ตำนานรักในรั้ววัง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ทิพย์มาลา, 19 เมษายน 2014.

  1. ป้าสวย

    ป้าสวย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +162
    ดูแล้วน้ำตาจะไหล ค่ะ
    พระมหากษัตริย์ของไทย และเชื้อพระวงศ์ทุกๆ พระองค์ของไทยเรานี้ล้วนแล้วแต่เสียสละเพื่อพสกนิกรชาวไทยเรามาอย่างมากมายและยาวนาน หลายยุคหลายบสมัยเหลือเกิน ทุกข์ของท่านมากล้นเกินพรรณา แต่ก็ต้องเข้มแข็ง เพื่อทรงบริหารบ้านเมือง เพื่อให้พสกนิกรของท่านอย่างเราๆ ได้อยู่สุขสบาย เป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างมากล้นเหลือคณา

    ขออนุโมทนาบุญกับคุณทิพย์มาลา อีกรอบนะค่ะ
    ขอสมัครเป็นแฟนคลับกระทู้นี้ แล้วจองปูเสื่อรออ่านค่ะ
    (อยากอ่านเรื่องของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี อีกพระองค์ด้วยนะค่ะ) (f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2014
  2. pegaojung

    pegaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,720
    ค่าพลัง:
    +9,448
    ยกมือสองแขนสนับสนุนเห็นด้วยกับป้าสวยค่า^^
    pig_ballet

    รออ่านนะคะ ^^

    ไม่คิดหาเหตุผล ว่าทำไมเราถึงชอบ แค่รู้ว่าชอบ

    ลึกๆแล้วเห็นทุกข์เป็นบทเรียน
     
  3. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ขอขอบคุณทั้งสองท่านค่ะ เดี๋ยวไปหาข้อมูลมาให้อ่านนะคะ
     
  4. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    “รัก”…หนึ่งเดียวของ รัชกาลที่ ๗

    [​IMG]


    พันเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมเหสีพระองค์แรกตามแบบยุโรป และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

    แต่เดิมพระมหากษัตริย์ไทยจะมีพระมเหสี เจ้าจอม หรือพระสนมเอกจำนวนมาก นับเนื่องจากกษัตริย์สมัยสุโขทัยลงมาจวบจนกระทั่ง รัชกาลที่ 6 แต่เมื่อถึง รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านรัก ผู้หญิงคนเดียวในชีวิต กุลสตรีสาวสวยที่โชคดีนั่นคือ สมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี

    ในอดีตกล่าวกันว่าพระองค์เป็นสตรีชาวไทยที่ทรงพระสิริโฉมสามารถเลือกฉลองพระองค์ยุโรปมาสวมใส่ได้อย่างเหมาะสมทั้งยังมีพระจริยวัตรนุ่มนวล พระพักตร์แจ่มใส แย้มพระสรวลอยู่เนืองนิตย์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ประสบกับโลกธรรมและความสูญเสียอันใหญ่ยิ่งมาแล้ว

    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447 พระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ส่วนพระมารดาคือ หม่อมเจ้าอาภาพรรณี สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม คัคณางค์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังหม่อมเจ้าอาภาพรรณีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี

    [​IMG]

    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระองค์มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ ชาววังเรียกขานพระนามพระองค์ว่า ท่านหญิงนา

    เมื่อทรงเจริญพระชันษาได้ 2 ปี พระบิดาได้นำเข้าไปถวายตัวแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ตามราชประเพณีของเจ้านายสมัยก่อนที่ถวายตัวเข้าไปอยู่ในวังตั้งแต่มีพระ ชันษายังน้อย ซึ่งในระยะนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต ในเวลานี้หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีกำลังทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นอยู่

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีมีชันษาได้ 6 ปี ได้ทรงย้ายสถานที่พักจากพระราชวังดุสิต ไปพระบรมมหาราชวังตามสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถไปด้วย และได้เสด็จเข้าทรงศึกษาในโรงเรียนราชินีพร้อม หม่อมเจ้าพระองค์อื่น ๆ หลังจากเสร็จการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถได้เสด็จย้ายจากพระบรมมหาราชวังไปสู่พระราชวังพญาไท ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นใหม่และได้ประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้เป็นการถาวรจนตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ซึ่งหม่อมเจ้ารำไพพรรณีได้ตามเสด็จมาด้วยโดยประทับอยู่บนพระตำหนักฝ่ายในติดกับห้องเสวย

    เมื่อหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีมีชันษาได้ 8 ปีเศษ และได้ผ่านพระราชพิธีเกศากันต์ (โกนจุก) แล้ว ก็ได้ทรงรู้จักกับ ร้อยโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ซึ่งได้เสด็จนิวัติกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากทรงได้สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศอังกฤษแล้ว สาเหตุก็อันเนื่องมาจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไทกับพระชนนีเป็นครั้งคราว และหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีจะเป็นผู้ที่สนิทกันมากที่สุดด้วย

    [​IMG]

    เมื่อปี พ.ศ. 2460 หลังจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้ทรงลาสิกขาจากการผนวช ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ได้กราบบังคมทูลพระกรุณา และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะเสกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีอภิเษกสมรสพระราชทานขึ้น ณ วังศุโขทัย ถนนสามเสน และพระราชพิธีอภิเษกสมรสที่ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน การอภิเษกสมรสในครั้งนี้ถือเป็นพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งแรก หลังจากการตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ รวมทั้งยังเป็นการแต่งงานแบบตะวันตกอย่างแท้จริง กล่าวคือมีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วย

    [​IMG]

    ส่วน วังศุโขทัย นั้น ได้สร้างขึ้นก่อนที่ทั้ง 2 พระองค์จะทรงเสกสมรสกัน โดยเป็นเรือนหอที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานสร้างให้บริเวณคลองสามเสน และพระราชทานนาม "วังศุโขไทย" ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี ขึ้นเป็น หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา

    หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พระนามเป็น หม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา

    ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การนี้พระองค์ได้สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี พระวรราชชายา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งนับเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

    [​IMG]

    ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประทับอยู่ที่ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไปทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศทางทวีปยุโรป และได้ทรงรับการผ่าตัดและรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ

    ถึงแม้จะทรงอยู่ที่ยุโรป แต่ก็ยังมีการขัดแย้งเจรจาเกี่ยวกับการเมืองกับทางกรุงเทพมหานครสืบเนื่อง กันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุด ก็มีการขัดแย้งกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาล เช่นในเรื่องที่รัฐบาลได้แต่งตั้งพรรคพวกเข้าเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรประเภทที่สองและรัฐบาลไม่ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ ไม่ตรงกับพระราชปณิธานอย่างแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแสดงความไม่เห็นพ้องกับคณะผู้บริหาร ประเทศด้วยการตัดสินพระราชหฤทัยทรงสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่ยังประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีพระราชดำรัสถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าเห็นพ้องต้องกันกับพระราชสวามีในการตัดสินพระราชหฤทัยสละราชย์

    เมื่อถึงเวลาที่พระองค์ต้องตัดสินพระราชหฤทัยในเรื่องที่สำคัญก็ทรงเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว ดังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระราชนัดดา กล่าวถึงเหตุการณ์ในการตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จกลับกรุงเทพฯ หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ความตอนหนึ่งว่า

    “...ฉันต้องยอมรับว่าทั้งสมเด็จฯ (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) และหญิงอาภา (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี) ควรจะได้รับเกียรติศักดิ์อย่างสูง ที่แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่งเช่นนั้นเพราะเราทุก ๆ คนทราบดีว่า ถึงเรายอมกลับกรุงเทพฯ ต่อไปเขาจะฆ่าเราเสียก็ได้ ผู้หญิงสองคนนั้นเขากล้ายอมตายเสียดีกว่าที่จะเสียเกียรติศักดิ์ เมื่อเขาตกลงเช่นนั้นฉันก็เห็นด้วยทันที...”

    หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศที่จะทรงสละราช สมบัติแล้ว พระองค์พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และพระประยูรญาติสนิทบางพระองค์ จึงทรงย้ายที่ประทับจากใจกลางเมืองไปอยู่ในชนบทใกล้กรุงลอนดอน ทรงวางพระองค์เยี่ยงคหบดีชนบท ทรงจัดสวน เลี้ยงนกเลี้ยงปลา เสด็จประพาสทัศนศึกษาตามโบราณสถานต่าง ๆ เป็นต้น

    ในช่วงที่ประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระประชวรอยู่เนือง ๆ แต่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็ยังทรงปรนนิบัติพระองค์ จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ขณะที่ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ที่พระตำหนักคอมพ์ตัน ตำบลเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตโดยฉับพลันด้วยพระหทัยวาย มีพระชนมพรรษา 48 พรรษา

    [​IMG]

    "เรื่องที่มีคนรู้ไม่มากนัก คือตอนนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเป็นอยู่ของรัชกาลที่ 7 ที่อังกฤษค่อนข้างอัตคัดลำบาก ตำหนักเล็กๆ ที่ท่านอยู่ ตอนหลังถูกทางการอังกฤษยึดไปให้ทหารเพื่อเอาไปตั้งเป็นที่ทำการ ท่านต้องย้ายถึง 2-3 หน พระตำหนักเกลน แพมเมิ่นต์ จ.เซอร์เร่ย์ พระตำหนักย้ายครั้งที่ 2
    หลังจากหลังแรกถูกยึด

    วันหนึ่งท่ามกลางระเบิดที่ลงทั่วไป ท่านตื่นบรรทมแต่เช้าทรงพระสนับเพลากางเกงแพร เสื้อคอกลม รับสั่งว่า “วันนี้อากาศดีเป็นห่วงบ้านหลังเก่าที่ถูกทางการอังกฤษยึดไป จึงให้พระนางเจ้ารำไพฯ เข้าไปดูหน่อยว่าบ้านช่องเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพบดอกไม้สวยๆโดยเฉพาะดอกทิวลิปที่ทรงโปรดก็ให้ตัดมาปักแจกันถวายด้วย"

    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ทรงถามว่าประทับอยู่พระองค์เดียวได้หรือ
    ท่านตรัสว่า "อยู่ได้ ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง จะอ่านหนังสือพิมพ์"

    แล้วสมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ก็ประทับ รถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์เสด็จออกไป แต่ไปได้ไม่ไกลนักตำรวจก็เบรกรถทุกคันพร้อมได้กราบบังคมทูลว่า "พระสวามีมีพระอาการทรุดหนัก ให้รีบกลับพระตำหนักด่วน"

    พระนางเจ้ารำไพฯ รีบกลับตำหนักทันที เพราะได้รับโทรศัพท์แจ้งข่าวร้าย
    เมื่อสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จฯ ถึงปรากฏว่าสวรรคตไปแล้วแต่เพียงพระองค์เดียว
    ไม่มีใครได้ทันเห็นพระทัย ในวันที่ 30 พฤษภาคม ปี 2484 นั่นเอง หนังสือพิมพ์ตกอยู่ข้างพระองค์

    หลังการเสด็จสวรรคต 3 วัน มีการถวายพระเพลิงที่สุสานเล็กๆไม่มีพระมาสวดแม้แต่รูปเดียว ท่านเคยรับสั่งไว้ก่อนเสด็จสวรรคตว่า ไม่ต้องมีพระบรมโกศ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องเป่าปี่ ไม่ต้องประโคม ให้ใส่หีบแล้วก็เผา...พระตำหนักคอมพ์ตันเฮาส์ ต.เวอร์นิเนียร์ วอเตอร์ ที่ซึ่ง เสด็จสวรรคต "ที่จริงท่านสั่งไว้ด้วยว่าไม่ให้นำกระดูกกลับประเทศไทย ท่านขอเพียงอย่างเดียว ขอเพลงบรรเลงไวโอลินเพราะๆ หวานๆ สักเพลง"

    ถึงกระนั้นพอปี 2491 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จฯกลับประเทศไทย แล้วนำพระบรมอัฐิกลับมาเพื่อทำพิธีให้สมพระเกียรติยศ
    เรียกว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่เสด็จสวรรคตโดยที่ไม่ได้ลงพระบรมโกศทั้งที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ และเสียสละต่อคนไทยมาก

    แต่เมื่อพระองค์เสด็จกลับมา พระตำหนัก วังศุโขทัย ซึ่งเคยเป็นที่ประทับได้กลับกลายเป็นของกระทรวงสาธารณสุขไปเสียแล้ว พระองค์จึงทรงต้องเสด็จไปประทับอยู่ในตำหนักของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก วังสระปทุมแทน เนื่องจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ เชิญเสด็จสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีไปอยู่ร่วมกับพระองค์ โดยทรงไปประทับอยู่ที่นั่นนานถึงสามปี ถึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับที่พระตำหนักวังศุโขทัยอีกครั้ง

    หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงประกอบพระราชกรณียกิจแบ่งเบาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยในขณะนั้นเหล่าพระโอรสและพระธิดาของรัชกาลปัจจุบันยังทรงพระเยาว์

    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีทรงเริ่มมีพระอาการประชวรด้วยพระโรคความดันพระโลหิตสูง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 71 พรรษา และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เวลา 15.50 นาฬิกา พระองค์เสด็จเสด็จสวรรคตด้วยพระหทัยวายโดยพระอาการสงบ ณ พระตำหนักวังศุโขทัย รวมพระชนมายุได้ 79 พรรษา 5 เดือน 2 วัน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดการพระบรมศพถวายพระเกียรติยศตามราชประเพณี โดยอัญเชิญพระบรมศพถวายพระลองทองใหญ่ประกอบพระโกศ ประดิษฐานเหนือพระแท่นสุวรรณเบญจดลจำหลักลายประดับรัตนชาติภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น) ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสวรรคตเป็นต้นไป นอกจากนี้ สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน และให้ข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วันด้วย


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระเมรุมาศของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2014
  5. Miss Brown

    Miss Brown เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,779
    ค่าพลัง:
    +19,376
    ติดตามให้กำลังใจคุณทิพย์มาลาเรื่อย ๆ นะคะ
    ส่วนตัวชอบอ่านมากค่ะ ขอขอบคุณมากที่นำเรื่องราวดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
     
  6. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ขอขอบคุณค่ะ คุณ Miss Brown (f)
     
  7. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=7G2-ev9dFik]ในหลวง กับ พระราชินี ทรงจับพระหัตถ์กัน - YouTube[/ame]
     
  8. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    พระราชธิดาที่ถูกลืม

    [​IMG]

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ หรือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง (19 ธันวาคม พ.ศ.2410 – 1 มีนาคม พ.ศ.2485) พระราชธิดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ยังมีพระเจ้าลูกเธออยู่พระองค์หนึ่งที่ไม่ว่าจะเปิดประวัติศาสตร์หน้าไหนๆก็ ปราศจากการบันทึกเรื่องราวของพระองค์ไว้ ทั้งๆที่พระองค์เป็นพระราชธิดาองค์แรกของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์นับได้ว่าเป็นพระราชธิดาเพียงองค์เดียวที่ทรงอาภัพนักอาศัยอยู่ในตำหนักเก่าๆ ค่อนข้างต่างจากตำหนักของน้องๆ ที่มีขนาดใหญ่โตหรูหรา

    มีเรื่องเล่ากันว่าพระองค์เป็นพระบรมวงศ์ศานุวงศ์เพียงพระองค์เดียวที่มิเคยได้ย่างก้าวออกจากประตูพระบรมมหาราชวังตั้งแต่วันประสูติจนถึงวันสิ้นพระชนม์เลย

    ต้นเหตุของการที่พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาที่อาภัพนั้น นับได้จากเมื่อครั้งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีพระชนมายุประมาณ 15-16 พรรรษา ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ก็ทรงมีหม่อมเข้าโดยไม่ได้มีการรู้เห็นจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งหม่อมท่านนี้ก็คือพี่เลี้ยงของพระองค์เอง นามว่า หม่อมราชวงศ์แข ไม่นานนักหม่อมราชวงศ์แขก็ได้ประสูติพระราชธิดา ซึ่งนับว่าเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของรัชกาลที่5

    เหตุการณ์ครั้งนี้กล่าวว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงกริ้วคุณแขอย่างมาก เพราะคุณแขทำให้เจ้าฟ้าชายประพฤติเกินวัยอันควร ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ หม่อมราชวงศ์แขจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าจอมมารดาแข ส่วนพระธิดาก็ได้รับการสถาปนายศขึ้นเป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าผ่อง

    คราวหนึ่ง พระองค์เจ้าผ่องมีพระชนมายุ 6 พรรษา รัชกาลที่ ๕ ทรงลาผนวช ในวันที่เสด็จออกผนวชนั้นฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็ต่างพากันมาหมอบคลาน ตามธรรมเนียมชาววัง แต่รัชกาลที่ 5 ทรงรับสั่งให้ทุกคนยืนเข้าเฝ้าได้

    ดังนั้นบรรดาฝ่ายต่างๆ ก็ปฏิบัติตาม หากทว่า "พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าผ่องด้วยความที่เป็นเด็กที่ยึดมั่นกฎ ระเบียบตามโบราณประเพณีจึงมิยอมยืนขึ้นยังคงหมอบกราบอยู่ รัชกาลที่5 ทรงกริ้วนัก ถึงกับเสด็จไปดึงพระเมาลี (จุกผม) ให้พระราชธิดายืนให้ได้ แต่พระองค์เจ้าผ่องก็มิทรงยืน เหตุนี้พระบิดาจึงไม่
    โปรดพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มากนัก "ถึงแม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกก็ตาม"

