งานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์จากการฝึกสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย peerayuth, 1 ตุลาคม 2014.

  1. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    งานวิจัยนี้อาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งที่มาจากแบบสอบถามที่สมาชิกเว็บพลังจิตเคยเข้ามาร่วมให้ข้อมูลเมื่อประมาณสองปีที่แล้วครับ ปัจจุบันได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติจำนวน 2 ฉบับ ผมจึงขอนำมาเผยแพร่เผื่อจะพอเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย (มี PDF file ของบทความนี้แนบไว้ท้ายข้อความครับ)


    งานวิจัยทางสถิติเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐาน
    <O:p</O:p
    โดย ดร.พีรยุทธ เจริญสุขมงคล
    อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)<O:p</O:p
    <O:p


    หลายๆคนที่ศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาพอสมควรมักจะต้องเคยได้ยินได้ฟังในสิ่งที่พระศาสดาเคยสอนเกี่ยวกับการทำสมาธิว่า “การฝึกสมาธินั้นทำให้จิตใจเราสงบ เมื่อจิตใจเราสงบ เราก็จะเกิดปัญญาและสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิต” ประโยคนี้หลายๆคนที่ไม่เคยได้ฝึกสมาธิอาจจะยังเคลือบแคลงสงสัยว่ามันจะเป็นจริงได้อย่างไร ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นที่จะหาข้อพิสูจน์ในทางสถิติเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกสมาธิในแนวการเจริญสติปัฏฐานตามที่ได้กล่าวมา งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ของการฝึกสมาธิที่มีต่อปัจจัยพื้นฐานในทางจิตวิทยาซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การเสริมสร้างศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเอง ตลอดจนการจัดการกับความเครียด ในส่วนที่สองจะเป็นการวิเคราะห์ถึงประโยชน์จากการฝึกสมาธิที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาในองค์กร ความเหนื่อยหน่ายกับงาน และความพอใจของบุคคลากรที่มีต่องานในองค์กร<O:p

    แต่ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับงานวิจัย เราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการฝึกสมาธิเสียก่อน การฝึกสมาธิหรือที่บางคนอาจจะเรียกว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นสิ่งที่พวกเราหลายๆคนคงรู้จักหรือเคยได้ยินมามากต่อมาก แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายคทีเดียวที่ยังไม่เข้าใจถึงแก่นหรือหลักของการฝึกสมาธิที่แท้จริง หลายๆคนเมื่อพูดถึงการทำสมาธิแล้วมักจะหวนระลึกถึงความทรงจำครั้นวัยเด็กสมัยที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่โรงเรียนว่าการทำสมาธินั้นเราต้องนั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธ แท้จริงแล้วการทำสมาธินั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่นั้น ถ้าจะศึกษากันจริงๆตามหลักในพระพุทธศาสนาแล้ว รูปแบบการทำสมาธินั้นมีถึง 40 รูปแบบเลยทีเดียว ซึ่งการทำสมาธิที่หลายๆคนเข้าใจตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้จัดว่าเป็นหนึ่งในหลายวิธีนั้น แต่อย่างไรก็ดีไม่ว่าเราจะทำสมาธิในรูปแบบใด ทุกรูปแบบของการทำสมาธิล้วนแต่ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานแบบเดียวกัน ซึ่งหลักการพื้นฐานนี้ถือว่าเป็นแก่นของการทำสมาธิที่แท้จริงเลยทีเดียว หลักนั้นก็คือ “การมีสติรู้ตัวอยู่ในสภาาวะปัจจุบันที่เรากำลังประสบอยู่” ซึ่งการฝึกสมาธิในแนวนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าการฝึกแนว “การเจริญสติปัฏฐาน” นั่นเอง <O:p

    [​IMG]

    แต่ก่อนที่เราจะมาลงรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า “สติ” เสียก่อน การมีสตินั้นถ้าจะอธิบายแบบพื้นๆก็คือการที่เรารู้เนื้อรู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ณ ขณะปัจจุบัน ซึ่งในทางตรงกันข้าม การขาดสติก็คือการที่เราไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ บางทีกว่าจะมารู้ตัวว่าทำอะไรไปก็หลังจากที่ได้ทำสิ่งนั้นไปแล้ว นี่คือความหมายของการมีสติแบบง่ายๆ การเจริญสติในแง่ของการปฏิบัติสมาธินั้นก็มีความหมายไม่ต่างจากการมีสติแบบพื้นๆดังที่ได้กล่าวมานี้ ซึ่งหลักสำคัญของการเจริญสติแนวนี้ก็คือ“การที่เรามีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรากำลังทำหรือกำลังรู้สึกอยู่ ณ ขณะปัจจุบัน” นั่นเอง<O:p

    การเจริญสติในแนวนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องกระทำในอิริยาบทนั่งขัดสมาธิเท้าขวาทับเท้าซ้ายมือขวาทับมือซ้ายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แท้จริงแล้วการเจริญสติสามารถฝึกได้ในชีวิตประจำวัน โดยเราสามารถทำได้แทบทุกที่ ทุกเวลา และในทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะเป็นยืน เดิน นั่ง นอน หลักสำคัญง่ายๆของการเจริญสติก็คือให้เราคอยตามดูตามรู้อิริยาบทที่เรากำลังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นในเวลาที่เราเดินก็ให้เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับกริยาที่เรากำลังก้าวเดิน ตั้งแต่ยกเท้าขึ้น ก้าวเท้าไปข้างหน้าจนถึงวางเท้าลงสัมผัสพื้น สลับไปมาซ้ายขวา การฝึกสมาธิในรูปแบบการนั่งนั้นก็สามารถที่จะทำในท่านั่งท่าใดก็ได้แม้กระทั่งการนั่งบนเก้าอี้ เมื่อจัดท่านั่งให้สบายแล้วก็ให้คอยสังเกตดูลมหายใจเข้าออกของเราซึ่งสามารถดูได้จากหลายส่วนของร่างกาย บางคนอาจจะคอยดูการกระทบของลมที่ผ่านเข้าออกทางปลายรูจมูก บางคนอาจจะดูการยุบการพองของหน้าท้องตามจังหวะการหายใจเข้าออก การฝึกสมาธิแนวสติปัฏฐานนั้นไม่ว่าจะฝึกในอิริยาบทใดๆก็ตาม หลักการสำคัญก็คือเราจะต้องคอยพยายามประคองจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับอิริยาบทนั้นๆอยู่ตลอดเวลา การที่เราฝึกให้จิตของเราสามารถจดจ่อกับอิริยาบทใดอิริยาบทหนึ่งโดยไม่ฟุ้งซ่านกับสิ่งอื่นนั้นเป็นการฝึกสติของเราให้มีการตื่นตัวและรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ สติที่สามารถถูกประคับประคองให้จดจ่อได้อย่างต่อเนื่องนี่เองคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “สมาธิ” ดังนั้นจะกล่าวได้ว่าการฝึกสมาธินั้นจำเป็นต้องอาศัยพลังของสติเป็นพื้นฐานอย่างมาก หากจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการที่เราจะมีสมาธิได้นั้นจะต้องอาศัยการมีสติเป็นที่ตั้งนั่นเอง ในการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้น ผู้ฝึกจะต้องคอยตามดูตามรู้และพยายามจดจ่ออยู่กับสภาวะต่างๆที่เราสัมผัสและรับรู้ได้ในขณะปัจจุบัน สภาวะที่ว่านี้สามารถแบ่งออกได้เป็น “สภาวะทางกาย” หรือรูปธรรม และ “สภาวะทางใจ”หรือนามธรรม สภาวะทางกายได้แก่สัมผัสต่างๆที่ร่างกายของเราสามารถรับรู้และรู้สึกได้ เช่น ความรู้สึกร้อน หนาว สบายตัว ไม่สบายตัว เจ็บปวดตามร่างกาย เป็นต้น ส่วนสภาวะทางใจนั้นได้แก่อารมณ์ต่างๆที่ใจของเรารู้สึก เช่น รู้สึกสุข ทุกข์กังวล เบื่อ เศร้า เหงา เป็นต้น อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างของการฝึกการรับรู้สภาวะต่างๆก็คือเราจะต้องรับรู้สภาวะต่างๆนั้นด้วยใจที่เป็นกลางไม่ว่าสภาวะนั้นจะเป็นที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม เช่นเวลาที่เรารู้สึกปวดเมื่อยร่างกายในขณะนั่งปฏิบัติ เราก็แค่ให้รู้ไว้เฉยๆว่าตอนนี้ร่างกายของเรากำลังรู้สึกปวด แค่รู้ไว้เฉยๆเท่านั้น เราไม่ต้องไปคิดต่อว่าทำไมมันถึงปวดอย่างนี้ เมื่อไหร่มันจะหายปวดสักที การคิดไปอย่างนั้นเรียกว่าการพยายามเข้าไป“ปรุงแต่งในสิ่งที่เรากำลังเป็น นี่เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติใหม่ๆมักจะต้องเผชิญและเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนท้อถอยเลิกปฏิบัติไปก็มากต่อมาก แต่สำหรับคนที่พยายามอดทนวางใจเป็นกลางในทุกขเวทนาที่กำลังรับรู้โดยไม่ไปคิดปรุงแต่งต่อ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก็จะพบว่าเมื่อเราปล่อยใจไม่ให้ไป “ยึดติด” กับทุกข์ที่มีเหล่านั้นแล้ว ในที่สุดแล้วความรู้สึกเจ็บปวดที่เคยเป็นก็จะหายไปเองอย่างน่าอัศจรรย์<O:p

