ชายชาตรีในยุคนี้ยังมีมั้ย?

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 31 มกราคม 2016.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    �س���ѵԢͧ ��ªҵ��


    คุณสมบัติของ ชายชาตรี   โดย   ปราณเวท


           คำว่า "ชายชาตรี"  ถ้าแปลตามพจนานุกรม จะหมายถึง ผู้ชายที่มีศิลปะวิชาอาคม หรือ ผู้ชายที่มีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ 
           ชายชาตรี  เป็นสิ่งที่ผู้ชายหลายคน อยากเป็น หรืออยากได้ชื่อ ว่าเป็น แต่ถ้าผู้อ่านท่านใด อยากจะเป็นชายชาตรี บ้างล่ะก็ ไม่ยากครับ เพียงแค่มี
    คุณสมบัติของความเป็นชายชาตรี 5 ประการดังนี้

       1. มีคุณธรรม
       2. มีความรู้ 
       3. ประกอบวีรกรรมกล้าหาญอดทน
       4. มีความสามารถในการต่อสู้  มีศิลปะการป้องกันตัว
       5. มีความรู้ทางกฤตยาคม

            คุณสมบัติทั้ง 5 ข้อ ผมทราบมาจาก ครูของผมอีกที และเป็นคุณสมบัติ ที่ผู้ฝึกมวยไชยา ทุกคนต้องรู้ นอกเหนือจากคำปฏิญาณตนก่อนที่จะฝึกมวย 

            แล้วในสมัยปัจจุบันนี้ เราต้องทำอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นชายชาตรี  ข้อนี้ผมพอจะบอกได้ ตามกำลังความคิดของผมดังนี้ครับ

       1. มีคุณธรรม ก็คือ การเป็นผู้มีคุณธรรม ก็คงไม่ต้องบวชเป็นพระอย่างเดียวหรอกครับ  แค่รู้จักถือศีล 5 บ้าง ไม่คดโกงใคร ไม่หลอกลวงใคร ใจกว้างมีน้ำใจ รู้ผิดชอบชั่วดี ยึดมั่นในคุณความดี มีความเป็นลูกผู้ชาย มีระเบียบวินัย แค่นี้ก็น่าจะผ่านแล้วครับ สำหรับ ปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป

       2. มีความรู้ ก็คือ เป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ เพิ่มเติม ไม่หยุดนิ่ง มีความรู้ความเข้าใจในทางโลก มีหลักในการดำเนินชีวิต  เป็นผู้ที่แสวงหาความถูกต้องเสมอ ในข้อนี้ สำหรับใคร ที่จบปริญญาตรี ก็น่าจะถือได้ว่า เป็นผู้มีความรู้แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีทุกคน จะเป็นผู้มีความรู้ได้เสมอไป ถ้าคนๆนั้น ไม่รู้จักนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม และในทางกลับกันคนที่ไม่ได้เรียนสูงๆหรือจบปริญญาตรี ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ ทั้งนี้เพราะพิจารณาจาก ในสมัยก่อนก็ไม่มีมหาวิทยาลัย ก็มีชายชาตรีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ขอให้มีคุณสมบัติข้างต้นก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ

       3. ประกอบวีรกรรมกล้าหาญอดทน ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคม ประเทศชาติ ด้วยความสามารถทางกาย อย่างเต็มความสามารถ และรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ถ้าเป็นสมัยก่อนก็คง เป็นเรื่องการปกบ้านป้องเมือง การทำศึกสงครามอย่างกล้าหาญอดทน ถ้าเป็นสมัยนี้ผมว่า เป็นทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร อปพร. พนักงานดับเพลิง  ทหารเกณฑ์รับใช้ชาติ 2 ปี หรือ เรียน รด. ซัก 3 ปี หรือถ้ามีโอกาสได้รับใช้ชาติตามแนวชายแดน , สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ก็นับว่าเยี่ยมแล้วครับ ผ่านแน่นอน

       4. มีความรู้ในศิลปะการต่อสู้ ข้อนี้คงไม่ต้องอธิบายเยอะครับ ตรงตัวเลย ก็ต้องผ่านการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ให้อยู่ในระดับที่ใช้ได้ อย่างน้อยก็ก็ต้องอยู่ในระดับ  ตัวต่อตัว กับคนรุ่นเดียวกันแบบสบายๆ ก็ผ่านแล้วครับ เรื่องนี้มัน แล้วแต่ มาตรฐานของคนนั้นๆ ครับ

