ด่วน !!!! พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ " ถ้า เขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!‏

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย surasaksuebsan, 20 กันยายน 2010.

  1. surasaksuebsan

    surasaksuebsan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    73
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +329
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="40%">



    </TD><TD width="59%">
    <TABLE><TBODY><TR vAlign=top><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระราชดำรัสให้แจ้งให้ทราบ "ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!! ช่วยส่งต่อด้วยครับ

    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบ
    'ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์..แตก!!!

    นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ (มท.3)

    'อยากชี้แจงให้นักท่องเที่ยวทราบว่าถ้าแผ่นดินไหวแล้วทำให้เขื่อนแตก
    น้ำก็จะใช้เวลาเดินทางไปยังที่ต่างๆประมาณ 15 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวยังสามารถหลบหนีได้ทัน'

    นายสิทธิชัย กล่าวว่า การตรวจเขื่อนครั้งนี้
    เนื่องจากประชาชนจังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงวิตกว่าหาก
    เกิดแผ่นดินไหวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในแนวลุ่มน้ำของจังหวัดได้
    เพราะจังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของ เขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง
    คือ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ตั้งอยู่บนแนวแขนงรอยเลื่อน
    ศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
    ที่แยกจากแนวรอยเลื่อนสะแกงในประเทศพม่า. -สำนักข่าวไทย

    ประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ก็คือ
    ด้วยพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ที่ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้แจ้งประชาชนให้ทราบ 'ความจริง' ตรงจุดนี้
    กรณีเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหว ตรงรอยเลื่อน และเขื่อนแตกออก

    'ผลก็คือ'
    - ด้วยพลังงานของน้ำ ที่มีปริมาณมหาศาล ตัว จ. กาญจนบุรี
    และพื้นที่ใกล้เคียงในแนวเส้นทางน้ำหลากลงมาราบเป็นหน้ากลองแน่นอน
    มีเวลาอพยพ 5 ชั่วโมง ดังนั้นท่านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต้องมีการเตรียมตัว กันเอาไว้บ้างแล้วครับ

    - เป้ฉุกเฉิน
    - แผนอพยพของครอบครัว..เส้นทางอพยพ

    - จังหวัด ที่อยู่ในเส้นทางน้ำในระดับต่อลงมา ย่อมเกิดผลกระทบตามไปด้วยแน่นอน
    และระดับพลังงานการ ทำลายล้าง ไม่น้อยกว่าสึนามิ

    - สำหรับกรุงเทพมหานคร หากเขื่อนศรีแตก มีเวลาอพยพ 35 ชั่วโมง
    ซึ่งต้องคำนวนเผื่อกรณีที่ รวบรวมคนทั้งครอบครัว เผื่อรถติดหาเส้นทางอพยพ
    ที่ไม่สวนกระแสน้ำเพราะน้ำวิ่งมาตามถนนสายหลักอย่างเพชรเกษมแน่นอน
    ที่สำคัญหากน้ำทะเลหนุน ระดับน้ำที่คำนวนเอาไว้อาจสูงเกิน 2 เมตร หรือตึก 2 ชั้นได้
    ดังนั้นตั้งสติเอาไว้ ใช้ปัญญาพิจารณา หาแนวทางป้องกันตัวเองอย่าได้ประมาทในการทั้งปวงครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2010
  2. jaetechno

    jaetechno เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,888
    ค่าพลัง:
    +6,183
    ถ้าแตกจริงก็งานเข้าล่ะคร้าบ เพชรบุรีจะกี่เมตรครับ มาถึงภายในกี่ชั่วโมง
     
  3. พลอยรุ้ง

    พลอยรุ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +2,088
    ในหลวงท่านก็ทรงห่วงอยู่เหมือนกันนะคะ
    สำหรับในหลวงแล้ว ท่านห่วงไปซะทุกเรื่อง อะไรที่จะทำให้ประชาชนของท่านเดือดร้อน ท่านจะหาทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า หรือพยายามเตือนลูกๆของท่าน แต่ใครจะฟังหรือไม่ฟังเป็นอีกเรื่องนึง
    แต่อย่างไรก็ขออย่าให้เกิดขึ้นจริงๆเลย หรือถ้าจะเกิด ก็ขอให้เกิดแบบพอแก้ไขได้ พอกู้ได้ ขอให้ทุกท่านปลอดภัย อย่าประมาทค่ะ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    แนวเส้นทางไหลของน้ำจากเขื่อนจะวิ่งมาตามแนวถนนเพชรเกษม แนวแม่น้ำแม่กลอง หรือแม่น้ำนครชัยศรี(แม่น้ำเดียวกัน) วิ่งตามแนวแนวดังกล่าวเนื่องจากของไหลย่อมเคลื่อนตัวสู่ที่ลาดต่ำและเดินทางได้เร็วในพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง เช่น ร่องน้ำ แม่น้ำ แนวถนนที่ไม่มีอาคาร บ้าน ต้นไม้ สิ่งปลูกสร้าง หรือภูเขา เนินเขา ขวาง

