จะหาพระบูชาหมอชีวกได้ที่ไหนบ้างครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ROJKAJORN, 22 สิงหาคม 2008.

  1. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    รบกวนทุกท่านครับ ไม่ทราบว่าผมจะหาพระบูชาหมอชีวกไว้บูชาได้จากที่ไหนบ้างครับ ที่พิธีจัดสร้างดี มวลสารดีครับ ขอโมทนาในธรรมทานนะครับ
     
  2. thipwanh

    thipwanh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2008
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +870
    ที่วัดอินทร์วรวิหาร บางขุนพรหม ที่อยู่ตรงข้างกับแบงค์ชาติ มีค่ะ ลองไปดูก่อนว่าถูกใจไหม
     
  3. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,691
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ถ้ารู้จักใครที่จะไปแสวงบุญที่อินเดีย อีกรอบราว ๆ เดือนธันวาคม หมอชีวกฯมีให้บูชาที่วัดไทยสิริราชคฤห์ค่ะ บางที่พระท่านแจกค่ะ
     
  4. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    ขอโมทนาครับในธรรมทาน
     
  5. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    โมทนาในธรรมทานครับ
     
  6. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    ที่วัดอินทร์วรวิหาร บางขุนพรม วัด
     
  7. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    โมทนาด้วยครับ ไม่ทราบว่ามีที่อื่นอีกหรือเปล่าครับ จะได้เป็นทางเลือก ขอบคุณครับ
     
  8. เพชรฉลูกัน

    เพชรฉลูกัน ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    18,444
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +23,182
    ไปวัดแรกที่สร้างรูปท่านเลยนะครับ....ก็วัด ญวณ สะพานขาวครับ เคยไปหาบูชาเหมือนกันท่านไม่มีวางจำหน่ายให้บูชาครับ ต้องถามท่านเจ้าอาวาสว่าอยากบูชา หากเหลืออยู่ท่านอาจจะได้บูชาครับ
    ...แล้วอย่าลืมไปกราบรูปเหมือนท่านชีวก ในวิหารนะครับ นั่นแหละครับคือรูปเหมือนท่านองค์แรกของโลก เพราะท่านมาปรากฎบนเล็บมือให้ช่างได้วาดภาพเอามาเป็นแบบ โดยการอัญเชิญดวงวิญาณ โดยท่านบ๋าวเอิง อดีตเจ้าอาวาสวัดญวณในยุคนั้นครับ
    ....หรือว่าท่านจะไปที่กระทรวงสาธารณะสุข ที่นนทบุรีก็ได้ครับ ยังมีให้บูชา พิธียิ่งใหญ่มากๆๆๆๆครับ
     
  9. pornchai2500

    pornchai2500 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +4,674
    วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ ยังมีเหลืออยู่ หลวงตาชลอสร้างครับ
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คาถาบูชา พ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์

    จาก วิกิซอร์ซ

    ตั้งนะโม ๓ จบ

    <!-- start content -->นะโม ชีวะโก สิระสาอะหัง การุณิโก
    วิสะตะทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยังจันทัง โกมาระภัทโต
    ปะกาเสติปัทธิ โตอะเมหะ โสระ โรคา สุมะนาโหมิ
    นะระนะอะ โรคาพยาธิ วินาสสันติ
    ..................................


    พระคาถานี้ ให้บูชาเป็นประจำ ความป่วยไข้หรือ โรคภัย จะไม่มากล้ำกราย แต่ต้องอยู่ในศีลธรรม

    พ่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ฉะนั้นพึงตั้งจิตสวดบูชาโดยความเคารพโดยเฉพาะ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศพ หรือ คนป่วย ควรจะสวดเป็นประจำ วิญญาณร้ายจะไม่ตามติดมารังควาญ


    ที่มา: http://www.larnbuddhism.com/

    เหรียญปี ๒๔๙๙ เหรียญทองแดง - อัลปาก้า - เนื้อผง - รูปเหมือนหล่อโลหะ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    </FIELDSET>
    ขออนุญาตคุณ vacharapholนำมาให้อ่านเป็นความรู้กันครับ..
    http://palungjit.org/showthread.php?p=194821

    ชีวกคือหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์
    กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
    ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ ได้คัดเลือกกุมารีสาลวดี เป็นหญิงงามเมือง
    ครั้นนางกุมารีสาลวดี(สาสวดี)ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์
    ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์.
    นางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่า เรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า
    “นายประตูจ๋า โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอกให้เขาทราบว่า เป็นไข้นะ !”
    คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า “จะปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนั้น”
    หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า “แม่สาวใช้จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ(กองขยะ)”
    ทาสีนั้นรับคำนางว่า “ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ” ดังนี้ แล้ววางทารกนั้น ลงบนกระด้งเก่าๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ(กองขยะ).
    ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตร เห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่
    ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า “พนายนั่นอะไร ฝูงการุมกันตอม”
    มหาดเล็ก. “ทารก พ่ะย่ะค่ะ “
    เจ้าชายอภัย “ยังเป็นอยู่หรือ พนาย“
    มหาดเล็ก “ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ“
    เจ้าชายอภัย พนาย “ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้“
    คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า “อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ“
    แล้วนำทารกนั้นไปวังเจ้าชายอภัย มอบแก่นางนมว่า “โปรดเลี้ยงไว้ด้วย“
    อาศัยคำว่า “ยังเป็นอยู่“เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก (ยังมีชีวิตอยู่)
    ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขาจึงได้ตั้งนามสกุลว่าโกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า
    “ใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ“
    เจ้าชายรับสั่งว่า “พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้“
    จึงชีวกโกมารภัจจ์มีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านี้แล คนที่ไม่มีศิลปะ จะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
    เรียนศิลปะทางแพทย์
    ชีวกโกมารภัจจ์พออายุได้ ๑๖ปี ทราบว่า นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา ชีวกโกมารภัจจ์ ไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไปเมืองตักกสิลา เดินรอนแรมไปโดยลำดับ ถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้น. ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่า
    “ท่านอาจารย์ กระผมประสงค์จะศึกษาศิลปะ“
    นายแพทย์สั่งว่า “พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จึงศึกษาเถิด“
    ครั้งนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม.
    ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า
    “ตัวเราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม และเราเรียนมาได้ ๗ ปีแล้ว ยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไร จักสำเร็จสักที“
    จึงเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า
    “ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มากเรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมาเป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ“
    นายแพทย์ตอบว่า “พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียม เที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา“
    ชีวกโกมารภัจจ์รับคำนายแพทย์ว่า “เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์“
    ดังนั้นแล้ว ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่งจึงเดินทางกลับ เข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียนคำนี้ต่อนายแพทย์ว่า
    “ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง“
    นายแพทย์บอกว่า “พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอจะครองชีพได้แล้ว“
    ได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์
    ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดลงที่เมืองสาเกต ในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้แลกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่าย จำเราจะต้องหาเสบียง.
    ภาคปฏิบัติงานแพทย์
    ก็โดยสมัยนั้นแล ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก
    ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปสู่เมืองสาเกต ถามคนทั้งหลายว่า
    “พนาย ใครเจ็บไข้บ้าง ฉันจะรักษา“
    คนทั้งหลายพากันบอกว่า
    “ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีนั้นปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี เชิญไปรักษาภรรยาเศรษฐีเถิดท่านอาจารย์“
    จึงชีวกโกมารภัจจ์เดินทางไปบ้านเศรษฐีคหบดี ครั้นถึงแล้วได้สั่งคนเฝ้าประตูว่า
    “พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมคุณนาย“
    คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า “เป็นอย่างนั้นขอรับ อาจารย์ “
    ดังนั้น แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า
    “คุณนายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยม“
    คุณนายภรรยาเศรษฐีถามว่า
    “พ่อนายเฝ้าประตูจ๋า หมอเป็นคนเช่นไร“
    พนาย. “เป็นหมอหนุ่มๆ ขอรับ“
    ภรรยาเศรษฐี “ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก“
    นายประตูนั้น จึงเดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า
    “ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่มๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ คุณหมอสั่ง มาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่งให้อะไรๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว คุณนายประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด“
    นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์ว่า “เป็นอย่างนั้น ขอรับอาจารย์”
    ดังนั้นแล้วเข้าไปหา ภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า “คุณนายขอรับ คุณหมอบอกข่าวมาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่ง ให้อะไรๆ ก่อน ต่อเมื่อคุณนายหายโรคแล้ว ประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด”
    ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า “พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญคุณหมอมา”
    นายประตูรับคำภรรยาเศรษฐีว่า “อย่างนั้นขอรับ”
    แล้วเข้าไปหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้ แจ้งให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่านเข้าไป.
    เริ่มรักษาภรรยาเศรษฐี
    ลำดับนั้นชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูความผันแปรของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวคำนี้แก่ภรรยาเศรษฐีว่า
    “คุณนายขอรับ ผมต้องการเนยใสหนึ่งซองมือ”
    ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือมาให้แก่ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่างๆ ให้ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง แล้วให้นัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสที่ให้นัตถุ์นั้นได้พุ่งออกจากปาก จึงภรรยาเศรษฐีถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า “แม่สาวใช้จงเอา สำลีซับเนยใสนี้ไว้”
    จึงชีวกโกมารภัจจ์ได้คิดว่า “แปลกจริงพวกเรา แม่บ้านคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงๆ มากกว่า กลับปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง”
    ขณะนั้นภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการอันแปลกของชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ ?“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “เวลานี้ผมกำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกเหลือเกิน เนยใสนี้ จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงๆ มากกว่าปล่อยให้เสียแม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง”
    ภรรยา. “อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จักสิ่งที่ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกรก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย”
    คราวนั้นชีวกโกมารภัจจ์ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่งเป็นมา ๗ ปีให้หาย โดยวิธีนัตถุ์ยาคราวเดียวเท่านั้น
    ครั้นภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรเศรษฐีได้ทราบว่ามารดาของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ บุตรสะใภ้ได้ทราบว่า แม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กษาปณ์เศรษฐีคหบดีทราบว่า ภรรยาของเราหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐ กษาปณ์ และให้ทาสทาสี รถม้าอีกด้วย ชีวกโกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ กับทาส ทาสี และรถม้าเดินมุ่ง ไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระนครราชคฤห์โดยลำดับ เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย
    ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับค่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า
    พระราชกุมารรับสั่งว่า “อย่าเลย พ่อนายชีวก ทรัพย์นี้จงเป็นของเจ้าคนเดียวเถิด และเจ้าจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด”
    ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับพระบัญชาเจ้าชายอภัยว่า “เป็นพระกรุณายิ่งพระเจ้าข้า” แล้วได้สร้าง บ้านอยู่ในวังของเจ้าชายอภัย.
    เรื่องพระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า “บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมาพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ” พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยันของพวกพระสนมนั้น
    ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า
    “พ่ออภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์ จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหาหมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด”
    เจ้าชายอภัย “ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่มทรงคุณวุฒิ เธอจักรักษาพระองค์ได้”
    พระเจ้าพิมพิสาร “พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นเธอจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ.”
    ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “พ่อนายชีวก เธอจงไปรักษาพระเจ้าอยู่หัว” ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่า
    “อย่างนั้นพระเจ้าข้า” แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก
    ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
    “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์”
    แล้วรักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐ นางตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “พ่อนายชีวก เครื่องประดับทั้งปวงของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า”
    ชีวกโกมารภัจจ์ “อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงโปรดระลึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”
    พระเจ้าพิมพิสาร “ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข”
    ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า
    “เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า”
    เรื่องเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์
    ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปีนายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก.
    อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗.
    ครั้งนั้น พวกคนร่ำรวย ชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า เศรษฐีคหบดีผู้นี้แล มีอุปการะมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวกเราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้วจึงพากันไปในราชสำนัก.
    ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า
    “ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมากแก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้ อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐีคหบดี”
    ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า “พ่อนายชีวก เจ้าจงไปรักษาเศรษฐีคหบดี”
    ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า
    “อย่างนั้น ขอเดชะ”
    แล้วไปหาเศรษฐีคหบดี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้ถามเศรษฐีคหบดีว่า
    “ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัลอะไรแก่ฉันบ้าง?”
    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน”
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”
    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้”
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”
    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้”
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”
    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้”
    ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียงถลกหนังศีรษะเปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิต ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า
    “เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมอง ของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวใหญ่นี้ ชื่อว่า อันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว “
    ส่วนพวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า
    “เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมอง ของเศรษฐีคหบดีในวันที่ ๗ เศรษฐีคหบดีถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ ชื่อว่าอันอาจารย์พวกนั้นเห็นถูกต้องแล้ว“
    ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะเย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล.
    ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดีได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้.“
    ชีวกโกมารภัจจ์. “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือน ได้ดังนี้ มิใช่หรือ? “
    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้“
    ชีวกโกมารภัจจ์. “ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด“
    ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้มิใช่หรือ? “
    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด“
    ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือไม่? “
    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงาย ตลอด ๗ เดือนได้“
    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนเท่านั้นไม่ได้ แต่ฉันทราบอยู่ก่อน แล้วว่า เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะได้รางวัลอะไรแก่ฉัน“
    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน “
    ชีวกโกมารภัจจ์ “อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉันเลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว“
    ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ได้ให้ แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.
    เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยโรคเนื้องอกที่ลำไส้
    ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬาหกคะเมน ได้ป่วย เป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนั้น เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น
    ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสี ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า
    “บุตรของเราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เราพึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอ นายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้รักษาบุตรของเรา“
    ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า
    “ขอเดชะฯ บุตรของ ข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทจงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า“
    ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า “ไปเถิด พ่อนายชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี“
    ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า
    “อย่างนั้นขอเดชะฯ “
    แล้วไปพระนครพาราณสี เข้าไปหาเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี สังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี เชิญประชาชนให้ออกไปเสีย ขึงม่านมัดเศรษฐีบุตรไว้กับเสา ให้ภรรยาอยู่ข้างหน้า ผ่าหนังท้อง นำเนื้องอกที่ลำไส้ออกแสดงแก่ภรรยาว่า
    “เธอจงดูความเจ็บป่วยของสามีเธอ ข้าวยาคูที่สามีเธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่สามีเธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนี้ สามีเธอนี้จึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นดังนี้ “
    แล้วตัดเนื้องอกในลำไส้ออก สอดใส่ลำไส้กลับดังเดิม แล้วเย็บหนังท้องทายาสมานแผล ต่อมาไม่นานเท่าไรนัก เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสี ได้หายโรคแล้ว
    ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสีคิดว่า
    “บุตรของเราหายโรคพ้นอันตรายแล้ว“ จึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวกโกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้น เดินทางกลับมาสู่พระนครราชคฤห์ตามเดิม.
    เรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงประชวรโรคผอมเหลือง
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรโรคผอมเหลือง นายแพทย์ที่ใหญ่ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนมารักษา ก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไป เป็นอันมาก
    ครั้งนั้น พระเจ้าปัชโชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาส์น ไปในพระราชสำนักพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีใจความว่า
    “หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน“ พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช จึงได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า
    “ไปเถิด พ่อนายชีวก เจ้าจงไปเมืองอุชเชนีรักษาพระเจ้าปัชโชต“.
    ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการ แล้วเดินทางไปเมืองอุชเชนี เข้าไปใน พระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชตได้ตรวจอาการที่ผิดแปลกของพระเจ้าปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า
    “ขอเดชะฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น“
    พระเจ้าปัชโชตรับสั่งห้ามว่า “อย่าเลย พ่อนายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย อาจรักษาเรา ให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน สำหรับฉัน“
    ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า
    “พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แล ทรงประชวรเช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสียไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้ เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด“ ดังนี้ แล้วได้หุงเนยใสด้วยเภสัชนานาชนิดให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุกคิดได้ว่า
    เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย จักทำให้เรอ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้ากระไรเราพึงทูลลาไว้ก่อน
    วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่ท้าวเธอว่า
    “ขอเดชะ ฯ พวกข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่วเวลาครู่หนึ่งเช่นที่ประสงค์นั้น ขอประทานพระบรมราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมีพระราชโองการตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวกต้องการไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตูใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการไปเวลาใด จงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามาเวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น “
    พระเจ้าปัชโชตได้มี พระราชดำรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอ บรมราชานุญาตไว้ทุกประการ
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้วันละ ๕๐ โยชน์ จึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าปัชโชตด้วยกราบทูลว่า
    “ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด “
    ครั้นให้พระเจ้าปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดยช้างพังภัททวดี ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้ทำให้ทรงเรอขึ้น จึงพระเจ้าปัชโชตได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า “พนายทั้งหลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่ม เนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมาเร็วไว“.
    พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า “หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้างพังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า“
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิดกับอมนุษย์ เดินทาง ได้วันละ ๖๐ โยชน์ จึงพระเจ้าปัชโชตดำรัสสั่ง กากะมหาดเล็กว่า “พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญ หมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่า หมอเหล่านี้แลมีมารยามาก เจ้าอย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขา“
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ประวัติและเรื่องที่เกี่ยวกับท่านโดย อง สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง)

