คลายกําหนัดนี่แปลว่าอะไรครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 3 เมษายน 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ผมไม่ค่อยได้ยิน คําว่าคลายกําหนัดในชีวิตจริง ช่วยอธิบายทีครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าไปเอา คลายกำหนัด แบบในชีวิตจริง เพราะ มันจะลากไปสู่การเอา

    "เบื่อๆอยากๆ" แบบชาวบ้านมากล่าวเป็น ธรรม ซึ่งจะไม่ถูก เทห์ แต่ ภาวนา
    ไม่ขึ้น(เพราะคนที่ปรารภ 1000% โกหกหน้าด้านๆ )

    เราเป็นนักปฏิบัติ ต้อง ประจักษ์รสของธรรม ( อรรถ ) จากการปฏิบัติ (ปัจจัตตัง)
    เพื่อเข้าถึงรส รู้รสชัด จึงรู้ว่า นี่คือ คลายกำหนัด ( ธรรม )

    ดังนั้น ให้สังเกตจาก กรรมฐานที่ใช้อย่างเดียว อย่าไปสนใจกับ วัตถุอื่น ในที่นี้
    เธอพูดมาเสมอว่า ทำอานาปานสติ ก็แปลว่า จะต้องเกิดการ "คลายกำหนัดจาก
    กองลมทั้งปวง" หากยังยึดมั่นถือมั่นในกองลมอยู่ ก็จะเกิดการเห็น ลมเข้า ลมออก
    ลมสั้น ลมยาว คือ สภาพธรรมที่ต่างกัน มีรสไม่เหมือนกัน

    แต่ถ้าสามารถสัมผัส อรรถ ของการคลายกำหนัดจากกองลมทั้งปวงได้ เธอจะเห็น
    กองลมทุกชนิดเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความแตกต่างใดๆ หายใจอยู่ก็รู้สึกว่าไม่ได้หายใจ
    (ลมหายใจหายไป ที่เขาพูดๆกันนั่นแหละ แต่ ศาสนาอื่นรู้จักแต่เรื่องทำ ฌาณ แต่ของ
    พุทธเราทำ สมาธินิดๆหน่อยๆ ก็เห็นได้แล้ว)

    ทีนี้ มันเป็นการปฏิบัติเพื่อตามเห็นความไม่เที่ยง ไม่ใช่ไปทำให้มันเที่ยง ดังนั้น การเห็น
    ลมหายใจหายไปของพุทธ จะเห็น มันมา มันไป หรือ เห็น เกิดดับ คือ เดี๋ยวก็ระลึกได้(ลม
    หายใจหายไป-ปิติ ปัสสัทธิ) เดี๋ยวก็ระลึกไม่ได้(ลมหายใจกลับมาเป็นวิตกวิจาร)

    แต่ถ้าเป็น ฌาณ นอกศาสนา ก็จะไปเน้นเอาการเที่ยงของการหายไปของลม คนนอก
    ศาสนาก็จะมุ่งเอาสงบ สงัด จากการไม่รู้ลม เข้าไปจมปุ๊กนิ่งสนิทอย่าง โง่ๆ ไม่เกิดปัญญา
    เพราะไม่มีสติ ไม่เหลือสัมปชัญญะในการ "พิจารณา"-"ความไม่เที่ยง"

    **************

    ก็จะเห็นว่า เครื่องมือตั้งแต่แรก และ คู่ไปตลอด ในการปฏิบัติ ที่จะทำให้เรา
    แตกต่างจากการทำ ฌาณ แบบโง่ๆ ก็คือ การตามดูความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นเรื่อง
    การใช้ ไตรลักษณ์ มาช่วยซักฟอกธรรม ให้เผยอรรถรส ให้เราประจักษ์เป็นปัจจัตตัง

    เพราะตามเห็นความไม่เที่ยง(กองลม)อยู่เป็นประจำ จึงเกิดความเบื่อหน่าย(กองลม)

    เมื่อเบื่อหน่าย จึงคลายกำหนัด(จากกองลม) รู้ลมอยู่ ไม่หยุดรู้ หายใจอยู่ ไม่หยุด
    หายใจ อยู่และเคียงคู่กันไปแบบ ธรรมชาติ โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น