    [​IMG]

    ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้จากหลักพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับ“ไตรลักษณ์” ซึ่งกล่าวไว้ว่าทุกๆอย่างที่อยู่ในสากลจักรวาลนั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็น “อนิจจัง” ความไม่เที่ยงหรืออนิจจังนี้คือการที่สิ่งต่างๆในโลกทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมไม่สามารถที่จะคงอยู่ยั่งยืนได้ตลอดชั่วฟ้าดินสลาย “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นธรรมดาก็จะต้องดับไปเองเป็นธรรมดานี่คือกฎสากลที่กำกับการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายของทุกสรรพสิ่ง คำว่าทุกสรรพสิ่งในที่นี้เองก็รวมถึงความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับกายและใจของเราไม่ว่าจะเป็นทุกข์หรือสุข ในสากลจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่จะสามารถอยู่คงทนได้ตลอดกาลนานด้วยตัวของมันเองตราบเท่าที่เราไม่ไปแทรกแซงหรือก้าวก่ายมัน ตัวอย่างที่สามารถอธิบายได้ง่ายๆก็คือ ถ้าเรามีเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่สวยงามตัวหนึ่ง หากเราปล่อยทิ้งให้มันตากลมตากฝนไปตามยถากรรมโดยไม่ซ่อมแซมบำรุงรักษาขัดเคลือบมันอย่างสม่ำเสมอแล้ว ในท้ายที่สุดเฟอร์นิเจอร์ไม้นั้นมันก็จะผุพังและหมดสภาพกลายเป็นเศษไม้ ไม่เหลือสภาพเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่สวยงามอย่างที่เคยเป็น ในทางตรงกันข้าม หากเราหมั่นดูแลเฟอร์นิเจอร์ไม้ตัวนั้นอยู่เสมอ มันก็จะคงสภาพของมันต่อไปเรื่อยๆตราบเท่าที่เราจะหยุดดูแลรักษามัน แต่การเข้าไปบำรุงรักษาบางสิ่งไม่ให้เสื่อมสภาพตามกาลเวลานั้นก็เป็นเพียงการชะลอการสูญสลายของมันแค่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการหยุดยั้งการเสื่อมสลายของมันอย่างแท้จริง กฏสากลนี้สามารถอธิบายได้ว่า ทุกๆความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับกายใจของเราทั้งที่เป็นทุกข์และสุขถ้าเราแต่เพียงเฝ้าดูและรับรู้มันด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริงโดยไม่เข้าไปแทรกแซงปรุงแต่งต่อแล้ว ในท้ายที่สุดเราจะรู้ว่าความรู้สึกและอารมณ์เหล่านั้นล้วนไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ได้ตลอดชั่วกาลนาน เมื่อถึงเวลามันก็จะดับไปด้วยตัวของมันเองโดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน ซึ่งการฝึกสมาธิโดยการตามดูตามรู้ความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆด้วยใจที่เป็นกลางนี่เองจึงเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงสัจธรรมในเรื่องนี้ได้อย่างกระจ่างแจ้ง<O:p

    เมื่อได้ทราบถึงหลักของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานมาพอสมควรแล้ว ต่อไปเราจะมาศึกษากันต่อว่าการฝึกสมาธิในแนวนี้จะให้ประโยชน์อะไรกับผู้ฝึกบ้าง ส่วนแรกของงานวิจัยนี้จะมุ่นเน้นไปที่ประโยชน์ของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อปัจจัยด้านพื้นฐานในทางจิตวิทยา อันได้แก่การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนอง และการลดความเครียดในชีวิตประจำวัน<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  2. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    งานวิจัยส่วนที่ 1:ประโยชน์จากการฝึกสมาธิที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความเครียด

    ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า EQ นั้น คือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งยังครอบคลุมถึงความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตัวเองและประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับอารมณ์ในการสร้างประโยชน์ต่อการทำงานและการเข้ากับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นักวิชาการในยุคปัจจุบันเชื่อว่าความฉลาดทางอารมณ์นี้มีความสำคัญกว่าฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient) หรือที่เรารู้จักกันสั้นๆว่า IQ เสียด้วยซ้ำ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นชี้ชัดว่าผู้บริหารระดับสูงที่ประสบความสำเร็จหลายคนนั้นล้วนเป็นผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับสูงด้วยกันทั้งสิ้น สาเหตุหลักข้อแรกนั้นก็เนื่องมาจากว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้เองความสามารถในการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้คนเราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อารมณ์ของคนนั้นจัดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดว่าเราจะเข้ากับผู้อื่นได้ดีหรือไม่ ถ้าถามว่าอารมณ์นั้นมีความสำคัญอย่างไร? ก็ต้องลองถามตัวเองดูก่อนว่าตัวเราอยากอยู่ใกล้กับคนที่อารมณ์บูดบึ้งหงุดหงิดหน้าบุญไม่รับอยู่ตลอดเวลาหรือไม? ปกติแล้วคงไม่มีใครหรอกที่อยากอยู่ใกล้คนประเภทนี้ ในทางจิตวิทยามีทฤษฎีหนึ่งที่มีชื่อว่า “การแพร่ระบาดทางอารมณ์” (Emotion contagion) ซึ่งอธิบายไว้ว่าอารมณ์ของคนสามารถติดต่อกันได้เหมือนการติดโรคระบาด การที่เราอยู่ใกล้ๆกับคนที่อารมณ์เสียอยู่ตลอดเวลา นานๆเข้าก็มีโอกาสที่เราจะพลอยรู้สึกหงุดหงิดเสียอารมณ์ตามคนๆนั้นได้ง่าย ต่อให้พื้นฐานเราจะเป็นคนอารมณ์ดียังไงก็ตาม ถ้าเราอยู่กับพวกอารมณ์บูดเข้าบ่อยๆก็คงต้องถอยหนีเหมือนกัน ในทางตรงกันข้ามถ้าเราอยู่ใกล้ๆกับคนที่อารมณ์ดีร่าเริงและเบิกบานอยู่ตลอดเวลา เราก็มักจะรู้สึกดีด้วยเมื่อได้คลุกคลีอยู่กับคนๆนั้น อารมณ์จึงถือเป็นพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแผ่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่มีอานุภาพดึงดูดและผลักไสคนออกจากชีวิตเราได้อีกด้วย และด้วยเหตุผลนี้เองคนที่สามารถบริหารจัดการและควบคุมอารมณ์ในแง่ลบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในสังคมได้ง่าย คนประเภทนี้มักจะมีแต่คนอยากเข้าหาและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการติดต่อคบค้าสมาคมกับผู้อื่นสูงอีกด้วย<O:p

    [​IMG]

    เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งทำให้ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญกับความสำเร็จของคนนั้นก็สืบเนื่องมาจากอิทธิพลของอารมณ์ที่มีผลต่อกระบวนความคิดของคนเรา สังเกตไหมว่าเวลาที่เราตกอยู่ในอารมณ์ในด้านลบ เช่น โกรธ หดหู่ เศร้าเสียใจหรือเป็นกังวลนั้น ความคิดความอ่านของเราจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพและไม่ลื่นไหลเหมือนตอนที่เราอยู่ในอารมณ์ในด้านบวก ในทางจิตวิทยานั้นอารมณ์และความคิดจัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น คนเราต่อให้ฉลาดสักเท่าไหร่หากไม่สามารถระงับอารมณ์ในด้านลบที่มีอยู่ในใจก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะแสดงออกหรือทำเรื่องโง่ๆออกไปโดยไม่รู้ตัว ดังคำของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ซึ่งท่านเคยกล่าวไว้ว่า “เวลาโกรธขึ้นมาด็อกเตอร์กับ ป.4 ก็โง่พอๆกัน” ซึ่งในจุดนี้เราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่บ่อยๆว่าแค่อารมณ์เพียงชั่ววูบก็สามารถทำให้หลายๆคนสามารถทำร้ายคนอื่น ทำร้ายตัวเอง พูดหรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่างๆออกมาได้ง่ายๆ อารมณ์จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถกำกับความคิดและการกระทำของมนุษย์เราได้อย่างน่ากลัวเลยทีเดียว ในทางกลับกันนั้นคนที่สามารถบริหารจัดการอารมณ์ตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ให้ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ในแง่ลบได้ง่ายนั้นจะมีความคิดความอ่านและกริยาที่สุขุมรอบคอบ คนประเภทนี้มักจะได้เปรียบกว่าผู้ที่คุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ขับขันตึงเครียด ดังนั้นความฉลาดทางอารมณ์จึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้เราฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้เป็นอย่างดี<O:p


    การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานช่วยส่งเสริมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้อย่างไร<O:p

