คลองด่าน วัดราชโอรส วัดนางนอง วัดหนัง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 9 มีนาคม 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร พระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดราชโอรส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คลองด่านเส้นทางสำคัญ

    การเดินทางไปไหนมาไหนในอดีต เส้นทางที่สะดวกที่สุดก็คือ การไปตามแม่น้ำลำคลอง และจากศูนย์กลางของอาณาจักรที่ตั้งอยู่ ณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังภูมิภาคตะวันตกมีเส้นทางที่สำคัญอยู่สายหนึ่ง คือ เส้นทางคลองด่าน

    คลองด่านเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้า พระยากับแม่น้ำแม่กลอง ปากคลองด่านจะอยู่บริเวณวัดอัปสรสวรรค์ ในคลองบางกอกใหญ่ ชื่อของคลองด่านจะเรียกกันอยู่หลายชื่อ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่ที่ว่าท้องถิ่นไหนจะเรียกอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น พอผ่านบางขุนเทียนเขาก็เรียกว่า คลองบางขุนเทียน แต่เมื่อผ่านบางกระดี่ ก็เรียกว่าคลองบางกระดี่ เป็นต้น

    คลองด่านใครเป็นคนขุดนั้นเราไม่อาจที่จะทราบได้ ทั้งนี้ เพราะไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารใดๆ ทั้งสิ้น แต่อย่างน้อยคลองเส้นนี้ก็มีมาแต่ครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ เพราะในโคลงกำสรวลสมุทร หรือบางท่านจะเรียกว่าโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น ท่านผู้ประพันธ์โคลงกำสรวลได้ใช้เส้นคลองด่านเดินทางออกไปทะเล

    ความสำคัญของคลองด่านมีปรากฏในจดหมายเหตุ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส ที่เข้ามาในครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ก็ใช้เส้นทางคลองด่านมาที่อยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จากหลักฐานในวรรณคดีนิราศ เช่น โคลงนิราศพระยาตรัง และโคลงนิราศทวายของพระพิพิธสาลี พบว่าคลองด่านก็ใช้เป็นเส้นทางทัพที่ยกออกไปสู้กับพม่า และนอกจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์แล้ว คลองด่านก็ยังเป็นเส้นทางที่ลำเลียงสินค้าจากภูมิภาคตะวันตกเข้ามาสู่พระนครด้วย

    ด้วยเหตุที่คลองด่านเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ ผลจึงทำให้สองฝากฝั่งคลองจึงเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นและมีวัดวาอยู่ทั้ง 2 ฝากฝั่งคลอง



    วัดราชโอรส

    ดราชโอรส หรือวัดราชโอรสาราม เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่งในพื้นที่คลองด่าน ทั้งนี้ เพราะเป็นวัดประจำรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณมาแต่ครั้งอยุธยามีชื่อว่าวัดจอมทอง

    วัดราชโอรสนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัดตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 2 เมื่อยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

    สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในวัดแห่งนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนซึ่งถือว่าเป็นพระราช นิยมในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.พระพุทธรูปประธาน ภายในอุโบสถ ภายในอุโบสถวัดนางนอง ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3

    2.พระพุทธรูปประธาน งานช่างแบบสุโขทัย ภายในอุโบสถวัดหนัง

    3.จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชโอรส

    4.ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดราชโอรส

    5.พระอุโบสถวัดราชโอรส

    6.วัดหนัง ถ่ายจากสะพานข้ามคลองด่าน (เมื่อพ.ศ.2530)

    7.วิหารคู่และเจดีย์ประธาน วัดนางนอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร เป็นพระ พุทธปางสมาธิ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีรับสั่งถึงพระพุทธรูปองค์นี้ว่ามีความงดงามยิ่ง

    นอกจากรูปแบบศิลปะที่งดงามภายในแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจารึกตำรายาประดับอยู่ที่ศาลารายด้านหน้าพระอุโบสถและระเบียงคดวิหารพระพุทธไสยาสน์ จารึกตำราที่วัดราชโอรสนี้สร้างขึ้นก่อนจารึกตำราที่วัดพระเชตุพนฯ ทีนี้ถามว่าทำไม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงทรงต้องสร้างจารึกตำรายา ก็เพราะการสร้างจารึกตำรายาก็คือวิธีการช่วยชีวิตมนุษย์วิธีหนึ่ง ซึ่งการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์นี้เป็นอุดมคติของการบำเพ็ญโพธิสัตวบารมี

    ในเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ของนายมี กล่าวว่า วัดแห่งนี้ใช้เวลาการบูรณะทั้งสิ้น 10 ปี และเมื่อมีการฉลองวัดนั้นในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ก็จดไว้ว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งในสมัยนั้น



    วัดนางนอง

    ดนางนองเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนฝั่งตรงข้ามกับวัดราชโอรส วัดนางนองเป็น วัดที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นเดียวกัน และก็ได้รับการบูรณะใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่เข้าใจว่าเป็นช่วงเวลาที่ทรงบูรณะวัดราชโอรสเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว

    สิ่งที่ควรชมมากที่สุดของวัดแห่งนี้คือ พระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง

    คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง หรือพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ถือกันมาแต่โบราณแล้วว่าเป็นพุทธประวัติตอนทรมานท้าวมหาชมพูในคัมภีร์ชมพูบดีสูตร ซึ่งจิตรกรรมเหนือกรอบหน้าของพระอุโบสถวัดนางนองก็นำเรื่องราวนี้มาเขียนไว้เพื่อให้รับกับพระประธาน พระพุทธรูปทรงเครื่องนั้นมีคติที่แฝงอยู่คือการแสดงถึงความเป็นพระจักรพรรดิราช (ราชาเหนือราชา) ก็น่าที่จะเป็นไปได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 นั้นกำลังที่จะแสดงถึงความเป็นพระจักรพรรดิของพระองค์

    นอกจากนี้ สิ่งที่น่าชมอีกอย่างภายในพระอุโบสถคือ ภาพกำมะลอเล่าเรื่อง สามก๊ก ดูเหมือนว่าจะมีที่เดียวในประเทศไทย



    วัดหนัง

    ดหนังก็เป็นวัดที่อยู่ติดกับวัดราชโอรส วัดแห่งสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 เป็นผู้บูรณะ กล่าวกันว่า พื้นที่บริเวณ วัดหนังนั้นเป็นเคหสถานของพระญาติของสมเด็จพระศรีสุลาลัย ปรากฏว่าวัดหนังเมื่อสมเด็จพระศรีสุลาลัยเสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังบูรณะไม่เสร็จ ในที่สุดพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะสืบต่อ ดังนั้น การที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จะมาบูรณะใหญ่วัดราชโอรสซึ่งตั้งอยู่ติดวัดหนังก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประการใด ทั้งนี้ เพราะพื้นที่แถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของพระญาติวงศ์ข้างพระราชชนนีมาก่อน ที่วัดหนังเราก็เชื่อกันว่าน่าจะเป็นวัดมาแต่ครั้งอยุธยาเช่นกัน
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ภายในพระอุโบสถวัดหนังมีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปในแบบ ศิลปะสุโขทัย ที่รู้ได้ว่าเป็นสุโขทัยนั้นเพราะมีจารึกสลักอยู่ที่ฐาน แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่อาจที่จะทราบได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ชะลอลงมาแต่ครั้งใด

    สิ่งสำคัญในวัดหนังอีกอย่างหนึ่งคือ กุฏิหลังหนึ่งซึ่งก็เป็นกุฏิฝาไม้กระดานนั้นแหละ หากแต่ที่ฝานั้นมีลายรดน้ำปรากฏอยู่ ถ้าคิดไปคิดมากุฏิลายทองนี้แต่เดิมก็คงจะเป็นตำหนักเจ้านายมาก่อน ซึ่งลักษณะเรือนที่มีฝาลายทองนี้ปัจจุบันเราก็คงจะนึกได้แต่ที่ตำหนักทองที่วัดสิงห์เท่านั้น

    จากเรื่องที่ผมกล่าวไป ทั้งนี้ สะท้อนถึงความสำคัญของชุมชนแถบนี้ไม่มากก็น้อย มันจะบอกว่าเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนก็ได้ หรือมันจะเป็นส่วนหนึ่ง ของประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ หรืออีกนัยหนึ่งคือประวัติศาสตร์ประเทศก็ไม่มีใครว่า แต่เราจะเข้าใจกรุงเทพฯ (ประเทศ) มากขึ้นถ้าเรามาทำความเข้าใจเรื่องราวแบบนี้



    หนังสือ"3 วัดประวัติศาสตร์"

    วัดเก่าสะท้อนวิถีชีวิตโบราณ


    ในงานฌาปนกิจศพ นางสุทิน บุนปาน ที่วัดนางนองวรวิหาร เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2552 เจ้าภาพได้จัดพิมพ์หนังสือ "3 วัดประวัติศาสตร์" แจกจ่ายผู้มาร่วมงาน

