ขอถามเรื่องหลักธรรมและการปฏิบัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Montesquieu, 23 ธันวาคม 2010.

  1. Montesquieu

    Montesquieu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +116
    1.ผมพึ่งฝึกนั่งสมาธิครับ แล้วทีนี่มันเป็นตะคริวบ้าง ปวดหลังบ้าง ปวดท้ายทอยบ้างหรือง่วงขณะนั่งก็มี ผมเลยอยากถามท่านที่มีประสบการณ์ว่าเราควรยึดหลักธรรมใดเป็นหลักระหว่าง ขันติ กับ มัชฌิมาฯทางสายกลาง
    2.ผมนั่งสมาธิแล้วมันฟุ้งซ่านครับ ใจร้อนเพราะมัวแต่คิดว่าเมื่อไรจะสงบซักที แบบนี้ถือว่าผมผิดปกติมั้ยครับ แล้วแก้ยังไง
    ป.ล.หากเป็นแบบนี้แล้วการนั่งสมาธิของผมที่ผ่านมาก็เท่ากับศูนย์ไม่มีความหมายเลยหรือเปล่าครับ
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    พยายามจับลมหายใจครับ ถ้าปวดเมื่อยก็ให้รู้ว่าปวดเมื่อยครับคือดูลมหายใจเป็นหลักแล้วก็รู้ไปด้วยว่าปวดเมื่อย รู้ไปแล้วใจมันกลับเข้ามาเอง ง่วงก็กำหนดสติให้มากครับกำหนดรู้ตรงปลายจมูก พร้อมบริกรรมไปด้วย ถ้ามีความคิดก็ให้รู้ว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่แล้วมันไปทางไหนเราก็หยุดไม่ให้มันไปถึงตรงนั้น
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คุณเป็นคนที่โชคดีในสภาวะธรรมนะครับ

    ที่มีสติรู้อาการต่างๆที่มากระทบกาย กระทบใจทันท่วงที ซึ่งเป็นประตูสู่สติปัฏฐานสี่

    บางคนปฏิบัตินาน แต่ไปหลงติดความคิด ติดนิมิต ติดวังวนความสงบ
    จนมองไม่เห็นอาการปัจจุบัน

    ส่วนเรื่อง ขันติ กับ มัชฌิมาฯทางสายกลางนั้น คงชี้ขาดให้ไม่ได้ เพราะความพอดีเป็นเรื่องเฉพาะตน

    ส่วนเรื่องฟุ้งซ่าน ใจร้อนนั้นมีกันทุกคนเป็นธรรมดา ให้มีสติสัมปัชญะ ระลึกรู้ ใจเผลอไปคิดก็ให้มีสติรู้ทันที ความคิดก็จะหายไป แล้วกลับไปภาวนาดูลมใหม่ หากเผลอไปคิดอีก ก็ให้มีสติรู้เหมือนเดิม ทำไปเรื่อยๆ จนลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นตามลำดับ

    มีคำถามเล็กๆมาให้ตอบ ตะคริว ปวดหลัง ฯลฯ มันปวดที่ร่างกายจริงหรือ

    ปล. ไม่มีใครนั่งสมาธิแล้วสูญเปล่าซักคน
    คุณเจริญสมาธิหนึ่งครั้ง คุณก็เข้าใกล้ธรรมไปแล้วหนึ่งก้าว
    หากมาถูกทาง มันก็ไปเร็วหน่อย

    เอาใจช่วยครับ
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,508
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,015
    1. ไม่ต้องไปสนใจในอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกายครับ ยังไงถ้าไม่ไหวจริงก็ลุกขึ้นเดินจงกรมก่อนก็ได้ จริงๆอยากเเนะนําให้คุณ Montesquieu เดินจงกรมก่อนซักพักจนจิตเริ่มสงบเเล้วมานั่งสมาธิจะสงบได้ไวขึ้นครับ

