ขบวนการสร้างเหรียญ ปั้มเหรียญ เคล็ดลับหนึ่งในการดูเหรียญพระแท้-เก๊ ในยุคนี้

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 22 กรกฎาคม 2012.

  1. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]


    รูปแบบหนึ่งของการสร้างเหรียญพระยุคใหม่
    โดย...วิจิตร ปิยะศิริโสฬส
    มีเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นการปูพื้นฐานให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจถึงคำพูดที่มีการกล่าวอ้างถึงบ่อยๆว่า การพิจารณาเหรียญพระแท้ๆให้ดูที่ “ธรรมชาติเหรียญ” เราจะเข้าใจธรรมชาติเหรียญพระได้ ก็ต้องรู้ก่อนว่า เขาสร้างหรือผลิตเหรียญในแต่ละยุคแต่ละสมัยกันอย่างไร “เพื่อนำมาวิเคราะห์เหรียญพระว่า แท้หรือเก๊ได้” [/B]
    ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงนำเสนอเรื่องการผลิตเหรียญพระสมัยใหม่ก่อน และหากมีช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะได้นำเสนอการสร้างเหรียญพระยุคเก่าๆเพิ่มเติม เพื่อจะได้เป็นพื้นฐานความรู้ในเชิงวิเคราะห์เหรียญพระต่อไปในอนาคต
    ขั้นตอนการสร้างเหรียญยุคใหม่แบบนี้ ได้มาจากการเปิดเผยให้ข้อมูลอย่างหมดเปลือกหมดไส้หมดพุงของ “คุณศิริชัย ยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จังหวัดชลบุรี” ท่านอนุญาตให้ผู้เขียนถ่ายรูปได้หมดทุกขั้นตอนการทำเหรียญ ไม่เว้นแม้แต่บริเวณที่หวงห้าม(ห้ามเข้าสำหรับบุคคลภายนอก) ท่านได้ให้ความเมตตาผู้เขียนเป็นอย่างมากตลอดเวลา 3 เดือนครึ่ง ที่ผู้เขียนไป-กลับโรงงานนี้เกือบทุกวัน แถบยังเลี้ยงอาหารเที่ยงผู้เขียนทุกวันอีกด้วย ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
    ขั้นตอนการสร้างเหรียญพระเครื่องในยุคปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็นขั้นตอนอย่างสังเขปได้ดังต่อไปนี้
    ขั้นตอนที่ 1 ผู้จัดสร้างต้องหารูปแบบของเหรียญให้ได้เรียบร้อยก่อน เช่น รูปไข่ หรือรูปเสมา เป็นต้น หากสร้างเหรียญรูปเหมือน ต้องมีรูปถ่ายไปให้ช่างทำการปั้นหุ่นเทียนขึ้นมาก่อน เมื่อได้หุ่นเทียนมาแล้ว ก็จะมาทำการแก้ไขจนเป็นที่พอใจของผู้จัดสร้าง หลังจากได้ข้อสรุปรูปของหุ่นเทียนแล้ว ก็นำหุ่นเทียนดังกล่าวไปเทน้ำยางทับบน รอน้ำยางแห้ง ก็จะได้พิมพ์ยาง
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นก็นำพิมพ์ยางที่ได้ไปเทเรซิ่นหรือบางครั้งก็เรียกว่าอีป๊อกซี่ เมื่อได้แบบอีป๊อกซี่แล้ว ช่างจะทำการตกแต่งแบบอีป๊อกซี่ดังกล่าวอีกครั้งให้เป็นที่พอใจของผู้จัดสร้าง เช่นแก้ไขรายละเอียดเส้นเกศา ลายกนก เม็ดตาให้ลึกขึ้น จนได้ข้อสรุปว่าสวยงามเป็นที่พอใจของผู้จัดสร้างก็ยุติ

    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 3 นำแผ่นอีป๊อกซี่(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต)ดังกล่าวเข้าเครื่องย่อพิมพ์ โดยมีหัวจี้เล็กๆ จี้ไปที่แผ่นอีป๊อกซี่ เครื่องจะทำการหมุนแผ่นอีป๊อกซี่ดังกล่าวโดยรอบ หัวจี้จะขึ้นลงตามความสูงต่ำของแบบ (ให้นึกภาพการทำงานของเครื่องปั๊มกุญแจ) ทำการย่อส่วนลงสู่ท่อนเหล็กหล่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว ขบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 19-24 ชั่วโมง จึงจะแล้วเสร็จ ได้แม่พิมพ์ตัวผู้ที่นูนเหมือนที่เป็นต้นแบบอีป๊อกซี่ แต่มีขนาดเล็กเท่าขนาดเหรียญจริงที่ต้องการจัดสร้าง
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 4 เมื่อได้แม่พิมพ์ตัวผู้แล้ว ก็ยังเอาไปใช้เลยไม่ได้ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อความสวยงามของเหรียญพระเครื่องฯ นำแม่พิมพ์ดังกล่าวนี้ไปเข้าเครื่องกลึงปาดขอบด้านข้างให้เสมอกัน ลบส่วนที่นูนที่ไม่ต้องการออก จากนั้นช่างจะตกแต่งให้มีรายละเอียดและความสวยงามเพิ่มขึ้นอีก พื้นผนังขอบข้างต้องตกแต่งให้เรียบไม่ให้เป็นแอ่ง ตกแต่งไปใช้กล้องส่องไป แก้ไขจนเห็นว่าสวยงามเป็นที่พอใจของคนจัดสร้าง
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 5 เป็นขั้นตอนการชุบแข็งแม่พิมพ์ตัวผู้(ค่อยอ่านรายละเอียดในการชุบแข็งแม่ พิมพ์ตัวเมีย) เมื่อเสร็จการชุบแข็งแล้ว ช่างจะต้องทำความสะอาด เอาเศษวัสดุที่ตกค้างบนแม่พิมพ์ตัวผู้ออกให้หมดเสียก่อน หลังจากนั้นก็ทำการถอดพิมพ์ให้เป็นแม่พิมพ์ตัวเมีย (ภาษาช่างสมัยใหม่เขาเรียกว่า การถอนพิมพ์) โดยปกติ แม่พิมพ์ตัวเมีย 1 ตัว จะปั๊มเหรียญ ได้ประมาณ 2,000-2,500 เหรียญ หากทำ 10,000 เหรียญ จะต้องมีแม่พิมพ์ด้านหน้า 5 ตัว และแม่พิมพ์ด้านหลัง 5 ตัว รวมเป็น 10 ตัว นี่สำหรับโรงงานที่ทันสมัย หากโรงงานมาตรฐานต่ำเครื่องไม้เครื่องมือไม่ดี ก็ต้องมีแม่พิมพ์มากกว่านี้ (สัมภาษณ์จากท่านเจ้าของโรงงาน)
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 6 เมื่อได้แม่พิมพ์ตัวเมียทั้งด้านหน้า-หลังครบ 10 ตัวแล้ว ก็ต้องนำไปให้ช่างทำการกลึงด้านข้างให้เรียบร้อย ให้ได้ศูนย์ เพื่อความสะดวกในการนำไปติดตั้งแท่นพิ
    มพ์ต่อไป
    [​IMG]


    ขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนนำแม่พิมพ์ทั้งหมดไปชุบแข็ง เอาเข้าเตาเผาไฟฟ้า ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง รอให้เย็นก็นำไปทำความสะอาด

    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 8 ขั้นตอนนี้ จะทำก่อนหรือหลังขั้นตอนที่ 3 – 6 ก็ได้เนื่องจากแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ผู้เขียนให้เป็นขั้นตอนที่ 8 เนื่องจากจะเป็นขั้นตอนที่ติดต่อกับขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนนี้เป็นการรีดแผ่นโลหะให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ หลังจากนั้นก็นำไปตัดเป็นแว่นๆออกมา มีขนาดโตกว่าเหรียญจริงนิดหน่อยและรูปทรงคล้ายคลึงเหรียญ เช่นเป็นรูปไข่หรือรูปเสมา การทำเช่นนี้ ในอดีตช่างเขาเรียกว่าการโกลนโลหะ
    [​IMG]
    ขั้นตอนที่ 9 เอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังไปติดตั้งที่แท่นพิมพ์ ต้องปรับให้ได้ศูนย์ แม่พิมพ์ด้านหน้าและด้านหลังต้องขนานกัน จะทำให้เวลาปั๊มเหรียญออกมาได้ความหนาบางเท่ากันตลอดเหรียญ ติดตั้งแล้วก็ต้องทดลองปั๊มดู แล้วส่องดูด้วยว่าออกมาสวยงามแล้วยัง
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 10 เมื่อทดสอบจนได้ที่แล้วก็ลงมือปั๊มเหรียญ คนคุมแท่นพิมพ์จะเป็นคนนำโลหะที่โกลนแล้ว ลงวางในตำแหน่งที่ได้มาร์คไว้ และเดินเครื่องปั๊มเหรียญ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งจะมีคนคอยนำเหรียญที่ผ่านการปั๊มออก และนำไปวางในที่ๆจัดไว้ เหรียญที่ปั๊มออกมานี้จะมีปีก เนื่องจากการปลิ้นล้นของโลหะขณะปั๊ม (ดูภาพประกอบ)
    [​IMG]

    ขั้นตอนที่ 11 เป็นการนำเหรียญที่มีปีกข้างมาตัดเอาปีกออก โดยนำเข้าเครื่องตัดปีก นำเหรียญวางในตำแหน่ง แล้วเดินเครื่อง เครื่องจะทำการดันส่งเหรียญลงข้างล่าง ทำให้เหรียญขาดออกจากปีก
    [​IMG]
    ขั้นตอนที่ 12 เป็นขั้นตอนการเจาะรูหูเหรียญนำเหรียญไปวางในตำแหน่ง แล้วกดเครื่องลงมา มีลักษณะคล้ายตัวตอกตาไก่ รูหูที่ได้จะปลิ้น หลังจากนั้นก็นำเหรียญที่ได้ไปใส่ห่วง แล้วบรรจุลงหีบห่อ นำส่งให้ลูกค้า เป็นการเสร็จสิ้นการทำเหรียญพระเครื่อง
    ฉบับนี้ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ก่อน ค่อยพบกันใหม่ในฉบับหน้าอีกนะครับ หากข้อความข้างบนนี้มีความดีและมีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดให้กับบิดา-มารดาของผู้เขียน และบ.ก.ธีรพิพัฒ สิงหศิริธรรมที่ท่านเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้เขียนบทความที่ได้ค้นคว้ามา ยังมีอีกท่านหนึ่งที่ต้องขอขอบคุณอย่างสูงคือคุณสมเกียรติ เจริญผล ที่เป็นธุระให้กับผู้เขียนในทุกๆเรื่องที่ผ่านมา หากมีสิ่งใดผิดพลาดผู้เขียนขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณ คุณศิริชัย ยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จังหวัดชลบุรี ที่ได้กรุณาให้ถ่ายภาพมาลงเผยแพร่
    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    ขออำนาจแห่งองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดโปรดดลบันดาลให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนาทุกประการด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  2. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เคล็ดลับหนึ่งในการดูเหรียญพระแท้-เก๊