    เมื่อเราได้รู้ถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์แล้ว เราจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความสามารถในด้านนี้ให้เกิดขึ้น การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ก็เนื่องมาจากว่า การที่เราตั้งใจตามดูตามรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่ผุดขึ้นมาในจิตใจของเราขณะที่กำลังปฏิบัติโดยไม่ไปคิดเสริมเติมแต่งต่อนั้นจะทำให้เราเห็นการแสดงตัวของอารมณ์นั้นๆได้อย่างกระจ่างชัดมากขึ้น การฝึกเช่นนี้จะทำให้เรามองออกได้อย่างละเอียดว่าอารมณ์นั้นๆที่ “เกิดขึ้น” ในใจเรามันผุดขึ้นมาได้อย่างไรและเกิดเพราะสาเหตุอะไร การเฝ้าดูการเกิดขึ้นของอารมณ์นี้ยังสามารถช่วยทำให้เราเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอารมณ์นั้นๆได้อีกด้วย เช่นเมื่อความโกรธเกิดขึ้นกับเราและเราพยายามตามดูตามรู้ว่าขณะนี้อารมณ์โกรธของเรากำลังก่อตัวขึ้น เราจะรับรู้ได้ถึงความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นกับใจของเราซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่แทนที่เราจะไปคิดปรุงแต่งต่อเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เราโกรธหรือไปคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องที่เราโกรธนั้น ก็ให้เราตามดูตามรู้อารมณ์โกรธนั้นไปเรื่อยๆด้วยใจที่เป็นกลางโดยไม่ต้องฝืน แต่หากเราไปคิดปรุงแต่งในสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกโกรธขึ้นมาเมื่อไหร่ ความทุกข์นี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อยิ่งไปคิด ใจก็ยิ่งทุกข์ <O:p

    [​IMG]

    ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆก็ให้คิดถึงน้ำในแก้วเซรามิคใบหนึ่งซึ่งอยู่ในอุณหภูมิห้องตามปกติ เราจะสามารถถือแก้วนั้นได้ด้วยมือเปล่าแบบสบายๆ น้ำในแก้วนั้นเปรียบเสมือนกับอารมณ์ของเรา ส่วนมือที่กำลังถือแก้วนั้นก็เปรียบกับจิตของเราที่กำลังไปยึดติดกับอารมณ์นั้น การที่มือเราสามารถถือแก้วน้ำใบนั้นที่อุณหภูมิห้องได้อย่างสบายๆก็เหมือนกับว่า เวลาที่เราอยู่ในอารมณ์ปกติจิตของเราจะสามารถยึดจับอารมณ์ที่ปกตินั้นได้โดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร แต่เมื่อใดก็ตามที่อารมณ์โกรธก่อตัวขึ้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ความโกรธซึ่งมีพลังความร้อนโดยธรรมชาติก็จะทำให้อุณหภูมิของน้ำในแก้วยิ่งสูงมากขึ้น การที่เรายังคงเอาจิตไปยึดติดอยู่กับเรื่องที่ทำให้โกรธนั้นก็เหมือนกับการที่เรายังคงเอามือกำแก้วน้ำร้อนนั้นไว้ ในขณะเดียวกันการที่เราคอยคิดปรุงแต่งกับเรื่องที่เรากำลังโกรธก็เปรียบเสมือนกับการใส่ความร้อนให้กับน้ำในแก้วนั้นอย่างสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้าม การที่เราแค่เฝ้ามองดูความโกรธนั้นด้วยใจที่เป็นกลางก็เปรียบเสมือนกับการที่เราแค่สัมผัสกับแก้วน้ำร้อนนั้นเพียงเบาๆแต่ไม่ได้ไปกำมันไว้แน่น และการที่เราไม่ไปคิดปรุงแต่งต่อในเรื่องที่ทำให้โกรธนั้นก็เปรียบเหมือนการที่เราไม่เพิ่มความร้อนให้กับน้ำในแก้วนั้น ถึงเราจะรู้สึกได้ถึงความร้อนจากแก้ว แต่มันก็ไม่ได้ทำให้เราทรมานเหมือนเอามือไปกำมันแน่น<O:p

    การที่เราคอยดูคอยตามรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไปเรื่อยๆด้วยใจที่เป็นกลางโดยไม่คิดปรุงแต่งต่อนั้น ก็คือการที่ใจเราไม่ไปยึดติดกับมัน เราเป็นแค่คนเฝ้าดูการ “ตั้งอยู่” ของมันไปเรื่อยๆ เมื่อเราตามดูตามรู้อารมณ์ที่เรากำลังรู้สึกอยู่ตามธรรมชาติจนถึงระยะเวลาหนึ่ง เราก็จะพบว่าในท้ายที่สุดแล้วอารมณ์นั้นๆมันก็จะ “ดับไป” ด้วยตัวของมันโดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน เปรียบเสมือนกับแก้วน้ำร้อนที่เราเพียงแค่สัมผัสมันเบาๆและไม่ใส่ความร้อนเข้าไปเพิ่ม เมื่อเวลาผ่านไปอุณหภูมิความร้อนของน้ำในแก้วนั้นก็จะค่อยๆลดลงและกลับมาอยู่ในอุณหภูมิปกติเช่นเคย<O:p

    ดยภาพรวมแล้ว หลักเกี่ยวกับการฝึกดูจิตในลักษณะนี้ล้วนสอดคล้องกับหลักเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งมุ่งเน้นให้เราเข้าใจถึงการเกิดขึ้นของอารมณ์ ว่าเหตุใดอารมณ์แต่ละอย่างจึงเกิดขึ้นในใจเรา และเมื่ออารมณ์นั้นๆเกิดขึ้นแล้วมันจะส่งผลกระทบยังไงต่อตัวเราและคนอื่นบ้าง ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานเป็นประจำจนชำนาญจะสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะพวกเขาจะเข้าใจว่าอารมณ์ในแง่ลบต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงและจะต้องดับไปเองถ้าไม่ไปคิดปรุงแต่งต่อ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ต้องใช้เวลาและความอดทนพอสมควรในการฝึก เพราะการที่จะฝึกจิตให้ปล่อยวางและมีความเป็นกลางกับอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ ประสบการณ์ในการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงระดับของความฉลาดทางอารมณ์ที่บุคคลนั้นๆจะพัฒนาขึ้นได้<O:p></O:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  3. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานกับการรับรู้ความสามารถของตนเอง

    นอกเหนือจากประโยชน์ที่การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานส่งผลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเราแล้ว มันยังส่งผลทางอ้อมกับคนเราในด้านการพัฒนาความมั่นใจในศักยภาพที่ตัวเรามีโดยเฉพาะในด้าน การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) การรับรู้ความสามารถของตนเองนี้คือการที่คนเรามีความเชื่อว่าตัวเรานั้นมีศักยภาพเพียงพอในการที่จะทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลักฐานงานวิจัยเป็นอันมากที่พบว่าศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองนี้มีส่วนสัมพันธ์เชิงบวกกับโอกาสในการประสบความสำเร็จของคนๆนั้นอีกด้วย มีงานวิจัยหนึ่งให้การสนับสนุนว่าการที่คนเราจะพัฒนาศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นกับว่าคนๆนั้นมีความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีเพียงใด ด้วยประการฉะนี้ความฉลาดทางอารมณ์ตามที่ได้กล่าวมาจึงถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินศักยภาพของตัวเอง

    [​IMG]

    โดยปกติแล้วคนทุกคนล้วนมีศักยภาพในการที่จะประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น แต่คนที่ประสบความสำเร็จโดยส่วนมากนั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถว่าตนสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆให้บรรลุจุดประสงค์ที่หวังได้ อย่างไรก็ตามการที่คนเราถูกครอบงำโดยอารมณ์ในด้านลบโดยเฉพาะความกลัวนั้นเป็นสิ่งที่มักจะทำให้เราเกิดความท้อถอยและไม่มั่นใจว่าเราจะสามารถทำในสิ่งต่างๆที่มุ่งหวังได้สำเร็จ ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นว่าอารมณ์กับความคิดล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างเหนียวแน่น ดังนั้นอารมณ์ในด้านลบนี้ก็สามารถส่งผลต่อความคิดที่เป็นลบของคนเราได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีนี้คนที่ปล่อยให้อารมณ์ในแง่ลบของตนครอบงำตนเองอยู่บ่อยๆจะไม่สามารถคิดพิจารณาถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ อารมณ์ขุ่นมัวที่เราไม่สามารถขจัดออกจากใจนั้นสามารถแปรเปลี่ยนเป็นตะกอนทางความคิดที่ฟุ้งกระจายและบดบังการตระหนักรู้ถึงศักยภาพภายในที่ตัวเรามี ดังนั้นจึงเป็นการยากที่คนพวกนี้จะสามารถเกิดความเชื่อมั่นว่าตนสามารถประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆได้

