พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เช้ามา ไม่ทำมาหากินเลยนะ เล่นแต่เน็ท
    อิอิ ล้อเล่นกะตัวเองครับ
    (b-smile)
     
  2. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    สวัสดีคร้บทุก ๆ คน
    กาแฟซักแก้วไหมคุณตั้งจิต เลี้ยงคืนเมื่อวาน คิๆ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2007
  3. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ไม่อยากพูดเลยว่า.... ผมว่าแล้วใจมันหวิวๆชอบกล!!! ต้องรีบเข้าบอร์ด ซี้ผมคิดถึงนี่เองใช่มั้ยคุณ ตั้งใจ ...เอ๊ยโทษครับคุณตั้งจิต(b-ping)
    nongnooo...
     
  4. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    วันไหนไม่เห็นคุณnongnooo ให้รู้สึกหดหู่ในหัวจาย ง่ะ
    (b-2love)
     
  5. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อยากได้ขนมปังไข่ดาวซักชุดครับ เอหรือว่า ขนมครกน่าจะดีกว่านะ
    [​IMG]
     
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    "สำหรับผมนี่กิเลสอย่างหนา ต้องปัจจัย5ครับ อย่างที่5คือเงินจะได้มาซื้อความสุขได้".......ฮ่าๆๆ55555 อย่าเข้าใจผิดนะครับ ผมได้ยินมาจากเพื่อนผมเอง ฟังมันแล้วผมก็เงียบสะท้านหัวใจ จริงๆเขาพูดยาวกว่านี้อีกมันก็มีส่วนจริงแต่ต้องพูดว่า ความโลภของมนุษย์นี่น่ากลัวจริงๆ
    nongnooo...
     
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +4,285
    คุณพันวฤทธิ์เอาภาพเหรียญหลวงพ่อยีมาให้ดูไม่ค่อยชัด
    เอาของผมดูแทนละกัน

    [​IMG]


    ไหนๆก็ไหนๆแล้วเอาคาถาหลวงพ่อยีท่านไปท่องหรือบริกรรมกันต่อเลยละกัน
    (กระซิบ!ใครมีเหรียญหลวงพ่อยีตามรูปช่วยบอกด้วย ยังไม่มีของท่านเลย แบบว่าอยากได้ไว้บูชาอ่ะ ตามหามานานแล้ว [​IMG])

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    [​IMG]

    ผมมี 10 ชุดที่จะมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ
    ผมมอบให้ท่านที่ร่วมทำบุญ 3,000 บาท รับพระหลวงพ่อเงิน 1 ชุด

    ผมขอจองด้วย ๑ ชุด นะครับ คุณสิทธิพงศ์ ที่ นับถือ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]
    http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1367&stissueid=2479&stcolcatid=2&stauthorid=13

    ฉบับที่ 2479 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 23 เมษายน 2545
    บทความ-สารคดี
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์


    วังหน้า สมัยรัชกาลที่ ๑


    มีผู้ถามว่าบริเวณของวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้นแค่ไหน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>ที่จริงเคยเล่าผ่านไปผ่านมาหลายครั้งแล้ว<O:p> </O:p>

    ครั้งนี้ขอย้อนเล่าเรื่องวังหน้าสักเล็กน้อยก่อน<O:p> </O:p>

    เมื่อแรกสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในพระนิพนธ์ว่า ที่เรียกว่าวังหน้านั้นเพราะที่ตั้งอยู่หน้าวังหลวง<O:p> </O:p>

    แต่แล้วก็ทรงพระดำริว่า วังหน้านั้นมีทั้งพม่าซึ่งเรียกพระมหาอุปราชว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 76-1.jpg
      76-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.4 KB
      เปิดดู:
      77
    • 76-2.jpg
      76-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      80
    • 77-1.jpg
      77-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.4 KB
      เปิดดู:
      79
    • 77-2.jpg
      77-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8 KB
      เปิดดู:
      73
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post602704 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">21-06-2007, 05:58 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #5623 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    [​IMG]

    ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2007
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ไปเจอมาครับ

    http://classified.sanook.com/collectible/item.php?id=2984444

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#b3bfaa border=0><TBODY><TR><TD width=4></TD><TD>[​IMG] คำบรรยายประกาศ/บริการ</TD><TD width=4></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD height=4></TD><TD vAlign=bottom align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=5 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=5></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=fontDefault cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 4px; PADDING-LEFT: 4px" vAlign=top width="100%">
    ต้องการเปิดไห้บูชามีจำนวนจำกัดสนใจติดต่อกลับด่วน เป็นพระสมเด็จที่ทางวังหลวงจัดสร้างแล้วไห้ สมเด็จเป็นประธานเจ้าพิธีปลุกเสก แตกกรุเมื่อปี 2512 โดยช่างที่บูรณะวัดพระแก้วนำออกมา
    รายละเอียดตามลิ้งค์นี้ครับ
    http://www.thaimarketcenter.com/ecommerce/triraj/basket.asp?proid=ท.037&submit=Detail&pg=&select1=

