คนเราต้องบอชตอนอายุเท่าไหร่ครับ

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย เติ้ด, 20 มิถุนายน 2011.

  1. เติ้ด

    เติ้ด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +24
    คนเราต้องบอชตอนอายุเท่าไหร่ครับ

    ไม่เกินไหน
     
  2. puky

    puky Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +62
    คนเราต้องบวชอายุเท่าไหร่

    ดังนี้ค่ะ
    การบวชเณร (บรรพชา) , การบวชพระ (อุปสมบท) <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สมัยก่อนที่ยังไม่มีโรงเรียนตามสมัยปัจจุบัน เด็กผู้ชายโดยมากจะต้องบวชเณรเท่ากับเป็นการเข้าโรงเรียนสามัญศึกษา คือ Public school ของฝรั่ง วัดเป็นสถานศึกษาที่สำคัญ ที่จะให้ศีลธรรมอันเป็นหลักของชีวิต และสัมมาอาชีพแม้วิชาอาชีพแต่เดิมมาพระสงฆ์ก็สามารถจะสั่งสอนให้ได้โดยสะดวก มีการอ่าน เขียนซึ่งพระสงฆ์จะต้องเรียนรู้ เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกอยู่แล้วเป็นเบื้องต้น และเนื่องแต่พระสงฆ์เป็นผู้มีเวลาเป็นของตนมากในสมัยก่อน จึงมีพระสงฆ์เป็นจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ในทางวิชาช่าง วิชาแพทย์ และวิชาหนังสือเป็นอย่างดี เมื่อรวมทั้งศีลธรรมและวิชาชีพอันจะเป็นหลักของชีวิตเด็กภายหน้าได้เป็นอย่างดีแล้ว การบวชเณรก็ย่อมจะเป็นสิ่งสำคัญแก่เด็กในสมัยนั้นๆ โดยไม่มีที่สงสัย การบวชเณรไม่เป็นงานสำคัญเท่าบวชพระ ผู้ใหญ่ก็จัดดอกไม้ธูปเทียน ไตรครองเครื่องใช้สอยแล้วแต่งตัวโกนหัว โกนคิ้ว ตัดเล็บให้เรียบร้อย แล้วก็พาเด็กนั้นไปยังวัด จุดธูปเทียนดอกไม้บูชาพระพุทธรูป แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนที่ทำเป็นแพแล้วเข้าไปถวายตัวกับอุปัชฌาย์ พระสงฆ์ผู้ใหญ่ซึ่งรับเป็นผู้อุปการะต่อไป เมื่อท่านให้ศีลให้โอวาท ให้ครองผ้าเหลืองแล้วก็เป็นอันว่าเป็นเณร พ่อแม่ก็จัดให้เณรถวายของสนองพระคุณอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์ที่มารับรู้ด้วยนั้นตามจำนวน แล้วไปส่งเณรยังที่อยู่ถวายเครื่องใช้แล้วเป็นเสร็จงาน<o:p></o:p>
    สิ่งที่จะต้องเตรียม คือ<o:p></o:p>
    ๑. ธูปเทียนดอกไม้สำหรับบูชาพระพุทธรูป<o:p></o:p>
    ๒. ธูปเทียนดอกไม้ถวายอุปัชฌาย์<o:p></o:p>
    ๓. ไตรครองอย่างน้อย ๒ ไตร เพื่อผัดเปลี่ยน<o:p></o:p>
    ๔. บาตร<o:p></o:p>
    ๕. ย่าม<o:p></o:p>
    ๖. ของถวายพระสงฆ์ตั้งแต่อุปัชฌาย์จนกระทั่งทุกองค์<o:p></o:p>
    ๗. เครื่องใช้สอย บริโภค สำหรับเณรใช้มีที่นอน หมอน มุ้ง เครื่องเรียน ของกิน ฯลฯ
    จะจัดให้งามเพียงไรแล้วแต่กำลัง<o:p></o:p>
    <TABLE style="WIDTH: 503.25pt; mso-cellspacing: .7pt" class=MsoNormalTable border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width=671><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; WIDTH: 501.85pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0.75pt" width=669>
    คุณสมบัติการสมัคร<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0.75pt">คุณสมบัติ <o:p></o:p>
    1. มีอายุ ๑๑ ปีบริบูรณ์ ถึง ๑๙ ปี หรือเรียนอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ขึ้นไป<o:p></o:p>
    2. มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ ไม่ทุพพลภาพ ( พิการ ) <o:p></o:p>
