กริ่งคลองตะเคียน เอามาให้วิจารณ์ ร่วมด้วยช่วยกันศึกษา

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย เด็กโก-ลก, 22 กรกฎาคม 2013.

  1. เด็กโก-ลก

    เด็กโก-ลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +3,061
    เพิ่งได้กริ่งคลองตะเคียนมาใหม่ ถอยมา 2.6แสน

    หน้าใหญ่ ไหล่ยก ปลายแหลม ตูดมล ยอดคงกระพัน
    ถ่ายรูปมาให้เพื่อนๆวิจารณ์ก่อน เดี๋ยวเอามาเฉลย กับวิธีดูกริ่งคลองตะเคียนที่ผมทำการศึกษาเอง รวบรวมมาจากชาวบ้านหนังสือต่างๆก็เยอะ

    ........................................
    ปล.กระทู้นี้จะให้ดูตัวอย่างการถ่ายภาพพระด้วยนะครับ

    การถ่ายภาพก็มีส่วนนะครับในการวิจารณ์พระครับ
    ซึ่งผมว่าส่วนใหญ่เพื่อนสมาชิก มักจะมักง่ายเหมือนผม ถ่ายภาพพระกับมือถือแล้วมาตั้งกระทู้ถามในนี้ และก็ส่วนใหญ่มักโดนตีเก๊ตามระเบียบ แม้ว่าท่านทั้งหลายอาจยังไม่เชื่อว่าพระแท้ทำไมโดนสวด

    อันแรกจะเป็นการถ่ายภาพแบบกากๆ ใช้ i-phone5 ถ่าย normal โหมดทั่วไป โฟกัสแล้วถ่าย แล้วมา crop รูปตัดกรอบทิ้ง แล้ว resize มาเพื่อลง อัพรูปในกระทู้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0420.JPG
      IMG_0420.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.7 KB
      เปิดดู:
      12,351
    • IMG_0419.JPG
      IMG_0419.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.1 KB
      เปิดดู:
      5,240
  2. เด็กโก-ลก

    เด็กโก-ลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +3,061
    เป็นไงมั่งครับ พระดูเก๊ทันตาเห็น ขนาดผมดูแล้วผ่านๆ ถ้าไม่ได้ดูให้ดีผมยังตีเก๊แต่แว่บแรกที่เห็นแล้ว แล้วเดี๋ยวก็จะมีเสียงสวดตามมามั่ง เนื้อไม่ถึงมั่ง อายุไม่ถึง ไม่เก่าพอมั่ง

    คราวนี้พระองค์เดียวกัน ถ่ายรูปโดยเจ้าของพระจ้างมืออาชีพถ่าย พระองค์นี้ ประกวดชนะที่1 มาหลายงานแล้ว

    2-3เดือนนี้ผมซื้อหนังสือพระ ศึกษาพระองค์ที่จะเอาใน ลิสต์มาอย่างจริงจัง แค่ค่าหนังสือช่วงนี้ก็ปาไป 3-4หมื่นแล้ว และหาข้อสังเกตุเพิ่มเติมเอาเองอีกต่างหาก

    เดี๋ยวจะมาลองทำการสังเกตุการดูกริ่งคลองตะเคียน สไตล์ของเด็กโก-ลกนะครับ
    ผมไปตระเวนดูของจริงมาได้ 3-4องค์ และเสริช์ดูหาข้อมูลเรื่อยจากภาพพระที่ลงขายในเน็ท เทียบกับพระหนังสือองค์ครูต่างๆ

    ถ้าใครเห็นว่ามีอะไรผิดก็เตือนผม ถือว่าเอามาศึกษาร่วมกันนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0412.JPG
      IMG_0412.JPG
      ขนาดไฟล์:
      201.2 KB
      เปิดดู:
      2,553
    • IMG_0421.PNG
      IMG_0421.PNG
      ขนาดไฟล์:
      552.8 KB
      เปิดดู:
      15,841
  3. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    เยี่ยมไปเลยครับ ท่าน
     
