อยากรู้หลักวิธีพิจารณาพระประเภท**รูปหล่อ และ พระกริ่ง**เบื้องต้นครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย อินโนเซนต์, 27 กรกฎาคม 2011.

  1. อินโนเซนต์

    อินโนเซนต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +81
    กราบเรียนถามขอความรู้จาก อ.และ ท่านผู้สันทัดกรณี ตลอดจนผู้รู้ทุกท่าน
    ถึงหลักการพิจารณาพระเครื่องประเภท รูปหล่อ และพระกริ่ง ในเบื้องต้น
    ว่าแต่ละท่านมีหลัก หรือจุดที่ใช้พิจารณา กันอย่างไรครับ
    (กรณีนี้ไม่ต้องกล่าวถึงการดูพิมพ์ อยากทราบวิธีพิจารณาทางกายภาพ เช่น ในพระแท้ เนื้อและกระแสโลหะ/พื้นผิว/คราบขี้เบ้า ฯลฯ ควรจะเป็น หรือต้องมี ลักษณะอย่างไรบ้างครับ)


    กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับทุกคำชี้แนะ ไว้ ณ.ที่นี้ด้วยครับ

    ปล.หากไม่เป็นการลำบาก กรุณาเมตตานำภาพมาประกอบการชี้แนะด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

     
  2. คนปั้นพระ

    คนปั้นพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2,481
    ค่าพลัง:
    +2,427
    ผมอธิบายอย่างนี้ละกันนะครับ อย่างเป็นกรณีของกริ่งวัดสุทัศน์(ผมก็ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าได้ดูแม่นขนาดเป็นเซียนใหญ่อะไรได้ ก็เป็นคนที่กำลังศึกษาอยู่เหมือนกัน)คือหลังจากดูพิมพ์พระแล้วว่าตรงหรือใกล้เคียง ผมก็จะดูวิธีการสร้างของพระกริ่งองค์นั้นๆ เช่นการอุดกริ่ง รอยรูอุดกริ่ง ตำแหน่งของการอุดกริ่ง(แต่ละรุ่นจะเหมือนกัน) ฝีมือการแต่ง(การแต่งจะใช้เหล็กแหลมขูดไล่เนื้อพระและเป็นการขูดในเดียวกันเกือบทุกองค์) จากนั้นก็ดูสีโลหะว่าถูกต้องตามตำราที่บอกไว้หรือไม่ แล้วก็ดูรอยซ่อม(กริ่งบางรุ่นจะมีรอยซ่อมเกือบทุกองค์) ดูโค๊ต(บางรุ่นมีบางรุ่นไม่มี) ซึ่งบางครั้งการแต่งของช่างสมัยนั้นก็เหมือนการตอกโค๊ตดีๆนี่เองครับ
    ปล.ตำราเป็นสิ่งสำคัญมากๆในการเล่นพระทุกชนิดและคนที่คอยสอนเราก็เป็นเรื่องรองลงมาแต่ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2012
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    ขอบคุณความรู้จากพี่คนปั้นพระครับ:cool:
     
  4. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ขอบคุณความรู้จากพี่คนปั้นพระครับ
     
  5. bikarn

    bikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,524
    แล้วการสังเกตุเนื้อพระ ผิวพระ ความเก่าดูกันอย่างไรครับ ผมว่าพระกริ่งดูยากจริงๆ
     
  6. ควายเผือก

    ควายเผือก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +48
    พระหล่อ หรือ พระกริ่ง สมัยก่อน กระผมคาดว่าต้องเป้นพระเกจิที่ได้รับการเคารพนับถือ มากๆจากสาธุชน จึงจะสามารถรวมศรัทธาขึ้นมาได้ และจากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้ที่เคารพเลื่อมใสในตัวเกจิ ท่านนั้น มอบโลหะมีค่า สำหรับใช้ในการหล่อพระ เช่น ทองคำ เงิน (ในปริมาณมาก) เป็นต้น