    แต่ในทางตรงกันข้าม เวลาที่เราอยู่ในอารมณ์ด้านบวกหรืออารมณ์ที่สงบนั้น ความคิดความอ่านของเราจะค่อนข้างปลอดโปร่งโล่งสบาย การที่เราจะพิจารณาอะไรก็จะสามารถคิดอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญอารมณ์ด้านบวกที่เรารู้สึกนี้ยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ความคิดของเราในด้านบวกด้วยเช่นกัน ดังนั้นคนที่สามารถบริหารจัดการอารมณ์ตัวเองไม่ให้ถูกครอบงำโดยอารมณ์ที่เป็นลบนั้นจะมีความได้เปรียบกว่าคนที่ผูกติดอยู่กับอารมณ์ขุ่นมัวตลอดเวลา ความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ที่ได้จากการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนี้เองจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานของคนเรา เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราพิจารณามองเห็นศักยภาพในตัวของเราได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งก็จะส่งผลดีในท้ายที่สุดต่อทัศนคติในเชิงบวกตลอดจนโอกาสในการประสบความสำเร็จได้อีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  4. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานกับการจัดการกับความเครียด

    นอกเหนือจากประโยชน์ของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองแล้ว การฝึกสมาธิในแนวนี้ยังมีประโยชน์ต่อการลดทอนความเครียดของคนเราได้อีกด้วย ในสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การแข่งขัน การเอาตัวรอด ตลอดจนสภาวะการณ์ต่างๆที่ไม่แน่นอนนั้น คนส่วนมากมักจะหลีกเลี่ยงกับปัญหาความเครียดในชีวิตประจำวันได้ยาก ความเครียดนั้นไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่ควรจะมองข้าม เพราะสุขภาพจิตที่เสียนั้นสามารถส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสภาวะทางกายโดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพและโรคร้ายต่างๆ เช่นมะเร็ง ความดัน และ โรคหัวใจ ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากความเครียดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    [​IMG]

    มีงานวิจัยให้การสนับสนุนว่าการฝึกสมาธินั้นจัดว่าเป็นวิธีที่สามารถช่วยให้คนเราขจัดความเครียดได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่การที่เราจะเข้าใจได้ว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานจะช่วยให้เราจัดการกับความเครียดได้อย่างไร เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าทำไมคนเราจึงเกิดความเครียด ถ้าจะว่ากันตามหลักทฤษฎีแล้ว ความเครียดนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อเราเผชิญกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เราคิดว่ามันเกินกว่าความสามารถที่ตัวเราจะจัดการกับมันได้โดยง่าย จุดกำเนิดของความเครียดนั้นเริ่มต้นมาจากกระบวนการทางความคิด โดยสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว เมื่อเรารับรู้ ได้ยิน ได้เห็น ประสบพบพาน หรือหวนระลึกถึงอะไรสักอย่าง กระบวนการทางความคิดของคนเราก็จะเริ่มตีความก่อนในเบื้องต้นว่าเรื่องที่เรารับรู้นั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี ถ้าเราตีความว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี สิ่งที่เรียกว่าความเครียดนั้นก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นระดับหนึ่ง จากนั้นกระบวนการทางความคิดของเราก็จะพยายามคิดประมวลต่อว่าเราจะสามารถจัดการหรือแก้ไขกับเรื่องนั้นๆได้หรือไม่ ถ้าเราคิดว่าจัดการได้ เราควรจะแก้ไขอย่างไร ในขั้นตอนนี้หากโชคร้ายที่กระบวนการทางความคิดของเราไม่สามารถหาทางออกให้กับปัญหาที่เรามีได้ มันก็จะพยายามคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องนั้นๆสลับกับการคิดถึงผลกระทบที่เราจะได้รับจากมัน ในกรณีนี้ระดับความเครียดที่เรามีในเบื้องต้นก็จะเริ่มเพิ่มทวีขึ้น และตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าความคิดของคนเรานั้นมีความความสัมพันธ์กับอารมณ์เป็นอย่างมาก ความคิดที่เป็นลบที่เกิดจากความเครียดนี้ก็จะส่งผลให้อารมณ์ในด้านลบก่อตัวและทวีคูณขึ้นเช่นกัน ซึ่งอารมณ์ในด้านลบนี้เองก็จะกลับไปกัดกร่อนกระบวนการทางความคิดที่เป็นบวกซึ่งทำให้ความเครียดยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ในท้ายที่สุดความเครียดที่สะสมจากความคิดและอารมณ์ที่เป็นลบที่ไม่สามารถขจัดออกได้จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า (Depression) หรือนำไปสู่พฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อชีวิตเราในด้านต่างๆต่อไปได้

    [​IMG]

    และเนื่องด้วยอิทธิพลของความคิดตลอดจนผลพวงของอารมณ์ที่ทำให้ความเครียดก่อตัวและทวีความรุนแรงขึ้นนี้เอง การฝึกตามดูความคิดและตามดูอารมณ์ของตัวเองตามหลักของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานจึงมีส่วนสำคัญมากในการที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงกระบวนการดังกล่าวได้กระจ่างมากขึ้น กระบวนการทางความคิดและการเชื่อมโยงของความคิดกับอารมณ์นี้ หลายคนที่ไม่เคยฝึกสมาธิในแนวนี้อาจจะไม่เคยได้รู้หรือไม่ทันได้สังเกตว่ามันเกิดขึ้นเมื่อใดและเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่สำหรับคนที่ฝึกการสังเกตความคิดของตัวเองตามแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นจะรู้ว่า เมื่อมีความคิดใดความคิดหนึ่งก่อตัวขึ้นและเราตามเฝ้าตามดูตามรู้มันด้วยใจที่เป็นกลางอย่างแท้จริงโดยไม่คิดปรุงแต่งต่อแล้ว ก็จะพบว่ากฎของ“อนิจจัง”หรือความไม่เที่ยงนั้นก็ครอบคลุมถึงความคิดของเราด้วยเช่นกันความคิดนั้นแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เราห้ามไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ยากจริงอยู่ ในทางจิตวิทยาเมื่อเราประสบกับเรื่องราวที่เลวร้ายและไม่น่าอภิรมย์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ก็เป็นธรรมดาที่เรื่องราวเหล่านั้นจะถูกประทับอยู่ในความทรงจำระยะยาว (Long-term memory) ของเราได้ง่าย แต่การที่ความคิดนั้นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวของเราไม่ไปไหนนั้นก็สืบเนื่องจากการที่เรายังคงไปคิดปรุงแต่งมันต่อ

    ในพระพุทธศาสนามีคำกล่าวไว้ว่า “ความทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราเกือบทุกคนนั้นล้วนเกิดจากความคิดของเราเองทั้งนั้น” ธรรมชาติของมนุษย์เรานี้ก็แปลก รู้ทั้งรู้ว่าการที่เราคอยหวนคิดถึงเรื่องราวที่ไม่ดีขึ้นมาเมื่อไรใจเราก็ต้องเป็นทุกข์ทุกครั้ง แต่กระนั้นเราก็ยังคงชอบคิดวนเวียนอยู่กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นี้อยู่ไม่รู้จักจบจักสิ้นรู้ทั้งรู้ว่า “เมื่อคิดมันก็เจ็บ ไม่คิดมันก็จบ” แต่เราก็ยังคงเลือกที่จะยึดติดกับความคิดนั้นโดยไม่ยอมปล่อยวาง มือของเราเมื่อสัมผัสกับของร้อนก็เป็นธรรมดาที่เราจะต้องรีบชักมือกลับอย่างไว แต่จิตของเราเมื่อสัมผัสกับความคิดที่ร้อนรุ่ม เรากลับยังคงจับมันไว้ในใจอย่างเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อย หลายคนอาจจะเถียงว่าก็ฉันไม่ได้ตั้งใจและก็ไม่อยากจะคิดหรอก แต่ความคิดมันชอบผุดเข้ามาและวนเวียนในหัวอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้จะต้องอธิบายให้เข้าใจเสียก่อนว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นแท้จริงนั้นไม่ได้ฝึกเพื่อที่จะทำให้เราไม่คิดหรือไม่รู้สึกรู้สาอะไรแต่เป็นการฝึกให้เรารู้และเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงของความคิด และฝึกให้เราเข้าใจถึงการเกิดขึ้นของความทุกข์ที่เกิดจากความคิดนั้นๆ

    ในแวบแรกที่เรารู้ว่าความคิดความกังวลเริ่มก่อตัวขึ้น ให้ลองค่อยๆพิจารณาถึงอารมณ์ตัวเองดูว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ อะไรกำลังเกิดขึ้นกับใจเรา เราอาจจะรู้สึกได้ถึงความร้อนรุ่มหรือความกระวนกระวายที่เกิดขึ้นในใจ จากนั้นให้ลองค่อยๆพิจารณาดูว่าสิ่งที่เราคิดมันกำลังทำให้เรากำลังทุกข์อยู่ใช่ไหม การพิจารณาดังกล่าวนี้ต้องพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางโดยไม่ต้องไปคิดไปตัดสินว่าเราชอบหรือไม่ชอบมัน ค่อยๆตามดูตามรู้ความคิดและอารมณ์ที่ได้ก่อตัวขึ้น ดูถึงการตอบสนองของอารมณ์และความรู้สึก สิ่งนี่เองคือการปล่อยให้จิตทำงานด้วยตัวของมันเองโดยธรรมชาติโดยไม่ไปควบคุมมัน เราเป็นแค่เพียงคนคอยดูคอยรู้มันเท่านั้น เมื่อเราตามดูตามรู้ไปเรื่อยๆโดยไม่เข้าไปคิดแทรกแซงหรือปรุงแต่ง เราจะพบว่าในที่สุดแล้วจิตของเรามันจะค่อยๆคลายและถอนออกจากความคิดและอารมณ์นั้นด้วยตัวของมันเอง

