การให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 26 มิถุนายน 2007.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,440
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=620>การให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทน

    </TD><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=620>
    สำหรับการให้ทานนี้บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลายและบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พยายามให้ทานตามนี้เพราะว่าการให้ทานครั้งแรกๆ ทานนี้ได้พูดไว้แล้วว่ามี พรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐาน คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แต่ทว่าในตอนต้นกำลังใจเราอาจจะหวั่นไหวอยู่มาก ถ้าไปคิดว่าจะไปให้ทานกับคนที่เราไม่ชอบใจ คือว่าทำให้เราไม่ชอบใจไว้ก่อน ใจอาจจะไม่สบาย เพราะการให้ทานจะมีผลดีต้องมีเจตนา ๓ ประการครบถ้วน นั่นคือ
    ๑. ก่อนจะให้ตั้งใจว่าจะให้
    ๒. ขณะให้อยู่ก็เต็มใจให้
    ๓. เมื่อให้แล้วก็มีความปลื้มใจ มีความอิ่มใจว่าเราทำการสงเคราะห์แล้ว คือให้ทานแล้ว นี่ชื่อว่า เจตนา ๓ ประการ ถ้ามีครบถ้วนมีอานิสงส์มาก แต่เรื่องของอานิสงส์นี่ก็ต้องดูบุคคลก่อน ถ้าบุคคลผู้รับไม่บริสุทธิ์ คือหมายถึงพระก็ดี ฆราวาสก็ดี เณรก็ดี ถ้าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ผลทานเราก็ลดไป ๑ ใน ๓ ถ้าเราเองไม่บริสุทธิ์ ผลทานเราก็ลดไม่บริสุทธิ์ด้วย เลยไม่มีผลกันเลย ฉะนั้น การให้เราต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ วัตถุทานก็ต้องบริสุทธิ์ ไม่ลักไม่ขโมย ไม่คดโกงใครมา ยื้อแย่งใครเขามา ผู้รับทานเป็นผู้บริสุทธิ์จึงจะมีอานิสงส์เลิศ
    แต่สำหรับทานบารมีนี่ เราต้องการตัดโลภะ ความโลภคือหวังทำลายกิเลสให้สิ้นไป เราหวังนิพพาน ฉะนั้นการให้ทาน เราอาจจะไม่เลือกบุคคลก็ได้ แต่ทว่าต้องดูกันก่อน ในตอนแรกๆ ก็ต้องเลือก ถ้าไม่เลือก ผลมันจะไม่มีความหมาย ทั้งนี้เพราะอะไรก็เพราะว่า ถ้าคนที่เราไม่ชอบใจ คิดว่าจะให้ทานเมื่อไร ใจมันก็ย่อมไม่เป็นสุข อารมณ์จะขุ่นมัว ทีนี้ในเมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ต้องเว้นเสียก่อน เว้นคนที่เขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา ให้เฉพาะบุคคลที่ไม่เป็นศัตรูกับเรา
    ต่อไปก็ความเมตตากรุณามีความสูงขึ้น อารมณ์ของอุเบกขาทรงตัว คือวางเฉย วางเฉยได้ในอาการของคนอื่น เราก็ให้ทั้งๆ ที่คนที่เราชอบเราไม่ชอบก็ให้ ความจริงการให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานนี่อย่าไปนึกว่ามีผลน้อย ถ้าเราให้บ่อยๆ มันก็เกิดผลมาก พยายามให้เพื่อทำให้จิตเป็นสุข นี่ลักษณะการให้ทานต้องค่อยๆ ทำ