    หนังสือที่มีความหนา 400 หน้าเล่มนี้ มีความต่อเนื่องกับหนังสือ "บางขุนเทียน ส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย และกรุงรัตนโกสินทร์" ที่พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ น.ท.สุขุม บุนปาน สามีของนางสุทิน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2530

    สำหรับ "3 วัดประวัติศาสตร์" เล่มนี้ เน้นการค้นคว้าไปที่ 3 วัดสำคัญ ริม "คลองด่าน" อันเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำแม่กลอง ความสำคัญของคลองด่านปรากฏในประวัติศาสตร์ช่วงต่างๆ

    จนกระทั่งเทคโนโลยีการคมนาคมสมัยใหม่ก้าวเข้ามาแทนที่คลอง พ.ศ.2445 รถไฟสายปากคลองสาน-ท่าจีน ยาว 33.1 ก.ม. เปิดบริการ ซึ่งก็คือเส้นทางคลองด่านนั่นเอง ตามมาด้วยเส้นทางรถยนต์ โดยเฉพาะเส้นทางธนบุรี-ปากท่อ ทำให้เส้นทางน้ำสาขาจำนวนมากอุดตัน เส้นทางคลองด่านบางตอนรกร้างจนแทบตื้นเขิน

    โรงงานอุตสาหกรรมทำให้น้ำในคลองด่าน เน่า พระภิกษุสามเณรที่เคยพายเรือบิณฑบาตในคลองก็หายไป เพราะทนสภาพเรือล่มจากคลื่นเรือหางยาวบริการนักท่องเที่ยวซัดไม่ได้

    เนื้อหาสำคัญคือเรื่องราวของ 3 วัด ได้แก่ วัดราชโอรสาราม วัดหนังราชวรวิหาร และ วัดนางนองวรวิหาร

    ทั้ง 3 วัดเต็มไปด้วยความวิจิตรพิสดารจากฝีมือช่างไทย แต่ทรัพย์สินดั้งเดิมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายสิ่งหลายอย่างได้หายสาบสูญไป

    อย่างไรก็ตาม อีกหลายสิ่งหลายอย่างเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

    หนังสือ 3 วัดประวัติศาสตร์ ได้เล่าถึง ระฆังสำริด ในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร เส้นผ่าศูนย์กลาง 55 ซ.ม. สูง 90 ซ.ม. ยอดหัวตัด ปลาย ของหูระฆังทั้งสี่ เป็นรูปราชสีห์ 2 และคชสีห์ 2 สภาพของหูระฆังพบว่า เดิมเคยมีการกะไหล่ทอง ขอบปากระฆังมีจารึกอยู่ 4 บรรทัด ด้วยอักษรภาษาไทยสมัยอยุธยา ระบุว่า ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างในปี พ.ศ.2260 ตรงกับกลางรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

    จารึกนี้ไม่ได้ยืนยันว่าวัดหนังมีมาตั้งแต่ปีสร้างระฆัง เพราะระฆังเป็นวัตถุเคลื่อนย้ายได้ และบริเวณคลองด่านมีหลักฐานวัดสมัยอยุธยาอยู่หลายวัด แต่อย่างน้อยก็ใช้อธิบายความเก่าแก่ของวัดในพื้นที่คลองด่านได้

    คำอ่านปัจจุบันของจารึก (จัดวรรค-บรรทัดใหม่ เพื่อสะดวกต่อความเข้าใจ) มีว่า สัพพมัสดุ พุทธศักราชทั้งปวงล่วงแล้วได้ 2000 หกสิบพระวัสสา เศษสังขยา คณนา ได้เดือนหนึ่ง

    จึงเราผู้ชื่อว่ามหาพุทธ รักขิตอันวิจิตรด้วยศรัทธาเป็นต้น เป็นประธาน และท่านตาหมื่นเพชรพิจิตร เป็นมหาวัฒกีอธิบดี การแลสัปปุรุสทั้งหลายทั้งหญิงทั้งชาย และภิกขุ ตาเถรสามเณรน้อยใหญ่ตั้งใจหล่อไว้เป็นรัตนไตรยบูชา ไว้สำหรับ วรพุทธศาสนาอันประเสริฐ ขอให้ได้ไปเกิดจงบริบูรณ์ประจักษ์ในสำนักพระศรีอาริย เจ้าเถิดฯ

    นับว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตของคนไทยในพื้นที่นี้แต่โบราณได้อย่างชัดเจน

    [FONT=Tahoma,]หน้า 21[/FONT]

    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdNeTB3T1E9PQ==
     
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ยังไม่เคยไปเลยอ่ะวัดนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...