    [​IMG]

    การที่จิตสามารถคลายและถอนจากความคิดและอารมณ์นั้นๆก็เนื่องจากว่าจิตของเราได้สัมผัสถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจแล้ว เหมือนมือของเราที่ได้สัมผัสของร้อนจนต้องรีบชักมือกลับฉันใด จิตเมื่อได้สัมผัสถึงความร้อนในใจที่เกิดจากความคิดในด้านลบ ตัวมันก็อยากจะถอนตัวออกมาฉันนั้น การพยายามฝึกตามดูตามรู้ความคิดด้วยใจที่เป็นกลางจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะปล่อยให้จิตทำหน้าที่ด้วยตัวมันเองได้โดยง่าย เมื่อปราศจากความคิดปรุงแต่งของเราที่เป็นเหมือนดั่งพันธนาการที่คอยเหนี่ยวรั้งจิตไม่ให้ทำงานด้วยตัวมันเองโดยอิสระแล้ว จิตมันก็สามารถที่จะปลดปล่อยตัวเองไม่ให้ไปยึดติดกับทุกข์จากความคิดของเราได้ ความคิดในแง่ลบที่ก่อให้เกิดความเครียดเมื่อปราศจากพลังจากการคิดปรุงแต่งต่อแล้ว มันก็จะหมดสภาพและดับไปเองในท้ายที่สุด

    ดังนั้น การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานจึงสามารถช่วยให้คนเราลดและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับความเครียดได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากความคิดและความเครียดที่เกิดจากทางอารมณ์ ผู้ที่ผ่านการฝึกสมาธิจากการดูจิตมาเป็นเวลานานจนชำนาญแล้วจะพบว่า เมื่อมีความคิดหรืออารมณ์ในด้านลบเข้ามากระทบจิตใจ พวกเขาจะแค่ตามดูตามรู้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในใจของพวกเขาโดยปล่อยให้จิตมันทำงานของมันเองโดยอิสระ เมื่อทุกข์จากความคิดเกิด พวกเขาก็แค่รับรู้ว่าทุกข์นั้นได้เกิดขึ้น จิตของพวกเขาจะเข้าใจได้เองโดยธรรมชาติว่าไม่มีอะไรที่เป็นจีรังยั่งยืนตราบเท่าที่ไม่มีการไปปรุงแต่งต่อ จิตที่เข้าใจในธรรมชาติของความไม่เที่ยงนี้เองจึงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้พวกเขาสามารถปล่อยวางความคิดและอารมณ์ในด้านลบที่ตัวเองประสบพบเจอได้โดยง่าย[/FONT][/FONT][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  5. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    กระบวนการวิจัยและผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติ

    เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงจิตวิทยาตามที่ได้อธิบายมาข้างต้นหรือไม่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลทางสถิติมาเป็นหลักฐานเพื่อสรุปหาข้อเท็จจริง ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้นได้รวบรวมมาจากการสำรวจความคิดเห็นผ่านแบบสอบถามทางอินเตอร์เน็ตซึ่งประกาศผ่านห้องสนทนา (Web board) ของเว็บไซต์เกี่ยวกับพุทธศาสนาต่างๆในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีจำนวนทั้งสิ้น 317 คน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลทุกเพศทุกวัยทุกสายงานอาชีพ ทั้งที่เคยปฏิบัติสมาธิและไม่เคยปฏิบัติสมาธิมาก่อน ซึ่งกลุ่มที่ฝึกสมาธินั้นเป็นการฝึกแนวการเจริญสติปัฏฐานทั้งสิ้น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการฝึกสมาธินั้นคำนวณจากจำนวนเวลาที่ใช้ในการฝึกสมาธิต่อวัน จำนวนวันในการปฏิบัติสมาธิต่อสัปดาห์ และจำนวนปีที่ได้ทำการฝึกสมาธิ สำหรับตัวชี้วัดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความเครียดนั้น ประเมินจากแบบสอบถามที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการสากล




    ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมามากและปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานานนั้นมีความฉลาดทางอารมณ์ในระดับที่สูงกว่าผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมาน้อยหรือไม่ได้ปฏิบัติเลย ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมามากและเป็นระยะเวลานานยังมีระดับความเครียดน้อยกว่าผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมาน้อยหรือไม่ได้ปฏิบัติเลยอีกด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากของผลการวิจัยนี้ก็คือ การปฏิบัติสมาธินั้นไม่มีผลทางตรงกับความสามารถในการรับรู้ความสามารถของตนเอง ผลที่ได้นั้นกลับแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมามากนั้นสามารถพัฒนาศักยภาพในการการรับรู้ความสามารถของตนเองผ่านความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นการส่งผลในทางอ้อม ดังนั้นข้อสรุปเกี่ยวกับผลในทางสถิตินี้ก็คือ การปฏิบัติสมาธิเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถช่วยทำให้คนพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองได้โดยตรง แต่มันคือความฉลาดทางอารมณ์ที่ได้จากการฝึกสมาธินั่นเองที่ส่งผลให้คนพัฒนาความสามารถในด้านนี้ได้ ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ทางสถิตินั้นค่อนข้างที่จะสอดคล้องกับคำหลักสอนเกี่ยวกับการทำสมาธิในหลักพระพุทธศาสนาที่กล่าวไว้ว่า “การฝึกสมาธินั้นช่วยให้จิตใจเราสงบ เมื่อจิตใจเราสงบ เราก็จะสามารถมีปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาในชีวิต” อารมณ์สงบในที่นี้สามารถสะท้อนได้จากความฉลาดทางอารมณ์ที่ได้จากการฝึกสมาธิ และปัญญาที่ใช้ในการแก้ปัญหาในที่นี้ก็สามารถสะท้อนได้จากศักยภาพในการรับรู้ความสามารถของตนเองซึ่งเกิดขึ้นจากอารมณ์ที่สงบนั่นเอง

    [​IMG]


    อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่างานวิจัยในส่วนแรกจะพบว่าการฝึกสมาธินั้นสามารถส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองนี้จะสามารถช่วยให้คนที่ฝึกสมาธิสามารถแก้ปัญหาในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ งานวิจัยส่วนต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์ถึงประเด็นนี้โดยละเอียด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  6. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    งานวิจัยส่วนที่ 2: ประโยชน์จากการฝึกสมาธิที่มีต่อทางเลือกในการจัดการกับปัญหาในการทำงาน

    ในชีวิตการทำงานนั้นหลายๆคนอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการที่ต้องประสบกับปัญหาท้าท้ายที่ผ่านเข้ามาในที่ทำงานไม่เว้นแต่ละวัน ในทางจิตวิทยานั้นกล่าวไว้ว่า เมื่อคนเราประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ เรามักจะมีกลไกในการจัดการกับปัญหาหลักๆอยู่สองทาง ทางแรกคือการมุ่งแก้ปัญหา (Problem-focused coping) ซึ่งคนที่เลือกการใช้การจัดการกับปัญหาวิธีนี้จะเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง โดยจะพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาและหาวิธีทางในการแก้ไขมัน ในทางตรงกันข้าม กลไกในการจัดการกับปัญหาวิธีที่สองก็คือการมุ่งปรับอารมณ์ (Emotion-focused coping) ซึ่งคนที่เลือกใช้กลไกในการจัดการปัญหาวิธีนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงหรือหนีปัญหาโดยไม่คิดหาหนทางแก้ไขมัน ตัวอย่างเช่นการพยายามหากิจกรรมบันเทิงต่างๆมาทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง กิน ดื่ม เที่ยว เพื่อไม่ให้ตัวเองคิดถึงปัญหาที่มีนั้น

    มีผลวิจัยทางจิตวิทยาหลายชิ้นให้การสนับสนุนว่าจริงๆแล้วการเลือกใช้วิธีแบบมุ่งปรับอารมณ์นั้นจะก่อให้เกิดผลเสียต่อคนเรามากกว่าการเลือกวิธีแบบมุ่งแก้ปัญหาสาเหตุหลักๆก็เนื่องมาจากว่าการหลีกเลี่ยงปัญหานั้นไม่สามารถทำให้เราพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ในการที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลี่ยงเผชิญหน้ากับปัญหาแม้ว่าจะทำให้เราไม่ต้องเครียดกับปัญหานั้นๆ แต่มันก็ทำให้เราเลี่ยงได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อต้องพบเจอกับปัญหาที่ผ่านเข้ามาอีกในอนาคต คนพวกนี้จะไม่รู้วิธีการจัดการกับปัญหาได้เลย และในท้ายที่สุดแล้วคนที่คิดแต่จะคอยหลีกหนีปัญหาก็มักจะประสบกับความเครียดสะสมมากกว่าเดิม แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่เลือกมุ่งเน้นการแก้ปัญหานั้นจะสามารถเข้าใจดีได้ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาที่ผ่านเข้ามา การเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหายังช่วยให้คนพวกนี้สามารถจัดการปัญหาที่จะผ่านเข้ามาอีกในอนาคตได้อย่างดีอีกด้วย

