วัฏจักรร่างกาย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย khanittha, 10 กันยายน 2005.

  1. khanittha

    khanittha สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
    กิจวัตรของร่างกาย
    กิจวัตรร่างกายใน 24 ช.ม.(b-green)

    ระบบการตั้งเวลาทำงานภายในร่างกายนั้น เกี่ยวเนื่องกับวัฏจักรการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะเจ้าสิ่งนั้นจะควบคุมเราอยู่ตลอดเวลา แม้ยามหลับ จังหวะของวัฏจักรนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า circadian rhythm

    เที่ยงคืน 24.00 น.
    ระดับเมลาโทนินในร่างกายเริ่มสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำงานหรือคิดงานใหม่ ๆ ได้ดีในช่วงนี้ และโอกาสผิดพลาดในการทำงานก็เกิดได้ง่ายที่สุดในเวลานี้ด้วย ควรระวังอุบัติเหตุจากเครื่องจักกล การขับรถ นอกจากนี้ เวลาเที่ยงคืนก็มักเป็นเวลาครั้งแรกที่หญิงมีครรภ์จะรู้สึกเจ็บท้องเตือนด้วย

    ตี 1 (01.00 น.)
    เวลานี้ อุณหภูมิร่างกายเริ่มลดต่ำลง ถึงแม้เราจะยังคงนั่งทำงานหรือดูหนังสือสอบอยู่ก็ตาม แต่หากเป็นเวลาที่นอนอยู่ระดับความดันโลหิตก็จะลดลง ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า vasopressin ซึ่งทำให้เกิดการชะลอการผลิตปัสสาวะในร่างกาย ดังนั้นเวลานี้จะเป็นเวลาที่เราหลับสนิทโดยไม่มีการตื่นเข้าห้องน้ำกลางดึก

    ตี 2 (02.00 น.)
    ร่างกายจะอยู่ในช่วงการพักผ่อนและซ่อมสร้าง จะเริ่มผลิตฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโตที่เราเรียกว่า human growth hormone (HGH) ออกมา และก่อนที่จะหมดเวลาของคืนนั้นร่างกายของเราก็จะมีฮอร์โมนนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

    ตี 3 (03.00 น.)
    เป็นช่วงเวลาที่เมลาโทนินอยู่ในระดับสูงสุดและระบบการตื่นตัวของร่างกายก็อยู่ในระดับต่ำสุดเช่นกันสำหรับคนที่ทำงานแบบเป็นกะ ที่ยังคงต้องตื่นทำงานอยู่นั้น สมรรถภาพของความคิดและร่างกายก็จะลดน้อยลง อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิตและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลก็จะลดลงเช่นกัน หากใครกำลังโดยสารเครื่องบินอยู่ ช่วงเวลานี้ จะเป็นช่วงที่ร่างกายจะติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย หรือหากมีโรคประจำตัวก็เป็นช่วงที่โรคจะกำเริบได้ง่ายด้วยเช่นกัน

    ตี 4 (04.00 น.)
    จากสถิติพบว่า เวลานี้เป็นเวลาที่มีการตายเกิดขึ้นมากที่สุดในผู้ป่วยของโรงพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ เวลานี้เป็นเวลาที่เกิดการเพิ่มตัวขึ้นของความดันโลหิต ระดับการเต้นของหัวใจก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นด้วย แต่ละเส้นผ่าศูนย์กลางของผนังเส้นโลหิตนั้น จะมีความบอบบางกว่าที่เป็นอยู่ในช่วงเวลากลางวันและหญิงมีครรภ์ส่วนมาก ก็มักคลอดในเวลานี้ด้วย
    ตี 5 (05.00 น.)
    ระดับเมลาโทนินจะลดลงและระดับคอร์ติซอลก็จะเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายของคุณเริ่มที่จะตื่นจากการนอนหลับแต่อุณหภูมิร่างกายก็จะยังต่ำอยู่ทั้งระบบกล้ามเนื้อก็ยังไม่ได้มีการวอร์มอัพตัวเองสำหรับการออกกำลังกายทำให้เป็นช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดหากคิดจะออกกำลังกาย

