คำอุทิศส่วนกุลให้ ตัวเอง ญาติ และสัพสัตย์ทั้งหลาย

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pgame, 14 พฤษภาคม 2012.

  1. pgame

    pgame เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +184
    เนื่องจากผมได้ดูคลิปวีดีโอนี้

    <iframe src="http://www.youtube.com/embed/CLqJWcJ5oao" allowfullscreen="" width="420" frameborder="0" height="315"></iframe>

    แล้วเกิดอยากทราบ คำอุทิศบุญกุศล ให้ตนเอง ให้ญาติที่ล่วงลับ ให้เทวดาประจำตัว หรือเจ้ากรรมนายเวร และสัพสัตย์ทั้งหลาย ที่เป็นภาษาบาลี จึงค้นหาใน GOOGLE และได้นำมาเรียบเรียงใหม่ในแบบของผม ให้ท่านได้นำไปพิจารณา แล้วแต่เห็นสมควร เพื่อนำไปใช้ในการกรวดน้ำ

    บทความจากเวบ Fwdder.com - คำกรวดน้ำแบบดั้งเดิมและวิธีที่ถูกต้อง - โพสโดย saonoy
    บอกว่า การกรวดน้ำจะนิยมทำกัน 2 แบบ

    แบบที่ 1
    เมื่อเราถวายทานทีวัด พระจะเป็นผู้สวดคำอุทิศบุญกุศลเป็นภาษาบาลี นิยมใช้บท "ยะถา....สัพพี..."
    เมื่อพระสวด "ยะถาวะริวะหา...." ให้เริ่มรินน้ำไปเรื่อยๆ สายน้ำควรต่อเนื่องจนหมด หากพระสวดถึง "สัพพี ติโย..." แล้วน้ำยังไม่หมดให้รินน้ำให้หมดทันที แล้วมานั่งพนมมือรับพรพระ
    เพราะเชื่อว่า
    บท"ยะถา..." เป็นบทอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    บท"สัพพี..." เป็นบทที่ให้พรผู้ที่มีชีวิตอยู่

    แบบที่ 2
    กรวดน้ำด้วยตนเอง
    (อันนี้คิดเอง)เมื่อเราไปทำบุญมาแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เมื่อทำเสร็จแล้วก็สามารถ กรดน้ำอุทิศบุญกุศลได้ โดยเตรียมน้ำสะอาดที่จะกรวด และก่อนกล่าวคำกรวดน้ำให้ระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำไปแล้วนั้น แล้วกล่าวคำกรวดน้ำด้วยตนเองที่ไหนก็ได้(ควรเป็นที่สงบไม่พลุกล่านเพื่อความตั้งใจจะได้ไม่สะดุด) คำกรวดน้ำด้วยตนเอง ก็เลือกเอา ตามใจชอบได้เลย ข้างล่าง

    คำกรวดน้ำ
    1. บทกรวดน้ำทั่วไป(อิมินา อุทิศรวมแบบกระจาย)
    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ [ด้วยบุญนี้อุทิศให้]
    อุปัชฌายา คุณุตตะรา [อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ]
    อาจริยูปะการา [อาจารย์ผู้เกื้อหนุน]
    จะ มาตาปิตา [ทั้ง บิดามารดา]
    จะ ญาตะกา ปิยา มะมัง [แลปวงญาติ]
    สุริโย จันทิมา ราชา [ราชาสุริยันเจ้าจันทรา]
    คุณะวันตา นะราปิ [ผู้ทรงคุณสูงชาติ]
    จะ พรัหมะมารา จะ อินทา [ทั้ง พรหมมารและอินทราช]
    จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา [ทั้งทวยเทพและโลกบาล]
    ยะโม มิตตา มะนุสสา [ยมราชมนุษย์มิตร]
    จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ [ทั้ง ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ]
    จะ สัพเพ สัตตา จะ สุขี โหนตุ [ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน]
    ปุญญานิ ปะกะตานิ เม [บุญผองที่ข้าฯ ทำจงช่วยอำนวยศุภผล]
    สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ [ให้สุขสามอย่างล้น]
    ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตังฯ [ให้ลุถึงนิพพานพลัน]
    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ [ด้วยบุญนี้ที่เราทำ]
    อิมินา อุททิเสนะ [และอุทิศให้ปวงสัตว์]
    จะ ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ [พร้อมเราพลันได้ซึ่งการตัด]
    ตัณหุปาทานะ เฉทะนัง [ตัวตัณหาอุปาทาน]
    เย สันตาเน หินา ธัมมา [สิ่งชั่วในดวงจิต]
    ยาวะ นิพพานะโต มะมัง [ตราบเราจะถึงนิพพาน]
    นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ [มลายสิ้นจากสันดาน]
    ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว [ทุกภพ ทุกชาติ ที่เกิด]
    อุชุจิตตัง สะติปัญญา [มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ]
    สัลเลโข วิริยัมหินา [พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสให้สิ้น]
    มารา ละภันตุ โนกาสัง [โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารทั้งหลาย]
    กาตุญจะ วิริเยสุ เม [เป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม]
    พุทธาทิปะวะโร นาโถ [พระพุทธผู้บวรนาถ]
    ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม [พระธรรมที่พึ่งอุดม]
    นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ [พระปัจเจกพุทธสม]
    สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง [พบพระสงฆ์ที่พึ่งผยอง]
    เต โสตตะมานุภาเวนะ [ด้วยอานุภาพนั้น]
    มาโรกาสัง ละภันตุ มาฯ [จงอย่าเปิดโอกาสให้แก่มารทั้งหลายเทอญ]