    ดังนั้นจึงทำให้พระรูปหล่อ และ พระกริ่ง ในยุคเก่าก่อน มีเนื้อหาที่ผิดแผกแตกต่างจากที่เห็นตามสนามพระทั่วไป เช่น สีคล้ายนาก(ทองชมพู) คล้ายทอง คล้ายนิล (ออกดำ เนื่องจากผิวของโลหะบางชนิดจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อ สัมผัสกับอากาศเป็นเวลานาน) เมื่อถูกสัมผัสจากมือ หรือ ถูกจับต้อง จะเกิดความเงางามที่ผิว คล้ายมีนำมาเคลือบ สีออกวรรณะของธาตุหลักที่ผสมเข้าไปในขณะทำการหลอมก่อนเทลงแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

    ในกระบวนการหลอมในสมัยก่อนกระผมคาดว่ายังไม่มีเทคโนโลยีในการตรวจวัดอุณหภูมิ ที่เป็นมาตรฐาน และ เที่ยงตรงเหมือนในปัจจุบัน และ เมื่อพิจารณาจากจุดหลอมเหลวของโลหะที่ใช้กันทั่วไป เช่น ตะกัวหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ300 เศษ พลวง600เศษ เงินประมาณ 700 เศษ ทองคำประมาณ1000เศษ ทองแดงประมาณ1100 เหล็ก1500 เศษ ทองเหลือง1100 เศษ (องศาเซลเซียส) ทุกท่านลอง จินตนาการกันดูนะครับ นี่ขนาดจุดหลอมเหลวของโลหะธาตุเดี่ยวๆ นะครับ แล้วถ้ามีโลหะ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมรวมอยู่ด้วยกัน แล้วเราก็ไม่สามรถควบคุมอุณหภูมิได้ไม่คงที่ โลหะบางชนิดก็ละลายแล้ว ละลายอีก บางชนิดเพิ่งเริ่มละลาย เพราะความสามารถละลายเป็นเนื้อเดียวของโลหะธาตุนั้นมีตัวแปรที่สำคัญอยู่ 2 ประการหลักๆ คืออุณหภูมิ และ ปริมาณธาตุผสม

    เอาเป็นว่าเมื่อโลหะที่ใช้หล่อละลายแล้วทุกชนิด...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2011
  7. อินโนเซนต์

    อินโนเซนต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +81
    อ๋าววว โลหะทุกชนิดละลาย แล้วยังไงต่อคับ'จารย์ ทำหุ่นเทียน เตรียมชนวน หรือพรวนดิน (อันหลังมุขนะครับ แหะๆ) จบดื้อสงั้น

    ได้ฟังแค่นี้ก็ถือเพิ่มพูนและเห็นภาพขึ้นมากเลยครับ
    กราบขอบพระคุณ ที่สละเวลามาชี้แนะครับ
     
  8. อินโนเซนต์

    อินโนเซนต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +81

    แหม อาจารย์ ก็ถ่อมตัวเกินไปครับ ว่าไปแล้ว พระบูชา กับ พระกริ่งหรือรูปหล่อนี่น่าจะมีวิธี หรือ หลักในการสร้างคล้ายๆกัน เราสามารถใช้หลักการพิจารณาร่วมกันได้ใช่ไหมครับ
     
  9. อินโนเซนต์

    อินโนเซนต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +81

    คุณพี่ bikarn ตั้งคำถามได้ตรงใจกระผมเลยครับ
    (กด Likeให้78ที)


    คำถามเดียวกันครับ'จารย์ ความเก่าดูกันอย่างไร
    ทั้งกริ่งและหล่อ เลยครับ
    (แต่ผมขอเน้นหล่อดีกว่า เพราะผมไม่หล่อ หะหะ)
     
  10. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เห็นถาม....กันมาผมจะตั้งกระทู้เรื่องพระหล่อให้ครับ แล้วตามดูแล้วกัน
    ต้องบอกว่าไม่ได้พิมพ์เองทั้งหมดนะครับ เคยตอบเรื่องการหล่อ
    อย่างพอประมาณมาแล้วแต่ไม่ทราบอยู่ที่ไหน ตอบหลายกระทู้เหมือนกัน
    ก็เลยคิดจะต้องกระทู้เองจะได้หาง่าย....ขอเวลาเดี๋ยว ตามไปถามตอบแล้วกัน
     
  11. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ขอตอบคุณอินโนเซนต์ก่อนเกรงว่าจะไม่มีเวลาตั้งกระทู้ใหม่
    ไว้ผมขอเรียบเรียงและว่างจะนำมาลงให้ นำมาจากเว็บแล้วผมจะเพิ่มเติมข้อมูล
    อีกในความคิดเห็นต่อล่างเลย