    3. สามารถกล่าว คำขอบรรพชา ได้ด้วยตนเอง และอยู่จนครบกำหนดโครงการอบรม <o:p></o:p>
    4. เป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เป็นภาระแก่ตนเองและผู้อื่น <o:p></o:p>
    หลักฐานการสมัคร <o:p></o:p>
    1. ใบสมัคร พร้อมรูปถ่ายขาวดำ หรือสี (ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน ) ขนาด ๑ นิ้ว ๑ ใบ <o:p></o:p>
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน ถ่ายเอกสาร ๑ แผ่น (ให้แนบส่งพร้อมใบสมัคร)<o:p></o:p>
    การสมัคร <o:p></o:p>
    1. สมัครได้ที่ วัดศรีดอนผอุง บ้านดอนผอุง ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
    ตั้งแต่วันนี้ถึง ๑-๒๘ มีนาคม ๒๕๕๔<o:p></o:p>
    2. ยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมผู้ปกครองพาไปในวันที่สมัครด้วย (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น) <o:p></o:p>
    การเตรียมของ <o:p></o:p>
    1. ของใช้ส่วนตัวใน กิจวัตรประจำวัน เช่น ขันน้ำ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก <o:p></o:p>
    2. ผ้าห่มขนาดเล็ก ๑ ผืน ผ้าเช็ดตัว ๑ ผืน <o:p></o:p>
    3. ชุดลำลอง ใส่ก่อนบวช ( เช่น เสื้อยืดแขนสั้น กางเกงขาสั้น ประมาณ ๓ ชุด )<o:p></o:p>
    4. เข็มขัดนักเรียน ๑ เส้น ( ใช้ในวันบวชนาค ) ชุดนาคทางวัดจัดเตรียมไว้แล้ว<o:p></o:p>
      1. ชุดไตรจีวร และอัฐบริขาร ทางกรรมการวัด ได้จัดเตรียมไว้ให้ บูชา ชุดละ ๕๐๐ บาท ( สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าภาพ ) สำหรับผู้บวชไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ. <o:p></o:p>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๔.๑ การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา<o:p></o:p>
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="Z-INDEX: 1; POSITION: absolute; MARGIN-TOP: 0px; WIDTH: 97.5pt; HEIGHT: 119.25pt; MARGIN-LEFT: 0px; mso-wrap-distance-left: 0; mso-wrap-distance-right: 0; mso-position-horizontal: left; mso-position-vertical-relative: line" id=_x0000_s1026 alt="" o:allowoverlap="f" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg" o:title="nannoismall"></v:imagedata><?xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:word" /><w:wrap type="square"></w:wrap></v:shape><v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1025 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>การบวชนับเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายที่จะให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาทสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และอีกประการหนึ่งเป็นจุดประสงค์ของผู้เป็นบิดามารดาที่ต้องการให้บุตรของตนได้ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อจะได้นำเอาหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการที่จะอยู่ครองเรือนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า
    การบวชจะมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ การบวชเป็นสามเณร เรียกว่า "บรรพชา" และการเป็นเป็นพระภิกษุ เรียกว่า "อุปสมบท"

