง เมื่อสังขารของท่าน ทรุดโทรมมากแล้วก็มิได้เว้น

    หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวท่านอยู่โรคหนึ่ง นั่นก็คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่หลวงพ่อจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะท่านระงับด้วยขันติธรรม

    ต่อมา เมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่เนื่องจากความชรา และโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ในคืนวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๒๓.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๑๐๘ ปี

    [​IMG]


    หลวงพ่อเขียนท่านศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อท่าน มรณภาพไปแล้ว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ได้มีคนร้าย ไม่ทราบจำนวนนำรถยนต์มาขน พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ที่หลวงพ่อเขียนได้หล่อไว้ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดวังตะกู ประมาณ ๔๐ กว่าปีมาแล้ว ต่อมา พระอุโบสถพัง ทางวัดจึงย้ายไปประดิษฐานไว้ ในพระวิหารวัดวังตะกู พร้อมด้วยพระประธาน และรูปหล่อของหลวงพ่อ คนร้ายจำนวนดังกล่าว ได้ลอบไขกุญแจเข้าไปหามเอาพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่พ้นเขตวัด คนร้ายอีกจำนวนหนึ่ง เตรียมติดเครื่องยนต์คอยอยู่นอกวัด แต่กลุ่มที่อยู่ในวัด หาทางออกนอกวัดไม่ได้ รถที่อยู่นอกวัดก็เกิดขัดข้อง แก้ไขเท่าใดก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ คนร้ายที่ช่วยกันหามพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงจำเป็นต้องนำพระทั้งสององค์ไปซุ่มไว้ ข้างที่บรรจุอัฐิ นายมานพ จันทร์พวง เหล่าคนร้ายทั้งหมด ได้กลับมาที่รถ และ ช่วยกันแก้ไขรถ อยู่นานหลายชั่วโมง จนฟ้าเริ่มสาง เป็นเวลาที่ชาวบ้านจำนวนมาก มาตักน้ำในสระของวัด พอชาวบ้านมากันมากเข้า รถก็ติดพอดี คนร้ายไม่กล้าวกกลับไปขนเอาพระที่ซ่อนไว้ จึงจำต้องขับรถหนีไป

    เมื่อคนร้ายไปแล้ว ชาวบ้านเห็นประตูวิหารเปิดอยู่ และไม่เห็นพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงนำความไปแจ้งแก่เจ้าอาวาส และช่วยกันหาอยู่นานก็ไม่พบ ในที่สุดเจ้าอาวาสวัดวังตะกู ได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวแก่หลวงพ่อเขียน จึงได้พบพระ ถูกซ่อนไว้ในที่บรรจุอัฐิ...

    อำนาจจิตอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อเขียน ยังมีอีกมากมาย และเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันไป ควบคู่กับคุณงามความดีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านบางมูลนาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ ”...


    ..........................

    พี่แก้วได้เช่าเหรียญหลวงพ่อเขียนมอบให้ขอบคุณจ่ะ พี่แก้ว
    ..........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3872_1s.jpg
      IMG_3872_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      357.2 KB
      เปิดดู:
      4,465
    • IMG_3870_1s.jpg
      IMG_3870_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340 KB
      เปิดดู:
      6,350
    • IMG_3873_1s.jpg
      IMG_3873_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      362.6 KB
      เปิดดู:
      2,850
    • IMG_3874_1s.jpg
      IMG_3874_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      322.6 KB
      เปิดดู:
      2,925
    • IMG_3875_1s.jpg
      IMG_3875_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      360.4 KB
      เปิดดู:
      3,548
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    จากนั้นก็พากันไปกราบหลวงพ่อเงิน กตฺสาโร แห่งวัดเกาะแก้วกุดระกำ