    เป็นที่รู้กันอยู่ในพระบรมมหาราชวังว่าพระองค์เจ้าหญิงผ่อง มิได้เป็นที่สนิทเสน่หาของรัชกาลที่ 5 มากนักเพราะพระองค์เจ้าผ่อง ทรงมีพระอุปนิสัยดื้อดึง ไม่ฉลาดนัก อีกทั้งมีพระโฉมไม่งามนัก พระบิดาจึงมิทรงโปรด

    เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จไปที่ใด บรรดา พระราชโอรสและพระราชธิดาต่างๆ ก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ตามเสด็จท่าน "แต่มีเพียงพระองค์เจ้าผ่องเพียงพระองค์เดียวที่มิเคยได้ตามเสด็จพระราชบิดา ไป ณ สถานที่ไหนเลย" แม้คราวสร้างพระราชวังดุสิต บรรดาเจ้าจอมมารดา เจ้าฟ้า พระราชโอรสและพระราชธิดานั้น ต่างก็ได้รับพระราชทานตำหนักใหญ่น้อยอยู่ในพระราชวังดุสิต"แต่พระองค์เจ้า ผ่องนั้นมิเคยได้รับพระราชทานตำหนักในพระราชวังดุสิต พระองค์ก็ยังคงประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นใน ของพระบรมมหาราชวัง

    มีเรื่องราวให้พระองค์เจ้าผ่องได้ซึ้งมากๆ อยู่ครั้งหนึ่งคือ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีหมายกำหนดการเสด็จจากสวนดุสิตเข้าเยี่ยมวังหลวง ชาววังต่างก็เตรียมการรับเสด็จกันอย่างดีใจ พระองค์เจ้าผ่องก็เช่นกัน

    พระองค์ทรงทำพัดจากขนนกขนาดใหญ่ เพื่อที่จะทูลเกล้าฯถวาย เมื่อถึงวันเสด็จพระราชดำเนิน พระเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จไปตามลาดพระบาท ทักทายเจ้านายฝ่ายในโดยทั่วกัน เมื่อเสด็จถึงตรงที่พระองค์เจ้าหญิงผ่องหมอบรอเฝ้าอยู่ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงหยุดทัก และ รับพัดขนนกไว้ พระองค์เจ้าหญิงผ่องกราบไปแทบพระบาทของพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่ก็ทรงรับสั่งถามว่า ลูกหญิงอยากได้อะไร พระองค์หญิงผ่องก็ทรงกราบทูลว่า "อยากได้ธำมรงค์(แหวน)เพคะ"

    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงรับสั่งว่า "ได้แล้วพ่อจะให้" และพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้พระราชทานทานพระธำมรงค์ฝังเพชรชุดใหญ่งดงามมากๆ แก่พระราชธิดาตาม พระประสงค์ พระองค์เจ้าหญิงผ่องทรงกราบอีกครั้ง น้ำพระเนตรคลอ เพราะในชีวิตของพระองค์ไม่ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดพระยุคบาทเหมือนน้องๆ พระองค์อื่นเลย แล้วรัชกาลที่ 5 ทรงถือพัดขนนกขึ้นมาพัดและเสด็จพระราชดำเนินต่อไป

    สร้างความปลาบปลื้มให้แก่พระองค์หญิงผ่อง และ เจ้านายพระองค์อื่นที่อยู่ในเหตุการณ์วันนั้นเป็นอย่างมาก

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิต พระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชธิดา ต่างเสด็จออกไปมีตำหนักหรือสำนักเพื่อเฝ้าแหนใกล้ชิด แต่พระองค์เจ้าหญิงผ่องยังคงประทับแต่ในวังหลวง และห่างเหินกับพระชนกจนกระทั่งพระราชชนกสวรรคต

     
  9. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เคราะห์กรรมของพระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์

    [​IMG]

    หม่อมยิ่ง (พระยศเดิม: พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา (21 มกราคม พ.ศ. 2395 –
    2 กันยายน พ.ศ. 2429) พระราชธิดาองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ

    ต่อมาพระองค์ได้ถูกลดพระอิสริยยศเป็น “หม่อมยิ่ง” หลังมีเรื่องอื้อฉาวเนื่องจากทรงตั้งครรภ์กับอดีตพระภิกษุที่เคยเข้ามาเทศนาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังพระองค์ได้จำสนม (คุกฝ่ายใน) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2429

    หม่อมยิ่ง หรือ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา ประสูติเมื่อวันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2395 เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สามในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ (สกุลเดิมธรรมสโรช) ชาววังออกพระนามว่า เสด็จพระองค์ใหญ่ หรือ เสด็จพระองค์ใหญ่ยิ่ง มีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมมารดา ได้แก่ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ, พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์, พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ และพระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา

    เมื่อมีพระชันษาราว 5-7 พระองค์ ได้ประสบอุบัติเหตุขณะโดยเสด็จพระราชบิดา พร้อมกับพระพี่น้อง อีก 3พระองค์คือ พระองค์เจ้าทักษิณชา, พระองค์เจ้าโสมาวดี และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ขณะประทับบนรถม้าพระที่นั่งเพื่อทอดพระเนตรความเรียบร้อยบริเวณใกล้พระบรมมหาราชวัง แต่เมื่อรถม้าพระที่นั่งเข้ามาตามถนนด้านประตูวิเศษไชยศรีใกล้ทางเลี้ยวไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ม้าได้ตื่นเสียงแตรเสียงกลอง ทำให้รั้งไม่อยู่ สายบังเหียนขาดไปข้างหนึ่งรถพระที่นั่งจึงเสียการทรงตัวแล้วพลิกคว่ำลงจากอุปัทวเหตุดังกล่าว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าลูกเธอทั้งสี่ได้รับบาดเจ็บทุกพระองค์ ดังปรากฏดังนี้

    “...ชายจุฬาลงกรณ์ศีรษะแตกสามแห่งแต่น้อย บางแห่งฟกบวมบ้าง ยิ่งเยาวลักษณ์เท้าเคล็ดห้อยยืนในเวลานี้ไม่ได้ ขัดยอกที่สันหลังด้วย แต่มีแผลเล็กน้อย โสมาวดีก็เป็นแผลบ้าง หลังบวมแห่งหนึ่ง... แต่ทักษิณชาป่วย
    มากจะเป็นอะไรทับก็สังเกตไม่ได้ หลังเท้าขวาฉีกยับเยินโลหิตตกมากทีเดียว...”

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชธิดาได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาการสมัยใหม่และภาษาอังกฤษ ทรงเปิดโอกาสให้พระราชบุตรทั้งหลายคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศทั้งหญิงชายโดยเฉพาะเหล่าราชธิดารุ่นใหญ่ คือ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์, พระองค์เจ้าทักษิณชา และพระองค์เจ้าโสมาวดี มักทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โดยเสด็จพระราชดำเนินออกสมาคมเช่นการต้อนรับแขกเมือง ดังที่เซอร์แฮรี ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษประจำเมืองสิงคโปร์ซึ่งมีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร สุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2411 โดยเขาได้บันทึกเกี่ยวกับการออกสมาคมของราชธิดารุ่นใหญ่ ดังนี้

    “...พระเจ้าลูกเธอพระองค์หญิง ๓ พระองค์ ที่มีพระชนมายุสูงกว่า [สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์] ก็ทรงพระโฉมศุภลักษณ์ เสียแต่เสวยหมาก ถ้าไม่ย้อมพระทนต์ [ให้ดำ] ตามธรรมเนียมของชาวสยามแล้ว ต้องชมว่าเป็นสตรีที่ทรงกัลยาณีเลิศลักษณ์ทีเดียว พระกิริยามารยาทก็น่าชมและตรัสภาษาอังกฤษได้ทุกพระองค์ ขณะเมื่อท่านเจ้าเมือง [เซอร์แฮรี ออด] เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินอยู่นั้น พระเจ้าลูกเธอทั้งพระองค์หญิงและพระองค์ชาย ได้ทรงต้อนรับพวกที่ไปกับท่านเจ้าเมืองที่ในท้องพระโรง ทรงแจกการ์ดและพระรูปถ่ายแก่พวกเหล่านั้น และทรงแสดงความหวังในที่พระเจ้าแผ่นดินจะได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์...”

    และกล่าวถึงพระจริยวัตรของพระองค์ ความว่า
    “...พระองค์เจ้าหญิงที่ทรงพระเจริญเป็นผู้ทรงเลี้ยงเครื่องดื่ม...”

    หม่อมยิ่งมีข่าวอื้อฉาว เนื่องจากเมื่อครั้งยังเป็นดรุณีแรกรุ่นได้เสด็จไปฟังเทศน์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามพระที่เทศน์ชื่อ พระภิกษุโต ปรากฏว่าพระองค์เจ้าหญิงพระองค์นี้ และพระโตมีจิตปฏิพัทธ์เสน่หาต่อกัน ต่อมาพระโตได้สึกออกไป พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์จึงได้จัดหาตึกให้ทิดโตพำนักอยู่แถวถนนเจริญกรุง และได้ปลอมตัวเป็นหญิงและลอบปีนเข้าหาพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ในพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท จนเกิดเรื่องอื้อฉาวเนื่องจากพระองค์เจ้าหญิงพระองค์นี้ทรงมีครรภ์ แรกเริ่มชาววังโจษกันว่าพระองค์หญิงประชวรด้วยโรคท้องมาน เล่ากันว่าเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ได้ขอให้พระองค์หญิงเปิดพระภูษาเพื่อดูพระนาภีเมื่อเจ้าจอมมารดาเปี่ยมเห็นเช่นนั้นจึงทูลว่า "ขอประทานโทษเถอะนะเพคะ มองดูแล้วเหมือนกับคนท้องไม่มีผิด"
    พระองค์หญิงก็ทรงตอบว่า "ก็ดูเถอะค่ะ โรคเวรโรคกรรมอะไรก็ไม่รู้”

    ไม่นานหลังจากนั้นพระองค์ก็ประสูติพระโอรสในตำหนัก แล้วเอาเด็กใส่กระโถนปิดฝาเอาไว้ พอดีพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์หนึ่งเสด็จมาเยี่ยม แต่ได้ทรงเปิดดูกระโถนก็ทรงเห็นเด็กแดง ๆ ความจึงแตก ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1245 (พ.ศ. 2429) บันทึกไว้ว่า

    “เกิดเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ คือพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ ซึ่งเดิมว่าเปนโรคท้องมานนั้นปวดครรภ์แลคลอดออกมาเป็นลูกชายที่เรือนภายใน พระบรมมหาราชวัง สมเด็จกรมพระภาณุพันธ์ฯ กรมหมื่นนเรศร กรมหมื่นอดิศร กรมหลวงดำรง ได้จัดการที่จะชำระพิจารณาที่ได้เกิดขึ้นต่อไป แต่ลูกนั้นเอาออกไปไว้วังกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช

    เวลา ๑๐ ทุ่ม สมเด็จกรมพระภาณุพันธ์วงศ์วรเดช กรมหลวงเทววงศ์ได้ออกไปเมืองเพชรบุรี นำความนี้ออกไปกราบบังคมทูลพระกรุณาส่วนการภายใน กรมหมื่นอดิศรได้สืบสาวชำระได้ตัวอีเผือก บ่าวพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ ซึ่งเปนผู้ชักสื่อแลอ้ายโตผู้ล่วงพระราชอาญามาถาม ได้ความว่ารักใคร่กันมานานตั้งแต่ยังเป็นภิกษุอยู่ในวัดราชประดิษฐจนอ้ายโต สึกมา พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ได้หาตึกให้อยู่ที่ถนนเจริญกรุงแล้วลอบปีนเข้าไป ในพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทเข้าไปนอนอยู่กับพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ ๔ คราว คราวละ ๒ คืนบ้าง ได้มีเรื่องราวโดยพิสดาร”

    ไม่กี่วันต่อมาเมื่อความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ได้เสด็จออกสั่งเรื่องความผิดในวังคราวนี้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 ความว่า

    “...ทั้งคู่...ประพฤติการชั่วอย่างอุกฤษฏ์...อย่างนี้เป็นมหันตโทษตามกฎมนเฑียรบาลว่า
    ๑. ควรริบราชบาตรเป็นของหลวง
    ๒. ให้ถอดยศและบรรดาศักดิ์
    ๓. ลงพระราชอาญา ๙๐ ที (เฆี่ยน) แล้วประหารชีวิต (นี่คือโทษตามระบิลกฎมณเฑียรบาล
    เดิมที่มีอยู่)”

    อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระกรุณาด้วยทรง เห็นว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในประกอบกับก่อนหน้านี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชกระแส เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ความว่า "...ถ้า เจ้าได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในกระบวนพี่น้องทั้งหมด จะมีพระองค์หญิงหนึ่งองค์ และพระองค์ชายอีกหนึ่งองค์ ทรงกระทำความผิดเป็นมหันตโทษ ขอให้ไว้ชีวิตพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสองพระองค์ด้วย....ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานอภัยโทษเฆี่ยน 90 ที (3 ยก) กับโทษประหารเสียด้วย แต่โปรดเกล้าให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์, อวิญญาณกทรัพย์ เข้าเป็นของหลวงสำหรับซ่อมแซมพระอารามและสิ่งก่อสร้างที่พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างไว้ ทั้งถอดยศพระองค์เจ้าให้เป็นหม่อมเรียกอย่างสามัญชน
    และให้จำสนม (คุกฝ่ายใน) นอกจากนั้นให้ทำตามลูกขุนผู้พิจารณาปรับโทษ

    ส่วนทิดโต กล่าวกันว่าทิดโตพูดจาโอหังมาก จึงถูกตบด้วยกะลาทั้งขนซึ่งถือเป็นการลงโทษที่รุนแรงมาก และสุดท้ายก็ต้องรับโทษตามกฎมนเฑียรบาลทุกประการ โดยการตัดศีรษะที่วัดตึก (ปัจจุบันคือ วัดพลับพลาไชย) หม่อมยิ่งถูกจำสนมจนกระทั่งเสียชีวิตในช่วงปี พ.ศ. 2429 (บ้างว่าสิ้นชีพในโทษปีกุน พ.ศ. 2530) ก่อนการเสียชีวิตของหม่อมยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงมีความหม่นหมองในพระราชหฤทัย แม้เหตุการณ์จะผ่านมาแล้วก็ตาม มีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ที่ทรงระบายความทุกข์และมีข้อความส่วนหนึ่งกล่าวถึงหม่อมยิ่ง ความว่า

    "...เห็น ท่านพระองค์ใหญ่ยิ่งเยาวลักษณ์ครั้งนี้ก็โซม [โทรม] มากทีเดียว กลัวหม่อมฉันจะเป็นบ้าง แต่จะเพียงนั้นหรือจะยิ่งกว่าก็ไม่ทราบ...” อันแสดงให้เห็นถึงความทุกข์ร้อนตรอมพระทัยของหม่อมยิ่ง รวมทั้งความไม่สบายพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดินจากเหตุการณ์ครั้งนั้น

    หลังจากกรณีอันอื้อฉาวของหม่อมยิ่งเป็นต้นมานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ทรงออกกฎมณเฑียรบาลใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2 ข้อ เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำรอยขึ้นอีก คือ พระที่จะมาเทศน์ที่วัดพระแก้วได้ต้องเป็นพระธรรมกถึก ที่มีอายุเกิน 45 ปี และเจ้านายฝ่ายในที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ออกมาฟังเทศน์ที่วัดพระแก้วได้ ต้องเป็นสตรีสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40 ดังปรากฏข้อความในพระราชบัญญัติเกี่ยวกับพระภิกษุสงฆ์และพระราชสำนักฝ่ายใน ความว่า

    "ห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษาต่ำกว่ายี่สิบ [หมายถึงบวชไม่ถึง 20 ปี] ห้ามมิให้เข้าในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ส่วนฝ่ายหญิงอุบาสิกาผู้ใฝ่พระธรรมเพียงไรก็ตาม ถ้าอายุต่ำกว่า ๔๐ ปีแล้วไซร้ห้ามมิให้ออกมาฟังเทศน์ ถืออุโบสถศีลที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นอันขาด ประกาศมา ณ วันศุกร์ เดือน๓ แรม ๑๑ ค่ำ ปีจอ อัฐศก ศักราช ๑๒๔๘ อันเป็นวันที่ ๖๖๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน"
     
  10. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    พระสนมแจ่ม (ท้าวศรีจุฬาลักษณ์)

    [​IMG]

    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีนามเดิมว่า แจ่ม เป็นบุตรีของพระนมเปรม ผู้บริบาลถวายการเลี้ยงดูสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาแต่เยาว์วัยภายหลังพระนมเปรมจึงได้รับแต่งตั้งเป็นท้าวศรีสัจจา ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า เจ้าคุณวังหน้า และยังเป็นน้องสาวของพระยาเพทราชา (ทองคำ) จางวางกรมคชบาลขวา ต่อมานางได้ถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงโปรดสถาปนาไว้ในตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก

    ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ด้วยเป็นที่รู้กันว่านางเป็นผู้มากด้วยกามคุณ สร้างความอื้อฉาวแก่ประชาชนเสมอ จนราษฎรนำกันร้องเพลงเกริ่นความผิดปกติวิสัยของนางให้เกร่อไป ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) ได้เกิดความพึงพอใจในสมเด็จเจ้าฟ้าน้อย พระอนุชาต่างพระมารดาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงใช้เล่ห์เพทุบายล่อลวงจนเจ้าฟ้าน้อยเสพสังวาสด้วยกับนางแต่เป็นการลับไม่ ถึงพระเนตรพระกรรณ แต่ความเกิดแตกเนื่องจากตัวพระสนมเอง