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->บันทึกปฐมเหตุที่ได้พบและการปั้นหล่อรูป



    บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต


    เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย อาตมาภาพขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นที่ อง พจนสุนทร (ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ อง สุตบทบวร และบัดนี้เป็นที่ อง สรภาณมธุรส) ได้กระทำพิธีเชิญวิญญาณคุณพูนเพ็ญ จำรูญจันทร์ ภรรยา ร.ต.อ. ทวี จำรูญจันทร์ (ขณะนี้มียศเป็น พ.ต.ต) ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว มาประทับร่างทรงบนกุฎีของอาตมา ต่อหน้าสานุศิษย์ ๒ - ๓ คน

    เมื่อครั้งคุณพูนเพ็ญยังมีชีวิตอยู่ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของอาตมาภาพ และเป็นพุทธมามกะที่ดีในพระบวรพุทธศาสนา อาตมาภาพได้รับไว้ด้วยความเต็มใจ เพื่อสนองความตั้งใจของคุณพูนเพ็ญ จากนั้นไม่นาน คุณพูนเพ็ญได้ถึงแก่กรรม หลังจากได้ฌาปนกิจศพแล้ว ร.ต.อ. ทวี จำรูญจันทร์ได้นำกระดูกของภรรยามาบรรจุไว้ในเจดีย์เล็ก ซึ่งทำไว้ที่ชานชั้นบน.กุฎีของอาตมาภาพ ตามความประสงค์ของคุณพูนเพ็ญ ซึ่งได้สั่งไว้ก่อนที่จะถึงแก่กรรม แต่นั้นมาวิญญาณคุณพูนเพ็ญก็ได้วนเวียนอยู่ใกล้กับอาตมาภาพตลอดมา

    วิญญาณคุณพูนเพ็ญมาประทับทรงในร่างของ ร.ต.อ ทวี จำรูญจันทร์ เมื่อเวลา ๒๑.๓๐ น ได้กล่าวกับอาตมาภาพตอนหนึ่งว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ชีวประวัติบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต


    รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก
    โดย พระอริยเมธี ป. ๙
    เรียบเรียงโดย เปมังกโรภิกขุ
    [​IMG]
    คำชี้แจง
    ของผู้รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก
    ข้าพเจ้าได้รวบรวมและแปลเรื่องชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัต จากหนังสือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเท่าที่จะค้นหาได้ คือ บาลีพระไตรปิฎกและอรรถกถา ตามคำขอร้องของท่าน อง สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร (วัดญวน สะพานขาว ) เนื่องจากในวันหนึ่ง คุณพิศิษฐ์ พรหมอักษร ได้พาท่านไปพบข้าพเจ้าที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) ท่านได้ปรารภถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เท่าที่ท่านได้ผ่านพบมาและปรารถนาจะจัดพิมพ์หนังสือชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัตขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ให้ได้เรื่องราวของท่านโดยละเอียดเท่าที่จะค้นหาและรวบรวมมาได้ ข้าพเจ้ามีความยินดีและเต็มใจให้ความร่วมมือกับท่าน อง สรภาณมธุรส รวบรวมและแปลเรื่องชีวประวัติของหมอชีวกโกมารภัต เท่าที่ความรู้ความสามารถจะพึงอำนวยให้
    ท่านชีวกโกมารภัตผู้นี้ เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบชีวประวัติมา เป็นเรื่องที่น่ารู้ น่าศึกษา และมีความสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ด้อยไปกว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ในสมัยพุทธกาล
    ธรรมดาของการแปลภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาหนึ่งย่อมจะมีภาษาเดิมติดเป็นศัพท์แสงอยู่ด้วย เป็นสำนวนขัดหูของผู้ไม่เคยชิน ทั้งยากลำบากแก่การตีความหมาย ครั้นจะตัดทิ้งเสียเลยก็ไม่เหมาะสม เพราะภาษาเดิมกินความหมายกว้าง ภาษาที่รับถ่ายทอดมานั้นอาจกินความไม่กว้างเท่าภาษาเดิมก็ได้ จึงควรรักษาของเดิมไว้บ้างบางสำนวน ทั้งข้าพเจ้าเองก็ไม่มีเวลาที่จะเรียบเรียงและประพันธ์ขึ้นใหม่ให้เป็นสำนวนไพเราะเพราะพริ้งน่าอ่านทันสมัย เนื่องจากข้าพเจ้าต้องแบกภาระหนักทางสภาการศึกษา ฯ และกองตำรา คือ ต้องบันทึกการสอนพระสูตรและพระอภิธรรมที่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาในประเทศไทย และชำระพระไตรปิฎก ฉบับบาลีที่จะต้องพิมพ์ใหม่ซึ่งขาดคราวไป ด้วยเหตุนี้ คุณพิศิษฐ์จึงได้นำเรื่องนี้ไปให้ท่านเปมังกโรภิกขุ จัดการเรียบเรียงและประพันธ์ ดังสำนวนที่ปรากฏในหนังสือซึ่งอยู่ในมือของท่านนี้
    อนึ่ง เป็นที่น่าเสียดายที่ชีวประวัติของท่านชีวกโกมารภัตในบั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิต ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินไปอย่างไรบ้าง ท่านได้ถึงมรณกรรมก่อนหรือหลังพุทธปรินิพพานไม่ปรากฏชัด เพราะว่าในปัจฉิมโพธิกาลใกล้กับเวลาที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วไม่มีท่านผู้ใด หรือหนังสือเรื่องใดได้กล่าวถึงชีวประวัติตอนนี้ของท่านไว้เลย หรืออาจเป็นเพราะข้าพเจ้าดูหนังสือไม่ทั่วถึงก็อาจเป็นได้ ถ้าผู้ใดได้พบ น่าจะเขียนเล่าสู่กันฟังบ้าง จะเป็นประโยชน์ทางด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และศีลธรรม จรรยาทางแพทย์ ตลอดถึงวัฒนธรรมทางด้านอื่น ๆ อีกมาก

    พระอริยเมธี
    วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร
    ๒๖ มกราคม ๒๕๐๒.
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ชีวประวัติบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ๑


    รวบรวมและแปลจากพระไตรปิฎก โดย พระอริยเมธี ป. ๙
    เรียบเรียงโดย เปมังกโรภิกขุ
    [​IMG]
    ปฐมภาคส่วนเบื้องต้น

    ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ ชมพูทวีปเป็นพื้นภูมิภาคที่เกิดอาศัยของคนหมู่มาก มีหลายพวกหลายภาษา แต่เมื่อย่อลงอาจแบ่งได้เป็นสองเหล่า คือ ชนชาติที่ได้ชื่อว่า
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    บันทึกประวัติชีวิตตอนบั้นปลาย ของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต
    โดย อง สรภาณมธุรส
    เจ้าอาวาส วัดสมณานัมบริหาร
    ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๑
    [​IMG]
    โดยเหตุที่เรื่องราวของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต เท่าที่ได้ปรากฏอยู่ตามพระสูตรต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านเจ้าคุณอริยเมธีได้รวบรวมค้นคว้า และท่านมหาเปรม เปมังกโรภิกขุ ได้เรียบเรียง ผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้ผ่านมาแล้ว ไม่มีตอนใดปรากฏประวัติชีวิตบั้นปลายของท่าน ว่าหลังจากพระพุทธองค์ใดทรงพระประชวร เสด็จสู่พระปรินิพพาน และหลังจากถวายพระเพลิงแล้วท่านได้ไปอยู่ที่ใด ? ทำอะไรบ้าง ? และได้สิ้นอายุขัยไปเมื่อใด ?
    ถ้าหากจะปล่อยให้เรื่องนี้ขาดตอนหายไปเฉย ๆ จะทำให้เรื่องนี้ขาดความสมบูรณ์ไป
    เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ เวลา ๑๙.๓๐ น. อาตมาภาพจึงได้ทำพิธีอัญเชิญพระวิญญาณของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต เข้าประทับร่างทรง พ.ต.ต. ทวี จำรูญจันทร์ ซึ่งท่านผู้อ่านได้รู้เรื่องดีแล้วจากบันทึกปฐมเหตุที่อาตมาภาพได้พบกับท่านได้ปั้นพระรูปของท่าน และทำการหล่อจนเป็นผลสำเร็จ เพื่อขอทราบชีวิตประวัติบั้นปลายของท่าน นำมาพิมพ์รวมกับเรื่องนี้ให้สมบูรณ์ การขอทราบชีวิตบั้นปลายของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ได้บันทึกเสียงไว้เห็นหลักฐาน อาตมาภาพได้จัดการถอดเรื่องราวจากเสียงที่บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยข้อความ ซึ่งเป็นคำพูดของท่านเองทั้งสิ้น มิได้แต่งเติม หากได้ตัดข้อความบางตอน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติชีวิตของท่านเท่านั้น ( ผู้ใดสนใจต้องการฟัง จะฟังได้ในคราวเทศกาลที่วัดมีงาน )
    เมื่อพระวิญญาณบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ได้เข้าประทับร่างทรงแล้วอาตมาภาพได้ชี้แจงแก่ท่านว่า อาตมาภาพได้รวบรวมเรื่องราวของท่านที่ค้นหาได้จากพระไตรปิฎกหลายเรื่อง หลายตอน เรียบเรียงแล้วเสร็จ แต่เมื่อได้อ่านพิจารณาดูแล้วปรากฏว่ามีแต่ชีวิตบั้นต้น และบั้นกลาง ส่วนชีวิตบั้นปลายนั้นไม่ปรากฏว่าท่านได้อยู่ณ ที่ใด ทำอะไรบ้าง ๆ และสิ้นอายุขัยไปเมื่อใด ? และเท่าที่อาตมาภาพได้ทราบมาว่าสมเด็จพระพุทธองค์ได้ทรงเสวยพระกระยาหาร ( เนื้อสุกรอ่อน ) ที่นายจุนทะกัมมารกบุตรได้ทูลถวายพระองค์แล้ว พระองค์ได้ทรงพระประชวรพระโรคโลหิตปักขันธิกาพาธ จนถึงพระปรินิพพาน ขณะที่พระองค์ทรงประชวรอยู่นั้น ท่านได้เข้าเฝ้าพระองค์ทูลถวายพระโอสถ แต่พระองค์ไม่ยอมเสวย ท่านได้มิความเสียใจ ได้เอาพระโอสถนั้นจำเริญลงในน้ำ และได้เกิดความมหัศจรรย์ คือ น้ำได้เดือดและพลุ่งขึ้นถึงหนึ่งชั่วลำตาล เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในตำนานของแพทย์แผนโบราณ ดังนี้จะจริงเท็จอย่างไร ?
    อาตมาภาพยังมีความสงสัยอยู่อีกข้อหนึ่งว่า ที่กล่าวกันว่า พระกระยาหารที่นายจุนทะได้ทูลถวายสมเด็จพระพุทธองค์นั้น เป็นเนื้อสุกรอ่อน แต่เมื่อครั้งอาตมาภาพได้ไปยังการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๔ ณ กรุงคัฑมัณฑุ ประเทศเนปาล เดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยเครื่องบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และได้ท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียด้วย กลับถึงเมืองไทยเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ อาตมาภาพได้พบกับท่านมหาเถระอัมริตนันทะ แห่งประเทศเนปาล ซึ่งได้สืบเชื้อสายศากยวงศ์เดียวกันกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจนกระทั่งบัดนี้ และได้ทราบว่า ในราชตระกูลนับแต่โบราณกาลมาจนบัดนี้ ไม่มีผู้ใดได้เสวยเนื้อสัตว์เลย และได้ทราบมาอีกว่าที่กล่าวกันว่าพระกระยาหารที่สมเด็จพระพุทธองค์เสวยนั้น เป็นเนื้อสุกรอ่อน ความจริงคือเห็ดหมูอ่อน (สุกรมัทวะ คือ เห็ดหมู มีลักษณะขาวเนื้ออ่อน และมีรสหวาน หมูชอบกิน ) ซึ่งฟังดูแล้วผิดกันมาก ความจริงในข้อนี้เป็นอย่างไรแน่ ขอได้ตอบโดยลำดับ อาตมาภาพจะได้บันทึกเสียงไว้
    บรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัตได้กล่าวแก่อาตมาภาพว่า
    “ เราเป็นลูกที่เขาเก็บมาเลี้ยง ไม่มีความสำคัญอย่างไร โลกจะต้องสนใจรู้ประวัติของเราไปทำไม ?”
    อาตมาภาพได้ตอบชี้แจงแก่ท่านว่า บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย รวมทั้งผู้อื่นที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียซึ่งเป็นที่กำเนิดของท่าน กับบรรดาแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งต้องยกย่องเคารพนับถือท่านในฐานะบรมครูทางการแพทย์ และทำการสักการบูชาอยู่ทุกวันนี้ ย่อมต้องประสงค์จะได้ทราบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาตมาภาพมีความเคารพในวิทยาการแพทย์ของท่าน และท่านได้ให้คำแนะนำ และความรู้ในการรักษาโรคหลายอย่างหลายประการ มีความต้องการอย่างยิ่งที่จะได้ทราบไว้ และนำไปพิมพ์ต่อท้ายเรื่องราวของท่าน ที่ได้รวบรวมมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก ให้เรื่องครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านและของอาตมาภาพด้วย