    เมื่อคลายกำหนัด จึงรู้ว่า มีการสลัดคืน(กองลมหายใจ) ก็คือ หายใจไปตามปรกติ
    ตลอดเวลาทั้งวัน แต่ ไม่มีลมหายใจไหนเลยที่ขาดการเข้าไป ระลึกเห็น(วิริยะสัมโพช
    ฌงค์)

    ถ้าทำได้แบบนี้ แม้ชาตินี้ยังไม่สำเร็จนิพพาน แต่ ทว่าตอนสิ้นลมหายใจสุดท้ายที่มีตามวาสนา
    ไม่ใช่เพราะเกิดเพราะเจตนาตัดรอน กองลมสุดท้ายที่ปรากฏให้ระลึก จะทำให้เข้า
    ถึง นิพพาน ไปเลย ตามอานิสงค์ของอานาปานสติกรรมฐาน เพราะการตามเห็นการสลัด
    คืนอยู่เป็นประจำนั่นเอง

    ****************


    การทำ สมาธิแบบพุทธศาสนา จึงเหนือกว่า ฌาณ และเพราะเหนือกว่า ฌาณ จึงถือว่า
    ได้ฌาณ หรือ สำเร็จฌาณด้วย ส่วนเรื่องการได้ อภิญญา นั้นจะเป็นเรื่องของ วาสนา
    หรือที่เรียกว่า ลาภ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สำหรับ การที่กล่าวว่า อย่าไปเอาการเบื่อในชีวิตจริง มาเป็นตัวชี้วัด
    เช่น เบื่ออาหาร เบื่อนอน เบื่อร่องภูเขากระเด้งดึ๋ง เหล่านี้ แล้วเราจะ
    อาศัยอะไรชี้วัดการปฏิบัติ

    ถ้าเข้าใจกรรมฐาน ก็จะรู้ว่า ก็ตัว กรรมฐานที่สมาทานอยู่นั่นแหละ
    คือตัวชี้วัด หากตัวกรรมฐานเองปรากฏเป็นวัตถุกามให้ยึดมั่นถือมั่น
    เสียเอง ก็ถือได้ว่า ภาวนาอย่างไม่เข้าใจ ไม่ตรงทาง

    สำหรับเรื่องกิเลส มันจะหายไปอย่างไร ดูแต่ความจางคลายแม้ใน
    การยึดมั่นถือมั่นตัวกรรมฐานเอง แล้ว กิเลสเราจะซักฟอกตอนไหน

    พระพุทธองค์ก็ อุปมาว่า

    เมื่อบุคคลเพียรอยู่ในกรรมฐาน แม้ในกรรมฐานเอง ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น
    กิเลสนั้นจะเหมือนตัวเพรียงที่เกาะอยู่ใต้ท้องเรือ เมื่อ ผู้ภาวนาเข็นเรือ
    ขึ้นฝั่งทุกวัน ตัวเพรียงที่เกาะอยู่ใต้ท้องเรือที่เราไม่เห็นนั้น ก็ร่อนหลุดไป
    ทุกวันอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้องไปดูว่า มันร่อนไปเท่าไหร่ และ หากสามารถ
    เอาเรือขึ้นบกได้แล้ว ไม่มีกิจอื่นให้ศึกษา หรือ เข็นเรือจมน้ำกาม จมโอฆะ
    ความคิดวิตกกังวลสะดุ้งกลัวอีก ตัวเพรียงจะเกาะท้องเรือได้ไฉน แซะที่
    เดียวก็ร่วงกราว [ ผู้เสนอมีการดัดแปลง โปรดหาอ่านเอาจาก พุทธพจน์]
     
  4. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    อนุโมทนาด้วยครับ :cool:
     
  5. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เบื่อ ๒ แบบ และ คลาย

    ๑.เบื่อแบบ วิภวตัณหา คือ เบื่อแบบไม่มีความรู้ เบื่อแบบอึดอัดเพราะถ่ายถอนไม่เป็น
    ไม่อยากมีไม่อยากเป็นอยากผลักไส และประกอบไปด้วยตัวกูผู้ผลักไสอย่างเต็มที่ ตัวกูผู้ผลักไสจึงอึดอัด
    ยิ่งเบื่อยิ่งหนัก
    ถ้าเบื่อน้อยๆ เรียกว่า แค่เซ็งๆ แต่ถ้า เบื่อมากๆ อันตรายถึงชีวิต คือ การฆ่าตัวตาย นี่เป็นการเบื่อแบบโง่ เบื่อแบบไม่มีความรู้