    โดยนางได้ผ่านทางเข้าห้องที่ประทับของในหลวง ได้เห็นฉลองพระองค์ชั้นนอกของเจ้าฟ้าน้อยถอดวางไว้ ด้วยเป็นธรรมเนียมของการเข้าเฝ้าที่ต้องเปลือยกายครึ่งท่อนเสียก่อน การเข้าเฝ้าในหลวง ต้องถอดเสื้อเอาไว้ด้านนอก เปลือยร่างท่อนบนก่อนที่จะเข้าไปเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อให้เห็นว่าไม่มีอาวุธติดเข้าไปในที่ประทับ

    ครั้นนางจำฉลองพระองค์ของสมเด็จเจ้าฟ้าน้อยได้ จึงให้นางทาสีหยิบนำไปเก็บไว้ที่ห้องของนางเสีย ด้วยคิดว่าองค์ชายจะทราบดีว่าผู้ใดเอาไป แล้วจะได้ติดตามไปในตำหนักของพระนาง แต่เจ้าชายหาได้เฉลียวใจเช่นนั้น เมื่อเจ้าชายออกมาไม่พบฉลองพระองค์ และโขลนทวารไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป จึงได้เที่ยวกันตามหาทั่วพระราชวัง เรื่องจึงเข้าถึงพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์จึงทรงพิโรธเป็นอันมากที่มีผู้เข้ามาลักทรัพย์ถึงในพระราชฐาน แค่พระทวารห้องที่ประทับของพระองค์แท้ๆ และผู้ที่มาหยิบก็ต้องออกมาจากพระราชฐานฝ่ายในเท่านั้น จึงมีรับสั่งให้ค้นให้ทั่วทันที โดยเข้าไปในตำหนักของท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระสนมเอกก่อน จึงได้พบฉลองพระองค์ของเจ้าชาย ที่มิได้ซุกซ่อนให้มิดชิดวางอยู่ เหล่านางกำนัล และนางทาสีจึงชิงกันกราบทูลกล่าวโทษพระสนม สร้างความพิโรธแก่สมเด็จพระนารายณ์ฯเป็นอันมาก

    แม้กระนั้นพระองค์ก็มิทรงปรารถนาที่จะถือเอาแต่โทสจริต หรือวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้คณะที่ปรึกษาแผ่นดินของพระองค์เป็นผู้วินิจฉัยคนทั้งสอง

    พระเพทราชาซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ในแผ่นดินด้วยการสนับสนุนของท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งเป็นน้องสาว มิได้คัดค้านคำพิจารณาพิพากษา หรือขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เลย กลับเป็นคนแรกที่ธำรงอำนาจวาสนาตนไว้ ด้วยการเสนอให้พิจารณาลงโทษนางที่เคยมีพระคุณต่อตนถึงขั้นประหารชีวิต

    คณะที่ปรึกษาได้พิจารณาลงโทษให้เอานางสนมไปโยนให้เสือกินเสีย ส่วนเจ้าฟ้าน้อยนั้นก็ทรงต้องระวางโทษให้สำเร็จโทษด้วยการใช้ไม้จันทน์สองท่อนบีบอัดเสียให้สิ้นพระชนม์ โดยอย่าให้โลหิตตกต้องแผ่นดินได้ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประหารพระสนมเอกตามคำพิพากษา ส่วนพระอนุชาธิราชได้พระราชทานผ่อนโทษลง ด้วยเหตุที่ว่า พระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งซึ่งพระองค์ทรงรักใคร่มากนั้น เมื่อใกล้จะถึงกาลกิริยาได้กราบทูลขอให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยงพระอนุชาธิราช พระองค์นี้ เสมอว่าพระองค์เป็นพระบิดา ด้วยพระนางเธอบำรุงเลี้ยงมาด้วยความเสน่หายิ่ง

    สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงให้ลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตร แต่ด้วยถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงทรงพิจารณาลงทัณฑ์ให้สาหัสด้วยหวาย และทรงเห็นว่าพระเพทราชาเป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาที่จะสำเร็จโทษเจ้าชาย เพื่อเป็นการแก้แค้นที่กระทำการลบหลู่พระเกียรติของพระองค์ จึงมีพระราชอาญาให้พระเพทราชา กับพระปีย์ เป็นผู้ลงโทษ

    การกระทำของเจ้าฟ้าน้อย กับ พระสนมเอก เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงทรงพิจารณาลงทัณฑ์ให้สาหัสจากท่อนจันทร์ เป็นการลงทัณฑ์ด้วยหวาย แต่แรงหึง และแรงแค้นของพระองค์ที่พลุ่งขึ้นมาในวาระสุดท้าย ทรงรู้แก่พระราชหฤทัยว่าพระเพทราชา เป็นผู้หนึ่งที่ปรารถนาจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน และกระเหี้ยนกระหือรือที่จะสำเร็จโทษเจ้าฟ้าน้อย เพื่อเป็นการแก้แค้นแบบเนียนๆ จึงมีพระบรมราชโองการให้พระเพทราชา กับพระปีย์เป็นผู้ลงโทษเจ้าฟ้าน้อย
    พอได้ที พระเพทราชากับพระปีย์ ก็สนองพระบรมราชโองการอย่างมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยอันใดเลย สั่งโบยจนกระทั่งเจ้าฟ้าน้อยสลบแน่นิ่งไป แม้เจ้าฟ้าน้อยจะทรงประสบวิบากกรรมอันโหดร้าย พระองค์ก็ยังฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมาได้ แต่พระวรกายนั้นกลับบวมผิดปกติ มีอาการอ่อนเปลี้ยที่พระเพลา และมีอาการคล้ายเป็นอัมพาตที่พระชิวหา ทำให้พูดไม่ได้ บ้างก็เล่าลือว่าพระองค์ทรงแกล้งเป็นใบ้ไปเสีย เพื่อมิให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงแคลงพระทัย ด้วยขุนนางผู้ใหญ่ในแผ่นดิน และพระราชธิดาเองก็ยังสมัครรักใคร่พระองค์อยู่ หากพระองค์แสร้งเป็นใบ้ก็นับว่าพระองค์เป็นคนที่ใจแข็งมาก

    ส่วนพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าน้อยที่เกิดกับพระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงรอคอยจนกระทั่งพระโอรสของเจ้าฟ้าน้อยมีพระประสูติกาลก่อน จึงให้ลงพระราชอาญาความผิดของพระสนมเอกด้วยการจับให้เสือกินเสียตามคำพิพากษา ของคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
    พระองค์ทรงชุบเลี้ยงนัดดาลูกชู้พระองค์นี้ จนเจริญพระชันษา สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ถือว่านัดดาองค์นี้เป็นลูกชู้ จึงไม่ยกย่องในฐานะ "พระราชนัดดา" ของพระองค์
    พระโอรสของเจ้าฟ้าน้อย กับพระสนมเอก จึงมีพระยศเป็นเพียง "หม่อมแก้ว" (ภายหลังพระราชพงศาวดารฯ ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) แก้ไขพระยศเป็น พระองค์แก้ว) จนถึงสมัยพระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติ จึงสถาปนาหม่อมแก้ว พระราชนัดดาที่เกิดจากพระขนิษฐาไว้ในตำแหน่ง "สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมขุนเสนาบริรักษ์" เจ้าต่างกรม....
     
  11. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    คดีคนร้ายมุดมุ้งเจ้าจอม

    [​IMG]

    เมื่อจุลศักราช 1159 ปีมะเส็ง ประมาณเดือนยี่ ในวังหลวงได้มีเรื่องผู้ร้ายทำลายขวัญบรรดาข้าหลวงชาววังฝ่ายในอย่างน่าตื่นตระหนกนัก

    ธรรมเนียมวังหลวงแต่เดิมนั้นจะแยกเป็นฝ่ายหน้า ฝ่ายใน
    ฝ่ายข้างในนั้น นอกจากองค์พระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็จะมีแต่สตรีเพศเท่านั้นที่อยู่ภายในเขตพระราชฐานชั้นใน หากจะมีผู้ชายก็เป็นเจ้านายเล็กๆ คือพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่และบรรดาโอรส ธิดา ตลอดจนถึงบุตรของเสนาอำมาตย์ข้าหลวงชาววังซึ่งยังเป็นเด็กๆ เล็กๆ อยู่ หากเจริญวัยโตขึ้นถึงวัยอันสมควรแล้ว ก็จะต้องย้ายออกไปอยู่ฝ่ายหน้าทั้งสิ้น

    บรรดาบุรุษเพศนั้นจะเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นในได้ก็ต่อเมื่อมีราชกิจราชการที่ต้องเฝ้าในเวลากลางวันหรือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฝ้าเท่านั้น
    ดึกดื่นคืนหนึ่ง ในเดือนยี่ ปีมะเส็ง ท่ามกลางความมืดมิดและเงียบเชียบภายในวังหลวง ขณะที่บุคคลทั้งปวงหลับสนิทอยู่ในห้วงนิทรารมณ์อันแสนสุข ก็ได้มีชายคนหนึ่งปรากฏตัวอยู่ในความมืดค่อยๆ ย่องไปตามเรือนต่างๆ ภายในเขตพระราชฐานชั้นใน

    เมื่อเห็นมีข้าหลวงชาววังคนใดที่ยังไม่ขึ้นหลับนอนยังกระเดียดกระจาดเดินผ่านมาตามถนนเล็กๆ ภายในเขตพระราชฐานนั้น ชายนิรนามก็แอบหลบซุ่มอยู่ในพุ่มไม้ ครั้นพอได้จังหวะที่หญิงนั้นเดินผ่านมาใกล้อาศัยความมืดมิด ชายคนนั้นก็ลอบไปด้านหลังแล้วลวนลามแอบจับทรวงอกของหญิงนั้นทันที
    “อุ้ยว้าย อะไรกันนี่ ช่วยด้วยเจ้าข้า ช่วยด้วย”
    กระจาดใส่ขนมที่กระเดียดมาหล่นลงพื้นถนนตกกระจายไป ชายผู้นั้นตกใจเสียงร้องแต่ก็ยังมิหลบหนีในทันที กลับยังขวัญกล้าเข้าแย่งชิงขนมที่หล่นเรียงอยู่ตามพื้นแล้ววิ่งลับหายไปกับความมืด

    เช้ารุ่งขึ้นบรรดาข้าหลวงชาววังทั้งปวงต่างก็ร่ำลือกันว่า เมื่อค่ำคืนนี้มีบุรุษเพศลอบเข้ามาในวังหลวงยามค่ำคืนได้อย่างไร
    ตลอดวันนั้นทั้งวัน ชาววังต่างก็ซุบซิบร่ำลือกันด้วยขวัญเสียมิใช่น้อย
    จนกระทั่งในค่ำคืนต่อมา ขณะที่หม่อมทองขึ้นไปนอนตามยามอยู่บนพระมหามณเฑียรกำลังนอนหลับสบายอยู่นั้น แต่ยังไม่ทันจะหลับสนิทนัก ก็ได้รู้สึกว่ามีเงาของใครคนหนึ่งเข้ามาใกล้ๆ มุ้ง
    ตอนแรกหม่อมทองก็พยายามเพ่งตามอง เพราะไม่มั่นใจว่าเงานั้นจะเป็นคนหรือเงาภูตผีอย่างไรกันแน่แต่ในที่สุดเงานั้นค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาใกล้มุ้ง หม่อมทองก็ประจักษ์แก่สายตาว่า เป็นเงาของชายร่างสันทัดคนหนึ่งซึ่งค่อยๆ นั่งลงแล้วจะเปิดมุ้งขึ้น หม่อมทองจึงตะโกนร้องสุดเสียง
    “ช่วยด้วยๆๆ เจ้าข้า”

    อารามตกใจสุดตัวจึงลุกพรวดทะลึ่งขึ้นวิ่งหนีไปทั้งมุ้งที่คลุมเนื้อตัวอยู่นั้น วิ่งหนีฝ่าความมืดลงไปทางท้องพระโรงจนกระทั่งพลัดตกอัฒจันทร์ ทั้งๆ ที่ยังมีมุ้งประทุนคลุมเนื้อตัวอยู่อย่างนั้นเอง
    กลางดึกดื่นเช่นนั้น เสียงร้องของหม่อมทองก้องดังจนได้ยินไปทั่ว บรรดาท้าวนางและพระสนมเจ้าจอม ที่กำลังหลับนอนอยู่ ต่างก็ตกใจตื่นกันทั่วทั้งพระมหามณเฑียร

    เมื่อได้ทราบความว่ามีผู้ชายลอบเข้ามาจะมุดมุ้งเจ้าจอมนั้นบรรดาพระสนมเจ้าจอมและข้าหลวงนางพนักงานทั้งปวง ต่างก็ตระหนกอกสั่นแขวนนั่งจับกลุ่มชุมนุมซุบซิบกันไปทั่วไม่กล้าหลับนอนกันอย่างสนิทใจได้
    เมื่อความทราบถึงองค์พระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำการค้นหาตัวชายผู้ที่ลักลอบเข้ามายามดึกดื่นเช่นนั้น
    แต่ปรากฏว่าเมื่อค้นจนทั่วทุกบริเวณแล้วก็ไม่พบตัวบุรุษเพศที่ลอบเข้ามาจะมุดมุ้งหม่อมทองแต่อย่างใด

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงให้ลงพระราชอาญาหม่อมทองโดยการเฆี่ยน 30 ครั้ง เนื่องจากนำความตื่นตระหนกเสียขวัญมาสู่บรรดาข้าหลวงชาววังโดยมิมีมูลความจริง อีกทั้งบรรดาคนทั้งปวงก็กล่าวกันว่าหม่อมทองอาจจะละเมอ แล้วตะโกนร้องให้เป็นที่ตกอกตกใจกันไปทั่วก็เป็นได้
    หม่อมทอง แม้จะถูกลงพระราชอาญาแล้ว ก็ยังมิเจ็บกายเท่ากับความอกสั่นขวัญแขวน และยังคงยืนยันกับบรรดาคนรอบข้างใกล้ตัวว่ามีบุรุษเข้ามาในเขตพระราชฐานยามค่ำคืนจริงๆ ไม่ได้นอนละเมอเพ้อไปเป็นแน่

    และในคืนวันถัดมานั่นเองผู้ร้ายนิรนามผู้ขวัญกล้าและบังอาจนักก็ลอบขึ้นไปยังพระมหามณเฑียรคิดการกำเริบร้ายหนักถึงขั้นจะลอบทำร้ายองค์พระเจ้าแผ่นดินเลยทีเดียว
    ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น ห้องพระบังคนอยู่กับที่ห้องสรง ที่หลังพระมหามณเฑียรด้านตะวันตก พระเจ้าแผ่นดินจะต้องเสด็จไปลงพระบังคนที่ห้องสรงด้านตะวันตกนั้นมิได้ลงพระบังคนบนพระมหามณเฑียรเช่นรัชกาลต่อๆ มา

    อ้ายผู้ร้ายใจกำเริบไม่รู้ที่ต่ำที่สูง ถือกฤซซ่อนอยู่ริมพระทวารห้องพระบังคน แต่ครั้นเมื่อองค์พระเจ้าแผ่นดินเสด็จมาถึงมันเพียงเห็นชายพระภูษาของพระองค์เท่านั้น ก็เกิดเกรงพระบรมเดชานุภาพของล้นเกล้าเจ้าชีวิตถึงกับตัวสั่นขวัญแขวน มิกล้าลอบทำร้ายดังที่ตั้งใจไว้ จึงแอบกระโดดลงทางพระแกลในทันที
    และ ณ วินาทีนั้นเองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่ามีผู้ชายกระโดดหนีลงไปไวๆ โดยพระองค์ทันสังเกตเห็นว่าบุรุษเพศผู้นั้นโกนศีรษะ ซึ่งเป็นจุดสำคัญเท่าที่ทรงทอดพระเนตรได้ในความมืด

    วันรุ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำการตรวจสอบทุกตำหนัก ทุกเรือนทั่วไปในวังหลวงนั้นว่ามีเจ้านายพระองค์ใดบ้างที่สิ้นพระชนม์
    ธรรมเนียมสมัยโบราณนั้น หากเจ้านายพระองค์ใดสิ้นพระชนม์บรรดาข้าหลวง และพนักงาน ตลอดจนถึงทาสของเสด็จในกรมพระองค์นั้นก็จะต้องโกนศีรษะทั่วถ้วนทุกคน

    ปรากฏว่าเมื่อมีการตรวจสอบแล้ว ก็ได้พบว่ามีเจ้านายพระองค์หนึ่ง คือ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอกรมหลวงนรินทรณเรศร ได้สิ้นพระชนม์และบรรดาข้าหลวงตำหนักนั้นจึงต้องโกนศีรษะตามธรรมเนียมวัง อีกทั้งข้าหลวงตำหนักใหญ่ของกรมพระเทพสุดาวดี ก็โกนศีรษะด้วย
    บรรดาข้าหลวงพนักงานและทาสของตำหนักนั้นจึงถูกนำตัวมาตรวจสอบกันโดยละเอียดว่าบรรดาผู้ที่โกนศีรษะนั้น มีคนใดที่มีพิรุธหรือมีบาดแผลจากการกระโดดหนีลงไปบ้างหรือไม่ เนื่องจากว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ยินว่า เมื่อคนร้ายกระโดดหนีลงไปนั้นได้กระแทกกับพื้นเสียงดังมาก อีกทั้งยังมีเสียงล้มก่อนจะวิ่งหนีไปอีกด้วย ดังนั้นคนร้ายนั้นน่าที่จะมีบาดแผลอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