    เคล็ดลับหนึ่งในการดูเหรียญพระแท้-เก๊

    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>
    เคล็ดลับหนึ่งในการดูเหรียญพระแท้-เก๊

    2ฉบับก่อน ผู้เขียนได้พูดถึงเรื่อง“รูปแบบหนึ่งของการสร้างเหรียญพระยุคใหม่” และ “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปั๊มเหรียญพระ” ไปแล้ว โดยได้กล่าวถึงขบวนการปั๊มเหรียญพระ ว่า การจะได้เหรียญพระที่ออกมาสวยสมบูรณ์นั้น จะต้องปั๊ม 2 ครั้ง เป็นการปูพื้นฐานไปแล้วด้วย ฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงแนวทางหนึ่ง ที่ผู้เขียนนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประกอบการพิจารณาในการวิเคราะห์เหรียญพระแท้หรือเก๊ การที่จะดูเหรียญพระว่าแท้-เก๊ นั้น ถ้าเราไม่มีแนวทางในการดูแล้ว ก็ไม่มีจุดเริ่มต้น ทำให้ดูเหรียญพระไม่เป็นอย่างแน่นอน ดังที่มีการกล่าวอ้างถึงบ่อยๆว่า “การดูเหรียญพระแท้ ให้ดูที่ ธรรมชาติเหรียญ” หากเราไม่รู้ขบวนการสร้างหรือผลิตเหรียญ แล้วเราจะดูธรรมชาติของเหรียญพระได้อย่างไร
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>มีคำถามหนึ่งที่ถามกันบ่อยๆว่า“เส้นขนแมวในเหรียญเกิดขึ้นมาได้อย่างไร” เรื่องนี้เกี่ยวพันกับขบวนการสร้างแม่พิมพ์เหรียญพระในยุคอดีต........ เส้นขนแมวบนพื้นเหรียญ เกิดขึ้นจากขบวนการสร้างแม่พิมพ์ คือในขั้นตอนกลึงโลหะปาดหน้าเหล็กหล่อที่จะทำแม่พิมพ์ให้ได้ฉาก ในยุคนั้นแท่นกลึงมีสเกล(Scale)ค่อนข้างหยาบละเอียดน้อยกว่าปัจจุบันนี้ เมื่อกลึงปาดหน้าเหล็กแม่พิมพ์ ก็จะมีร่องรอยซึ่งมีลักษณะวงกลมๆเกิดขึ้นบนหน้าเหล็กหล่อ ช่างทำแม่พิมพ์จึงได้ใช้ตะไบหรือกระดาษทรายหยาบขัดถูด้านหน้าเพื่อลบร่องรอยดังกล่าว ทำให้เป็นร่องตรงๆลึกลงไปตามแนวที่ถูด้วยตะไบหรือกระดาษทรายหยาบ หลังจากนั้นจึงใช้กระดาษทรายอย่างละเอียดขัดถูอีกครั้ง แต่ก็ลบรอยที่เป็นร่องลึกนั้นไม่หมด เวลาปั๊มเหรียญจึงเกิดเส้นขนแมวขึ้น กรณีนี้เส้นขนแมวจะนูนขึ้นมาจากผิวพื้นเหรียญ

    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>ส่วนอีกกรณีหนึ่งแตกต่างจากเส้นขนแมว เกิดขึ้นกับขบวนการสร้างเหรียญในขณะปั๊ม ผู้เขียนขอเรียกว่า “เส้นรัศมี หรือที่บางท่านเรียกว่า เส้นเสี้ยน” เมื่อปั๊มเหรียญจะมีแรงอัดไปที่แผ่นโลหะ ทำให้โลหะปลิ้นล้นออกด้านข้าง ขณะปลิ้นล้นออกด้านข้างก็เกิดการเสียดสีหรือครูดกับผิวแม่พิมพ์(ให้จินตนาการถึงตอนเราล้มรถมอเตอร์ไซด์ แล้วเนื้อเราครูดกับถนน เนื้อของเราจะแหว่งไป) ผลก็คือเนื้อผิวเหรียญมีรอยครูดเป็นรัศมีไปในทิศทางที่โลหะปลิ้นล้นออกไป หากสังเกตให้ดีจะเป็นร่องเล็กๆลงไปในพื้นผิวเหรียญ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>ตัวอย่างเส้นรัศมีหรือเส้นเสี้ยน

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=800 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>ตัวอย่างเส้นรัศมีหรือเส้นเสี้ยน-

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรณีไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง กรณีแรกเส้นขนแมวเป็นเส้นคมๆนูนขึ้นมาจากพื้นผิวเหรียญ กรณีที่ 2 เส้นรัศมีเป็นเส้นกินลงไปในพื้นผิวเหรียญอย่างตื้นๆแต่ทั้ง 2 กรณีนี้สามารถนำมาดูเป็นธรรมชาติของเหรียญปั๊มได้