  4. เด็กโก-ลก

    เด็กโก-ลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +3,061
    กริ่งคลองตะเคียน แบ่งใหญ่ๆได้ 4 พิมพ์ครับ ส่วนตัวผมไม่เคยส่องพิมพ์ปิดตาพิมพ์เล็กครับ
    1.พิมพ์ใหญ่ ปลายแหลมตูดมน
    2.พิมพ์ 2 หน้า
    3.พิมพ์เล็ก บางคนเสล่อเรียกพิมพ์ต้อก็มี
    4.พิมพ์ปิดตา
    และบางคนเจอพิมพ์พิเศษนอกตำรา ที่ผมเคยเห็นที่ร้านพระที่เอามาโชว์ที่พาต้า เจ้าของบอกว่ามีในหน้งสือ ป๋าต้อยเมืองนนท์ คือพิมพ์ใหญ๋ซุ้มชินราช ด้านหลังจารปิดตา อันนี้ผมเคยส่องผ่านๆ ถ้าเจ้าของเปิดราคาไม่แพงเกินไปผมคงจะต่อรองเช่าแน่ๆ

    ส่วนประวัติกริ่งคลองตะเคียนผมคงไม่เล่านะครับ มีเยอะแยะแล้วในเน็ท ทั้งสมัยการสร้าง 3 ยุคเอย สร้างสมัยตอนกลางอยุธยาเอง ฯลฯ อันนี้เข้าเรื่องแบบล้วนๆเนื้อนะครับ

    เริ่มจากตำหนิพิมพ์ทรง
    ถ้าใครสามารถทำโฟโต้ชอปชี้จุดช่วยผมได้จะขอบคุณมากๆ
    -แอ่งสามเหลี่ยม เหนือ ซุ้มองค์พระ มักจะมีเส้นแตกเป็นเส้นตรง
    -เส้นซุ้ม จะเป็นเส้นคู่วิ่งขนานกัน รอบองค์พระ
    -ใบโพธิ์ ถ้านับดีๆ จะมี 16ใบ ด้านซ้าย-ขวา อย่างละแปด 2 แถว
    ทริกใบโพธ์ ซ้ายมือเราแถวล่าง จะเรียงกัน 3ใบ แล้วใบที่4จากซ้าย จะโดมาห่างกว่าเพื่อน มาอยู่ตรงกลางตรงกลางเลย
    -หน้าพระ จะกลมแบบ ถ้าองค์สวยๆจะเห็นหูติด 2 ข้าง ถ้าไม่เห็นในองค์สวยๆที่คราบไขกรุจับ เอาพู่กันปัดๆหน่อยก็เจอเอง ขนาดของหน้า ถ้ากลมโตจะเรียกหน้าใหญ่ ถ้ายาวรี จะเป็นหน้าเล็ก ถ้าก้ำกึงจะเป็นหน้ากลาง
    -ไหล่จะมี 2แบบ ไหล่ยก กับไหล่ไม่ยก ดูที่แขนขวาพระที่มาห้อยตักถ้าสูงกว่าลำตัวพระจะเป็นไหล่ยก ราคาเล่นหาต่างกัน
    -ลำตัวพระ จะมีสัดส่วนแน่นนอน เกือบๆจะสี่เหลี่ยมจตุรัส และใช้พิจารณาเทียบกับหน้าของพระเพื่อตัดสินว่าหน้าใหญ่-กลาง-เล็ก
    -ตรงแขนด้านขวาองค์พระ จะมีเส้นบางๆเล็กๆ วิ่งคู่ขนานมาระห่วงเส้นซุ้มแล้ววิ่งลงเบนออกไปติดกับซุ้มที่บริเวณตรงฐาน
    -แขนขวาองค์พระ จากไหล่จะลงมาที่ตักจะลู่ตรงลงมาเบนออกขวานิดๆ ถ้ามีมุมมอง 3 มิติ จะยื่นออกมาข้างหน้าเล็กน้อย
    -ฐานพระ จะมีแค่ 2ชั้นด้านล่าง กับเส้นขาพระอีก 2ชั้นนั้งขาทับกันบนล่าง2ชั้นด้านซ้ายพระหัวเข่า/หน้าตักด้านซ้ายองค์พระ จะเชื่อมติดกันลงมากับฐานพระด้านบน