    แต่ปรากฏว่าเมื่อตรวจสอบจนครบถ้วนทุกคนที่โกนศีรษะแล้วก็ไม่ได้พบพิรุธหรือพบผู้ใดมีบาดแผลน่าสงสัยเลยแม้แต่คนเดียว แต่การตรวจสอบก็ยังมิสิ้นสุดลงโดยง่าย ยังคงมีการตรวจตราและสอบสวนโดยละเอียดยิ่งขึ้น
    แผนการการจับกุมคนร้ายก็ได้เริ่มขึ้น เนื่องจากว่ายังมีคนเห็นคนร้ายที่ปรากฏตัวอยู่ในความมืดตามหน้าเรือนและหน้าตำหนักต่างๆ อีกหลายครั้งหลายคืนด้วยกัน

    แผนการจับกุมคนร้ายนั้นมีการวางกำลังตำรวจ และมหาดเล็กรักษาพระองค์ เข้าไปคอยซุ่มอยู่ตามจุดต่างๆ ในยามวิกาล ในเขตพระราชฐานชั้นใน มีการเอากระแซงปูไว้ตามถนนและมุมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก
    หากคนร้ายนั้นมีความหวาดกลัวพระราชอาญาจนเลิกออกมาทำการร้ายในยามวิกาลเช่นนั้นก็คงจะรอดตัวไปตลอดชีวิต แต่สันดานของคนร้ายที่กำเริบมิเกรงกลัวความผิดนั้น ก็ได้ผลักดันให้มันออกมาปรากฏกายในเขตพระราชฐานชั้นในอีกในยามดึกดื่นค่ำคืน ครั้นเมื่อมันแอบเดินย่ำไปบนพื้นอย่างชะล่าใจนั้นเอง เสียงกระแซงก็ดังกรอบแกรบขึ้น บรรดากำลังตำรวจและทหารที่ดักซุ่มอยู่นั้นจึงขว้างไม้ท่อนและก้อนอิฐไปยังจุดที่เสียงกระแซงดังกรอบแกรบขึ้นในทันที

    “นั่นไงจับได้แล้วไอ้คนร้ายคนโฉด”
    เสียงตำรวจและทหารดังขึ้นอึกทึก อ้ายคนร้ายตกใจสุดขีด แต่ยังไม่ทันที่จะคิดหาทางหลบหนีแต่อย่างใด กำลังตำรวจทหารและมหาดเล็กรักษาพระองค์ก็กรูกันเข้าจับกุมไว้ได้โดยง่าย
    “อ้ายมา” คือชื่อของคนร้ายใจกำเริบผู้นี้ เมื่อถูกซักไซ้สอบสวนแล้วมันก็ไม่ยอมให้การว่ามันเป็นบ่าวของเรือนใด ตำหนักใด มิยอมปริปากว่าครอบครัวญาติพี่น้องของมันเป็นใครกันบ้าง
    ตระลาการจึงซักมันว่า
    “เฮ้ย อ้ายมา ถ้าเอ็งไม่ยอมบอกว่าเอ็งเป็นบ่าวไพร่ของใครไม่ยอมบอกว่าเอ็งเป็นญาติพี่น้องของใครบ้าง ถ้าเช่นนั้น เอ็งลองบอกมาสิว่าเอ็งเข้ามาในวังหลวงได้อย่างไร”
    อ้ายมา ก้มหน้าพลางให้การว่า
    “ข้าได้ยินคนร่ำลือว่าภายในพระราชวังนั้นงดงามน่าตื่นตาตื่นใจและเป็นที่สนุกสนานเพลิดเพลินเป็นที่สุด ข้าจึงนึกอยากจะเข้ามาเที่ยวเล่น จึงได้เอาเชือกคล้องใบเสมาแล้วก็เหนี่ยวไว้จากนั้นก็ยึดเชือกป่ายปีนกำแพงเข้ามาได้ในยามค่ำคืน”
    จากนั้นตระลาการจึงซักถามต่อไปว่า
    “อ้ายมา เมื่อเอ็งเข้ามาในพระราชวังในยามวิกาลแล้ว เอ็งได้ขึ้นไปเรือนใด ตำหนักใดบ้าง เอ็งได้ลักขโมยของสิ่งใด ผู้ใดบ้างหรือไม่จงบอกมาให้สิ้น”
    อ้ายมา อ้ำอึ้งอึกอักอยู่เป็นเวลาช้านานจนเมื่อถูกเร่งรัดซักถามจึงให้การว่า
    “ข้าขึ้นไปบนพระมหามณเฑียรและได้เห็นเจ้าจอมคนหนึ่งรูปโฉมงดงามต้องตาเป็นยิ่งนัก เจ้าจอมผู้นั้นห่มสไบสีทับทิมอีกทั้งยังใส่ต่างหูระย้าเป็นเพชรอีกด้วย นางผู้นั้นถือเทียนนำเสด็จออกมาจากในที่เมื่อข้าพบเห็นจึงนึกรักและอยากได้ตัวนางเป็นที่สุด”
    จากนั้นอ้ายมาก็ได้สารภาพว่า มันถึงกับกำเริบคิดทำร้ายองค์พระเจ้าแผ่นดิน แต่ด้วยความประหม่าและเกรงกลังพระบารมีพระบรมเดชานุภาพจึงมิกล้าจะทำได้แต่ถอยหนีและกระโจนหนีจนตกลงมาจากพระแกลนั้นด้วย

    อ้ายมาได้เล่าถึงเจ้าจอมผู้เคราะห์ร้ายอีกว่า
    “ในดึกคืนต่อมาข้าจึงพยายามแอบลอบเข้ามาอีกครั้งหนึ่งเพื่อค้นหาเจ้าจอมรูปงามที่ข้าหลงรัก ข้าพยายามไปเที่ยวมุดมุ้งดูหลายทีก็มิพบเจ้าจอมคนสวยของข้า และเมื่อได้ไปเปิดมุ้งดูมุ้งหนึ่ง ข้าได้เห็นเจ้าจอมคนหนึ่งนอนอยู่ แต่ข้ามิรู้ว่าจะใช่เจ้าจอมที่ห่มผ้าสีทับทิมผู้นั้นหรือไม่ แต่ดูหน้าแล้วก็งดงามและคล้ายคลึงกันเป็นอันมากข้าจึงค่อยๆ เข้าไปในมุ้งและข่มขืนจนสำเร็จ แล้วเจ้าจอมผู้นั้นก็ได้ออกอุบายหลอกข้าว่าจะไปเบา ข้าจึงนอนรออยู่ในมุ้ง เจ้าจอมผู้นั้นก็ได้หายไปจนเกือบรุ่งมิกลับมา ข้าจึงได้ลอบปีนกำแพงกลับออกจากวังในช่วงใกล้รุ่งสาง และในคืนต่อมาข้าก็ปีนเข้ามาอีก และพยายามค้นหาเปิดมุ้งดูก็ไม่พบเจ้าจอมที่ข้าได้แล้วทั้งๆ ที่ข้าจำที่นอนมุ้งและหีบหมากได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียว แต่คราวซวยของข้าเมื่อไปเปิดมุ้งดูเจ้าจอมผู้หนึ่งซึ่งมิได้ใช่เจ้าจอมของข้า นางผู้นั้นก็ได้ตกใจร้องอื้ออึงขึ้นจนคนตื่นกันทั่วข้าจึงรีบหนีกลับออกจากวัง และก็ได้ปีนเข้าไปเปิดมุ้งหาเจ้าจอมที่ข้าได้แล้วอีกหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน จนกระทั่งถูกจับได้นี่เอง”

    เมื่ออ้ายมา คนร้ายให้การตระลาการจึงให้นำที่นอนหมอนมุ้งและหีบหมากของสนมเจ้าจอมทั้งปวงให้อ้ายมาชี้ดู
    ปรากฏว่า อ้ายมาชี้ที่เครื่องนอนและหีบหมากของเจ้าจอมอิ่ม
    ดังนั้นตระลาการจึงให้นำเจ้าจอมอิ่มผู้บุตรของพระไกรศรี เข้ามาสอบสวน ซึ่งก็ปรากฏว่าเจ้าจอมอิ่มก็ได้ให้การด้วยน้ำตาคลอและยังขวัญเสียมิหายว่า

    “ในคืนหนึ่งข้านอนหลับสนิทอยู่ ก็ต้องตกใจขึ้นรู้สึกว่ามีใครมานอนทับอยู่บนร่างซึ่งก็คืออ้ายมาผู้นั้นเอง มันเอามีดจ่อที่อกข้า และขู่ว่าหากข้าร้องเอะอะเสียงดังขึ้นและมิยอมมันแต่โดยดี มันจะแทงข้าให้ตายทันที ข้าทั้งตกใจและกลัวตายนักจึงจำต้องยอมให้มันข่มเหงรังแก ครั้นแล้วข้าจึงออกอุบายว่าจะไปเบาและก็ไม่ได้ขึ้นไปบนที่นอนนั้นอีกและในคืนต่อมาข้าก็มิได้ขึ้นไปนอน ณ ที่นอนดังเดิม แต่ซ่อนตัวอยู่ที่เรือนด้วยความหวาดกลัวเป็นอันมากและมิกล้าบอกผู้ใดทั้งสิ้น”

    ตระลาการจึงชำระความว่า เจ้าจอมอิ่ม นั้นมิได้ลักลอบมีชู้ มิได้ยอมกายยอมใจแต่โดยดีให้อ้ายมาคนร้าย แต่ถูกข่มขู่ เราจึงมิมีโทษที่จะต้องพระราชอาญาแต่อย่างใด แต่ก็ให้ริบเครื่องยศเจ้าจอมอิ่มเสีย และให้ไปอยู่ที่บ้านของบิดาคือพระไกรศรี
    ส่วนหม่อมทองที่เคยถูกลงพระราชอาญาเฆี่ยน 30 ที เมื่อครั้งร้องอื้ออึงยามวิกาลด้วยเพราะตกใจที่มีคนร้ายมุดมุ้งนั้นก็ได้รับพระราชทานทำขวัญให้ทดแทนที่ถูกลงพระราชอาญาด้วยความเข้าใจผิดไปในครั้งแรกนั้น

    “ส่วนตัวอ้ายมาเป็นคนร้ายใจโฉด กำเริบเสิบสานมิเกรงกลัวพระราชอาญาของเจ้าชีวิตเจ้าแผ่นดิน มิรู้ที่ต่ำที่สูง กำเริบบังอาจข่มขืนชำเราพระสนมเจ้าจอมของพระเจ้าแผ่นดิน หากละเว้นโทษตายไว้เห็นทีวันหน้าจะก่อการร้ายเป็นเรื่องราวใหญ่โตขึ้นอีก ดังนั้นให้นำตัวอ้ายมาไปประหารชีวิตเสียในทันที”
    ตระลาการได้ตัดสินโทษประหารชีวิตอ้ายมาคนร้าย หลังจากนั้นภายในเขตพระราชฐานชั้นจึงเกิดความสงบสุข บรรดาข้าหลวงนางกำนัลทั้งปวง ก็สามารถหลับสนิทมิต้องหวาดผวากับภัยอันตรายจากอ้ายมาอีกต่อไป

    เมื่อเหตุการณ์ที่เป็นที่ตื่นตระหนกขวัญเสียหลายต่อหลายคืนในวังหลวงได้หมดสิ้นลงแล้ว พระเจ้าแผ่นดินจึงตั้งที่ลงพระบังคนในที่มิเสด็จลงพระบังคนที่ห้องทางด้านตะวันตกของพระมหามณเฑียรอีก และต่อมาก็ปรากฏว่ามีการสร้างเขื่อนเพชรในพระราชวังข้างใน เพราะแต่เดิมนั้น เขตพระราชฐานชั้นในยังมิได้สร้างเขื่อนเพชรคงมีกำแพงล้อมรอบเท่านั้น นอกกำแพงนั้นก็เป็นบ้านเรือนของเสนา อำมาตย์ ขุนนางผู้น้อย ผู้ใหญ่ และอีกทั้งยังไม่มีประตูสกัดด้านเหนือด้านใต้ คนร้ายเมื่อปีนกำแพงเข้ามาก็สามารถลอดเข้าเขตพระราชฐานชั้นในได้โดยง่ายนั่นเอง

    ข้อมูลจาก เรื่องเล่าชาววัง โดย เวนิสา เสนีวงศ์ฯ


    [​IMG]

    ถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฝั่งธนบุรี ไปทางพระบรมมหาราชวัง ฝั่งกรุงเทพฯ หลังรัชกาลที่ 4

    [​IMG]

    ตลาดนัด ตลาดน้ำคลองบางกอกน้อย ในอดีต หลังรัชกาลที่ 4
     
  12. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    รักที่เลือกไม่ได้ของเจ้าชายสยาม

    [​IMG]

    พระ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์)


    โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง

    โอ้ดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย

    ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม พี่นี่รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม

    จะหาไหนมาเทียม โอ้เจ้าดวงเดือนเอย

    หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูของเรียมเอย

    หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย

    เนื้อหอม ทรามเชย เอ๋ยเราละหนอ....


    นี่ คือเนื้อร้องของเพลง ลาวดวงเดือน ที่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ เนื้อเพลงสั้นๆเพียงไม่กี่ประโยคนี้ แสดงออก
    ถึงชาย ที่รักและอาวรณ์ถึงสาวคนรักแบบสุดหัวใจ จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่าเพลงนี้ แต่งขึ้นจากความไม่สมหวังในความรักของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

    พระ เจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม (พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์) เป็น พระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่ง ผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน
    พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

    ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทยโดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอารามต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาทย์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวงวังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวงวังบางขุนพรหม

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระยศมกุฎราชกุมาร) ก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่าวงสมเด็จพระบรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดมก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียก ว่าวงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ละวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน

    ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น พระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมลฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ จัดการรับเสด็จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วยในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสและเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดย พร้อมเพรียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่

    ปรากฏว่ามีเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใยใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้าจนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะด้วยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

    แล้วพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี ก็บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า เมื่อพระองค์ได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึงในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัย เหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!

    ในวันต่อมา พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงมลฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง หลังจากนั้นเจ้าหญิงชมชื่นจึงได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าชายหนุ่มนักเรียนนอกผู้ สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่น เป็นยิ่งนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

    แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัด ทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดยขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อจะได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ (หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนั้นเจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือ นางบำเรอเท่านั้น)

    สาเหตุที่เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ปฏิเสธในครั้งนี้ เนื่องเพราะเคยเกิดขึ้นในพ.ศ. ๒๔๓๓ มาแล้ว คือ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระราชโอรสในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (พระน้องยาเธอใน พระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๕ ) ได้เสด็จมาปราบปรามพวกยางแดงแถวแม่น้ำสาละวิน จนได้พบรักกับเจ้าหญิงข่ายแก้ว และทรงสู่ขอจากเจ้าทักษิณนิเกตน์ (มหายศ) บิดาของเจ้าหญิง แต่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตในการเสกสมรส ครั้นพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตเสด็จกลับกรุงเทพ ก็ไม่ได้พาเจ้าหญิง (ในฐานะภรรยาคนหนึ่ง) ลงมาด้วยเพราะมีหม่อมเอมอยู่แล้ว ทำให้เจ้าหญิงข่ายแก้ว กลายเป็น “แม่ร้าง” ที่จะไปร้องเรียนกับใครก็ไม่ได้ เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์จึงไม่ปรารถนาให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยจึงได้ทัดทานไว้

    เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ ฝ่ายพระองค์เจ้าชายฯ เองก็มีคู่หมั้นคู่หมายอยู่แล้วโดยผู้ใหญ่จัดหาให้ การปฏิเสธดังกล่าวจากฝ่ายหญิงก็เลยทำให้ความรักของทั้งคู่กลายเป็นหมัน ไม่มีการติดต่อใดๆ กันอีกเลย เพราะเหตุนั้น พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

    จึงเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย ปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของ
    พระองค์ ครั้นถึงกรุงเทพฯ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา แน่นอนว่าสาเหตุที่ผู้ใหญ่ทางพระองค์ชายนั้นไม่ยอมให้มีการเสกสมรสกับ เจ้าหญิงเมืองเหนือเป็นเพราะเรื่องทางการเมือง

    ในสมัยนั้นหัวเมืองทางเหนือมีสัมพันธ์กับทั้งสยามและพม่า เป็นความสัมพันธ์ ที่สยามมองว่ามีเหตุผลเคลือบแคลงและไม่วางใจ ดังนั้นจึงเกิดโศกนาฎกรรมความ รักลักษณะอีกหลายครั้งในสมัยนั้น เหตุก็เป็นเพราะการเมืองนั่นเอง จึงเป็นอันว่าความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

    จากนั้นพระองค์ จึงทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิลัย (กฤดากร) พระธิดาในกรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ มีพระธิดา ๑ พระองค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงพรรณเพ็ญแขเพ็ญพัฒน์ ส่วนทางด้านเจ้าหญิงชมชื่นเองก็สมรสกับเจ้าน้อยสิงห์คำ มีทายาทคือ เจ้าวุฒิ ณ ลำพูน ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดเป็นไปตามความเห็นชอบของผู้ใหญ่ของทั้งสอง หากแต่ในใจลึกๆแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังคงระลึกถึงกันไม่คลาย

    พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้องลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจของพระองค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ และเป็นอนุสรณ์เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง เมื่อใดที่พระองค์ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย และลาวดวงเดือนก็เป็นเพลงที่จะขาดไม่ได้ จนตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

    กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยสมบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงานเพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนม์ชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ด้วยพระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

    และเมื่อข่าวการสิ้นชีพของท่านชายไปถึงภาคเหนือ เจ้าหญิงชมชื่นก็เกิดอาการซึมเศร้าและตรอมใจ นั่นเป็นเพราะความรักของเจ้าหญิงที่มีต่อพระองค์ชายเอง ก็ไม่เคยจางไปจากหัวใจดวงน้อยๆ ของเจ้าหญิงเช่นกัน หนึ่งปีต่อมา เจ้าหญิงชมชื่นก็สิ้นชีพลงเช่นกัน ด้วยชันษา 23 ปีเท่านั้น

    เพลงลาวดวงเดือนนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น ลาวดวงเดือน จึงเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ วิญญาณ ความรัก และความหลังของพระองค์เพลงลาวดวงเดือน จึงเปรียบประดุจอนุสรณ์ให้ เราได้ระลึกถึงความรักที่บริสุทธิ์และเป็นอมตะระหว่างพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์หนุ่มสูงศักดิ์จากสยามกับเจ้าหญิงชมชื่นหญิงสาวผู้เลอโฉมจากเมืองเหนือ

    แม้ความรักของทั้งสองพระองค์จะไม่สมหวัง แต่เพลงนี้จะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยต่อไปอีกนานเท่านาน...



