ตำนาน"พระเจ้าติโลกราช"กษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย taekeuk_poomse, 15 ตุลาคม 2009.

  1. taekeuk_poomse

    taekeuk_poomse Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
    [​IMG]
    Thanks: รับทำ seo ประกันรถยนต์ เว็บสำเร็จรูป



    พระเจ้าติโลกราช (พญาติโลกราช พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิดิลกราชาธิราช หรือ ท้าวลก พ.ศ. 1984-2030) กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังรายลำดับที่ 9 เป็นโอรสลำดับที่ 6 ในจำนวนโอรส 10 องค์ของพญาสามฝั่งแกน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกพระนามว่า "พระเป็นเจ้าติโลกราช" บ้าง "เจ้าพญาติโลกราช" บ้าง

    พระเจ้าติโลกราช เดิมชื่อท้าวลก ประสูติเมื่อปีฉลู ครองเมืองพร้าว ต่อมาได้ทรงกระทำผิดอาชญาจึงถูกลงโทษโดยส่งไปอยู่เมืองยวมใต้ (แม่สะเรียง) ในปีระกา พ.ศ. 1984 ท้าวลกได้ชิงราชสมบัติจากพระราชบิดา ด้วยความช่วยเหลือของขุนนางในเมืองเชียงใหม่ พญาสามฝั่งแกนยอมมอบเมืองให้ท้าวลก ซึ่งขึ้นครองราชย์ขณะมีพระชนมายุ 32 ปี การแย่งชิงราชสมบัติของท้าวลกได้รับการต่อต้านจากท้าวช้อยพระอนุชาซึ่งครอง เมืองฝาง ท้าวช้อยไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น พระเจ้าติโลกราชจึงส่งกองทัพไปปราบ ท้าวช้อยหนีไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 กษัตริย์อยุธยาให้ยกทัพมาตีเชียงใหม่ พ.ศ. 1985 แต่ทัพอยุธยาก็แตกพ่ายกลับไป

    พระเจ้าติโลกราชทรงสร้างความมั่นคงภายในล้านนา ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 1984-94) อาณาจักรล้านนาจึงมีความเข้มแข็ง สามารถยึดได้เมืองน่าน เมืองแพร่ จากนั้นจึงขยายอำนาจลงสู่ทางใต้ ทรงทำสงครามกับอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถติดต่อกัน ในช่วงเวลา 24 ปี เริ่ม พ.ศ.1994 พระยายุทธิษเฐียรเจ้าเมืองพิษณุโลกเข้าสวามิภักดิ์ ต่อพระเจ้าติโลกราชและร่วมกันตีได้เมืองปากยม (พิจิตรตอนใต้) จากนั้นใน พ.ศ.2003 พระยาเชลียงก็เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราช ในปีต่อมาพระยาเชลียงนำพระเจ้าติโลกราชมาตีเมืองพิษณุโลกและเมืองกำแพงเพชร แต่ไม่สำเร็จ

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแก้ไขการขยายอำนาจของพระเจ้าติโลกราช โดยเสด็จขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2006 ในการทำสงครามกับล้านนา นอกจากใช้กำลังทหารโดยตรงแล้วทางอยุธยายังใช้พิธีสงฆ์และไสยศาสตร์ด้วย กล่าวคือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อทรงออกผนวชใน พ.ศ. 2008 ก็ได้ทรงขอเครื่องสมณบริขารจากพระเจ้าติโลกราช และระหว่างที่ผนวชก็ทรงขอบิณฑบาตเมืองเชลียงคืน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนการใช้ไสยศาสตร์ก็ได้ส่งพระเถระชาวพม่ามาทำลายต้นนิโครธ (ต้นไทร) ซึ่งเป็นไม้ศรีเมือง ณ แจ่งศรีภูมิ ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2017 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยึดเมืองเชลียงกลับคืนได้ และ พ.ศ. 2018 อยุธยาและล้านนาก็ทำไมตรีต่อกัน