    ๒.เบื่อแบบ นิพพิทา คือ เบื่อแบบมีความรู้ คือ ได้เรียนธรรมะ ได้มีปัญญาตามสมควรแก่ธรรมที่ได้เรียนมาพอ
    ได้ส่องดูทั่วถึงในสิ่งที่ตนเบื่อ เห็นพิษเห็นโทษภัยตามที่เป็นจริง ใช้ธรรมในจิตใจต่อสู้กับสิ่งที่เบื่อได้ถูกต้อง ยิ่งเบื่อยิ่งเบา
    จึงสำรอกสิ่งที่ตนเบื่อออกไปได้ตามลำดับ เป็นอาการบรรลุธรรมในลำดับการบรรลุธรรมอย่างหนึ่ง คือ



    ศรัทธา ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ ขยญาณ นิพพาน


    เบื่อแล้วคลาย เมื่อคลายจึงหลุด

    นิพพิทา เบื่อหน่าย
    วิราคะ คลายกำหนัด
    วิมุตติ หลุดพ้น(จากสิ่งที่เบื่อ จากสิ่งที่คลาย)

    เบื่อได้เท่าไร คลายได้เท่านั้น

    เบื่อหมด ก็คลายหมด
    เมื่อคลายหมด ก็หลุดหมด
    (แต่ต้องเรียนธรรมอย่างถูกต้อง มิฉะนั้นจะหลุดพ้นแบบบ้า)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  6. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอบคุณครับอาปานุสตินี่้ใช้เป็นวิปัสสนาก็ได้เห็นความไม่เที่ยงแล้วจะเบื่อไปเลยเห็นทุกอย่างไม่เที่ยง
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อุบายคลายกำหนัด - หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    ประสบการณ์ในธรรม�อุบายคลายกำหนัด ของหลวงพ่อพุธฐานิโย...โดย นรเศรษฐ์

    [​IMG]บทความจาก ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2548

    ญาณทิพย์อภิญญาเป็นคุณธรรมวิเศษที่เกิดแก่ท่านผู้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ใน กรอบขอบข่ายของผู้มีศีลธรรม เคร่งครัดพระวินัยในพระพุทธศาสนา มีความเพียรอันชอบด้วยการศึกษาวิชาความรู้ทั้งสมถกรรมฐาน 40 พุทธเวท ไสยศาสตร์ เวทวิทยามหามนต์อาคม เป็นหนึ่งในคุณธรรม 5 ประการที่ถือว่าเป็นความรู้อันยอดยิ่ง เป็นความรู้ชั้นสูงที่เจาะตรงยอดยิ่งในขั้น �โลกียอภิญญา�กล่าวคือ

    1. อิทธิวิธิ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบุญฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆได้
    2. ทิพพโสต เป็นผู้มี หูทิพย์
    3. เจโตปริยญาณ ญาณที่ ทายใจผู้อื่นได้
    4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณญาณที่ทำให้ ระลึกชาติได้
    5. ทิพพจักขุ ผู้มี ตาทิพย์โดยนัยแห่งคุณธรรมอันยอดยิ่งดังกล่าว ได้ปรากฏให้เห็นเป็นที่อัศจรรย์

    ทำให้เชื่อได้ว่า �ธรรมแห่งพระพุทธองค์� ที่ทรงตรัสรู้แล้วนำมาสั่งสอน โปรดแก่ชาวโลกให้ได้รับรู้เพื่อปฏิบัติตามนั้นไม่ล่วงกาลพ้นสมัย แม้วันเวลาที่ทรงประกาศศาสนธรรม ของ พระบรมศาสดาจะล่วงผ่านมาร่วม 2,600ปีแล้วก็ตามณ ปีนี้... วันนี้...แม้บุคคลใด ไม่ว่าเพศใดวัยไหนก็ตาม ได้ศึกษาและปฏิบัติตามพุทธวิธีที่ประกาศไว้บุคคลนั้นย่อมบรรลุถึงซึ่งธรรม วิเศษอันเป็นที่พึ่งของตนเองและบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดียิ่งดังเช่น

    ประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสรับรู้มาจากที่มีโอกาสได้เสวนากับกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นผู้รู้ ที่ครั้งหนึ่งได้เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่สี ฐานิโย กันที่วัดพระฉายจังหวัดนครนายกด้วยกัน ครั้งนั้นอาจารย์อภิญญา สันยาสี กัลยาณมิตรรุ่นพี่อดีตพระมหาเปรียญ 5 ประโยคจากสำนักใหญ่ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีดีกรีปริญญาโทสาขาปรัชญา จากประเทศอินเดีย ถึงกับเอ่ยปากชื่นชมต่อความน่าอัศจรรย์ในฌานญาณรู้อันเหนือสามัญบุคคลจะ หยั่งถึง ของหลวงปู่สี ฐานิโย พระป่ากรรมฐานซึ่งใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสุขสงบอยู่ในวัดป่าท่ามกลางป่าดงพง ไพรอย่างไม่ขาดปากตลอดทางระหว่างเดินทางกลับจากความประทับใจในครั้งนั้นเป็น เหตุนำพาไปถึงความประทับใจในคุณธรรมที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนที่ได้เดินทางไป กราบนมัสการครูบาอาจารย์ยังวัดต่างๆซึ่งนอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ยืนยันใน คุณธรรมอันวิเศษที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ยังให้สาระสำคัญในอุบายวิธีกำจัดนิวรณ์อันเนื่องแต่ความกำหนัดในกามคุณที่ เป็นอุปสรรคขวางกั้นมรรคผลของผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิเป็นอย่างยิ่งด้วยอาจารย์ อภิญญาเล่าให้ฟังดังนี้ครับ

    �ในครั้งที่ผมยังบวชเป็นพระอาศัยอยู่ในวัดแห่ง หนึ่งในกรุงเทพฯประมาณปลายปี 2524 เพื่อนพระด้วยกันได้ชวนไปเที่ยว กราบครูบาอาจารย์ทางภาคอีสานแต่ที่ไปกันนั้นเป็นพระเพียง 2 รูป นอกนั้นเป็นโยมที่ไปจำศีลภาวนาอยู่ในวัดเราไปกันเต็มคันรถตู้ ขึ้นกันไปทางบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ อุบลฯนครพนม อุดรฯ สกลนคร หนองคายขอนแก่น แล้วอ้อมกลับมาทางนครราชสีมา มาพักค้างคืนกันที่วัดป่าสาลวันของหลวงพ่อพุธ ฐานิโยการเดินทางคราวนั้นใช้ระยะเวลาประมาณครึ่งเดือนได้มีโอกาสฟังธรรมจาก ครูบาอาจารย์กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ที่ยังมีชีวิตอยู่ในช่วงนั้นแทบทุกรูปอย่างใกล้ชิดเริ่มตั้งแต่หลวu3591 ?ปู่ดูลย์ อตุโล,หลวงพ่อชาสุภัทโท,หลวงพ่อมหาบัวญาณสัมปันโณ, พระอาจารย์แบนธนากโร, หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่เทศก์เทสรังสี, หลวงปู่คำดี ปภาโสได้กราบแทบเท้า หลวงปู่ขาวอนาลโย และถ่ายรูปเป็นอนุสรณ์กับท่านด้วยแต่ทุกวันนี้ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ล่วง ลับดับขันธ์ไปหลายรูปแล้วที่ยังอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวนักกรรมฐานเป็นอย่าง ดีเยี่ยมเวลานี้ก็เห็นแต่ท่านหลวงพ่อมหาบัว วัดป่าบ้านตาดและท่านพระอาจารย์แบน ธนากโรเท่านั้น ที่ยังคงแข็งแรงดีอยู่การเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์ในลักษณะนี้

