การุณยฆาต ขอถามผู้รู้ด้วยครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย newhatyai, 22 มิถุนายน 2008.

  1. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,204
    ช่วยตอบมาเป็นข้อๆ เรยน่ะครับ </br>
    ๑.การุณยฆาตคืออะไร
    ๒.ทัศนะต่อการการุณยฆาต
    ๓.การุณยฆาตกับการฆ่าตัวตาย
    ๔.การุณยฆาตในทัศนะของพระพุทธศาสนา

    ใครรู้บอกหน่อยน่ะครับ</br>
    ขอบคุณครับ
     
  2. สุเมธ

    สุเมธ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +71
    คนตั้งกระทู้สงสัยจะเป็นหมอละมัง เหอ ๆ

    เปิดเวปได้มางี้อะ

    - การุณยมาต(Mercy Killing)ในบางทรรศนะ เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ทรมาณจากระยะท้ายของโรค ซึ่งหมดหนทางเยียวยาผ่าตัดรักษา

    การุณยฆาต ต้องมีการตัดสินใจร่วมกันจากหลายๆฝ่าย คือ
    - แพทย์ผู้ทำการรักษาได้พยากรณ์ธรรมชาติของโรคว่าอยู่ในระยะท้ายแล้ว เสนอทางเลือกต่างๆให้ผู้ป่วยและญาติ
    - ญาติผู้ป่วย(โดยนิติสัมพันธ์)ซึ่งรับรู้ระยะของโรคแล้วมีความเห็นพ้องกับแพทย์ ร่วมกับการเซ็นทราบ
    - บางครั้งเกิดจากการตัดสินใจของผู้ป่วยเอง ที่จะขอลงเอยด้วยธรรมชาติบำบัด คือ ไม่ต้องการอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากยาบรรเทาอาการ

    อ้างอิงจากความเห็นที่ 5
    http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=10297

    มีอีก
    การุณยฆาต

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --> การุณยฆาต หรือ ปรานีฆาต (อังกฤษ: euthanasia หรือ mercy killing; การุณยฆาตเป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วนปรานีฆาตเป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup>) หรือ แพทยานุเคราะหฆาต (อังกฤษ: physician-assisted suicide) หมายถึง

    1. การทำให้บุคคลตายโดยเจตนาด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก หรือ
    2. การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ
    ทั้งนี้ เพื่อระงับความเจ็บปวดอย่างสาหัสของบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นป่วยเป็นโรคอันไร้หนทางเยียวยา อย่างไรก็ดี การุณยฆาตยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาอยู่ในบางประเทศ กับทั้งผู้ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าคนชนิดนี้ก็เห็นว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป อนึ่ง การุณยฆาตยังหมายถึง การทำให้สัตว์ตายโดยวิธีการและในกรณีดังข้างต้นอีกด้วย

    ประเภท


    การจำแนกประเภทตามเจตนา

    1. บุคคลซึ่งเจ็บป่วยสาหัสหรือได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วยเป็นต้นสามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทำการุณยฆาตแก่ตนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยเจตจำนง" (อังกฤษ: voluntary euthanasia)
    2. ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะจะแสดงเจตนาเช่นว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ทายาทโดยธรรม ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาลตามกฎหมาย ตลอดจนศาลอาจพิจารณาใช้อำนาจตัดสินใจให้กระทำการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ การนี้เรียกว่า "การุณยฆาตโดยไร้เจตจำนง" (อังกฤษ: involuntary euthanasia)
    อย่างไรก็ดี การุณยฆาตโดยไม่จำนงยังคงเป็นที่ถกเถียงถึงความชอบธรรมตามกฎหมายอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากไม่มีหนทางที่ทุกฝ่ายจะมั่นใจได้ว่า ผู้เจ็บป่วยต้องการให้กระทำการุณยฆาตแก่ตนเช่นนั้นจริง ๆ