    และอีกประการหนึ่ง การให้ทานคิดไว้เสมอว่า คนที่เราให้อย่าไปหวังการตอบแทนของเขา แต่ว่าบางคนให้แล้วกลับเป็นศัตรูกับเรา เป็นการให้กำลังกับโจร อันนี้ผมโดนมาเยอะแยะแล้ว ขณะที่พูดนี่ก็ยังมีอยู่ ผู้ที่รับผลจากผมเอง ถ้าคิดเป็นเงินเป็นจำนวนแสนๆ ไอ้คำว่ารับผลนี่หมายความว่า เขาเกาะเงา ของผมเอาไปหากิน แต่ว่าคนประเภทนี้ก็ยังคิดว่ามีอยู่เวลานี้ ที่พูดมานี้ไม่ได้พูดให้พวกท่านเจ็บใจ ให้จำไว้อย่างเดียวว่า การให้ทานอย่าหวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน ก็ต้องคิดไว้ว่าเขาเป็นคนดี ถ้าเขาจะเลวก็เป็นเรื่องเลวของเขา ทำใจให้เป็นสุข คิดว่าเราให้ทานเพื่อเป็นความบริสุทธิ์ของจิต จิตจะได้ตัดโลภะความโลภ นี่เป็นลักษณะการให้ทาน
    และการให้ทานมีอีกแบบหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในเรื่องของ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ว่า บิดาของท่านสอนท่านในขณะที่แต่งงานว่า
    เขาให้เราจึงให้ เขาไม่ให้จงอย่าให้ และเขาให้หรือไม่ให้ก็ตาม เราก็ให้
    หมายความว่าเขาให้เราจึงให้ เขาไม่ให้เราจงอย่าให้ เขาให้หรือไม่ให้เราก็ให้ นั่นก็หมายความว่า อันดับแรกต้องดูก่อนว่า คนใดที่เราให้ไปแล้วกำลังใจเรายังอ่อน ยังมีอารมณ์หวั่นไหว เขาให้ความขอบใจ ให้ความยินดีในเรา เราจึงให้ ความสดชื่นจะได้มีกับจิต ถ้าเราให้เขาไปแล้ว แต่เขาไม่ให้ หมายความว่าให้ไปแล้วกลับประกาศตนเป็นศัตรู มีความอกตัญญูไม่รู้คุณคน คนประเภทนี้เราจงอย่าให้ จะทำให้ใจของเราหวั่นไหว
    ทีนี้ข้อสุดท้าย เขาให้หรือไม่ให้เราก็ให้ นั่นก็หมายความว่า ถ้าคนเขาอดอยากจริงๆ มีความทุกข์ร้อนเราให้ เราให้โดยคิดว่าเขาจะขอบใจหรือไม่ขอบใจ เขาจะยินดีเราต่อไปในเบื้องหน้าหรือไม่เป็นเรื่องของเขา เราให้เพื่อเป็นการเปลื้องทุกข์เราให้ด้วยความเมตตาปราณี เราตั้งจิตไว้ว่าเราให้อย่างนี้ เพื่อเป็นการเปลื้องโลภะในจิตของเรา จิตเราจะได้สบาย
    อย่างตัวอย่างที่บรรดาพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายและญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย เราร่วมกิจกรรมอันหนึ่งกันมาหลายปี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสขอให้ตั้ง ศูนย์สงเคราะห์ผู้อยากจนในถิ่นทุรกันดาร แล้วก็ทำมาสิ้นข้าวสารไปแล้วเกือบ ๑๐,๐๐๐ กระสอบ ความจริงถ้าคิดละเอียดก็เกิน ๑๐,๐๐๐ กระสอบแล้วก็มี ผ้าผ่อนท่อนสไบ มีของใช้ มีอาหาร มียารักษาโรค คิดจริงๆ แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๗ คิดแล้วเงินหมดไป ค่าของเงินเกินกว่า ๑๐ ล้านบาท การให้อย่างนี้เราไม่ได้หวังผลตอบแทน ทุกคนพร้อม ยินดี แล้วก็ยังให้กันอยู่การให้อย่างนี้ถือว่าเป็นการให้เพื่อตัดความโลภจริงๆ เป็นการสงเคราะห์
    ถ้าจะพูดถึงอานิสงส์ก็คล้ายกับท่านเมณฑกเศรษฐี ในชาติรองลงไป ก่อนจะขึ้นมาเป็นเมณฑกเศรษฐี