    2.อย่าไปคิดว่า เราอยากให้มันสงบครับ เพราะถ้าเราคิดอย่างนั้น มันจะยิ่งฟุ้งหนักขึ้นกว่าเิดิมครับ ตอนเรานั่งสมาธิก็ไม่ต้องไปสนอะไรทั้งหมดครับ จับอยู่ที่ลมหายใจพุทโธเข้าออกของเราพอครับ ถ้าให้ดี ระหว่างที่ปฎิบัติให้นึกภาพพระอยู่ในตัวเราหรืออยู่ข้างหน้าเราก็ได้ครับ เเล้วจะทําให้เราสงบไวขึ้น เเต่ถ้าคุณ Montesquieu นึกภาพไม่ออกก็ไม่เป็นไรครับ ให้จับที่ลมหายใจอย่างที่บอกครับ อันนี้วิธีนั่งสมาธิอย่างถูกต้องครับ อ่านเเล้วปฎิบัติตามหลวงพ่อท่านสอน ซักวันก็จะสงบเองครับ เรื่องการปฎิบัตินี้ เราต้องหมั่นทําทุกวันครับ ทําตอนเเรกๆ มันจะไม่สงบครับ ต้องอดทนเเละทําต่อไปครับ เเต่ถึงสงบเเล้วก็อย่าไปยึดกับความสงบ เช่น วันนี้เรานั่ง เราต้องสงบๆๆเเละสงบ ถ้าคิดเเบบนี้จะสติเเตกเอาง่ายๆครับ

    วิธีนั่งสมาธิขั้นเบื้องต้นของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=420

    อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ

    http://palungjit.org/threads/อุปสรรคและวิธีแก้ไขในการทำสมาธิ.217531/

    <object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/ZsY0PXb-GSY?fs=1&amp;hl=en_US"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/ZsY0PXb-GSY?fs=1&amp;hl=en_US" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ที่คุณได้ปฎิบัติมานั้นไม่ได้สูญเปล่าหลอกครับเพียงแต่ไม่ถึงที่ ที่ควรจะเป็น เท่าที่คุณได้กล่าวมาคำภาวนานั้นไม่เกิด ลองแบบที่ผมทำไหมครับ ผมทำความรู้สึกน้อมเข้ามาในกายไปจนสุดที่ความรู้สึกจะไปได้พร้อมด้วยการภาวนาแล้วค้างไว้เช่นนั้นจนคำภาวนานั้นเด่นชัดไม่มีผิดเพี้ยน แม้แต่เวลาที่คุณง่วงนอนหากคุณกำหนดจิตแบบนี้แต่ไม่ภาวนาคุณก็จะหลับโดยที่ไม่ฝันเลย แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องการที่จะหลับก็ให้ภาวนาในขั้นต้นก่อน ก็จะเกิดอาการอย่างที่ได้กล่าวไว้ในตำราบ้าง คนกล่าวกันบ้างนั้นแหละครับ จะเกิดขึ้นเองโดยที่เราไม่ต้องไปบังคับ จิตใจจะรู้สึกถึงความเบาสบาย พอออกจากสมาธิก็จะรู้สึกสดชื่นครับ ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  6. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    จาก ท่านพุทธทาส ครับ
    นิทานเรื่อง "ยิ่งให้เร็ว นั้นแหละ จะยิ่งช้า" เรื่องนี้ จะมีประโยชน์มาก สำหรับ ครูบาอาจารย์ อาตมาจึงเลือกนำมาเล่า ให้ฟัง "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละ จะยิ่งช้า" เรื่องนี้ ถึงท่านจะ ไม่เรียกตนเองว่าครู ก็ตาม ก็ควรจะสนใจฟังในฐานะที่ว่าจะเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่การ เข้าใจธรรม และปฏิบัติธรรม เรื่องเล่าว่า
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #800000 2px solid; BORDER-LEFT: #800000 2px solid; WIDTH: 90%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fafbf7; BORDER-TOP: #800000 2px solid; BORDER-RIGHT: #800000 2px solid"><TBODY><TR><TD>มีหนุ่มคนหนึ่ง เขาอยากจะเป็นนักฟันดาบที่เก่งกาจ เขาไปหาอาจารย์สอนฟันดาบ ให้ช่วยสอนเขาให้เป็นนักฟันดาบ เขาถามอาจารย์ว่า จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ ตอบว่าประมาณ 7 ปี เขาชักจะรวนเร เพราะว่า 7 ปี นี้มันเป็นเวลามิใช่น้อย ฉะนั้น เขาขอร้องใหม่ว่า เขาจะพยายาม ให้สุดฝีมือ สุดความสามารถ ในการศึกษา ฝึกฝน ทั้งกำลังกายกำลังใจ ทั้งหมด ถ้าเป็นเช่นนี้ จะใช้เวลาสักกี่ปี อาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้น ต้องใช้เวลาสัก 14 ปี" แทนที่จะเป็น 7 ปี กลายเป็น 14 ปี
    หนุ่มคนนั้นก็โอดครวญขึ้นมาว่า บิดาของเขาแก่มากแล้ว จะตายอยู่รอมร่อแล้ว เขาจะพยายามอย่างยิ่งให้บิดาของเขาได้ทันเห็นฝีมือฟันดาบของเขาก่อนตาย เขาจะแสดงฝีมือฟันดาบของเขา ให้บิดาของเขาชมให้เป็นที่ชื่นใจแก่บิดา เขาจะพยายาม อย่างยิ่งที่จะแสดงความสามารถให้ทันสนองคุณของบิดา จะต้องใช้เวลาสักเท่าไร ขอให้อาจารย์ ช่วยคิดดูให้ดีๆ