    ด้านหลัง รอยจารพระจะมีไม่เหมือนกัน ขึ้นกับอารมณ์ผู้สร้าง อย่างไปยึดติด แต่เซียนผู้ชำนาญบางท่านสอนผมว่าจะเป็นลายมือคนสร้างคนเดียวกัน แต่ที่แน่ๆ ในรอยจาร จะพบคราบกรุฝังเข้าไปรอยจาร แต่ไม่สม่ำเสมอในร่องด้านหลัง

    อันนี้คือที่ผมทำสรุปมาให้ร่วมด้วยช่วยกันศึกษาครับ ถ้าผิดตรงไหนช่วยเสริมด้วยนะครับ
    ถ้าใครทำโฟโต้ชอบให้ชี้ตำแหน่งจะขอบคุณมากครับ
     
  5. เด็กโก-ลก

    เด็กโก-ลก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    1,374
    ค่าพลัง:
    +3,061
    ข้อควรระวังในการเช่ากริ่งคลองตะเคียน
    กรณีพระแท้
    เวลาเช่า จะโดนของแท้พิมพ์ใหญ่ แต่มาหลอกโดยหน้าใหญ่+ไหล่ยกนำเบอร์1 ถ้าไหล่ไม่ยกหายไปหลายหมื่น หน้ากลาง/ใหญ่ เวลาขายหน้ากลางจะบอกเราหน้าใหญ่ เวลาเราเดือดร้อนไปปล่อยจะบอกเราหน้าใหญ่เป็นหน้ากลางเพื่อกดราคา

    ถ้าคนรับเช่าหลอกตบหมูเราจะสวดทันที คลองตะเคียนแท้ แต่วัดประดู่ ราคาหลักแสนกลายเป็นหลักพันทันที ถ้าเราไม่รู้เรื่อง อันนี้ผมชอบลองของ หลังเช่าพระองค์นี้ปุ๊บ ไปเดินเล่นอ่อยผีสนาม แต่งตัวโทรมๆไปทำท่าจะปล่อยพระแกล้งโง่ๆ โดนมุขสวดตลอดให้ไม่เกินเจ้าละ 5พัน 555.......รู้จักผมน้อยไปซะแล้ว

    สรุปถ้าหน้าใหญ่+ไหล่ยก ถ้ามีไม่ครบทั้ง 2 อย่าง ต่อให้สวยอย่างไรถ้าเกินแสนอาจารย์ผมบอกอย่าเอา ให้คนขายเห่าไปเถอะว่าราคาแพง+แชมป์ยังไงก็ปล่อยเขาไป

    อีกข้อถ้าชอบคลองตะเคียนต้องทำใจ ต้องใจชอบจริงๆถึงกล้าเช่า เวลาเช่าแม่มแพงสาด องค์นี้ผมชอบเกินงบก็ยังกัดฟัน 2.6แสน แต่เชื่อเถอะตอนนี้ลงไปอยู่ใต้ ปล่อย 5พันยังไม่มีใครเอา กลับมา กทม.ปล่อยเจ้าอื่นยังไงก็ราคาตกคงได้ไม่เกินแสนนิดๆ
     
  6. addy2500

    addy2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +836
    เยี่ยมครับ
     
  7. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    ภาพแรกกับภาพที่สองต่างกันมากจริงๆ ครับ
     
  8. SURHASIT

    SURHASIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,670
    ค่าพลัง:
    +2,774
    ไม่ได้แค่ชอบอย่างเดียวนะครับ แต่รักเลยครับองค์นี้ เนื้อมันๆแต่แห้งคราบไขอมเหลืองๆแบบนี้โดนใจครับ ถ้าผมมีงบเมื่อไรจะเก็บไว้กับเขาสักองค์เหมือนกัน:cool: ผมมีแต่น่าจะเป็นวัดประดู่แต่ชอบที่สุดครับองค์นี้ อ้อวันนี้ไปวัดกลางคลองตะเคียนมาด้วยครับ เช่าปี47มาองค์นึง100บาท แถมได้ลอดใต้โบส์ด้วยครับ:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    นำมาให้อ่านครับ

