งานเปิดตัวพระไตรปิฎก BUDSIR VI for Windows - มหามกุฏฯ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 12 ธันวาคม 2007.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE style="WIDTH: 100%" cellSpacing=1 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    วันที่ 8 ธันวาคม 2550 เวลา 13.30 น. พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวผลงาน BUDSIR VI for Windows ณ ห้องบรรยายศาสตราจารย์ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้พัฒนาผลงานพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2531และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จในชื่อ “พระไตรปิฎกประมวลคัมภีร์และแหล่งค้นพุทธศาสน์ ฉบับคอมพิวเตอร์ : BUDSIR VI for Windows หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Computerization of Pali Canon and Buddhist Reference Suite" และมหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดงานเปิดตัวและถวายผลงานแด่พระสงฆ์ สถาบันสงฆ์ โรงเรียน ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาและสืบต่อพระพุทธศาสนา


    [​IMG]

    มหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มจัดทำ BUDSIR for Windows ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2530 สำเร็จเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อว่า “BUDSIR” โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่ได้รับอาราธนาเป็นที่ปรึกษาโครงการและตั้งชื่อว่า “พระไตรปิฎก ฉบับคอมพิวเตอร์” โครงการนี้ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโนกาสรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

    ตั้งแต่วันนั้นมา มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้พัฒนาโครงการนี้มาตามลำดับ จนกระทั่ง ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มี “พระไตรปิฎกประมวลคัมภีร์และแหล่งค้นพุทธศาสน์ ฉบับคอมพิวเตอร์ : BUDSIR VI for Windows หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Computerization of Pali Canon and Buddhist Reference Suite นับว่าเป็นคุณานุประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2534 ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอาชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล

    แต่เดิมนั้นหลักธรรมของพระพุทธศาสนาถูกถ่ายทอดด้วยภาษาบาลี และจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรสู่ใบลาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่สี่ ในประเทศลังกา หลังจากนั้นเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้น ก็มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นหนังสือ และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ

    [​IMG]

    ปัจจุบัน พระไตรปิฎกบาลีของเถรวาท ได้รับการแปลเป็นภาษาบาลีอักษรโรมัน และเป็นภาษาอังกฤษ เป็นผลให้ชาวต่างชาติได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจากคัมภีร์ต้นเดิม ทำให้มีชาวต่างชาติจากนานาประเทศ หันมาสนใจพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

    ต่อมา เมื่อเทคโนโลยีเจริญยิ่งขึ้น และประกอบกับความยากลำบากในการศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกมีมาก ประชาชนผู้สนใจ ยากที่จะศึกษาได้ เพราะส่วนใหญ่ พระไตรปิฎก จะเก็บไว้ตามวัดวาอาราม และมักจะล็อกกุญแจ นอกจากนั้นยังมีราคาที่แพงเกินไป และมีจำนวนมากถึง 45 เล่ม (เฉพาะในฉบับภาษาไทยบางฉบับ) ผู้สนใจค้นคว้าก็ประสบกับอุปสรรค ทำให้มีผู้คิดค้นที่จะถ่ายทอดพระไตรปิฎก ทั้งภาษาบาลี และฉบับแปลไทย ลงสู่ CD-ROM สำหรับใช้เปิดจากคอมพิวเตอร์ และมีระบบสืบค้นข้อมูล ทำให้ง่ายต่อการค้นคว้า นอกจากนั้น ราคายังไม่แพงจนเกินไป และง่ายต่อการเก็บรักษา แม้จะมองจากสายตาของบางท่าน อาจจะเห็นว่า ขาดความขลังลงไป (พุทธศาสนิกชนบางท่านถือว่า พระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุด มีความน่าเชื่อถือมากกว่า และมีความรู้สึกในทางเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย) แต่ก็เกิดประโยชน์มาก สำหรับพุทธศาสนิกชน หรือผู้สนใจในพระพุทธศาสนา ต้องการที่จะศึกษาพระไตรปิฎก โดยที่ไม่ต้องเสียพื้นที่ในการเก็บรักษา ง่ายต่อการค้นคว้ายิ่งขึ้น
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]
    พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

    ปัจจุบันพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ หรือฉบับ CD-ROM ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เท่าที่ทราบ ก็มีอยู่ 5 ฉบับ 4 ฉบับ เป็นของประเทศไทยจัดทำ อีกหนึ่งฉบับเป็นของต่างประเทศ คือ

    1. CD-ROM พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับ 7 ภาษา ซึ่งจัดทำโดยสถาบันวิปัสนานานาชาติของท่านโคเอนก้า ในแผ่นประกอบด้วย พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับอักษรเทวนาครี เขมร พม่า สิงหล ไทย มองโกเลีย โรมัน ซึ่งผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ http://www.vri.dhamma.org

    2. พระไตรปิฎกฉบับ CD-ROM BUDSIR เป็นพระไตรปิฎก ฉบับคอมพิวเตอร์ รุ่นแรกๆ ของเมืองไทย และเป็นฉบับที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จัดทำโดย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

    พระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ BUDSIR รุ่นแรก ได้จัดทำขึ้นเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 30 พฤษาภาคม 2531 โดยใช้เวลาประมาณ 7 เดือน บรรจุพระไตรปิฎก จำนวน 45 เล่ม มีปริมาณข้อมูลมากถึง 25 ล้านตัวอักษร ซึ่งทำให้สามารถสืบค้น พระไตรปิฎกได้ทุกบท ทุกตอน ทุกพุทธพจน์ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ในทุกแห่งที่มีปรากฏ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นนี้มีชื่อว่า BUDSIR มาจากคำว่า Buddhist Scriptures Information Retriecal

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ต่อมา BUDSIR ได้ถูกพัฒนาเป็น BUDSIR II เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกอักษรโรมัน สำหรับการเผยแพร่ไปยังต่างประเทศ จากนั้น BUDSIR III ได้ถูกพัฒนาต่อไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 สำหรับงานสืบค้นที่มีความซับซ้อน ซึ่งประยุกต์หลักการทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า Boolean Algebra เข้ามาใช้ในงานประมวลผลภาษาสืบค้น

    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระราชดำริ ให้จัดตั้งโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา BUDSIR IV จึงได้ถูกพัฒนาในช่วงเดือนพฤศจิกายน วันที่ 22 กรกฏาคม ได้จัดทำข้อมูลพระไตรปิฎกและอรรถกถา บันทึกลงแผ่น CD เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2549 เป็นการใช้บนระบบปฏิบัติการ Windows เรียกว่า BUDSIR IV For Windows ซึ่งใช้งานง่าย และสะดวกกว่าระบบดั้งเดิมซึ่งใช้บน DOS

    หลังจากนั้น เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เจริญขึ้น สามารถปริวรรตตัวอักษร ให้เป็นตัวอักษรแบบต่างๆที่มีใช้ทั่วโลก ทางโครงการ จึงได้จัดทำพระไตรปิฏกภาษาบาลี ฉบับปริวรรต 9 อักษร คืออักษรเทวนาครี โรมัน สิงหล พม่า เขมร ล้านนา มอญ ลาว และเวียดนาม โดยใช้ต้นฉบับภาษาบาลีอักษรไทยเดิม โดยสร้าง โปรแกรม อินเตอร์เฟซ ให้สามารถแสดงข้อมูลในหลายอักษรของแต่ละภาษาได้ และยังสามารถเทียบเคียงภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ และฉบับบาลีอักษรโรมันได้อีกด้วย
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2541 ทางโครงการได้พัฒนาระบบให้เหมาะสมกับประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เชียวชาญด้านภาษาบาลี แต่ปรารถนาจะศึกษาพระไตรปิฏก โดยการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ชุดภาษาไทย พร้อมกับระบบสืบค้น ภายใต้ชื่อว่า BUDSIR/TT (Buddhist Scriptures Information Retriecal For Tahi Translation)