    การจำแนกประเภทตามวิธีฆ่า

    1. "การุณยฆาตโดยตัดการรักษา" (อังกฤษ: passive euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการตัดการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง
    2. "การุณยฆาตโดยตัดปัจจัยดำรงชีวิต" (อังกฤษ: non-aggressive euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการหยุดให้ปัจจัยดำรงชีวิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน
    3. "การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย" (อังกฤษ: aggressive euthanasia หรือ active euthanasia) คือ การุณยฆาตที่กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน

    การุณยฆาตและกฎหมาย


    ประเทศไทย

    พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของผู้ป่วยที่จะไม่รับการรักษาดังต่อไปนี้พร้อมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง<sup id="cite_ref-2" class="reference">[3]</sup>
    <table style="background: transparent none repeat scroll 0% 50%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
    เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
    มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
    "บริการสาธารณสุข" หมายความว่า บริการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
    "ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข" หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
    มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
    กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
    </td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">
    </td> </tr> </tbody></table>
    การุณยฆาตและศาสนา


    พุทธศาสนา

    ตามพระพุทธศาสนา ฆราวาสถือเบญจศีลข้อหนึ่งเกี่ยวกับปาณาติบาตคือการห้ามทำลายชีวิตไม่ว่าของผู้อื่นหรือของตนก็ตาม กับทั้งห้ามยินยอมให้ผู้อื่นทำลายชีวิตของตนด้วย
    ภิกษุเถรวาทถือวินัยข้อหนึ่งซึ่งปรากฏในปาฏิโมกข์ว่า "ภิกษุทั้งหลายไม่พึงพรากชีวิตไปจากมนุษย์ หรือจ้างวานฆ่าผู้นั้น หรือสรรเสริญคุณแห่งมรณะ หรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ท่านผู้เจริญแล้วเอ๋ย ท่านหาประโยชน์อันใดในชีวิตอันลำเค็ญและน่าสังเวชนี้กัน ความตายอาจมีประโยชน์สำหรับท่านมากกว่าการมีชีวิตอยู่ หรือด้วยมโนทัศน์เช่นนั้น ด้วยวัตถุประสงค์เช่นนั้น ถึงแม้ท่านไม่สรรเสริญคุณแห่งมรณะหรือยั่วยุผู้ใดให้ถึงแก่ความตาย ผู้นั้นก็จักถึงแก่ความตายในเร็ววันอยู่แล้ว"<sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> <sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup> กล่าวคือ พุทธบัญญัติห้ามภิกษุทำลายชีวิตมนุษย์ไม่ว่าโดยวิธีการใด

    ความเห็นเกี่ยวกับการุณยฆาตในประเทศไทย


    ความเห็นสนับสนุน



    1. "รัฐธรรมนูญใหม่ (หมายถึงฉบับ พ.ศ. 2540) บัญญัติไว้ว่า ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงเกิดความคิดว่า ควรจะให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง ไม่สามารถรักษาได้แล้ว รอวันจบชีวิตอย่างทนทุกข์ทรมาน มีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีชีวิตอยู่หรือจบชีวิตลง เพราะการเลือกที่จะตายหรือมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ในกรณีที่เขาตัดสินใจเองไม่ได้ เช่น ภาวะจิตใจไม่สมบูรณ์ สมองไม่ทำงาน หรือเป็นผู้เยาว์ ก็ต้องมาพิจารณากันว่า ใครจะเป็นคนตัดสินใจแทน ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตัดสิน และควรจะรับผิดอย่างไรในกรณีที่ตัดสินใจผิดพลาด"
    2. "เราต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย เพราะว่าเขาอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แต่การุณยฆาต ต้องใช้กับผู้ป่วยที่สิ้นหวังจริง ๆ ไม่สามารถรักษาได้แล้ว หรืออยู่ไปก็ทรมานมากเท่านั้น ถ้ายังมีโอกาสหายแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ควรทำ"
    3. "แพทย์และนักกฎหมายบางคนคิดว่ากฎหมายน่าจะเปิดโอกาส ให้ทำการุณยฆาตได้ คือ อนุญาตให้ผู้ป่วยมีสิทธิตัดสินใจเมื่อเขาเห็นว่าตัวเองไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ทุกข์ทรมานมากเกินไป ไม่เหลือศักดิ์ศรีความเป็นคนอยู่แล้ว และบางทีการไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาจริง ๆ ถ้าเราเปิดโอกาสให้ทำการุณยฆาตได้บ้างก็น่าจะเป็นประโยชน์"