    [​IMG]

    เจ้าหญิงชมชื่น


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=P5OEx_1Q3to]LaoDuangDoen ♥✿✿ - YouTube[/ame]
     
  13. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    นางผู้เป็น "รักแรก" ของพระพุทธเจ้าหลวง

    [​IMG]

    "เจ้าคุณจอมมารดาแพ"

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) สกุลเดิม บุนนาค เข้ารับราชการเป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัว และทำหน้าที่เป็นผู้เบิกพระโอษฐ์พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5

    ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าคุณจอมมารดาแพ" และบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเกียติยศขึ้นเป็นเจ้าคุณชั้นพิเศษให้ออกนามว่า "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์"

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับ ท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์ ท่านเจ้าพระยานั้นมีเอกภริยา 2 ท่านในเวลาเดียวกัน คือ ท่านผู้หญิงอ่วม และท่านผู้หญิงอิ่ม ท่านผู้หญิงทั้งสอง เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

    พี่น้องร่วมมารดาของเจ้าคุณจอมมารดาแพ มีดังนี้

    • คุณหญิงศรีสรราชภักดี (เล็ก โกมารกุล ณ นคร)

    • คุณฉาง บุนนาค

    • เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ)

    • หลวงจักรยานานุพิจารณ์ (เหมา บุนนาค)

    • จ่ายวดยศสถิต (หมิว บุนนาค)

    • เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5

    • หม่อมแม้น ภาณุพันธ์ ใน สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    • คุณเมี้ยน บุนนาค

    • คุณมิด บุนนาค

    เจ้าคุณจอมมารดาแพพระสนมเอกผู้ใหญ่ หัวหน้าพระสนมทั้งปวงในรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นผู้เดียวที่ได้พระราชทานเครื่องยศพระสนมเอกตามแบบ รัชกาลที่ 4 และมีพระราชประสงค์จะทรงยกย่องเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ให้ยิ่งกว่าคนอื่น จึงโปรดให้เปลี่ยนเครื่องในพานทองเครื่องยศ เป็นลงยาราชาวดี (เดิมเครื่องยศพระสนมเอกเป็นพานทองมีเครื่องในทั้งหมดล้วน เป็นทองคำเกลี้ยง ต้องเป็นพระมเหสีเท่านั้นจึงจะเปลี่ยนเป็นทองคำลงยาราชาวดี แสดงว่าทรงยกย่องเจ้าคุณพระประยูรวงศ์เหนือกว่านักสนมอื่นใด)

    และพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้มีพระราชดำรัสให้เรียกคืนตามประเพณีเก่า ด้วยทรงเคารพนับถือเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ท่านจึงได้ครอบครองเครื่องยศทุกอย่างที่ได้รับพระราชทานจนตลอดอายุ

    ในการตรัสเรียกเจ้าคุณพระประยูรวงศ์นั้น รัชกาลที่ 5 จะมิโปรดเรียกว่า นาง ตามอย่าง รัชกาลที่ 4 พระราชบิดา แต่จะตรัสเรียกเมื่ออยู่ตามลำพังว่า แม่แพ แต่ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้อื่นจะตรัสเรียกว่า คุณแพ

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีพระเจ้าลูกเธอ 3 พระองค์ คือ

    • พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี ( 2411-2447 )

    • พระองค์เจ้าสุวพักตรวิไลพรรณ ( 2416-2473 )

    • พระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาส ( 2418-2434 )

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์เคยเล่าให้พระยาสุรินทราชเสนี (สาย) น้องต่างมารดาฟัง เมื่อท่านอายุได้ 64 ปี ใน พ.ศ.2461 ความตอนหนึ่งว่า

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ผิดกับนักสนมนารีคนอื่นๆ ในรัชกาลที่ 5 ด้วยตัวท่านกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รักใคร่ติดพันกันเองอยู่ก่อน แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสขอมาเป็นสะใภ้หลวง พระราชทานสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แล้วอยู่ด้วยกันมาจนเสวยราชย์

    ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกมาพำนัก ณ บ้านซึ่งได้รับพระราชทาน ณ ตำบลสามเสน จังหวัดพระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 บ้านนั้นได้รับขนานนามว่า "สวนสุพรรณ" และท่านได้พำนักอยู่จนถึงแก่พิราลัย



    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=eeS7RgKtqaA]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 3 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=aZDun6fSPDw]ธิราชเจ้าจอมสยาม {Thee Siamese Lord} Ep. 4 - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2014
  14. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เอารูปภาพเก่าๆ ในอดีตมาให้ชมค่ะ


    [​IMG]

    ขบวนแห่พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



    [​IMG]

    ขบวนแห่ในพระราชพิธีเดียวกัน



    [​IMG]

    สนามหลวง เมื่อปลายรัชกาลที่ 5



    [​IMG]

    วัดพระแก้ว จากมุมด้านกระทรวงยุติธรรม ประมาณปลายรัชกาลที่ 5



    [​IMG]

    พระสงฆ์รับบาตรจากชาวบ้าน
    ขอให้สังเกตอิริยาบถของชายที่ใส่บาตร
    เขาย่อตัวลงต่ำ เพื่อแสดงความนอบน้อมต่อบรรพชิต
    แต่งกายเรียบร้อยมิดชิด
    ผ้าที่ชายชาวบ้านห่มเฉวียงบ่า เป็นการห่มแบบแสดงคารวะ




    [​IMG]

    ขบวนเสด็จของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เมื่อเสด็จไปทอดกฐินหลวง ณ วัดพระเชตุพน
    ถ่ายโดยชาวต่างประเทศ เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๖ (พ.ศ. ๒๔๐๙)




    [​IMG]

    ภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ. 2485 สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา



    [​IMG]

    น้ำท่วมใหญ่ 2485 อีกภาพหนึ่ง



    [​IMG]

    พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
    ทรงฉายคู่กับพระคู่หมั้น
    พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี พระวรกัญญาปทาน




    [​IMG]

    เรือนแพ
    สุขจริง...อิงกระแสธารา
    ช่วงต้นรัชกาลที่ 7




    [​IMG]

    เจ้านายจากยุโรปที่เสด็จมาทรงร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔

    แถวหลัง จากซ้ายไปขวา
    เจ้าชายแอกเซลแห่งเดนมาร์ก
    เจ้าชายฟูชิมิ-โน-มิยา แห่งญี่ปุ่น
    เจ้าชาย Aage แห่งเดนมาร์ก
    เจ้าชายอีริคแห่งเดนมาร์ค

    แถวหน้า จากซ้ายไปขวา
    เจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค( เอิร์ลแห่งอัธโลน)จากอังกฤษ
    แกรนด์ดยุคบอริส วลาดิมิโรวิช แห่งรัสเซีย
    เจ้าหญิงมารีแห่งสวีเดน
    เจ้าหญิงอลิศ พระชายาเจ้าชายอเลกซานเดอร์แห่งเทค(เคานเตสแห่งอัธโลน)
    เจ้าชายวัลดีมาร์แห่งเดนมาร์ค
    เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งสวีเดน




    [​IMG]

    ภาพที่หายากภาพหนึ่ง
    พระบรมฉายาลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ฉายโดยช่างภาพชาวสกอต
    ชื่อ จอห์น ทอมสัน ซึ่งเดินทางมาสยาม เมื่อพ.ศ. 2408



    [​IMG]

    พระบรมฉายาลักษณ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เมื่อจะเสด็จโดยพระยานุมาศไม่ทราบวันเดือนปี และเหตุการณ์ ค่ะ
    แต่เห็นจากฉลองพระองค์ อาจจะเป็นวันบรมราชาภิเษก




    [​IMG]

    หญิงสาวแต่งตัวเรียบร้อย
    รวมกลุ่มกันเล่นกีฬาในร่ม
    ขอให้สังเกตการห่มผ้าแถบของแท้ดั้งเดิม
    เขาพันร่างกายท่อนบนแล้วเหน็บไว้เฉยๆ ค่อนข้างหลวม
    ไม่เหน็บกันแน่นเหมือนในละครทีวี
    ไม่มีกระดุม ไม่มีเข็มกลัดช่วยยึด
    ผ้าแถบอยู่ติดตัวได้ก็เพราะความชำนาญของคนห่ม
    รู้ว่าจะเคลื่อนไหวยังไงถึงจะไม่หลุด




    [​IMG]

    ทหารไทยเมื่อ 100 ปีก่อนแต่งตัวกันอย่างนี้



    [​IMG]

    บริเวณที่ทำการของ ยู.เอ็น.



    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงล่องเรือเล่นดนตรี
    บริเวณทุ่งนา รังสิต คลอง ๓
    คราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสบ้านนา
    ของ ราชสกุลสนิทวงศ์ ประมาณพุทธศักราช ๒๔๙๙



    จาก เว็บ Pantown ภาพเมืองไทยในอดีต
     
  15. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    เจ้าจอมมารดาผู้มีเชื้อสายมุสลิม

    [​IMG]


    กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย คือ เจ้าจอมมารดาเรียม พระนามเดิมคือ เรียม หรือ มาเรียม เพราะท่านมีเชื้อสายมุสลิม นิกายสุนี ทรงเป็นพระสนมเอกในพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และเป็นพระราชชนนีของพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ถือเป็นหม่อมห้ามองค์ที่สอง (คุณศรี ธิดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช เป็นท่านแรก) พระบิดาคือ พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) มีพระมารดา คือท่านเพ็ง ซึ่งมีเชื้อสายเป็นมุสลิม โดยเป็นบุตรีของพระยาราชวังจัน (หวัง) ที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาจักรี (หมด) และย้อนไปอีก 5–6 ชั่วอายุคือสุลต่านสุไลมาน มุสลิมเจ้าเมืองสงขลา กับท่านชู สตรีไทยแถบสวนวัดหนัง ฝั่งธนบุรี ทำให้ทรงโปรดการเสวยนมวัว โดยบริเวณที่เลี้ยงวัวแถวถนนราชดำเนิน เรียกว่าสี่แยกคอกวัว จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้รัชกาลที่ 2 ทรงต้องพระทัยกรมพระศรีสุราลัย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นครั้งแรกในตอนที่ทรงลงว่ายน้ำเล่น แถวท่าหน้าบ้าน อันเป็นนิวาสถานเดิม (ปัจจุบัน คือวัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสร้างถวายแด่พระราชชนนี)

    เจ้าจอมมารดาเรียมได้ประสูติพระราชโอรสกับพระราชธิดา 3 พระองค์ คือ

    1. พระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และได้ทรงเสวยราชเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ประสูติเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330

    2. พระองค์เจ้าหญิงฟ้อน ประสูติเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2333 และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2336 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 พระชันษา 3 ปี และ

    3. พระองค์เจ้าชายหนูคำ ประสูติ พ.ศ. 2335 และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2336 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 พระชันษา 1 ปี

    จะเห็นได้ว่าการสิ้นพระชนม์ของพระธิดากับพระโอรสทั้ง 2 พระองค์ ทำให้เหลือเพียงพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ (รัชกาลที่ 3) เพียงพระองค์เดียวในชีวิต ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ในความเป็นพระมารดาและได้สร้างความทุกข์ระทมตรอมตรมพระทัยยิ่งนัก และยังมีเหตุที่พระราชสวามี (รัชกาลที่ 2) ทรงเป็นนักรัก เป็นศิลปิน เป็นกวี พระอารมณ์จึงอ่อนไหว มีพระราชปฏิพัทธ์ต้องพระทัยในสตรีจำนวนมากอันเป็นเพราะด้วยพระฐานะที่สูงส่งเหนือกว่าผู้ใดในแผ่นดิน

    และด้วยมีพระราชประเพณีที่มีการถวายตัว ยิ่งทำให้เจ้าจอมมารดาเรียมยอมรับและเข้าใจถึงพระฐานะอันแท้จริงที่ไม่สามารถจะยึดเหนี่ยวองค์พระราชสวามีได้ ดังนั้นเจ้าจอมมารดาเรียม จึงได้ทุ่มเทความรัก ความเอาใจใส่ ดูแลพระราชโอรส (รัชกาลที่ 3) ที่มีเพียงพระองค์เดียวอย่างเข้มงวด จึงทำให้ท่านรักและหวงพระโอรสโดยต้องให้ทรงบวชก่อนจะมีหม่อมและรัชกาลที่ 3 ก็ทรงเคารพรักเชื่อฟังและเกรงพระทัยพระชนนีของพระองค์เช่นเดียวกัน

    เมื่อพระราชสวามีได้ครองราชย์สมบัติ ทรงดำรงตำแหน่งพระสนมเอกดูแลห้องเครื่องต้นทั้งปวง ชาววังออกนามว่า “เจ้าคุณจอมมารดาเรียม” และภายหลังเมื่อพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.2369 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาพระราชชนนี ขึ้นเป็นเจ้า เฉลิมพระนามาภิไธยว่า กรมพระศรีสุราลัย

    ต่อมาเมื่อ 29 เม.ย. พ.ศ. 2380 ได้ทรงพระประชวรไข้พิษ เสด็จสวรรคต พระชนมายุ 68 พรรษา รัชกาลที่ 3 ให้อัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการจัดพระเมรุมาศและถวายเพลิงพระศพและนำพระบรมอัฐอัญเชิญสู่พระบรมมหาราชวัง เป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดเป็นครั้งสุดท้ายที่รัชกาลที่ 3 พระราชโอรสได้ทรงกระทำถวายต่อพระราชมารดาของพระองค์ และสายเลือดของกรมพระศรีสุราลัยได้สืบต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันอันเนื่องมาจากพระราชนัดดาของพระนั่งเกล้า คือ พระเทพศิรินทราบรมราชินีได้ทรงเป็นพระอัครมเหสีในพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระราชมารดาของรัชกาลที่ 5 นั่นเอง

    ต่อมาในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของกรมพระศรีสุราลัย ได้มีการเฉลิมพระนามว่า “สมเด็จพระราชมหาอัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย” และในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระศรีสุลาไลย

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเสียงเล่าลือเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์มาเป็นเวลา 200 ปี ว่ากรมพระศรีสุลาไลยและรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ในกรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 2 โดยมีการบันทึกเอาไว้เป็นเอกสารในอดีตจากบุคคลหลายคนและหลายพระองค์ ทั้งนี้ปรามินทร์ เครือทอง ได้เขียนบทความชื่อ “ฆาตกรรมวังหลวง : คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 2 จริงหรือลือ?” ลงในนิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 อันเป็นการเขียนวิเคราะห์สถานการณ์ดังกล่าวจากการค้นคว้าเอกสารร่วมสมัยเท่าที่จะมีเอกสารให้สาวไปถึงเงื่อนงำต่าง ๆ ได้ดังนี้

    เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เขียนถึงเหตุการณ์สวรรคตครั้งนี้ไว้ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ว่า “พระเจ้าอยู่หัวดำรงราชสมบัติมาตั้งแต่ปีมะเส็งเอกศก มาถึง ณ วันพุธ เดือนแปด แรมสี่ค่ำ ปีวอกฉศก ทรงพระประชวรให้มันเมื่อยพระองค์ เรียกพระโอสถชื่อ จารในเพชรข้างที่ที่เคยเสวยนั้นมาเสวย ครั้งเสวยแล้วให้ร้อนเป็นกำลัง เรียกทิพยโอสถมาเสวยอีก พระอาการก็ไม่ถอยให้เซื่องซึมไป แพทย์ประกอบพระโอสถถวายก็เสวยไม่ได้ มิได้ตรัสสิ่งไร มาจนถึง ณ วันพุธ เดือนแปด แรมสิบเอ็ดค่ำ เวลาย่ำค่ำ แล้วห้าบาทเสด็จสู่สวรรคต”

    และเงื่อนเวลาก็ยังเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ปรามินทร์นำเสนอ ให้พิจารณาว่ามีการเตรียมความพร้อมโดยพระราชพงศาวดารบันทึกว่า มีการกำหนดพระฤกษ์ผนวชของเจ้าฟ้ามงกุฎฯ (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)ไว้ล่วงหน้า คือวันพุธ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1186 (7 กรกฎาคม พ.ศ.2367) ในพระราชพิธีดังกล่าว รัชกาลที่ 2 ยังมีพระพลานามัยปกติเสด็จออกถวายเครื่องบริขารและไตรจีวร แต่หลังจากนั้นเพียง 14 วัน พระองค์ก็เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 (21 กรกฎาคม)

    พระราชพงศาวดารฯ ระบุว่าทรงเริ่มพระประชวรเมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 8 (14 กรกฎาคม) จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี บันทึกว่า เป็นวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 8 (16 กรกฎาคม) จดหมายเหตุโทรระบุว่าทรงเริ่มพระประชวร วันเสาร์ แรม 7 ค่ำ (17 กรกฎาคม) แม้วันที่เริ่มมีพระอาการประชวรไม่ตรงกัน แต่ทำให้เห็นว่าระยะเวลาประชวรจนเสด็จสวรรคตนั้นสั้นมาก