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#b3bfaa><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=4 bgColor=#ffffff></TD><TD vAlign=top align=middle bgColor=#e6e5db><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#b3bfaa border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD height=4></TD><TD vAlign=top align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=4></TD><TD>[​IMG] ข้อมูลประกาศ/บริการ</TD><TD width=4></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD height=4></TD><TD vAlign=bottom align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=5 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=5></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#dfe4db border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=fontDefault cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right width="14%" bgColor=#b3bfaa>หมายเลขประกาศ</TD><TD width="22%" bgColor=#dfe4db>2984444</TD><TD class=fontHeader align=right width="12%" bgColor=#b3bfaa>วิธีการชำระเงิน</TD><TD width="16%" bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right width="15%" bgColor=#b3bfaa>จำนวนคนเข้าชม</TD><TD width="21%" bgColor=#dfe4db>168</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>ประเภท</TD><TD bgColor=#dfe4db>ขาย</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>วิธีการจัดส่ง</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>วันเริ่มประกาศ</TD><TD bgColor=#dfe4db>21 ก.ค. 50</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>สภาพประกาศ</TD><TD bgColor=#dfe4db>สินค้าใหม่</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>เงื่อนไขการจัดส่ง</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>ผู้ที่จ่ายค่าขนส่ง</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>ราคา</TD><TD bgColor=#dfe4db>999 บาท</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>โรงงานผลิต/ยี่ห้อ</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>วันสิ้นสุดประกาศ</TD><TD bgColor=#dfe4db>19 ก.ย. 50</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>เว็บที่เกี่ยวข้อง</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>รุ่น</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>I.P. ของผู้ประกาศ</TD><TD bgColor=#dfe4db>203.113.56.xxx</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 bgColor=#ffffff></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=left width=4 bgColor=#b3bfaa>[​IMG]</TD><TD bgColor=#ffffff height=4></TD><TD vAlign=bottom align=right width=4 bgColor=#b3bfaa>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=bottom align=right width=7 bgColor=#b3bfaa>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom width=7 bgColor=#b3bfaa>[​IMG]</TD><TD vAlign=top bgColor=#b3bfaa>[​IMG]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD bgColor=#ffffff height=4></TD><TD vAlign=top align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=4 bgColor=#ffffff></TD><TD vAlign=top align=middle bgColor=#dfe4db><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#b3bfaa border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD height=4></TD><TD vAlign=top align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=4></TD><TD>[​IMG] ข้อมูลเจ้าของประกาศ</TD><TD width=4></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=left width=4 height=4>[​IMG]</TD><TD height=4></TD><TD vAlign=bottom align=right width=4 height=4>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=5 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff height=5></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE class=fontDefault cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right width="26%" bgColor=#b3bfaa>ชื่อผู้ประกาศ</TD><TD width="74%" bgColor=#dfe4db>เจตสิก </TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right bgColor=#b3bfaa>ที่อยู่</TD><TD bgColor=#dfe4db>โคราช</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right bgColor=#b3bfaa>จังหวัด</TD><TD bgColor=#dfe4db>นครราชสีมา

    </TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right bgColor=#b3bfaa>รหัสไปรษณีย์</TD><TD bgColor=#dfe4db>30000</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right bgColor=#b3bfaa></TD><TD bgColor=#dfe4db></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="42%"><TABLE class=fontDefault cellSpacing=1 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader vAlign=top align=right width="14%" bgColor=#b3bfaa>เบอร์ติดต่อ</TD><TD width="22%" bgColor=#dfe4db>0868765548</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>เบอร์แฟกซ์</TD><TD bgColor=#dfe4db>-</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>อีเมล์</TD><TD bgColor=#dfe4db>cheep_ch@hotmail.com</TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa height=19>QQ</TD><TD bgColor=#dfe4db>- </TD></TR><TR bgColor=#f7f3e1><TD class=fontHeader align=right bgColor=#b3bfaa>เป็นสมาชิกมาแล้ว</TD><TD bgColor=#dfe4db>-

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    **********************************************************

    ผมไปเจอมาแล้วก็งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงว่า รู้ได้ไงว่า เป็นสมเด็จวังหลวง แล้วให้สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเป็นประธานการปลุกเสก แล้วรู้ได้ไงว่า แตกกรุเมื่อปี 2512

    แยกกันอย่างไรระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ,ตรวจสอบอย่างไรว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเป็นประธานการปลุกเสก ,ตรวจสอบอย่างไรว่าแตกกรุเมื่อปี 2512 !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

    (b-ng) (b-ng) (b-ng)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2984444_1.jpg
      2984444_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8 KB
      เปิดดู:
      1,639
    • 2984444_2.jpg
      2984444_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.8 KB
      เปิดดู:
      1,585
    • 2984444_3.jpg
      2984444_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      1,556
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/wnccnm.geo/topics/sil_phakaew.htm