    หากเอ่ยนาม หลวงพ่อเงิน กตฺสาโร แห่งวัดเกาะแก้ว หรือวัดกุดระกำ อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร แล้ว เชื่อแน่ว่าคนพิจิตรต้องร้อง อ๋อ... เพราะหลวงพ่อเงินรูปนี้หนอท่านเป็นของจริง ดังมานาน เป็นพระเกจิที่ทรงอาคมขลังที่สุด ของพิจิตรในขณะนี้ เพราะท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเขียน แห่งสำนักขุนเณร พระอรหันต์วาจาสิทธิ์ ผู้มีฤทธิ์อภิญญายอดยิ่งเหลือของพิจิตร หลวงพ่อเขียนรักมาก บวชให้ สอนวิชาให้ทุกสิ่งอย่าง ไม่มีปิดบังอำพราง และหลวงพ่อเงิน ก็ถือคาถาได้ขลัง ทำได้ทุกอย่าง จนหลวงพ่อเขียนบอกก่อนมรณภาพว่าต่อไปท่านเงิน เขาจะแทนหลวงพ่อน่อ

    [​IMG]

    เมื่อหลวงพ่อเขียนชราภาพมาก ท่านสั่งให้หลวงพ่อเงินทำแทนทุกอย่าง ทั้งเสกน้ำมนต์ อาบน้ำมนต์ ช่วยทำตะกรุด ทำผ้ายันต์ เรียกได้ว่า ท่านเป็นแขนขวาของหลวงพ่อเขียนเลยทีเดียว อีกทั้งท่านยังเรียนวิชาสำคัญของหลวงพ่อทบ เทพเจ้ายอดคงกระพัน มหาอุตต์หยุดลูกปืน แห่งชนแดนเมืองมะขามหวาน จนสามารถเสกซังข้าวโพดให้เพื่อนลองยิง จนปืนแตกมาแล้ว ด้วยความที่หลวงพ่อเงิน สมัยเป็นพระหนุ่มมุ่งเจริญกสินมาก หลวงพ่อทบ ถึงกับฝากพระมาเตือนหลวงพ่อเงินว่า อย่าเล่นกสินมากนัก แก่ไป ตาจะไม่เห็นรุ่งเหมือนท่าน มาวันนี้ ด้วยวัย ๘๓ ปี แม้ตานอกจะไม่เห็นรุ่ง เหมือนกับคำหลวงพ่อทบพยากรณ์ แต่ตาในกลับใสสะอาด สว่าง ผนวกกับพลังจิตอันอัศจรรย์ของหลวงพ่อเงิน กลับทำให้ท่านกลายเป็นที่พึ่งแก่ศิษย์ทั้งใกล้ ไกล เป็นผู้บันดาลโชคลาภ ความร่ำรวย ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์แก่ศิษย์ สร้างวัตถุมงคลได้ขลัง และเป็นที่นิยมอย่างสุด ๆ ในเวลานี้

    [​IMG]

    .........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3881_1s.jpg
      IMG_3881_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      337 KB
      เปิดดู:
      7,442
    • IMG_3877_1s.jpg
      IMG_3877_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      349 KB
      เปิดดู:
      20,393
    • IMG_3879_1s.jpg
      IMG_3879_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      355.7 KB
      เปิดดู:
      4,711
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ที่ต่อไปพี่บูลย์กับพี่แก้ว นำเข้าตัวอำเภอบางมูลนาก ไปหาอะไรทานกัน

    [​IMG]

    ขับรถเร็วนะเนี่ยะ.. ๑๓๐ ขึ้น....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3882_1s.jpg
      IMG_3882_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.4 KB
      เปิดดู:
      4,108
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ทีแรกพี่แก้วบอกว่าจะพาไปเลี้ยงส้มตำ แต่ว่าร้านปิด ก็เลยมาแวะร้านนี้แทน เค้าจำชื่อร้านไม่ได้อ่ะ มาดูเมนูเลยก็แล้วกัน เห็นแล้วหิว อีกรอบ....หุ หุ

    [​IMG]
    ทอดมันปลากราย มั้ง...ไม่แน่ใจ

    [​IMG]
    มือใครเอ่ย....