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    การพัฒนา BUDSIR/TT ในยุคต่อมา ได้มีการรวมเอาข้อมูลพระไตรปิฎก และอรรถกถา โดยใช้พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง 45 เล่ม ที่แปลแล้วมาบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ และสร้างกลไกการสืบค้น (Search Engine) สำหรับภาษาไทย สามารถสืบค้นคำศัพท์ ชื่อคน สถานที่ ประโยค หรือข้อความบางส่วน ในพระไตรปิฎกภาษาไทยทั้ง 45 เล่มได้ นอกจากนั้น ยังสามารถแสดงผลเทียบเคียงข้อความในฉบับแปลภาษาไทย กับฉบับภาษาบาลีอักษรไทยได้อีกด้วย และยังสามารถแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย มาเป็นชุดภาษาบาลีอักษรโรมันได้อย่างสมบูรณ์

    ในปี พ.ศ. 2543 โครงการพัฒนา ฯ ได้พัฒนาระบบของโปรแกรม BUDSIR ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ในชื่อว่า BUDSIR /TT V.2 โดยการนำเอาระบบคณิตศาสตร์ประยุต คือ Boolean Operators ซึ่งเคยใช้มาแล้วครั้งหนึ่ง ในรุ่นที่ใช้บน ระบบ Dos และได้ทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยสามารถค้นหาคำในพระไตรปิฎก ภาษาบาลี อักษรไทย และฉบับแปลภาษาไทย และฉบับอรรถกถาภาษาบาลี โดยใช้ระบบค้นหา โดยกำหนดเงื่อนไข คือ AND, OR, NOT เช่น การค้นหาคำว่าโกณทัญญะ ให้มีคำว่า ดวงตาเห็นธรรม อยู่ในหน้า หรือเล่มเดียวกัน ให้ค้นโดยกำหนดเงื่อนไข ว่า โกณทัญญะ AND ดวงตาเห็นธรรม

    <TABLE style="WIDTH: 100%" cellSpacing=1 cellPadding=1 border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    การค้นหาเฉพาะคำใดคำหนึ่ง ในสองคำ เช่น หาคำว่า โลกุตตระ หรือโลกิยะ คำใดคำหนึ่ง ให้ค้นโดยกำหนดเงื่อนไข ว่า โลกุตตระ OR โลกิยะ

    การค้นหาโดยกำหนดให้มีคำศัพท์แรก แต่ไม่มีคำศัพท์หลัง เช่นจะค้นคำว่า "อาพาธ" โดยไม่มี "พระภิกษุ" ให้ใช้คำสั่งค้น ว่า อาพาธ NOT ภิกษุ

    นอกจากนั้น ยังเพิ่มเติมเกี่ยวกับพจนานุกรมภาษาบาลี ไทย และ ภาพชุดพระพุทธประวัติ ภาพพุทธสังเวชนียสถาน เวสสันดรชาดก ภาพชุดพุทธชัยมงคลคาถา โดยมีคำอธิบายแต่ละภาพโดยย่อ และยังสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาในภาพ ที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎกได้อีกด้วย ผู้สนใจสามารถดุรายละเอียดเกี่ยวกับพระไตรปิฎก CD-ROM BUDSIR นี้ ได้ที่
    http://www.mahidol.ac.th/budsir/budsir-main.html

    3. พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน เป็นพระไตรปิฎกฉบับ CD-ROM อีกฉบับหนึ่ง และเป็นรุ่นใหม่ เพิ่งออกมาได้ไม่นามานี่เอง โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมแรงร่วมใจจัดทำขึ้น โดยตัวโปรแกรม มีลักษณะใช้งานง่าย ประกอบด้วยคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาไทย อรรถกถาฉบับภาษาไทย คัมภีร์มิลินทปัญหา คัมภีร์วิสุทธิมรรค และหนังสืออื่นๆ เช่นพุทธธรรม และบทสวดมนต์พิธี นอกจากนั้นยังมีระบบการสืบค้นข้อมูล คำจากพระไตรปิฎก และอรรถกถาภาษาไทยอีกด้วย

    ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.dhammatan.org/
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514

    [​IMG]

    4. พระไตรปิฎกฉบับสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพระไตรปิฎก CD-ROM อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์/ ประมวลธรรม โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ซึ่งทางสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดทำขึ้น โดยได้รับความร่วมมือด้วยใจศรัทธาจากโปรแกรมเมอร์หลายท่าน (เนื่องจากไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับพระไตรปิฎก CD-ROM ฉบับนี้มากนัก จึงไม่ทราบรายละเอียดของคณะผู้จัดทำ) พระไตรปิฎกฉบับนี้ สามารถสืบค้นข้อมูล ข้อความจากทั้งฉบับภาษาบาลี และฉบับภาษาไทย ได้เช่นเดียวกับฉบับอื่นๆ ผู้สนใจลองติดต่อสอบถามที่สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยดู ซึ่งผมเองก้ไม่ทราบว่าขณะนี้ยังมีอยู่หรือไม่

    5. พระไตรปิฎก ฉบับเรียนพระไตรปิฎก (Learn tipitaka) เป็นพระไตรปิฎก CD-ROM ที่อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นรุ่นล่าสุด โดยมีนักปราชญ์หลายท่าน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งบางส่วนมาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น พระไตรปิฎกที่มีเนื้อหามากมาย โดยรวมพระไตรปิฎก ฉบับต่างๆในประเทศไทย เช่น พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับ สยามรัฐ, อรรถกถาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฐ, พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย นอกจากนั้นยังมีหลักสูตรการศึกษา นักธรรม, บาลี, ตั้งแต่นักธรรมตรี ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค แถมด้วยหนังสือทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ เช่น พุทธธรรม, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ของท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ...

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    การสืบค้นข้อมูลของพระไตรปิฎก CD-ROM ฉบับเรียนพระไตรปิฎกนี้ สามารถสืบค้นข้อความ ได้จากหนังสือทุกเล่ม ที่มีในข้อมูล แม้แต่ที่ไม่ใช่ตัวพระไตรปิฎกเอง โดยสามารถกำหนดการค้นหาคำ หรือข้อความเพียงคำเดียว สองคำ ในหน้า เดียวกัน หรือหาเฉพาะคำใดคำหนึ่งในสองคำนั้น ซึ่งนับว่าเป็นพระไตรปิฎก CD-ROM ที่มีความสามารถสูง และเป็น ประโยชน์มาก แต่ตอนนี้ยังเป็นรุ่นทดสอบ อยู่ในเวอร์ชั่น 2.1

    ที่สำคัญ ยังมีระบบเกมส์ถามตอบปัญาธรรมะ เพื่อลับสมอง พัฒนาความรู้ด้านพระพุทธศาสนาอีกด้วย โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ตามภูมิความรู้ผู้ใช้ เช่น ระดับ 1 เป็นระดับบุคคลทั่วไป ระดับ 2-3 เป็นระดับสำหรับผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาดี ระดับ 4-5 เป็นระดับของผุ้ศึกษาพระพุทธศาสนา ในชั้นมหาเปรียญ เพราะเป็นคำถาม คำตอบเกี่ยวกับภาษาบาลี ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียด ได้ที่ http://www.learntripitaka.com/

    พระไตรปิฎก เป็นที่สถิตแห่งพระธรรมวินัย และเพื่อส่งเสริมการศึกษาพระไตรปิฎก จึงมีพุทธศาสนิกชน ได้คิดค้นให้ การศึกษาพระไตรปิฎก มีความง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยทำให้เป็นรูปกระทัดรัด บันทึกในระบบคอมพิวเตอร์ CD-ROM เพื่อลดปัญหา และอุปสรรค ในการศึกษาพระพุทธศาสนาลงบ้าง ซึ่งสิ่งที่ได้ทำลงไป ก็เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระปริยัติสัทธรรมให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

     
  6. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,432
    ขอขอบคุณสำหรับความรู้อันเป็นประโยชน์นี้
    และขออนุโมทนาบุญจากการให้ธรรมทานนี้ครับ
    สาาาาา...ธุ<O:p</O:p
     
  7. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,432
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2534 ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม

    ขอสาธุการในมหากุศล ขององค์พระเจ้าอยู่หัวฯ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
     