    วัดพระแก้ววังหน้า

    วัดพระแก้ววังหน้า วัดนี้ดูเหมือนจะถูกลืมไปแล้วเพราะไม่ใคร่จะมีใครสนใจ ผู้ที่รู้จัก วัดนี้เห็นจะมีไม่มาก คนทั่วไปคิดว่าวัดที่อยู่ในกรุงเทพฯนั้น เห็นมีแต่วัดพระศรีรัตน ศาสดารามในวังหลวงเท่านั้น ส่วนวังหน้าและวัดในวังหน้าไม่ใคร่จะมีใครสนใจ เพราะ สภาพของวังหน้าเองก็เกือบจะไม่มีร่องรอยของความเป็นวังเหลืออยู่ มีแต่โรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการ
    วัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส มีประวัติความเป็นมาและ มีศิลปกรรม ที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ศิลปกรรมปัจจุบันนี้มีอยู่เพียงพระอุโบสถเท่านั้น ซึ่งมิได้ใช้ ประโยชน์ทางศาสนพิธีแต่อย่างใด ส่วนบริเวณวัดหรือรอบๆโบสถ์ ก็มีแต่ตึกของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ถึงแม้พระอุโบสถจะใหญ่โตสูงเด่นอย่างไร ก็ไม่ใคร่จะโดดเด่นให้เป็น จุดสนใจได้เท่าใดนัก
    ประวัติความเป็นมาของวังหน้าและวัดพระแก้ว
    ก่อนที่จะกล่าวถึงวัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสถานสุทธาวาส ขอย้อนไปถึงวังหน้าเสียก่อน เพื่อเป็น การปูพื้นฐานไปสู่วัดพระแก้ววังหน้า โดยจะตัดทอนเรียบเรียงจากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ตำนานวังหน้า" ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    วังหน้านี้แต่เดิมเรียกกัน อย่างเป็นทางการว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" แต่ชาวบ้านหรือคนทั่วไป มักเรียกกันว่า "วังหน้า" เพราะเป็นวังที่ประทับ ของ พระมหาอุปราชซึ่งเรียกกันว่า "ฝ่ายหน้า" เลยเรียกที่ประทับของพระมหาอุปราชว่า วังฝ่ายหน้าและวังหน้า วังหน้า หรือพระราชวัง บวรสถานมงคล ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เริ่มสร้างขึ้นพร้อมกับพระราชวังหลวง หรือพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๓๒๕ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกเอาที่สองแปลง ของ กรุงเทพฯคือแปลงหนึ่งอยู่ระหว่างวัดโพธิ์กับวัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ)เป็นที่สร้างวังหลวง ส่วนที่อีกแปลงหนึ่งอยู่เหนือวัดสลักขึ้นไป จนถึงปากคลองคูเมืองด้านเหนือ (บริเวณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภุณฑ์สถานแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป และโรงละครแห่งชาติ) เป็นที่สร้างพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อให้เป็น ที่ประทับของพระอนุชาธิราชคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นพระมหา อุปราช พระราชวังหน้านี้เมื่อแรกสร้างก็เป็นเพียงเครื่องไม้มุงหลังคาจาก เพื่อให้ทันพิธี ปราบดาภิเษก ต่อมาภายหลังจึงได้ปลูกสร้างอาคารต่างๆเป็นการถาวร โดยเริ่มจากการ สร้างปราสาทกลางสระ เหมือนอย่างพระที่นั่ง บรรยงก์รัตนาสน์ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เกิดเหตุขบภอ้ายบัณฑิตสองคนเสียก่อนเลยไม่ได้สร้าง แต่ต่อมา ก็ได้สร้างพระราช มณเทียรเป็นที่ประทับ สร้างพระวิมานสามหลังเรียงกันตามแบบอย่างของ กรุงศรีอยุธยา
    &frac34;.ศ.๒๓๓๐ ได้สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์) ขึ้นเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ ฝาผนังเขียนรูปเทพชุมนุม และเรื่องปฐมสมโพธิเป็นพุทธบูชา สถานที่ต่างๆในพระราชวังบวรหรือวังหน้า นอกจาก จะมีพระราชมณเฑียรแล้ว คงมีสิ่งอื่นเช่นเดียวกับวังหลวง คือ โรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุน คลังเป็นต้น
    เพราะแต่เดิมนั้นบริเวณวังหน้ากว้างขวางมาก เฉพาะด้านทิศตะวันออกไปจดถนน ราชดำเนิน ด้านเหนือจดคลองคูเมือง ด้านตะวันตกจดแม่น้ำ เจ้าพระยา ด้านใต้จดวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์กล่าวกันว่าสิ่งก่อสร้างต่างๆในวังหน้าในอดีตทำอย่างปราณีต
    บรรจง เพราะกรมพระราชวังบวรฯตั้งพระราชหฤทัยว่าถ้าได้ครอบครองราชสมบัติ จะประทับอยู่ที่วังหน้าตามแบบพระเจ้าบรมโกศไม่ไปประทับวังหลวง อย่างไรก็ตามสิ่งก่อสร้างที่สร้างในครั้งรัชกาลที่ ๑ หรือ สมัยกรมพระราชวังบวร มหาสุรสิงหนาทนั้น สร้างด้วยไม้จึงหักพังและรื้อถอนสร้างใหม่เสียเป็นส่วนมาก จนไม่ เห็นเค้าโครงในปัจจุบัน นอกจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์เท่านั้น ที่ยังคงฝีมือสมัยรัชกาลที่ ๑ อยู่จนทุกวันนี้
    เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯให้สถาปนา สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบัณฑูรย์น้อยเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็น พระมหา อุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปประทับที่วังหน้า หลังจากวังหน้าว่างอยู่ ๗ ปี นับแต่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาทสวรรคต เมื่อกรมพระราชวัง บวรมหาเสนานุรักษ์เส&acute;&ccedil;จไปประทับวังหน้า ก็มิได้สร้างอะไรเพิ่มเติมมากนัก เพียงแต่ แก้ไขซ่อมแซมของเก่าบางอย่าง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัดพระแก้ววังหน้า ในเวลาต่อมา สิ่งหนึ่งคือที่บริเวณวังหน้าชั้นนอกด้านทิศเหนือตรงที่ตั้ง"วัดบวรสถานสุทธาวาส"หรือ
    วัดพระแก้วนี้ มีวัดเก่าอยู่วัดหนึ่งชื่อวัดหลวงชีแต่คงไม่มีหลวงชีอยู่กุฏิชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดฯให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมดทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย กรมพระราชวังบวร มหาเสนานุรักษ์ดำรงพระยศพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี ก็เสด็จ สวรรคตที่พระที่นั่ง วายุสถานอมเรศร์ ในวังหน้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๐
    ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ วังหน้าว่างมาอีก ๗ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนา กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์เป็นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้ทรงปรับปรุงซ่อมแซม สิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นใหม่หลายอย่าง ที่สำคัญคือทรงซ่อม พระที่นั่งสุทธาสวรรย์แลัวเปลี่ยนนามเรียก "พระที่นั่งพุทไธศวรรย์" มาจนทุกวันนี้
    นอกจากนี้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ทรงสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ เรียกว่า"วัดพระแก้ววังหน้า"ในวังเหมือนกับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระราชวัง หลวง ทรงอุทิศสวนกระต่ายเดิมสร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชา เหตุที่สร้างวัด บวรสถาน สุทธาวาส กล่าวกันไว้หลายอย่างอย่างหนึ่งว่าทรงสร้างแก้บนครั้งเสด็จ ยกกองทัพไป ปราบขบถที่เวียงจันทร์ หรืออีกอย่างหนึ่งเล่าว่าแต่เดิมทรงสร้างยอดปราสาท จนปรุง ตัวไม้แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ มีรับสั่งให้ ไปห้ามว่าใน พระราชวังบวรไม่มีธรรมเนียมจะมีปราสาท
    เป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์น้อยพระทัย จึงโปรดฯให้แก้ไขเป็นหลัง คาจตุรมุขอย่างที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ สิ่งต่างๆ ที่สร้างในวัดพระแก้ววังหน้านี้ สร้างโดย ปราณีตบรรจงหลายอย่างโปรดฯให้เสาะหาพระพุทธรูปที่เป็นของงามของแปลก เครื่อง ศิลาโบราณมาตกแต่ง พระเจดีย์ก็ถ่ายแบบอย่างพระเจดีย์สำคัญๆ เช่น พระธาตุพนม มาสร้างไว้หลายองค์ การสร้างวัดพระแก้ววังหน้ายังไม่ทันเสร็จกรมพระราชวังบวร ศักดิ์พลเสพย์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ พระชนม์มายุได้ ๔๗ พรรษา ทำให้วังหน้าว่างอยู่ถึง ๑๘ ปี