    ท่านอาจารย์ก็บอกว่า "ถ้าอย่างนั้นต้อง 21 ปี" นี้มันเป็นอย่างไร ขอให้นึกดู แทนที่จะ ลดลงมา มันกลายเป็นเพิ่มขึ้นเป็น 21 ปี หนุ่มคนนั้นจะเล่นงานอาจารย์ อย่างไรก็ไม่ได้ เพราะเป็นอาจารย์ จะทำอย่างอื่นก็ไม่ถูก นึกไม่ออก เพราะไม่มีใครจะเป็นอาจารย์สอนฟันดาบให้ดีกว่านี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ของประเทศ ดังนั้น เขาก็ซังกะตาย อยู่ไปกะอาจารย์ ด้วยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีนั่นเอง
    หลายวันต่อมา อาจารย์ก็ใช้คนคนนี้ แทนที่จะเรียกไปสอนให้ใช้ดาบ ฟันดาบ กลับให้ทำครัว ให้ทำงานในครัว ให้ตักน้ำผ่าฟืน หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เรียกว่า ต้องทำงานในครัว
    หลายวันล่วงมา วันหนึ่งอาจารย์ผลุนผลันเข้าไปในครัวด้วยดาบสองมือ ฟันหนุ่มคนนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้สึกตัว อุตลุดเป็นการใหญ่ เขาก็ต้องต่อสู้ ไปตามเรื่องตามราว ของเขา ตามที่เขาจะสู้ได้ โดยใช้อะไรแทนดาบ หรือด้วยมือเปล่าๆ หรืออะไรก็สุดแท้ สองสามอึดใจแล้วก็เลิกกัน อาจารย์ก็กลับไป แล้วต่อมาอีกหลายวัน เขาก็ถูกเข้าโดยวิธีนี้อีก และมีบ่อยๆ อย่างนี้เรื่อยไป ไม่กี่ครั้งเขาก็กลายเป็นนักฟันดาบขึ้นมาได้ โดยไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งอาจารย์บอกว่า กลับบ้านได้ คือจบหลักสูตรแล้ว และปรากฏว่า ต่อมาหนุ่มคนนี้ ก็เป็นนักดาบลือชื่อของประเทศญี่ปุ่นไป
    นิทานของเขาก็จบ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ท่านลองคิดดูว่า นิทานเรื่องนี้ สอนว่าอย่างไร? ตอบสั้นๆ ที่สุดก็คือว่า การทำอะไร ด้วยความ ยึดมั่น ถือมั่น ว่าตัวตน ว่าของของตนนั้น ใช้ไม่ได้ ไม่มีทางที่จะเป็น ผลดีเลย คือ ถ้าหนุ่มคนนี้ยังคิดว่า กูจะดี กูจะเด่น อยู่ละก็ มีตัวกู เข้ามาฝึก เป็นตัวกู ที่ใหญ่เอาการ อยู่เหมือนกัน ทีนี้ ถ้ายิ่งจะทำให้ดีที่สุด กูจะทำให้เก่งที่สุด ให้เร็วที่สุด อย่างนี้ด้วยแล้ว ไอ้ตัวกู มันยิ่งขยายโตออกไปอีก ถ้ายิ่งจะให้ทันบิดาเห็น บิดาแก่มากจะตายแล้ว ตัวกูมันยิ่งพองมากออกไปอีก มันยิ่งเร่งร้อนออกไปอีก อย่างนี้จิตไม่เป็นสมาธิได้ จิตเต็มอัดอยู่ด้วยตัวกู กลัดกลุ้มไปด้วยตัวกูของกู ไม่เป็นจิตว่าง ไม่เป็นตัวสติปัญญาอยู่ในจิต ไม่สามารถจะมีสมรรถภาพเดิมแท้ของจิตออกมาได้ เพราะมัน กลัดกลุ้มอยู่ด้วยอุปาทาน ว่า ตัวกูของกู หรือ ความเห็นแก่ตัวนี้ มันเลยไม่เฉียบแหลม ไม่ว่องไว ไม่ active อะไรหมด
    ฉะนั้น ถ้าขืนทำไปอย่างนี้จริงๆ แล้ว จะต้องใช้เวลา 7 ปี หรือว่า 14 ปี หรือว่า 21 ปีจริงๆขณะที่เขาอยู่ในครัวนั้น เขาไม่มีความรู้สึกว่า ตัวกู ของกู กูจะเอาใน 7 ปี หรือจะให้ทันบิดาเห็น อย่างนี้ไม่มีเลย กำลังเป็นจิตที่ว่างอยู่ ถึงแม้ว่าอาจารย์จะผลุนผลัน เข้าไปในลักษณะอย่างไร ปฏิภาณของจิตว่าง หรือ จิตเดิมแท้นี้ ก็มีมากพอที่จะต่อสู้ออกไปอย่างถูกต้องได้ มันเป็นการเรียกร้องขึ้นมา หรือ ปลุกขึ้นมาจากหลับ ปลุกจิตอันนี้ ขึ้นมาจากหลับ ตามวิธีของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มาเป็นจิตที่เบิกบานเต็มที่ ซึ่งต่อไปก็เอาไปใช้ได้เลย เขาจึงเป็นผู้สำเร็จหลักสูตรโดยวิธีประหลาดนั้น ภายในไม่ถึง 7 ปี หรือ ภายในไม่ถึงปี อย่างนี้เป็นต้น
