การดับความทุกข์และความฟุ้งซ่านของจิตด้วย "วิปัสสนากรรมฐาน"

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ผีมังคุด, 13 พฤศจิกายน 2006.

  1. ผีมังคุด

    ผีมังคุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +350
    การดับความทุกข์และความฟุ้งซ่านของจิตด้วย "วิปัสสนากรรมฐาน"

    มนุษย์ทุกคนในโลก ล้วนแล้วแต่ชอบคิดถึงอดีตที่ผ่านมาทั้งนั้น หรือคิดไปในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นปกติของจิต ที่มักไหลไปในทางต่ำเสมอ เช่น ไหลไปใน โลภะ-โทษะ-โมหะ พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่อง สติปัฏฐาน 4 เพื่อดับทุกข์แห่งความฟุ้งซ่านนั้น คือมีใจจดจ่อที่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม

    ขออธิบายพอสังเขป "สติปัฏฐาน ๔" ที่นิยมกันคือ มีใจจดจ่อที่ "ลมหายใจเข้าออก" ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน ...เมื่อมันฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ตามดูจิตที่ฟุ้งซ่านนั้น แล้วพิจารณาว่าจิตที่ไหลไปตามอารมณ์นั้น แล้วจะมองเห็นว่าจิตที่นึกคิดเป็นเพียง "นามธรรม" ที่แยกออกจากกายซึ่งเป็น "รูปธรรม" โดยเด็ดขาด ไม่ได้ปะปนกันจนแยกไม่ได้ เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑ - นามรูปปริจเฉทญาณ" ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" คือมีลักษณะ "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" คือ
    - อนิจจัง = มีสภาพ ไม่เที่ยง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    - ทุกข์ขัง = มีสภาพ เป็นทุกข์ คือ ตั้งอยู่ในสภาพเดิมนานๆไม่ได้
    - อนัตตา = มีสภาพ ไม่ใช่ตัวตน และ ไม่ใช่ของเรา คือ ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา

    ...จิตที่ฟุ้งซ่าน มีสภาพเป็น "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" กล่วคือ ความคิดนั้นจะ "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" , "ทนอยู่ในสภาพเดิมนานไม่ได้" , "ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา" .....เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" ทุกประการณ์

    โปรดสังเกตอาการที่ฟุ้งซ่านนั้น สักพักมันก็หยุดคิดฟุ้งซ่าน เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" จริงๆ ...เมื่อหยุดคิดฟุ้งซ่าน มันจะกลับมานิ่งสงบชั่วครู่ตามเดิม แต่นิ่งได้แป็บเดียวเท่านั้น

    จิตที่สงบนิ่งนั้นก็เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มันจะนิ่งอยู่นานไม่ได้ เดี๋ยวมันก็หลงไปใน "โลภะ-โทษะ-โมหะ" เป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เช่นเดียวกัน สลับกันไปเช่นนี้ คือ "สงบนิ่งชั่วคราว" สลับกับ ไหลไปใน "โลภะ-โทษะ-โมหะ ชั่วคราว" เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๔ - อุทยัพพยญาณ"

    ใช้ปัญญาพิจารณาตามสภาวะความเป็นจริงของจิตเช่นนี้ เรียกว่าการ "ตามดูจิต" ตามดูเฉยๆนะครับ เพียงแค่ตามรู้ว่าจิตที่ฟุ้งซ่าน กับ จิตที่สงบนิ่งเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" เท่านั้นเอง ...อย่าไปบังคับให้มันหยุดคิด "เพราะจิตไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา" เราไปสั่งไม่ให้มันคิดไม่ได้ครับ ถ้าไปบังคับจะรู้สึกอึดอัดทันที และการบังคับจิต หรือการข่มจิต จะกลายเป็นสมาถะกรรมฐาน ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐาน นะครับ ต้องแยกแยะให้ดี

    เมื่อพิจารณาตามดูจิต แล้วพิจารณาว่าจิตนั้นเป็นไปตามกฏ "พระไตรลักษณ์" คือมีลักษณะ "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" จนชำนาญแล้ว ต่อไปเวลามีอารมร์มากระทบจิต เราจะไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์นั้น เมื่ออารมณ์มากระทบจิต อารมณ์นั้นมันจะดับไปเอง เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๑ - สังขารุเบกขาญาณ" โดยที่จิตไม่มีการปรุงแต่งอีกต่อไป เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง ความทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น การวางเฉยและการปล่อยวางก็จะตามมา เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๒ - อนุโลมญาณ"

    เมื่อฝึก "วิปัสสนากรรมฐาน" ไปนานๆ โลภะ-โทษะ-โมหะ ในจิตก็จะเบาบางลง กิเลสเบื้องต้นก็จะค่อยๆละได้ไปเอง เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งแบบนี้ เรียกว่า "ญาณ ๑๖ - ปัจจเวกขณญาณ" สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"