       5. มีความรู้ทางกฤตยาคม ข้อนี้คงเป็นข้อที่ยากสำหรับบางคนครับ เพราะในสมัยนี้ จะหาที่ร่ำเรียนก็ยาก แถมถ้าเรียนมากๆ สนใจมากๆ ก็อาจถูกมองว่า เป็นคนงมงาย ไร้สาระ สติฟั่นเฟือนไปได้  สำหรับใครหลายคนคิดว่า เรื่องกฤตยาคมนั้น เป็นเรื่องที่คนสมัยก่อน เขานำมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตนเอง เพราะถ้าทุกคน ท่องคาถาแล้วสัมฤทธิ์ผล มีอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพัน ในการศีกสงครามคงไม่มีคนตายในสนามรบแน่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กฤตยาคม จะไม่มีจริงนะครับ (ผมเพียงอยากให้ทุกคนมีสติ ไม่งมงาย หลงอะไรง่ายๆ เท่านั้น) สำหรับผมแล้ว ผมเชื่อเรื่องนี้ครับ เพียงแต่ว่าเราจะไปเที่ยวพิสูจน์ให้คนนั้นคนนี้ดู เรื่อยเปื่อยคงไม่ได้ ของอย่างนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวครับ และความรู้ทาง กฤตยาคม ก็ไม่ได้มีอยู่แค่เรื่อง อยู่ยงคงกระพัน อย่างเดียว ยังมีเรื่อง แคล้วคลาด โชคลาภการป้องกันการกระทำย่ำยี ทางคุณไสย  การแก้คุณผีคุณคน การกำหราบภูตผีปีศาจ ทั้งหลายอีกขอให้พอมีความรู้ทางกฤตยาคมไว้ป้องกันตัวเองได้ก็ถือว่า ผ่านแล้วครับ


            ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพราะอยากให้ คนรุ่นใหม่ เยาวชน มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง ชายชาตรี ที่ถูกต้อง มากขึ้น ในมุมมองของผมนะครับ ไม่ใช่มีคุณสมบัติเพียงข้อเดียวก็จะ ทึกทักเอาว่า เป็น ชายชาตรี เสียแล้ว และการทำร้ายผู้อื่น หรือรังแกคนที่อ่อนแอกว่า อย่างนี้ถือว่าห่างไกลจากคำว่า ชายชาตรี มากเลยครับ 

            ผมคิดว่าอย่างน้อยคนที่จะได้ชื่อว่าเป็น ชายชาตรี ในยุคสมัยนี้ ก็ควรจะมีคุณสมบัติอย่างน้อย 4 ข้อแรกให้ครบถ้วน เรื่องนี้ไม่ใช่มีแต่ประเทศไทย นะครับที่คิดกัน ในอดีตที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี ของเขาก็ต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ข้อแรกนี้เหมือนกัน จึงจะเป็นผู้นำที่สง่าผ่าเผยได้ 

            ในสมัยที่ผมเป็นวัยรุ่น ผมเคยคิดว่า เราน่าจะมีโรงเรียนที่สอนความเป็นลูกผู้ชาย นอกจากโรงเรียนนายร้อย ตำรวจ ทหาร บ้างนะ(ก็อย่างที่รู้ๆ กันครับการเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยเป็นเรื่องที่ยากเเย็นแสนเข็ญมาก ) แบบว่า จะเป็นใครก็สามารถเดินเข้ามาเรียนได้ และถ้าสามารถเรียนจนจบหลักสูตรได้ ก็จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 4 ข้อแรก อย่างเข้มข้นติดตัวไป ผมเชื่อว่า ถ้าคนในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง มีคุณสมบัติชายชาตรี อย่างน้อย 3 ข้อแรก ประเทศเราก็จะน่าอยู่มากขึ้น และเจริญก้าวหน้าไม่แพ้ชาติใดอย่างแน่นอน
     
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ท่านใดมีหนังสือคู่มือชายชาตรีอยากขายpmมานะคะ ...
     
  3. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ให้จขกท.เป็นผู้หญิงที่มีศักดิ์ศรีทำไม่เป็น แต่ให้สร้างบารมีเป็นชายชาตรีจขกท.ทำได้ หุหุ
     
  4. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    สัจจะ : คุณสมบัติของลูกผู้ชายตัวจริง - A-Academy


    ลูกผู้ชายตัวจริง… ดูที่ตรงไหน ?