    สมัยเป็นพระได้ไปกับเพื่อนพระด้วยกันตั้งแต่ปี2520 ไปมาหลายแห่งจนบางครั้งก็มีสับสนไปบ้างว่าไปที่ไหนเมื่อไหร่ แต่ที่มาค้างที่วัดป่าสาลวันของหลวงพ่อพุธนั้นจำได้แม่นยำว่าเป็นปลายปี 2524 อย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ได้ประสบยังตราตรึงใจไม่รู้ลืมจนทุกวันนี้�เล่าถึงความประทับใจ ในครั้งแรกที่มากราบนมัสการ หลวงพ่อพุธฐานิโย ที่วัดป่าสาลวันว่า�คืนนั้นคณะไปถึงวัดป่าสาลวันค่ำแล้ว หลวงพ่อได้ให้การต้อนรับที่กุฏิไม้ยกพื้นสูงหลังเก่า ตอนนั้นกุฏิหลังใหม่ที่ท่านพักในบั้นปลายชีวิตยังไม่ได้สร้าง ท่านจึงยังคงพักอยู่ที่หลังเดิม สถานที่ต้อนรับแขกเป็นด้านบนสามารถนั่งกันได้ประมาณสิบกว่าคนโดยไม่แออัดนัก ได้นั่งสนทนากันอยู่กับท่านจนถึงประมาณ 3 ทุ่ม โดยในขณะที่ท่านนั่งสนทนาและตอบคำถามของคนอื่นๆ อยู่นั้น ผมก็อยากจะถามปัญหาความร้อนรุ่มที่ตนเองกำลังประสบอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไร แต่ก็ยังไม่มีโอกาสจะได้ถาม แล้วก็ไม่กล้าจะถามท่านในตอนนั้นด้วย เพราะอายโยมผู้หญิงในหมู่คณะที่ไปด้วยกันแม้ว่าแต่ละท่านจะมีอายุเลย 60ไปแล้วทุกคนก็ตาม จึงได้แต่นั่งฟังท่านคุยธรรมะให้ฟังด้วยใจร้อนรุ่มอยากจะถามคำถามของตนสนทนา กับท่านไปจนกระทั่งเลย 3 ทุ่มไปเล็กน้อย เพื่อนพระด้วยกันได้ขอตัวเข้าห้องน้ำ หลวงพ่อจึงถือโอกาสบอกให้โยมคนอื่นๆไปนอนหลับพักผ่อน ท่านบอกว่าดึกแล้วนะ พวกโยมเดินทางมาไกลคงเหนื่อยกันทุกคนไปนอนหลับพักผ่อนกันก่อนเถอะสถานที่เขา จัดไว้ให้เรียบร้อยแล้วพอท่านว่าอย่างนั้นผมก็ทำท่าว่าจะลุกขึ้น แต่ต้องชะงักเมื่อได้ยินท่านกล่าวต่อไปว่า

    �คนอื่นไปพักผ่อนกันก่อนส่วน ท่านมหายังไม่ต้องไป หลวงพ่อมีเรื่องจะคุยด้วย�หลังจากที่โยมลงไปจากกุฏิหมดสิ้นแล้ว คิดว่าแต่ละคนคงไปไกลเกินกว่าที่จะได้ยินเรื่องที่ท่านจะคุยด้วยแล้วหลวงพ่อ พุธท่านจึงเริ่มเรื่องที่ท่านเหนี่ยวรั้งผมไว้เพื่อคุยด้วย ซึ่งตอนนั้นผมก็ใจเต้นตูมตามอย่างใคร่รู้ว่าท่านจะชวนสนทนาด้วยเรื่องอะไร หนอเพราะตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้กราบนมัสการท่านอย่างใกล้ชิด ยังไม่คุ้นเคยกับท่านแต่อย่างใดเมื่ออยู่ตามลำพัง