    ดังนั้น การเลือกกลไกในการจัดการกับปัญหาในการทำงานที่ดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อตัวบุคคลากรเองและต่อองค์กร งานวิจัยในส่วนนี้มีจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์เพื่อหาข้อพิสูจน์ว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นมีส่วนอธิบายทางเลือกในการแก้ปัญหาทั้งสองวิธีตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังวิเคราะห์ว่าทางเลือกในการจัดการกับปัญหาทั้งสองวิธีนั้นมีผลสืบเนื่องต่อความเหนื่อยล้ากับงานและความพึงพอในงานของคนในองค์กรหรือไม่และอย่างไร ทั้งนี้การเลือกวิธีการจัดการกับปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพสามารถส่งผลกระทบต่อความเหนื่อยล้ากับงานตลอดจนความพึงพอใจของคนในองค์กรที่มีต่องานที่ทำได้ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กรเป็นอย่างมาก ความเหนื่อยล้ากับงานนี้เกิดจากความเครียดสะสมที่พนักงานได้รับจากการทำงาน ซึ่งความเหนื่อยล้ากับงานนี้เองก็ยังสามารถส่งผลเสียต่อความพอใจที่พนักงานมีต่องานในองค์กรอีกด้วย ความพึงพอใจในงานนี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรไม่ใช่น้อย เพราะมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่เพียงแต่จะกระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทให้กับองค์กรได้อย่างเต็มที่ แต่ยังเป็นปัจจัยที่สามารถดึงดูดให้พนักงานทำงานให้กับองค์กรได้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน

    ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเพื่อหาข้อพิสูจน์ทางสถิตินี้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนทำงานทั้งหมด 147 กลุ่มตัวอย่าง ผลทางสถิติที่ได้นับว่ามีความน่าสนใจทีเดียว โดยเฉลี่ยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานมาเป็นระยะเวลานานและมากพอสมควรนั้นเลือกที่จะใช้วิธีการมุ่งแก้ปัญหามากกว่าการมุ่งแก้อารมณ์ แต่ในทางตรงกันข้าม กลุ่มที่ขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติสมาธิหรือยังปฏิบัติไม่มากพอจะเลือกแนวทางการมุ่งแก้อารมณ์มากกว่าการมุ่งแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมยังพบอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสมาธิเลือกใช้วิธีการมุ่งแก้ปัญหานั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการศักยภาพการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ผู้ปฏิบัติสมาธิได้พัฒนาขึ้นดังที่ได้ค้นพบในงานวิจัยชุดแรก ผลวิเคราะห์นี้สามารถสรุปได้ว่า การที่ผู้ปฏิบัติสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานเลือกที่จะใช้การมุ่งแก้ปัญหามากกว่าการมุ่งแก้อารมณ์นั้นก็เนื่องมาจากว่าพวกเขามีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมีศักยภาพเพียงพอในการที่จะแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อมองย้อนกลับไป ความเชื่อมั่นในศักยภาพการแก้ปัญหานี้เองก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากความฉลาดทางอารมณ์ดังที่ได้ค้นพบในงานวิจัยชุดแรก อารมณ์และจิตใจที่สงบของผู้ปฏิบัติสมาธิสามารถทำให้พวกเขามีสติในการพิจารณาไตร่ตรองศักยภาพที่ตัวเองมีได้อย่างถี่ถ้วนโดยไม่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ในด้านลบ สิ่งนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติสมาธิมีความเชื่อมั่นว่าพวกเขาสามารถจัดการกับปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้เป็นอย่างดี เมื่อประสบกับปัญหาในที่ทำงาน คนกลุ่มนี้จึงเลือกที่จะเผชิญกับปัญหาแทนที่จะหนีมัน ซึ่งผิดกับกลุ่มที่ขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติสมาธิที่มักจะเลือกแนวทางในการหนีปัญหามากกว่า

    [​IMG]

    นอกจากนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมยังพบอีกว่าผู้ที่เลือกแนวทางการมุ่งแก้อารมณ์นั้นโดยเฉลี่ยนั้นประสบกับความเหนื่อยล้ากับงานในระดับที่สูงกว่าผู้ที่เลือกแนวทางการมุ่งแก้ปัญหา และความเหนื่อยล้าจากงานนี้เองยังส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้กลุ่มคนที่เลือกแนวทางการมุ่งแก้อารมณ์นี้มีความพอใจในงานในระดับที่ต่ำ ซึ่งตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับกลุ่มที่เลือกแนวทางการมุ่งแก้ปัญหาซึ่งโดยเฉลี่ยนั้นมีความเหนื่อยล้ากับงานในระดับที่ต่ำและมีความพอในในงานในระดับที่สูง โดยสรุป ผลที่ได้ทั้งหมดนี้การสนับสนุนในทางสถิติเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานในด้านของทางเลือกในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนประโยชน์ที่ตามมาในการช่วยลดระดับความเหนื่อยล้ากับงานและเพิ่มระดับความพอใจในงานให้สูงขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  7. peerayuth

    peerayuth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,004
    บทสรุป

    โดยภาพรวมแล้ว ผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่ได้จากงานวิจัยทั้งสองส่วนล้วนให้การสนับสนุนเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐาน ทั้งทางด้านการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ การพัฒนาศักยภาพความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง และการลดความเครียด สำหรับในแง่ของการทำงานแล้ว การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานยังมีส่วนในการช่วยให้บุคลากรในองค์กรเลือกใช้วิธีจัดการกับปัญหาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งผลสืบเนื่องในการช่วยลดความเหนื่อยล้ากับงานและเพิ่มความพึงพอใจในงานอีกด้วย ผลที่ได้เหล่านี้ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของคนเราได้อย่างอัศจรรย์ ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติยังสามารถใช้เป็นข้อพิสูจน์ต่อหลักในพระพุทธศาสนาที่ว่า “การฝึกสมาธินั้นช่วยใหจิตใจเราสงบ เมื่อจิตใจเราสงบ เราก็จะสามารถมีปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาในชีวิต” ได้อย่างลงตัวอีกด้วย

    แต่อย่างไรก็ดี การฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นสำหรับบาคนอาจต้องใช้ระยะเวลาและความอดทนพอสมควรในการฝึก ดังนั้นการฝึกสมาธิจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเราควรฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นว่าการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นสามารถฝึกได้ทุกที่ทุกเวลาในชีวิตประจำวันของคนเรา ตราบใดที่เราหายใจ มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการคิด มีการรับรู้ถึงอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ การคอยตามดูตามรู้การเคลื่อนไหวทางกาย ความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ จึงเป็นสิ่งที่แทบจะทำได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่เราจะให้ความใส่ใจกับมัน และด้วยประโยชน์ของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อการเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลในท้ายที่สุดต่อการป้องกันความเหนื่อยล้ากับงานและสร้างความพึงพอใจกับงานนี้เอง การส่งเสริมให้พนักงานและบุคลากรในองค์กรได้มีการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นอาจถือเป็นนโยบายที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรอย่างยิ่งยวดวิธีหนึ่ง ในประเทศไทยนั้นถือว่ามีศูนย์อบรมการฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานเป็นอันมากทั้งที่จัดโดยศาสนสถานและโดยภาคเอกชน ซึ่งการอบรมส่วนมากนั้นแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายอะไรเลย การจัดให้พนักงานได้มีโอกาสไปฝึกสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานนั้นจึงเป็นสิ่งที่หัวหน้าองค์กรหรือเจ้าของกิจการควรให้ความสำคัญ เพราะท้ายที่สุดแล้วความสำเร็จขององค์กรหรือกิจการก็ล้วนต้องอาศัยบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านความสามารถความคิดและทางอารมณ์ทั้งสิ้น ในท้ายที่สุดนี้หวังว่าผลจากงานวิจัยนี้จะสามารถสร้างแรงบัลดาลใจให้ชาวไทยหันมาให้ความสนใจกับการปฏิบัติสมาธิแนวการเจริญสติปัฏฐานกันมากขึ้น


    หมายเหตุ
    งานวิจัยทั้งสองส่วนนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of Management & Organization และ Journal of Spirituality in Mental Health ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล


    เอกสารอ้างอิง:
    • Charoensukmongkol, P. (2014), Benefits of Mindfulness Meditation on Emotional Intelligence, General Self-Efficacy, and Perceived Stress: Evidence from Thailand, Journal of Spirituality in Mental Health, 16(3), 171-192
    • Charoensukmongkol, P. (2013). The Contributions of Mindfulness Meditation on Burnout, Coping Strategy, and Job Satisfaction: Evidence from Thailand, Journal of Management and Organization. 19(5),544-558
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  8. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    การฝึกสมาธิ

    นอกจากใช้"สติปัฏฐาน ๔ บรรพ"แล้ว

    ก็สามารถใช้"สมถกรรมฐาน ๔๐ กอง"ได้เช่นกัน

    ขอเสนอว่า....