    เกี่ยวกับข้อนี้ อยากจะให้ท่านครูบาอาจารย์ สนใจที่จะนึกดูว่า ความรู้สึกที่เป็น ตัวตน หรือเป็นของตนนั้น อยู่ที่ตรงไหน? เหมือนอย่างว่า เราจะยิงปืน หรือ ยิงธนู หรือว่า ขว้างแม่น ในการกีฬาขว้างแม่น ถ้าจิตของผู้ขว้าง มีความรู้สึกเป็นตัวกูของกู เป็นชื่อเสียงของกู ชื่อเสียงของโรงเรียนของกู ของมหาวิทยาลัยของกู รัวอยู่ในใจแล้ว ไม่มีวันที่จะ ขว้างแม่น หรือขว้างถูกได้ มันสั่นระรัว อยู่ด้วยตัวกู หรือของกูนี้ ทั้งนั้น ที่ถูกนั้น เมื่อมีความตั้งใจถูกต้อง ที่จะทำเพื่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ของโรงเรียน หรือของอะไรก็ตามแล้ว เขาต้องลืมหมด ลืมแม้แต่ตัวกู โรงเรียนของกู มหาวิทยาลัยของกู เหลืออยู่แต่สติปัญญา และ สติสัมปชัญญะ ที่จะขว้างด้วยอำนาจสมาธิ เท่านั้น คือพูดตรงๆ ก็ว่า ขณะนั้นมีแต่จิตที่เป็นสมาธิกับสติปัญญาเท่านั้น ตัวกู ของกู ไม่มีเลย มันจึงเป็นจิตเดิม เป็นจิตตามสภาพจิต มือไม้ไม่สั่น ใจไม่สั่น ประสาทไม่สั่น อะไรๆ ไม่สั่น ปกติ เป็น active ถึงที่สุดแล้วเขาจะขว้างแม่น เหมือนอย่างกะ ปาฏิหาริย์ นี้ขอให้เข้าใจอย่างนี้
    หรือว่าในการจัดดอกไม้ในแจกัน คนจัดจะต้องทำจิตให้ว่าง จากความเห็นแก่ตัวกู หรือชื่อเสียงของกู ตลอดถึงโรงเรียนของกู หมู่คณะของกู เสียก่อน แล้วเสียบดอกไม้ไปด้วยจิตว่าง จิตบริสุทธิ์ นั่นแหละ คือ สติปัญญาล้วนๆ ไม่มีตัวกู ไม่มีของกู เจืออยู่ ก็จะได้แจกันที่สวยที่สุด ไม่เคยปรากฏมาแต่ก่อน นี่เขาถือเป็นหลัก ของนิกายเซ็น ฉะนั้น ขอให้สนใจ ในการที่จะทำอะไร หรือมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่มีตัวกู ของกู มันยิ่งจำเป็นมาก สำหรับครูบาอาจารย์ ที่จะสอนเด็ก ให้ทำงานฝีมือดี ด้วยจิตใจที่ปกติ ไม่สั่น ในระบบประสาท ไม่สั่นในระบบของความคิดนึก หรือว่า เมื่อเด็กๆ จะสอบไล่ เมื่อเขารู้สึกตัวอยู่แล้วว่า จะต้องสอบได้แล้ว จะไปมัวห่วง กลัวจะสอบตก จะเสียชื่อ จะเสียเวลา ถ้าสอบไม่ได้ จะไปโดดน้ำตาย เป็นต้น จะต้องไปนึกทำไม นั่นเป็นเรื่องตัวกู ของกู เด็กคนนั้น จะต้องลืมสิ่งเหล่านั้นหมด และลืมแม้แต่กระทั่งตัวเอง คำว่า "ลืมตัวเอง" นี้ถ้าฟังไม่ดีแล้ว ก็จะไม่เข้าใจ แล้วจะรู้สึกเถียงแย้งขึ้นมาว่า เป็นไปไม่ได้ ที่จริงเราลืมตัวเราเองนี้ได้ ในลักษณะ หรือกรณีเช่น
    เด็กๆ ในขณะสอบไล่นั้น จะต้องลืมหมด แม้กระทั่งตัวเอง เหลืออยู่ในใจ แต่ว่า ปัญหาว่าอย่างไร มีใจความว่าอย่างไร แล้วคำตอบควรจะว่าอย่างไร ถ้าจิตใจว่างจากตัวกู ว่างจากของกูแล้ว วิชาความรู้ต่างๆ ที่เคยสะสมมาตั้งแต่แรกเรียนนั้นจะมาหา พรู มาทีเดียว ให้เขาพบคำตอบว่า อย่างนั้นอย่างนี้ และถูกต้องที่สุด แต่ถ้าเขากลัดกลุ้ม อยู่ด้วยตัวกู ของกู แล้ว แม้เขาจะเคยเรียนมามากอย่างไร มันก็ไม่มา มันมีอาการ เหมือนกับลืม นึกไม่ออก นั่นแหละ แล้วมันจะระส่ำระสาย กระสับกระส่าย รวนเรไปหมด ก็เลยตอบไม่ได้ดี ถ้าสอบไล่ด้วยจิตว่างนี้ จะได้ที่หนึ่ง หรือ ยิ่งกว่าที่หนึ่ง เสียอีก
    ฉะนั้น เขาจึงมีการสอนมาก ในเรื่องที่ว่า อย่าทำจิต ที่สั่นระรัว ด้วยตัวกู ของกู เพราะว่า การทำอย่างนั้น ยิ่งจะให้เร็ว มันจะ ยิ่งช้าที่สุด ตามชื่อของนิทานว่า "ยิ่งให้เร็ว มันยิ่งช้า" หรือ ที่เราจะพูดว่า จะเอาให้ได้ มันยิ่งจะไม่ได้เลย หรือว่า จะไม่เอาอะไรเลย มันยิ่งจะ ได้มาหมด คือ ไม่มีตัวเรา ที่จะเอาอะไรเลยแล้ว มันจะได้มาหมด
     