    หวังว่าที่เขียนมาแล้วนี้ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้ความรู้บ้างไม่มากก็น้อย เพื่อจะได้เป็นภูมิคุ้มกันตัวเองจากเหรียญพระฝีมือ(เหรียญเก๊)ฉบับนี้ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ก่อน ค่อยพบกันใหม่ในฉบับหน้าอีกนะครับหากข้อความข้างบนนี้มีความดีและมีประโยชน์อยู่บ้าง ผู้เขียนขอยกความดีทั้งหมดให้กับบิดา-มารดาของผู้เขียน และบ.ก.ธีรพิพัฒ สิงหศิริธรรม ที่ท่านเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้เขียนบทความที่ได้ค้นคว้ามา ยังมีอีกท่านหนึ่งที่ต้องขอขอบคุณอย่างสูงคือคุณสมเกียรติ เจริญผลที่เป็นธุระให้กับผู้เขียนในทุกๆเรื่องที่ผ่านมา หากมีสิ่งใดผิดพลาดผู้เขียนขอรับผิดแต่เพียงผู้เดียวและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ขอขอบคุณ คุณเพชร ท่าพระจันทร์ ที่ให้ภาพแม่พิมพ์เก่ามาเผยแพร่ ขอขอบคุณ คุณสมหวัง ประเสริฐ หัวหน้าช่างประจำโรงงาน ที่ให้ความรู้ผู้เขียนและคอยอำนวยความสะดวก ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณ คุณศิริชัย ยิ้มตระการ เจ้าของโรงงานอรุณชัยการช่าง และบริษัท อรุณชัยเมดดัลเลี่ยน จำกัด จังหวัดชลบุรีที่ให้ความเมตตากรุณาต่อผู้เขียนด้วยดีตลอดมา
    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    ขออำนาจแห่งองค์สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดโปรดดลบันดาลให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนาทุกประการด้วยเทอญ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle height=100><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD>ตัวอย่างเส้นขนแมว</B>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  3. keepbarking

    keepbarking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +852
    ข อ บ คุ ณ ค รั บ ....:z8
     
  4. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณครับ คุณ Stoes :cool:
    ที่กรุณานำข้อมูลดีๆ มาให้เป็นความรู้กัน
     
  5. punpraya

    punpraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2006
    โพสต์:
    1,256
    ค่าพลัง:
    +2,229
    ขอบคุณมากๆครับ
     
  6. เอ๋สระบุรี

    เอ๋สระบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,181
    ค่าพลัง:
    +1,605
    แหมพี่น่าดึง ไปแปะที่เทคนิคสำหรับมื่อใหม่จังครับ (ช่วงบล๊อกคอมพิวเตอร์) จะได้แจ่มแจ้งกันไปเลย ขอบคุณครับ
     
  7. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เชิญตามสบายครับคุณเอ๋ ยิ่งเผยแพร่เยอะ ๆ ยิ่งได้ประโยชน์
    ส่วนผมอยู่ในขบวนการพระปั้มแล้ว พระหล่อขนาดใหญ่
    ขนาดหน้าตัก 69 นิ้วปิดทอง หรือขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว
    กระผมก็เข้าใจในขบวนการสร้างแล้ว และกระผมมีวิธีการที่จะบอกให้
    ช่างแต่ง ออกมาตามที่เราต้องการ ข้อแรกง่าย ๆ โดยการรูปไปตามองค์พระและมองแนวสโล๊บ
    ในองค์พระที่ยังเป็นขึ้ผึ้งอยู่ สร้างและแต่งมาแล้ว 4 องค์ เป็นพระประธาน

    องค์แรก พระพุทธชินราชจำลอง วัดป่าธารวิเวก จังหวัด.....ที่ผมอยู่
    องค์ที่สอง พระพุทธชินราชจำลอง วัดเขาจันทรา จังหวัดจันทรบุรี
    องค์ที่สาม พระพุทธชินราชจำลอง วัดแก้วประเสริฐ ปะทิว ชุมพร
    องค์ที่สี่ พระพุทธชินราชจำลอง วัดป่ายาง จังหวั....ที่ผมอยู่
    ทุกท่านช่วยอนุโมทนาได้ครับ
     
  8. armchi

    armchi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,631
    ค่าพลัง:
    +2,031
    ขอบคุณมากครับพี่stoesที่ให้ความรู้ครับผม
     
  9. กำธร นครปฐม

    กำธร นครปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,756
    ค่าพลัง:
    +7,206
    ขอบคุณพี่สโตซ์ มาก ๆ ครับ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับ
     
  10. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG]


    :: วัดแก้วประเสริฐ ::

    วัดแก้วประเสริฐ อยู่ ท่าแอ็ต ปะทิว
    อาจารย์ท่านนับถือคุณพ่อผมเป็นเหมือนพ่อ ท่านกล่าว

    ***********************
    วัดเขาจันทา อยู่จันทรบุรี ผมไปทอดกระฐินทุกปีที่นี่

    วัดเขาจันทา (สาขาวัดเขาสุกิม) จังหวัดจันทบุรี
    [​IMG]

    ในนี้มีผมด้วยครับ
    งานตอนปี 2547 ที่ผมร่วมสร้างและหล่อพระพุทธชินราช ณ วัดเขาจันทา จันทรบุรี
    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญ...น-ณ-วัดเขาจันทา-สาขาวัดเขาสุกิม.304257/page-2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  11. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ครับพี่กำธร ภาพชัดดีกว่าที่ผมนำเสนอไปเมื่อเกิด
    ต้องขอบคุณ คุณแพะ สงขลา อนุโมทนา
    ถ้าท่านใดมีแง่มุมที่จะถามผมก็ยินดีที่จะคำตอบให้
    ถ้าผมไม่ทราบก็จะพยายามหาความรู้มาตอบ
     
  13. Jmind

    Jmind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +756
    พี่ Stoes ผมขอความกรุณาพี่ สอนเรื่อง เนื้อโลหะเก่า ด้วยขอรับ ขอบพระคุณล่วงหน้า
     