    6 โมงเช้า (0.600 น.)
    ผู้ใหญ่ส่วนมากจะตื่นในเวลานี้ระดับการผลิตอินซูลินของร่างกายจะอยู่ในระดับต่ำสุดของวัน เช่นเดียวกับระดับกลูโคสในเลือดด้วย

    7 โมงเช้า (07.00 น.)
    หากเมื่อคืนคุณเข้านอนประมาณสี่ถึงห้าทุ่ม คุณก็มักจะตื่นตอนนี้อุณหภูมิร่างกายจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับระดับของเซโรโทนินซึ่งจะหลั่งออกมา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของเราสามารถเตรียมตัวพบกับแสงแดดในเวลากลางวัน

    8 โมงเช้า (08.00 น.)
    เวลานี้ เป็นเวลาแห่งความเสี่ยงเพราะในจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาบเฉียบพลันทั้งหมด มักเสียชีวิตในเวลานี้ถึง 30 % แพทย์บอกว่าการทำกิจวัตรประจำวันอย่างรีบเร่งเพื่อเตรียมไปทำงานประจำวัน ทำให้เกิดความเหนื่อยกับหัวใจอย่างทันที วันที่มีความเสี่ยงสูงสุดของการวิจัย คือวันจันทร์

    9 โมงเช้า (9.00 น.)
    การบริโภคอาหารเช้าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับกลูโคสฮอร์โมนคอร์ติซอลและฮอร์โมนการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึ่มและระบบพลังงานเป็นไปได้ดีขึ้น

    10 โมงเช้า (10.00 น.)
    หากว่าคุณบริโภคอาหารเช้าและพักผ่อนเพียงพอ เวลานี้จะเป็นเวลาที่ร่างกายมีสมาธิในการทำงานมากได้ดีสุดเหมาะกับการสอบหรืออ่านหนังสือยากๆ เพราะระบบอุณหภูมิของร่างกายอยู่ในระดับเหมาะสม ช่วยกระตุ้นความตื่นเต้นของประสาทและส่งข้อมูลไปยังสมองได้ดี

    11 โมง (11.00 น.)
    อุณหภูมิของร่างกายยังคงสูงอยู่ต่อไป และจะเป็นถึงเช่นนี้จนถึงเวลา 6 โมงเย็น ตอนนี้จะไม่มีการผลิตเมลาโทนินออกมา และการตอบรับของร่างกายในช่วงเวลาหลัง จากนี้ก็ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมเสริมและวิธีการบริโภคของคุณ


    เที่ยงวัน (12.00 น.)
    ระดับพลังงานในร่างกายเริ่มตกลงเล็กน้อย การบริโภคอาหารมื้อเที่ยงที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มพลังงานขึ้นได้ แต่ก็มีผลไม่มากนัก

    บ่ายโมง (13.00 น.)
    หากคุณนอนดึกหรืออดนอนมาตลอดคืนและทั้งวันที่ผ่านมา ก็ควรระวังเกี่ยวกับการขับรถ และหากมีการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ระดับของมันจะสูงที่สุด

    บ่าย 2 โมง (14.00 น.)
    เวลาแห่งความง่วงตอนบ่าย เวลานี้จะมีผลเรื่องการใช้สมาธิของคุณ และหากจะงีบในช่วงนี้ ก็จะเป็นเวลาที่นอนหลับง่ายที่สุดของวัน เพราะอุณหภูมิร่างกายจะลดลงเป็นเวลาสั้นๆ เช่นเดียวกับระดับอะดรีนาลีนต่ำลง

    บ่าย 3 โมง (15.00 น.)
    ช่วงนี้อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นกว่าเดิม ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลก็จะขึ้นไปด้วย คุณจะรู้สึกผ่อนคลายและหายง่วงได้ในเวลานี้ ผู้ที่อยู่บนเครื่องบินช่วงนี้จะเป็นเวลาที่ผ่อนคลายที่สุด และจะรู้สึกว่าหายใจคล่องขึ้นด้วย