  7. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    คืนนี้ อากาศสบาย
    บางอย่าง ได้สิ้นสุดลงแล้ว
    บางอย่าง กำลังดำเนินต่อไป
    วันนี้เป็นวันพระ
    sun dog ขอร่วมสนทนาธรรมด้วยนะจ๊ะ

    ตนเอง เมื่อบวชชีพราหมณ์ครั้งแรกในชีวิต พระไม่ได้ขึ้นกรรมฐานให้ จึงนั่งภาวนาเอาเองตามหนังสือหลวงพ่อสด ที่เพื่อนให้มา แบบให้มีดวงแก้วที่ศูนย์กลางกาย แต่ตนไม่ได้ทำจริงจัง เมื่อสึกแล้วก็เลิกนั่ง

    เมื่อได้เป็นลูกศิษย์วัดจริงๆจังๆ ตนฝึกอาณาปานสติ ดูลมหายใจที่ตำแหน่งท้อง นั่งแรกๆก็สบายใจดี ลมเย็นๆ อากาศเบาๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า เริ่มคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ แล้วก็จะรู้สึกปวดขา ใช้ความอดทนและมานะทิฐิ นั่งต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเหลือตนเองเป็นคนสุดท้ายในศาลาจึงจะลุกจากที่นั่ง ไม่มีนิมิต ไม่สงบมากนัก มีแค่ตัวเบาๆ สบายๆเท่านั้น

    เป็นอย่างนี้ประมาณ 1 ปี ตนรู้สึกเหมือนมีก้อนลมปรากฎ ที่จุดเหนือสะดือ ตอนแรกปรากฎขณะนั่งภาวนา ต่อมา มีตลอดขณะถือศีลอยู่วัด พระอาจารย์เรียกไปพบ ให้จับก้อนนั้นให้ดี อย่าทิ้ง ให้เพ่งรวมมันเข้าแน่นๆ ตนลองทำดูแล้วเหนื่อยมากจึงไม่เพ่ง และไม่ค่อยสนใจ แต่มันก็ยังมีอยู่ พระอาจารย์เรียกตนว่า "ดื้อตาใส" ตนก็ยังนั่งภาวนาแบบเดิมๆ พระอาจารย์เข้าใจ ไม่บังคับอะไร

    ต่อมาสักระยะ ตนเริ่มมีความรู้สึกที่กระหม่อม และหน้าผาก เป็นเหมือนมีอะไรงอกออกจากกระหม่อมตรงขึ้นฟ้า และมีก้อนความรู้สึกที่หน้าผาก ตอนแรกปรากฎขณะนั่งภาวนา ต่อมา มีตลอดเวลา ทำอะไรก็มี ส่วนก้อนลมเหนือสะดือจะปรากฎเมื่อตนตั้งใจอ่านหนังสือหรือสวดมนต์ สภาวะตนเองขณะนั่งสมาธิยังเหมือนเดิม ไม่มีนิมิต ไม่สงบมากนัก มีแค่ตัวเบาๆ สบายๆเท่านั้น