    ความเห็นไม่สนับสนุน



    1. "เราคงไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าการุณยฆาตเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่...เรารู้ได้อย่างไรว่า แพทย์ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทำไปด้วยเจตนาดีจริง ไม่ใช่ขี้เกียจทำงาน และเกณฑ์วัดว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวังแล้วอยู่ตรงไหน รู้ได้อย่างไรว่ คนไข้ไม่มีโอกาสรอดแล้วจริง ๆ หมอวินิจฉัยถูกหรือเปล่า พยายามเต็มที่แล้วหรือยัง มีทางรักษาอื่นอีกหรือไม่ แพทยสภาต้องให้คำจำกัดความของคำว่า "สิ้นหวัง" ให้ชัด ๆ สิ้นหวังเพราะแพทย์หมดทางรักษาจริง หรือสิ้นหวังเพราะแพทย์ทำงานไม่เต็มที่ หรือเป็นเพราะญาติไม่เหลียวแล"
    2. "การทำการุณยฆาตมีช่องโหว่อยู่มากและมีโอกาสถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุตายแล้วเอาอวัยวะไปขาย หรือญาติให้ฆ่าเพื่อเอามรดก เป็นต้น สังคมจึงต้องเข้ามาตรวจสอบในเรื่องนี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องระหว่างแพทย์กับคนไข้เท่านั้น เพราะมันอาจจะเอื้อให้แพทย์ทำสิ่งผิดได้ เหมือนกับการวิสามัญฆาตกรรม ตำรวจเป็นผู้ที่ถืออาวุธมีสิทธิทำให้คนตายในขณะถูกจับกุมโดยที่ไม่มีใครเอาผิดได้ ในทำนองเดียวกัน แพทย์ก็เป็นผู้ที่ถือเข็มฉีดยาจะทำให้ผู้ป่วยตายเมื่อไหร่ก็ได้ active euthanasia เท่ากับเป็นการวิสามัญฆาตกรรม หรือการฆ่าในอีกรูปแบบหนึ่ง"
    3. "ถ้าจะมีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้เหมือนในต่างประเทศ หมอคงค้านร้อยเปอร์เซนต์ ไม่ให้เกิดแน่ เพราะว่ามันขัดกับหลักศาสนาพุทธอย่างแรง ถ้าเกิดได้ก็คงเป็นแบบ passive คือ หยุดให้การรักษาเท่านั้น แต่ถึงจะเป็นแบบ passive หมอบางคนก็ยังรู้สึกว่าการหยุดการรักษานั้นเป็นบาปอยู่ดี เหมือนกับให้หมอทำแท้งคือเราไปปลิดชีวิตหนึ่งทิ้ง ฟังดูเจตนาเป็นความกรุณา แต่แท้ที่จริงแล้วไม่แน่ใจว่า มันเป็นความกรุณาจริงหรือเปล่า"
    อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/การุณยฆาต