    ชาตินั้นมีวาระหนึ่งในระยะ ๓ ปี เกิดข้าวยากหมากแพงฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ท่านถามปุโรหิตก่อนที่จะไปเฝ้าพระราชา ท่านถามว่า "ปุโรหิต จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?" ท่านปุโรหิตบอกว่า "ผมมีหน้าที่ในการพยากรณ์ ผมก็ตรวจชะตาของประเทศตลอดเวลา หลังจากนี้ต่อไป ๓ ปี ข้าวจะยากหมากจะแพง ฝนจะแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล โรคคือความหิวที่ไม่มีอาหารจะบริโภคจะเกิดขึ้นกับประชาชน จะมีความยากลำบากมาก"
    ท่านกลับมาบ้านสั่งทำนาเป็นการใหญ่ ตั้งฉางไว้ถึง ๑๒๕ ฉาง (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ จำนวนนี้ไม่แน่ อาจจะ ๑ หรือ ๑,๑๒๕ ฉาง ผมจำไม่ได้) ทำข้าวแล้วก็เอาเงินไปซื้อของ ท่านเป็นเศรษฐี ซื้อข้าวใส่จนเต็ม เตรียมไว้กินในที่สุดข้าวทั้งหลายเหล่านั้นมันก็หมด หมดแล้วฝนยังไม่ตกเลย เกิดความลำบากมาก
    ต่อมาวันหนึ่งท่านไปเฝ้าพระราชากลับมา ข้าวสารที่บ้านมันเหลือทะนานเดียว และคนที่บ้านมีตั้ง ๕ คน ที่ว่า ๕ คนเพราะว่าอะไร ตอน อดๆ อยากๆ ท่านปล่อยให้คนรับใช้ไปอยู่ที่ไหนก็ได้ พวกทาสไม่ต้องกลับมาอีก เมื่อข้าวดีอาหารดีจะกลับมาก็ได้ ไม่กลับมาก็ได้ ปล่อยเป็นอิสระ
    วันนั้นท่านหิวจัด มาบ้านถามภรรยาว่า "ข้าวมีไหม"
    ภรรยาก็ตอบว่า "มี มีอยู่ ๑ ทะนาน"
    ท่านก็เลยบอกวา "ถ้าข้าวต้มเรากินได้ ๒ วัน ถ้าหุงกินได้วันเดียว"
    ภรรยาก็บอก "ยังไงๆ ก็หุง"
    เมื่อหุงข้าวขึ้น สุกกำลังจะกิน ก็พอดีมีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ท่านออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านพิจารณาว่าวันนี้จะได้ใครเป็นผู้สงเคราะห์เราบ้าง ก็ทราบว่าคนยากจนกันมาก ร่างกายมันต้องการอาหาร เวลาที่เข้านิโรธสมาบัติมันไม่หิว เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติมันหัว ก็เมื่อร่างกายต้องการอาหารก็ต้องหาให้มัน ทราบด้วยทิพจักขุญาณว่าบ้านนั้นนั่นแหละ (คือบ้านเมณฑกเศรษฐีบ้านนั้น) ถ้าไปแล้วเขาก็จะถวายแม้ข้าวจะมีทะนานเดียวเขาก็ถวาย จึงได้เหาะไปจากภูเขาคัมธมนาทน์ไปยืนอยู่เพื่อรับบิณฑบาต
    ท่านเมณฑกเศรษฐีเห็นเข้าก็คิดว่าชาติก่อนเราทำทานไว้น้อยจึงต้องมาอดอยากอย่างนี้ เราจะกินข้าวทะนานเดียวจะมีประโยชน์แก่เราวันเดียวเท่านั้น ถ้าเราใส่บาตรจะได้บุญใหญ่ ต้องการบุญเพื่อชาติหน้าดีกว่าชาติดีกว่าชาตินี้ยอมอดตาย จึงเอาข้าวไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า
    พอใส่ไปได้ครึ่งหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเอาฝาบาตรปิดบาตร บอกว่า "พอแล้วโยม"
    ท่านก็เลยบอกว่า "อย่าเพิ่งพอครับ ผมมันเลวมาก ชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ชาตินี้ขอได้โปรดรับให้หมดไปเพื่อประโยชน์ของผม"
    พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงรับ แล้วคนทั้งหมดก็ต่างคนต่างอธิษฐาน ต้องการความร่ำรวย ต้องการความเป็นสุขทั้ง ๕ คน ภรรยาของท่านอธิษฐานว่า
    "ขออำนาจบุญบารมีอันนี้ที่ใส่บาตรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับเหวี่ยงชีวิตลงไปในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าเพราะว่าข้าวมีเท่านั้นไม่ได้กินก็ตายกันแน่ ขอผลบุญบารมีอันนี้ในกาลต่อไป นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้าข้าวปลาอาหารที่จะแจกแก่บุคคลผู้ใด หุงเต็มหม้อแล้วตักไปแล้ว ให้มันแหว่งแค่ทัพพีเดียว จะตักเท่าไรก็ตามที ข้าวก็จะเต็มหม้ออยู่เสมอ แหว่งแค่ทัพพีต้น"
    พระปัจเจพุทธเจ้าท่านให้พรว่า "เอวัง โหตุ" แปลว่า ปรารถนาสิ่งใด จงมีความปรารถนาสมหวังทุกประการ แล้วท่านก็ไป ท่านก็อธิษฐานจิตว่า เราควรจะทำความดีนี้ให้ปรากฏแก่เศรษฐีและบุคคลทุกคน ท่านเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ ท่านบันดาลด้วยกำลังฤทธิ์ของท่าน ให้ทั้ง ๕ คนเห็นท่านไปตลอดเวลา พอไปถึงภูเขาคันธมาทน์แล้วก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้านับเป็นพัน มารับบาตรจากท่าน ท่านก็ใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์จนหมด ข้าวในบาตรของท่านก็ไม่หมด ท่านก็ต่างคนต่างฉัน
    ทุกคนเห็นแบบนั้นก็ปลื้มใจว่า อำนาจของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นมากมายนัก ต่อมาหันหน้าเข้ามาในบ้าน ท่านมหาเศรษฐีหิวแล้วก็หิวมากขึ้น ใจมันอิ่มแต่ว่าท้องมันหิว จึงถามภรรยาว่า
    "น้อง...ไอ้ข้าวตังก้นหม้อมันมีไหม"
    ภรรยาของท่านก็แสนดี คำว่าไม่มีไม่เคยตอบ บอก "มีเจ้าค่ะ" ท่านก็เลยบอก "ขอข้าวตังฉันเคี้ยวสักนิดเถอะฉันหิวแย่แล้ว"
    ภรรยาก็ไปเปิดหม้อข้าว ที่ไหนได้ แทนที่จะมีแต่ข้าวตังข้าวสุกเต็มหม้อปรี่ ด้วยอำนาจของพระปัจเจกพุทธเจ้าเลยบอก
    "นาย..โอ้โฮ ข้าวเต็มหม้ออัศจรรย์จริงๆ เมื่อกี้ฉันคดหมดแล้วนะ ความจริงข้าวตัวมันก็ไม่เหลือ ที่ท่านถามฉัน ฉันก็พูดแบบเอาใจ คิดว่าจะเอาน้ำล้างหม้อให้ท่านมาบริโภค แต่ที่ไหนได้ข้าวสวยแล้วก็มีกลิ่นหอมมาก นิ่มนวลเหลือเกิน ร้อนกรุ่นเหมือนกับสุกใหม่ๆ" (แต่ความจริงหม้อไม่ได้ตั้งเตา)
    ท่านเศรษฐีก็เรียกลูกชาย ลูกสะใภ้ ทาสคือนายบุญไม่ยอมไปไหน มากินด้วยกันหมด กินหมดเสร็จเรียบร้อยแล้วไอ้ข้าวมันก็ไม่ยอมยุบ หม้อทั้งหม้อมันเต็ม แล้วก็ร้อนอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องหุงใหม่ เพราะไม่มีข้าวสารจะหุง จึงได้แจกชาวบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงใครมาก็แจกๆ แจกกินกันจนอิ่มแล้วก็อิ่มอีก กี่เวลาก็ตาม คนมาเท่าไรก็ตามแจกกันดะ ในที่สุดคนทั้งบ้านเมืองต่างก็มาขอข้าวสุกจากท่าน ท่านจึงแจกทั้งวันทั้งคืน ข้าวไม่ยอมหมด แหว่งไปแค่ทัพพีเดียว