    น่าจะมีผู้ทำวิจัยหัวข้อ
    "ประโยชน์ของการฝึกสมาธิแนวสมถกรรมฐาน ๔๐ กอง"

    อีกสัก ๑ งานวิจัย
     
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    ข้อความที่อ้างอิงมาข้างต้น สมควรแก้ไข
    เพราะ อาจทำให้ผู้อ่านบางท่านเข้าใจผิดว่า
    สติปัฏฐาน กับ สมถกรรมฐาน๔๐(สมาธิ ๔๐ รูปแบบ) เป็นเรื่องเดียวกัน


    ความจริง คือ....

    สติปัฏฐาน กับ สมถกรรมฐาน๔๐ เป็นคนละเรื่องกัน

    เพราะ.....

    มีบางหัวข้อที่เหมือนกัน เช่น อานาปานสติ กายาคตาสติ อสุภะ

    แต่ก็มีหลายหัวข้อ.....
    ที่ในสมถกรรมฐาน๔๐มี แต่ในสติปัฏฐานไม่มี
    เช่น
    - กสิณ ๑๐
    - อนุสสติ เช่น จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสสติ
    - พรหมวิหาร ๔
    - อรูปฌาน ๔


    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2014
  10. freedomis

    freedomis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    2,585
    ค่าพลัง:
    +4,187
    คุณ peerayuth ผมขออนุญาติแชร์ความรู้เป็นธรรมทานได้ไหมครับ
     
  11. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    เป็นบทความที่ดีมากครับ ขออนุโมทนากับวิทยาทานในครั้งนี้ หากจะให้ดียิ่งขึ้น ควรมีสรุปเป็นภาษาชาวบ้าน เป็นข้อ ๆ สั้นๆ เพื่อความสะดวกและง่ายในการรับรู้สำหรับคนทั่วไป ที่อาจไม่คุ้นเคยกับการอ่านบทรายงานการวิจัยยาวๆ นอกจากนั้น อาจต่อยอดการวิจัยสมาธิกับแง่มุมด้านอื่นได้อีก เช่น สมาธิกับการส่งเสริมความคิดเชิงบวก สมาธิกับความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ เป็นต้น เพราะจิตมนุษย์แล่นเร็วไปในทุกเรื่องอยู่แล้ว จิตที่มีพลังสมาธิจึงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ตามธรรมชาติของจิต เพียงแต่ยังขาดงานวิจัยที่ทำตามระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่ที่มีค่าสถิติอ้างอิงเท่านั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการชักชวนคนรุ่นใหม่ให้หันมาฝึกสมาธิกันมากขึ้น และให้เป็นความรู้และข้อมูลแก่คนที่ปฏิบัติอยู่แล้ว
     
  12. moonoiija

    moonoiija เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2014
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +198
    ขอบคุณค่ะ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำแนะนำนะขอรับ อย่าคิดเป็นอย่างอื่น

    การวิจัยในทางด้านศาสนา ไม่ใช่เรื่องง่ายขอรับ ไม่ใช่เที่ยวถามเขาแล้วจะได้คำตอบที่แท้จริง การวิจัยทางศาสนาต้องอาศัยการสังเกต อาศัยประสาทสัมผัส อาศัยความรู้ ความเข้าใจที่เป็นไปตามหลักความจริง หลักธรรมชาติ (ย่อมหมายรวมถึงหลักวิทยาศาสตร์ และอื่นๆที่เป็นหลักความจริงสามารถพิสูจน์ได้)

    สมาธิ ใน มนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ย่อมมีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ตามธรรมชาติ(ย่อมหมายรวมถึง กรรมพันธุ์)
    ประโยชน์ของ สมาธิ นั้น ต้องดูจากตัวเองเป้นหลัก และสังเกตในบุคคลที่ควรสังเกต ไม่ใช่ไปเที่ยวถามเขาแล้วจะได้คำตอบที่ถูกต้อง เหตุเพราะ ความคิด ความเข้าใจ ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน คนทุกคนมีสมาธิเหมือนกัน แต่แตกต่างจากกันตรง สมาธิดี หรือ สมาธิสั้น หรือ สมาธิหนักแน่น หรือสมาธิปานกลาง
    ประโยชน์ของสมาธิ นั้น มีมากมายหลายประการ โดยรวมแล้ว สมาธิมีประโยชน์ ในการดำเนินชีวิต ดำรงชีวิต การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งในทางที่ดีและในทางที่ไม่ดี ทั้งในทางที่ก่อให้เกิดสุข หรือเกิดทุกข์ ในแง่ของปุถุชน คนทั่วไป
    สมาธิมีประโยชน์ สำหรับ พระอริยบุคคลตั้งแต่ ชั้น พระโสดาบันเป็นต้นไป เพื่อใช้ในการทำให้เกิดสติ สามารถขจัดอาสวะ และอื่นๆได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2014
  14. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    คุณ นะมัตถุ โพธิยา

    คุณยังไม่เข้าใจหลักสติปัฏฐานอย่างแท้จริง จึงกล่าวเช่นนี้ แท้จริงแล้วการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานนั้นก็คือ “การมีสติรู้ตัวอยู่ในสภาาวะปัจจุบันที่เรากำลังประสบอยู่” ไม่ว่าจะใช้อารมณ์กรรมฐานใดๆ ก็ได้ ทั้ง 40 แบบนั่นแหละ ซึ่ง จขกท. เขาได้เขียนไว้ชัดแล้วว่า
    "การมีสติรู้ตัวอยู่ในสภาาวะปัจจุบันที่เรากำลังประสบอยู่”

    ยกตัวอย่างเช่น อรูปฌาน จริงๆ แล้ว ก็มีอยู่ในสติปัฏฐาน 4 เหมือนกัน คือ อยู่ในหัวข้อทึ่ว่า จิตเป็นมหัคตะก็ให้รู้ชัด

    แม้ว่าจะทำกรรมฐาน 40 กอง แต่ขาด "การมีสติรู้สิ่งต่างๆที่กำลังประสบอยู่" ก็ไม่เรียกว่า ดำเนินสติปัฏฐาน เลย ฤาษีชีไพร เขาก็ทำกรรมฐานบางอย่างใน 40 มาก่อนเช่น กสิน แต่เขาไม่บรรลุ เพราะ เป็นเพียงสมถะ ไม่ได้ต่อยอดไป เป็นสติปัฏฐานที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา จึงไม่บรรลุ
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,275
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    MeditationB4.jpg
    10 ประโยชน์จากการทำสมาธิ ..เปลี่ยนคุณภาพชีวิตคุณให้ดีขึ้นทันตา

    หลายคนมักบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘โลกอยู่ยากขึ้นทุกวัน’ แต่แท้จริงแล้ว โลกเราไม่ได้อยู่ยากเลยค่ะ

    เพียงแต่เราเองต่างหากที่ทำตัวเรื่องมากกับโลก เพราะฉะนั้น หากต้องการใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ท่ามกลางความผาสุข


    คุณรู้ไหมคะว่าการทำสมาธินั้นช่วยได้มากทีเดียว ว่าแล้วก็อย่ารอช้า เรามาทำสมาธิกันบ่อยๆ ดีกว่าโดยทำง่ายดายมากเพียงแค่กำหนดลมหายใจเข้าออกหรือที่เรียกว่า ‘อานาปานสติ’ นั่นเอง


    สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการทำสมาธินั้นมีหลายอย่างทีเดียว ว่าแต่มีอะไรบ้าง ตามเรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ
    1.ช่วยให้จิตใจผ่องใส อ่อนโยน
    การทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจเรานิ่งสงบ ท่ามกลางจิตที่กำหนดภายใต้ลมหายใจเข้าออก เราจะรู้ตัวตลอดเวลา สามารถตามทันทุกอารมณ์ ยิ่งเรากำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ลึกๆ ด้วยแล้ว มันจะยิ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจเราในตัว ทำให้เราเป็นคนสุขุมนุ่มลึก ใจเย็น อ่อนโยนและมองโลกรอบตัวในแง่ดีงามมากขึ้น อารมณ์ก็จะแจ่มใส และยังส่งผลให้สุขภาพดีตามมาอีกด้วย

    2.ช่วยผ่อนคลายความเครียด
    การทำสมาธิเมื่อจิตใจเรานิ่งมากๆ ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจแล้ว สารแห่งความสุขจะหลั่งไหลออกมาจนแผ่ซ่านความเย็นไปทั่วสรรพางค์กายอย่างน่าอัศจรรย์ใจทีเดียวค่ะ ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อย่างปลิดทิ้งทันตาและยังทำให้เรามีจิตใจสงบเยือกเย็น และมีความสุขอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนแน่นอน