    ผมมักมีคำถามนี้เสมอ เวลาที่ไปกินเลี้ยงกับเพื่อนๆ
    โดยเฉพาะปาร์ตี้กลางคืนตามร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ

    คำถามนี่มันจะเกิดตอนเริ่มดึก
    ทุกคน (ยกเว้นผม) เริ่ม “ดื่ม”กันได้ที่ “อารมณ์กำลัง High”
    ผมจะเริ่มได้ยินเสียงท้าทายกันว่า…

    “เฮ้ย! ไอ้ X แก้วมึงทำไมยังเต็มอยู่วะ… ไม่หมดแก้วนี้เมิงตุ๊ด!”

    (ไอ้ X นี่ไปเปลี่ยนชื่อเอาเองนะครับ ขอสงวนนามไว้…เพราะมีเยอะ)

    ถ้าเป็นผมคงนึกในใจว่า “ตุ๊ดแล้วไงว๊า”

    แต่ไอ้ X ของผมก็มักจะมีท่าทีโมโห ฮึดฮัด ประมาณว่า “กรูไม่ตุ๊ด”
    “กรูนี่แหละ ลูกผู้ชายตัวจริง” และซัด “เครื่องดื่ม” แก้วนั้นจนหมด

    ผมนั่งอยู่ทั้งคืน ก็เห็นเล่นวนกันไปมา ต่อจากไอ้ X ก็คือ น้อง Y และพี่ Z!

    คำถามที่ผมคิดก็คือ… ถ้าจะไม่ตุ๊ดนี่ต้องยังไงกัน…

    “ลูกผู้ชายตัวจริง มันดูกันที่ตรงไหน?”

    มันก็มีหลายๆ คำตอบที่โผล่เข้ามาในใจ เช่น

    เป็นคนดี เป็นสุภาพบุรุษบ้าง…
    สามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้ไม่ลำบากบ้าง…
    เป็นตำนาน เป็นวีรบุรุษบ้าง…

    แต่ผมก็ยังไม่พอใจกับคำตอบอยู่ดี
    จนกระทั่งอยู่ดีๆ คำตอบที่ผมชอบที่สุดก็โผล่มา และผมรู้ตัวเลยว่านี่ล่ะใช่!

    ครับ! คุณสมบัตินี้… มันคือคำว่า

    “สัจจะ”

    นอกจากคำสั้นๆ นี้จะโผล่มา มันยังพาเหตุผลประกอบมาด้วยเป็นชุดๆ
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมอยากจะชวนทุกท่าน ทั้งลูกผู้ชาย (และลูกผู้หญิง และเพศอื่นๆ)
    คิดตามกันไปว่า ที่ผมคิดมันถูกรึเปล่า ?

    คนมีสัจจะทำให้เรา “สบายใจที่จะอยู่ด้วย”
    เค้าอาจจะคารมไม่ค่อยดี พูดไม่เพราะ แต่ไม่เคยทำให้เราเดือดร้อน

    สัจจะ ทำให้เค้าเป็นคนที่ให้ความเคารพและ “ตรงต่อเวลา”
    นัดตอนไหน มาตอนนั้น ไม่ให้เราต้องรอ ไม่ให้งานต้องช้า

    สัจจะ ทำให้เค้าเป็นคนที่เราสามารถ “พึ่งพิงได้”
    เพราะพูดคำไหนก็เป็นคำนั้น ถ้าบอกว่าจะทำเมื่อไร ก็จะพยายามทำให้มันได้
    ถ้าทำไม่ได้เค้าก็จะไม่รับปากตั้งแต่ต้น…
    ไม่ปล่อยให้เราเข้าใจผิด แล้วไปรู้ตัวว่าซวยเอาทีหลัง

    เค้าสามารถจะ “สัตย์ซื่อได้… แม้แต่กับสิ่งเล็กๆ!”

    ณ บัดนั้น… ผมบอกกับตัวเองว่า

    “เฮ้ย… เราต้องเป็นคนที่เจ๋งแบบนั้นให้ได้!”

    และแล้วการเปลี่ยนแปลงก็เริ่มเกิดขึ้น…

    มันไม่ใช่เรื่องง่าย… แต่ก็ไม่ยากที่จะยึดถือเอา “สัจจะ”
    เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต

    ผมเริ่มสำรวจว่า “ไปรับปากอะไรใครไว้ แล้วยังไม่ทำให้เค้ารึเปล่า”
    ถ้ายังมีโอกาสทำให้มันสำเร็จได้ตามที่รับปากไว้ ผมจะทำให้ได้