    ท่านบอกว่าอานิสงส์แจกไม่เลือกแบบนี้ ทำให้เมณฑกเศรษฐีหนึ่ง ภรรยาของท่านหนึ่ง ลูกชายของท่านหนึ่ง นางวิสาขามหาอุบาสิกา (สมัยนั้นเป็นลูกสะใภ้) หนึ่ง และนายบุญทาสีซึ่งเป็นทาสหนึ่ง มาเกิดร่วมกัน อยู่ในบ้านเดียวกันอีก พ่อก็มาเป็นลูกสะใภ้ นายบุญเคยอธิษฐานในสมัยนั้นว่าขอเป็นทาสเขาต่อไปเธอก็มาเป็นทาสรับใช้ แต่มีวาสนาบารมีเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เธอไม่ยอมออกจากบ้าน
    พอท่านเมณฑกเศรษฐีเกิดขึ้นมาในครรภ์มารดา ปรากฏว่ามีแพะทองคำโตเท่าช้าง เท่าม้าบ้าง นับเป็นพันตัว ล้อมบ้านอยู่ และมีสายไหมในปาก อยากจะกินอะไรดึงปั๊บออกมาเป็นขนม นมเนย เป็นอาหารการบริโภค กินต้มกินแกงแบบไหนมีหมดตามความต้องการ ต้องการผ้าผ่อนท่อนสไบก็ได้ ต้องการเพชรนิลจินดาเงินทองเท่าไรก็ได้ เลยดึงกันใหญ่ แค่แพะก็รวยแล้ว แพะทองคำโตเท่าช้างบ้าง โตเท่าม้าบ้าง เป็นพันตัว ก็เหลือแหล่ แล้วกลับดึงเงินทองแก้วแหวนจินดาอีก มันก็รวยกันใหญ่รวยเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ที่มีเงินนับไม่ได้
    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและญาติโยมพุทธบริษัทการให้ทานในเบื้องต้นมันเป็นสุขอย่างนี้ นั่นหมายความว่าถ้าเรายังไม่เข้าถึงนิพพานเพียงใด เราก็จะเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ในเรื่องวัตถุที่จะพึงใช้พึงกิน จะมีความอุดมสมบูรณ์มาก
    ฉะนั้นการที่บรรดาท่านทั้งหลายมีความเคารพในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตั้งใจบำเพ็ญทานบารมี การตั้งใจบำเพ็ญทานบารมีคิดไว้เสมออย่างนี้ พวกเรานี่คิดจริงๆ นะจะมีอะไร เกิดขึ้น สังฆทานอันนี้มีอานิสงส์เลิศ พระพุทธเจ้าบอกเกิดกี่ชาติๆ ความจนจะไม่พบ สาธารณทานเราก็ทำ ทำตั้งแต่เชียงราย ไปยังที่ไหน ตะวันออกก็สุด จันทบุรี ตะวันตกก็สุดที่ กาญจนบุรี ทิศใต้ก็สุด ยะลา นราธิวาส เราก็ทำกันทั้งหมดใครเขาอดที่ไหนเราไปกันที่นั่นตามกำลัง ทั้งๆ ที่หน่วยของเราศูนย์สงเคาะห์ฯ นี้มีทุนน้อย แต่ว่ากำลังใจคนดี เวลาเกิดเรื่องขึ้นมาทีต่างคนต่างร่วมกัน อย่างนี้คิดว่า องค์สมเด็จพระทรงธรรมคงจะทรงตรัสว่า "ทานของพวกเราคล้ายคลึงทานของท่านเมณกเศรษฐี" ถ้าบุญบารมีของเรายังไม่เต็มเพียงใดเกิดกี่ชาติก็เข้าใจว่าเป็นอย่างเมณฑกเศรษฐี แล้วบุญบารมีของท่านเมณฑกเศรษฐีนั้นชาติอีกชาติเดียว ท่านเกิดมาเป็นเมณฑกเศรษฐีท่านก็เป็นพระอริยะเจ้า ฟังเทศน์จบเดียวเป็นพระโสดาบันทั้งหมด

    ที่มา:
    http://www.banfun.com/buddha/tana_compens.html


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. เอกณัฐยศ

    เอกณัฐยศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,628
    ค่าพลัง:
    +9,667
    ขออนุโมทนาด้วยครับ ได้รับความรู้ดีมาก ๆ
    อย่างนี้เขาเรียกว่า "สมบัติตักไม่พร่อง"
     

แชร์หน้านี้

Loading...