    นอกจากนี้ยังมีการบันทึกของชาวต่างชาติ คือหมอมัคคอลน์ สมิธ หมอหลวงประจำราชสำนัก รัชกาลที่ 5 ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาในวังหลวง ไว้ในหนังสือราชสำนักสยามฯ ว่า “หลังจากที่ทรงผนวชได้เพียง 2 สัปดาห์ พระราชบิดาของพระองค์ (รัชกาลที่ 2) ก็เสด็จสวรรคตลง อย่างปัจจุบันทันด่วน พระนั่งเกล้าฯ พระเชษฐาซึ่งมีตำแหน่งสำคัญในราชอาณาจักรและยังทรงได้รับการสนับสนุนจากพระมารดา ซึ่งแม้จะมีฐานะเป็นเพียงเจ้าจอมแต่ก็เป็นหญิงที่มีเล่ห์เหลี่ยมทำให้พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ” ซึ่งก่อนหน้านั้น ในรัชกาลที่ 4 แหม่มแอนนาก็เคยได้ยินคำเล่าลือทำนองนี้มาแล้วและในพระราชนิพนธ์ภาษาบาลี ว่าด้วยพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นั้น กล่าวถึงสาเหตุแห่งการสวรรคตของพระราชบิดาว่า เสมือนพบเจอกับอสรพิษทำให้สวรรคตกะทันหันไม่ทันพระราชทานพระราชสมบัติให้ผู้ใด

    และหากได้พิจารณาพิเคราะห์อย่างถ่องแท้ถึงกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 2 ดังได้กล่าวถึงแล้วว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้ย้อนประวัติศาสตร์ในอดีตทั้งไทยหรือประเทศอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า การผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน การแย่งราชสมบัติกันระหว่างสายเลือดเดียวกันไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง พ่อลูก อาหลาน หรือข้าราชการระดับสูงจากพระเจ้าแผ่นดินของตนเองนั้น ได้เกิดขึ้นและมีมาตลอดทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยเปลี่ยนแปลงหรือหยุดนิ่ง เมื่อผู้ใดมีโอกาสก็จะรีบฉวยโอกาสนั้น เพราะพระราชอำนาจการครองราชย์ย่อมเป็นที่ปรารถนาของผู้ที่ต้องการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ซึ่งจะต้องเก่งกล้าสามารถ เข้มแข็งมากที่สุดหรือ

    มีผู้คนบริวารทั้งปวงช่วยเหลือมากที่สุดจนได้รับชัยชนะ จึงมีทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์วนเวียนเปลี่ยนผ่านไปยุคแล้วยุคเล่า และถ้าจะย้อนอดีตไปแล้วจะเห็นว่าแม้ในการสืบราชสมบัติของรัชกาลที่ 3 นั้น อาจจะไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมราชประเพณี เพราะทรงเป็นพระโอรสที่ทรงประสูติจากพระสนมมิใช่เกิดจากพระอัครมเหสี แต่ถือได้ว่าการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินจากรัชกาลที่ 2 มาเป็นรัชกาลที่ 3 นั้นเป็นการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินที่มีการสูญเสียเลือดเนื้อน้อยมาก แทบจะไม่มีการสูญเสียใด ๆ เลยเพราะหากเทียบในสมัยอยุธยาหรือสมัยกรุงธนบุรี มายังรัชกาลที่ 1 หรือแม้กระทั่งตอนรัชกาลที่ 2 ขึ้นเสวยราชย์ใหม่ ๆ ก็ยังมีการประหารชีวิตกันหลายพระองค์

    ดังนั้นในกรณีสวรรคตนี้จะมีความเป็นจริงเป็นอย่างใดไม่มีผู้ใดยืนยันได้ทั้งสิ้น แม้จะมีผู้ได้ประโยชน์คือรัชกาลที่ 3 และพระมารดาของพระองค์ คือกรมพระศรีสุราลัย แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงก็คือแผ่นดินไทยที่ได้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองบ้านเมืองมาถึง 27 ปี ด้วยความร่มเย็นเป็นปึกแผ่น เจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจรุ่งเรืองและทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมองการณ์ไกลยิ่งนัก ได้ทรงมอบเงินส่วนพระองค์ที่เรียกว่าถุงแดงไว้ให้ชาติบ้านเมืองไว้แก้ไขปัญหายามคับขัน ซึ่งก็ได้ใช้จริงตอนไถ่บ้านไถ่เมืองในรัชกาลที่ 5 โดยมิได้ทรงเก็บไว้ใช้ส่วนพระองค์หรือเป็นมรดกให้ลูกหลานของพระองค์แต่อย่างใด ด้วยน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ของรัชกาลที่ 3 นี่เองที่ช่วยให้ชาติไทยได้พ้นภัย ได้กู้ชาติกู้บ้านกู้เมืองจากภัยต่างชาติ ทั้งนี้ก็ต้องถือว่ากรมพระศรีสุราลัยนั้น ท่านเป็นพระมารดาอันแสนประเสริฐที่อบรมพระโอรสได้ดียิ่ง

    จะเห็นได้ว่ากรมพระศรีสุราลัย ทรงเป็นสตรีที่เฉลียวฉลาด ไม่เป็นศัตรูกับผู้ใด เข้าใจและยอมรับถึงฐานะของพระองค์ และเป็นพระมารดาที่เสียสละเพื่อพระโอรสของพระองค์ได้ในทุกกรณี อีกทั้งยังทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเลิศในเรื่องเครื่องเสวย จนมีตำแหน่งเป็นพระสนมเอกดูแลเครื่องเสวยให้กับพระราชสวามีและพระโอรส โดยเฉพาะอาหารที่มาจากเชื้อสายแขก เช่น แกงมัสมั่น และด้วยพระชะตาอันสูงส่งพร้อมพระบุญญาธิการอันยิ่งใหญ่ของกรมพระศรีสุราลัยทำให้สายพระโลหิตของพระองค์ได้เป็นพระมหากษัตริย์และพระราชินีรวมทั้งพระราชชนนีหลายพระองค์ของแผ่นดินไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน.



    ข้อมูลจาก เดลินิวส์ โดย ศรีรัญจวน เรียบเรียง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2014
  16. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    คำสาปมัสสุหรี (พระนางเลือดขาว)

    เกาะลังกาวี เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ว่ามีตำนานที่เล่าขานกันมา ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสสุหรี ซึ่งเป็นหญิงคนไทย ลูกหลานชาวภูเก็ต

    พ่อกับแม่พระนางมัสสุหรี มีอาชีพค้าขายทางเรือระหว่าง ภูเก็ตกับเกาะปีนัง จนกระทั่ง วันหนึ่งได้ตั้งท้อง และซินแส ได้ทำนายทายทักว่า เด็กในท้องจะเป็นผู้หญิง ที่มีบุญญาธิการสูง เป็นคนดีที่เคารพแก่คนทั่วไป
    พ่อและแม่ของพระนางฯ เชื่อในคำทำนายของซินแส ประกอบกับการค้าขายที่ผ่านมา ไม่สามารถสร้างความร่ำรวย เหมือนคนอื่นๆ เขา สาเหตุเพราะไม่มีเรือสำเภาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยเช่าเรือคนอื่น ทำให้มีผลกำไรน้อยจนไม่สามารถทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ อีกทั้งเด็กหญิงมัสสุหรีที่เกิดมา ก็น่ารักน่าชัง พ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรี จึงขายข้าวของทั้งบ้าน และที่ดินจนหมด เพื่อลงทุนซื้อเรือ และสินค้าไปขายที่เกาะปีนัง

    ขณะที่พระนางมัสสุหรี อายุได้ 7 ขวบ ระหว่างเดินเรือกลางทะเล เกิดพายุใหญ่ขึ้น ด้วยความเป็นห่วงลูก พ่อและแม่ได้เข้ามาโอบกอดกลัวลูกตกทะเล ทำให้ทิ้งการควบคุมใบเรือและหางเสือ ทำให้เรือล่มกลางทะเล ทุกคนตกลงสู่ทะเล ด้วยความห่วงลูก จึงอธิษฐานว่า หากเด็กคนนี้มีบุญญาธิการจริงก็ขอให้รอดพ้นจากการจมน้ำเถิด ทั้งสามแม่ลูกจึงรอดชีวิตอย่างปฏิหารย์ ไปติดที่เกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั้นคือ ลังกาวี ที่แปลว่า นกอินทรีย์สีน้ำตาล

    บน เกาะลังกาวีนั้น มีคนมาเลย์พื้นเมืองเดิม มีสุลต่านปกครองชาวประชาเหมือนรัฐอื่นๆในแถบคาบสมุทรมาลายู สามพ่อแม่ลูกจึงเดินทางเข้าไปก็ไม่ได้รับการต้อนรับจากชนพื้นเมืองนัก จึงเดินทางไปยังใจกลางเกาะซึ่งเป็นป่ารกทึบ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเรือนใกล้สุสานของพระนางมัสสุหรี) พ่อของพระนางฯจึงได้ตัดเอาไม้บริเวณนั้นสร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัย

    จนกระทั่งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้ ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น เทือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญญาธิการ เด็กหญิงมัสสุหรี จึงยกมือสองมือระดับหน้าอก อธิษฐานจากพระเจ้า (ขอพรแบบอิสลาม) ว่า....ได้โปรดเถิดพระเจ้า หากข้าพเจ้ามีบุญญาธิการจริงขอพระเจ้าได้ประทานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด...

    ระหว่างอธิษฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ และ เด็กหญิงมัสสุหรี ขอให้พ่อไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบและ กล่าวว่าทุกคนในเกาะนี้ สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย

    ข่าว แพร่สะพัดไปทั่วเกาะ มีผู้คนมากมายเข้า ดื่มกินน้ำและนำกลับบ้าน โดยคุณสมบัติพิเศษของน้ำในบ่อแห่งนี้ เมื่อคนไข้นำไปดื่มกิน ก็จะหายจากโรคร้าย จึงลือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

    พระนางมัสสุหรีนั้น เป็นเด็กที่ขยัน เด็กที่ดีของพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านงานเรือน ซื่อสัตย์ เชื่อฟังพ่อแม่ และที่สำคัญไม่เคยพูดโกหก ทุกวันเมื่อพ่อแม่กลับมาถึงบ้าน มัสสุหรีจะถือขันน้ำสำหรับพ่อ และแม่ดื่มเพื่อแก้กระหายในมือข้างขวา ส่วนมือข้างซ้ายจะถือไม้เรียว สำหรับคอยรายงานว่าตนเองทำผิดอะไร หรือพ่อจะลงโทษหากพ่อไปได้ยินใครเขาฟ้องอะไรพ่อ ซึ่งเป็นที่ร่ำลือของชาวบ้าน ยามใดที่มีคนยาก หรือขอทานผ่านมา มักจะชวนเข้าบ้าน พูดคุยด้วยโอภาปราศรัย ให้ทาน เป็นน้ำ ข้าวปลาอาหารสม่ำเสมอ จนกระทั่งโตเป็นสาว ก็มีรูปโฉมงดงามที่สุดบนเกาะลังกาวี

    จนในที่สุดความงามและความมีน้ำใจของหญิงไทยผู้นี้ ดังกระฉ่อนไปถึงหูของ "วันดารุส" โอรสของสุลต่านผู้ซึ่งปกครองเกาะลังกาวีแห่งนี้ ด้วยความสนพระทัย วันดารุสจึงปลอมตัวเป็นขอทาน มาขอข้าวขอน้ำที่หน้าบ้านของพระนางมัสสุหรี นางก็ต้อนรับขับสู้ เอาน้ำ เอาข้าวปลามาให้เจ้าชายในคราบขอทาน จึงเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง วันดารุสทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนทั้งสองเกิดความรักซึ่งกันและกัน โดยที่นางมัสสุหรี ไม่ล่วงรู้เลยว่า ผู้ชายที่ตนกำลังหลงรักอยู่นั้นคือ รัชทายาทของผู้ปกครองเกาะลังกาวี

    วันดารุส ตัดสินใจบอกกับพระมารดาว่า พบหญิงที่รัก หญิงที่ชอบ และคิดว่าเหมาะสมกับตนแล้ว อยากแต่งงานมีครอบครัวเสียที ขอวอนให้พระมารดาช่วยไปสู่ขอ พระมารดาดีใจมาก เพราะอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาเสียทีและได้ถามว่า "เธอคนนั้นเป็นลูกเต้าหรือเชื้อพระวงศ์ที่ไหน" วันดารุสเล่าความตามที่เตรียมไว้ และเมื่อพระมารดาทราบว่า เธอเป็นหญิงสาวลูกชาวบ้าน แถมเป็นคนไทยที่อพยพมาจากภูเก็ต ไม่มีหัวนอนปลายเท้า พระมารดาก็ออกปากปฏิเสธทันที

    ในที่สุดเจ้าชายวันดารุส จึงใช้วิธี ยื่นคำขาดกับพระมารดา โดยหากพระมารดาไม่ดำเนินการไปสู่ขอนางมัสสุหรีตามความต้องการของตน (หลักศาสนาอิสลามผู้ปกครองต้องเป็นผู้สู่ขอให้) มิเช่นนั้น ตนจะปลิดชีพตนเอง พระมารดาด้วยความรักลูก กลัวลูกชายจะฆ่าตัวตาย จึงยินยอมไปสู่ขอนางมัสสุหรีแต่โดยดี แต่ในใจนั้น ผูกพยาบาทโกรธนางมัสสุหรียิ่งนัก จึงคิดหวังจะกำจัดเมื่อสบโอกาส

    พิธีอภิเษกสมรสเกิดขึ้นท่ามกลางความชื่นชมของชาวเกาะลังกาวี เพราะมีว่าที่พระมเหสีที่สวย และมีน้ำใจ เป็นที่รักของคนทั่วไป ยกเว้นพระมารดา ที่คอยกลั่นแกล้งเสมอ เมื่อวันดารุสไม่อยู่ในวัง ใช้ทำงานสารพัดเพื่อให้สาสมกลับที่แย่งความรักจากวันดารุสไปจากตน

    จนกระทั่งพระนางมัสสุหรีตั้งครรภ์ และคลอดบุตรเป็นชาย วันดารุสดีใจมากที่มีรัชทายาทกับพระนางมัสสุหรี พร้อมตั้งชื่อว่า “วันฮาเก็ม”

    วันฮาเก็มคลอดได้เพียง 3 วัน วันดารุสก็ต้องไปออกศึก เพราะขณะนั้นเกิดศึกสงครามจากการขยายอำนาจของสยาม เพราะเกาะลังกาวีส่วนหนึ่งของไทรบุรีประเทศราชของสยาม วันดารุสจึงต้องจัดทัพไปออกศึกในครั้งนั้นด้วย ก่อนไปด้วยความความรักและห่วงใยภรรยา วันดารุสจึงได้มอบหมายให้องค์รักษ์คู่ใจ มีฝีมือ และเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ให้มาช่วยรับใช้ พระนางมัสสุหรี ระหว่างที่ตนไม่อยู่ โดยประกาศไว้ว่า หากใครกล้าแตะต้องพระนางมัสสุหรีกับบุตรชาย หรือขัดขวางการทำหน้าที่ขององครักษ์ ผู้นั้นมีโทษประหารสถานเดียว ไม่มีข้อยกเว้น แล้วจึงออกเรือเดินทัพไปร่วมศึกในครั้งนั้น

    ด้วยความเกลียดชัง และอิจฉาริษยาของพระมารดา ทันทีที่วันดารุส ออกเรือ พระมารดาจึงประกาศสั่งให้ข้าทาสบริวารในวังทั้งหมด หยุดทำงาน และสั่งให้พระนางมัสสุหรีทำแต่ผู้เดียวทั้งหมด ทางด้านพระนางมัสสุหรี แทนที่จะต่อต้าน เพราะเป็นถึงพระมเหสี ด้วยความรักในพระสวามี จึงยอมทำตามคำสั่งของพระมารดาแต่โดยดี แม้องครักษ์จะทัดทาน หรือขออาสาทำงานทุกอย่างแทน ด้วยใจหวังไว้ว่า สักวันความดีจะชนะใจได้ จนกระทั่งฝ่ายองครักษ์ทนดูไม่ได้ จึงก้มลงกราบแทบเท้าพระนาง จะไม่ยอมลุกขึ้น หากพระนางมัสสุหรีไม่ยอมให้ช่วยทำงานแทน พระนางฯจึงยินยอมในที่สุด

    ฝ่าย พระมารดาโกรธมาก เมื่อทราบถึงการเข้าช่วยเหลือขององครักษ์ จึงเห็นต้องกำจัดทั้งสองคน โดยได้สั่งให้บริวารไปเฝ้าดูเพื่อจับผิด และหาเรื่องใส่ร้ายพระนางมัสสุหรีให้จงได้ จนกระทั่งวันหนึ่งก็มาถึง พระนางมัสสุหรี เอาผ้าคลุมฮิญาบหรือผ้าคลุมศีรษะยื่นให้องครักษ์เช็ดหน้าเช็ดตา ในขณะที่กำลังตรากตรำทำงานหนัก และบริวารสายสืบของพระมารดาเห็นเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปรายงานพระมารดา ซึ่งดีใจมาก พร้อมสั่งให้ทหารไปจับคนทั้งสองและป่าวประกาศไปทั่วเกาะ ว่าพระนางมัสสุหรีมีชู้กับองครักษ์ ทำให้เสื่อมเสียงพระเกียรติแก่ราชวงศ์มีโทษประหารด้วยกริช ห้ามใครพูดเข้าข้างพระนางมัสสุหรี มิเช่นนั้นจะประหารทันที ส่วนองครักษ์นั้นได้ถูกสั่งประหารด้วยการขุดหลุม แล้วให้ลงไปนอน เอาก้อนหินกระหน่ำปาลงไปจนตาย