    เมื่ออาตมาภาพได้ชี้แจงแล้ว ท่านก็เห็นด้วย และได้บรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ในสภาพความเป็นจริง ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ เมื่อครั้งสองพันห้าร้อยปีก่อนโน้น อาตมาภาพได้นำถ้อยคำของท่านเองบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ท่านผู้อ่านจะได้ทราบเรื่องราวต่อไปนี้
    บรมคุรุแพทย์ได้กล่าวเรื่องราวว่า -
    “เรื่องนี้ ความจริงพระพุทธองค์ไม่เคยตรัสแก่เรา พระองค์ทรงรู้ของพระองค์ด้วยพระองค์เอง ทำไมพระองค์จึงทรงปิดเราผู้เสมือนเป็นลูก เรากับพระอานนท์อยู่กันเพียงสามนะท่านนะ พระองค์ไม่ได้รับสั่งถึงเรื่องการป่วยเจ็บว่าเกิดจากอะไร เรายังมีสติดีอยู่ แต่ได้มาพบเห็นพระองค์ทรงอยู่ในลักษณะเช่นนั้น ก็ให้วิตกกังวลเป็นที่สดเรารู้ดีว่า พระองค์ไม่ประสงค์จะให้เรารักษา แต่ก่อนร่อนชะไร เราก็ได้ปฏิบัติตัวปฏิบัติใจ ซื่อสัตย์ในพระองค์”
    ( พูดมาถึงตอนนั้นท่านได้ร้องไห้สะอึกสะอื้นน้ำตาไหลอาบแก้มทั้งสองของผู้เป็นร่างประทับทรง )
    “พระองค์ไม่ควรด่วนจากข้าพระพุทธเจ้าไปเสียเลย จะรับสั่งให้ข้าพระพุทธเจ้าทราบสักหน่อย ก็จะทรงอยู่กันต่อไป พระองค์ไม่ควรด่วนจากไปเสียเร็ว ข้าพระพุทธเจ้ามีความสามารถ”
    “เรื่องที่พระพุทธองค์จะเสด็จสู่พระปรินิพพานนั้น สำหรับเราในฐานะที่เป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระองค์ไม่ได้รับสั่งว่าเกิดการเจ็บป่วยอย่างใด ทูลถามก็ทรงเฉยเสีย รับสั่งแต่ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องสำคัญในขณะนั้น เราได้พิจารณาดูพระวรกายของพระองค์ รู้สึกว่าทรงหม่นหมอง ทรงปวดพระนาภิมาก สงสัยว่าพระกระยาหารเป็นพิษ แด่พระองค์ก็ยังทรงฝืนพระอิริยาบถเป็นปรกติ ไม่ได้รับสั่งถึงเรื่องนี้ เราได้ประกอบพระโอสถถวายให้เสวย เพื่อทดลองดู พระองค์ก็ไม่ยอมเสวย ดู ๆ พระองค์ผู้ทรงเสมือนพระบิดาของเรา ดู จะกราบทูลอย่างไร ก็ได้ยอมเสวย จะกราบทูลอ้อนวอนเท่าใด ก็ไม่ยอมรับสั่ง ทรงเฉยเสีย น่าน้อยอกน้อยใจนักนะท่าน ถ้าพระองค์เสวยพระโอสถเม็ดนั้น ก็จะทำให้เรารู้ถึงอาการของพระองค์ ยาเม็ดนี้สำคัญนัก ถ้าพระองค์เสวย พระองค์จะมีพระชนมชีพยืนยาวต่อไปอีก ‘ทำไมจึงจะต้องด่วนเสด็จจากลูกไป’”
    “เราใจคอไม่สบาย เมื่อพูดถึงตอนนี้ เดี๋ยวนี้เราก็ยังนึกคิดอยู่นะ ทำไมพระองค์ทรงต่อสู้อุปสรรคนานาประการมาได้ เพียงแค่นี้จะทรงพระชนม์ชีพอยู่ต่อไปไม่ได้ !”
    “ยาเม็ดนี้ เรามีความเสียดายมาก แต่เสียดายพระองค์มากกว่า ถ้าพระองค์เสวยสักเม็ดเดียว ก็จะต้องรู้เห็นแน่แท้ทีเดียว พระบิดาของลูก !”
    “เราไปจำเริญยาเม็ดนั้นที่บ่อ คือ ผู้ใดจะใช้ไม่ได้ ยาสำหรับพระองค์ท่าน จึงไปจำเริญเสียในน้ำ น้ำในบ่อเดือดขึ้น มันเดือดขึ้นมา สูงขึ้นมา”
    ( ตอนนี้ท่านได้ถามอาตมาภาพว่า ลำตาลหนึ่งสูงประมาณเท่าใด อาตมาภาพตอบท่านว่า สูงประมาณ๕ - ๖ วา )
    “มันคงไม่ถึง คงจะไม่ถึงขนาดนั้น แต่เขาประมาณก็ช่างเขา เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ แต่ขณะนี้ดูเหมือนไม่มีบ่อเสียแล้ว”
    ท่านได้พูดค้างไว้ อาตมาภาพได้ชี้แจงแก่ท่านว่า เมื่อครั้งอาตมาภาพได้ไปประเทศอินเดียตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ยังได้เห็นบ่อน้ำนั้นที่เมืองกุสินารา เวลานี้รัฐบาลอินเดียได้จัดการรักษาไว้อย่างดี มีรั้วรอบขอบชิดปิดกั้นไว้ทั้ง ๔ ด้าน ประตูใส่กุญแจ มีเจ้าหน้าที่คอยรักษาดูแล เจ้าหน้าที่ได้อธิบายว่า เป็นบ่อน้ำที่พระอานนท์ได้ไปตักน้ำจะถวายสมเด็จพระพุทธองค์เมื่อคราวประชวร ก่อนเสด็จสู่พระปรินิพพานแต่น้ำในบ่อนั้นขุ่น จึงกลับมากราบทูลให้สมเด็จพระพุทธองค์ทรงทราบ สมเด็จพระพุทธองค์รับสั่งว่า “น้ำใสแล้ว” ได้ทรงให้พระอานนท์ไปตักมาถวายอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้น้ำใส พระอานนท์จึงได้ตักมาถวายพระพุทธองค์
    (อาตมาภาพได้ขอร้องเจ้าหน้าที่ เอาเชือกผูกที่คอขวด แล้วหย่อนลงไปในน้ำในบ่อนั้น ได้มาหนึ่งขวด เพื่อนำมาเป็นอนุสรณ์ และเป็นน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ที่อาตมาภาพได้เก็บรักษาไว้จนบัดนี้ เมื่อบรมคุรุแพทย์ได้ฟังอาตมาภาพชี้แจง ก็พยักหน้ารับทราบ)
    “บ่อนั้นเป็นน้ำยาวิเศษสำหรับเดี๋ยวนี้ และแต่ก่อนนี้ ความจริงเราไม่ได้ไปดูที่นั่นอีกเลย เข้าใจว่าจะไม่มีใครดูแล หรือตื้น หรือไม่มีบ่อ แต่นี่ยังมีบ่ออยู่อีกหรือ ? “
    “คือระหว่างที่เราได้จำเริญยาลงไปในบ่อนี้ ปรากฏว่าน้ำในบ่อได้พลุ่งขึ้นมา มองเห็นแต่ก็ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่นอีก นอกจากจะคงอยู่แต่พระองค์ท่านเท่านั้น ขณะที่น้ำนั้นพลุ่งขึ้นมา ก็รู้สึกอัศจรรย์เหมือนกัน แต่ก็รีบไปสนใจในพระองค์เสีย จนกระทั่งพระองค์ไม่มีลม หมดลม อ่อนใจ อ่อนใจ”
