ขันติ ความอดทน ในชีวิตประจำวัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jiwcrop, 18 มีนาคม 2009.

  1. jiwcrop

    jiwcrop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +792
    สวัสดีทุกท่านครับ [​IMG]

    ช่วง นี้อากาศร้อนครับ คนใจร้อนกันก็มาก ร้อนกาย อยู่ในห้องปรับอากาศ ดื่มน้ำเย็นๆ อาจพอช่วยได้ ร้อนใจ เพราะไฟกิเลส จะดับได้ด้วยคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่งคือ ขันติ ความอดทน

    ความอดทนเป็น คุณธรรมสำคัญที่เป็นเครื่องประคองจิตใจไม่ให้ท้อถอย เมื่อประสบความลำบากตรากตรำหรือความทุกข์ยาก อดทนต่อสู้รู้รักษาจิตใจให้เป็นปกติ ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียว ในเมื่อประสบอารมณ์ร้ายยั่วโทสะ

    ต้องอดทนห้ามใจมิให้แสดงกิริยาวาา หยาบคายออกมาให้คนอื่นเห็น ทำให้ไม่น่ารัก น่าเคารพนับถือ ไม่ยอมแพ้อุปสรรคทั้งภายในและภายนอก เป็นกำลังใจให้สามารถต่อสู้กับกิเลสทั้งหลายให้สงบราบคาบ ดังพุทธภาษิตว่า

    " ความอดทน คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง" (ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา)

    ใน ชีวิตประจำวัน คนเราย่อมได้รับความทุกข์กาย ทุกข์ใจอยู่เป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย การแก้ไข ต่อสู้ปัญหา ชีวิตที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะเอาชนะได้ มีความสุขความเจริญ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ กล้าเผชิญกับปัญหา สู้งานจนสำเร็จ แม้บางครั้งจะพบกับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบใจ ก็ต่อสู้กับกิเลสภายในใจไม่ให้จิตเศร้าหมอง นำธรรมะมาฝากครับ


    <!--MsgIDBody=1-->[​IMG]ประเภทของความอดทน[​IMG]

    ความ อดทนที่มนุษย์ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นนั้น เพื่อยกระดับจิตให้เข้มแข็งสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพได้ 4 ประเภท สองประเภทแรก เป็นขันติธรรมดา ส่วนสองประเภทหลังเป็นอธิวาสขันติ ได้แก่

    1.อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ไม่แสดงอาการย่อท้อง เมื่อทำหน้าที่การงาน
    2.อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินเหตุ รู้จักระงับอารมณ์ต่อความเจ็บป่วย
    3.อดทนต่อความเจ็บใจ เมื่อถูกกระทบกระแทก ดูถูกดูหมิ่น ก็อดกลั้นไว้ในใจ
    4.อดทนต่ออำนาจกิเลส เมื่อถูกกิเลสครอบงำจิตทำให้เกิดความอยาก ก็ทนต่อความอยากได้

    [​IMG]การฝึกความอดทน[​IMG]

    มีคำโบราณว่า " อยากรู้ต้องหมั่นอ่าน อยากชำนาญต้องหมั่นทำ อยากจำต้องหมั่นดู " หมายความว่าทุกสรรพสิ่งไม่ว่าวิทยาการ ศิลปะ ความคล่องตัว ความชำนิชำนาญ ความสามารถเป็นต้น ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน ทำแล้วทำเล่า ดูแล้วดูเล่า ทบทวน ตรวจสอบ บันทึกผลดี ผลเสีย ความอดทนก็เช่นเดียวกันจะเกิดมีได้เพราะกระบวนการดังนี้

    1.มีความอดกลั้น อดทนข่มใจ เช่น ถูกคนพาลด่า กระทบกระแทก ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ใส่ใจ ไม่ต่อปากต่อคำ
    2.ไม่กล่าวร้ายโต้ตอบเมื่อถูกว่าร้าย ถ้าจำเป็นก็พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่โต้ตอบ รักษาความสงบเสงี่ยมในการโต้ตอบ
    3. ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น การกล่าวกระทบกระแทกคนอื่น ทำให้คนอื่นโกรธ เสียหน้า ก่อเวรภัยให้กับตนเอง ผู้ถูกกล่าวหาก็เป็นทุกข์ ควรพูดด้วยจิตที่เมตตา
    4.มองโลกในแง่ดี คนที่มีความทุกข์ย่อมมีความโลภ โกรธ หลง และมีความทุกข์มากกว่าเราเป็นคนที่ห่างไกลธรรมะ ดังนั้นควรอดทน เพราะเขามีความทุกข์มากกว่าเรา ควรเพิ่มกำลังใจและช่วยเขาให้พ้นทุกข์
    5.ทำจิตใจให้เบิกบานผ่องใสด้วยเมตตา จะคิด ทำ พูดสิ่งใด ตั้งจิตเมตตาให้ทุกคนที่มติดต่อสัมพันธ์กับเรา จงมีความสุข ปราศจากความทุกข์
    6.ทำเป็นคนหูหนวกตาบอด ดังภาษิตโบราณว่า ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้างนั่งนอนสบาย
    7.หลีกห่างถอนตัวจากสิ่งชั่ว เช่น การดื่มน้ำเมา การเล่นการพนัน ฯลฯ
    8.อดทนเพื่อละสิ่งชั่ว พยายามทำความดี รักษากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตเป็นประจำ
    9.รักษาไม่ให้เศร้าหมองสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เจริญเมตตาเป็นประจำ