    [​IMG]
    เขาบอกว่าเป็น ยำสาวบ้านแต้...


    [​IMG]
    ผัดเผ็ดนกกระจอกเทศ....


    ที่จริงยังมีอีกนะ แต่ถ่ายรูปมาแค่นี้เอง....

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3886_1s.jpg
      IMG_3886_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      344.8 KB
      เปิดดู:
      4,849
    • IMG_3891_1s.jpg
      IMG_3891_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      354.3 KB
      เปิดดู:
      4,772
    • IMG_3893_1s.jpg
      IMG_3893_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      379.5 KB
      เปิดดู:
      4,673
    • IMG_3898_1s.jpg
      IMG_3898_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      366.7 KB
      เปิดดู:
      4,843
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ต่อไปจะเป็นวัดสุดท้ายที่จะไปกัน เพราะว่าวันนี้เย็นมากแล้วหมดเวลาเที่ยวแล้วหล่ะ
    วัดสุดท้ายก็คือวัดบางคลาน



    a.jpg
    ผ่านแยกบางมูลนาก เห็นจระเข้เลยถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก....


    วัดหิรัญญาราม
    ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดบางคลาน หรือ วัดวังตะโกเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินเคยจำพรษาอยู่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเก่าสิ่งก่อสรางที่น่าสนใจของวัดนี้คือพิพิธภัณฑ์ รูปมณฑป ๒ชั้นชั้นบนประดิษฐานรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงินเกจิอาจารย์ที่ประชาชนชาวไทยทั่วประเทศรู้จักและเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งที่เคยจำพรรษา


    a.jpg

    หลวงพ่อเงินบางคลาน วัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำเทพเจ้าแห่งอำเภอโพทะเลและเพชรน้ำเอกของจังหวัดพิจิตร

    หลวงพ่อเงินเดิมท่านชื่อเงินเมื่อสมัยก่อนยังไม่ได้ใช้นามสกุล ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๓๕๑ ตรงกับศุกร์เดือน ๑๐ ปีมะโรง
    บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลานมารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งรัตนโกสินทร์
    หลวงพ่อเงินท่านมีพี่น้องร่วมสายโลหิตทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
    คนที่ ๑ ชื่อพรม ชาย
    คนที่ ๒ ชื่อทับ หญิง
    คนที่ ๓ ชื่อทอง(ขุนภุมรา) ชาย
    คนที่ ๔ ชื่อเงิน(หลวงพ่อเงิน)
    คนที่ ๕ ชื่อหล่ำ ชาย
    คนที่ ๖ รอด หญิง


    เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๖ หลวงพ่อเงินอายุได้ ๕ ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พาหลวงพ่อเงินไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำหลวงพ่อเงินไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ.๒๓๖๓ หลวงพ่อเงินอายุได้ ๑๒ ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ ๓ พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตารามจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจำพรรษาที่วัดคงราราม (วัดบางคลานใต้) บ้านบางคลาน ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร บ้านเดิมของท่านอยู่ได้ ๑ พรรษา
    ที่วัดคงคารามนี้มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ให้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ก่อนแล้ว ท่านเป็นพระที่เรืองวิชาแก่กล้าองค์หนึ่งเหมือนกันและท่านชอบเล่นแร่แปรธาตุด้วย แต่หลวงพ่อท่านอุปัชฌาย์ให้ท่านชอบเทศน์แหล่ เป็นทำนองการเทศน์แหล่หรือการซ้อมแหล่ ทำให้เกิดเสียงดังมาก หลวงพ่อเงินท่านไม่พอใจ เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งครัดทางธรรมวินัยและทางวิปัสสนากรรมฐานชอบแต่ทางสงบ