    (พอท่านพูดมาถึงตอนนี้ ก็ได้ร้องไห้สะอึกสะอื้น น้ำตาไหลอาบแก้มผู้นั่งเป็นร่างประทับทรง พูดด้วยคำพูดเสียงสั่นสะท้าน ช้า และซาบซึ้งจิตใจ ทำให้จิตใจอาตมาภาพเกิดความเศร้าสลดอย่างพูดไม่ถูก อาตมาภาพได้พูดปลอบโยนท่านให้คลายความเศร้าโศกว่า เรื่องได้ล่วงเลยไปแล้วถึงสองพันกว่าปี)
    “มันต้องเสียใจวันยังค่ำ ท่านจะมาปลอบอกปลอบใจเราทำไม อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่ใบไม้ก็ไม่กระดิก แล้วจะไม่ให้เราเสียใจ”
    “เราได้จัดการเรื่องพระศพของพระองค์เสร็จแล้ว ก็มาคิดว่า ตัวเรานี้สูญสิ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง เราหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหลือแก่บรรดาผู้ที่อยู่ทั่ว ๆ ไป ไม่รู้ว่าจิตของเราเป็นสถานใด
    หลังจากถวายพระเพลิงพระศพแล้ว เราไม่อยากมองหน้าใคร ไม่อยากพบใคร หลบ หลบกลับกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งที่เขาคิชกูฏ ทางทิศตะวันออกถ้ำนั้นชื่อว่า ‘ถ้ำเขาคิชกูฏ’ ไม่ได้ออกมาอีกเลย ไม่รู้ว่ากี่วันกี่เดือนกี่ปีไม่ออกมา ใครรู้ก็ไปหา โดยมากมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัว เราไม่เกลียดดอก แม้เราหลบไปอยู่ในนั้น ซึ่งไม่มีใครรู้ ก็พยายามไปหา เพราะเขาเหล่านั้นกลัวว่าจะตาย จนกระทั่งเราเสียไม่ได้ก็ต้องรักษาเยียวยาให้เขาไป
    พระอานนท์ก็ไม่ทราบว่าเราเข้าไปอยู่ในถ้ำนั้น เราอยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีผู้ใดปรนนิบัติเรา ไม่มีผู้ใดสนใจเรา มีพระสงฆ์มาให้ทำการรักษาบ้างเหมือนกัน
    อยู่มาวันหนึ่ง เวลาดึกแล้ว วันนั้นดูเหมือนจะเป็นวันที่แปลกประหลาดสักหน่อย ระหว่างที่เราอยู่ในถ้ำนั้น รู้สึกกว่าภายในถ้ำมีรัศมีแสงสว่างส่องสว่างทั่วไปให้รู้สึกอัศจรรย์ใจเหมือนกัน มานั่งคิดไปคิดมา ก็หวนคิดถึงพระพุทธองค์ท่านอีกจิตใจมันให้ว้าวุ่น ไม่เป็นอันหลับอันนอน เกิดมินิมิตประหลาด มิเสียงมากระซิบที่ข้างหู ด้วยสำเนียงอ่อนหวานซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ขณะนั้นมากระซิบว่า ‘ชีวกโกมารภัต ท่านนี้เป็นแพทย์ประจำพระพุทธองค์ใช่ไหม’ เรารู้สึกว่าเคลิบเคลิ้ม เข้าใจว่าตอบไปว่า ‘เรานั้นน่ะเป็นแพทย์ของพระองค์ละ’ แปลกประหลาด หลังจากนั้นเสียงก็ไม่มี แสงสว่างในถ้ำนั้นก็คงมืดอย่างเดิม เรามาสะดุ้งตื่น หลังจากนั้นแล้ว มานั่งคิดดู นั่งตรองดู ว่าได้เข้ามาอยู่ในถ้ำนี้กี่วันกี่เดือนกี่ปีแล้วก็ไม่รู้”
    “หวนนึกคิด.ถึงเสียงนั้นว่า เอ มันจับหัวใจนี่ มันจับหัวใจ ทำไมจึงต้องมาถามอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ทั่ว ๆ ไปเขาก็ทราบอย่างดี”
    ( ตอนนี้อาตมาภาพได้ถามท่านว่า เสียงนั้นเป็นพระสุรเสียงของสมเด็จพระพุทธองค์ใช่ไหม ?)
    “ไม่ใช่ ไม่ใช่ของพระพุทธองค์ เป็นเสียงประหลาด ฟังแล้วเสียงหวานเพราะ แม้แต่คำพูดอย่างนี้ยังเพราะจับใจ แปลก หลังจากนั้นแล้ว เราได้มานั่งคิดดู เรามานั่งไตร่ตรองถึงสิ่งต่าง ๆ มานั่งหวนนึกคิดถึงจิตใจที่ตั้งไว้แต่เดิมว่า จะขอเป็นหมออยู่ใกล้กับพระพุทธองค์ตลอดไปจนชีวิตของเราจะจากไป เป็นเรื่องของความตั้งใจแต่แรกของเรา เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพเป็นปรกติดีอยู่ นี่ยังไม่ทันเราจะสิ้น พระองค์ก็ด่วนเสด็จไปเสียก่อน น่าเสียใจ ถ้าพระองค์เ.สวยพระโอสถเม็ดนั้นสักหน่อย เสียดาย เสียดาย มาหวนนึกคิดถึงตอนนี้แล้ว ความตั้งจิตอธิษฐานของเราว่าจะจากพระองค์ นี่พระองค์ได้เสด็จจากไป
    “เกิดมานะขึ้นมาทีเดียว เราได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณขณะนั้นว่า พระองค์ได้เสด็จจากไป ข้าพระพุทธเจ้าขอตามไปด้วย อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ หมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ไม่ใช่หรือ ขณะที่ทำสัตย์ปฏิญาณแล้ง รู้สึกว่าหน้าถ้ำมีเสียงคล้าย ๆ กับจะพังลงมาปิดทันที เราก็เข้านอน ระลึกถึงพระพุทธองค์ตลอดเรื่อย ระหว่างที่ยังไม่หลับ เมื่อหลับไปก็เลยไม่ตื่นเหมือนกัน หลับเลยไม่ตื่น”
    (ตอนนี้ท่านพูดเสียงดังก้อง แล้วหัวเราชอบใจอยู่ไปมา คล้ายกับว่า สมใจท่าน)
    “ถ้าเราไม่ได้ยินเสียงนั้นก็คงจะต้องตื่นอยู่เรื่อยนะ”
    “ตอนที่เราไปถวายพระโอสถพระพุทธองค์ พระอานนท์ได้ไปตามเรา เราพักอยู่ใกล้กับที่พระพุทธองค์ประทับ เราตามเสด็จไปด้วย ตอนถวายพระโอสถ เราอายุได้ ๗๐ ปีกว่า”
    “เสร็จแล้วละ เสร็จแล้วละ.”
    “ท่านทำอะไรอย่าได้ประมาท ทำสิ่งใดอย่าได้ประมาท จงสุขุมเยือกเย็น ขอจงมีความสุข ขอจงมีความสุข”
    พอท่านได้พูดจบ วิญญาณของท่านก็ได้ออกจากร่างที่ประทับทรงไป
    ข้อความทั้งหมดที่ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่านพิจารณามาแล้ว อาตมาภาพขอกล่าวว่า ความรู้ในเรื่องพระปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และชีวิตบั้นปลายของบรมคุรุแพทย์ชีวกโกมารภัตนี้ เมื่อได้พิจารณาโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วมีเหตุผลที่น่าทึ่งมากทีเดียว อาตมาภาพขอฝากเรื่องให้ไว้กับท่านผู้อ่านทั้งหลาย หากท่านผู้ใดได้พิจารณา และสามารถค้นคว้าเรื่องนี้ให้ได้ความรู้อันแจ่มกระจ่าง ประกอบด้วยหลักฐานแล้ว อาตมาภาพขอขอบคุณล่วงหน้าไว้ด้วย
    (ลงนาม) อง สรภาณมธุรส ผู้บันทึก
    (อง สรภาณมธุรส)
    เจ้าอาวาส วัดสมณานัมบริหาร
    ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๑