    2.บทกรวดน้ำพระคาถา(ยอดนิยม)
    อนุโมทนารัมคาถา แปล
    ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง ห้วงน้ำที่เต็มยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด
    เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น
    อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขออิฏฐผลที่ท่านปราถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว
    ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ จงสำเร็จโดยฉับพลัน
    สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา ขอดำริทั้งปวงจงเต็มที่
    จันโท ปัณณะระโส ยะถา เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ
    มะณิ โชติระโส ยะถา เหมือนดังแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี.
    สามัญญานุโมทนาคาถา แปล
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ ความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป
    สัพพะโรโค วินัสสะตุ โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย
    มา เต ภะวัตวันตะราโย อันตรายอย่ามีแก่ท่าน
    สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน
    อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ
    อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
    ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้ มีปกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ฯ
    มาจากหนังสือ "ทำวัตรแปลของสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานดอยเกิ้ง"

    3.กรวดน้ำยอดพระกัณฑ์
    อิมินา ปุญญะกัมเมน
    ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ ไตรปิฎกนี้ ขอให้ไปค้ำชูอุดหนุน บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ และญาติกา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ และเจ้ากรรมนายเวร พระมหากษัตริย์ และมิตรรักสนิท เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี นางพระธรณี นางพระคงคา พระยายมราช นายนิริยะบาล ทั้งท้าวจัตุโลกะบาล สิริพุทธอำมาตย์ ชั้นจาตุมะหาราชิกาเบื้องบนจนถึงที่สุดพรหมมา เบื้องต่ำขึ้นมาจนถึงมนุษย์โลก โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตะจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดา ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ
    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาละ สังฆัง นิพพานัง โหตุฯ

    4.กรวดน้ำอุทิศญาติ(กรวดน้ำแบบย่อ)
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาติโยฯ

    ขอผลบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุขกาย สุขใจเถิดฯ

    5.บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร(จาก wikisource)
    กัมมะโน กัตถาโน กัมมะ ปัจเจกะพุทโธ พุทธัง ทั่วจักวาฬัง ธัมมัง ทั่วจักวาฬัง สังฆัง ทั่วจักวาฬัง เมื่อเสร็จพิธีทำบุญและพระสงฆ์กล่าวรับแล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรของเราโดยว่าดังนี้
    ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้ง หลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ


    เจริญในธรรมท่านทั้งหลาย
     
  2. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    สรุปคือ ดีทั้งนั้น เป็นมงคลทั้งนั้น.....
    ...แต่ถ้าลองพิเคราะห์
    1.ทำไมมีหลายบท? สมัยพระพุทธองค์มีไหม?
    เหตุที่มีมากหลาย เข้าใจว่า เรื่องพิธีกรรมพวกนี้ น่าจะมาเกิดสมัยหลังๆ เพราะอ่านๆดู ไม่เคยสนใจว่าพระไตรปิฏกได้กล่าวไว้ไหม? อาจมีแต่เราละเลยไปก็ได้...
    ..คือในสมัยพระพุทธองค์นั้น ปัญหาระหว่างคนเป็นกับคนตาย...มักจะได้คำตอบตรง...จากพุทธองค์ จะตรัสบอกถึงที่มาที่ไปของกฏแห่งกรรม อดีตชาติต่างๆได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง.....
    ..ทีนี้ พอสิ้นอายุขัย ท่านปริพนิพพานไป ก็เหลือแต่พระอรหันต์สาวก เป็นผู้ตอบข้อสงสัยแทน ที่นอกเหนือจากพระไตรปิฏก....
    ...กาลต่อมา ปฏิยัติ หนอนคำภีร์จึงเกิดขึ้นมา...และเป็นตัวแทนของพิธีกรรมต่างๆ แทน ฝ่ายปฏิบัติ(ภาวนา)
    ...เพราะเรื่องนี้ผมกราบนมัสการถามฝ่ายปฏิบัติเองว่า....การกรวดน้ำ ต้องใช้น้ำ นั่งจับมือต่อกันเป็นหางว่าวหรือ?
    ...พระปฏิบัติเมตตาตอบว่า ไม่จำเป็น เพียงเรานั่งทำสมาธิส่งจิตถึง ก็ใช้ได้แล้ว...ไปถึงคนตาย ถ้าเขาไปอุบัติในภพภูมิที่รับได้ เช่น เปรต....ถ้าไปอุบัติเป็นเดียรัจฉาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เขาก็รับไม่ได้ แต่บุญจะตกกับผู้ทำ...
    ....มีหลักคิดว่า เวลาผู้ตาย ทั้งคนและสัตว์มีชีวิตอยู่ เราทำไมไม่ดีต่อเขา เขาจากไป เรามาดีทีหลัง พึงรู้ว่า อันภพภูมินั้น มีถึง31 ภพภูมิ ปกติ การตายทั่วไปของคนสัตว์ และญาติโยมทำบุญให้นั้น เป็นพิธีกรรมที่ดีต่อจิตเท่านั้น แต่ผลลัพธ์แทบจะเป็นสูญ...เพราะผู้ที่จากไปส่วนมาก99% รับไม่ได้จ๊ะ แต่บุญตกกับผู้ทำ เพราะผู้ตาย เมื่อ จุติ ต้องอุบัติทันที ในภพใดภพหนึ่ง ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...