    หลวงพ่อพุธท่านจึงเริ่มต้นว่า�ท่านมหา...สมัยหลวงพ่อเป็นพระหนุ่มวัยเดียว กับมหา หลวงพ่อก็ประสบปัญหาเดียวกัน คือหลวงพ่อไปหลงรักเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวของแม่ชีที่เอาปิ่นโตมาส่ง ให้แม่ที่วัดเป็นประจำ�ท่านขึ้นต้นมาอย่างนี้ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ผมใจหายวาบ ระคนด้วยความอัศจรรย์ว่า�นี่ท่านรู้ความคิดของเราละเอียดถึงขนาดนี้เชียว หรือ?�จากนั้นท่านก็เล่าเรื่องของท่านให้ฟังไปเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องราวที่ท่านเล่าให้ฟังนั้นคล้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ กับผมมาก ท่านว่า�ทีแรกหลวงพ่อก็ไม่ได้คิดอะไร แต่หลังจากที่ได้พูดคุยกับเขาบ่อยๆ ได้ช่วยนั่นช่วยนี่ หรือบางครั้งเขาก็มาช่วยทำนั่นทำนี่ให้ ความรู้สึกมันก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น โดยนึกคิดถึงเขาบ่อยๆ แต่ก็ยังไม่คิดเฉลียวใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับใจเรา มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อวันไหนที่เขาไม่ถือปิ่นโตเข้าวัด ไม่ได้พบไม่ได้เห็นหน้าเขาไม่ได้พูดจาสนทนาด้วย เราก็ร้อนรุ่มหัวใจมันเหี่ยวแห้งเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่งยิ่งช่วงไหน เขาขาดหายไปไม่มาวัดสักอาทิตย์ รู้สึกว่ามันทุกข์ทรมานเหมือนขาดเขาไปเป็นปี หัวใจร้อนรุ่มเหมือนใครเอาไฟมาลนกินไม่ได้นอนไม่หลับร่างกายก็ผ่ายผอมลง เรื่อยๆ วันไหนเขามาแต่ถ้าไม่ได้พูดคุยด้วยมันก็เป็นทุกข์เหมือนกันต่อเมื่อได้พูด คุยด้วยก็อยากจะบอกให้เขารู้เหลือเกินว่า

    �ฉันรักเธอเหลือเกินนะ�แต่ก็บอกไม่ ได้ ยิ่งเก็บไว้มันก็ยิ่งอึดอัด มันแน่นในหัวอก จิตใจที่เคยสงบเย็นอันเกิดจากรสของการภาวนาก็หายไปสิ้น นั่งก็คิดถึงเขา นอนก็คิดถึงเขา เดินจงกรมก็คิดถึงเขา มันคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวจนเจ้าตัวไม่รู้ตัว กว่าจะกลับมาก็ไปไกลดึงไปเดี๋ยวก็กลับไปคิดถึงเขาอีกเมื่อคิดมากๆ มันก็ทุกข์มากทำให้รู้สึกตัวขึ้นมาว่าความรักนี่เป็นต้นตอของความทุกข์จริง หนอ!ทุกข์ที่ไม่มีอะไรมาทุกข์เท่ากว่า เราจะรู้ตัวมันก็กินลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของหัวใจแล้วนี่จะแก้อย่างไร?จะไป กราบขอคำแนะนำจากครูอาจารย์ ก็กลัวท่านจะตำหนิด่าว่าเมื่อคิดมากเข้าๆ ก็ตัดสินใจใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่งเกิดความคิดว่าเอาล่ะ...

    ในเมื่อเรารัก เขาก็เอาตัวเขามาเป็นกรรมฐานเราต้องนึกถึงเขาเท่านั้น นึกให้มันเห็นหน้าพอคิดตกลงใจอย่างนั้นจึงอาบน้ำอาบท่าให้ชื่นบาน เข้าห้องปิดประตูทันทีนั่งตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า นั่งท่องชื่อของเขาเป็นคำบริกรรมและนึกถึงหน้าของเขาตั้งใจให้ใบหน้าของเขา ผุดขึ้นมาในจิต เหมือนที่เราเพ่งเทียน หรือ แก้วหรือ พระพุทธรูปหลวงพ่อทำอยู่อย่างนั้นจนเวลาล่วงเลยไปกี่นาที กี่ชั่วโมงก็ไม่รู้ได้ภาพของเขาก็ค่อยๆ เกิดขึ้น จากเลือนรางก็ค่อยๆชัดเจนจนเหมือนมองเห็นด้วยตาเปล่า แล้วก็ค่อยๆสดใสสวยงามปานนางเทพธิดาจากนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ค่อยๆ แปรเปลี่ยนไปทีละนิดจากสาวก็ย่างเข้าสู่วัยกลางคน เป็นคนแก่ คนชรา จนแก่หง่อมหัวสั่นหัวคลอนเดินยักแย่ยักยัน ในที่สุดก็ล้มตายลงต่อหน้าร่างกายแปรสภาพเป็นขึ้นอืดเริ่มมีหนอนไต่ออกมาตาม ทวารต่างๆร่างกายแตก นัยน์ตาถลน แล้วทุกอย่างก็ค่อยๆ ยุบ เนื้อหนังหายไปเหลือแต่โครงกระดูกที่นอนเหนือแผ่นดิน จากนั้นก็กระจัดกระจายไม่เป็นรูปเป็นร่างพอมาถึงจุดนี้จิตก็สะทกสะท้านหวาด หวั่นต่อความแปรเปลี่ยนเห็นชัดแจ้งถึงความเป็นของไม่สวยงามไม่เที่ยงแท้แน่ นอนไม่น่ายึดเอามาเป็นเจ้าของ