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วิจารณ์ชีวประวัติ
    ของ
    บรมเวชชคุรุ พระอาจารย์ชีวกโกมารภัต
    โดย


    ศจ. น.พ. อวย เกตุสิงห์

    พุทธมามกส่วนมากรู้สึกท่านชีวกโกมารภัต ว่า เป็นแพทย์หลวงผู้ใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสาร มคธราช แห่งนครราชคฤห์ ซึ่งได้ส่งไปเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้เป็นผู้รักษาอาการห้อเลือด ที่พระพุทธบาทซึ่งเกิดจากสะเก็ดหินอันพระเทวทัตใช้คนกลิ้งลงมาจากเขาคิชกูฏ เพื่อให้ทับพระพุทธองค์ เรื่องของท่านนอกเหนือไปจากนี้ไม่ใคร่มีใครทราบ จนกระทั่งท่าน อง สรภาณมธุรส (พระอาจารย์บ๋าวเอิง แห่งวัดญวนสะพานขาว ผู้มีชื่อเสียงในทางอัญเชิญวิญญาณ) ได้จัดพิมพ์หนังสือ
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การบูชาบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ที่วัดสมณานัมบริหาร โดยหลวงพ่ออง สรภาณมธุรส (หลวงพ่อบ๋าวเอิง) เป็นผู้อัญเชิญญานบารมีของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต จึงนับว่ามีความใกล้ชิดที่สุดครับ

    ผู้ใดที่มีโรคภัยไข้เจ็บจนหมดทางรักษาแล้ว ขอให้ตั้งจิตศรัทธาระลึกถึงบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต และหลวงพ่ออง สรภาณมธุรส (หลวงพ่อบ๋าวเอิง)ไว้ และเดินทางไปที่วัดสมณานัมบริหาร หากมีวาสนาต่อกันจะได้พบปรากฎการณ์แปลกๆเป็นมงคลแบบที่ผม และภรรยาได้พบมาแล้วที่วัดนี้เมื่อปีที่แล้ว...

    ขณะไปถึงราวบ่าย๒ โมงเศษๆ ประตูอุโบสถปิด เราทั้ง ๒ คนก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ลังเลใจจนเอ่ยปากถามเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เด็กผู้หญิงคนนี้ก็ตะโกนเรียกแม่ของเธอที่กำลังเดินเข้าไปที่อยู่ในตรอกเล็กๆให้ช่วยตอบคำถามของเราทั้ง ๒ คน แม่ของเด็กผู้หญิงคนนี้ก็ช่างใจดีเหลือเกิน เดินออกมาสอบถามจนได้ความว่า เมื่อ ๓๐ ปีก่อน(ราวปีพ.ศ. ๒๕๒๐)เป็นโรคเดียวกับภรรยาผม และแนะนำการอธิษฐานจิตต่างๆที่ได้ผล(ซึ่งคล้ายกับที่เธอแนะนำทุกประการ) และสุดท้ายยังไปเรียกคุณลุงแก่ๆท่านหนึ่งที่ถือกุญแจอุโบสถมาเปิดให้เข้าไปสักการะ แล้วปล่อยให้อยู่ในอุโบสถเพียง ๒ คน เมื่ออธิษฐานจิตกราบไหว้อยู่นานทีเดียว ค่อยไปเรียกให้ท่านมาปิดประตูอุโบสถ

    จนวันนี้ภรรยาผมหายจากโรคร้ายนี้แล้ว ปาฏิหาริย์มีจริงครับ..


    ในระหว่างที่ภรรยาผมทำการรักษาทางการแพทย์นั้น ผมได้ลองไปค้นดูว่าวัตถุมงคลพระเครื่องที่สะสมไว้เผื่อจะพบสิ่งที่ต้องการ เพราะคุ้นๆว่าเคยมีพระบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต อยู่องค์หนึ่งแต่ไม่ทราบว่าเป็นของที่ไหนจัดสร้าง และไม่ทราบว่าจะพบหรือไม่ พอพบเท่านั้นแหละ คุณๆเอ๋ย! เป็นบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต ของวัดสมณานัมบริหาร(วัดญวนสะพานขาว)ที่จัดสร้างในพิธีพุทธาภิเษกหล่อรูปท่านชีวกโกมารภัต พร้อมด้วยรูปขนาดเล็กมี ๑๐๘ องค์ ในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ ๒๔๙๙ วันอังคาร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก เวลา ๕.๐๐ น เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ช่างได้ทำการตกแต่งรูปของท่านแล้วรมด้วยสีดำ หลวงพ่อบ๋าวเอิงได้อัญเชิญท่านชีวกโกมารภัตมาทำพิธีประจุฤทธิ์รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง ๑ รูป และรูปหล่อขนาดเล็กอีก ๑๐๘ รูป เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ ๒๕๐๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา เวลา ๒๑.๐๐ น อีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าหลวงพ่อบ๋าวเอิงได้รูปหล่อที่มีลักษณะเหมือนท่านครั้งมีชีวิตอยู่ไว้สักการบูชาตามที่ได้ปรารถนาไว้ และหลวงพ่อบ๋าวเอิงได้ถวายพระนามรูปหล่อท่านชีวกโกมารภัตว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010641.jpg
      P1010641.jpg
      ขนาดไฟล์:
      188.2 KB
      เปิดดู:
      258
    • P1010640.jpg
      P1010640.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.7 KB
      เปิดดู:
      231
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ภายในอุโบสถ หากท่านใดมีโอกาสได้เดินทางไป ต้องไปสักการะพระพุทธรูป พระอรหันต์องค์สำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความป่วยไข้โดยตรงให้ได้นะครับ บรรยากาศที่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และสวยงาม อีกทั้งมีญานบารมีของบรมคุรุแพทย์ ชีวกโกมารภัต และหลวงพ่ออง สรภาณมธุรส (หลวงพ่อบ๋าวเอิง)อยู่ที่วัดสมณานัมบริหาร เป็นที่พึ่งสุดท้ายของผู้ป่วยไข้ไม่สบาย บางทีท่านอาจจะโชคดีเหมือนกับหลายๆท่านที่หายป่วยมาแล้วครับ...
     
  18. พระชยภัทร อนามโ

    พระชยภัทร อนามโ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,667
    ค่าพลัง:
    +728
    เจริญพรคุณโยมหมอ

    พอดีอาตมามีพระธาตุของหมอชีวกท่าน

    ถ้าคุณหมอต้องการอาตมาจะมอบให้คุณหมอเพียงคนเดียวเท่านั้น พอดีอาตมามีอยู่จำนวนนึงขอมอบให้คุณหมอยังไงช่วยส่งที่อยู่มาที่ PM ของอาตมาเดี๋ยวอาตมาจะจัดส่งไปให้คุณหมอ
     
  19. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    โมทนาด้วยครับจะลองไปดูครับ
     
  20. ROJKAJORN

    ROJKAJORN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,350
    เคยได้ยินเรื่องของท่านอยู่ครับ ตั้งใจว่าต้องหาโอกาสไปกราบซักครั้งแน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...