    ประวัติวัดวังตะโก

    a.jpg

    ท่านจึงได้ย้ายจากวัดคงคารามไปอยู่ยังหมู่บ้านวังตะโก ซึ่งลึกเข้าไปในทางลำน้ำแควพิจิตรเก่า โดยท่านได้หักกิ่งโพธิ์ไปด้วย ๓ กิ่ง และปักลงตรงบริเวณป่าตะโก แล้วท่านก็ได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าข้าพเจ้าได้มาสร้างวัด ณ สถานที่แห่งนี้ ถ้ามีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในอนาคตข้างหน้า ขอให้กิ่งโพธิ์ทั้ง ๓ กิ่ง จงเจริญงอกงามตามไปด้วย ก็ปรากฏว่าเป็นไปตามคำอธิษฐานของหลวงพ่อทุกประการ ได้สร้างกุฏิวิหารจนอุโบสถและเสนาสนะภายในวัดจนสมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกประการ เพราะได้มีประชาชนให้ความเคารพนับถือท่านมาก มีคนมาหาท่านมาก มีคนมาหาท่านมิได้ขาด เพื่อถวายตัวเป็นศิษย์ และมาขอเครื่องรางขอขลัง และขอให้หลวงพ่อได้รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย หลวงพ่อให้ความเมตตาโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เหมือนกันทุกระดับชั้น

    โดยเฉพาะพวกชาวเรือที่ขึ้นล่องไปมา ได้พากันมาจอดเรือที่หน้าวัดหลวงพ่อเป็นประจำจะเพื่อขอพรและขออาบน้ำมนต์ ผู้เขียนได้รับคำบอกเล่าจากท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณ(น้อย) เจ้าคณะอำเภอบางบุญนาค ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเงินอีกรูปหนึ่ง และพ่อพริ้ง เป็นครูซึ่งเป็นพ่อของเพื่อนของผู้เขียนเอง ที่จอดเรืออยู่หน้าวัดวังตะโก น้ำมนต์ของท่านมีประชาชนเอามาอาบได้ไหลลงสู่แม่น้ำแควพิจิตรเก่ามิได้ขาดสาย


    ประวัติการสร้างพระเครื่องและรูปเหมือนของหลวงพ่อเงิน
    ท่านพระครูพิทักษ์ศีลคุณได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์ขึ้นเป็นรุ่นแรกครั้งที่ ๑ เนื้อทองเหลืองรูปองค์พระจะขรุขระผิวไม่เรียบร้อย ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าพิมพ์ขี้ตา คณะกรรมการวัดได้ให้เช่าบูชาองค์ละ ๑ บาท
    ครั้งที่ ๒ สร้างเป็นรูปหล่อลอยองค์โดยให้ช่างแก้พิมพ์ให้สวยงามขึ้นจึงเรียกว่าพิมพ์นิยมหรือพิมพ์เบ้าทุบ


    a.jpg

    เมื่อพิมพ์ขี้ตาและพิมพ์นิยมได้จำหน่ายจ่ายแจกให้ผู้ที่เคารพนับถือเลื่อมใสต่อหลวงพ่อต่างก็ได้รับความนิยมชมชอบ สำหรับผู้ชายสำหรับผู้หญิงและเด็กๆไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้รูปหล่อทั้งสองพิมพ์ดังกล่าวมาแล้วทางคณะกรรมการวัดจึงได้จัดให้สร้างขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ เป็นเหรียญหล่อไข่ปลาเรียกว่าจอบใหญ่กับเหรียญหล่อจอบเล็กเพื่อให้ผู้หญิงและเด็กๆ ได้มีโอกาสเช่าบูชาให้ติดตัวไปได้ปรากฏว่าเหรียญไข่ปลาและเหรียญจอบเล็กจำหน่ายดีมีความนิยมสูงมากกว่ารูปลอยองค์เพราะเหรียญสองชนิดนี้มีห่วงอยู่ในตัวเมื่อเช่ารับจากหลวงพ่อมาแล้วก็คล้องคอได้เลย