    ผมเริ่มรับปากใครๆ ช้าลง เมื่อก่อนเอะอะก็ “ครับๆ” ไปก่อน
    เดี๋ยวนี้ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองจะทำได้ ผมจะไม่รับปากเด็ดขาด
    หลังๆ เริ่มฉลาด ก็จะต่อรองให้เรียบร้อยตั้งแต่แรก
    ว่าขอบเขตเท่าไหนที่เราพอจะรับไหว… เพราะพูดไปแล้วต้องทำให้ได้

    ผมเริ่มให้ความสำคัญกับการ 
    เมื่อก่อนถ้ามีนัดมักจะคิดว่า

    “ไปถึงให้ใกล้ๆ กับเวลาที่นัดไว้ก็โอเคแล้ว การจราจรกรุงเทพฯ ก็รู้ๆ กันอยู่
    เลทบ้างก็เข้าใจกันได้ เผื่อเวลามากไป เราเองก็อยากตื่นสายเหมือนกัน”

    ก็เปลี่ยนเป็น

    “ต้องไปให้ถึงตามเวลาที่นัดให้ได้ รถติดไม่ใช่ข้ออ้าง เราจัดการได้เสมอ
    เรื่องนี้มันสำคัญ เป็นสิ่งที่เราอยากแสดงออกให้อีกฝ่ายได้เห็นว่าเราตั้งใจ”

    ผมทำแค่นี้จริงๆ… แต่ทำไม่หยุด

    ผ่านไปหลายเดือน หลายปีเข้า ผมเริ่มค้นพบวิธีการใช้ “สัจจะ”
    ที่ผมสร้างขึ้นมาเป็นนิสัย ได้แบบขั้น Advanced!

    ผมค้นพบว่าถ้าอยากทำอะไรให้ได้ ผมก็แค่ “ลั่นวาจา” หรือพูดออกไปก็พอ

    ถ้าใครอยู่ใกล้ผมและสนิทกับผมระดับนึง ก็จะเริ่มเห็นว่า
    ไอ้บ้านี่… มันชอบพูดเพ้อเจ้อว่าจะทำนั่นทำนี่
    หรือเพ้อฝันว่าจะชนะการแข่งขันอันนั้นอันนี้
    จะรีบเกษียณ… จะลงทุนสำเร็จอย่างนั้นอย่างนี้

    ต่อมาผมเริ่มพบว่า “เฮ้ย ไม่ต้องพูดออกไปดังๆ ก็ได้ผลเหมือนกันแฮะ”
    คือแค่ “พูดกับตัวเองดังๆ… ในใจ” ผมก็รู้สึกว่าเป็นสัจจะ
    เป็นพันธะที่ต้องทำให้สำเร็จแล้ว
    ซึ่งนั่นก็ทำให้… ผมเริ่มเพ้อเจ้อ หรือโม้น้อยลงเยอะ 

    จนถึงปัจจุบันน่าจะ 5-6 ปีแล้ว มีสิ่งมหัศจรรย์ที่ผมสังเกตได้
    มันอาจจะไม่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเป็น “วาจาสิทธิ์”
    ที่พอพูดอะไรแล้วจะเกิดสิ่งนั้นขึ้นจริง
    แต่ผมสัมผัสได้จริงๆ ว่าคำพูดของผมช่วงหลังๆ นี้ เริ่ม “มีพลัง” มากขึ้น

    ด้วยลักษณะงานที่ผมต้องสื่อสารกับคนเยอะๆ พูดกับคนบ่อยๆ
    ผมเริ่มสัมผัสได้ว่า

    “เฮ้ย… จริงๆ แล้วเราก็พูดเหมือนวิทยากรท่านอื่นๆ เลย
    แต่ทำไมผู้ฟังดูจะเข้าใจสิ่งที่เราพูดได้ดีกว่า แถมดูเหมือนจะชอบ
    และไม่เบื่อสิ่งที่เราพูด… ทั้งๆ ที่เราพูดน้ำมากกว่าเนื้อเป็นประจำ”

    เวลาคุยกับลูกค้า (เมื่อก่อนผมทำงานเป็นที่ปรึกษาการลงทุน)
    บางอย่างแค่เราพูดสั้นๆ เค้าก็เชื่อมั่นในความเห็นเราแล้ว

    ผมว่าผมไม่ได้คิดไปเอง…
    แต่ผมเชื่อว่ามันเป็น “กำลัง” เป็น “บารมี” ที่เกิดขึ้น
    จากการที่เราพยายามรักษาสัจจะได้เป็นอย่างดี และทำได้ต่อเนื่อง
    ซึ่งแน่นอนว่า ทำได้ไม่มีทาง Perfect หรอกครับ