    ‘พระคลองตะเคียน’พระกรุอยุธยาข้อเท็จจริงที่ไม่เคยมีใครพูดถึง
    ‘พระคลองตะเคียน’พระกรุอยุธยา กับข้อเท็จจริงที่ไม่เคยมีใครกล่าวถึง : พระกรุอยุธยา โดยมโนมัย อัศวธีระนันท์ (pinprapa.com



    พระกรุคลองตะเคียน ในความคิดเห็นของผู้เขียนหมายถึง พระที่ขึ้นบริเวณลุ่มน้ำคลองตะเคียน อันประกอบด้วยพระ ๓ กลุ่ม ๓ วัด ดังนี้

    ๑.พระวัดโคกจินดา ซึ่งอยู่ในกลุ่มนิยม ประกอบด้วย พระกริ่งหน้าใหญ่ หน้าเล็ก และพระพิมพ์หน้ามงคล นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ปิดตาหลากหลายพิมพ์ พิมพ์หน้าฤาษี ซึ่งกำหนดได้ตามศิลปะเฉพาะของวัดนี้ ตลอดจนเนื้อหา และที่สำคัญคือ ลายมือจารหวัดๆ ที่สวยงามลงตัว ซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นลายมือเฉพาะของวัดนี้

    ๒.พระวัดสำเภาล่ม (วัดทำใหม่) ประกอบด้วย พระปิดตามหาอุตม์ และ พระพิมพ์สมาธิ ซึ่งมีลายมือจารเป็นตัวบรรจงสวยงาม แตกต่างจากวัดโคกจินดา อย่างชัดเจน

    ๓.พระกรุวัดช้าง ศิลปะจะด้อยกว่า ๒ วัดข้างต้น ลายมือจารค่อนข้างหวัด เส้นจารหนา ดูหยาบ ไม่สวยงามนัก แต่ก็ดูดุดันเข้มขลังไปอีกแบบ ที่สำคัญคือ เป็นพระยุคเดียวกันกับพระกริ่งคลองตะเคียน ทั้ง ๒ วัดข้างต้น มีพระกริ่ง พระงบน้ำอ้อย พระเม็ดน้อยหน่า ฯลฯ

    สรุปคือ พระทั้ง ๓ วัดนี้มีศิลปะคล้ายๆ กัน แต่พิมพ์ทรงแตกต่างกันชัดเจน และต้องเน้นว่า มีลายมือจารอันเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกัน

    พระวัดโคกจินดาเข้มขลัง พิมพ์ทรงสวยงาม กรรมวิธีการสร้างซับซ้อน มีความประณีตสูงมาก

    พระวัดสำเภาล่ม (วัดทำใหม่) มีความประณีตสูง ลายมือจารเป็นระเบียบสวยงาม

    พระวัดช้าง ออกแนวชาวบ้านๆ แต่ก็มีเสน่ห์ เส้นสายลายมือค่อนข้างลึกและเขื่อง จารหวัดๆ ดูเข้มขลังดุดัน ค่านิยมในเวลานี้ค่อนข้างถูก แต่เป็นพระหาชมยาก ไม่แพ้พระที่สร้างจาก ๒ วัดข้างต้น อนาคตอาจมีราคาสูง

    พระคลองตะเคียน ทั้ง ๓ วัด ล้วนเป็นพระที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งสิ้น (สมัยรัชกาลที่ ๓-๕) ทั้งนี้เป็นเรื่องที่เซียนพระในพื้นที่รุ่นเก่าๆ ทราบกันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะความชัดเจนในพิมพ์ทรง เนื้อหา ตลอดจนลายมือจารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

    แต่ พระคลองตะเคียน กลับเป็นพระที่มักจะมีความสับสน และเข้าใจผิดในหมู่นักสะสมในหลายๆ ประการ ทั้งนี้ เนื่องจากพระคลองตะเคียนถูกกำหนดค่านิยมมาผิดๆ มาโดยตลอด จนกลายเป็นพระที่มักมีปัญหาในการสะสม หรือในงานประกวดหลายๆ งานที่ผ่านมา