    แนวทิศทางน้ำไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งหากช่วงดังกล่าวน้ำทะเลหนุนสูง จะทำให้การระบายน้ำช้าลง ส่งผลให้ระดับน้ำ สูงกว่าที่ควรเป็นและไม่ยอมลดระดับลงครับ

    พลังงานในการทำลายล้าง หากเขื่อนแตกนั้น ผมเชื่อว่าแรงกว่าสึนามิครั้งที่ผ่านมาครับ จากปริมาณน้ำ ความสูง พลังงาน และ ความหนาแน่นของประชากร ในเส้นทางน้ำผ่าน

    เตรียมพร้อมกัน ซักซ้อมกันเอาไว้ครับ
     
  5. ยอดยาหยี

    ยอดยาหยี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    576
    ค่าพลัง:
    +2,697
    ขอเส้นทางอพยบด้วยค่า ใครมีแนะนำบ้าง เผื่อเตรียมตัวไว้ก้อไม่เสียหาย แต่ว่าถ้าเกิดขึ้นจริง คิดภาพไม่ออกเลย ถ้าเกินในวันที่สามีทำงาน ลูก ๆ ไปโรงเรียน กว่าจะมาถึงบ้าน เก็บของอีก จิตตกเลย อิอิ เอ่อแต่ว่าจะถึงปทุมธานีรึป่าวนิ
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,758
    ค่าพลัง:
    +51,962
    *** พระพุทธศาสนา ศาสนาสัจจะธรรม ****

    ความจริง...อยู่ใต้ดิน ดินรักษา
    ความจริงย่อมปรากฏ....ชะ ล้าง

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขึ้นทางเหนือขึ้นเขา โดยดูเส้นทางที่เร็วที่สุดครับ ขึ้นอยู่ว่าบ้านเราอยู่ที่ไหนครับ
     
  8. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,635
    อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี คงเจอสภาพใกล้เคียงกับกรุงเทพ ถ้าอยู่ปทุมธานี ก็ออกไปทางเส้นทางสระบุรี-โคราช (หาเส้นทางที่ตรงที่สุดและสั้นที่สุด ) ผมคิดว่าจะไปทางนี้เหมือนกัน ลองสำรวจเส้นไว้หลายเส้นทาง เตรียมแผนที่เส้นทางให้พร้อม หาวิทยุทรานซิสเตอร์หรือมือถือที่ฟังวิทยุได้ ไว้ตรวจสอบข่าวสาร
    ถ้ายังมีบุญกุศลอุดหนุนค้ำไว้ ให้ไปสืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป ก็คงจะแคล้วคลาดภัยพิบัติไปได้
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ถ้ายังมีบุญกุศลอุดหนุนค้ำไว้ ให้ไปสืบสานพระพุทธศาสนาต่อไป ก็คงจะแคล้วคลาดภัยพิบัติไปได้


     
  10. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    ทางลัดตัดตรง ขอจงพูดดี คิดดี ประพฤติดี

    บุญ คือ เกราะคุ้มครองท่านทั้งหลาย
     
  11. ชัยธนันท์

    ชัยธนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +1,488
    ผู้มีหน้าที่ก็ควรตรวจตรา ดูแลเขื่อนแบบถี่ขึ้นจงตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเป็นดีที่สุด
     
  12. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +892
    อย่ากลัวไปเลย มาไม่ถึง กทม. หรอก ไม่ต้องใช้อภิญญา ก็รู้ ประมินตามหลักฟิสิกส์ธรรมดาๆนี่แหละ

    เมืองกาญจณ์ นะใช่ ท่วมแน่ ธรรมชาติของน้ำจะใหลลงสู้ศูนย์กลางของโลก แรงที่จะแตกออกมาด้านข้างมีน้อย

    ดังนั้นน้ำจะใหลไปไหนไม่ไกล ยิ่งถ้าระหว่างทางมีตัวดูดซับที่ดี เช่น ทราย ดินแห้ง ต้นไม้