    และบทความของ ท่านผู้หญิงพรทิพย์

    "การุณยฆาต หมายถึง การกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้บุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะน่าเวทนา เดือดร้อนแสนสาหัส เนื่องจากสภาวะทางร่างกาย หรือจิตใจไม่ปรกติ ขาดการรับรู้เรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น ทำการรักษาให้หายไม่ได้ ดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ก็มีแต่จะสิ้นสภาพการเป็นมนุษย์ จบชีวิตลงเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน รักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และจำกัดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ
    "รัฐธรรมนูญใหม่บัญญัติไว้ว่า ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงเกิดความคิดว่า ควรจะให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง (terminal illness) ไม่สามารถรักษาได้แล้ว รอวันจบชีวิตอย่างทนทุกข์ทรมาน มีสิทธิในการตัดสินใจว่า จะมีชีวิตอยู่หรือจบชีวิตลง เพราะการเลือกที่จะตาย หรือมีชีวิตอยู่นั้น เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ในกรณีที่เขาตัดสินใจเองไม่ได้ เช่น ภาวะจิตใจไม่สมบูรณ์ สมองไม่ทำงาน หรือเป็นผู้เยาว์ ก็ต้องมาพิจารณากันว่า ใครจะเป็นคนตัดสินใจแทน ใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตัดสิน และควรจะรับผิดอย่างไร ในกรณีที่ตัดสินใจผิดพลาด
    "ถ้าจะมองว่าเป็นการเข้าไปแทรกแซง กระบวนการของชีวิตตามธรรมชาติ ก็ต้องถามกลับว่า เครื่องไม้เครื่องมือ ที่ใช้ยืดชีวิตผู้ป่วยกัน จนเกินเลยอยู่ในขณะนี้ ไม่เป็นการเข้าไปแทรกแซง กระบวนการตายโดยธรรมชาติหรือ ถ้าการยืดชีวิตต่อไป ทำให้บุคคลนั้นอยู่ ยังดำรงความเป็นคนอยู่ได้ ก็คงไม่มีปัญหา แต่มีบางกรณีที่ผู้นั้น ต้องอยู่อย่างไม่ใช่คนที่สมบูรณ์ เพียงแค่หายใจได้ แต่คิดอะไรไม่ได้ ตัดสินใจอะไรไม่ได้ รับรู้อะไรไม่ได้ การที่เราเอาคนมาอยู่ในห้องดูแลพิเศษ ต้องใช้เครื่องช่วยชีวิตตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยที่เขาไม่รู้สึกหรือรับรู้อะไรเลย ก็ไม่น่าจะถือว่าบุคคลนั้น ดำรงความเป็นคนอยู่ได้ อย่างมีเกียรติ และมีศักดิ์ศรีแล้ว
    "เราต้องเคารพสิทธิของผู้ป่วย เพราะว่าเขาอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แต่การุณยฆาต ต้องใช้กับผู้ป่วยที่สิ้นหวังจริง ๆ ไม่สามารถรักษาได้แล้ว หรืออยู่ไปก็ทรมานมากเท่านั้น ถ้ายังมีโอกาสหายแม้เพียงน้อยนิดก็ไม่ควรทำ
    "แต่การยอมรับสิทธิตรงนี้ ก็ต้องระมัดระวัง ถ้าสิทธิเสรีภาพนั้นกระทบต่อศีลธรรม สังคม ศาสนา ก็ไม่น่าจะมีประโยชน์มากนัก เพราะการที่เรามีเสรีทุกอย่าง ในขณะที่สังคมยังไม่พร้อม ก็อาจเกิดปัญหาได้