    พระอริยะบุคคลประเภทที่ ๑. พระโสดาบันบุคคล คือท่านผู้ที่เพียรปฏิบัติวิป้สสนากรรมฐาน จนวิปัสสนาญาณบังเกิดขึ้น ทั้ง ๑๖ ญาณ
    เป็นครั้งแรก ทำให้กิเลสต่างๆ เบาบางอย่างมากมายและสามารถละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ๓ ประการ ในสัญโญชน์ ๑๐ ประการ คือ
    ๑.๑ สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ
    ๑.๒ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือความสงสัยในสิ่งต่างๆ จนฟุ้งซ่าน
    จนควบคุมจิตใจไม่อยู่เป็นบ่อเกิดโรคจิต โรคนอนไม่หลับ โรคหวาดระแวงโดยไร้สาเหตุ โรควิตกกังวัลจนผิดปกติ
    รวมความแล้วคือสงสัยลังเลจนเลยเถิด
    ๑.๓ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง

    ทั้งหมดนี้เรียกว่า "วิปัสสนา ญาณ" ...เป็นหนทางแห่งการดับกิเลส และเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง

    *หมายเหตุ
    - วิปัสสนา แปลว่า การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง การตามรู้ตามเห็น การรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริง
    - กรรมฐาน แปลว่า มีฐานเป็นที่ตั้ง เช่น มีฐานอยู่ที่ "ลมหายใจเข้าออก" ทุกขณะจิต
    - วิปัสสนากรรมฐาน แปลว่า การมีฐานที่ตั้งโดยมีสติตามรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
    - วิปัสสนาญาณ แปลว่า ปัญญาที่กำหนดจนรู้เห็นว่าขันธ์ ๕ (รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ) เป็น "อนิจจัง-ทุกข์ขัง-อนัตตา" คือ เห็นประจักษ์แจ้งซึ่ง "พระไตรลักษณ์" แห่งรูปนาม
    ------------------------------------------------------------------
    ขยายความโดยละเอียดเรื่อง "วิปัสสนา ญาณ ๑๖" ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=44203

    * "วิปัสสนา ญาณ" ...อ้างอิงจาก
    -พระไตรปิฏก ในเล่ม ๖๘ ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถา หน้าที่ ๕๐ เป็นต้นไป
    -พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๕๐
    --------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2006
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อนุโมทนาครับ

    กรรมฐานคือสิ่งที่ผู้มีบุญทั้งหลายปราถนา

    ขอเป็นหนึ่งในท่านทั้งหลาย ถือเอากรรมฐานเป็นที่ตั้ง เพื่อความหลุดพ้นทั้งปวงเทอญ
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,796
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    เห็นด้วยกับประโยคนี้เป็นอย่างยิ่งครับ " อย่าไปบังคับให้มันหยุดคิด "เพราะจิตไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเรา" เราไปสั่งไม่ให้มันคิดไม่ได้ครับ ถ้าไปบังคับจะรู้สึกอึดอัดทันที และการบังคับจิต หรือการข่มจิต จะกลายเป็นสมาถะกรรมฐาน ไม่ใช่ วิปัสสนากรรมฐาน นะครับ ต้องแยกแยะให้ดี " สมัยก่อน เวลาผมฟุ้ง จะพยายามคิดให้มันหยุด ยิ่งดิ้นมันยิ่งขึ้นครับ เเปลกดี จิตคนเรา ต้องปล่อยมันไป อยากคิดใช่ไหม ??? ได้ คิดไป เราไม่ตาม ไม่สน ซักพักมันจะดับลงไปเอง ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
     
  4. DD.

    DD. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    556
    ค่าพลัง:
    +103
    ขอร่วมอนุโมทนาสาธุด้วยครับ

    ------------------------------------------
    พุทโธ...พุทโธ...ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส
    <!-- / message -->
     
  5. TJ69

    TJ69 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +152
    อนุโมทนาสาธุ

    -------------------------------------------------
    "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ พระนิพพานก็อยู่ที่ใจ"
    <!-- / message -->
     
  6. Shio_Ri

    Shio_Ri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +122
    ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ



    เราไปร้านหนังสือมา เลยเจอหนังสือแผนที่ความสุข เลยซือมา เป็นของ ดร รณยุทธ์ จิตรดอน เป็นหนังสือที่แนะนำสถานที่ปฎิบัติธรรมเห็นว่าดีเลยมาแนะนำ มีเล่ม1กับ2 ค่ะ เผื่อใครจะไปซือ จะได้มีข้อมูลสถานที่ปฎิบัติธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...