    ก็ถามตัวเองว่า�ถ้าเขาเป็นเช่นนี้ ยังรักเขาอยู่หรือเปล่า?�ก็มีคำตอบว่า �ไม่รัก�ความรักที่หลวงพ่อมีต่อเด็กสาวคนนั้นก็หายไปด้วยอาการอย่างนี้นี่ คือวิธีแก้ปัญหาของหลวงพ่อ...�หลวงพ่อพุธท่านเล่าจบก็หยิบหมากพลูป้ายปูนใส่ ปากนั่งเคี้ยวอย่างอารมณ์ดี ไม่ถามหรือแสดงข้อคิดเห็นอย่างอื่นอีก จนกระทั่งพระเพื่อนของผมโผล่ขึ้นไปท่านจึงชวนคุยเรื่องอื่น ไม่หวนกลับมาพูดถึงเรื่องเก่าที่ท่านเล่าให้ผมฟังขณะอยู่ตามลำพังนั้นอีก เล่ามาถึงช่วงนี้ อดีตมหาเปรียญหลายประโยคกล่าวสรุปว่า�นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้ประสบกับจิต รู้อันมหัศจรรย์ของพระมหาเถระ เป็นประสบการณ์จากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระที่ผมแน่ใจว่าท่านเก่งจริงเก่งทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานทุกครั้งที่ผม มีโอกาสได้กราบท่านจึงรู้สึกเย็นกายเย็นจิตอย่างไม่เคยเกิดกับครูบาอาจารย์ ท่านใดมาก่อนระยะหลังต่อมา เมื่อผมมีเหตุจำต้องสึกหาลาเพศแล้วผมก็ยังหาโอกาสเดินทางไปกราบครูบาอาจารย์ ยังวัดต่างๆ เสมอๆ แต่เมื่อไปแล้วก็ม่เคยอิ่มเอิบใจเหมือนดั่งได้กราบหลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน และก็ไม่เคยประสบพบเห็นในจิตรู้อันว่องไวของครูบาอาจารย์ท่านใดเป็นเหมือน ดังประสบมาจากหลวงพ่อพุธเช่นกัน ต่อเมื่อได้มากราบหลวงปู่สีที่วัดพระฉายนี่แหละ�ได้ยินได้ฟังมาอย่างนี้ เห็นว่าดีและน่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติธรรม จดจำนำไปใช้กำราบจิตตน ยามผจญกับโคเขาอ่อน ซึ่งเป็นภัยอันยิ่งแก่ผู้ครองพรหมจรรย์ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิจึงนำมาเล่าต่อ ให้ฟัง...

    --------------------------------------------------
    ขอขอบคุณ
    buddhamahawet.com - buddha maha wet Resources and Information. This website is for sale!

    เครดิต http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%98-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A2.191965/
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ๑๗๓. จิต มโน วิญญาณ เกิดดับ