    การสร้างพระรูปหล่อของหลวงพ่อเงิน

    จะเป็นพิมพ์ใดก็ตาม ช่างมิได้สร้างครั้งเดียวและปีเดียวเมื่อปีนี้สร้างมาแล้วหมดไปเมื่อถึงงานแระจำปีปิดทองไหว้พระในเดือน ๑๑ ของทุกๆ ปีหลวงพ่อท่านได้จัดให้มีงานแข่งเรืออย่างสนุกสนานได้มีประชาชนทั่วทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงได้พากันมาเที่ยวงานที่วัดวังตะโกเป็นจำนวนมากท่านก็ได้ให้ช่างหล่อรูปพิมพ์ต่างๆขึ้นมาตามลำดับเรียกร้องของประชาชนและผู้ที่เลื่อมใสศรัธาต่อองค์หลวงพ่อเงิน

    การสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินเป็นกรณีพิเศษ

    ยังมีข้าราชการพ่อค้าประชาชนที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงินมาขออนุญาตท่านหล่อรูปเหมือนโดยนำช่างไปทำการหล่อขึ้นที่วัดวังตะโกและหล่อไปจากกรุงเทพฯ ก็มีแล้วนำไปมอบให้หลวงพ่อเงินท่านได้แพเมตตาปลุกเสกให้มีทั้งเนื้อ ทองคำ,เงิน ,สำริด,ทองเหลือง ,ทองแดงและตะกั่ว เป็นต้นแล้วแต่ฐานะของแต่และบุคคล ส่วนมากจะเป็นพวกชาวเรือเวลานำข้าว ขึ้น-ล่องไปขายที่กรุงเทพฯ ก็จะพากันมาจอดเรือที่หน้าวัดเป็นประจำแล้วขออนุญาตจากหลวงพ่อนำเบ้าและพิมพ์พระไปให้ช่างที่กรุงเทพฯทำการหล่อแล้วนำกลับมาให้หลวงพ่อได่ปลุกเสกให้จะสร้างมากน้อยเท่าไรไม่สามารถจะทราบจำนานได้

    a.jpg


    การหล่อรูปจำลองของหลวงพ่อเงิน

    เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ประชาชนเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปจำลองของท่านไว้จำนวน ๒ องค์ ด้วยกันตามหลักฐานที่ได้ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
    องค์ที่ ๑ ประจำอยู่วัดวังตะโก บ้านบางคลานหรือวัดหิรัญญาราม
    องค์ที่ ๒ ประจำอยู่ที่วัดท้ายน้ำ


    เป็นอีกวัดหนึ่งที่หลวงพ่อเงินท่านได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างกุฏิ ศาลาวิหาร อุโบสถให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนๆ กับวัดวังตะโกและหลวงพ่อท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำพอๆ กันกับวัดวังตะโกขณะที่หลวงพ่อได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ก็ได้มีข้าราชการพ่อค้า ประชาชนพากันมาหาหลวงพ่อเงินเป็นประจำเหมือนกับกับที่ท่านอยู่ที่วัดวังตะโกแล้วคณะกรรมการวัดก็ได้ให้ช่างมาทำการหล่อรูปหลวงพ่อเงินขึ้นที่วัดท้ายน้ำเหมือนกับที่วัดวังตะโกทุกๆพิมพ์เพื่อแจกจ่ายจำหน่ายเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์หลวงพ่อเมื่อหลวงพ่อเงินได้กลับไปจำพรรษาอยู่วัดวังตะโดท่านได้แต่งตั้งและมอบหมายให้พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง)ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับหลวงพ่อองค์หนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอโพทะเลที่อำเภอบางคลานได้ยกเลิกมาตั้งที่ใหม่

    พระครูวัฏะสัมบัญสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงิน
    กาลต่อมาพระรูปหล่อหลวงพ่อเงินทุกๆ พิมพ์ ที่จัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำได้หมดไปแต่ยังมีผู้ที่ต้องการอีกเป็นจำนวนมากท่านพระครูวัฏะสัมบัญจึงได้ให้ช่างมาทำการหล่อขึ้นอีกทุกๆ พิมพ์คือ พิมพ์ขี้ตาพิมพ์นิยม พิมพ์จอบใหญ่ไข่ปลา และพิมพ์จอบเล็กแล้วท่านก็ได้นำไปให้หลวงพ่อเงินแผ่เมตตาปลุเสกให้แล้วนำมาแจกจ่ายที่วัดท้ายน้ำ