    เว้นแต่ พื้นที่ระหว่างทาง มีน้ำอิ่มตัวหรือท่วมอยู่ก่อนแล้ว แต่น้ำที่ท่วมอยู่เดิม ก็ใช่ว่าจะให้น้ำใหม่ ถ่ายเทพลังงานมาได้ง่าย

    ก็เป็นไปตามกฏของความเฉื่อย แต่สุดท้ายก็แพ้แรงดึงดูดของโลก

    ถ้าเขื่อนแตก จะแตกแบบใหน มีให้เลือก ๒ แบบ

    ๑. แตก แล้วรั่วซึม อุดไม่อยู่ บริมาณน้ำจะค่อยๆมา ถึงจะมากแต่จะมาได้ไกลขนาดไหน ลองใช้เหตุผลด้านบนดู

    ๒. แตกแบบหายวับไปกับตา แล้วจะเป็นไปได้ไหม กำแพงน้ำขนาดเท่าเขื่อน จะโถมลงมา แหมดูน่ากลัว

    แต่ให้ดูว่า น้ำจะมาตามร่องน้ำ หรือ จะข้ามทุ่งข้ามนาข้ามบ้านชาวบ้านข้าแม่น้ำสายอื่น อย่างไหนไปง่ายกว่ากัน

    ไม่ต้องให้คำตอบ แทนน้ำนะครับ เพราะธรรมชาติของน้ำเขาเป็นอย่างนั้น

    ถ้าเราไปดูโครงสร้างของเขื่อนศรีฯ วิศวที่เขาออกแบบสร้างไม่ใช่กระจอกนะครับ แล้วท่านคิดว่าเขื่อนจะแตกแบบไหน

    ถ้าแผ่นดินไหว สัก ๑๐ ริกเตอร์

    ถ้าคิดออกก็ไม่ต้องกลัว แต่ก็อย่าประมาทกับภัยชนิดอื่นๆ
     
  13. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เขื่อนศรีนครินทร์ สัญญาณเตือนภัย วัวหายอย่าได้ล้อมคอก
    ชัยยุทธ ชินณะราศรี และสมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์ - [ 1 ม.ค. 13, 07:00 น. ]





    โดย ผศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี และ สมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์

    ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี







    ปัจจุบันนี้ปัญหาในการวางแผนความปลอดภัยของเขื่อนกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่อง จากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัย อยู่ด้านท้ายเขื่อนโดยตรง จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าเขื่อนจำนวนกว่า 2,000 เขื่อน ทั่วโลกได้เกิดการวิบัติลง และจากการสำรวจความมั่นคง ของตัวเขื่อนพบ ว่ามี จำนวน มากกว่า 150,000 เขื่อน ทั่วโลกที่มีความเสี่ยงต่อการวิบัติ



    จากการศึกษาถึงการวิบัติที่เกิดขึ้นกับตัวเขื่อนที่ผ่านมาพบว่า มีสาเหตุมาจากหลาย ประการ โดยเฉพาะในเขื่อนที่มีการออก แบบและก่อสร้างมานานหลายสิบปีที่ใช้ สมมติ ฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบยังไม่ก้าวหน้ามากนักดังเช่นในปัจจุบัน



    การที่จะพิจารณา เลือกชนิดและการออกแบบเขื่อนในเชิงวิศวกรรมจะ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น คุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของ วัสดุที่จะนำมา ใช้ใน การก่อสร้างลักษณะทางธรณีวิทยาของดินและฐานรากบริเวณที่จะทำการ


    ก่อสร้าง สภาพทางภูมิประเทศ สภาพทางอุทกวิทยา และอิทธิพลจากการเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้แล้วยังต้องคำนึงถึงการควบคุมปริมาณการรั่วซึมผ่านตัวเขื่อน การป้องกันและการลดการกัดเซาะจากกระแสน้ำที่อาจไหลล้นสันเขื่อน พฤติกรรมและกระบวน การการเกิดช่องแตกของเขื่อน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วมัก จะไม่ได้ พิจารณากันอย่างจริงจัง จึงอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการวิบัติของเขื่อนได้


    โดยทั่วไปการวิบัติของเขื่อนอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ

    1.การเสื่อมตัวของเขื่อนตามอายุการใช้งาน
    2.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ ฝนตกหนักทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และการเกิดแผ่นดินไหว
    3.การทรุดตัวของฐานรากที่ไม่เท่ากัน
    4.การเคลื่อนตัวของเขื่อนจากแกนเดิม
    5.ปัญหาจากการกัดเซาะที่เกิดขึ้นบนตัวเขื่อนเนื่องจากน้ำไหลล้นข้ามสันเขื่อน
    6.ปัญหาจากการรั่วซึมของน้ำผ่านตัวเขื่อน
    7.การควบคุมการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน
    8.รูที่เกิดขึ้นจากการขุดของสัตว์ ดังนั้นในการที่จะวางแผนความปลอดภัยของตัวเขื่อนจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงสาเหตุต่างๆ ที่จะมีผลต่อการวิบัติของ เขื่อนเพื่อ ใช้เป็น แนวทางในการวางแผนป้องกันต่อไป

    ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการวิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์

    ลุ่มน้ำแม่กลองจัดได้ว่าเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ บริเวณภาคตะวันตกของประเทศ ประกอบด้วยลำน้ำสาขาต่างๆ ได้แก่ ลำน้ำแควน้อยและ แควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดกาญจนบุรี และไหลทอดตัวยาวลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในบริเวณลุ่มน้ำนี้ได้มีการ ก่อสร้าง เขื่อนที่สำคัญไว้ในลำน้ำต่างๆ อันได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนาและเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำแควใหญ่ เขื่อนเขาแหลมตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย และเขื่อน วชิรา ลงกรณ์ตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่กลอง

    สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์นั้นเป็นเขื่อนหินทิ้ง (Rockfill Dam) มีแกนเป็นดินเหนียว เป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควใหญ่ ตำบลท่ากระดาน อำเภอ ศรีสวัสดิ์ ทางด้านทิศเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี

    โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 86 กิโลเมตร ตัวเขื่อนมีความสูง 135 เมตร และมีความยาวของสันเขื่อน 610 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า อยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลของการ ไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

    จากการตรวจสภาพเขื่อนศรีนครินทร์พบว่ามีการทรุดตัวของสันเขื่อนมาโดยตลอดในช่วงระยะเวลายี่สิบปีที่เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำ แม้ว่าค่าการทรุดตัว ที่ตรวจพบนี้ยัง อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในทางวิศวกรรม กล่าวคือในการออกแบบได้ยอมให้เกิดการทรุดตัวได้ถึง 150 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะละเลยที่จะทำ การตรวจ สอบดูแลและทำการบำรุงรักษาให้ตัวเขื่อนอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ และไม่ให้เกิดช่องโหว่ภายในตัวเขื่อนที่มาจากสาเหตุการทรุดตัวไม่เท่ากัน เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับตัวเขื่อนตามมาได้

    ถ้าพิจารณาถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด สมมุติว่าเขื่อนทรุดตัวมากขึ้นประกอบ กับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีระดับที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันจากสาเหตุที่ฝนตกหนักติดต่อกัน น้ำในอ่างจะเริ่มไหลล้นสันเขื่อน ณ จุดที่เกิดการทรุดตัวมาก ความแรงของน้ำจะพัด พาก้อนหินที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเขื่อน จากนั้นจะก่อให้เกิดเป็นช่องแตกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นๆ ที่บริเวณนี้ ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านช่องแตกนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนใน ที่สุดปริมาณน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนที่มีปริมาณอย่างน้อย 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตรจะไหลผ่านช่องแตกดัง กล่าวแล้วหลากไหลไป ตามพื้นที่ทาง ด้าน ท้ายเขื่อนที่เป็นแหล่งชุมชนต่างๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นตัวเมืองกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง จนไปถึงตัวจังหวัดราชบุรีหรืออาจจะครอบคลุมถึงแหล่งชุมชนต่างๆ ที่อยู่ บริเวณใกล้เคียง

    นอกจากนี้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลนี้ยังอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดการวิบัติของเขื่อนที่ตั้งอยู่ด้านท้ายน้ำอีกด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการวิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์