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัดและพ้นไปในกาย อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ได้. เพราะเหตุไร ? เพราะความก่อขึ้น ความสลายตัว การรวมตัว การแยกตัว ของกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ อันบุคคลเห็นได้. เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับจึงพึงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและพ้นไปในกายนั้นได้."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจ (มโน) บ้าง วิญญาณบ้าง อันใด,<SUP></SUP> บุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และพ้นไปในธรรมชาตินั้นได้ เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมชาตินัน อันบุถุชนผู้มิได้สดับ ฝังใจ ยึดถือ ลูบคลำ (ด้วยใจ) มานานแล้วว่า "นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา." เพราะเหตุนั้น บุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่ (สามารถ) พอที่จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และพ้นไปได้ในธรรมชาตินั้น."
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุถุชนผู้มิได้สดับ พึงถือกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งสี่นี้ว่า เป็นตนดีกว่า. การถือว่า จิตเป็นตนไม่ดีเลย. เพราะเหตุไร ? เพราะกายอันประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ นี้ ที่ตั้งอยู่ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี, ๔ ปี, ๑๐ ปี, ๒๐ ปี, ๓๐ ปี, ๔๐ ปี, ๕๐ ปี, ๑๐๐ ปี แม้ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี ก็ยังเห็นได้. แต่ธรรมชาติที่เรียกว่าจิตบ้าง ใจบ้าง วิญญาณบ้างนั้น ในกลางคืนกับกลางวัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งก็ดับไป."

    สังยุตตนิกาย นิทานวัคค์ ๑๖/๑๑๔

    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part6.4.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  9. ประกายพลอย

    ประกายพลอย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2010
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +452
    ความกำหนัดก็คือความอยาก

    ยิ่งกำหนัดมาก ก็ยิ่งอยากมากๆ

    กำหนัด อาการหนักกว่าอยาก มีอาการเข้าขั้นโค่ม่า

    ภาษาทางการเรียกว่า กำหนัด

    ภาษาชาวบ้าน ลูกทุ่งเราๆเรียกว่า เงี่.......

    ({) ฟันธงคราบ
     
  10. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวอันสุก
    อันกิมิชาต(หมู่หนอน)บ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง(คนที่เป็นโรคเรื้อนบางคนทนความคันไม่ไหว จึงเอาตัวเองไปย่างกับถ่านเพลิงเพื่อบรรเทาความคัน)

    มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น พึงทำยารักษาบุรุษนั้น

    บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ
    มีอำนาจในตนเอง จะไปไหนได้ตามความพอใจ. บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล
    มีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง.

    ดูกรมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงทะเยอทะยานต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้น
    ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกลับเสพยาบ้างหรือหนอ?...
    (พุทธะ)

    จากพระสูตร
    คนเป็นโรคเรื้อนที่มีความยินดี ทะยานอยากย่างตนเองในหลุมถ่าเพลิงเปรียบเหมือนผู้กำหนัดในกาม
    (สาเหตุที่พระองค์อุปมากามเหมือนหลุมถ่านเพลิงเพราะ กามมีโทษมาก และเป็นรากเหง้าของบาปอกุศลเป็นอันมากและเมื่อชนทั้งหลายทำบาปกรรมเพรากามเป็นเหตุ ก็ต้องไปไหม้อยู่ในนรก เป็นต้น)

    การหายจากโรคเรื้อน คือ การคลายกำหนัด/การบรรลุอนาคามีและอรหันต์

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 เมษายน 2012
  11. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ธรรมะ ป้องกัน ความวิปลาส

    ธรรมะกันป้องกันความบ้า


    ๑.รู้จักไตรสรคมณ์ อย่างถูกต้อง เมื่อระลึกถึงแล้ว อุ่นใจ เบาใจ มั่นใจ เป็นที่พึ่งได้ในทุกสถานะการณ์


    ๒.เรียนรู้สัมมาทิฏฐิ เพื่อให้นำทางเราไปสู่ในทิศทางที่ถูกต้อง และ
    เรียนรู้มิจฉาทิฏฐิ ให้รู้จักแยกแยะสิ่งผิดออกจากสิ่งที่ถูก
    เมื่อปฏิบัติตัวผิดจะได้รู้ตัวและสลัดออกจากสิ่งผิดได้อย่างรวดเร็ว



    ๓.รักษา ศีล๕ เป็นอย่างน้อย


    ๔.ระวังความคิด เรื่อง อจินไตย ๔ ประการ

    _______________________________________________________________________________________________________


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตอจินติตสูตร

    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด
    เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน
    อจินไตย ๔ ประการ เป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑
    ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑
    วิบากแห่งกรรม ๑
    ความคิดเรื่องโลก ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด
    เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ เป็นบ้า เดือดร้อน ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...