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดฯให้ สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรสรังสรรค์เป็นพระมหาอุปราช แต่มีพระ เกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน มีพระนามในพระสุพรรณบัฏแบบเดิมว่า "พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" พระราชทานนามอย่าง พระเจ้า แผ่นดินว่า "สมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิเรสรังสรรค์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่วังหน้า ซึ่งขณะนั้นกำลัง ปรักหักพัง ชำรุดทรุดโทรมมากเพราะว่างมา ๑๘ ปี ข้าราชการวังหน้าที่ตามเสด็จ แต่แรกเล่ากันว่า พระองค์ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ว่า "เออ...อยู่ดีๆ ให้มาเป็นสมภารวัดร้างๆ"
    ดังนั้นวังหน้าจึงได้รับการทะนุบำรุงและสร้างปราสาทราชมณเฑียร ขึ้นใหม่หลายสิ่ง หลายอย่างในรัชกาลนี้โดยเฉพาะพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถาน
    สุทธาวาส ได้ทะนุบำรุงปฏิสังขรณ์ และมีพระราชดำริจะอัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ โปรดให้ก่อฐานชุกชีขึ้นกลางพระอุโบสถ และเขึยนภาพฝาผนัง เรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ และเรื่องประวัติ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์จนเสร็จ แต่ยังมิทันจะได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐาน พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงคงประดิษฐาน อยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนทุกวันนี้
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ โปรดฯให้กรมหมื่น บวรวิไชยชาญ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นพระ มหาอุปราชวังบวรสถานมงคล และประทับอยู่ที่วังหน้า ๑๗ ปี ก็เสด็จทิวงคต ที่พระที่นั่ง บวรปริรัติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘ ขณะที่กรมพระราชวังวิไชยชาญประทับอยู่ที่วังหน้า เป็นเวลาที่พระราชมณเฑียรและสถานที่ต่างๆยังอยู่ในสภาพดี จึงมิได้สร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมากนัก เมื่อสิ้นกรมพระราชวังวิไชยชาญแล้ววังหน้าก็มิได้เป็นที่ ประทับของพระ มหาอุปราชอีกเลย เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นมกุฏราชกุมารอย่างหน่อพระพุทธเจ้าตามราชประเพณี เดิม ทรงเลิก ตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าตั้งแต่นั้นมา
    ส่วนวังหน้าเมื่อมิได้ ใช้เป็นที่ประทับแล้วได้ทรงใช้เป็นที่ทำประโยชน์ต่างๆ เช่น โรงทหาร ม้ารักษาพระองค์บ้างเป็นพิพิธภุณฑสถานบ้าง ทั้งโปรดฯให้รื้อป้อมออก และ แบ่งที่ พระราชวังบางส่วน เป็น สนามหลวงสืบต่อมาจนทุกวันนี้ สำหรับวัดบวรสถานพุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้านั้นเหลือเพียงพระอุโบสถซึ่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในสมัย ที่กระทรวงยุติธรรมตั้งอยู่ในบริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่เก็บ สำนวนเรื่องราวฟ้องร้องต่างๆ จนกระทั่งกระทรวงนั้นย้ายออกไป
    ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระอุโบสถได้รับความเสียหาย จากระเบิดที่ตก ใน บริเวณใกล้เคียงชำรุดทรุดโทรมลงไปอีก จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ มีการสร้างโรงละคร แห่งชาต&Ocirc;ขึ้น จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าขึ้น ใหม่จนมี สภาพดีดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
    ศิลปกรรมใน วัดพระแก้ววังหน้า
    ศิลปกรรมต่างๆของวัดพระแก้ววังหน้าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนี้มีเพียงพระอุโบสถเท่านั้น เป็นพระอุโบสถ จตุรมุขสูงใหญ่ตั้งสูงตะหง่านอยู่บนฐานซึ่งมีบันไดขึ้นที่งสี่ด้าน บริเวณฐานมีชานล้อมโดยรอบ เสียดาย ที่พระอุโบสถหลังนี้ ถูกตึกสมัยใหม่บังเสียหมด จนไม่อาจชมความงามของ พระอุโบสถได้ ในระยะที่ เหมาะสม ในด้านรูปทรงภายนอกแล้วต้องนับว่าพระอุโบสถหลังนี้มีความงามสง่าแปลกตาไม่น้อย และเป็นศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่สำคัญของวังหน้าที่ทรงสร้างขึ้น
    นอกจากรูปทรงภายนอกแล้วภายในพระอุโบสถยังมีศิลปกรรมสำคัญที่ควรชมคือ พระพุทธรูป ซึ่งเป็น พระประธานของพระอุโบสถตั้งอยู่สุดผนังมุขด้านตะวันตก เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางห้ามสมุทร พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างเพื่อสำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถนี้ แต่ ยังไม่ทันเสร็จก็ประชวรหนักใกล้จะสวรรคต พระองค์ทรงจบ พระหัตถ์ผ้าห่มพระประธาน พระองค์เจ้า ดาราวดีไว้ดำรัสสั่งไว้ว่าต่อไปถ้าท่านผู้ใดเป็นใหญ่ได้ทรงบูรณะวัดนั้น ให้ถวายผ้าผืนนี้ ทูลขอให้ช่วย ทรงพระให้ด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจบผ้าผืนนั้น ทรงพระพุทธรูปถวาย ดังพระ ราชอุทิศ ของกรมพระราชวังมหาศักดิพลเสพย์ ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์นี้ยังคงอยู่ในสภาพดี มีฐาน ชุกชีและบุษบกครอบ บุษบกนั้นคงเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๔ ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่วังหน้า
    ศิลปกรรมที่นอกเหนือไปจาก พระพุทธรูปภายในพระอุโบสถ คือจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นจิตรกรรมเรื่อง ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ประวัติพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างผสมกัน ระหว่างฝีมือช่าง ใน สมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้เรื่องตำนานนิทานไทยโบราณ ประวัติพระคเณศ และ ช้าง อุษฏทิศ ภาพจากวรรณคดี เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ นารายณ์สิบปาง ตลอดจนภาพเทพเจ้า และ อมนุษย์ของอินเดีย ทั้งที่ปรากฏในมหาภารตคัมภีร์ และคัมภีร์ปุราณะต่างๆ นอกจากนี้ก็มีพระราชพิธี โบราณของไทย เช่น พระราชพิธีโสกันต์ และภาพการละเล่นต่างๆของไทย เช่น กระตั้วแทงควาย แทงวิไสย ไต่ลวด ญวนหก เป็นต้น
    อย่างไรก็ตามภาพที่ปรากฏบนฝาผนังเป็นเป็นเรื่องราวต่างๆจำนวนมากนี้ คงเป็น ฝีมือช่างหลายคน เพราะผนังพระอุโบสถนี้กว้างใหญ่มาก มีพื้นที่สำหรับเขียนภาพได้ มากมาย จึงปรากฏเรื่องราวต่างๆในลักษณะหลายเรื่องหลายรสหลายฝีมือช่าง มีทั้ง ฝีมือดีและด้อยคละเคล้ากันดังที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์นิพนธ์ไว้ว่า เป็นภาพ จิตรกรรมฝาฝนังงามเยี่ยมแห่งหนึ่งเท่าที่เหลือในปัจจุบัน เจ้าฟ้า อิศราพงศ์ เป็นแม่กอง จัดช่างฝีมือเข้าเขียน มีฝีมือพระอาจารย์แดงวัดหงส์รัตนารามเขียนภาพชนช้าง ไว้ห้องหนึ่ง อีกห้องหนึ่งเป็นภาพฝีมือนายมั่นคือการทิ้งทานลูกกัลปพฤกษ์ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่าวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมา ยาวนาน เป็นวัดในพระราชวังหน้าของพระมหาอุปราชมาถึงห้ารัชกาล แม้ปัจจุบันจะ เหลือเพียงพระอุโบสถเท่านั้นก็ตาม แต่คุณค่าของศิลปกรรมนับได้ว่า มีค่าควรแก่การ ศึกษาหาความรู้อย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวของประวัติศาสตร์และศิลปะ จึงควรหาโอกาสไปชมวัดนี้ เพราะจะได้สัมผัสกับหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ได้ลิ้มรสสุนทรียภาพจากศิลปกรรมด้วยทั้งยังเป็นการฟื้นความทรงจำถึง&Ccedil;ังหน้า ที่สำคัญ ข&Iacute;งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ่านไว้เป็นความรู้ได้บางส่วนครับ