    <!--MsgIDBody=3-->[​IMG]ประโยชน์ของความอดทน[​IMG]

    การปฏิบัติตามมงคลข้อนี้ทำให้เกิดคุณค่าและความสำเร็จแก่ตนเอง สังคมและสติปัญญาดังประการต่อไปนี้คือ

    1.ทำให้เป็นคนหนักแน่น ไม่อ่อนแอ ท้อถอย กล้าเผชิญกับปัญหาชีวิตทุกชนิดได้
    2.ทำให้บุคคลมีมารยาทที่ดีงาม ไม่วู่วาม มักโกรธ
    3.ความอดทนช่วยพัฒนาคนให้เป็นบัณฑิต เป็นคนมีเสน่ห์น่ารัก
    4.ความอดทนเป็นบ่อเกิดของศีล สมาธิ ปัญญา
    5.ความอดทนเป็นเครื่องมือตัดต้นเหตุของความชั่วร้ายทั้งหลาย
    6.ความอดทนช่วยให้บุคคลประพฤติพรหมจรรย์บรรลุธรรมได้รวดเร็ว


    <!--MsgIDBody=4-->เนื้อเรื่องเรียบเรียงจาก คณะกรรมการกองตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

    สุดท้ายขอสรุปลงด้วยพุทธศาสนสุภาษิต เพื่อเป็นคติเตือนใจว่า

    ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
    ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

    ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้

    ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
    ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

    ขันติ เป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ
    กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติเท่านั้น

    ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร
    ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้

    เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
    (เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ

    จากคุณ : <!--MsgFrom=4-->ebusiness
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7628909/Y7628909.html


    <!--WapAllow0=Yes--><!--pda content="begin"--><big><big> <!--Topic-->โสรัจจะ ความเสงี่ยม ในชีวิตประจำวัน


    </big></big>

    ธรรมคู่ขันติ ความอดทน คือ โสรัจจะ ซึ่งแปลว่าความเสงี่ยมคือการควบคุมจิตใจให้เยือกเย็นเหมือนปกติ เมื่อได้รับความทุกข์ หรือถูกกระทบกระทั่งเป็นต้น

    โสรัจจะ เป็นธรรมคู่แฝดของขันติ ต้องมีคู่กันกล่าวคือ ขันติเป็นตัวข่มกายวาจา ไม่ให้แสดงอาการดิ้นรนหรือพูดจาตอบโต้ เป็นต้น โสรัจจะ เป็นตัวข่มใจให้สงบนิ่ง ทำให้ดูเป็นปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเช่น เมื่อถูกด่าว่า สามารถทนได้ไม่โต้ตอบ ข่มความโกรธไว้ได้ แต่ใจยังเดือดอยู่ มือยังสั่นอยู่ อย่างนี้เรียกว่ามีขันติ แต่ขาดโสรัจจะ เมื่อข่มใจให้เย็นได้ มือไม่สั่น ปากไม่สั่น หน้าไม่แดงด้วยความโกรธ เรียกว่ามีทั้งขันติและโสรัจจะ โสรัจจะเป็นโสภณธรรม คือเป็นธรรมที่ทำให้คนเราดูดี งดงาม นำมาฝากครับ


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แสดงธรรมว่า ธรรมะที่คู่กับขันติก็คือ โสรัจจะ ที่ท่านแปลว่า ความเสงี่ยม ตามศัพท์นั้นแปลว่าความยินดีหรือความรื่นรมย์ของใจ พูดง่ายๆ ก็คือความสบายใจ อันทำให้กายและวาจาก็สบาย เป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม โสรัจจะดั่งที่กล่าวนี้ พูดง่ายๆ ในทางปฏิบัติก็คือทำใจให้สบาย โดยที่ฝึกที่จะระบายสิ่งที่อัดอยู่ในใจนั้น ให้ออกไปจากใจ ให้สงบไปจากใจ