  14. brutus

    brutus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,250
    ค่าพลัง:
    +2,082
    สุดยอดครับ เข้ามาติดตามด้วยอีกคน
     
  15. ตาลโทน

    ตาลโทน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +157
    ได้ความรู้ดีมากครับ ขอบคุณครับ
     
  16. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Jmind [​IMG]
    พี่ Stoes ผมขอความกรุณาพี่ สอนเรื่อง เนื้อโลหะเก่า ด้วยขอรับ ขอบพระคุณล่วงหน้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรียนคุณJmind การดูเนื้อโลหะเก่า เป็นเรื่องของพระสึกแล้ว
    แต่ที่ยังไม่สึก เราก็จะพิจารณาผิวเหรียญแทน
    และเราทราบว่าพระนั้น ๆ สร้างนานแล้ว แต่จะมีเหตุปัจจัยอีกหลายอย่าง
    ที่มีผลในการดูเนื้อเหรียญโลหะหรือผิวเหรียญคาดเคลือนไปจากจุดที่เป็นจริง เช่น
    เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 1 ทำไม่ดูใหม่ กว่าเหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่น 5 รุ่น 7
    ตรงนี้เกิดจากการเก็บรักษาที่ต่างกัน
    จึงเป็นข้อยุติยากสำหรับคนที่ไมมีความรู้ในการศึกษาเรื่องพระเหรียญมาก่อน
    วิธีสึกษาที่ดีที่สุด คือศึกษาจากเหรียญจริงและดูองค์ประกอบอื่น ๆ
    ในตัวเหรียญ ไม่ใช่ดูแค่ว่าเหรียญเก่าอย่างเดียว
    เพราะ ผมเคยได้ศึกษาพระเนื้อดิน ที่เป็นพระกรุ สมัยเก่า
    ผู้ที่ทำปลอมก็จะนำเนื้อดินเก่าของพระที่แตกหักมาอัดหรือแกะถ้ามีฝีมือ
    ทำเป็นพระที่เลียนแบบจากของจริง แล้วนำไปลบเส้นคม ๆ ที่แกะขึ้นมา
    คนที่ไม่ชำนาญเรื่องพิมพ์ดูแค่พระเก่าก็เข้าใจว่าแท้ เป็นต้น
    ฉะนั้นการพิจารณาพระเหรียญไม่ได้ดูที่เก่าแต่อย่างเดียว
    ข้อแรก เราต้องดูที่พิมพ์ ดูสีผิวพระ ดูเนื้อพระถ้าเห็น ดูธรรมชาติของเหรียญพระ
    อย่างนี้จึงจะถูกวิธี และที่สำคัญคือตัวเรา ต้องปล่อยว่างความคิด ในความคิดเรา
    เป็นดั่งเหมือนน้ำใส เมื่อใส่อะไรลงไปแล้วก็จะมองเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นสีที่เราใส
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,373
    (kiss)(kiss)(f)(f);41(f)(f)(kiss)(kiss)
    ขอบคุณพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์ Stoes
    ที่สร้างกระทู้ความรู้ ที่เป็นกระทู้คุณภาพเพิ่มขึ้น
    ให้การศึกษาพระเครื่องเป็นวิทยาศาสตร์
    เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้เริ่มศึกษาพระเครื่อง
    จะได้ไม่หลงทางเข้าป่า/ออกทะเล
    ไปกับนิยายหรือกลุ่มพระเก๊/พระกุทั้งหลายครับ
     
  18. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เรื่องรวม ๆ เกี่ยวกับโลหะหลายชนิดกับการศึกษาพระเครื่อง