    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1026 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    การบรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการเว้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยกระทำในชีวิตฆราวาส หันมาใช้ชีวิตแบบสันโดษ สงบ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต การบรรพชา เป็นกิจเบื้องต้นของการอุปสมบท

    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1027 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ผู้ที่จะบรรพชาได้ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1028 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๑. ต้องรู้เดียงสา คือมีอายุตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1029 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๒. ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรงเช่น โรคเรื้อน โรคฝีดาษ โรคกลาก โรคมงคร่อ หอบหืด ลมบ้าหมูและโรคที่สังคมรังเกียจอื่น ๆ
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1030 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๓. ไม่เป็นผู้มีอวัยวะบกพร่อง หรือพิการ เช่น มือด้วน แขนด้วน ขาเป๋ ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1031 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๔. ไม่เป็นคนมีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น เตี้ยเกินไป สูงเกินไป คนคอพอก
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1032 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๕. ไม่เป็นคนทุรพล เช่น แก่เกินไป ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1033 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๖. ไม่เป็นคนมีพันธะ คือ คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนมีหนี้สินล้นพ้นตัว ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1034 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๗. ไม่เป็นคนเคยถูกลงอาญาหลวง เช่น คนถูกสักหมายโทษ คนถูกเฆี่ยนหลังลาย
    <v:shape style="WIDTH: 30pt; HEIGHT: 6pt" id=_x0000_i1035 alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape>
    ๘. ไม่เป็นคนประทุษร้ายความสงบ เช่น เป็นโจรผู้ร้ายต้องอาญาแผ่นดิน<o:p></o:p>
    ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ ร่วมกับชมรมศาสนาและวัฒนธรรมไทย ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และท่านที่มีจิตศรัทธาร่วมงานอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน รุ่นที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 7 ถึงวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2548 ณ วัดปัญญานันทาราม ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี <o:p></o:p>
    คุณสมบัติของผู้บวช <o:p></o:p>
    ชายที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (เกิดก่อนปี พ.ศ.2528) สมัครอุปสมบท 2 ลักษณะคือ บวชโดยผู้ปกครองเป็นเจ้าภาพเอง (รูปละ 3,300บาท) และประสงค์จะให้ผู้มีจิตศรัทธาเป็นเจ้าภาพให้ (ผู้บวชไม่เสียค่าใช้จ่าย) <o:p></o:p>
    สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเป็นเจ้าภาพ <o:p></o:p>
    คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และท่านทีมีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนเป็นเจ้าภาพบวชพระรูปละ 3,300บาท หรือเป็นเจ้าภาพถวายเพลในช่วงที่พระบวชอยู่วันละ 3,000บาท หรือตามจิตศรัทธา <o:p></o:p>
    ประเพณีการบวชแนวประหยัด <o:p></o:p>
    การบวช คือการละเพศของผู้ครองเรือนมาดำรงเพศของผู้ไม่ครองเรือนนับเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะบวชเองหรือให้ลูกหลานของตนได้บวชเป็นพระภิกษุสามเณร ซึ่งถือเป็นศาสนทายาทในการธำรงพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป การบวชในพระพุทธศาสนาที่กระทำกันอยู่มี 2 อย่างคือ <o:p></o:p>
    1. การบวชเป็นภิกษุ สำหรับชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติครบบริบูรณ์ เรียกว่า อุปสัมปทา หรือเรียกสั้นๆว่าอุปสมบท <o:p></o:p>
    2. การบวชเป็นสามเณร สำหรับชายที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และรู้เดียงสาพอที่จะรักษาข้อปฏิบัติของสามเณรได้เรียกว่า บรรพชา <o:p></o:p>
    คุณสมบัติของผู้จะบวช <o:p></o:p>
    จุดประสงค์ของการบวชนั้น นอกจากจะให้ผู้บวชครองตนอย่างประหยัดแล้ว ยังต้องการให้ผู้นั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา สามารถปฏิบัติได้ทั้งในระหว่างที่เป็นภิกษุและเมื่อกลับไปครองเรือนแล้ว เพื่อช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญและถาวรต่อไป ดังนั้นจึงได้ระบุคุณสมบัติของผู้บวชตามพระวินัย ดังนี้ <o:p></o:p>
    1. ไม่เป็นโรคต้องห้าม ได้แก่ โรคเรื้อน ฝี กลาก วัณโรค ลมบ้าหมู <o:p></o:p>
    2. เป็นมนุษย์ <o:p></o:p>
    3. เป็นชาย <o:p></o:p>
