ตะบะเดชะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 20 พฤศจิกายน 2016.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    คนประเภท ๑ .รู้น้อยนิด สงบเสงี่ยมไม่ย้อนไม่แย้ง นั้นเป็นตะบะ

    คนประเภท ๒.รู้มาก ย้อนแย้งทุกเรื่อง ไม่สนใจว่าจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงหรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาหรือไม่ นั่นไม่ย่อมเป็นตะบะ

    คนประเภท ๓.รู้มาก รู้ลึก นิ่งเฉยทุกเรื่องอาจ นั่นอาจเป็นมานะ

    คนประเภท ๔.รู้ลึก ยิ่งกว่าลึก แต่ไม่มีการย้อนแย้ง
    เพราะหาเรื่องที่ควรตอบโต้ไม่มี
    นี่เป็นตะบะเดชะ ยิ่งยวด

    อย่างไรก็ตาม โลกย่อมประกอบบุคคล ๔ ประเภทตลอดไป
     
  2. ไม่มีเพศ

    ไม่มีเพศ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    134
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +66
    ผมคงเป็นประเภท1มั้งคับ แต่บางทีก็มีฟิวขาดบ้าง
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ฟิวขาดไม่เสริมสร้างตะบะ
    ต้องเรียนรู้ต้องสิกขาให้มากขึ้นเพื่อให้รู้จักตัวเอง
    ให้มากขึ้น
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    รู้น้อยแต่สำคัญว่ารู้มากเลยไม่อาจสงบเสงี่ยมได้
     
  5. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ตะบะเดชะ หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ในภายในของเรา ซึ่งแสดงออกจนคนอื่นรู้สึกได้ และบังเกิด
    ความยำเกรง หรือเกรงกลัว
    ไม่ว่าจะแสดงยังไงก็แล้ว ถ้ามีคนยำเกรงหรือเกรงกลัว ก็ถือเป็นตะบะเดชะ
    ถ้าไม่มีใครยำเกรงหรือเกรงกลัว ก็ไม่ถือว่ามีตะบะเดชะ
    การย้อนแย้งของคนไม่มีตะบะเดชะก็มีแต่ทำให้ดูถูกและรังเกียจ
    การสงบเสงี่ยมของคนไม่มีตะบะเดชะ ก็มีแต่ทำให้เขาคิดว่าหงอหรือกลัว

    ทีนี้ วิธีที่จะทำให้ตนเกิดตะบะเดชะคือ ????
     
  6. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า คนเหล่านั้นเขาให้ความสำคัญกับอะไร

    ยกตัวอย่างพวกเทพ ที่ให้ความสำคัญกับบุญ และสติปัญญามากที่สุด
    ถ้าเรามีบุญ หรือสติปัญญามากกว่าเขา เราก็มีมีตะบะเดชะ

    พวกบ้าเหล็กไหล บ้าฤทธิ์ ถ้าเราเป็นฤาษี แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ เรียกเหล็กไหลให้ลอยมาได้ เราก็กลายเป็นมหาฤาษีผู้มีฤทธิ์เดช มากด้วยตะบะเดชะที่คนให้ความสำคัญ

    กับพวกบ้าหวย บ้าหมอดู
    ถ้าเราบอกเลขท้ายสามตัวตรงๆได้ มีตาทิพย์ ทำนายอนาคตของใครก็ได้อย่างแม่นยำ
    เราก็กลายเป็นคนมีตะบะเดชะของคนเหล่านี้

    ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะวางตัวยังไงจึงจะดึงดูดจิตใจเขาให้อยู่กับเราได้ยาวนาน
    โดยไม่เบื่อหน่าย เกิดความเกรงกลัวเรามากเิกินไป หรือเสื่อมศรัทธาเราเสยก่อน
     
  7. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    สรูปแล้วก็คือ คนที่จะมีตะบะเดชะ ก็คือคนที่มีดีอยู่ในตัว และเป็นที่ต้องการของคนอื่น
    หรือผู้คนในหมู่คณะนั้นเขาให้ความสำคัญ

    มีดีอยู่ในตัว แต่คนในหมู่ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไร ถึงแสดงออกไป ก็ไม่เกิดเป็นตะบะเดชะ
     
  8. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ในเรื่องนี้ ขอจงเปรียบเทียบถึงความอัศจรรย์ ระหว่าง