    พระนางมัสสุหรีถูกนำตัวมามัดไว้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง เพชฌฆาตนั้นเมื่อเริ่มลงมือเอากริชแทงพระนางหลายครั้งด้วยน้ำตา แต่กริชไม่สามารถระคายผิวพระนางมัสสุหรีได้เลย พระนางจึงกล่าวว่า "กริชประจำตระกูลของพระนางเท่านั้นถึงจะฆ่าพระนางได้ และกริชนั่นก็อยู่ที่ บ้านพ่อแม่ของข้าเอง" พระมารดาได้ยินดังนั้นจึงสั่งให้เพชฌฆาตไปเอากริช ประจำตระกูลของพระนางตามที่พระนางบอก

    ทางด้านพ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรีเมื่อมีคนของพระมารดาไปขอกริชประจำตระกูล ก็ให้แต่โดยดี ด้วยเพราะทราบดีว่า คงเป็นความประสงค์ของพระนางมัสสุรี ที่จะกู้ศักดิ์ศรี และแสดงความบริสุทธิ์ แม้จะแลกด้วยชีวิตก็ตาม

    ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงมือประหาร พระนางมัสสุหรีจึงกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า “ฟ้าดินเป็นพยานข้านี้ถูกใส่ร้าย ข้ามิเคยคบชู้สู่ชายแต่อย่างใด หากข้าไม่ผิด ขอให้โลหิตเป็นสีขาว และอย่าให้โลหิตข้าหลั่งลงพื้นดิน ฟ้าดินเป็นพยาน” เมื่อสิ้นคำกล่าวของพระนางมัสสุหรี เพชฌฆาตก็ลงมือปักกริชลงตรงคอ เสียงร้องของพระนางดังไปทั่วบริเวณ เลือดสีขาวของพระนางพุ่งขึ้นเหมือนร่ม โดยไม่ตกลงพื้นแม้แต่หยดเดียว หันไปมองบุตรตัวน้อยวัยสามเดือน ที่ร้องเสียงดัง เหมือนรับรู้ความเจ็บปวดของมารดา

    ก่อนสิ้นใจพระนางได้อ้อนวอนขอกอดลูก และขอให้นมบุตรเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระมารดาแม่ผัวผู้ใจดำ แต่พระมารดาไม่ยินยอม พระนางมัสสุหรีจึงสาปแช่งว่า หากนางเป็นผู้บริสุทธิ์ มันผู้ใดที่อยู่บนเกาะลังกาวีจงประสบทุกข์เข็ญนานตราบ 7 ชั่วอายุคน และบอกพ่อกับแม่ของตนให้เอากล้วยน้ำหว้าป้อนลูกของตนแทนนม แล้วจึงสิ้นใจ ทางด้านวันดารุส ขณะอยู่กลางท้องทะเล ก็นิมิตเห็นภาพพระนางมัสสุหรีเหมือนมาลา จึงประกาศ “หากใครทำอันตรายพระนางมัสสุหรี จะฆ่าตายให้หมด" พร้อมกับเดินทางกลับทันที

    เมื่อมาถึงเกาะ สภาพเกาะเหมือนเกาะร้าง แทนที่จะมีเสียงประชาชนเข้ามาล้อม โห่ร้องต้อนรับ เหมือนวีรบุรุษ เช่นทุกครั้ง แต่กลับเงียบเชียบเหมือนเมืองร้าง ผู้คนไม่รู้หายไปไหนหมด เมื่อกลับไปที่วัง ร้องหาแม่นางมัสสุหรีและลูกไม่พบ ก็ใจหาย จึงไปหาที่บ้านพ่อตาแม่ยาย เมื่อย่างก้าวเข้าบริเวณบ้าน ความรู้สึกเศร้าระงมไปทั่ว แต่ก็กลับดีใจ ที่ได้ยินร้องของเด็ก เมื่อขึ้นไปดู จึงเห็นแต่ลูก และทราบข่าวการตายของพระนางมัสสุหรี จากพ่อตาและแม่ยาย

    วันดารุสเสียใจมาก เพราะคิดไม่ถึงว่า พระมารดาจะฆ่าและทำลายพระนางมัสสุหรี คนที่ตนรักอย่างโหดเหี้ยมได้ลงคอ พระองค์จึงตัดสินใจสละสิทธิ์รัชทายาทราชบัลลังก์ แล้วหอบลูกและกริช กลับไปยังบ้านเกิดของพระนางมัสสุหรี คือภูเก็ต

    ส่วนพระมารดาเมื่อสิ้นชีวิต พระศพก็ไม่สามารถฝังที่ใดได้เลย บนเกาะลังกาวี ฝังที่ใดทรายก็จะดันขึ้นมาเสมอ จนกระทั่ง ต้องไปทำพิธีบนบานที่สุสานพระนางมัสสุหรี จึงสามารถนำพระศพไปฝังไว้ที่บริเวณหาดทราย และสีของหาดทรายกลายเป็นสีดำในทันที หลังจากที่ฝังเสร็จ



    [​IMG]

    หลุมศพพระนางมัสสุหรี


    [​IMG]
    หาดทรายสีดำบนเกาะลังกาวี


    สำหรับสุสานของพระนางมัสสุหรีนั้น เป็นสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อน และคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความแปลได้ว่า . . .

    มัสสุหรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการ ทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) 1235 หรือ คริสต์ศักราช 1819 (พ.ศ. 2362) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า ''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา 7 ชั่วอายุคน''

    และนับตั้งแต่วันนั้นเป็น ต้นมา "เกาะลังกาวี" ก็เงียบเหงา ผู้คนอยู่กันอย่างไม่มีความสุข เพราะมนตราแห่งการสาปแช่งของพระนางมัสสุหรี มาตั้งแต่ พ.ศ.2362 เป็นเวลา 181 ปี ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่มืดดำเฉกเช่นชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตกต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง 7 ชั่วอายุคน

    อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เกาะลังกาวีกำลังจะผ่านพ้นช่วงแห่งความมืดมิด เพราะได้ผ่านพ้นมาแล้ว 6 ชั่วอายุคน และก้าวเข้าสู่คนรุ่นที่ 7 ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นผู้มาแก้คำสาป เพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุดพ้นจากอำนาจลึกลับ

    ทั้งนี้หนังสือพิมพ์หลายๆ สำนักของมาเลเซีย และรัฐบาลมาเลเซีย ต่างพากันออกตามหาผู้สืบทอดเชื้อสายของพระนางมัสสุหรี จนมาพบว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ซึ่ง ก็คือ นางสาวศิรินทรา ยายี มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเป็นทายาทผู้ถอนคำสาป ไม่ว่าจะเป็นกริซประจำตระกูล รูปภาพ และบรรพบุรุษชื่อ "วันฮาเกม" ทางรัฐบาลจึงเชิญพระนางทายาทรุ่นที่ 7 กลับสู่เกาะลังกาวี เพื่อถอนคำสาป จากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตตามปกติ แต่เมื่อเธอได้ไปยืนอยู่บนแผ่นดินเกาะลังกาวี เธอกลับกลายเป็นเจ้าหญิงน้อยๆ ไปในทันที

    "ศิรินทรา ยายี" หรือ "เมย์" เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต (น่าแปลกที่วันนั้นไม่มีเด็กคนไหนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเธอเลย แถมท้องฟ้าที่ใสกระจ่างกลับมืดดำ และฝนก็เทกระหน่ำลงมานานถึง 1 เดือน) ศิรินทรา ยายี เป็นบุตรสาวของนายสุวรรณ ยายี และนางสุนี ยายี มีน้องชาย 1 คน ปัจจุบัน ศิรินทรา ยายี กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2 ของคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะมีความใฝ่ฝันว่าอยากเป็นแอร์โฮสเตส หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอเคยได้ทุนของเอกชนในประเทศมาเลเซีย ให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซีย อยู่ 2 ปี แต่มีปัญหาเรื่องทุนจึงต้องกลับมาเรียนต่อในไทย ถึงแม้ว่าทางประเทศมาเลเซียจะเสนอให้ครอบครัวเธอย้ายไปอยู่ที่นั่น โดยจะมอบบ้าน รถ ที่ดิน และสิทธิในการเป็นเจ้าของเกาะให้ด้วย แต่ศิรินทรา ยายี เลือกที่จะอยู่ต่อที่ประเทศไทย เพราะเธอรักประเทศไทย

    "หนูรู้สึกภูมิใจในการที่ได้เกิดเป็นทายาทรุ่นที่ 7 เพราะคุณทวดหนูเป็นคนดี และหนูคงเอาความดีของคุณทวดมาเป็นแบบอย่าง" ศิรินทรา กล่าว

    อย่างไรก็ตาม หลังการไปเยือนเกาะลังกาวีของ ศิรินทรา ยายี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ทำให้เกาะต้องมนต์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นคืนชีพเกาะลังกาวี ในความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ทางประวัติศาสตร์



    [​IMG]

    ศิรินทรา ยายี ทายาทเจ้าหญิงรุ่นที่ 7 แห่งลังกาวี
     
  17. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    พระมเหสีที่ทรงโทมนัสมากที่สุดในประวัติศาสตร์

    [​IMG]


    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 60 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 โดยได้รับพระราชทานพระราชหัตถเลขาตั้งพระนามจากสมเด็จพระบรมราชชนกนาถเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2405 ซึ่งเป็นวันทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา"

    พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่

    1. พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
    2. พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์
    3. พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
    4. พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
    5. พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ
    6. พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ


    [​IMG]

    (จากซ้าย) พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ และพระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย


    พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนาทรงได้รับการศึกษาตามแบบกุลสตรีในวังหลวง ทรงได้เล่าเรียนภาษาอังกฤษถึงขั้นอ่านออกและฟังเข้าพระทัย มีพระพี่นางพระน้องนางที่สนิทสนมเป็นเพื่อนสนิทกลุ่มเดียวกัน คือ พระองค์เจ้าแขไขดวง พระองค์เจ้านภาพรประภา พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

    เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 6 พรรษา พระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติขึ้นเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา จึงเปลี่ยนเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา

    พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้น ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม พระองค์ทรงเข้ารับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ 5 ขณะที่มีพระชนม์ 16 พรรษา โดยมีพระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 ที่รับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับพระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี และพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

    พระภรรยาเจ้าทั้ง 4 พระองค์มีพระเกียรติยศเสมอกันทุกพระองค์ พระเกียรติยศที่จะเพิ่มพูนนั้นขึ้นอยู่กับการมีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นสำคัญ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2423 เกิดเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์โดยเรือพระประเทียบล่มระหว่างโดยเสด็จแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน จึงทำให้เกิดปัญหาในการจะออกพระนามในประกาศทางราชการ ซึ่งนำมาสู่การจัดระเบียบภายในพระราชสำนักว่าด้วยตำแหน่งพระภรรยาเจ้าให้ เป็นที่เรียบร้อย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชเทวี" ซึ่งถือเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์แรก และ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ต่อไป เฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี

    โดยในวันงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ก็ได้มีประกาศยืนยันฐานะสมเด็จพระอัครมเหสีให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นโดยเพิ่ม คำว่า “บรม” เข้าไปในคุณศัพท์ของคำว่าราชเทวีอีกหนึ่งคำ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ซึ่งเป็นตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสี เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 5

    หลังจากพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างพระตำหนัก ขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวัง เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระอัครมเหสี พระตำหนักใหม่นี้เป็นพระตำหนักขนาดใหญ่ ถือเป็นพระตำหนักประธานในเขตพระราชฐานชั้นในเลยทีเดียว โดยเมื่อขึ้นพระตำหนักใหม่แล้ว ชาววังก็ออกพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีโดยลำลองว่า สมเด็จพระตำหนัก ตั้งแต่นั้นมา


    [​IMG]

    พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายพร้อมด้วย สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (พระบรมราชชนก)


    ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ ต่อไป พร้อมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ในฐานะเป็นพระชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระยศพระอัครมเหสี เช่น เดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

    หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรป อย่างเป็นทางการ พระองค์ได้สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของพระภรรยาเจ้า จึงทำให้พระฐานันดรศักดิ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ลดลงมาเป็นอันดับสองของพระราชวงศ์ฝ่ายในโดยปริยาย

    ซึ่งสภาวการณ์ "ตก" ดังกล่าว พระองค์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ความว่า "...ฉัน น่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้ว เมื่อเวลาฉันมีบุญน่ะ ล้วนแต่มาห้อมล้อมฉันทั้งนั้นแหละ เวลามีงานมีการอะไร ฉันก็ช่วยเต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉันตกก็หันหนีหมด ไปเข้าตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทำบุญกับคนรู้จัก แต่จะทำการกุศลทั่วไปโดยไม่เลือก"

    พระพันวัสสามีพระราชโอรสธิดารวม 8 พระองค์ ได้แก่

    1. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

    2. เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์

    3. เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา

    4. เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์

    5.เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

    6.เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ

    7. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

    8. เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม)

    นอกจากนี้ยังทรงรับอภิบาลพระเจ้าลูกเธอที่กำพร้าพระมารดาอีก 4 พระองค์

    1. พระองค์เจ้าเยาวภาพงษ์สนิท

    2. พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์

    3.พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไล

    4.พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร

    แม้สมเด็จพระพันวัสสาจะทรงพระอิศริยยศสูงส่ง แต่ก็ทรงประสบกับความทุกข์ด้วยพระราชโอรสธิดาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระ เยาว์ ได้แก่

    เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษาเพียง 21 วัน ในปี พ.ศ. 2422

    ปี พ.ศ.2424 ทรงสูญเสีย เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา พระชันษาเพียง 4 เดือน

    ต่อมาใน พ.ศ.2436 เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) ซึ่งประสูติได้เพียง 3 วัน สิ้นพระชนม์

    จากนั้นก็มีเหตุให้ทรงโทมนัสแสนสาหัสอีกหลายครา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสูญเสีย เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันด้วยโรคไข้รากสาดน้อย ในปี พ.ศ. 2437

    เล่ากันว่าสมเด็จพระพันวัสสาทรงล้มทั้งยืนในทันที สิ้นพระสติสมประดี ครั้นรู้สึกพระองค์ก็ทรงพระกันแสงอย่างรุนแรง ทรงใช้พระกรข้อนพระอุระด้วยปริเทวนาการดังจะสวรรคตตามไป ไม่ทรงฟังคำปลอบประโลมใดๆ ทรงโศกเศร้าจนไม่เสด็จกลับตำหนัก กั้นพระฉากบรรทมในที่ประดิษฐานพระบรมศพพระราชโอรส ไม่เสวยพระกระยาหาร จนทรงพระประชวรในที่สุด



    [​IMG]

    พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดลยเดช (ขวา) สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า (กลาง) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ซ้าย) ทรงฉายระหว่างการเสด็จนิวัติพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้ฉายพระรูป (สามารถเห็นพระองค์ได้ในกระจกด้านหลัง)



    เวลาผ่านไป พระสุขภาพเริ่มดีขึ้น เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ พระชันษา 10 ปี ก็สิ้นพระชนม์ พระพันวัสสาทรงเสียพระทัยถึงกับประชวรอีกครั้ง แพทย์ต้องกราบบังคมทูลขอให้เสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่ชายทะเล แต่ยังไม่ทันได้เสด็จไป เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีก ในปี พ.ศ.2442

    สมเด็จพระพันวัสสาทรงพระประชวรหนักถึงทรงพระดำเนินไม่ได้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ทรงโศกสลดและแทบจะทรงหมดกำลังพระทัย พระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพจัดขึ้นต่อเนื่องกัน ณ พระเมรุมณฑป วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) พระพันวัสสาทรงโศกเศร้าเกินจะห้ามพระทัย ไม่ได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงทั้งสามพระองค์

    ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระพันวัสสาทรงพระประชวรสลบไปทันที เล่ากันมาว่าทรงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปว่า ขอให้ลืม ลืมให้หมด อย่าให้มีความจำอะไรเลย จำอะไรขึ้นมา ก็ล้วนแต่ความทุกข์ทั้งนั้น

    ในพ.ศ. 2481 เจ้าพนักงานตำรวจเชิญ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ไปคุมขังไว้ที่สถานีตำรวจพระราชวัง ด้วยเหตุผลทางการเมือง (หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว) พระพันวัสสาทรงต่อรองรับประกันด้วยพระราชทรัพย์ทั้งหมดเพื่อแลกกับอิสรภาพ ของพระโอรส เมื่อไม่สำเร็จทรงรับสั่งว่า ทำไมรังแกกันอย่างนี้ มันจะเอาชีวิตฉัน เห็นได้เทียวว่ารังแกฉัน ลูกตายไม่น้อยใจช้ำใจเลย เพราะมีเรื่องหักได้ว่าเป็นธรรมดาโลก ครั้งนี้ทุกข์ที่สุดจะทุกข์แล้ว

    ภาย หลัง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยพร้อม สมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จย่า) พระธิดาพระโอรสทั้ง 3 (พระพี่นางฯ รัชกาลที่ 8 รัชกาลที่ 9)

    ความสุขในวังสระปทุมหมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงประชวร พระอาการทรุดหนักสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จฯ มาทอดพระเนตรพระอาการ ด้วยพระพักตร์สงบแม้จะตกพระทัยมาก ประทับอยู่ใกล้พระแท่น สมเด็จพระบรมราชชนกพระเนตรปรอย ลืมพระเนตรขึ้นแล้วเสด็จสวรรคตในทันที พระพันวัสสารทรงคุกพระชงฆ์ (เข่า) ลง ยื่นพระหัตถ์ไปทรงปิดพระเนตร แล้วซบพระพักตร์ลง