    ซึ่งเหตุการณ์วิบัติในลักษณะพังอย่างต่อเนื่องนี้ ได้มีกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น ในต่างประเทศ ดังเช่น เขื่อน Euclides Da Cunha ในประเทศบราซิล ที่ได้เกิดการวิบัติแล้วส่งผลทำให้ปริมาณน้ำได้ไหลหลากไปสู่ตัวเขื่อน Salles Oliveira ที่ตั้งอยู่ทางด้านท้ายน้ำและในที่สุดปริมาณน้ำดังกล่าวได้ส่งผลให้เขื่อน Salles Oliveira เกิดการวิบัติตามมา หรือกรณีตัวอย่างเขื่อน Coedty ในประเทศอังกฤษ ที่ได้เกิดการวิบัติเนื่องจากน้ำส่วนเกินจากการเก็บกักได้ไหลล้นข้ามสันเขื่อนและเกิดการกัดเซาะตัวเขื่อนจนเกิดการวิบัติในที่สุด ซึ่งปริมาณน้ำส่วนเกินนี้มีผลมาจากคลื่น น้ำท่วมจากกรณีการวิบัติของเขื่อน Eigiau ที่ตั้งอยู่ด้านเหนือน้ำของเขื่อน Coedty เป็นต้น

    จากการศึกษาถึงผลกระทบในกรณีที่เขื่อนศรีนครินทร์เกิดการวิบัติ โดย พีระวุฒ พุ่มทอง (วิทยานิพนธ์ : สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พ.ศ.2528) ได้กล่าวถึงปริมาณ น้ำที่จะไหลออกจากเขื่อนตามลักษณะรูปร่างของช่องแตกที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถกล่าวโดยรวมว่า ภายในเวลาไม่กี่วินาทีที่เกิดช่องแตกบนเขื่อน

    ปริมาณน้ำในอ่าง เก็บน้ำจะไหลผ่านช่องแตกและจะเกิดคลื่นน้ำท่วมขนาดใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่เมืองกาญจนบุรี ด้วยความเร็วเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วนี้ จะค่อยๆ ลดลงตามระยะทางที่มันเคลื่อนตัวไป ภายในเวลา 3 ถึง 4 ชั่วโมง

    คลื่นน้ำท่วมจะไหลเข้าสู่ตัวเมืองกาญจนบุรี โดยที่เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง ปริมาณน้ำ ที่ไหล เข้าเมืองจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นเวลาที่ตัวเมืองกาญจนบุรีจะกลายสภาพเป็นเมืองใต้บาดาล ประชาชนที่อพยพไม่ทันรวม ถึงทรัพย์สินต่างๆ จะถูกน้ำพัดพาไปตามเส้นทางที่คลื่นน้ำท่วมเคลื่อนที่

    หลังจากเขื่อนเกิดการวิบัติ ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง คลื่นน้ำท่วมนี้จะไหลเข้าสู่ตัวเมืองราชบุรีซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนเป็นระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร

    หลัง จากนั้น 3 วัน ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเมืองจะอยู่ที่ประมาณ 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมตัวเมืองราชบุรีทั้งเมือง

    สรุป
    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์เกิดการทรุดตัวอย่างมากประกอบกับในเวลาเดียวกันเกิดปริมาณ ฝนตกหนักที่ บริเวณเหนือเขื่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ ดูแลและบำรุงรักษาเขื่อนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นแล้วยังอาจต้อง มีการศึกษา เพื่อหาวิธีป้องกันและลดอัตราการแตกของเขื่อน รวมถึงการศึกษาหาวิธีลดปริมาณคลื่นน้ำท่วมเพื่อลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

    ปัจจุบันเรามีความพร้อมในแผนการป้องกัน การเตือนภัย การอพยพ การบรรเทาทุกข์ และการกู้ภัยไว้อย่างไรบ้าง สามารถที่อพยพประชาชนภายใน ระยะเวลาเพียง ไม่กี่ชั่วโมง ได้จริงหรือไม่ ได้มีการซักซ้อมแผนดังกล่าวและพร้อมที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้บ้างหรือเปล่า

    ดังนั้นหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการที่มีความรู้ ตลอดจนองค์กรอิสระต่างๆ จึงควรจะให้ความสนับสนุนและร่วมมือกันในการวางแผน การทำให้เกิดผล จริงใน ทางปฏิบัติในด้านความปลอดภัยของเขื่อนที่มีอยู่มากมายในประเทศไทยก่อนที่จะได้ยินคำสุภาษิตที่ว่า "วัวหายแล้วล้อมคอก" อีกครั้ง




    Prasittiporn KAN-ONSRI (NOI.)

    Adviser of Assembly of the Poor.



    E-mail : thaipoor@ksc.th.com ,fopthai@hotmail.com

    thai.to - webarchiv Resources and Information. This website is for sale!