    อิทธิปาฏีหาริย์ กับ อนุสานีปาฏีหาริย์เอาเถิด

    ว่าเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญ อนุสาสนีปาฏีหาริย์
     
  9. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ในท่ามกลางความมิดมิดนั้น แสงเทียนหรือแสงหิ่งห้อย ก็กลายเป็นตะบะเดชะ
    แต่ในท่ามกลางแสงแดดหรือแสงนีออนที่สว่างไสว แสงเทียนหรือแสงหิ่งห้อยก็กลายเป็นความอับเฉา
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ตะบะเดชะคือ พลังจิตที่มาจากการสั่งสมขึ้นจากในตัว
    ด้วยการฝึกฝนและปฏิบัติให้รู้หรือหยั่งรู้ที่จะ
    ควบคุมตนเองให้อยู่ในเส้นทางแห่งมรรค
    มุ่งเน้นที่การควบคุมตนเองด้วยความเมตตาต่อตนเอง
    และต่อโลกปรารถนาให้โลก
    ปราศจากซึ่งการเบียดเบียน
    ซึ่งกันและกันมากกว่าเป็น การโชว์ตะบะหรือฤทธิ์เดชต่อคนภายนอก
    อย่างเช่น มหาตมคานธีเป็นต้น
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มหาตมคานธี อยู่ ศาสนาฮินดู ศาสนาที่กวาดล้าง.....เหลือแต่ ซาก


    ตราบใดที่ ยังหวงศาสดาอื่น ตราบนั้น ไม่เคยสัมผัส สัมมาทิฏฐิ มาก่อน แม้แต่นิดเดียว
     
  12. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ออ บางทีผมอาจเข้าใจความหมายของคำว่าตะบะเดชะ ผิดพลาดไป
    ไปตีความหมายแบบโลกๆ
     
  13. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ถ้าหากว่า ความหมายของตะบะเดชะ เป็ดังที่กล่าว
    ก็ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงการย้อนแย้ง หรือทำสงบเสงี่ยมเจียมตัวต่อบุคคลอื่นใดๆอีก เพราะเป็นเรื่องปราบปรามกิเลสภายในของบุคคลนั้นๆ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น
     
  14. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เป็นความมั่นคงแน่วแน่ไม่หวั่นไหว ในความจริง
    ไม่บิดเบือนสัจธรรมคุณธรรม
    มีคาระวะธรรม
    จิตนอบน้อมอ่อนโยนอยู่ด้วยพรหมวิหารธรรม
     
  15. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    คุณนิวรณ์คงโดนด้วย เพราะมักจะมีการย้อนแย้งอยู่บ่อยๆ
     
  16. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ตะบะ แปลว่า ความเพียรเผากิเลส
    แต่ผมคงหลงติดความหมายที่คนนำมาใช้ทางโลกมากไป
    เช่น ห้อยเขี้ยวเสือหลวงพ่อองค์นี้แล้ว จะทำให้บังเกิดตะบะเดชะ ทำให้ผู้คนคร้ามเกรง
    จึงได้หลงอธิบายไปในแนวนั้น(แบบทางโลก)
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ที่ย้อนแย้ง โต้เถียง ก็เนื่องมาจากการขาดเมตตา
    ต่อกัน
    เเละอดทนไม่ไหวที่จะเห็นความครึเขลาตีบตัน
    ในภูมิธรรมของผู้อื่น
    ซึ่งต่างมีบารมีธรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องปล่อยวาทะธรรม
    ที่กระทบกระแทกออกไป
    เพื่อให้ผู้รู้ไม่เท่าตนต้องมี
    สะดุ้งแต่ก็ไม่ได้จะรู้มากขึ้นมาทันทีทันใด
    แต่ที่เห็นทันทีคือ
    ความย่อหย่อนในตะบะเดชะในตนเอง
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ความตั้งใจเดิมก็จะพูดถึงทางโลกนี่เอง แต่ก็วนเข้าทาง
    มรรคบ้างพอเสริมสติปัญญา
     
  19. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    คือ ถ้าเอ่ยคำว่า ตะบะ เฉยๆ ก็จะมีความหมายไปในทางธรรม ดังที่กล่าวแล้วว่า
    ตะบะ แปลว่า ความเพียรเผากิเลส
    แต่พอพ่วงคำว่า เดชะ เข้ามาด้วย เลย ทำให้เข้าใจไขว้เขว ว่าหมายถึงเรื่องทางโลก
    เพราะคำว่า ตะบะเดชะนี้ เป็นเรื่องทางโลก ที่หมายถึง อำนาจหรือสิ่งที่ทำให้คนเกรงกลัว
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อำนาจในการคุมตะบะของตน ให้แก่กล้ามากน้อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...