    หลายๆท่านคงเคยอ่านหรือได้ยินเนื้อพระเหล่านี้มาบ้างนะครับ - เนื้อทองแดง / เนื้อทองแดงเถื่อน - เนื้อนวโลหะ / เนื้อนวโลหะกลับดำ - เนื้อทองแดง / เนื้อทองแดงรมดำ / เนื้อทองแดงรมน้ำตาล - เนื้อทองเหลือง / เนื้อทองฝาบาตร - เนื้อเมฆพัตร / เนื้อเมฆสิทธิ์ - เนื้อชิน / ชินเงิน / ชินเขียว / ชินตะกั่ว ฯลฯ คำตอบ จากผู้เชี่ยวชาญ... - เนื้อทองแดง กับ เนื้อทองแดงเถื่อน ความแตกต่างอยู่ที่ ทองแดงเถื่อน เป็นทองแดงสมัยเก่า พบในเหรียญรุ่นเก่า ที่มีมาก่อน พ.ศ. 2490 เนื้อจะเป็นเนื้อสีทองแดงออกส้มๆ พบได้ในเหรียญรุ่นเก่าๆ อาทิเช่น ครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อคง วังกระพ้อม หลวงปู่ เอี่ยม เหรียญวัดบวร 2460 และ เป็นหลักอีกอย่างหนึ่ง ในการสังเกตุเหรียญเก่า เมื่อปั้มเป็นเหรียญแล้ว มันก็เป็นสีเนื้อทองแดงธรรมดา อยากให้สวยก็เอาไปแช่กำมะถัน จะได้สีที่ต้องการ อยู่ที่สารนำมาแช่ ถ้าเป็นกำมะถันจะได้สีเม็ดมะขาม เรียกว่า รมน้ำตาล จากนั้นก็เอามาขัดเงาอีกที คราวนี้ แหละ หล่อเลย - นวโลหะ คือ การเอาเนื้อโลหะหลายชนิดมารวมกัน ถ้านวโลหะจริงๆ แล้ว ก็มีเนื้อโลหะเก้าชนิด นับแต่ ทองคำ เงิน เจ้าน้ำเงิน ปรอท ชินสังฆวานร ตะกั่วน้ำนม ดีบุก ทองแดง สังกะสี ส่วนการที่จะให้เนื้อนวโลหะออกสีอะไร ก็อยู่ที่เนื้อที่เอาไปผสม ถ้าแก่เงินก็กลับดำเร็วแต่ไม่เงา จัดจะให้เงาจัดหรือที่ภาษานักเลงพระเรียกว่า กลับดำเร็ว ก็เพิ่มส่วนผสมของทองคำลงไป จะได้เนื้อนวโลหะกลับดำเป็นเงา จำพวกหลังนี้แพงครับ ก็ลองคำนวนดูว่า ทองคำบาท ละ หมื่นกลางๆ แล้ว - เนื้อทองเหลือง/เนื้อทองฝาบาตร เป็นอันเดียวกันครับ เข้าหลักปิยะวาจา ถ้าเรียกว่า เหรียญทองเหลือง ราคาก็คงไม่แพงเกิน เนื้อทองแดงมากมายอะไรนัก ต่อมความอยากยังไม่ทำงานเท่าที่ควร แต่ถ้าบอกว่า เป็นเนื้อฝาบาตรแล้ว ดูเข้มขลัง พลังเยอะ ต่อมความอยากก็เริ่มทำงาน ปลุกกิเลสให้ตื่น คราวนี้ ก็เสียเงิน เสียทรัพย์ละครับท่าน จะไปหาฝาบาตรที่ไหนมาปั้มเหรียญละครับ สร้างพระครั้งละเป็นหมื่นๆ เหรียญ สงสัยฝาบาตรพระทั้งวัดหายหมด - เนื้อเมฆพัตร/เมฆภัทร เกิดจากการออกซิไดระหว่างปรอท กับทองแดง ณ อุณหภูมิระดับหนึ่ง พระทำจากเนื้อเมฆพัตรนี้ตกแตกนะครับ ส่วนเนื้อเมฆสิทธฺ เป็นการนำเอาแป๊ะตั้ง หรือ เนื้ออาปาก้าเกรดต่ำ มาทำเป็นเนื้อพระ อยากให้วรรณจะออกเขียวมากน้อยเพียงใด ก็ผสมทองเหลืองลงไป ตามส่วน ยิ่งได้เนื้อเขียวมากขี้น เพราะสนิมของทองเหลือง คือ สีเขียว - เนื้อชิน/ชินเงิน/ชินเขียว/ตะกั่ว ใช้โลหะประเภทตะกั่วถูกๆ เกรดเดียวกับ ชินจำพวกท่อน้ำประปานั้นแหละครับ เกรดนั้นเลยมาทำเป็นเนื้อพระโดยการผสมกับโลหะอื่น ถ้าต้องการให้ออกเนื้อชิน ชินเขียวก็ผสมสังกะสี หรือ ตะกั่วน้ำนมสำหรับชินตะกั่ว ตามที่ผู้สั่งต้องการ หลักการดูพระเนื้อโลหะ: จำพวกเหรียญ ก็ต้องจำตำหนิพระ สังเกตุเส้นที่ช่างแกะพระทำพลาด หรือ ที่เรียกว่า " เส้นขนแมว " เหล่านี้ให้แม่นยำ ถ้าเป็นเหรียญเก่า พ.ศ. ก่อน 2490 การสะกัดโลหะยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื้อทองแดงจะเป็นเนื้อทองแดง เถื่อน คือ วรรณออกสีส้ม ดังที่อธิบายไว้ในตอนต้น ศึกษาได้โดยการซื้อตำรา ต่างๆ ที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด เรื่องดูเหรียญไม่ยาก หากไม่โลภ จำพวกเนื้อชิน - พระกรุ ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า พระที่เก็บไว้ในกรุ เป็นเวลาหลายร้อยปี เกิดปฏิกิริยา กับความร้อน ความชื้นในกรุ เกิดการผุกร่อน หรือที่เรียกว่า" ระเบิด " ต้องสังเกตุให้เป็น ว่า การผุกร่อนนี้ เริ่มแต่ข้างในองค์ พระ และ ขยายออกมายังผิวพระ ไม่ใช่ จากผิวพระลงไปสู่องค์พระ โดยใช้กรด กัด และ แผลทื่เกิดจากการใช้กรดกัด จะเป็นแผลเรียบ จำไว้ว่า ของแท้ต้องเป็น แผลกระรุ่งกระริ่ง คือ ผิวไม่เรียบ และ มีลักษณเป็นไปตามธรรมชาติ จำหลักไว้ว่า ฆาตกรย่อมทิ้งร่องรอย ไม่ชัวร์อย่าเช่า การศึกษาก็ไม่ลำบากยากเย็นอะไร กราบงามๆ ที่ตักคอพระเครื่องรุ่นพี่ ที่เขามีพระกรุเนื้อชินของแท้ แล้วยืนเขาส่อง จำให้ติดตา หรือ ไม่ก็ลงทุน ซื้อพระกรุทางเหนือ จำพวกปรกโพธิ์เชียงแสน ราคาองค์ละพันต้นๆ เอามา ศึกษาเป็นองค์ครู ส่วนการศึกษาสนิมแดง ก็ต้องสังเกตุให้เห็นช้ดว่า เนื้อสนิมแดงนั้น หากเราพิจารณาให้ดีๆ แล้ว จะมีการแตกลาย คล้ายๆ ใยแมงมุมในเนื้อ สนิมเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญที่สุด ไม่โลภ จำไว้เลย ความโลภไม่เคยปราณีสัตว์โลกตนใด รวมถึงนักเลงพระ โดยเฉพาะจำพวกหัดใหม่ หรือ ประเภทชอบขอ เพราะ ขอเขาบ่อยๆ แรกๆ อาจจะเกรงใจ ให้ของแท้ไปบ้าง เพื่อถนอมน้ำใจ บ่อยๆ เข้า ก็เป็นแหล่งระบายพระเก๊ครับ พูดง่ายๆ ว่า เป็น รำ ให้หมูกิน บทความโดย :: นก เริงลม Moderator วิธีการดูพระเหรียญปั๊มโลหะ ทุกวันนี้ พระเหรียญหลายๆคนบอกเล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของ แท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์แต่ในความเป็นจริงเหรียญทุกชนิดจะดูง่าย ขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้นะครับ 