    ความโทมนัสแสนสาหัสที่เกิดขึ้นน่าจะจบลงเพียงแค่นั้น เพราะพระพันวัสสาทรงปีติปลาบปลื้มกับพระนัดดาทั้งสาม พระสุขภาพที่ทรุดโทรมก่อนหน้านี้ค่อยดีขึ้น ด้วยพระราชหฤทัยที่ชื่นบาน

    เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระราชนัดดา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ (รัชกาลที่ 8) ทรงเฉลิมพระนามสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตามพระราชสัมพันธ์ที่สมเด็จฯ ทรงมีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 คือเป็นพระอัยยิกา (ย่า) และทรงดำรงพระอิสริยยศนี้จนตลอดพระชนมายุ เมื่อรัชกาลที่ 8 สวรรคตในปี พ.ศ. 2489

    ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าให้ทรงทราบ ในวันเชิญพระบรมศพลงพระโกศนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จพระราชดำเนินออกมาทางระเบียงและตรัสขึ้นมาว่า "วันนี้เป็นอะไร ฟ้าเศร้าจริง นกสักตัวกาสักตัวก็ไม่มาร้อง เศร้าเหลือเกิน นี่ทำไมมันเงียบเชียบไปหมดอย่างนี้ล่ะ" ข้าราชบริพารเมื่อได้ยินดังนั้นต่างก็รู้สึกสะเทือนใจ ผู้ใดที่ทนไม่ได้ต่างก็หลบออกมาด้วยกลัวที่พระองค์ท่านจะทรงรู้ได้ว่าเกิด เหตุการณ์ใดขึ้น พระองค์จึงทรงรำลึกอยู่เสมอว่า "มีหลานชาย 2 คน"

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักใหญ่ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493เมื่อพระองค์ทรงเจิมหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรแล้ว มีรับสั่งว่า "หันออกไปยิ้มกับผู้คนที่เข้ามาซิ เขาอุตส่าห์มากันเต็ม ๆ ออกไปให้เขาเห็นหน่อย" ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ผู้เข้าเฝ้า ณ ที่นั้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเลือนพระสัญญาด้วยทรงเจริญพระชนมพรรษาเกือบ 90 พรรษาแล้วในขณะนั้น และมักจะไม่มีพระราชเสาวนีย์แก่ผู้มาเฝ้าเท่าใดนัก

    เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมายังวังสระปทุม เมื่อ เวลาประมาณ 2 ยาม เนื่องจากคณะแพทย์ที่ถวายการรักษาสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากราบบังคมทูล ว่าพระอาการหนักสุดที่จะแก้ไขแล้ว พระชนมชีพคงจะถึงที่สุดในไม่ช้า ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนอยู่ปลายพระบาท พร้อมด้วยคณะแพทย์และพยาบาลที่เฝ้าพระอาการ ส่วนหน้าห้องพระบรรทมนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถประทับอยู่ นอกจากนั้น ก็มีเสด็จพระองค์วาปีฯ หม่อมเจ้าหลาน ๆ และข้าหลวงหมอบเฝ้าเต็มไปหมด เนื่องจากเป็นที่ทราบกันแล้วว่าพระอาการน่าเป็นห่วงตั้งแต่ 5 ทุ่ม จึงมาคอยส่งเสด็จกันพร้อมหน้าในวาระสุดท้าย

    หลังจากตีสองชาววังที่เฝ้าอยู่ในที่นั้นทั้งปวงต่างก็ได้ยินเสียงสวดมนต์เบา ๆ ติดต่อกันโดยหาตัวผู้สวดไม่ได้ พอผ่านไปได้ 16 นาที สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการสงบ เมื่อเวลา 2.16 น. โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถวายบังคม "สมเด็จย่า" อยู่ที่เบื้องปลายพระบาทนั่นเอง สิริพระชนมายุได้ 93 พรรษา 3 เดือน 7 วัน


    [​IMG]
     
  18. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    ร่มนครินทร์ - พระราชชนนีสองกษัตริย์

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=SlG3x3rgWSw]ร่มนครินทร์3/1 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Om35JZ61KMo]ร่มนครินทร์3/2 - YouTube[/ame]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=OkX5uphxmL4]ร่มนครินทร์3/3 - YouTube[/ame]
     
  19. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    [​IMG]


    บันทึกลับ !! เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
    ผู้ลอบปลงพระชนม์ ในหลวง ร.8

    ได้มีโอกาสเจอคุณลุงท่านหนึ่ง(ขอไม่เปิดเผยนาม)ที่เป็นคนในครอบครัวของ ศ.นพ.ชุบ โชติกเสถียร หรือฉายา " หมอสปัสซั่ม " ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาฯ

    ผู้ชันสูตรพลิกศพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ท่านเป็นหมอที่ยืนยันว่านอกจากจะมีการลอบปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน " พาราเบลลั่ม "แล้ว ยังมีการวางยาในหลวง วางยาต้นห้อง

    คุณลุงนั่งกินหมูกะทะกับผมโดยบังเอิญที่หน้าสถานีวิหคเรดิโอ เชียงใหม่ เมื่อ 19 พฤษภาคม 2556 เพราะท่านมาวันเกิดลูกของน้องชายผม เลยคุยกันแบบถูกคอเรื่องบ้านเมือง

    ในอดีตจนถึงปัจจุบัน คุณลุงเล่าให้ฟังเรื่องการลอบปลงพระชนม์ ร.8 ว่า ศ.นพ.ชุบ โชติกเสถียร บิดา จะไปเป็นพยานในศาลคดีลอบปลงพระชนม์ ปรีดี ได้มาเจรจา

    เพื่อให้ยอมไปให้ปากคำว่าเป็นการปลงพระชนม์ตัวเอง โดยยื่นสินบนด้วยคำพูดว่า "จะเปิดคลังหลวงให้และให้เอากระเป๋าไป2ใบ ใส่เงินเท่าที่ใส่ได้ให้ไปกินอยู่ตลอดชีวิต แค่อย่าให้ปากคำกับศาลว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์"

    ในสมัยนั้นถ้าใครไม่ยอมทำตาม ก็จะมี "เก๋งดำ" หรือรถยนต์เก๋งสีดำ มาจอดหน้าบ้าน นั้นหมายถึงว่าตายทุกราย จนข่าวนี้โด่งดังจนเกิดข่าวลือว่า ศ.นพ.ชุบ ตายแล้ว อันที่จริงแล้ว ศ.นพ.ชุบ ได้จ้างทหารมาเป็นยามถือปืนลูกซองอยู่ในบ้านใครเข้ามา

    "ยิงทิ้งทันที" จากนั้นก็ไปให้ปากคำกับศาลยืนยันว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์จริง ระบุว่าในการตรวจพระศพยังพบว่ามีการ "ลอบวางยา" ต้นห้องของในหลวงรัชกาลที่ 8

    และในพระวรกายของพระองค์ท่านยังพบว่า มีการพบ "น้ำมันละหุ่ง" ในปริมาณมากผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการ "มึนงง" ก่อนการลอบปลงพระชนม์

    คำว่าหมอ "สปัสซั่ม" สื่อมวลชนในสมัยนั้น ได้ให้ฉายา กับ ศ.นพ.ชุบ เพราะคำให้การที่อธิบายถึงคนที่จะยิงตัวตายได้จะต้องมีอาการเกร็ง หรือ "สปัสซั่ม" แต่ในหลวงรัชกาลที่ 8

    ไม่มีอาการดังกล่าว นั้นยิ่งชัดว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ที่ ศ.นพ.ชุบไม่ให้ปากคำตามที่ปรีดีต้องการ เพราะท่านได้ทุนเจ้าฟ้าเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 13 ปี

    มีพี่น้องคือ 1.หลวงประเสริฐไมตรี โชติกเสถียร 2.พลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร สมุหราชองครักษ์-องคมนตรี 3.ศ.นพ.ชุบ โชติกเสถียร 4.ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน เป็นบุตรของ

    ทูตพระสัมผกิจปรีชา โชติกเสถียร และคุณหญิงฉลวย โชติกเสถียร ซึ่งพลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร คือ สมุหะราชองครักษ์ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าให้เป็น "องคมนตรี"

    โดยได้รับใช้ดูแลในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9 พระพี่นาง สมเด็จย่า มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กในประเทศไทยตอนยังไม่ได้ครองราชบัลลังค์ ก่อนเสด็จไปประเทศสวิสฯ

    ทำให้ ตระกูล "โชติกเสถียร" มีความใกล้ชิดและจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีเป็นอย่างมาก พอเกิดการเปลี่ยนแปลงจากคณะราษฎร์ยึดอำนาจกันเอง ทำให้ปรีดีหมดอำนาจ

    จากฝีมือจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ชีวิตของ ศ.นพ.ชุบ จึงรอดเงื้อมมือมัจจุราชมาได้ และได้ก่อตั้งโรงพยาบาล หน่วยแพทย์อาสา จนสิ้นอายุขัยด้วยวัยชรา

    ลุงตั้งข้อสงสัยว่าทำไมสำหรับ ใจ ลูก ดร.ป๋วย มาใส่ร้ายโจมตีรัชกาลที่ 9 กล่าวหาว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 เพื่อแย่งชิงราชบัลลังค์นั้น ผมอธิบายกับคุณลุงนิต

    ตามหลักยุทธศาสตร์การเมืองว่า เป็นเรื่องที่ไม่แปลก เพราะทั้ง ป๋วย ทั้ง ใจ เป็นฝ่ายซ้ายนิยมในคอมมิวนิสต์ แม้ ดร.ป๋วย จะเป็นเสรีไทยสายอังกฤษ แต่ก็ไม่นิยมเจ้าจึงเป็นพรรคพวกเดียวกับอำมาตย์ตรีปรีดี การปล่อยข่าวทำลายสถาบันกษัตริย์

    เป็นหลักในการล้มล้างการปกครองในประเทศฝรั่งเศส ที่จะปล่อยข่าวทำลายราชวงศ์ก่อนที่จะมีการโค่นล้ม โดยมีรากเหง้ามาตั้งแต่ ประชาธิปไตยเกิดขึ้นที่นครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ยุค เมโสโปเตเมีย ฟินีเซียและอินเดีย

    ที่มีนักปราชญ์ที่รู้จักกันในนาม "เพลโต้" democracy ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า "ดีมอคระเทีย" หลังการลอบปลงพระชนม์สมัยนั้น

    คดีลอบปลงพระชนม์" ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง หลังจาก จอมพลสฤษดิ์ ยึดอำนาจจอมพลป.สำเร็จ โดยถือหลักคิดโจโฉ ถือธงนำหน้า ปกป้องพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนวาทกรรมที่ว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"

    ที่มีการประกาศในโรงภาพยนต์สมัยนั้น เกิดจากประชาชนที่อดรนทนไม่ไหวกับการยึดครองอำนาจของคณะราษฎร์ เกิดการทุจริต คอรัปชั่น เข่นฆ่าประชาชน ฆ่ารัฐมนตรี รัฐประหารกันเองหลายสิบครั้ง ฆ่าในหลวง อีกต่างหาก

    แต่ฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเอามาโจมตีว่าเป็นฝีมือของ “พรรคประชาธิปัตย์” พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นโดย นายควง อภัยวงศ์ น้องชายของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

    ของรัชกาลที่ 6 โดยเจตนาโจมตีป้ายสีรัชกาลที่ 9 ว่าเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ ให้เกิดเป้าหมายสูงสุดคือปลุกให้ประชาชนไม่พอใจลุกฮือเปลี่ยนแปลงการปกครอง เหมือนที่เกิดในฝรั่งเศส รัสเซีย ฯลฯ

    การสอบสวนคดีลอบปลงพระชนม์ ร.8 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ รื้อฟื้นขึ้นเมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ มีการแต่งตั้งใด้ พล ต.ต. พระพินิจชนคดี

    กลับเข้ารับราชการทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ หลังถูกปลดออกในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.(นอมินีปรีดี) บทสรุปจากบันทึกจากทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์ คือฝ่ายผู้แพ้ ฝ่ายขวา คือฝ่ายชนะ และคนกลาง ตรงกันคือ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ถูกลอบปลงพระชนม์จริง

    จากพยานที่ถูกบันทึกไว้ทั้ง 3 ฝ่ายระบุตรงกันรวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาคดีลอบปลงพระชนม์ว่า เพราะในหลวงรัชกาลที่ 8 จะลาออกมาเลือกตั้งแข่งขันเป็นนายกรัฐมนตรี และจะให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นในหลวงแทน

    จากการสอบสวนและบันทึกส่วนพระองค์พบว่า ร.8 ท่านทนไม่ได้ที่ถูกปรีดี ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้สำเร็จราชการฯริบรอนพระราชอำนาจ กดขี่ จนมีบันทึกในประวัติศาสตร์ไว้ว่า " แม้แต่รถก็ไม่มีให้ใช้ หากแม่เราป่วยจะไปโรงพยาบาลจะไปอย่างไร "

    จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่าผู้ลงมือลอบปลงพระชนม์คือ " รอ.วัชรชัย " อดีตรองราชเลขาสำนักพระราชวัง คนสนิทปรีดี ที่ทำหน้าที่เป็นรองราชเลขาสมัยนั้น ที่เริ่มให้ ร.8 ซ้อมยิงปืนเมื่อเกิดเหตุจะได้ไม่มีใครสงสัย ลอบสังหารต้นห้องจนเสียชีวิต

    จากนั้นเข้าไปวางยา ร.8 แล้วจึงลอบปลงพระชนม์ด้วยอาวุธปืน เมื่อสำเร็จก็หลบหนีไปร่วมกับอำมาตย์ตรีปรีดียังประเทศจีน แล้วกลับมาร่วมกันก่อกบฎวังหลวง กบฎแมนฮัตตัน กบฎเมษาฮาวายแต่ไม่สำเร็จ

    จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ใช้อำนาจศาลสั่งประหาร นายเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขานุการในพระองค์ นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน สองมหาดเล็กห้องพระบรรทม

    ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ ฐานละเลยการปฎิบัติหน้าที่ปล่อยปละละเลยให้เกิดการลอบปลงพระชนม์ และเกี่ยวพันการลอบปลงพระชนม์ ส่วน ร.อ.วัชรชัย

    ที่หลบหนีไปกับปรีดีหลบซ่อนในจีน ได้ขอให้ทางการจีนสังหารให้ตายตกตามกัน ส่วนปรีดี โจวเอนไหล เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เชิญให้ออกจากประเทศไปลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งเสียชีวิตบนโต๊ะทำงานด้วยโรคหัวใจ

    เรื่องการใส่ร้ายป้ายสีสถาบันกษัตริย์ ฝ่ายคณะราษฎร์ได้เริ่มกระทำการปลุกปั่นอย่างหนักมาตั้งแต่เริ่มทำการปฎิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 และกระทำหนักป้ายสี ร.9

    ในยุคจอมพล.ป. เพื่อหวังยึดอำนาจการปกครองให้เบ็ดเสร็จ แต่ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ รัฐประหาร จึงมีการรื้อคดีลอบปลงประชนม์ขึ้นมา ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือขบวนการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้นำหลักนี้มาป้ายสีอีก

    ก่อนเกิดเหตุการณ์วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก

    จนกระทั่งมาในยุคคอมฯขบวนการแบ่งแยกดินแดนเสื้อแดงก็นำวิธีเดียวกันมาใช้ ตั้งแต่ ราว1มกราคม 2552 ก่อนเกิดเหตุการณ์เมษาจราจล 12-15เมษายน 2552

    เพราะกลยุทธดังกล่าวในการป้ายสีสถาบันกษัตริย์คือหนึ่งในหลักล้มล้างการปกครองที่มีต้นแบบมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval)

    ที่นิยมกระทำกันมากหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ประเทศในโลกถึง 1 ใน 3 ของโลก กลายเป็นคอมมิวนิสต์

    สิ่งเหล่านี้คือประวัติศาสตร์ กลยุทธการเมือง ที่สลับซับซ้อน ที่เป็นรากเหง้าของประเทศไทย ที่ได้ค้นคว้าจากคำบอกเล่าจากคนมีชีวิต และบันทึกของทั้งฝ่ายคอมมิวนิสต์ คนกลาง

    และฝ่ายชนะ อันจะเป็นบทเรียนสำหรับคน ไทยทั้งชาติได้จดจำ รู้ข้อเท็จจริงมิให้เกิดขึ้นอีกในภายหน้า สิ่งหนึ่งที่ได้จากประวัติศาสตร์คือ ผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน ผลกรรมยุติธรรมเสมอ ทำกรรมใดไว้ก็จะได้รับผลกรรมตามนั้น

    “ รู้จักแผ่นดินถิ่นกำเนิด รู้จักเทิดองค์กษัตริย์ของรัฐถา รู้จักคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา จงรู้ซึ้งคำว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ “

    บทกลอนในหนังสืออำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดย ไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง

    เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
    8 เมษายน 2557

    เครดิต : เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา-สถานีวิหคเรดิโอ

    ข้อมูลอ้างอิง

    1.คำบอกเล่าหลายท่านจากผู้ที่มีชีวิตลุงมานิต - ไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง

    2.หนังสือของฝ่ายคอมมิวนิสต์-คนกลาง-เหตุการณ์หลังปฎิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475

    3.บันทึก ลับ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์

    4.บทความเรื่องเล่าลุง... ลอบปลงพระชนม์ ร.8 เมื่อ 22 พฤษภาคม 2556
     
  20. ทิพย์มาลา

    ทิพย์มาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +764
    พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แรกแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=xxsTgiDG2mc]งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของในหลวง - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...