อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ไม่มีใครตรวจกันได้หรอกครับนอกจากเอาคำที่ท่านแสดงมาตรวจสอบเทียบเคียงว่าตรงต่อพุทธวจนหรือเปล่า ถ้าตรงก็ใช้ได้ ถ้าไม่ตรงก็เลิกกัน
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วพระวจนะถ่ายทอดกันมาได้อย่างไร...
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมไม่ได้ขัดแย้งอะไรท่านนะครับ ผมแนะนำอย่างนี้นะครับอันไหนถ้าเราตรวจสอบแล้ว(คำเทียบเคียงก็ถือว่าใช้ได้นะ) แต่ถ้าไม่มีไม่ตรงในคำของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ ท่านไม่ต้องไปสนใจ จบป่าว
     
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แน่ใจว่าเข้าใจพระวจนะได้เอง??
    ภิกษุผู้รู้จักทำ จึงควรทำอย่างไร เข้าหาผู้รู้ เข้าหาครู
    ให้ท่านอธิบายในสิ่งที่ลึกให้ตื้น ให้ที่สงสัยได้เข้าใจ
    หรือไม่ก็ปฏิบัติให้ถึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  5. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ผมไม่เข้าใจบาลีเลย ยิ้ม
     
  6. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ ป.ปุณฑ์ เดี๋ยวก็เจอนิวยูเทิร์น
     
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เอ้ยยยส์..ไอ้นี่มาขัดจังหวะ..ข้ากำลังดู..เป็ดมันดิ้น..หนีเขียงอยู่ อิอิ:boo::cool:
     
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    นั่นล่ะ ประเด็น
    ไม่ได้ฟัง จากพระโอษฐ์ด้วย
    แล้วปฏิบัติถึงยังก็ไม่รู้..

    จะไปตรวจสอบครูบาอาจารย์ท่านใดหรือ??
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วันนี้ดีใจ ได้คำว่า ... พาหิรกา สาวกภาสิตา ...
    เดานะ.. ว่า ภาษีบาลี จะคล้ายภาษาจีน ภาษาอังกฤษ มีคำขยายข้างหน้าบ้าง หรือเป็นสำนวนน้อยกินใจความมาก
    ส่วนภาษาไทย ส่วนใหญ่ขยายข้างหลัง ต้องขยายมาก กว่าจะได้ความของคำ..
    การแปล อาจจะลำบากทีเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  10. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    [​IMG]
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    จะไปตรวจทำไมครับ มาเรียนคำพุทธวจนดีกว่า
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พาหิรกา เกี่ยวอะไรกับสาวกภาษิตครับ งง
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เผอิญชอบเรียนกะครู..คำสอนของครูในเน็ต ก็มีมากจ๊ะ
    ขอศึกษากับผู้รู้ดีกว่า...เช่น อรรถกถา ฯลฯ

    ไม่ทราบบาลีเหมือนกัน ต้องค้นหาอรรถกถาเอา..
    ให้ไปดูหน้า 23 เม้นท์ 458
    และเท่าที่อ่านหลายท่านยกบทบาลีอื่นๆ มา (อธิบายคำแปล)
    จะชี้แสดงว่า บาลีจะมีคำขยายอยู่ข้างหน้า หรือกินความหมายของคำหน้าไว้ในคำหลังด้วย

    บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
    บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรก-ศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ...บริษัทไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร

    คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก (๑) เป็นสาวกภาษิต (๒) พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และ ไม่ดื้อด้าน”

    (๑)อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕)
    (๒)เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลักทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธสาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก. อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)
    องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙๑-๙๒

    ........................................

    “กตมา จ ภิกขเว ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิตวินีต า อิธ ภิกฺขเว ยสฺสํ ปริสายํ ภิกฺขู เย เต สุตฺตนฺตา กวิกตา กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาษิตา เตสุ ภญฺยมาเนสุ น สุสฺสูสนฺติ น โสตํ โอทหนฺติ น อญฺญาจิตตํ อุปฏฺฐาเปนฺติ น จ เต ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติ เย ปน เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญปฏิสํยุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสูสนฺติ โสติ โอทหนฺติ อญฺญาจิตตํ อุปฏฺฐาเปนฺติ เต จ ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติ เต ตํ ธมฺมํ ปริยาปุณิตฺวา อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ปฏิวิวรนฺติ อิทํ กถมิมสฺส กวตฺโถติ เต อวิวฏญฺเจว วิวรนฺติ อนฺตานีกตญฺจ อุตฺตานีกนฺ ติ อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฐานิเยสุ ธมฺเมสุ กงฺขํ ปฏิวิโนเทนฺติ อยํ วิจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิตวินีตา ฯ”
    องฺ.ทุก. ๒๐/๔๘/๙๒-๙๓

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีลไม่อบรมจิต
    ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ
    ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม
    เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิต
    เพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้
    ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต
    เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับจักตั้งจิตเพื่อรู้
    จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมี
    เพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
    อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลาย
    พึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

    เป็นพหิรากถา= เป็นคำนอกศาสนา
    เป็นสาวกภาษิต= เป็นคำสาวก มิใช่สาวกภาสิตาแปลว่าพวกพาหิรา คนล่ะเรื่องนะครับ
    และสาวกภาสิตาไม่มีในบาลีสยามรัฐนะครับ เอามาจากไหนครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เป็นบาลี ด้วยเหรอ..
    คำว่า พหิรกา สาวกภาสิตา น่าจะมีในหลายพระสูตร

    สันสกฤต จะใช้ ตัว ส เป็น ษ ศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่จริง.. เขารู้กันมานานแล้ว... เป็นเพราะเราไม่ได้ศึกษานั่นเอง

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน
    คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑
    บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ
    เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต
    ไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่
    ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่า
    นั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้
    รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวก
    ได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้น
    เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้
    อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่
    ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการ
    สอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อ
    ด้านเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้
    เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวก-
    *ภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง
    อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่น
    กล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุต
    ด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
    ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุ
    เหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้
    อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำ
    อรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถาม
    แนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อ
    ด้าน เป็นเลิศ ฯ


    อรรถกถาสูตรที่ ๖
    ในสูตรที่ ๖ [ข้อ ๒๙๒] มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก.
    บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม.
    บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี เช่นจุลลเวทัลลสูตร.
    บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ เช่นมหาเวทัลลสูตร.
    บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ.
    บทว่า สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗ เท่านั้น เช่นอสังขตสังยุต.
    บทว่า น อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปนฺติ ได้แก่ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือหลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง.
    บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณฺตพฺพํ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียนด้วย.
    บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง.
    บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง.
    บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร.
    บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน.
    บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
    บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.

    บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท.
    บทว่า น เจว อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือเบื้องต้นเบื้องปลายกันและกัน.
    ...
    ...
    จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=287
     
  18. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    คุยกันมานานตกลงสรุปอย่างไรครับเกี่ยวกับที่ว่าพระองค์ใหฟังแต่คำตถาคตครับ ไม่ให้แต่งใหม่ เพิ่มเติม เข้าใจว่ายังไงครับ
     
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เข้าใจว่า
    ใครอ้างพระวจนะ ว่าพระองค์ให้ฟังแต่คำตถาคต ไม่ให้แต่งใหม่
    ให้ช่วยยกพระวจน มาเทียบกับคำที่อ้างหน่อย..

    เพราะตรงนี้ก็ชัดเจนแล้ว..
    บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.
    บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้.

    มหาปเทสสี่ ก็ชัดแล้ว
    ว่าใครอ้างนั่นนี่ว่าเป็นพระวจนะ ให้เทียบลงกับพระสูตรและพระวินัยดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...