    เป็นต้นว่า ความสับสนในเรื่องพิมพ์ เรื่องเก๊-แท้ เรื่องผิดวัด ยัดกรุ (สวด) กันไปมาว่า องค์นี้ใช่ องค์นั้นไม่ใช่กริ่งคลองตะเคียน

    สาเหตุมาจากแรกเริ่มเดิมที เซียนพระสมัยก่อนท่านจะเรียก “พระกริ่งเนื้อดินผสมผงใบลานวัดโคกจินดา” เกือบทุกพิมพ์ว่า “พระกริ่งคลองตะเคียน” เป็นหลักใหญ่
    และมีการข้ามวัด ไปกำหนดพระปิดตากรุวัดทำใหม่ ตีรวมเข้าเป็น “พระกรุคลองตะเคียน” ส่วนพิมพ์อื่นๆ ของวัดทำใหม่ กลับไม่เล่นเป็นกรุคลองตะเคียน

    ส่วนพระที่ขึ้น วัดช้าง ถูกตีเป็นพระยุคหลัง ล้อพิมพ์คลองตะเคียน มาอีกต่อหนึ่ง แม้แต่ พระวัดโคกจินดา เองบางพิมพ์ยังถูกตีเป็นพระยุคหลัง และยังมีการสร้างค่านิยมว่า “พระคลองตะเคียน เป็นพระที่ทหารหาญสมัยอยุธยา ใช้พกติดตัวต่อสู้กับข้าศึก” ฯลฯ

    หรือเป็นพระที่พบตามพื้นดิน แม้แต่ในบริเวณที่เชื่อกันว่า เป็นสมรภูมิรบไทย-พม่า ก็ยังมีเป็นเรื่องราวประกอบผิด ๆ จนได้

    ในการที่ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ควรเรียก พระในบริเวณคลองตะเคียนทั้ง ๓ วัดนี้ว่า พระกรุคลองตะเคียน โดยเสนอข้อเท็จจริง ก็สืบเนื่องมาจากความวุ่นวายสับดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหากแยกเป็น ๓ กลุ่มดังนี้ จะเห็นถึงความชัดเจนในการสะสม และเพิ่มคุณค่าของพระกลุ่มนี้ให้มากยิ่งขึ้น

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “พระกริ่งคลองตะเคียน”

    ความจริง “พระคลองตะเคียน” เป็นพระที่ทำแจกตามกำลังศรัทธา สืบทอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ เช่นเดียวกับพระสมเด็จ วัดระฆัง

    ส่วน “พระคลองตะเคียน” ที่พบฝังในกรุจะมีเป็นส่วนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะพบในเจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์ ในเจดีย์องค์หนึ่งจะพบเพียง ๑-๒ องค์ แต่ความเคยชินกับ “พระคลองตะเคียน” ในฐานะพระกรุมีมาช้านาน จนเรียกกันติดปากไปแล้ว

    หากพบจารเป็นตัวเลข ในพระกริ่งคลองตะเคียน มักจะพบตัวเลข ๓ และ๔ อยู่เสมอ สันนิษฐานว่า เป็นตัวย่อของคาถา ๓ คือ มะ อะ อุ ส่วนเลข ๔ คือ นะ มะ พะ ธะ ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะเช่นนี้ มีทั้งในพระกริ่งที่ขึ้นวัดโคกจินดา และวัดช้าง ด้วย

    พระคลองตะเคียน ทุกๆ พิมพ์ จัดเป็นพระที่สูงส่งด้วยศิลปะและเนื้อหา พุทธคุณเป็นที่เลื่องลือกล่าวขานกันมาช้านาน ตลอดจนกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน เป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะของพระเครื่องที่มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดตระกูลหนึ่ง ที่สำคัญสุด คือ เป็นมรดกและความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาว จ.พระนครศรีอยุธยา

    (ขอขอบพระคุณ “คุณเอ็ม คลองตะเคียน” ที่ให้ข้อมูล)


    http://www.komchadluek.net/detail/20130801/164758/%E2%80%98%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E2%80%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...