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  14. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เขื่อนศรีนครินทร์ สัญญาณเตือนภัย วัวหายอย่าได้ล้อมคอก
    ชัยยุทธ ชินณะราศรี และสมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์ - [ 1 ม.ค. 13, 07:00 น. ]





    โดย ผศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี และ สมกิตติ์ กิตติโศภิษฐ์

    ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี







    ปัจจุบันนี้ปัญหาในการวางแผนความปลอดภัยของเขื่อนกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่อง จากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัย อยู่ด้านท้ายเขื่อนโดยตรง จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าเขื่อนจำนวนกว่า 2,000 เขื่อน ทั่วโลกได้เกิดการวิบัติลง และจากการสำรวจความมั่นคง ของตัวเขื่อนพบ ว่ามี จำนวน มากกว่า 150,000 เขื่อน ทั่วโลกที่มีความเสี่ยงต่อการวิบัติ



    จากการศึกษาถึงการวิบัติที่เกิดขึ้นกับตัวเขื่อนที่ผ่านมาพบว่า มีสาเหตุมาจากหลาย ประการ โดยเฉพาะในเขื่อนที่มีการออก แบบและก่อสร้างมานานหลายสิบปีที่ใช้ สมมติ ฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบยังไม่ก้าวหน้ามากนักดังเช่นในปัจจุบัน



    การที่จะพิจารณา เลือกชนิดและการออกแบบเขื่อนในเชิงวิศวกรรมจะ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆ หลายประการ เช่น คุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของ วัสดุที่จะนำมา ใช้ใน การก่อสร้างลักษณะทางธรณีวิทยาของดินและฐานรากบริเวณที่จะทำการ


    ก่อสร้าง สภาพทางภูมิประเทศ สภาพทางอุทกวิทยา และอิทธิพลจากการเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้แล้วยังต้องคำนึงถึงการควบคุมปริมาณการรั่วซึมผ่านตัวเขื่อน การป้องกันและการลดการกัดเซาะจากกระแสน้ำที่อาจไหลล้นสันเขื่อน พฤติกรรมและกระบวน การการเกิดช่องแตกของเขื่อน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วมัก จะไม่ได้ พิจารณากันอย่างจริงจัง จึงอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการวิบัติของเขื่อนได้


    โดยทั่วไปการวิบัติของเขื่อนอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ

    1.การเสื่อมตัวของเขื่อนตามอายุการใช้งาน
    2.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ ฝนตกหนักทำให้เกิด น้ำท่วมฉับพลัน และการเกิดแผ่นดินไหว
    3.การทรุดตัวของฐานรากที่ไม่เท่ากัน
    4.การเคลื่อนตัวของเขื่อนจากแกนเดิม
    5.ปัญหาจากการกัดเซาะที่เกิดขึ้นบนตัวเขื่อนเนื่องจากน้ำไหลล้นข้ามสันเขื่อน
    6.ปัญหาจากการรั่วซึมของน้ำผ่านตัวเขื่อน
    7.การควบคุมการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน
    8.รูที่เกิดขึ้นจากการขุดของสัตว์ ดังนั้นในการที่จะวางแผนความปลอดภัยของตัวเขื่อนจึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงสาเหตุต่างๆ ที่จะมีผลต่อการวิบัติของ เขื่อนเพื่อ ใช้เป็น แนวทางในการวางแผนป้องกันต่อไป

    ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการวิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์

    ลุ่มน้ำแม่กลองจัดได้ว่าเป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ บริเวณภาคตะวันตกของประเทศ ประกอบด้วยลำน้ำสาขาต่างๆ ได้แก่ ลำน้ำแควน้อยและ แควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดกาญจนบุรี และไหลทอดตัวยาวลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในบริเวณลุ่มน้ำนี้ได้มีการ ก่อสร้าง เขื่อนที่สำคัญไว้ในลำน้ำต่างๆ อันได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนาและเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำแควใหญ่ เขื่อนเขาแหลมตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย และเขื่อน วชิรา ลงกรณ์ตั้งอยู่บนแม่น้ำแม่กลอง

    สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์นั้นเป็นเขื่อนหินทิ้ง (Rockfill Dam) มีแกนเป็นดินเหนียว เป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควใหญ่ ตำบลท่ากระดาน อำเภอ ศรีสวัสดิ์ ทางด้านทิศเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี

    โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 86 กิโลเมตร ตัวเขื่อนมีความสูง 135 เมตร และมีความยาวของสันเขื่อน 610 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า อยู่ในความรับผิดชอบและการดูแลของการ ไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)