    พระอาจารย์ชุ่มสร้างหลวงพ่อเงินที่วัดท้ายน้ำ
    ต่อมาพระอาจารย์ชุ่มหรือพระปลัดชุ่มที่เป็นลูกศิษย์อุปสมบทกับพรครูวัฏะสัมบัญได้จัดสร้างรูปหล่อหลวงพ่อเงินขึ้นมารุ่นหนึ่งเป็นรูปหล่อลอยองค์แบบพิมพ์นิยม โดยนำพระพิมพ์นิยมของพระครูวัฏะสัมบัญมาถอดพิมพ์ขณะนี้กำลังได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากพอสมควร


    a.jpg


    ***** ข้อระวัง*****
    พระหลวงพ่อเงินของพระอาจารย์ชุ่มเวลานี้บรรดาพวกเซียนพระสมองใสทั้งหลายได้ลบตัวช. ออก แล้วก็ยืนยันว่าเป็นพระหลวงพ่อเงินพิมพ์นิยมของวัดวังตะโกและวัดท้ายน้ำผู้ที่ดูพิมพ์ไม่ออกหลงเชื่อ
    ผู้เขียนได้พบเห็นมาหลายรายแล้วก็อดสงสารไม่ได้เพราะฉะนั้นเรื่องหลวงพ่อเงินที่มีผู้เข้าใจกันว่าวัดบางคลานนั้นความจริงแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัดบางคลานไม่มี คำว่าบางคลานหมายถึงงตำบลอำเภอที่อยู่ของวัดปัจจุบันนี้มีวัดวังตะโกได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหิรัญญารามและอำเภอบางคลานก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอำเภอโพทะเลแล้ว


    สำหรับหลวงพ่อเงินวัดวังตะโกกับหลายพ่อเงินวัดท้ายน้ำบางพิมพ์ก็เหมือนกันแต่บางพิมพ์อาจจะไม่เหมือนกัน เพราะมิได้สร้างในคราวเดียวกันและไม่ใช้พิมพ์บล็อกเดียวกันด้วยเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน

    ผู้เขียนขอให้ข้อคิดและแนะนำ แก่ผู้เสาะแสวงหาหลวงพ่อเงินวัดวังตะโกหลวงพ่อเงินวัดท้ายน้ำตลอดจนกระทั่งหลวงพ่อเงินที่พระครูวัตฏะสัมบัญจัดสร้างขึ้นที่วัดท้ายน้ำจะเป็นพิมพ์ใดก็ตามมีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทุกประการข้อสำคัญขอให้เป็นของแท้เพราะหลวงพ่อเงินท่านเป็นพระเถระที่บริบูรณ์ไปด้วยศีลจารวัตรและมีสมาธิจิตอันมั่นคงโดยเฉพาะเวทมนต์คาถาและวิปัสสนาธุระท่านมีความเชี่ยวชาญและแก่กล้าเรื่องวิทยาคมรูปหนึ่งของจังหวัดพิจิตรและท่านได้เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ด้วยกิตติศัพท์ของท่านเลื่องลือขจรขจายไปทั่วทุกภาคจากเหนือจดใต้จากตะวันออกจดตะวันตกมาเนิ่นนานแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถึงแม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพจากไปนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังอยู่ในความทรงจำ ศรัทธาปรารถนาที่จะได้ของหลวงพ่อทุกๆ คนเสมอมาเพราะวัตถุมงคลของหลวงพ่อทุกๆ อย่างถ้าผู้ใดมีไว้ครอบครอง จะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคลและแคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงแม้แต่ชื่อของท่านก็เป็นมงคลนามอยู่แล้วโดยเฉพาะชาวพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆคนจะเคารพบูชาและหวงแหนวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงินกันมากเมื่อมีผู้ใดมาขอเช่าในราคาแพงผู้ที่เป็นเจ้าของจะไม่ยอมให้เพราะเป็นของที่หาได้ยากยิ่งเปรียบเสมือนหนึ่งแก้วสารพัดนึกก็ว่าได้