    การหล่อแบบโบราณ<O:p</O:p
    เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิต รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น<O:p</O:p
    ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้<O:p</O:p
    1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน” หรือต้นแบบ<O:p</O:p
    2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) ความจริงเรื่องไม้เสนียดช่างที่หล่อพระองค์เล็กสมัยก่อนมีกันทุกคนเป็นไม้เสนียดจริง ๆ เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ตกแต่งหุ้นเทียนเพื่อความสวยงาม ที่เรียกไม้เสนียด
    เป็นเคล็ดเพื่อกันเสนึยดจันไร กันคนว่ากล่าวไปในทางไม่ดี เพราะเวลาทำงานย่อมมีผิดพลาดได้
    จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ<O:p</O:p
    3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) ทำไม่จึงเป็นดินขึ้วัว เพราะดินขี้วัว มีเอ็นไซด์ซึ่งมีคุณสมบัติเมื่อเวลาพอกหุนและสุ่มไฟแล้วหุ้นมักจะไม่แตกเพราะมีความเหนียวทนทาน พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง<O:p</O:p
    4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” ตรงนี้การสำรอกหุ้นที่ใช้วิธีที่อธิบายแบบนี้
    ผมไม่ได้เรียนรู้แบบว่าเทแล้วให้ขึ้ผึ้งออกมามีแต่สุ่มหุ่นด้วยความร้อนก่อน และต้องใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำแล้วค่อยเพิ่มความร้อนให้สูงในตอนท้ายเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในหุ้นและให้หุ่นค่อย ๆ ขยายตัวครับ และไล่เทียนที่อยู่ในหุ่น โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ แต่ผมว่าวิธีที่ผมอธิบายจะดีกว่า<O:p</O:p
    5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”<O:p</O:p
    พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ
    ที่ยากแก่การปลอมแปลง ตรงนี้จริงครับพระหล่อโบราณทำยากกว่าพระฉีดเยอะดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

    การเพิ่มเติมมิได้แสดงการลบหลู่ใด ๆ ทั้งสิ้นครับแต่เป็นแง่มุมหนึ่งให้ได้เข้าใจกันครับ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2011
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย<O:p</O:p
    ชิน น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)<O:p</O:p
    จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)<O:p</O:p
    เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท<O:p</O:p
    บริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)<O:p</O:p
    ปรอท น้ำหนัก 5 บาท<O:p</O:p
    สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท<O:p</O:p
    ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท<O:p</O:p
    เงิน น้ำหนัก 8 บาท<O:p</O:p
    ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท<O:p</O:p
    นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง <O:p</O:p
    2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น<O:p</O:p
    3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก<O:p</O:p
    4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น<O:p</O:p
    5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์<O:p</O:p
    6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน<O:p</O:p
    7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท<O:p</O:p
    8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ<O:p</O:p
    9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น<O:p</O:p
    โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา <O:p</O:p
     
  13. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ได้ความรู้มากๆๆครับ ขอบคุรพี่stoesมากๆครับ

    จาวน้ำเงิน - - โดยส่วนตัว ผมว่า มันคือ แร่พลวงคับ

    [​IMG]

    เพราะเป็นแร่ที่ช่วยให้เนื้อโลหะผสม หลอมร่วมตัวกันง่าย และให้เนื้อโลหะ ที่เนียนตึง หรือไปเพิ่มความหนืดในเนื้อโลหะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2011
  14. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ข้างบนนี้ก็เป็นส่วนผสมของพระที่เต็มสูตรที่ใช้ในสมัยก่อน
    แต่คุณอินโนเซนต์ถามว่าพิจารณาอย่างไร
    พระหล่อ ผมตอบสั้น ๆ ว่าพิจารณาความสะอาดก่อน และดูพิมพ์ของรุ่นนั้น ๆ
    โดยเราต้องศึกษาพิมพ์มาก่อน และเนื้อตามหลังครับ
    และต้องรู้ว่าเขาสร้างด้วยเนื้ออะไร เช่นทองเหลืองล้วน ๆ ไม่ผสมโลหะชนิดอื่น
    โลหะก็ต้องออกเหลือ แต่ถ้าทำเป็นนวะโลหะ เนื้อก็จะออกสีดำนำ ถ้าผสมดีบุกกับเงินมาก
    และออกเหลือตามถ้าเน้นทองเหลือ บางที่ตามด้วยแดงถ้าผสมทองแดงเยอะ
    ที่สำคัญต้องสะอาดและมีคราบขึ้เบ้าของดินหุ้นจริง ๆ และที่สำคัญเนื้อในของพระ
    ส่วนใหญ่เนื้อจะเสมอแต่พระปลอมเนื้อไม่แน่นบางทีดูแล้วรู้สึกว่าเนื้อไม่เข้ากัน
     