    ต่อจากนั้นมีเหตุการณ์มากมาย ตนย้ายที่อยู่ ไม่ได้ไปวัดอีก เลิกสวดมนต์ เลิกนั่งสมาธิ แต่ความรู้สึกที่ศรีษะและท้องก็ยังมีเหมือนเดิม ตลอดเวลา เพียงแต่รูปแบบเปลี่ยนไป บางครั้งมีปรากฎที่หน้าอกด้วย

    ต่อมากลับมาสวดมนต์อีกเพราะพระอาจารย์ขอให้สวด ส่วนนั่งภาวนานั้นไม่ได้ทำเลย จะทำเฉพาะเวลาไปบวชชีพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันลดลงเหลือประมาณปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ไปบวชชีพราหมณ์ มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ตนได้รู้จักการความผ่อนคลายอ่อนโยนเมื่อวางความรู้สึกไว้ที่ช่องอกแทนที่ท้อง ขณะสัมผัสลมหายใจเข้าออก สักพักช่องอกก็ปรากฎความรู้สึกตลอดเวลา ร่วมกับจุดต่างๆ ขณะนี้ก็มีปรากฎ

    ตนใช้จุดความรู้สึกต่างๆนี้ไม่เป็น ไม่เคยทราบว่านี่เป็น "จุดสัมผัสลมปราณ" อันปรากฎขึ้นเป็นองค์ภาวนาของอาณาปานสติ ตนนึกอยู่เสมอมา ว่าตัวเองดูลมหายใจไม่เป็น ไม่สงบ ไม่เหมาะกับอาณาปานสติ แต่ความจริงองค์ภาวนานี้เป็นองค์แรกที่ตนได้เมื่อเริ่มนั่งภาวนา ในสำนักพระอาจารย์

    เมื่อไม่กี่วันนี้ ตนได้พบไฟล์วิธีกรรมฐานแบบมัชฌิมาที่ถ่ายทอดมาจากพระราหุล ส่งต่อมายังพระโสณเถรเจ้าและพระอุตระเถรเจ้า ส่งต่อมายังสมเด็จสุก ไก่เถื่อน มีข้อความระบุไว้ว่า มี 9 จุดในร่างกายเป็นจุดใช้ดูลมในอาณาปานสติกรรมฐาน จากข้อความ ตนตีความหมายได้ว่า เมื่อฝึกอาณาปาณสติจนได้องค์ภาวนาแล้ว เราจะเป็นเฉกเช่นใบเลื่อยสัมผัสเนื้อไม้ขณะเลื่อย ใบเลื่อยไม่ได้สำคัญว่าตนเลื่อยออกหรือเลื่อยเข้า ใบเลื่อยเพียงตระหนักว่าตนสมผัสกับเนื้อไม้อยู่ตลอดเวลา พิจารณาแล้ว ก้อนลมในจุดต่างๆที่ sun dog รู้สึกก็ไม่ได้บ่งบอกว่าตนหายใจเข้าหรือออก มันมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อเข้าไปแจกแจงจึงรู้สึกได้ว่ามีลมผ่านเข้าออกเบาๆในจุดต่างๆ

    สำหรับตนแล้ว องค์ภาวนาจากอาณาปาณสติเป็นแบบนี้ ความจริงในฝ่ามือและฝ่าเท้าก็มี เวลามีราคะ และ โทสะ องค์ภาวนาในหน้าอกจะแสดงตัวชัดเจนมาก ตนรู้สึกตัวตลอดเวลาขณะโต้เถียงด้วยองค์ภาวนานี้เอง ส่วนโมหะนั้น เป็นองค์ภาวนาที่ศรีษะที่จะส่งความรู้สึกมึนๆหนักๆมาให้รู้สึกตัว ตนพบว่าตัวเองมีโมหะอยู่ตลอดเวลา แม้ขณะนี้ก็มี จ้า
     