    4. เป็นไทแก่ตัว <o:p></o:p>
    5. ไม่เป็นหนี้ <o:p></o:p>
    6. ถ้าเป็นข้าราชการต้องได้รับการอนุญาตจากทางราชการ <o:p></o:p>
    7. ได้รับอนุญาตจากบิดามารดา <o:p></o:p>
    8. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ <o:p></o:p>
    9. มีบาตร จีวรครบ <o:p></o:p>
    การเตรียมตัวก่อนบวช <o:p></o:p>
    ผู้จะบวชจำต้องปลงผมก่อนเข้าพิธีบวช และการปลงผมนี้ มักนิยมให้พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุผู้เป็นที่เคารพเป็นผู้ขลิบปลายผมให้ก่อนเป็นพิธี ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ชำนาญโกนผม หนวด เครา คิ้ว ของนาคให้หมดจด ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด สำหรับการแต่งกายของผู้จะบวช ควรนุ่งขาวห่มขาว แต่ในกรณีที่ไม่มีและหาลำบาก อาจแต่งกายสุภาพ ส่วนการสวมเสื้อครุยนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็น <o:p></o:p>
    ประโยชน์ที่ได้รับจากการบวช <o:p></o:p>
    ประโยชน์จากการบวชในพระพุทธศาสนามีนานัปการ <o:p></o:p>
    ทั้งประโยชน์เฉพาะตน และส่วนรวม จำแนกได้ดังนี้ <o:p></o:p>
    ประโยชน์ที่ได้รับกับตนเอง <o:p></o:p>
    1. ได้เรียนรู้พระธรรมวินัย <o:p></o:p>
    2. รู้จักฝึกตนให้มีความอดทน เนื่องจากต้องปฏิบัติตนตามพระวินัยและตามหลักการปกครองสงฆ์ <o:p></o:p>
    3. รู้จักสำรวมกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในระเบียบอันดีงาม <o:p></o:p>
    4. รู้จักรับผิดชอบและดูแลตนเอง เพราะขณะบวชอยู่สมณะย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติทั้งส่วนตัวและร่วมกับหมู่คณะ <o:p></o:p>
    5. รู้จักละอายตนเองและกลัวบาป <o:p></o:p>
    6. รู้จักความสันโดษ คือพอใจที่จะมีชีวิตอย่างเรียบง่าย เว้นความฟุ่มเฟือยทั้งปวง <o:p></o:p>
    7. ได้ปฏิบัติธรรม คือเว้นชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้ผ่องใสซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ผู้บวชจะมีโอกาสปฏิบัติได้สมบูรณ์กว่าผู้ครองเรือน <o:p></o:p>
    8. รู้จักศาสนพิธี และมีส่วนร่วมปฏิบัติอย่างถูกต้อง <o:p></o:p>
    9. ได้รับการปลูกฝังค่านิยมในทางที่ดี <o:p></o:p>
    10. ได้บรรลุผลในการปฏิบัติตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นสูงสุด <o:p></o:p>
    11. สามารถนำธรรมะไปปฏิบัติในการดำรงชีวิตได้ ทั้งระหว่างบวชและหลังจากที่สึกจากสมณเพศแล้ว <o:p></o:p>
    12. มารดา บิดา ญาติ ของผู้บวชและผู้มีอุปการะในการบวชได้มีส่วนในกุศลยิ่งขึ้น <o:p></o:p>
    ประโยชน์ต่อสังคม <o:p></o:p>
    1. การบวชในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการสร้างสมเนื้อนาบุญของโลก <o:p></o:p>
    2. พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี และหมั่นสั่งสอนประชาชนย่อมเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชน <o:p></o:p>
    3. พระสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีงามแก่คนทั่วไป ในด้านการปฏิบัติธรรม <o:p></o:p>
    4. หลักธรรมาธิปไตยทั้งในการปกครองและการดำเนินชีวิต <o:p></o:p>
    ประโยชน์ต่อพระศาสนา <o:p></o:p>
    1. การบวชย่อมทำให้มีผู้สืบทอดศาสนา ซึ่งจะทำให้พระศาสนาดำรงอยู่ต่อไป <o:p></o:p>
    2. พระสงฆ์เป็นศาสนทายาท <o:p></o:p>
    3. พระภิกษุสามารถช่วยเผยแพร่ศาสนาให้เจริญกว้างไกลขึ้นได้ <o:p></o:p>
    4. ปฏิปทา(ความประพฤติ)ของพระสงฆ์เป็นการพิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถดำรงชีวิตตามแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาได้จริง <o:p></o:p>
    สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการบวช <o:p></o:p>
    การบวชในพระพุทธศาสนานั้น มีสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงอยู่ 3 ประการคือ <o:p></o:p>
    1. ผู้บวชควรเข้าใจวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการบวชอย่างถ่องแท้ <o:p></o:p>
    2. การจัดงานบวช ควรพิจารณาว่า สิ่งใดสมควรกระทำ สิ่งใดไม่สมควร ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างแท้จริง <o:p></o:p>
    3. ผู้บวชจะต้องบวชด้วยศรัทธา และเมื่อบวชแล้วควรจะใช้เวลาระหว่างบวชให้คุ้มค่า โดยศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างถูกต้องและสามารถปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้จริงตามคติทางพระพุทธศาสนา <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  3. chana14

    chana14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2010
    โพสต์:
    743
    ค่าพลัง:
    +2,097
    บวชแล้วดีครับ ไม่เสียทีที่เป็นผู้ชาย
    พ่อแม่ก็ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ด้วย
    แต่ต้องศึกษาปฏิบัติพระธรรมเป็นอย่างดีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • imageskk.jpg
      imageskk.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.4 KB
      เปิดดู:
      3,403

แชร์หน้านี้

Loading...