    แต่เราผิดแล้ว ถ้าแก้ทัน ก็แก้ไขในครานั้น
    ถ้าแก้ไม่ทัน เราก็จะยิ่งเพิ่มความระมัดระวัง ไม่ให้ผิดพลาดอีก

    ผมตั้งใจเขียนเรื่อง “สัจจะ” นี้
    เพื่ออยากให้ทุกท่าน ตระหนักถึงความสำคัญของการพูด การให้คำมั่นสัญญา
    ไม่รู้ว่าผมรู้สึกไปเองมั๊ย แต่ผมรู้สึกว่า

    “นับวันเรายิ่งเชื่อถือคำพูดของกันและกันไม่ค่อยได้”

    เรากลายเป็นคน “ปากเบา”
    เอะอะ ก็เออออ ห่อหมก รับปากไปมั่วๆ พอให้ตัวรอด

    ซึ่งผมมั่นใจว่า คุณสมบัตินี้ถ้าพัฒนาขึ้นมากับตัวได้ 
    จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตของทุกท่านได้แน่นอน

    ถ้าท่านทำงานกินเงินเดือน ผมเชื่อว่านายจะรักและเชื่อมั่นในท่านมากขึ้น

    ถ้าท่านเป็นเจ้าของธุรกิจ ลูกค้าจะอยู่กับท่าน แม้คู่แข่งจะตัดราคาแข่ง

    ถ้าท่านเป็นพ่อแม่ ลูกหลานจะเชื่อฟัง และมองท่านเป็นแบบอย่าง

    สรุปแล้ว… เรามาสร้าง “สัจจะ”
    เพื่อพัฒนาเป็นลูกผู้ชาย (และลูกผู้หญิง) ตัวจริงกันนะครับ!

    โพสครั้งแรกใน A-Academy FB Page  เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 57
     
  5. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ความหมาย "สุภาพบุรุษ" และ "สุภาพสตรี"


    ความหมาย "สุภาพบุรุษ" และ "สุภาพสตรี"


    สุภาพบุรุษตามคตินิยมในสังคมไทยนั้น ตรงกับคำว่า " ชายชาตรี "หมายถึงผู้ชายที่มีอุปนิสัยใจคอ และกิริยามารยาท 
    " สมกับความเป็นชาย " ตามลักษณะของค่านิยมในสังคมดังกล่าว 

     
    1.เป็นผู้มีเกียรติเชื่อถือได้

    2.ประพฤติตนสมกับความเป็นลูกผู้ชาย

    3.เป็นผู้ให้เกียรติแก่สตรีในทุกโอกาส

    4.วางตนเป็นที่ไว้วางใจแก่สตรีได้ทุกโอกาส

    5.ไม่นำเอาเรื่องส่วนตัวของสตรีที่เกี่ยวข้องกับตนหรือผุ้อื่นในทางชู้สาวออกเปิดเผยให้ผุ้อื่นทราบ

    6.ปกป้องช่วยเหลือและเป็นมิตรที่ดีแก่มิตรที่เป็นสตรี

    7.ไม่ล่วงเกินสตรีที่ให้ความไว้วางใจแก่ตน ไม่วาทางกาย วาจา หรือ จิตใจ

    8.ไม่พูดจานินทา ลบหลู่ ดูถูก เหยียบหยามหรือรังแกสตรีไม่ว่าในกรณีใด
    ความอดกลั้นอันสูงส่งของสุภาพบุรุษจะเป็นหลักของจิตใจไม่เสียมารยาทในข้อนี้ได้

    9.รู้จักการให้อภัยแก่สตรีในทุกกรณี หากสตรีมีการล่วงเกินตน
    ด้วย กาย วาจาหรือใจ 

    10.ควรหลีกเลี่ยงการคบหากับสตรีที่ไร้มารยาท ขาดเหตุผล 
    และมีจิตใจโหดร้าย


    สุภาพสตรี

    สุภาพสตรีตามคตินิยมในสังคมไทยนั้น ตรงกับคำว่า " กุลสตรี " หมายถึง สตรีที่มีตระกูล และมีมารยาทดี 
    คำว่ามีตระกูล มีความหมายลึกไปถึงความเป็นผู้ที่พ่อแม่ได้อบรมสั่งสอนมาดีแล้ว 
    มิได้หมายถึงชาติกำเนิดเท่านั้น ตามหลักของค่านิยมในสังคมดังกล่าว 


    1.เป็นผู้ครองตนอยู่โดยปราศจากมลทิน อยู่ในกรอบของ
    ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดีงาม

    2.เป็นผู้มีจิตใจหนักแน่น มีสัจจะ เชื่อถือได้

    3.เมื่อพบปะบุรุษ ไม่สมควรส่งเสียงให้เขาเหลียวหลัง 
    หรือจ้องมองเขาจนเกินควร และไม่ควรทักบุรุษก่อน เว้นแต่
    เป็นเพื่อนสนิทกันมาก่อน

    4.ไม่ควรให้ของที่ระลึกต่างหน้า ตลอดจนรูปถ่ายหรือตำบล
    ที่อยู่ของตนแก่บุรุษที่เพิ่งรู้จักกัน

    5.ไม่ควรอยู่กับบุรุษสองต่อสองในที่ลับตาคนและในเวลาค่ำมืด

    6.ไม่ควรเข้าไปในบ้านของบุรุษ ที่มีเพียงเขาอยู่คนเดียว 
    และไม่ควรเข้าไปในห้องนอนของบุรุษด้วย

    7.อย่าถือวิสาสะกับบุรุษมากเกินไป เช่น ทุบตี หยิกหยอกล้อ 
    หรือล้วงกระเป๋าเสื้อของบุรุษ เป็นต้น

    8.ไม่ควรปรนนิบัติบุรุษจนเกินเหตุเกินควร แม้จะเป็นญาติ
    เกี่ยวดองกัน

    9.เมื่อได้รับของกำนัลจากบุรุษไม่ต้องสนใจต่อสิ่งของนั้นมากนัก 
    เพียงแต่กล่าวขอบคุณและควรเก็บความพึงพอใจไว้ในใจ 
    อย่าแสดงออกให้บุรุษเห็นนอกหน้า

    10.พึงเป็นคนสงบเงียบวางตน ให้เป็นที่เกรงใจของบุรุษ

    11.อย่าประพฤติตนเป็นคนจัดจ้านว่ากล่าวขู่เข็นบุรุษ ซึ่งจะทำให้
    ตนเองเป็นผู้ขาดความนิยมจากบุรุษเพศไป

    12. อย่าแสดงอาการเย่อหยิ่งหรือกล่าววาจาทักทายดูถูก
    เหยียดหยามต่อบุรุษ เพราะไม่ใช่เป็นการวางตัวที่ดีของสุภาพสตรี

    13.อย่าเก็บเรื่องของผู้อื่นมานินทาให้สุภาพบุรุษฟัง ถ้าแสดงนิสัย
    เช่นนี้บ่อย ๆ เขาจะคิดว่าคงนำเรื่องของเขาไปนินทาให้ผู้อื่นฟังด้วย 
    ทำให้คิดรังเกียจขึ้นมาได้

    14.ความอดทน อดกลั้น อดออม เป็นคุณสมบัติที่ดียิ่งของกุลสตรี
     
  6. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    https://mobile.facebook.com/ruamkandham/posts/663045407143544:0?_rdr

    สัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษธรรม ที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของคนดี

    สัตบุรุษ หมายถึง คนที่มีความประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ คือมีพฤติกรรมถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือเรียบร้อยดีไม่มีโทษ เป็นผู้มีจิตสงบระงับจากบาปอกุศลธรรม ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน

    ในที่นี้มีกุศลธรรม ๗ ประการเป็นเครื่องพิสูจน์ให้ทราบได้ชัดว่า เมื่อมีประจำในจิตสันดานของบุคคลใด บุคคลนั้นไม่ว่าจะเป็นสตรีหรือบุรุษ ย่อมได้รับการขนานชื่อว่า สัตบุรุษ

    กุศลธรรม ๗ ประการนี้เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ มีอธิบายดังนี้

    ๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ หมายถึง ความเป็นผู้รู้หลัก คือความเป็นผู้รู้จักว่าสิ่งนี้เป็นเหตุของสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นเหตุของสิ่งนี้ เช่นรู้ว่า เมื่อคนเราขาดอิทธิบาท ๔ ในการประกอบอาชีพทำมาหากิน หรือในการทำกิจต่างๆ ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ความเป็นผู้รู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินกิจการต่างๆ โดยรู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล เช่น ชาวพุทธรู้ว่าหลักธรรมเพื่อการสร้างตนให้มีหลักฐานมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือหลักการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ชอบคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้นำประเทศทราบถึงหลักการปกครองประเทศที่ดีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่มุ่งหมายหรือต้องการนั้นๆ เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุดคือรู้เท่าทันกฎธรรมดาหรือหลักความจริงของธรรมชาติเพื่อปฏิบัติต่อโลกและชีวิตได้อย่างถูกต้อง มีจิตเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ

    ๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักว่า ผลอันนี้เกิดจากเหตุอันนี้ เช่น เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำมาหากินในทางสุจริต การศึกษาเล่าเรียน หรือในการทำกิจต่างๆ ก็รู้ว่าเป็นเพราะขาดหลักอิทธิบาท ๔ กล่าวคือ ไม่มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการประกอบอาชีพนั้น ในการศึกษาเล่าเรียนนั้น หรือในการทำงานนั้น เป็นต้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ความเป็นผู้รู้จักอรรถคือ ความหมายหรือความมุ่งหมายของหลักการที่ตนต้องปฏิบัติ โดยมีความเข้าใจประโยชน์ที่ประสงค์หรือวัตถุ ประสงค์ของกิจการที่ตนทำ รู้ว่าสิ่งที่ตนทำอยู่อย่างนั้นๆ ดำเนินชีวิตอย่างนั้นเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร หรือควรจะได้บรรลุผลอะไร รวมถึงรู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่อง จากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือพุทธศาสนสุภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร การที่ตนกระทำอยู่อย่างนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนถึงขั้นสูงสุดคือรู้ความหมายของคติธรรมดา และประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแท้จริงของชีวิต

    ๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ความสามารถ ความถนัดและคุณธรรม เป็นต้น ของตนว่ามีสภาพอย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมและทำการต่างๆ ให้สอดคล้องถูกจุดที่จะสัมฤทธิ์ผล ตลอดจนพร้อมแก้ไขปรับปรุงตนให้เจริญงอกงามถึงความสมบูรณ์อันยิ่งขึ้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ความสามารถมองตนเองออก ว่าตนเองเป็นใคร มีฐานะและภาวะอย่างไร กำลังต้องการอะไร เมื่อมองออกแล้วก็พยายามปรับตนเองให้เป็นอย่างที่ตนเป็นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พยายามวางตนให้เหมาะสมกับฐานะและภาวะของตนและใช้กำลังความรู้ความสามารถของตนพัฒนาตนเองให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการในทางที่ชอบ รวมถึงความรู้จักหยุดยั้งความต้องการอันเกินขอบเขตกำลังความรู้ความสามารถของตน และหยุดยั้งการแสวงหาอันเกินกำลังหรือในทางที่มิชอบธรรม อันจะทำให้ตนเดือดร้อนในภายหลัง

    ๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายถึง ความรู้จักพอดีในสิ่งต่างๆ เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคและการใช้จ่ายทรัพย์ รู้จักความพอเหมาะในการพูด การปฏิบัติกิจและทำการต่างๆ ตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับและการสนุกสนานรื่นเริงทั้งหลาย ทำการงานทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์เพื่อผลดีแท้จริงที่ พึงต้องการ โดยมิใช่เพียงเพื่อเห็นแก่ความพอใจ ชอบใจ หรือเอาแต่ใจของตน แต่ทำตามความพอดีแห่งเหตุปัจจัย หรือองค์ประกอบทั้งหลายที่จะลงตัวให้เกิดผลดีงามตามที่มองเห็นด้วยปัญญา

    ความรู้จักประมาณในสิ่งต่างๆ ดังกล่าวนั้นต้องเป็นไปใน ๓ ขณะ คือ ในขณะแสวงหา ในขณะรับ และในขณะบริโภคใช้สอย

    โดยความรู้จักประมาณในขณะแสวงหาย่อมเป็นเหตุให้ประกอบอาชีพโดยทางที่ชอบธรรมไม่ใฝ่สูง ทะเยอทะยานจนเกินประมาณ อันจะก่อให้เกิดการแสวงหาในทางทุจริตต่อมา

    ความรู้จักประมาณในขณะรับย่อมเป็นที่ยินดีและเลื่อมใสของบุคคลผู้ให้ และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนในภายหลัง ทั้งเป็นที่สรรเสริญของบุคคลผู้อื่นด้วย

    ส่วนความรู้จักประมาณในขณะบริโภคใช้สอย โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วบริโภคอาหารหรือใช้สอยพัสดุสิ่งของต่างๆ ให้พอเหมาะพอควร ไม่ให้มากนัก ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ก็จักเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ เช่น เมื่อบริโภคอาหารพอเหมาะพอดี ก็จะก่อเกิดความมีสุขภาพ ดีแก่ร่างกาย และเมื่อร่างกายปราศจากโรคแล้ว หากต้องการฝึกอบรมจิตให้เป็นสมาธิหรือให้เกิดปัญญา ก็ทำได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

    ๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล หมายถึง การรู้จักเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจกระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น หรือการรู้จักกาลเวลาในอันที่จะประกอบกิจนั้นๆ เป็นต้นว่า ตนมีหน้าที่การงานจะพึงทำหลายอย่างด้วยกัน จะเป็นกิจการทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม จะต้องแบ่งเวลาให้เหมาะแก่กิจที่จะต้องทำนั้นๆ การงานจึงจะดำเนินไปโดยเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ไม่ยุ่งยิ่งยุ่งเหยิง คั่งค้างอากูล ตลอดจนรู้จักกะเวลาและวางแผนการใช้เวลาอย่างได้ผล

    ๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม รู้จักสังคม คือรู้จักว่า ชุมชนหรือสังคมนั้นเป็นอย่างไร จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะเหมาะกับสังคมนั้นเพื่อให้สามารถเข้ากับชุมชนนั้น โดยไม่เก้อเขินหรือประหม่า เช่น เมื่อไปร่วมพิธีงานศพจะต้องแต่งกาย จะพูดและจะทำอย่างไร เมื่อเข้าวัดไปในพิธีทำบุญต่างๆ จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสม จะวางตัวอย่างไรเมื่อพูดคุยกับพระสงฆ์ เป็นต้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ ความรู้การอันควรประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมนุมและต่อชุมชนนั้นว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหาควรทำกิริยาอย่างนี้ ควรต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ มีระเบียบวินัยอย่างนี้ มีวัฒนธรรมประเพณีอย่างนี้ มีความต้องการอย่างนี้ ควรเกี่ยวข้อง ควรสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ควรรับใช้ ควรบำเพ็ญประโยชน์อย่างนี้ๆ เป็นต้น

    ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบบุคคล หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือรู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้จักที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ว่าควรคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี เป็นต้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้แก่ความสามารถอ่านคนออก โดยรู้จักบุคคลแต่ละคนว่ามีลักษณะนิสัยเป็นอย่างไร มีความสามารถในด้านใด มีคุณภาพเป็นอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร ใครควรคบหรือไม่ควรคบอย่างไร เป็นต้น เมื่อรู้จักลักษณะนิสัยของบุคคลนั้นๆ เป็นอย่างไรแล้ว ก็สามารถที่จะปฏิบัติต่อเขาได้อย่างถูกต้อง

    สัปปุริสธรรมทั้ง ๗ ข้อนี้ สรุปเป็นคำจำกัดให้กำหนดง่ายๆ ว่า รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล เป็นกุศลธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นคนดี โดยไม่ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด ฐานะ ความเป็นอยู่ หรือความมีการศึกษาสูง บุคคลใดเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักความพอดี รู้จักเวลา รู้จักชุมชนหรือสังคม และรู้จักเลือกคบคน บุคคลนั้นก็สามารถที่จะเป็นคนดี เป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ หรือเรียกว่า เป็นคนเต็มคน คนดีที่แท้ ซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าอย่างแท้จริงของมนุษยชาติ

    (จากส่วนหนึ่งของหนังสือ
    พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)

    (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ ๑๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
     
  7. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,866
    สมัยนี้ผู้ชายแท้ๆยังหายากเลย

    แล้วจะไปหาชายชาตรีได้ที่ไหน....5555+++///
    นี่ถ้าเจอจริงๆ แล้วจะเอาไปทำอะไรหรอ ครับ....อิอิอิอิ
    (smile)
     
  8. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    "..วีรบุรุษไม่เกี่ยงว่าอาวุธใดเอาชนะศัตรู
    วีรบุรุษย่อมไม่เป็นน้ำที่เต็มแก้ว
    และบัณฑิตย่อมอุทิศตนเพื่อค้นหาความจริง
    ไม่ปิดกั้นความคิด ด้วยอคติ!

    - ขงเบ้ง @จูกัดเหลียง
     
  9. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ถ้าเจอจริงๆ จะไหว้งามๆ1ครั้งค่ะ โอเครนะคะ ^_^
     
  10. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    เพศชาย...เป็นเพราะ เกิด
    ลูกผู้ชาย...เป็นเพราะ วัย
    สุภาพบุรุษ...เป็นเพราะ 'เลือก' ที่จะเป็น
    -
    Cr.Vin Diesel #โค้ชจิ๊บ #lifecoach
     

แชร์หน้านี้

Loading...