ความหมายของบทสวดมนต์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย เจคส์, 17 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. เจคส์

    เจคส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +260
    ดิฉันจะสวดมนต์เร็วมาก. สวดหลายบทแต่สวดไม่บ่อย. แต่ทุกครั้งที่สวดแทบจะไม่มีสวดผิดเลย. แล้วก็ไม่รู้ความหมายของบทสวดด้วยค่ะ. ช่วยแนะนำให้ด้วยค่ะว่าจำเป็นไม๊ที่ต้องรู้ความหมาย. หรือเอาแต่สมาธิในการสวดเท่านั้น. โปรดแนะนำด้วยค่ะ
     
  2. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,354
    การสวดมนต์ เป็นการสาทยายธรรม
    คำสอนของพระพุทธเจ้า
    การสวดมนต์ในปัจจุบันจะเป็นการ
    สาทยายธรรมของสาวกที่แต่ขึ้นใหม่
    ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับต่างกันมาก

    ดังนั้นเราควรสาทยายธรรมเฉพาะแต่คำพระตถาคต
    ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อนุสาสนีปฏิหาริย์ ปฏิหาริย์คือคำเทศสอน
    ผู้ได้สดับในคำตถาคต ย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัย
    ในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
    .

    อีกอย่างในเรื่องของที่ว่าเราต้องรู้ความหมายในบทสวดไหม
    ผมว่าจำเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะถ้าไม่รู้ความหมาย เราก็จะไม่เข้าใจ
    เราก็ไม่ได้รับประโยชน์จากการสวดมนต์

    ผมแนะนำบทสวดมนต์ในคำพระตถาคตให้นำไปสวดดูนะครับ

    กฏอิทัปปัจจยตา หัวใจปฏิจจสมุปบาท

    อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี
    อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
    อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
    อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
    เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

    สิ้นนันทิ สิ้นราคะ
    สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ
    เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
    นันทิกขะยา ราคักขะโย
    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
    ราคักขะยา นันทิกขะโย
    เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
    นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ.
    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้


    ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก
    นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ
    เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การมาและการไป ย่อมไม่มี
    อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ
    เมื่อการมาและการไป ไม่มีการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
    จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร:
    เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้
    ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง

    เอเสวันโต ทุกขัสสะ,
    นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.


    ประมาณนี้ละครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
    หากสนใจศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ ในคำตถาคตแล้ว
    ลองเข้าไปที่นี่ครับ พุทธวจน : วัดนาป่าพง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...