    a.jpg

    พระอาจารย์และวัดที่จัดสร้างพระหลวงพ่อเงินพิมพ์ต่างๆมีด้วยกัน ๗ วัดคือ
    ๑. วัดวังตะโกหลวงพ่อเงินสร้าง มีทุกๆ พิมพ์ พระอาจารย์แจ๊ะสร้างพิมพ์พระผงแบบจอบเล็ก
    ๒. วัดท้ายน้ำหลวงพ่อเงินสร้างมีทุกๆ พิมพ์ พระครูวัตฏะสัมบัญ (ฟุ้ง) สร้างมีครบทุกพิมพ์ พระปลัดชุ่มสร้างเฉพาะพิมพ์นิยมกับมีตัว ช.เพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น
    ๓. วัดหลวงหลวงพ่อเงินหอมสร้างมีพระพิมพ์ต่างๆ ประเภทเนื้อดินล้วนมีพิมพ์สมเด็จพระเจ้าห้าพระองค์พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์สังกัจจายน์
    ๔. วัดขวางหลวงปู่ไข่ มีพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมและพิมพ์สังกัจจารน์
    ๕. วัดห้วยเขนพระครูล้อมสร้างพิมพ์ขี้ตาพิมพ์นิยม ไข่ปลา จอบเล็ก และเนื้อดินมีทั้งนั่ง,นอน,ยืน
    ๖. วัดบางมูลมากพระครูพิทักษ์ศัลคุณ (น้อย) กับหลวงพ่อพิธสร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบใหญ่ ไข่ปลา จอบเล็ก
    ๗. วัดคงคารามหลวงพ่อน้อย (ตาบอด)สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยมโดยจ้างเจ๊กชัยหล่อ แล้วมีพิมพ์ขี้ตา พิมพนิยมเนื้อดินด้วย


    หลวงพ่อเงินท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา และโรคริดสีด้วยทวารเมื่อวันศุกร์เดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำ ปีะมะแมเวลา ๐๕.๐๐ น.ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๒ รวมอายุได้ ๑๑๑ ปีพรรษา ๙๐ การมรณภาพของหลวงพ่อเงินครั้งนั้นนับว่าวัดวังตะโก-วัดท้ายน้ำ-ชาวพิจิตรและศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนคนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านได้รับความโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดซึ้งนับเป็นการสูญเสียพระคณาจารย์ที่ยิ่งใหญ่และพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนาอันมีความหมายยิ่งรูปหนึ่ง

    คำบูชาหลวงพ่อเงิน
    วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร
    นโม ๓ จบ


    อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะ
    วันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตังมหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง
    ( สิทธิ พุทธัง กิจจัง มะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลีติ สิทธิ ธัมมัง จิตตัง มะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ สังฆัง จิตตัง มะมะเงินทองไหลมา นะชาลี ติ ฉิมพลี จะ มหาลาภัง ภะวันตุ เม )


    ....................

