ค่าระดับน้ำทะเล

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย guawn, 14 ตุลาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ค่าระดับน้ำทะเล

    คอลัมน์ที่ 13



    ระดับน้ำทะเลสูงสุด-ต่ำสุด เป็นตัวเลขที่ได้จากการวัดระดับน้ำทะเลเทียบจากระดับน้ำทะเลปานกลาง(mean sea level)

    ประเทศไทยใช้ตัวย่อว่า รทก.

    การวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง ตามหลักสากลจะวัดจากค่าเฉลี่ยของระดับน้ำที่บริเวณที่กำหนด โดยการหาค่าเฉลี่ยของระดับน้ำขึ้นสูงสุด(High Tide : HT) กับระดับน้ำลงต่ำสุด(Low Tide : LT) ในช่วงเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ

    แต่ละบริเวณทั่วโลกจะมีระดับน้ำทะเลปานกลางแตกต่างกัน

    ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจ งานก่อสร้าง หรืองานทั่วไป

    กองสมุทรศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้ข้อมูลว่าไทยเริ่มมีการทำนายน้ำขึ้น-น้ำลง และจัดทำมาตราน้ำ จนขยายงานในเรื่องการตรวจวัดระดับน้ำ ปี พ.ศ.2451 โดยใช้ช่วงเวลาในการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง 5 ปี

    เนื่องจากเทียบตัวเลขของระดับน้ำในแต่ละปีแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเป็นระดับเซนติเมตร โดยเลือกที่หมุด BM-A ตำบลเกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ซึ่งถือเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทยด้วย

    ได้ค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่ 1.4477 เมตรเป็นค่ามาตรฐาน เทียบให้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.000 เมตร

    การรายงานระดับน้ำทะเลสูงสุดหรือต่ำสุดในแต่ละวันจะนำมาเทียบจากค่ารทก.ดังกล่าว ถ้ามีค่าสูงกว่าจะเป็นบวก ถ้าต่ำกว่าก็เป็นลบ

    ส่วนเครื่องมือวัดระดับน้ำในปัจจุบันใช้ 3 ระบบคือ ระบบลูกลอยที่เป็นแบบเก่า ระบบเซ็นเซอร์โดยมีเรดาร์วัดความดันในน้ำ และระบบอะคูสติกที่เครื่องวัดอยู่ในอากาศไม่จำเป็นต้องอยู่ในน้ำ โดยสามารถวัดได้คุณภาพเท่าเทียมกันทั้ง 3 แบบ

    สำหรับพื้นที่แต่ละจุดในกรุงเทพฯ มีความสูงระดับน้ำทะเลปานกลางไม่เท่ากัน การสร้างพนังกั้นน้ำจึงต้องกั้นที่ระดับแตกต่างกันด้วย แต่โดยทั่วไประดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ สามารถรองรับระดับน้ำทะเลซึ่งสามารถหนุนได้สูงสุด 2.1 เมตรของรทก.

    การสร้างเขื่อนกั้นน้ำในกรุงเทพฯ จึงมักคำนวณให้สร้างที่ระดับความสูงดังกล่าว

    ส่วนกรณีที่มีข่าวกรุงเทพมหานครเฝ้าระมัดระวังระดับน้ำ เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงในวันต่างๆ นั้น เป็นการคาดการณ์จากอิทธิพลของดวงดาว ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า น้ำขึ้น-น้ำลง

    อันเป็นปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล มหาสมุทร หรือแม่น้ำลำคลองที่น้ำทะเลขึ้นถึง ซึ่งเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์

    แต่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าจึงมีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงมากกว่าดวงอาทิตย์

    เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ มาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 15 ค่ำ น้ำจะขึ้นมาก เรียกว่าน้ำเกิด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะมีแรงดึงดูดน้ำบนผิวโลก ทำให้น้ำบริเวณนั้นไหลมารวมกันมาก

    และเนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลางขึ้น แรงนี้จะทำให้น้ำที่อยู่ตรงข้ามแรงดึงดูดเป็นน้ำขึ้นด้วย ส่งผลให้ช่วงวันดังกล่าวเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งมีอิทธิพลต่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

    ถ้าปริมาณน้ำจากทางเหนือไหลผ่านกรุงเทพฯในช่วงดังกล่าวพอดี

    ก็อาจส่งผลให้น้ำล้นท่วมได้


    ที่มาhttp://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03col01141049&day=2006/10/14
     

แชร์หน้านี้

Loading...