    ที่มา http://www.krusiam.com/shop/yod-bell/product/detail.asp?ProductID=P0076846

    ...พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และคณะ (พิธีหลวง) สร้างโดย กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชองค์สุท้ายแห่งราชวงค์จักรีร่วมกับ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) หรือเจ้าคุณกรมท่า เนื่องในวรโรกาสเฉลิมครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5) ปี พ.ศ. 2411...

    ...พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า) สร้างและปลุกเสกขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2412 ช่วงเวลาที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ จะสิ้นชีพตักษัย 3 ปี แกะแม่แบบโดยช่างสิบหมู่วังหน้าและเสาะแสวงหามวลสารจากต่างประเทศ โดยท่านเจ้าคุณกรมท่า การวางแผนและควบคุมการสร้างพระพิมพ์ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส มีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สถานที่ที่กระทำพุทธาภิเษกวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ภายในบริเวณพระราชวังหน้า (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)...

    ... กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) อุปราชองค์สุดท้ายแห่งราชวงค์จักรี จึงรับสั่งให้พระยานิกรบดินทร์ หลวงวิจารณ์เจียรนัย และหลวงสิทธิประสงค์ เป็นต้น ผู้ควบคุมช่างสิบหมู่ (ช่างหลวง) ประดิษฐ์แม่พิมพ์เพื่อสร้างพระพิมพ์สกุลสมเด็จขึ้นชุดหนึ่ง แปลกทั้งสีสันวรรณะและทรงพิมพ์ เนื่องจากได้ผงดินและตัวยาจากเมืองจีนหลายชนิด อาทิเช่น ดินกังไสสีขาวจากมณฑลอันฮุย น้ำยาเคลือบ ออเขียว ชาดจูชา ชาดจอแช ชาดหรดาล ชาดหรคุณ ฯลฯ พระพิมพ์ส่วนใหญ่จะโรยทองคำแท้หรืออัญมณีเป็นเอกลักษณ์แห่งโภคทรัพย์ ชาวบ้านเรียกพระสมเด็จชนิดนี้ว่า สมเด็จวังหน้าบ้าง สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าบ้าง สมเด็จเบญจรงค์บ้าง สมเด็จเจ้าสัวบ้าง สมเด็จเขียวไข่กาบ้าง ตามถนัด ส่วนที่บรรจุที่วัดระฆังและในวัดพระแก้ววังหน้า วังหลวง และวังหลัง มีการโรยทองคำแท้ กล่าวขนานกันว่าห้างทองตั้งโต๊ะกังเยาวราช และร้านทองบ้านหม้อจัดถวาย (ผงตะไบทองคำ)...