    "เมื่อครั้งท่านพุทธทาสอาพาธ ท่านก็สั่งไว้ว่า ไม่ให้หมอช่วย อย่าใช้เครื่องไม้เครื่องมือ เพราะการช่วยชีวิต ถึงขนาดต้องมีสายระโยงระยางนั้น เป็นการทรมานมากเกินไป แต่แพทย์ก็ไม่หยุดให้การรักษา จนกระทั่งท่านปัญญานันทภิกขุ ออกมาพูดในทำนองที่ว่า คนจะตายก็ไม่ยอมให้ตาย
    "เพื่อยุติปัญหาค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่เราควรจะยอมรับการทำการุณยฆาต เพราะบางครั้งโรงพยาบาล ก็ยืดอายุผู้ป่วยนานเกินไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหรือญาติ จึงต้องแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก บางรายต้องขายบ้าน ขายที่ เพื่อหาเงินมารักษา เป็นการสร้างปัญหาให้แก่คนที่ยังอยู่ด้วย ยิ่งในขณะนี้ มีโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งคิดค่ารักษาพยาบาลสูงอยู่หลายแห่ง เมื่อคนไข้หรือญาติไม่มีเงินจ่าย ก็เป็นปัญหาของโรงพยาบาลด้วย กระทั่งเกิดกรณี ที่ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว แต่โรงพยาบาลไม่ให้รับศพออกไป เพราะว่ายังไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาล
    "แพทย์สามารถช่วยให้ผู้ป่วย ที่ตัดสินใจจบชีวิตบรรลุเป้าหมายได้ ในหลายรูปแบบทั้งโดยทางตรง (active euthanasia) และทางอ้อม (passive euthanasia) เพื่อให้เขาพ้นจากความทรมานเร็วขึ้น และไม่เจ็บปวดต่อไป สังคมไทยมีแนวโน้มที่จะยอมรับ เรื่องการหยุดให้การรักษาพยาบาลหรือ passive euthanasia ได้ง่ายกว่าการแบบ active เช่น การฉีดยาพิษหรือถอดเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะต้องมีข้อจำกัด และเหตุผลมากเพียงพอ เนื่องจากเป็นการเร่ง ให้จบชีวิตโดยเร็ว และง่ายขึ้น
    "ส่วนคำถามว่า การถอดเครื่องช่วยหายใจ เป็นการฆ่า และหมอมีความผิดหรือไม่นั้น ต้องดูเหตุผลความจำเป็นหลาย ๆ ด้าน จะเหมารวมว่า หมอที่หยุดการใช้เครื่องช่วยหายใจ มีความผิดในข้อหาฆ่าคนไข้คงไม่ได้ บางกรณีน่าจะให้ถอดได้ ถ้าเป็นความประสงค์ของคนไข้ และญาติ กรณีนี้ต้องพิจารณาเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ ถ้าหยุดการใช้เครื่องมือแพทย์ ที่แม้หยุดการใช้แล้วผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ต่อได้ แพทย์ก็ไม่น่าจะต้องรับโทษ ส่วนที่ ๒ การหยุดใช้เครื่องมือแพทย์ที่หยุดใช้เมื่อใด คนไข้ก็สิ้นชีวิตเมื่อนั้น เช่น เครื่องช่วยหายใจ แพทย์อาจต้องได้รับโทษ เพราะเข้าข่ายความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เพราะเมื่อกระทำแล้ว เกิดการตายทันที
    "สำหรับการฉีดยาให้คนไข้ตายเร็วขึ้น กฎหมายของเรายังถือว่า หมอมีความผิด ถึงแม้ว่าจะทำไปตามคำขอของคนไข้ก็ตาม การฆ่าตัวตาย ไม่ผิดกฎหมายก็จริง แต่คนช่วย หรือสนับสนุนให้มีการฆ่าตัวตายนั้น มีความผิดอย่างไม่มีข้อยกเว้น
