กำหนดพอง-ยุบ เป็นวิปัสสนาได้อย่างไร?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 27 พฤศจิกายน 2008.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]



    กำหนดพอง-ยุบ เป็นวิปัสสนาได้อย่างไร?
    วิปัสสนา แปลว่า เห็นประจักษ์แจ้งพระไตรลักษณ์ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวะดับ สงบเย็น( นิพพาน)ได้
    วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง วจนัตถะว่า อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธน อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา ปัญญาใด ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่างๆมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

    การปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนดอาการพองยุบของท้องเป็นอารมณ์หลัก เผยแผ่โดยท่านมหาสีสยาดอ (โสภณะมหาเถระ) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ ในประวัติของท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกามาก ต่อมาท่านต้องการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงจึงสืบค้นหาสำนักปฏิบัติวิปัสสนาที่มีหลักการสอดคล้องกับคัมภีร์ที่ได้ศึกษามา ในที่สุดท่านได้เลือกปฏิบัติวิปัสสนาแบบกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ”กับพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบท่านหนึ่ง จนเห็นผลจริงว่า วิปัสสนามิใช่มีอยู่แต่ในตำรา การกำหนดดูอาการท้องพองท้องยุบอย่างจดจ่อต่อเนื่องนี่แหละ เป็นการเจริญวิปัสสนาให้บรรลุถึงมรรคผลได้จริงอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้สนใจหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง“วิปัสสนานัย”
    พระโสภณมหาเถระ(มหาสีสยาดอ) อธิบายว่า มีพระพุทธพจน์ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ ตามที่ดำรงอยู่ ตามที่เป็นไปอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มีอยู่ในกายนี้”
    การตามรู้สภาวะพองยุบจัดเป็นธาตุกรรมฐานตามพระบาลีข้างต้น โดยสภาวะพองยุบเป็นลมในท้องที่ดันให้พองออก และหดยุบลงเมื่อหายใจออก การกำหนดสภาวะพองยุบ จัดได้ว่าได้รับรู้สภาวะลักษณะธาตุ ดังนี้คือ
    - สภาวะตึงหย่อนของธาตุลมที่เป็นโผฏฐัพพารมณ์เป็นลักษณะของวาโยธาตุ(วิตฺถมฺภนลกฺขณา)
    - การทำให้เคลื่อนไหวจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง เป็นหน้าที่ของวาโยธาตุ (สมุทีรณรสา)
    - การผลักดัน เป็นอาการปรากฏของวาโยธาตุ (อภินีหารปจฺจุปัฏฐาน)
    พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฎฐานสูตร หมวดอิริยาบถว่า ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโยปณิหิโต โหติ, ตถา ตถา นํ ปชานาติ กายของโยคี ดำรงอยู่โดยอาการใด ๆ ก็กำหนดรู้กายนั้นโดยอาการนั้นๆ
    การกำหนดอาการพอง-ยุบ จัดเป็นอาการที่ปรากฏในส่วนแห่งร่างกาย พร้อมกันนี้การกำหนดพอง-ยุบยังเป็นการกำหนดวาโยโผฏฐัพพะรูป ซึ่งอาจจะกล่าวโดยอนุโลมได้ว่าเป็นการกำหนดอานาปานโดยอ้อมเช่นเดียวกัน อีกนัยหนึ่งการกำหนดรู้อาการพอง-ยุบ เป็นการกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของธาตุลม (กุจฉิสยวาโย ลมในท้อง)พอง – ยุบ เป็นรูป จิตที่กำหนดรู้เป็นนาม ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน

    หลายคนสงสัยว่าเป็นการปฏิบัติมากไปด้วยคำบริกรรมมีแต่บัญญัติ จะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร? ชี้แจงว่า.. “นนุ จ ตชฺชาปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คยฺหตีติ? สจฺจํ คยฺหติ ปุพฺพภาเค. ภาวนาย ปน วฑฺฒมานาย ปญฺญตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐติ.
    ถามว่า บุคคลย่อมรับรู้สภาวธรรมโดยเนื่องด้วยบัญญัติได้หรือ
    ตอบว่า เบื้องแรกย่อมรับรู้โดยเนื่องด้วยบัญญัติ แต่เมื่อภาวนาเจริญขึ้นแล้ว จิตย่อมล่วงบัญญัติแล้วดำรงอยู่ในสภาวะ(ปรมัตถ์)

    มีหลักฐานที่เกี่ยวกับการใช้คำบริกรรมที่เป็นบัญญัติดังนี้ “มนสา สชฺฌาโย ลกฺขณปฏิเวธสฺส ปจฺจโย โหติ. ลกฺขณปฏิเวโธ มคฺคผลปฏิเวธสฺส ปจฺจโย โหติ. การสาธยายทางจิต เป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดไตรลักษณ์ การแทงตลอดไตรลักษณ์เป็นปัจจัยแก่การแทงตลอดมรรคผล

    ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นจะต้องอาศัยบัญญัติเป็นเบื้องแรกก่อน ถ้าไม่อาศัยอารมณ์บัญญัติแล้ว ก็จะเข้าถึงอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ไม่ได้เลย ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบพองยุบนั้น เมื่อแรกปฏิบัติใหม่ ๆ ก็มากด้วยอารมณ์บัญญัติ เช่นในขณะที่กำหนดอาการพองยุบของท้องอยู่นั้น ยังคงมีรู้ปร่างสัณฐานของท้องอยู่อย่างชัดเจน แต่เมื่อกำหนดไปเรื่อย ๆ วิปัสสนาปัญญาแก่กล้าแล้ว รูปร่างสัณฐานของท้องก็หายไป คงมีอยู่แต่อาการตึง ๆ หย่อน ๆ เท่านั้น อาการตึง ๆ หย่อน ๆ นี้เองเรียกว่า “วาโยธาตุ”
    “นนุ จ ตชฺชาปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คยฺหตีติ? สจฺจํ คยฺหติ ปุพฺพภาเค. ภาวนาย ปน วฑฺฒมานาย ปญฺญตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐติ.
    ถามว่า บุคคลย่อมรับรู้สภาวธรรมโดยเนื่องด้วยบัญญัติได้หรือ
    ตอบว่า จริงอยู่ในเบื้องแรกย่อมรับรู้โดยเนื่องด้วยบัญญัติ (คือยังคงรับรู้ถึงรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ และยังคงรับรู้คำบริกรรมสลับกันไป) แต่เมื่อภาวนาเจริญขึ้นแล้ว จิตย่อมล่วงบัญญัติแล้วดำรงอยู่ในสภาวะอย่างเดียว (คือรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ หายไป และไม่มีคำบริกรรมประกอบร่วม)


    พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี รวบรวม/เรียบเรียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2008
  2. ตะกอน

    ตะกอน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +26
    อนุโมทนาครับ ผมเองไม่ได้กำหนอพองยุบ ผมใช้วิธีกำหนดรู้อิริยาบทไปเรื่อยๆครับ น่าจะคร้ายๆกับพองยุบนะ ตอนเเรกก็คิดว่าตัวเองเข้าวิปัสนาเลย เอาเข้าจริงมันไม่ใช่นิ ผู้รู้เค้าบอกว่ามันสมถะไป คิดๆมันก็จริงพอทำไปๆกำหนดรู้ตลอดมันเกิดปิติขึ้น ก็เลยมีคำถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะเข้าสู่วิปัสนา
     
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นแหละครับ เลิกคิด หยุดการมองหาอะไรๆซะครับ
    คำบริกรรม ไม่จำเป็น อะไรก็ได้เหมือนกันครับ ขออย่างเดียวคือมีสติ อยู่อริยาบทนั้นๆ
    ทำไปตามอยู่อย่างนั้น เอาสติเป็นตัว รู้ รู้ รู้..นะครับ ทำไปเรื่อยๆ
    และสติปัญญาพิจารณา ในทั้งหลายทั้งปวงนั้นว่า มันไม่เที่ยง ลมหายใจก็เช่นกัน เมื่อหายใจเข้าลึกสุดแล้ว มันก็ต้องออกมา ทำอยู่อย่างนั้นแหละ อย่าละวิริยะนะครับ

    เจริญธรรมครับ
     
  4. 1redstar

    1redstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +1,366
    เวลาทำวิปัสสนา ไม่ต้องพากษ์ ไม่ต้องตีความว่า ยุบหนอ-พองหนอ
    แค่ดูมันอย่างดิบๆ นี่คืออารมณ์ปรมัต หยุดคิด แล้วจะรู้ แล้วจะตื่น
    คำว่า ตื่น มันมหัศจรรย์มาก เมื่อสัมผ้สเป็นครั้งแรก
    เพราะสามารถมีสติดูอากัปกิริยาอาการต่างๆ ทางกาย ทางใจ อยู่เป็นชั่วโมง ๆ

    จะเกิดความเพียรขึ้นโดนอัตโนมัติ เพราะรู้สึกถึงนิพพานอยู่ไม่ไกลแล้ว
    จะเกิดความปล่อยวางในลาภ ยศ สรรเสริญ ทั้งปวง
    เพราะค้นพบอริยะทรัพย์ภายในจิตใจ มันยิ่งใหญ่
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดง ประจักษ์แจ้งแก่จิตใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2008
  5. rux

    rux เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    308
    ค่าพลัง:
    +990
    เราเป็นผู้รู้ ผู้ดูตาม อย่าเป็นผู้กำหนด...


    วิปัสสนา จะตามมาเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...