    ...พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว (วังหน้า)นั้น สร้างและปลุกเสกจัดขึ้นเป็นพระราชพิธีหลวง ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส ช่วง พ.ศ.2411-2414 เพื่อฑูลถวายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชวังหน้าองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 5 และแจกแก่เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เจ้านายชั้นสูง และพ่อค้าวานิชระดับเจ้าสัว อานุภาพพุทธคุณนั้นสูงกว่าสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมเสียด้วยซ้ำไป พิธีมหาพุทธาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีหลวง มีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และบรรดาพระอาจารย์อาคมขลังต่างๆ สมัยรัชกาลที่ 5 อีกมากมายหลายองค์และมีเทพยดาประจำองค์พระมหากษัตริย์เจ้า เช่น พระสยามเทวาธราช พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ และพระนารายณ์อวตารฯ ร่วมลงประทับฤทธิ์ด้วย...

    ...พระสมเด็จเบญจรงค์นี้มีมากมายหลายสิบพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์วัดเกศไชโย พิมพ์จอมจักรพรรดิ พิมพ์จอมใจจักรพรรดิ พิมพ์พระพรหมรังสี พิมพ์นางพญา พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์พระรอด พิมพ์พระผงสุพรรณ พิมพ์พระแก้วมรกต พิมพ์ลีลา พิมพ์นาคปรก พิมพ์สมาธิเรือนแก้วซุ้มมรัศมี พิมพ์เม็ดกระดุม พิมพ์อรหัง พิมพ์พระสังกัจจาย พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์พระปิดตา และพิมพ์พิเศษอื่นๆอีกมากมาย อาจถึง 100 พิมพ์เลยทีเดียว มีทั้งเนื้อกังไสผงดินขาวจากมณฑลอันฮุย แตกลายงา และไม่แตกลายงา โรยทองและไม่โรยทอง ที่ลงรักโรยทองและรองชาดก็มีสีเบญจรงค์ สีเขียวก้านมะลิสด สีเขียวไข่กา สีแดง (ชาดจูซา) สีดินสอเหลืองผสมชาดหรดาลสีดำ (ผงพระคัมภีร์ใบลานเศาคลุกรัก) สีน้ำทะเลแลไกล สีประจำวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ และสีดำ (ราหู) เป็นต้น...

    ...พระสมเด็จ วัดพระแก้วองค์นี้ เป็นพิมพ์พระประธาน(พิมพ์นิยม) วรรณะออกสีนำตาลอ่อนออกชมพู สภาพสวยสมบูรณ์ เนื้อแกร่งจัดมากๆ องค์นี้พิเศษด้านหน้าโรยตะไบทองคำและฝังชิ้นผงพระสมเด็จ 3ชิ้น ด้านหลังเป็นรูปของรัชกาลที่ 5 หายากครับ ขนาดขององค์พระเท่ากับพิมพ์พระสมเด็จทั่วไป มีแค่องค์เดียวครับ พุทธคุณเรื่องทางเมตตา โชคลาภ และทางแคล้วคลาดสูงมากๆครับ เคยมีคนไปให้ทดสอบจับพลังดู เรื่องพุธคุณสูงส่งมากๆ ทุกด้านครับ จนกล่าวได้ว่าพระสมเด็จ กรุวัดพระแก้วนี้ มีมหาพุทธานุภาพสูงส่งเป็นที่ยอดเยี่ยมที่สุดในแผ่นดินไทยครับ...

    ... ประวัติการสร้างพระสมเด็จ วังหน้ากรุวัดพระแก้วลองไปหาอ่านหนังสือ...
    1. "บรรณานุกรม ทีเด็ด...พระสมเด็จ ฉบับปฏิรูป ของอาจารย์พน นิลผึ้ง" ดูสิครับรับรองไม่ผิดหวัง เนื้อหาดีมากๆ จะได้รับความรู้เ เกี่ยวกับเรื่องพระสมเด็จอีกเยอะครับ

    2. "หนังสือพระสมเด็จ กรุวัดพระแก้ว(วังหน้า) " เล่มนี้มีประวัติการสร้างโดยละเอียด และมีรูปพระสมเด็จ กรุวัดพระแก้ว ให้ชมกัน อาจจะไม่มีลงทุกพิมพ์แต่น่าศึกษาหาอ่านมากครับ

    3."หนังสือสมเด็จ พระแก้วมรกต" ของคุรเทพ สุนทรศารทูล มีรูปพิมพ์แปลกๆ หลายพิมพ์ครับ

    4."หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ข้าพเจ้ารู้จัก" ตอนนี้มีอยู่ด้วยกัน 6 เล่มครับ น่าศึกษาหาอ่านมากๆครับ สำหรับหนังสือชุดนี้ ภาพสีทั้งชุด และพิมพ์พิเศษค่อนข้างมากครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://72.14.235.104/search?q=cache...p?id=927825+วังหน้า&hl=th&ct=clnk&cd=67&gl=th

    Name : God_girl < My.iD > [ IP : 203.113.60.75 ]
    <NOBR>Email / Msn: [​IMG]</NOBR>
    <NOBR>วันที่: 23 สิงหาคม 2550 / 18:30</NOBR>
    ผู้เขียน

    ตำแหน่งรัชทายาทในประวัติศาสตร์ไทย

    ประการแรก พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้เกิดความกระจ่างชัดในการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งไม่แน่นอน ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่า จริงอยู่ที่ตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งมีอำนาจและความสำคัญรองจากพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไปว่าพระองค์จะได้ครองราชสมบัติต่อ ทำให้เกิดปัญหาความบาดหมางและการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระมหาอุปราชกับพระราชโอรส หรือพระบรมวงศ์ตามมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดตำแหน่งรัชทายาท ผู้มีสิทธิสืบสันตติวงศ์ให้เป็นแบบแผนยึดถือปฏิบัติ ดังปรากฏความตอนหนึ่งในประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารว่า

     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.thaifolk.com/Doc/watborwornsathan.htm