    ท้ายสุดนี้ กุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธคุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลายคุณแม่พระธรณีพระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวรและขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่านด้วยกุศลนี้จงเป็นเหตุปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้าและศาสนาของพระองค์ในทุกๆชาติ จนถึงพระนิพพานเป็นที่สุด​

    และขอให้พี่แก้วและครอบครัว จงประสพแต่ความสุข ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นที่รักของทุกๆ คน ศรัตรูหมู่มารผจญขอให้พ่ายแพ้ เดินทางทิศใดหนใดปลอดภัยทุกหนทุกแห่ง ด้วยเทอญ

    ข้อมูลจากและที่มา

    วัดท่าช้าง
    www.holidaythai.com/phichit_attractions_detail_504.htm.l
    th.wikipedia.org/wiki/วัดท่าช้าง


    วัดสำนักขุนเณร หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต
    เวปพระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม กระทู้ที่ ๐๑๒๔๒ โดย คุณ : คนรู้น้อย ๐๖-๑๐-๒๐๐๓
    http://www.luangprokhean.com/

    วัดเกาะแก้วกุดระกำ หลวงพ่อเงิน กตฺสาโร
    http://www.amuletcenter.com/product.detail_530_th_1658280

    วัดหิรัญญาราม(วัดบางคลาน) หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ
    http://www.109wat.com/bk01.php?id=102
    pck.onab.go.th/index.php?option




    เรียบเรียงโดย : สร้อยฟ้ามาลา
    ภาพถ่ายโดย : สร้อยฟ้ามาลา




    ..............................


    [​IMG]

    ..............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3902_1s.jpg
      IMG_3902_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      356.1 KB
      เปิดดู:
      5,631
    • IMG_3907_1s.jpg
      IMG_3907_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      388.5 KB
      เปิดดู:
      7,760
    • IMG_3910_1s.jpg
      IMG_3910_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      369.8 KB
      เปิดดู:
      5,046
    • IMG_3916_1s.jpg
      IMG_3916_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      364.9 KB
      เปิดดู:
      5,586
    • IMG_3920_1s.jpg
      IMG_3920_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      354.5 KB
      เปิดดู:
      4,572
    • IMG_3923_1s.jpg
      IMG_3923_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      362.3 KB
      เปิดดู:
      16,047
    • IMG_3928_1s.jpg
      IMG_3928_1s.jpg
      ขนาดไฟล์:
      314.4 KB
      เปิดดู:
      8,197
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2023
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    แอบคุยถึงเค้ากันด้วยนะ เสียงดังลอยได้ยินมาถึงหูเลยแหละ..<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. AngelHeart

    AngelHeart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +1,437
    รูปนี้น่ารัก ^^
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536

    ขนาดพูดค่อยๆแล้ว ยังได้ยินอีก.....
     
  14. uchen

    uchen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +122
    ผมคนหนึ่งครับที่เกิดบ้านวังสำโรง ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
     
  15. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    อนุโมทนาสาธุด้วยจ๊ะ ส้มแป้น...
    แต่ใบเซียมซีที่ฝากไว้นะ ไว้ที่วัดต่อเลยนะ ไม่ต้องเอากลับมา อิอิ
    อ้อ...ที่คุณเจงเธอได้ยินเพราะ...เธอมีหูทิพย์นะ...อิอิ คนสวยของอ้อ
     
  16. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    มาเยี่ยมบ้านคุณแก้วและชมภาพสวยๆ
    พร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติวัดเหมือนมากับคุณสร้อยเลยค่ะ
    ยังไม่เคยไปเลยนะ...พิจิตร คงมีโอกาสสักวัน
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ขอบคุณสำหรับคำติชมจ่ะ คุณsophonthana ^_^
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    แล้วตอนนี้ยังอยู่ที่วังสำโรงอยู่หรือเปล่าจ๊ะ.....
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ใบเซียมซีไม่ได้เอากลับมาหรอก อยู่ทีวัดนั่นแหล่ะจ่ะ

    เปล่าพี่อ้อ พี่เจงเค้า หู ยังไม่ตึง อิ อิ.....

    รู้ป่าว พี่เจงเค้าสำเร็จวิชา ตาสับปะรดเหมือนหนูแล้วหล่ะ เลยได้ของแถมเป็น พหูสูตรไปด้วย คริ คริ....
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,865
    ค่าพลัง:
    +43,536

    พี่แก้วฝากความระลึกถึงพี่แอ็ดด้วยนะ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...