    จากการตรวจสภาพเขื่อนศรีนครินทร์พบว่ามีการทรุดตัวของสันเขื่อนมาโดยตลอดในช่วงระยะเวลายี่สิบปีที่เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำ แม้ว่าค่าการทรุดตัว ที่ตรวจพบนี้ยัง อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในทางวิศวกรรม กล่าวคือในการออกแบบได้ยอมให้เกิดการทรุดตัวได้ถึง 150 เซนติเมตร อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะละเลยที่จะทำ การตรวจ สอบดูแลและทำการบำรุงรักษาให้ตัวเขื่อนอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ และไม่ให้เกิดช่องโหว่ภายในตัวเขื่อนที่มาจากสาเหตุการทรุดตัวไม่เท่ากัน เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีผลทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับตัวเขื่อนตามมาได้ ถ้าพิจารณาถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุด สมมุติว่าเขื่อนทรุดตัวมากขึ้นประกอบ กับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีระดับที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันจากสาเหตุที่ฝนตกหนักติดต่อกัน น้ำในอ่างจะเริ่มไหลล้นสันเขื่อน ณ จุดที่เกิดการทรุดตัวมาก ความแรงของน้ำจะพัด พาก้อนหินที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเขื่อน จากนั้นจะก่อให้เกิดเป็นช่องแตกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นๆ ที่บริเวณนี้ ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านช่องแตกนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนใน ที่สุดปริมาณน้ำที่ถูกเก็บกักไว้ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนที่มีปริมาณอย่างน้อย 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตรจะไหลผ่านช่องแตกดัง กล่าวแล้วหลากไหลไป ตามพื้นที่ทาง ด้าน ท้ายเขื่อนที่เป็นแหล่งชุมชนต่างๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นตัวเมืองกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง จนไปถึงตัวจังหวัดราชบุรีหรืออาจจะครอบคลุมถึงแหล่งชุมชนต่างๆ ที่อยู่ บริเวณใกล้เคียง

    นอกจากนี้ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลนี้ยังอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดการวิบัติของเขื่อนที่ตั้งอยู่ด้านท้ายน้ำอีกด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการวิบัติของเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งเหตุการณ์วิบัติในลักษณะพังอย่างต่อเนื่องนี้ ได้มีกรณีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้น ในต่างประเทศ ดังเช่น เขื่อน Euclides Da Cunha ในประเทศบราซิล ที่ได้เกิดการวิบัติแล้วส่งผลทำให้ปริมาณน้ำได้ไหลหลากไปสู่ตัวเขื่อน Salles Oliveira ที่ตั้งอยู่ทางด้านท้ายน้ำและในที่สุดปริมาณน้ำดังกล่าวได้ส่งผลให้เขื่อน Salles Oliveira เกิดการวิบัติตามมา หรือกรณีตัวอย่างเขื่อน Coedty ในประเทศอังกฤษ ที่ได้เกิดการวิบัติเนื่องจากน้ำส่วนเกินจากการเก็บกักได้ไหลล้นข้ามสันเขื่อนและเกิดการกัดเซาะตัวเขื่อนจนเกิดการวิบัติในที่สุด ซึ่งปริมาณน้ำส่วนเกินนี้มีผลมาจากคลื่น น้ำท่วมจากกรณีการวิบัติของเขื่อน Eigiau ที่ตั้งอยู่ด้านเหนือน้ำของเขื่อน Coedty เป็นต้น

    จากการศึกษาถึงผลกระทบในกรณีที่เขื่อนศรีนครินทร์เกิดการวิบัติ โดย พีระวุฒ พุ่มทอง (วิทยานิพนธ์ : สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พ.ศ.2528) ได้กล่าวถึงปริมาณ น้ำที่จะไหลออกจากเขื่อนตามลักษณะรูปร่างของช่องแตกที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถกล่าวโดยรวมว่า ภายในเวลาไม่กี่วินาทีที่เกิดช่องแตกบนเขื่อน

    ปริมาณน้ำในอ่าง เก็บน้ำจะไหลผ่านช่องแตกและจะเกิดคลื่นน้ำท่วมขนาดใหญ่เคลื่อนตัวเข้าสู่เมืองกาญจนบุรี ด้วยความเร็วเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วนี้ จะค่อยๆ ลดลงตามระยะทางที่มันเคลื่อนตัวไป ภายในเวลา 3 ถึง 4 ชั่วโมง