    บ่าย 4 โมง (16.00 น.)
    ระบบผิวหนังของคุณจะรับสิ่งแทรกซึมได้มากขึ้น อุณหภูมิร่างกายก็จะสูงขึ้น เป็นเวลาเหมาะที่สุดในการทาครีมบำรุงผิว

    5 โมงเย็น (17.00 น.)
    เวลาที่เหมาะกับการทำฟันหรือฉีดยา เพราะช่วงนี้ความอดทนต่อการเจ็บปวดจะอยู่ในระดับสูงสุด เพราะระดับฮอร์โมนเอ็นโดฟินที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำหน้าที่เป็นมอร์ฟินธรรมชาติให้คุณนั่นเอง

    6 โมงเย็น (18.00 น.)
    เป็นเวลาที่เหมาะกับการออกกำลังกาย ระวังถ้าจะต้องจับมือกับใครๆ เพราะจะเป็นเวลาที่คุณบีบมือเขาแน่นที่สุดด้วย

    1 ทุ่ม (19.00 น.)
    เป็นเวลาที่เริ่มผ่อนคลายจากกิจวัตรประจำวัน และเตรียมตัวเข้านอน


    2 ทุ่ม (20.00 น.)
    จะเริ่มรู้สึกง่วงนอน แต่หากคุณเป็นพวกนกฮูกหรือพวกมนุษย์กลางคืน ตอนนี้ก็จะเป็นเวลาที่คุณเริ่มกระปรี้กระเปร่าขึ้น แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นประเภทไหนก็ตามหากคุณนอนหลับโดยเปิดม่านในห้องไว้เล็กน้อย คุณก็สามารถตื่นขึ้นได้ในเวลาเดียวกันของทุกๆวัน

    3 ทุ่ม (21.00 น.)
    อุณหภูมิร่างกายเริ่มลดลง เพื่อเตรียมตัวเข้านอน และเวลานี้ร่างกายก็จะเพิ่มการผลิตเมลาโทนินมากขึ้น ทำให้คุณรู้สึกง่วงและนอนหลับได้ยาวนาน และหากดื่มนมอุ่นๆสักแก้วหนึ่งช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น

    4 ทุ่ม (22.00 น.)
    หากนอนเวลานี้จะหลับได้เร็วและง่ายมาก อาจใช้เวลาเพียง 10 นาที ในการหลับขั้นต้นแต่ไม่ลึกนัก ในเวลาต่อมาไม่เกินครึ่งชั่วโมงให้หลังก็จะเข้าสู่ระยะเวลาของการหลับลึก

    5 ทุ่ม (23.00 น.)
    เป็นวัฏจักรของการหลับลึก เกิดขึ้นใน 90 นาทีหลังจากที่เรานอนหลับสนิท ระบบร่างกายจะหยุดทำงานเหมือนเป็นอัมพาตชั่วคราว ยกเว้นหัวใจ ปอด และนัยน์ตา ซึ่งจะทำงานประสาทกันไปตลอดทั้งคืน
    ทั้งหมดนี้ คือระบบวัฏจักรการทำงานของร่างกายตามปกติ เมื่อเรารู้เรื่องนี้ และสามารถปรับเปลี่ยนกิจวัตรให้เหมาะสมกับระบบได้ สิ่งที่ตามมาก็คือสุขภาพของคุณก็จะดีขึ้นด้วย

    แล้วก็เป็นอย่างนี้ทุกๆวัน
     
  2. ทาโร่

    ทาโร่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +126
    (u)

    น่าสนใจมาก ๆ เลยครับ เพราะว่านี่คือความสมดุลของร่างกาย
    ความเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนหนึ่ง ก็เกิดจากความไม่
    สมดุลต่าง ๆ เหล่านี้
    ถ้าหากเราปรับเปลี่ยนชีวิตให้อยู่ในความสมดุลก็จะทำให้ตัวเรา
    ห่างไกลโรคได้...ไม่จำเป็นต้องรักษาโรคด้วยยาเพียงอย่างเดียว
    ครับ

    ผมขอ reference ได้มั้ยครับ
    taromox@hotmail.com
    thank u
    :cool: :cool: :cool: :cool: :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...