    3.ลดอารมณ์โกรธหรือโมโหร้ายได้
    การหมั่นฝึกสมาธิบ่อยๆ จะทำให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองได้ดี เพราะจิตเราจะอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา เราจะรู้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกสิ่งที่คิด พูดและทำจะมาพร้อมสติอยู่เสมอ เมื่อไรที่เราเริ่มโกรธใครหรือกำลังโมโหร้ายหงุดหงิด เชื่อไหมว่าจิตเบื้องลึกที่ผ่านการทำสมาธิมาแล้วอย่างดีจะสอนเตือนตัวมันเอง ทำให้เราดึงอารมณ์ให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ อยู่กับลมหายใจ และหากเราทำได้เช่นนี้บ่อยๆ ก็ย่อมเปลี่ยนจากคนที่มักมีอารมณ์ร้าย เกรี้ยวกราดง่ายมาเป็นคนที่ใจเย็นลงได้มากขึ้นแนนอน

    ดังนั้น ประโยชน์จากการทำสมาธินี่แหละค่ะที่จะช่วยระงับความโกรธแค้นชิงชัง ทำให้จิตใจเรานึกไปถึงการเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสามารถอโหสิกรรมให้เพื่อนมนุษย์ที่ทำให้เราโกรธเคืองลงได้ เพราะฉะนั้น ทราบกันเช่นนี้แล้ว จะต้องหมั่นฝึกสมาธิบ่อยๆ กันแล้วนะคะ

    4.ช่วยให้ความจำดีและสมองทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    สำหรับนักเรียน นักศึกษาหรือแม้แต่คนวัยทำงานที่จะต้องใช้สมองในการคิด วางแผนและใช้ไอเดียมากๆ นั้น การหมั่นทำสมาธิบ่อยๆ ย่อมช่วยเสริมสร้างทั้งความจำดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดสมาธิ ทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เพราะจิตที่ผ่านการฝึกมาจนเกิดสมาธิจะทำให้ความคิดของเราที่คิดและทำ กลั่นออกมาจากลมหายใจอันประณีต สติจะสอนสั่งให้เราดำเนินชีวิตอย่างละเมียดละไมมากขึ้น ดังนั้นแล้ว หากใครอยากให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นทุกด้าน ให้การทำงานของศักยภาพสมองเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ฝึกสมาธิบ่อยๆ สิคะ ..ช่วยได้แน่นอน

    5.ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์ ผ่องใส ดูเด็กกว่าวัย
    เวลาที่เราฝึกสมาธิ เราจะต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยสูดหายใจเข้าไปให้เต็มท้องลึกๆ ช้าๆ และปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ เมื่อทำแบบนี้สม่ำเสมอ ก็ย่อมช่วยให้ออกซิเจนเข้ามาฟอกเลือดภายในร่างกายได้ เป็นการดีท็อกซ์สารพิษในตัว ส่งผลให้สมองไบรท์ คิดอะไรก็ลื่นไหลและสารแห่งความสุขที่หลั่งออกมาก็ทำให้เรามีความสุข บำบัดทุกข์ ผ่อนคลายความเครียดได้ผล แน่นอนค่ะว่านี่คือ ยาอายุวัฒนะของจริงแถมยังส่งผลให้ผิวพรรณสะอาด ผ่องใส เลือดลมไหลเวียนดี ผิวเต่งตึงจนอ่อนเยาว์กว่าวัยในที่สุด

    6.ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่าผ่าเผย
    คนที่ทำสมาธิบ่อยๆ บุคลิกภาพย่อมดีแน่นอน เพราะสมาธินั้นจะทำให้เขามีสติกับตัวอยู่ตลอดเวลา และด้วยความที่สมาธิทำให้เราใจเย็นและรอบคอบมากขึ้น บุคลิกท่าทางของเราที่แสดงออกผ่านการคิด พูดและทำ รวมถึงอากัปกิริยาต่างๆ ที่เราแสดงออกมันจะมาพร้อมท่วงจังหวะที่อ่อนโยน สง่า ไม่รีบร้อนหรือแสดงท่าทีแบบคนหุนหันพลันแล่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคนที่มีปัญญาและน่าคบหา คนแบบนี้ไปที่ไหนก็ย่อมมีแต่คนอยากพูดคุยด้วยและอยากสร้างสัมพันธไมตรีด้วยแน่นอน

    7.สุขภาพดี บำบัดโรคได้
    คนที่ฝึกสมาธิบ่อยๆ จะช่วยบำบัดโรคและสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงอายุยืนยาวได้ค่ะ เพราะสมาธิจะช่วยบำบัดความเครียดส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลง แถมสารแห่งความสุขยังมีประสิทธิภาพเป็นดั่งยาวิเศษที่จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของร่างกายได้ด้วยนะคะ ดังนั้น หากใครอยากมีสุขภาพดี อายุยืนแนะนำให้หันมาทำสมาธิบ่อยๆ ควบคู่กับการกินอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอยู่เสมอ รับรองคุณจะมีสุขภาพชีวิตที่ดีและมีอายุยืนยาวแน่นอน

    8.ช่วยลดน้ำหนักได้
    เพราะจิตใจที่นิ่งเงียบ มาพร้อมสมาธิรู้ทุกลมหายใจเข้าออก จะควบคุมความคิดเราให้อยู่กับปัจจุบันและอยากทำแต่สิ่งดีๆ ให้ตัวเอง เราจะมีความสุข เบาสบายตัวแทบตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ อาการแบบนี้มันจะทำให้เราอิ่มเอิบ มีความสุขอย่างปีติเหลือล้นอยู่ภายใน แม้แต่การกินอาหารก็ทำให้เราเลือกสรรแต่อาหารเพื่อสุขภาพ เคี้ยวอย่างช้าๆ มีสติไปกับการเคี้ยวทุกคำ และเพราะความอิ่มจากจิตที่มีอยู่แล้วนั้นเองจะยิ่งช่วยให้เรากินอาหารได้น้อยลงแต่อิ่มท้องเร็วขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้การลดน้ำหนักพลอยประสบผลสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อนั่นเองค่ะ

    9.ทำให้มีความสุข
    หลายคนปรารถนาอยากมีความสุขและวิ่งตามออกไปหาความสุขนอกบ้าน ในรูปแบบที่ไม่ใช่แก่นสารสำคัญของชีวิตแท้จริง หรือบางคนกลับเข้ามาบ้านอาจจะนำปัญหาหรือความทุกข์กลับเข้ามามากขึ้นด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น สู้หันมาทำสมาธิฝึกทำใจให้นิ่งสงบบ่อยๆ ดีกว่ามั้ยคะ เพราะคุณจะพบว่าการทำสมาธินี่แหละที่จะมอบหนทางแห่งความสุขให้เราได้อย่างแท้จริง จิตใจเราจะแช่มชื่นเบิกบาน อารมณ์ดีสดใส ยิ่งฝึกสมาธิมากใจเราก็จะยิ่งผ่อนคลาย สุขสงบมากและมันย่อมทำให้เราพึงพอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่ โดยไม่ต้องดิ้นรนออกไปไขว่คว้าหาความสุขนอกบ้านอีกเลย

    10.ทำให้เราได้บุญ
    นี่คือ ประโยชน์จากการทำสมาธิโดยตรงอีกอย่างหนึ่งค่ะ เพราะเวลาที่เราทำสมาธิหลายคนมักจะเตรียมตัวเริ่มทำด้วยการสวดมนต์เพื่อกล่อมใจให้สงบ จากนั้นก็มานั่งสมาธิ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ หลายคนที่ทำแบบนี้ก็จะยิ่งได้บุญมาก หรืออย่างน้อยหากเราไม่สะดวกที่จะสวดมนต์ก่อนแต่ทำสมาธิเลยเพื่อหยุดความฟุ้งซ่าน หยุดใจให้สงบนิ่ง แบบนี้อยู่ที่ไหนก็ทำได้ค่ะ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นที่บ้านเท่านั้น นั่งอยู่บนรถ เดินทาง กินข้าว ไปเรียน นั่งทำงาน ฯลฯ ก็สามารถกำหนดจิตให้อยู่กับลมหายใจได้เสมอ

    ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ใจที่ปล่อยวางเป็นสุข เมื่อใจเราเป็นสุขเราจะไม่ปรารถนาซึ่งสิ่งใดบนโลกนี้อีกทั้งปวง แม้แต่การโกรธเราก็สามารถระงับได้ กลายเป็นการให้อภัยทานแก่เจ้ากรรมนายเวรและคนที่เราไม่ชอบใจ เราจะได้หลุดพ้นจากบ่วงของกิเลสยังไงล่ะคะ ใครที่อยากสร้างสมบุญ.. คุณจะเห็นได้ว่า เราไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปทำบุญที่วัดเสมอไปก็ได้ เพราะเพียงแค่ทำสมาธิให้จิตใจสงบนิ่งเยือกเย็นจากที่บ้าน ง่ายๆ แค่นี้ก็ถือเป็นการสะสมบุญในตัวอย่างที่คุณไม่คาดคิดแล้ว

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับโยชน์จากการทำสมาธิ ใครที่ไม่รู้ว่าทำไมคนเราจะต้องทำสมาธิ ทำแล้วมีผลดียังไง? ช่วยอะไรได้บ้าง หวังว่าคำตอบจากเราดังกล่าวจะเป็นคำตอบที่ดีให้คุณได้และทำให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขบนโลกนี้อย่างราบรื่นต่อไป
    ขอบพระคุณที่มา :- https://www.organicbook.com/mind/10-ประโยชน์จากการทำสมาธิ/
     

แชร์หน้านี้

Loading...