    คลื่นน้ำท่วมจะไหลเข้าสู่ตัวเมืองกาญจนบุรี โดยที่เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง ปริมาณน้ำ ที่ไหล เข้าเมืองจะอยู่ที่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นเวลาที่ตัวเมืองกาญจนบุรีจะกลายสภาพเป็นเมืองใต้บาดาล ประชาชนที่อพยพไม่ทันรวม ถึงทรัพย์สินต่างๆ จะถูกน้ำพัดพาไปตามเส้นทางที่คลื่นน้ำท่วมเคลื่อนที่

    หลังจากเขื่อนเกิดการวิบัติ ภายในเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง คลื่นน้ำท่วมนี้จะไหลเข้าสู่ตัวเมืองราชบุรีซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนเป็นระยะทางประมาณ 180 กิโลเมตร

    หลัง จากนั้น 3 วัน ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเมืองจะอยู่ที่ประมาณ 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมากพอที่จะทำให้น้ำท่วมตัวเมืองราชบุรีทั้งเมือง


    สรุป
    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าเขื่อนศรีนครินทร์เกิดการทรุดตัวอย่างมากประกอบกับในเวลาเดียวกันเกิดปริมาณ ฝนตกหนักที่ บริเวณเหนือเขื่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ ดูแลและบำรุงรักษาเขื่อนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นแล้วยังอาจต้อง มีการศึกษา เพื่อหาวิธีป้องกันและลดอัตราการแตกของเขื่อน รวมถึงการศึกษาหาวิธีลดปริมาณคลื่นน้ำท่วมเพื่อลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น

    ปัจจุบันเรามีความพร้อมในแผนการป้องกัน การเตือนภัย การอพยพ การบรรเทาทุกข์ และการกู้ภัยไว้อย่างไรบ้าง สามารถที่อพยพประชาชนภายใน ระยะเวลาเพียง ไม่กี่ชั่วโมง ได้จริงหรือไม่ ได้มีการซักซ้อมแผนดังกล่าวและพร้อมที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้บ้างหรือเปล่า

    ดังนั้นหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการที่มีความรู้ ตลอดจนองค์กรอิสระต่างๆ จึงควรจะให้ความสนับสนุนและร่วมมือกันในการวางแผน การทำให้เกิดผล จริงใน ทางปฏิบัติในด้านความปลอดภัยของเขื่อนที่มีอยู่มากมายในประเทศไทยก่อนที่จะได้ยินคำสุภาษิตที่ว่า "วัวหายแล้วล้อมคอก" อีกครั้ง




    Prasittiporn KAN-ONSRI (NOI.)

    Adviser of Assembly of the Poor.



    E-mail : thaipoor@ksc.th.com ,fopthai@hotmail.com

    thai.to - webarchiv Resources and Information. This website is for sale!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  15. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    [​IMG]


    [​IMG]




    ปริมาณน้ำใน...เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์....รวมกันประมาณ...22,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (21กย. 2550)






    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • A1193615.jpg
      A1193615.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89 KB
      เปิดดู:
      1,870
    • I.jpg
      I.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.9 KB
      เปิดดู:
      1,807
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  16. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สิ่งที่รัฐบาลควรมีมาตรการเตรียมการ....ดังเช่นนานาประเทศ

    +++++++++++++++++++++++++++++++++


    จีนสั่งอพยพประชาชนเกือบ 2 แสนคนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยเขื่อนแตก

    โหยวเซียน 31 พค - รัฐบาลจีนได้สั่งอพยพประชาชน 190,000 คนออกจากพื้นที่ริมแม่น้ำที่ถูกหินจากภูเขาถล่มทับบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้ว เนื่องจากเกรงว่าเขื่อนจะแตก ในขณะที่ทหารกองทัพประชาชนจีนกำลังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ไม่ให้เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันอ่างเก็บน้ำของเขื่อนแตก

    ในขณะที่เมืองโหยวเซียนนั้น ขณะนี้กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว เพราะชาวเมืองต่างพากันขึ้นเขาไปอยู่ในพื้นที่สูงเพื่อความปลอดภัย หัวหน้าตำรวจจีนที่รับผิดชอบอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ระบุว่า เจ้าหน้าที่จะทำหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าสถานการณ์ในบริเวณเขื่อนจะเข้าขั้นวิกฤติจึงจะถอนตัว แต่ในขณะนี้ได้อพยพประชาชนขึ้นไปอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยก่อน เนื่องจากสถานการณ์บริเวณเขื่อนต่างๆ ยังไม่น่าไว้วางใจ.-สำนักข่าวไทย

    2008-05-31 11:47:45

    ที่มา Seed
     

แชร์หน้านี้

Loading...