  8. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->sun dog ขอตอบจากประสบการณ์ตนเองว่า

    ถึงแม้ท่าน Montesquieu จะไม่สงบ ฟุ้งซ่าน ปวดขา ขณะนั่งภาวนาก็ไม่ได้หมายความว่าการภาวนาไม่เป็นผล ผลของภาวนาอาจมาในรูปอื่น เช่นขันติบารมีที่เพิ่มขึ้น ความศรัทธาในตนเองว่าเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดได้เป็นเวลานาน การปรากฎตัวขององค์ภาวนา ฯลฯ ความสงบเป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง ที่หากมีมาเราก็ได้พักผ่อน แต่ถึงไม่มี ก็ไม่เป็นไร

    อาการปวดเนื้อตัว ไม่ได้เป็นเครื่องหมาย ที่บอกให้เราเลิกภาวนา แต่หากเราทนไม่ไหว เราก็เลิกได้ เอาตามกำลัง ความสมัครใจของตน นะจ๊ะ
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    1.ผมพึ่งฝึกนั่งสมาธิครับ แล้วทีนี่มันเป็นตะคริวบ้าง ปวดหลังบ้าง ปวดท้ายทอยบ้างหรือง่วงขณะนั่งก็มี ผมเลยอยากถามท่านที่มีประสบการณ์ว่าเราควรยึดหลักธรรมใดเป็นหลักระหว่าง ขันติ กับ มัชฌิมาฯทางสายกลาง

    ถ้าเมื่อไรมันนั่งแล้วไม่สงบจริงๆแล้วเอาไม่อยู่ ไม่มีความจำเป็นต้องฝืนครับ....เปลื่อนอริยาบทไปเลย....ส่วนในเรื้องของหลักธรรมความยึดทั้งสองอย่างนั่นหละครับ....แต่ให้หาทางสายกลางของธรรมทั้งสองอย่าง....

    2.ผมนั่งสมาธิแล้วมันฟุ้งซ่านครับ ใจร้อนเพราะมัวแต่คิดว่าเมื่อไรจะสงบซักที แบบนี้ถือว่าผมผิดปกติมั้ยครับ แล้วแก้ยังไง

    เป็นเรื่องปกติที่นั่งแล้วจะฟุ้งซ่านครับ....เพราะจิตเรามันไม่เที่ยงมันยังเป็นปุถุชน แนะนำคือ อย่าอยากครับ....เพราะยิ่งอยากยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งฟุ้งซ่านยิ่งหงุดหงิด.....วิธีการปฏิบัติกรรมฐานแล้วได้ผลดีคือ วางอารมณ์จิตแบบสบายๆ ไม่อยาก ไม่คิด สงบก็ชั่งไม่สงบก็ชั่งปล่อยมัน แต่เรามีความเพียรทรงอยู่ในกรรมฐานที่เราปฏิบัติอยู่อย่างสบายๆ อย่างนี้จะทำได้ดี....

    ป.ล.หากเป็นแบบนี้แล้วการนั่งสมาธิของผมที่ผ่านมาก็เท่ากับศูนย์ไม่มีความหมายเลยหรือเปล่าครับ

    ไม่หลอกนะครับ....เท่าที่ดูคุณสามารถรู้ตัวเองได้ว่าขณะนี้เราปฏิบัติ ขณะนี้จิตฟุ้งซ่านได้อย่างนี้ก็ต้องถือว่าดีอยู่นะ...เพราะผู้ไม่ปฏิบัติแม้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในจิต เขาเองก็ไม่รู้......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2012
  10. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    น่าสนใจดีครับ ตอนนี้ผมเจอแค่ที่หน้าผาก และก็ไม่ได้สนใจมัน เวลาเจอก็ ปล่อยทิ้งไป ส่วนอาการที่ มึนๆ หนักๆ เวลามีโมหะ อันนี้ผมรู้สึกได้เหมือนกันครับ เหมือนหัวมันไม่โล่ง เหมือนเวลาที่ไม่มีอะไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...