  15. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    เป็นเหตุผลหลักเลยครับ ที่ทำให้คิดว่า พระกรุ พระยุคก่อน จะดูง่ายๆมากๆ ครับ ต่างกับพระสมัยใหม่

    หากเรามีหลักคิด และ วิธี พิจารณา ทั้งศิลปะ และ วัสดุ กรรมวิธีการทำ ควบคู่กันไป จะทำให้ เรามีความละเอียด มากขึ้นครับ

    อย่างพระกรุ ถ้าดูแต่เนื้อ ก็ไม่ได้ จะดูแต่ทรงก็ยิ่งไม่ได้ใหญ่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2011
  16. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    คุณPhaake มีความรู้เรื่องพระกรุ ไม่ลองตั้งกระทู้ถ่ายทอดความรู้
    ให้น้อง ๆ ในนี้ได้รู้จักบ้างสิครับ เดี๋ยวนี้มีคนที่มีความรู้ในด้านนี้น้อยมาก
    เรียกได้ว่าสูญพันธ์ไปแล้วก็ว่าได้ครับ
     
  17. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ไม่ชอบแรงเสียดทานครับ ..... ขออยู่เงียบๆดีกว่าครับ

    ผิดที โดนจับลากมาเผาขึ้นเมรุ ทีเดียว
     
  18. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    แปลว่าชีวิตผมก็ยืนอยู่บนเส้นได้สิครับเนี่ย
     
  19. Phaake

    Phaake เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,818
    ค่าพลัง:
    +319
    ไม่เกี่ยวหรอกครับ ผมว่า ค่อยๆเอามาเล่ากันดีกว่า มันน่าสนใจกว่าเยอะครับ

    เพราะเราจะเอาหลักคิดหนึ่ง ยุคหนึ่ง มาพิจารณา ของอีกยุคไม่ได้

    ตัวอย่าง ..... เคยนั่งอ่านงานวิจัยของกรมศิลปกร เรื่อง โลหะวัตถุที่พบ ในเมืองศรีสัชนาลัย เขาพนมเพลิง

    เค้าว่า จะมีโลหะทองแดง และ เงิน เป็นส่วนใหญ่
    ที่นี้ มามองดูองค์พระ ที่เค้าว่ามาจากเขาพนมเพลิง แต่ดันเจอสนิมเหล็กออกจากองค์พระ มากกว่าสนิมทองแดง ที่มีเป็นส่วนน้อย ........ ทีนี้ ทรงพระ ก็ไม่ใช้ ที่พบแถวนั้นเลย ดันแต่งเครื่องกษัตรย์......แบบเขมร ยิ่งดูยิ่งมันไปกันไม่ได้นะครับ........อะไรแบบนี้ครับ คืออยากมองะไร ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากกกว่าครับ ก่อนจะไปเป็นเรื่องศิลปะ
     
  20. อินโนเซนต์

    อินโนเซนต์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    762
    ค่าพลัง:
    +81
    กราบขอบพระคุณ อ.stoes เป็นอย่างสูง(สูงที่สุด สูงสุดๆ)
    องค์ความรู้นี้แม้นอาจจะหาศึกษาได้โดยทั่วไป จากตำรา หรือแม้แต่ทางอินเตอร์เน็ตก็ตาม
    แต่หากต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยไม่มี อ.ที่ดีคอยชี้แนะนำแนวทางเช่นนี้แล้ว กระผมคงต้องใช้เวลาไม่รู้อีกนานเท่าไร ในการศึกษาค้นคว้า เรียงร้อย ข้อมูลมาประติดประต่อกัน แล้วเรียบเรียง ออกมาเป็นแก่นแกนความรู้ดังที่ อ.เมตตาเสียสละเวลามาชี้แนะเช่นนี้ได้
    กราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...