ซับใต้:ตำนานไพรพญาเย็น

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,496
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]


    ต้นฝนที่ผ่านมา ผมขับรถหลงไปบนเส้นทางมุ่งสู่ผืนป่ามรดกโลก-ดงพญาเย็น (เขาใหญ่) โดยบังเอิญ แต่ไม่ใช่เส้นทางหลักจากปากช่องที่คุ้นเคย เพราะนี่คือเส้นทางสู่เขาใหญ่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งใกล้อำเภอมวกเหล็ก สระบุรี มากกว่า และอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 150 กิโลเมตร ยิ่งหลงเข้าไปลึก ก็ยิ่งแปลกใจ เพราะสองข้างทางละลานตาด้วยรีสอร์ท สปา สนามกอล์ฟ สวนเกษตร ไร่องุ่น ไปจนกระทั่งโรงบ่มไวน์ ซึ่งออกจะขัดแย้งกับเรื่องจริงของพื้นที่นี้ในอดีต



    "...ปู่ผมเป็นรุ่นบุกเบิกทำไร่ข้าวโพดที่นี่ วันหนึ่งมีเสือโคร่งเป็นเสือหิวออกมาจากป่าลงมาตะปบแล้วกัดเพื่อนปู่ ปู่เล่าว่า ชาวบ้านช่วยกันไล่เสือไปได้ แต่เพื่อนปู่ขาดใจตายไปแล้ว ครั้นจะเก็บศพก็ไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ล่อเสือ ไม่งั้นเสือหิวต้องลงมาทำร้ายชาวบ้านอีก แล้ว*****็ลงมาอีกจริงๆ ชาวบ้านดักยิงได้ พอเอาขึ้นรถกระบะ ปรากฏว่าตัวเสือยาวพ้นกระบะ..."
    วัลลภ หมื่นหาญ เยาวชนบ้านซับใต้ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เล่าเรื่องเมื่อราวกึ่งศตวรรษให้ผมฟัง จนแทบไม่น่าเชื่อว่าจาก บ้านซับใต้-สถานที่เกิดเหตุ ไปตามถนนลาดยางอย่างดี เพียง 13 กม. ก็จะถึงตลาดของฝากมวกเหล็ก และฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก ริมถนนสายมิตรภาพ ที่วันนี้คึกคักด้วยนักท่องเที่ยวและเกษตรกรโคนม
    "...ไม่กี่ปีมานี้ก็ยังมีพวกล่าสัตว์ เจอหมีแม่ลูกอ่อนตบจนบาดเจ็บ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว ก็ยังมีช้างลงมาเหยียบถังใส่นมของชาวบ้านบี้ไปเลย..."
    เรื่องเล่าของวัลลภยืนยันความสมบูรณ์ของผืนป่า และอาจเป็นคำอธิบายที่ดีว่า เหตุใด องค์การยูเนสโกจึงประกาศยกย่องอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทับลาน ปางสีดา ตาพระยา รวมกันในนาม "ผืนป่าดงพญาเย็น" เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ปี 2548 แต่ขณะเดียวกัน ก็สะท้อนความจริงว่า เรื่องเล่าชวนระทึกนั้น เป็นผลมาจากการที่มนุษย์ล่วงล้ำเข้าไปในอาณาจักรของสัตว์ป่า
    ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า "บ้านซับใต้" คือชุมชนแรกๆ ที่อพยพย้ายถิ่นจากหลายจังหวัดในภาคอีสาน มาตั้งถิ่นฐานทำกินประชิดป่าเมื่อกว่า 40 ปีก่อน แน่นอนว่าผลพวงจากความยากจนและความไม่รู้ ชักนำให้พวกเขาเข้าไปเก็บของป่า ล่าสัตว์ ควบคู่ไปกับการทำไร่ข้าวโพด ที่ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นพืชไร่ที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน แต่คนทำต้องเหนื่อยตลอด
    แต่ในเมื่อไม่มีทางย้าย "ป่า" ออกจาก "คน" ได้ ขณะที่จะย้าย "คน" (ที่มีชีวิตจิตใจ) ออกจาก "ป่า" ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แนวคิดว่าทำอย่างไร "คน" จะอยู่กับ "ป่า" อย่างสมานฉันท์ จึงเกิดขึ้นอย่างท้าทายยิ่งนัก
    "...แทนที่จะเข้าป่าล่าสัตว์ เราส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเกษตรผสมผสาน ส่งเสริมให้เลี้ยงโคนม ซึ่งมีรายได้ดีกว่ามาก เริ่มกันตั้งแต่อบรมวิธีการเลี้ยง ให้ยืมวัวไปเลี้ยงครอบครัวละ 3 ตัว แล้วยังประสานองค์การส่งเสริมโคนม (อสค.) ให้มารับน้ำนมวัวทุกวัน พอมีรายได้แล้วค่อยส่งเงินคืนสมาคมฯ..."