    "การทำการุณยฆาต ต้องดูเหตุผลและความจำเป็นจริง ๆ ถ้าทำแล้วเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ส่งผลกระทบด้านลบ หมอบางคนอาจจะยอมทำให้ได้ แม้ว่าการุณยฆาต จะดูเหมือนเป็นการทำบาป เพราะทำให้คนตาย แต่ก็อาจมองได้ว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คือ หมอเป็นผู้ช่วยระงับความเจ็บปวดทรมาน และลดภาระ เรื่องค่ารักษาพยาบาลของญาติ บางทีก็ไม่สมเหตุสมผล ที่จะทุ่มเทการรักษา ให้แก่คนที่ไม่มีโอกาสรอด จนต้องเสียเงิน เป็นแสนเป็นล้าน เป็นการสร้างความเดือดร้อน ให้ผู้ที่ยังอยู่อีกด้วย
    "ดังนั้นจึงมีแพทย์ และนักกฎหมายบางคนคิดว่ากฎหมายน่าจะเปิดโอกาส ให้ทำการุณยฆาตได้ คือ อนุญาตให้ผู้ป่วย มีสิทธิตัดสินใจ เมื่อเขาเห็นว่าตัวเอง ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ทุกข์ทรมานมากเกินไป ไม่เหลือศักดิ์ศรีความเป็นคนอยู่แล้ว และบางทีการไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาจริง ๆ ถ้าเราเปิดโอกาสให้ทำการุณยฆาตได้บ้าง ก็น่าจะเป็นประโยชน์
    "แต่การทำให้การุณยฆาต เป็นเรื่องถูกกฎหมาย ก็อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด นำไปสู่การหาประโยชน์ในทางลบ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือหวังมรดกของผู้ตาย กฎหมายจึงต้องป้องกันการเกิดอาชญากรรม ที่แอบแฝงเหล่านี้ และมีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า กรณีไหนทำได้หรือไม่ได้ มีหลักเกณฑ์อะไรในการทำ ต้องให้แพทย์ และนักสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้วินิจฉัยเบื้องต้น แล้วเสนอให้ศาลพิจารณาก่อนตัดสินใจ การวินิจฉัยจะทำโดยแพทย์เพียงคนเดียวไม่ได้ เพราะอาจผิดพลาดได้ง่าย ที่สำคัญ แพทย์ต้องให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา และครบถ้วน อธิบายถึงโรคที่เป็น โอกาสที่จะหาย ทางเลือกในการรักษา และผลดีผลเสีย เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจได้ถูกต้อง
    "ถึงแม้จะยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับในตอนนี้ ก็มีการทำการุณยฆาตเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยเป็นการตัดสินใจร่วมกัน ระหว่างญาติกับหมอ จึงไม่มีการฟ้องร้องกัน และโดยมากหมอก็จะไม่ลงมือทำ การุณยฆาตโดยลำพัง แต่จะทำไปตามความประสงค์ของญาติ ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับการกระทำดังกล่าว แพทย์และญาติ อาจต้องได้รับโทษทางอาญา เพราะกฎหมายยังไม่อนุญาตให้ทำได้ จึงเข้าข่ายร่วมกันฆ่าผู้อื่น ขณะนี้บางประเทศ อนุญาตให้ทำการุณยฆาตได้ โดยถูกกฎหมายแล้ว เช่น เนเธอร์แลนด์ บางรัฐในออสเตรเลีย และรัฐโอไฮโอในสหรัฐอเมริกา ส่วนในอังกฤษยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ศาลใช้ดุลพินิจ เป็นรายคดี เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้
    "บางทีเราอาจต้องปล่อย ให้มีการถกเถียงเรื่องนี้ไปก่อน เพื่อให้สังคมมีการพัฒนาความคิดไปอีกสักระยะหนึ่ง เมื่อหมอ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยเรียกร้อง ให้ทำการุณยฆาตมากขึ้น ก็จะต้องศึกษาวิเคราะห์ ให้ละเอียดอีกครั้ง�


    อ้างอิง http://www.sarakadee.com/feature/2000/04/vote-support.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2008
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้ <O:p</O:p


     
  4. สุเมธ

    สุเมธ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +71
    1 ข้างต้น
    2 การฆ่ายังไงก้อบาป มากน้อยแล้วแต่เจตนา
    แต่บางธรรมเนียมสัตว์เล็ก 1 หน่วยสัตย์ใหญขึ้นมา่อาจจะ 100 หรือ 1000 หน่วยบาป แล้วมนุษย์ที่มีปัญญาล่ะท่านจะเท่าไหร่กัน
    3 ถ้าเจ้าตัวอยากตาย แล้ว ช่วย ... ก้อเหมือนฆ่าตัวตายอะ
    4 มีแล้วข้างบน
    แค่นี้นะ อ๊าก เหน็บกิน
     
  5. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,183
    ๑.การุณยฆาตคืออะไร
    - ฆ่าด้วยความกรุณา
    ๒.ทัศนะต่อการการุณยฆาต
    - สาวกภูมิเขาไม่ทำกัน
    ๓.การุณยฆาตกับการฆ่าตัวตาย
    - ฆ่าตัวตายก็ต้องลงมือเอง
    ๔.การุณยฆาตในทัศนะของพระพุทธศาสนา
    - ทัศนะไม่มี มีแต่คำสอน เจตนาหัง ภิกขเว กัมมังวทามิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2008
  6. CharnK

    CharnK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    444
    ค่าพลัง:
    +1,453
    ข้อคิดเพิ่มเติม
    1. ทุกวันนี้ เราพึ่งเทคโนโลยีมาก เราสามารถยื้อ "ชีวิต" ด้วยสารพัดเครื่องและยา แม้เรารู้ว่ายื้อไปผู้ป่วยก็ตายคาเครื่องอยู่ดี ทุกวันจะเจ็บตัวเพราะถูกเจาะเลือด ฉีดยา ทำแผล สารพัด ทรมานอยู่นะ ไม่อยากจะเชื่อฝรั่งในนิยามของคำว่า passive euthanasia ทำไมเราไม่มองว่าเป็นไปตามธรรมชาตินะ
    2. "ชีวิต" คือ ขันธ์ 5 ใช่ไหม รูปมี เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ เหลือไหม ไม่รู้
    3. วงการแพทย์นิยามเรื่อง ความตายคือสมองตาย แต่ก็เห็นหลายราย แม้สมองตายแล้ว หมอยังยื้อเพราะญาติ "รับไม่ได้" ถ้าสมองยังไม่ตาย ก็คิดหนัก
    4. การยื้อแบบที่ไม่เห็นความหวังเลย เป็นการเททรัพยากรและงบประมาณให้สูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ประเทศไทยมีทรัพยาการจำกัด สังคมต้องตัดสินใจให้ดีว่าจะทุ่มเทเงินทองและเวลาให้กับคนสิ้นหวัง 1 คน หรือจะเอาไปใช้ป้องกันโรคให้กับคนได้อีกจำนวนมาก
    5. เคยเห็นกรณีหนึ่งที่ยื้อแบบไร้ค่า (สมองตายแล้ว) เอาเลือดไปใช้จนหมดโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยอีกคนที่มีโอกาสรอดจนเป็นปกติได้ต้องเสียชีวิตไป เพราะไม่มีเลือดจะให้ กลายเป็นตาย 2 คนในที่สุด
    6. ช่วงระยะเวลาสุดท้ายที่ยื้อกันมักจะใช้เงินเป็นหลักล้านบาทได้ ครอบครัวก็ทุกข์ไปด้วย ถ้าครอบครัวยากจน ก็น่าสงสารนะ เอาเงินที่ต้องผลาญไปเป็นค่าเล่าเรียนลูกจะเหมาะไหม
    7. ชาวพุทธเชื่อในกฎไตรลักษณ์ แต่แปลกที่ไม่รับมาปฏิบัตินัก (เหมือนไม่รู้จักมรณานุสสติ) ขณะที่ชาวคริสต์-อิสลามดูจะยอมรับความตายได้ง่ายกว่า (หรือเป็นเพราะเขาคิดว่าจะมีความสุขที่ได้กลับไปอยู่กับพระเจ้าก็ไม่รู้)

    เห็นด้วยกับคำสอนในเรื่องเจตนาครับ
     
  7. เรายังเลว

    เรายังเลว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    230
    ค่าพลัง:
    +52
    คุณครูอาวุโสที่ผมเคารพท่านหนึ่งเคยบอกไว้ว่า หากว่ามีคนนอนคาเครื่องช่วยชีวิตอยู่ ไม่อยากถอดเครื่องช่วยหายใจ ให้ซื้อน้ำบริสุทธิ์ 1ขวด ถวายพระอุทิศกุศลให้เขา คุณครูบอกว่า เกือบ100% เค้าจะไปเองโดยที่ไม่ต้องถอดเครื่องช่วยหายใจ ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่เพราะยังไม่เคยลอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...