    ใน ขณะที่ปฏิบัติในขันตินั้น ถ้าไม่มีโสรัจจะคือการทำใจให้สบายนี้มาประกอบด้วย ก็จะรู้สึกว่าเป็นขันติที่เป็นทุกข์ ดังเช่นเมื่อกระทบกับคำจาบจ้วงล่วงเกิน ก็ปฏิบัติทำขันติคือความอดทนเอาไว้ แต่ว่ายังมีความเจ็บใจ ยังมีความโกรธ ความขึ้งเคียดอยู่ในใจ แต่ก็พยายามที่จะกลั้นเอาไว้ ดังที่เรียกว่าอดกลั้น อยากที่จะโต้ตอบเขาออกไปทันที อยากที่จะทำร้ายเขาออกไปทันที ด้วยอำนาจของโทสะ หรือความเจ็บใจ แต่ก็กลั้นเอาไว้ไม่ทำออกไป


    เมื่อเป็นดั่งนี้ โทสะหรือความเจ็บใจที่มีอยู่ในใจนั้น ก็ทำให้เกิดความเครียดขึ้น แสดงออกทางหน้าทางตาเช่นตาแดงหูแดง แสดงออกทางกิริยาเช่นแสดงอาการฮึดฮัด หรือว่าหยิบเอาสิ่งของที่ใกล้มือเขวี้ยงปาออกไป ได้แก้วก็ขว้างแก้วออกไป ได้จานก็ขว้างจานออกไป เป็นการทดแทนที่จะวิ่งออกไปทำร้ายเขา ก็ทำร้ายพัสดุต่างๆ แทน เหล่านี้เพราะเหตุที่ว่าจิตใจยังมีความเจ็บใจ ยังมีโทสะที่กลุ้มกลัดอยู่ เป็นขันติที่เป็นทุกข์ และเป็นขันติที่ทำให้ใจไม่สบาย ต้องกลั้นเอาไว้ ต้องเดือดร้อนต้องกระสับกระส่าย ดังเช่นที่กล่าวมา เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ต้องมีโสรัจจะเข้ามาช่วย คือทำใจให้สบาย ระบายเอาความเจ็บใจ ระบายเอาความโกรธนั้นออกไปเสีย ไม่เก็บเอาไว้ให้เกิดความขึ้งเครียด ดังที่กล่าว

    เพราะฉะนั้น โสรัจจะจึงเป็นธรรมะสำคัญมาก อันทำให้ใจสบาย อันทำให้กายวาจาก็สบาย เป็นปรกติเรียบร้อยดีงาม ไม่ต้องหูแดงตาแดง ไม่ต้องทำฮึดฮัด เขวี้ยงโน่นเขวี้ยงนี่ ดังที่กล่าวมานั้น เพราะฉะนั้น พระอาจารย์ท่านจึงมักอธิบายโสรัจจะว่าเป็นศีล เพราะดูที่อาการกายวาจาของผู้ที่ปฏิบัติในขันตินี้ว่าเป็นปรกติเรียบร้อยดี งาม แต่อันที่จริงนั้นต้นเหตุก็คือต้องทำใจให้สบาย ตรงตามศัพท์ของโสรัจจะ ที่แปลว่ารื่นรมย์ดี สบายดี ใจดี

    อ้างอิงจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร และพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ภาพประกอบอินเตอร์เน็ต

    เพราะฉะนั้นโสรัจจะนี้จึงเป็นธรรมที่คู่กัน กับขันติ เป็นขันติข้อหนึ่ง เป็นโสรัจจะข้อหนึ่ง ที่ท่านเรียกว่าเป็นธรรมะที่ทำให้งาม เพราะว่าผู้ที่มีขันติโสรัจจะอยู่ดังนี้ ย่อมทำให้จิตใจก็งาม กายวาจาก็งาม เพราะสามารถที่จะรับยับยั้งเหตุแห่งทุกข์ต่างๆ ไว้ได้ ทั้งทำจิตใจให้สบาย คือสบายดี เหมือนอย่างไม่ได้ถูกกระทบกระทั่งอะไรด้วย กายวาจาก็ดีด้วย ปราศจากอาการที่เป็นวิกลวิกาลต่างๆ จึงเป็นธรรมะที่ทำให้งาม นี้เป็นขันติที่เป็นปฏิบัติทั่วไป

    จากคุณ : <!--MsgFrom=3-->ebusiness
    http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7636415/Y7636415.html




    <!--MsgFrom=4-->e


     

แชร์หน้านี้

Loading...