    สำนาน ไชยโคตร หัวหน้าศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานซับใต้ เล่าให้ฟังว่า ศูนย์นี้ถือกำเนิดในปี 2528 โดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ภายใต้การนำโดยคุณมีชัย วีระไวทยะ และยังร่วมมือกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จัดทำโครงการพัฒนาชนบทเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปบุกเบิกงานพัฒนาชุมชนตั้งแต่ "ซับใต้" ยังไกลปืนเที่ยงและมีแต่ทางลูกรัง กระทั่งผันแปรจากหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าทำลายป่า กลายมาเป็นชุมชนอนุรักษ์ป่า จากอดีตนักล่า กลายมาเป็นมัคคุเทศก์นำนักท่องเที่ยวชมความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า
    รางวัลดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม Global 500 ประจำปี 2536 และรางวัลความริเริ่มสร้างสรรค์ Equator Initiative Award ประจำปี 2545 ที่ศูนย์ฯ ซับใต้ ได้รับจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) อาจยืนยันถึงความสำเร็จนั้นได้ดี
    ถึงวันนี้ อาคันตุกะผู้ไปเยือน "ซับใต้" จะได้ประจักษ์ถึงผลพวงที่ต่อยอดจากความสำเร็จนั้น ในรูปลักษณ์ร้านอาหารและรีสอร์ท นามว่า "ซี แอนด์ ซี รีสอร์ท ซับใต้" ซึ่งมีที่มาจาก "Cabbages & Condoms" ชื่อร้านอาหารฉีกแนวจากมันสมองคุณมีชัย วีระไวทยะ ซึ่งโด่งดังมานานจากการรณรงค์ให้คนไทยควบคุมประชากรด้วยถุงยางอนามัย จนฝรั่งยกให้เป็น "Condom King"
    "ซี แอนด์ ซี รีสอร์ท ซับใต้" ให้บริการทั้งห้องพักมาตรฐาน เต็นท์พักแรม ห้องประชุม สัมมนา ร้านอาหารปลอดสารพิษ และกิจกรรมเดินป่าชมธรรมชาติดงพญาเย็น-ขุนเขามรดกโลก ที่สำคัญคือ พืชผักปลอดสารพิษเป็นผลผลิตจากชุมชนซับใต้ มัคคุเทศก์นำชมป่าก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวซับใต้ ที่เคยเข้าร่วมโครงการ "ค่ายเยาวชนรักษ์ธรรมชาติ" ที่ศูนย์ฯ จัดขึ้น
    บ่ายวันนั้น ผมชวนลูกๆ ไปเดินป่าบนเส้นทางจากซับใต้สู่น้ำตกไทรหย่อง เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมี "รักษ์" หรือวัลลภ หมื่นหาญ (คนเล่าตำนานเสือหิว) เป็นมัคคุเทศก์นำทาง เขาคือลูกซับใต้ หนึ่งในเยาวชนรักษ์ธรรมชาติรุ่นแรกๆ ปัจจุบัน เป็นพนักงาน "ซี แอนด์ ซี รีสอร์ท ซับใต้" ที่สั่งสมประสบการณ์ไพรจากสิ่งที่ปู่และพ่อถ่ายทอดให้
    ความจริงเส้นทางจาก "ซับใต้" สู่ "ไทรหย่อง" ไม่ไกลเลย แต่ผมยอมรับว่าวันนั้นเหนื่อยมาก เพราะบางช่วงยังรกชัฏ ไม่สะดวกสบายเหมือนเส้นหนองผักชี ใกล้ที่ทำการอุทยานฯ เขาใหญ่ ซึ่งนักท่องเที่ยวเดินกันจนโล่งเตียนเหมือนเดินถนนข้าวสาร แต่ผมก็ดีใจที่ใกล้กรุงเทพฯ ขนาดนี้ ยังมีผืนป่าที่สมบูรณ์ให้ลูกๆ ผมได้ชื่นชม ได้เห็นต้นไทรสูงใหญ่แผ่รากหย่อนลงมาจนถึงน้ำตก
    จนอยากบอกชาวซับใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ว่าในฐานะที่เป็นพ่อ ขอขอบคุณแทนลูกๆ ผม และลูกหลานไทยทั้งมวล ที่ท่านช่วยรักษาสมบัติล้ำค่าไว้เพื่อพวกเขา

    "ซี แอนด์ ซี รีสอร์ท ซับใต้" โทร.0-3622-7065, 0-2229-4611 ต่อ 518
    ชมรมท่องอุษาคเนย์ ขอเชิญร่วมเดินทาง "ท่องภูฏาน วิมานมังกรสันติ" วันที่ 1-5 ก.ย. "ท่องอารยธรรมเส้นทางสายไหม" วันที่ 16-25 ก.ย. นำชมโดย ธีรภาพ โลหิตกุล สำรองที่นั่งโทร. 0-2637-7321-2, 0-1823-7373

    ธีรภาพ โลหิตกุล teeraparb85@hotmail.com



    ที่มา : คมชัดลึก

    http://www.komchadluek.net/2006/08/05/s001_34479.php?news_id=34479

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...