1. พระเหรียญ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมนูนตรงกลางหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ 2. เมื่อดูว่าเหรียญไม่บวมแล้วก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไป ตามที่เราได้เรียนรู้และจำได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิ ตรงตามของแท้มาตรฐาน ก็คือ เก๊แน่นอน จากการแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีให้พิจารณาต่อไปอีก คือ 1. แท้ 2. เก๊คอมพิวเตอร์ 3. วิธีที่เราจะแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้อง ดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊ คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจาก เหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ในส่วนนี้เราจำเป็นต้อง คุ้นเคยกับเหรียญแท้ๆ มาก่อนก็จะทำให้แยกแยะได้ง่ายขึ้น จุดพิจารณาในการดูเหรียญปั๊มโลหะ 1. อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง 2. กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญนั้นๆ 3. เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของ เหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มโลหะ 4. การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญ ปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อก ขอบตะไบ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มาก แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊ คอมพิวเตอร์ก็ได้ 5. เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า 6.ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่ายจริงๆ ที่มา : "ตลาดคนรวย,พระเครื่อง,พระสมเด็จ,หลวงพ่อ,เหรียญหลวงพ่อ,ของสะสม,ราคาพื้นบ้าน" วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน รูปเหมือนปั้ม การดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะ พระหล่อปั๊มคือ พระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญ ปั๊มนั่นเอง เช่น รูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง รูปเหมือนฉีด การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะ ต้องมีรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้น องค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13 รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ เบ้าทุบ ไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม เบ้าประกบมีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเท ไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา จุดสังเกตสำคัญ พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน หลักพิจารณาพระแท้ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่ามี" 1. ถ้าพิมพ์ถูก ก็แท้แล้ว 50% ต้องจำพิมพ์พระที่จะเช่าบูชาได้ทุกครั้งก่อนที่จะ เช่าบูชาเสมอ เพราะว่าถ้าพิมพ์ถูก โอกาสพระแท้ก็มี 50% แล้ว และถ้าพระผิด พิมพ์ก็เก๊ 100% เลย เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นศึกษาพิมพ์พระจากตำราต่าง ๆ ให้ ้แม่นยำ หรือถ้าศึกษาจากองค์จริงได้ก็ยิ่งดีครับ 2. ถ้าเนื้อใช่ ก็แท้แล้ว 25% เพื่อน ๆ ต้องจำสูตรเนื้อพระแต่ละรุ่นให้คุ้นเคย โดย ศึกษาจากองค์จริงเท่านั้น จะดูจากรูปไม่ได้ เช่นพระเนื้อทองเหลืองของพระแต่ละ ชนิดไม่เหมือนกัน กระแสโลหะและผิวไฟก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเนื้อถูกกระแสและผิวไฟถูกก็แท้ขึ้นอีก 25% ครับ 3. ถ้าความเก่ามี ก็แท้แล้ว 25% พระเครื่องที่มีอายุต้องมีความเก่าสมอายุด้วย ถึงแม้จะเป็นพระที่เก็บรักษาดี ไม่ถูกจับต้องเลย ก็ต้องใหม่แบบเก่า ๆ คือไม่มี ความแวววาวแล้ว เช่น พระหูยานลพบุรี กรุใหม่ ปี 08 เป็นต้น ถ้า พิจารณาพระทุกองค์ได้ครบถูกต้อง 3 ข้อนี้ก็เป็นพระแท้ดูง่าย ควรค่ากับการสะสมครับ ภูมิคุ้มกันพระเก๊ ก่อนอื่นขอขยายความเรื่อง"พิมพ์ถูก" ก่อนนะครับ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินคำพูดว่า "พระผิดพิมพ์"บ่อย ๆ ใช่ไหมครับ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับพระเลียนแบบหรือพระเก๊นั่นเอง แล้วคำถามต่อมาก็คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกพิมพ์หรือผิดพิมพ์ การสร้างพระทุกชนิด ทุกครั้ง จะต้องมีแม่พิมพ์เสมอ แต่อาจจะมีหลายแม่พิมพ์ในพระชนิดเดียวกันก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาว่าพระชนิดนั้น ๆ มีกี่แม่พิมพ์หรือกี่บล็อก ถ้าเป็นพระรุ่นใหม่ พระที่สร้างมาจากแม่พิมพ์เดียวกันจะต้องมีรายละเอียดในองค์พระนั้น ๆ เหมือนกัน100% เช่น ตุ่มนูน, ลายเส้นต่าง ๆ , รอยเนื้อเกิน เป็นต้น ฉะนั้นพระที่มีลักษณะใด ๆ ที่แตกต่างจากพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ย่อมเป็นพระผิดพิมพ์หรือมาจากแม่พิมพ์อื่นหรือเก๊นั่นเอง ยกเว้น การเปลี่ยนแปลงในพิมพ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้ ที่มา: weloveshoping.com
     