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,131
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2008
  9. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    คนเริ่มโปรเจคคือ ศ. ดร. นพ. ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ๒๕๒๔-๒๕๓๖ ท่านเป้นคนชวน ดร. ศุภชัย ตั้งวงศ์สานต์ ดร. หนุ่มไฟแรง มาทำงานร่วมกับท่านปยุต สมัยนั้นของบซื้อคอมไม่ได้ เพราะหลวง (สำนักงบฯ) ไม่รู้ว่ามันคืออะไร จะเป็นอุปกรณ์สิ้นเปลืองหรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ต้องขอบริจาคเมนเฟรมจากต่างประเทศ

    ตอนนี้ใครๆก็ดื่มน้ำ ไม่มีใครโฆษณาถึงต้นน้ำ กว่าตาน้ำจะเจริญเติบโต

    เล่าให้ฟังให้อนุโมทนากันถึงวิสัยทัศน์ของผู้ใหญ่ในอดีตค่ะ
     
  10. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,204
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ
    ขออนุโมทนา...สาธุ....สาธุ....สาธุ
    ข้าจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพรพุทธเจ้า พระปริยัติธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า แลคุณพระพุทธเจ้า แลคุณพระนวโลกุตรธรรมเจ้า แลคุณพระอริยสงฆ์เจ้าในอดีตอนาคตปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเข้าสู่พระนิพพาน แลข้าจะขอนมัสการกราบไหว้ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า อันเป็นอดีตอนาคตปัจจุบันสิ้นกาลนานทุกเมื่อ แลข้าพเจ้าจะข้อเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้าๅ พระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้า ขอพระบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ ขออาราธนาพระธรรเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นหใหญ่ ข้าขอาราธนาคุรแห่งพระอริยสงฆ์
    จงประดิษฐาน อยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นที่จะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นแต่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าเที่ยงแท้นักหนา ข้าไหว้ละอองธุลีบาททั้งหลายพระลายลักษณ์สุริยฉาย มงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่งโทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีจอนาคตปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าขอมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้ง 2 ประการจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้ง 2 ประการจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด
     
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สามมหาวิทยาลัยจับมือเปิดตัว ผลงานพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์
    [14 ธ.ค. 50 - 00:13]

    ผลงาน BUDSIR VI for Windows พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์ และแหล่งค้นพุทธศาสน์ ฉบับคอมพิวเตอร์ หรือ The Computerization of the Pali Canon and Buddhist Reference Suite ขึ้น ซึ่งเป็นผลงานล่าสุดลำดับที่ 11 ใน 20 ปี ที่ผ่านมาของโครงการ BUDSIR (Buddhist Scriptures Information Retrieval) หรือพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จผลงานนี้เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

    BUDSIR VI ได้รับการพัฒนารูปแบบการสืบค้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ ที่สำคัญได้หลากหลายรูปแบบ สะดวกและรวดเร็วด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถสอบถาม BUDSIR เป็นคำหรือวลี ด้วยภาษาไทยหรือภาษาบาลีอักษรไทยได้ ซึ่งผู้ใช้จะได้คำตอบที่รวดเร็วถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกแห่งที่ปรากฏในคัมภีร์รวม 200 เล่ม อันประกอบ ด้วย พระไตรปิฎกภาษาบาลี 45 เล่ม พระไตรปิฎกชุดแปลเป็นภาษาไทย 45 เล่ม อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคัมภีร์สำคัญอื่นๆเป็นภาษาบาลี จำนวน 107 เล่ม นอกจากนี้ ยังได้รวมหนังสือพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ อยู่ใน BUDSIR VI อีกด้วย นับเป็นชุดคัมภีร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ที่สุดในเวลานี้

    ทั้งสามหน่วยงานผู้ร่วมพัฒนาโปรแกรมได้ถวายผลงาน 2,550 ชุด แด่ พระสงฆ์ ศูนย์ศึกษา และผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา ทั่วประเทศ สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ www.budsir.org

    http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=71642
     
  12. tiki

    tiki เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2005
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +404
    ชื่นชมมากค่ะ
     
  13. Eddieshiki

    Eddieshiki นิพพานัง ปรมัง สุขัง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +535
    โมทณาบุญกับคณะจัดทำและผู้สนใจใฝ่ธรรมทุกๆท่าน ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...