    วัดบวรสถานสุทธาวาส
    (วัดในวัง สมัยรัตนโกสินทร์)
    [​IMG]

    เดิม ณ สถานที่นี้ ครั้งที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (กรมพระราชวังบวรในสมัยรัชกาลที่ 1) ทรงสถาปนา บริเวณนี้เป็นสวนที่ประพาส มีตำหนักสร้างไว้ในสวนนั้นหลังหนึ่ง ต่อมาทรงพระราชอุทิศให้เป็นบริเวณที่หลวงชีจำศีลภาวนา เหตุเพราะมารดาของนักองค์อี ธิดาสมเด็จพระอุไทยราชาพระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นสนมเอก ชื่อนักนางแม้น บวชเป็นรูปชี เรียกกันว่า นักชี เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ จึงโปรดให้มาอยู่ในพระบวรราชวังฯ กับพวกหลวงชีที่เป็นบริษัท ที่ตรงนั้นจึงเลยเรียกกันว่า
     
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    อานุภาพของไตรสิกขา
    ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา นี้แล พีงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดได้

    1 ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ด้วย ศีล ชนะความยินดี ยินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็๋นกิเลสอย่างกลางที่เกิดขึ้นในใจได้ด้วย สมาธิ และชนะความเข้าใจผิด รู้ผิด เห็นผิดจากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด ชนะได้ด้วย ปัญญา

    2 ผู้ใดศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้โดยพร้อมมูลบริบูรณ์สมบูรณ์ด้วย ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ ตั้งใจศึกษาและปฎิบัติตามไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ทุกเมื่อเทอญ

    โดย ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต



    http://www.geocities.com/samadhinet/tri.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2007
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.geocities.com/wnccnm.geo/topics/sil_mahatas.htm

    วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

    วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เป็นวัดที่มีความสำคัญ มีความสัมพันธ์กับ การสร้างกรุง รัตนโกสินทร์ และพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีหลายรัชกาล จึงทำให้วัดนี้มีประวัติ ความ เป็นมาที่น่าสนใจ ในส่วนของศิลปกรรมนั้นแม้จะมีเหลืออยู่ไม่มากนัก แต่ก็เป็นศิลปกรรม เก่า แก่ที่น่าสนใจไม่น้อย
    ประวัติความเป็นมาของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เป็นวัดโบราณ ที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดสลัก" กล่าวกันว่า เมื่อครั้งกรมพระราชวัง บวรสถานมงคลยังเป็นนายสุจินดา ได้ลงเรือโกลนหนีพม่ามาจาก กรุงศรีอยุธยา ได้หลบพม่า อยู่ที่วัดนี้ ทรงอธิษฐานว่าหากหนีรอดไปได้และได้เป็นใหญ่ในภายหน้าจะ บูรณะปฏิสังขรณ์วัด นี้ให้ใหญ่โต ซึ่งก็เป็นตามคำอธิษฐาน เพราะเมื่อกรมพระราชวังบวรฯ ทรงดำรงตำแหน่งพระ มหาอุปราช ในรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดสลัก โดยให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และพระมณฑปขึ้นใหม่ เฉพาะพระมณฑปนั้นกล่าวกันว่า เดิมทรงดำริจะสร้าง ปราสาทขึ้น ในวังหน้า แต่เกิดเหตุอาถรรพณ์ คือมีกบฏ ๒ คนแอบเข้าไปทำร้ายพระองค์ แล้ว เกิดฆ่าฟันกันตาย ตรงที่จะสร้างปราสาท กรมพระราชวังบวรเห็นว่า วังจันทรเกษมในกรุง ศรีอยุธยา ก็ไม่มีปราสาทอาจจะเกินวาสนา จึงเกิดเหตุมิดีขึ้น จึงโปรดให้เอาเครื่อง ปราสาท ไปสร้างเป็นพระมณฑปในวัดสลัก ภายในพระมณฑปสร้างพระเจดีย์องค์เล็ก บรรจุพระบรม สารีริกธาตุ แล้วให้ก่อพระระเบียงรอบ และสร้าง กุฏิตึกขึ้น ๓ หลัง พระราชทาน พระวันรัต ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสขณะนั้น แล้วสร้างกุฏิเครื่องไม้ฝากระดาน เป็นเสนาสนะ สำหรับ พระสงฆ์ ทั้งอาราม เมื่อทรงปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดนิพพานาราม"
    วัดนิพานาราม หรือ วัดมหาธาตุฯ นี้เป็นวัดที่อยู่ระหว่างพระราชวังหลวงและวังหน้า จึงเป็นวัด ที่ พระพุทธยอดฟ้าฯ และ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทเสด็จไปประกอบพระราชพิธีต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ โปรดฯให้มีการทำสังคยนาพระไตรปิฏก ก็กระทำที่วัดนี้ ครั้นเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว จึง พระราชทานนามใหม่ให้ชื่อว่า " วัดพระศรีสรรเพชญดาราม" อันเป็นชื่อที่สองของวัดสลัก ในช่วง รัชกาลที่ ๑ ต่อมาเมื่อมีการแปล พระคัมภีร์ปริยัติธรรม ในวัดนี้เสร็จแล้ว จึงพระราชทาน นาม วัดนี้ใหม่ว่า "วัดมหาธาตุราชวรวิหารพระอารามหลวง" วัดมหาธาตุเป็นวัดสำคัญยิ่ง วัดหนึ่งใน สมัยรัชกาลที่ ๑ เพราะเป็นวัดที่กรมพระราชวังบวรฯโปรด เกล้า ให้สร้างขึ้น ทรงใช้เป็นวัด ส่วน พระองค์ที่ทรงประกอบพระราชพิธีหลายสิ่งหลายอย่างที่วัดนี้และเป็นวัดที่ผนวช และประทับ อยู่ ๗ วัน เชื่อว่า วัดมหาธาตุฯคงเป็นวัดที่เจ้านาย และพระราชวงศ์ ทั้ง วังหน้า และวังหลัง ทรง ประกอบพิธีต่างๆอยู่เสมอทุกรัชกาล ดังจะเห็นได้จากที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ ทรง บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้อยู่เสมอ เช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ ปฏิสังขรณ์วัดนี้ และสร้างกุฏิเป็นตึกอย่างถาวร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ ด้วยพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ จึงได้พระราชทานชื่อวัดเป็น " วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์"
    ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าวัดมหาธาตุฯเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์
    ของไทย หลายพระองค์โดยเฉพาะในสมัยต้นๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นวัดนี้ จึงเป็นวัด ที่ยังมีศิลปกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเหลืออยู่ให้ศึกษาได้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ศิลปะโบราณวัตถุที่สร้างขึ้น ในรัชกาลต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ ๑ หรือ รัชกาลที่ ๓ ก็ตาม ในปัจจุบันได้ถูกบูรณะเปลี่ยนรูป เปลี่ยนร่างไปเสียมาก แต่ก็พอจะมีเหลือให้ชมกันอยู่บ้าง แม้จะไม่มากก็ตาม
    ศิลปกรรมของวัดมหาธาตุฯ
    ศิลปกรรมของวัดมหาธาตุฯที่ควรชมมีดังต่อไปนี้คือ พระอุโบสถและพระวิหาร เดิมเป็น ศิลปกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ แต่ตัวพระอุโบสถได้รับการ บูรณะเสริมผนัง และ เสา ให้สูงขึ้นกว่าเดิม พระวิหารได้ต่อมุขให้ยาวเท่าพระอุโบสถและสร้าง ศาลาราย รอบนอกพระ ระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระอุโบสถและพระวิหารนี้มีศิลปกรรมสมัย รัชกาลที่ ๑ ที่ควร แก่ การศึกษาคือหน้าบันซึ่งเป็นฝีมือช่างวังหน้าเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ลงรัก ประดับกระจก ลักษณะหน้าบันเป็นท้องนาคเส้นตรงไม่มีนาคสะดุ้งเป็นแบบที่เรียกว่านาคลำยอง นอกจากนี้ พระอุโบสถยังมี เสมาแบบแปลกตาคือ ติดไว้ที่มุมพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถ มีพระ ประธานเป็นฝีมือช่าง สมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนภายในวิหารมีพระพุทธรูป ตู้พระไตรปิฏก ที่มีค่า ควรชมหลายตู้
    พระอุโบสถและพระวิหาร ของวัดมหาธาตุฯ ตั้งขนานกันหันด้านสกัดไปทางทิศตะวันตก หรือ ทางแม่น้ำ เจ้าพระยา ส่วนทางทิศตะวันออกมีศิลปสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ที่มีมาครั้งรัชกาลที่ ๑ คือ พระมณฑป พระมณฑป หลังนี้สร้างมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ โดยกรมพระราชวังบวร สถานมงคล โปรดให้เอาเครื่อง ปราสาทมาสร้างขึ้นดังกล่าวแล้ว แต่พระมณฑปเดิมนั้น ได้ถูก ไฟไหม้เสียเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ครั้น ณ วันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ปีระกา ตรีศก จุลศักราช ๑๑๖๓ เวลายามเศษ เกิดเพลิงไหม้ มณฑปวัด พระศรีสรรเพชญ์ด้วยพระสงฆ์ สามเณรศิษย์วัดจุดดอกไม้เพลิงเล่น จะเป็นกรวดหรือนกบิน เข้าไปติดรังนกพิราบเป็นเชื้อขึ้น ไฟไหม้พระมณฑปจนสิ้นเหลือแต่ผนัง พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จไปช่วย ดับเพลิงแต่สมเด็จพระอนุชาธิราชทรงพิโรธมาก ให้ชำระเอาความตัวผู้จัดดอกไม้ ได้สามเณร องค์หนึ่ง เชื่อว่าเป็นเจ้าของดอกไม้และจุดด้วย รับสั่งให้สึกออกจากสามเณร จะให้เอาไป ประหารชีวิตเสียแต่ในเวลาค่ำ วันนั้นสมเด็จพระสังฆราชถวายพระพรวิงวอนขอชีวิตไว้ ก็โปรด ยกโทษพระราชทานให้ ภายหลังเติบโตขึ้นอุปสมบทแล้ว ได้เป็นพระครูอยู่วัดเมือง สมุทรปราการและดอกไม้ก็ไม่ทิ้ง ทำกรวด ตะไล ไอ้ตื้อ ดีนัก พระมณฑปนั้น ก็โปรดให้ทำ เป็นหลังคา จตุรมุข มิได้ทำเครื่องยอดตามเดิม " พระมณฑปนี้ภายในมีศิลปกรรมที่มีค่ายิ่งคือพระเจดีย์พระธาตุปิดทองซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัย
    รัชกาล ที่ ๑ ซึ่งเป็นพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รูปทรงสวยงามมาก พระอุโบสถ พระวิหารและพระมณฑป ดังกล่าว มีพระระเบียงล้อมรอบศิลปกรรมทั้งสามไว้ ไม่ให้ปะปน หรือนำสิ่ง ก่อสร้างอื่นๆ เข้าไปสร้างปะปนได้
    นอกจากศิลปกรรมสำคัญดังกล่าวแล้วบริเวณสังฆวาส ของวัดมหาธาตุฯมีกุฏิสงฆ์ ก่อด้วย ปูนรูปทรงเป็นแบบกุฏิเก่าๆ ที่น่าดูอยู่หลายหลัง แต่ส่วนมากมักจะถูกดัดแปลง ต่อเติมเสียจน เสียรูปทรง และ ลักษณะดั้งเดิม
    ย่างไรก็ตามวัดมหาธาตุฯนับว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมี ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวังหลวงและวังหน้า ทั้งยัง มีศิลปกรรม เก่าแก่ เหลืออยู่ให้ศึกษาหาความรู้ได้หลายสิ่งหลายอย่างดังกล่าวแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...