  19. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Amuletism [​IMG]
    (kiss)(kiss)(f)(f);41(f)(f)(kiss)(kiss)
    ขอบคุณพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์ Stoes
    ที่สร้างกระทู้ความรู้ ที่เป็นกระทู้คุณภาพเพิ่มขึ้น
    ให้การศึกษาพระเครื่องเป็นวิทยาศาสตร์
    เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้เริ่มศึกษาพระเครื่อง
    จะได้ไม่หลงทางเข้าป่า/ออกทะเล
    ไปกับนิยายหรือกลุ่มพระเก๊/พระกุทั้งหลายครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์Amuletism กระทู้ดี ๆ ของอาจารย์
    ก็มีค่าควรติดตามและศึกษาเป็นอย่างมาก

    {{ร่วมศึกษาพ่อท่านคลิ้ง105}}พระสมเด็จ/เบญจภาคี26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68ลพ.เนื่อง77เขาอ้อ84
    http://palungjit.org/threads/%7B%...84.320369/
    ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนมากๆ ครับ
    ผมรู้สึกมีความสุขมากที่ได้อยู่ในเวปนี้อย่่างอบอุ่น
    มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
    กับหลายท่านที่ช่วยให้การศึกษาพระเครื่องสนุกขึ้น
    ได้มีโอกาสเห็น "ของรัก". ทั้งพระและเครื่องราง
    สวยๆงามๆ มากมาย

    ในโอกาสที่กระทู้ ซึ่งเพิ่งจะตั้งเมื่อตอนปีใหม่
    ได้ฉลองครึ่งแสน view ในเวลาอันสั้น
    จึงอยากขอเชิญเพื่อนนำของรักมาโชว์ในกระทู้นี้
    ในระหว่างนี้ ผมจะพยายามจัดทำสารบัญเนื้อหาในกระทู้
    เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลครับ


    เปิดศักราชใหม่ ปี ๒๕๕๕
    ขออนุญาตเปิดกระทู้ใหม่และขอเชิญเพื่อนนักสะสมทุกๆท่าน
    ร่วมแสดงรูปพระและเครื่องรางทีท่านสะสม
    ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ พระกรุ หรือพระเกจิคณาจารย์ เสือ สิงห์ ลิง แพะ
    ตะกรุด ลูกอม ฯลฯ
    พร้อมแสดงประวัติ และวิธีการพิจารณาแท้-เก๊ (หากจะกรุณา)
    เพื่อเป็นสร้างทางเลือกในการสะสมตามความชอบของแต่ละท่าน
    และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาพระประเภทนั้นๆ แก่เพื่อนนักสะสมทั้งหลายครับ
    ปล. ข้อมูลทั้งหลาย รวมทั้งตำหนิ ที่มีการแบ่งปันข้อมูลกันนั้น
    เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาเท่านั้น งานเก๊ฝีมือดีก็อาจมีตำหนิแบบเดียวกัน ตามอาศัยการดูองค์ประกอบอื่นด้วยในการพิจารณา เช่น ความเก่า เนื้อพระและกรรมวิธีการสร้าง เป็นต้น


    *ขอบคุณ คุณ Captainzire สำหรับข้อมูลสมเด็จเกศไชโยและพระนางพญา ประกอบภาพพระแท้องค์ครู ที่นำมาให้ศึกษาเปรียบเทียบจนครบทุกพิมพ์ครับ

    * กระทู้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เท่านั้น ไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ ในเชิงพาณิชย์

    * ขอขอบพระคุณ เจ้าของพระทุกองค์ และเจ้าของข้อมูลทั้งหลาย ที่ถือเป็นครูบาอาจารย์ของผมครับ
    <!-- google_ad_section_end -->

    ในส่วนนี้ผมก็เห็นความตั้งใจของอาจารย์เช่นกัน
    การให้ความรู้ เพื่อเป็นวิทยาทานนั้น

    การให้ความรู้มีผลดี ... คือ ทำให้เราได้รู้ความรู้นั้นดียิ่งขึ้น
    ส่วนผู้ที่เรามอบความรู้ให้ เขาจะได้ผลตอบแทนก็ต่อเมื่อเขานำความรู้ที่เราให้ ไปใช้<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=JA4Fkauax5E"]รายการเจาะใจ ตอน เซียนพระร้อยล้าน 1/7 - YouTube[/ame]

    หรือจะศึกษาแบบ บอย ท่าพระจันทร์ ในเรื่องเหรียญคือ
    นำเอาเหรียญ พ.ศ. เก่า ๆ ที่มีราคาถูก ไม่ดัง แต่แน่ใจว่าแท้
    นำมาศึกษาดู เส้นสายลายพิมพ์ ผิวเหรียญ เนื้อเหรียญ ขอบเหรียญ
    และธรรมชาติของเหรียญดูว่าเก่าอย่างไร
    นำมาเปรียบเทียบกับเหรียญหลาย ๆ ชนิด หลาย ๆ หลวงพ่อ หลวงปู่
    เราก็จะเข้าใจแน่นอน ความพยายอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...