    อำนาจของพระเจ้าติโลกราช ได้ขยายไปด้านตะวันออกไปถึงล้านช้าง โดยปกป้องหลวงพระบางให้รอดพ้นจากการคุกคามของไดเวียด ซึ่งทำสงครามขยายอิทธิพลรุกรานหลวงพระบางในปี พ.ศ.2023 ซึ่งก่อนหน้านั้นหลวงพระบางถูกกองทัพไดเวียดโจมตี กษัตริย์ลาวสิ้นพระชนม์พร้อมกับโอรสอีกสององค์ โอรสองค์สุดท้ายคือเจ้าซายขาวได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าติโลกราช กองทัพล้านนาไปรบตอบโต้จนฝ่ายไดเวียดพ่ายกลับไป ชัยชนะครั้งนี้ทำให้พญาซายขาวกษัตริย์ลาวพระองค์ใหม่มาสวามิภักดิ์ต่อพระ เจ้าติโลกราช พระราชอำนาจของพระเจ้าติโลกราชจึงแผ่ไปกว้างขวาง ด้านตะวันตกขยายออกไปถึงรัฐฉาน ได้เมืองไลคา เมืองนาย เมืองสีป้อ เมืองยองห้วย เป็นต้น พระเจ้าติโลกราชได้กวาดต้อนครัวเงี้ยวเข้ามาใว้ในล้านนาถึงหมื่นเศษ ด้านเหนือตีได้เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง และได้กวาดชาวลื้อ บ้านปุ๋ง เมืองยองมาไว้ที่ลำพูน

    ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงเลื่อมใสและทำนุบำรุงพุทธศาสนา ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแดง (ลังกาวงศ์นิกายสิงหลใหม่) ทรงนิมนต์พระมหาเมธังกรญาณ แกนนำกลุ่มลังกาวงศ์ใหม่จากลำพูน มาจำพรรษาที่วัดราชมณเฑียร และทรงสถาปนาให้พระมหาเมธังกรญาณขึ้นเป็นพระมหาสวามี และส่วนของพระองค์เองก็ทรงผนวชชั่วคราว ณ วัดป่าแดงมหาวิหาร การสนับสนุนสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์สิงหล ทำให้ฝ่ายลังกาวงศ์ใหม่รุ่งเรืองมาก กุลบุตรมาบวชเป็นจำนวนมาก พระภิกษุในนิกายสิงหลเพิ่มขึ้นมาก นิกายสิงหลใหม่นี้เน้นการศึกษาภาษาบาลีและการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเจริญก้าวหน้าอย่างสูง และความขัดแย้งระหว่างลังกาวงศ์ใหม่สายสิงหล (วัดป่าแดง) และลังกาวงศ์เก่าสายรามัญ (วัดสวนดอก) ที่มีอยู่ในยุคนั้น ก็ทำให้พระสงฆ์สายรามัญตื่นตัวพยายามศึกษาพระปริยัติเช่นกัน พระเจ้าติโลกราชทรงส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทรงยกย่องพระภิกษุที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระในสมัยนั้นจึงมีความรู้สูง ที่ปรากฏมีชื่อเสียงมาก เช่น พระโพริรังสี พระธรรมทินนเถระ และพระญาณกิตติเถระ เป็นต้น

    ความเชี่ยวชาญในการรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีและรอบรู้พระไตรปิฎกของพระเถระชาวล้านนาในยุคนั้น ได้ก่อให้เกิดการทำสังคายนาสอบชำระพระไตรปิฎกใน พ.ศ. 2020 ที่วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) ซึ่งใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ของโลก และพระไตรปิฎกฉบับที่สอบชำระในสมัยพระเจ้าติโลกราชจึงถือเป็นคัมภีร์หลักฐาน สำคัญชิ้นหนึ่งของพุทธศาสนาในล้านนาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    พระเจ้าติโลกราชทรงบำรุงพระสงฆ์ ถวายสมณศักดิ์แก่พระมหาเมธังกรญาณอาจารย์ของพระองค์เป็นที่ "พระอดุลศักตยาธิกรณมหาสามี" ทรงปรารถนาเป็นทายาทในศาสนาและสนองคุณพระชนนีจึงทรงมอบราชสมบัติแด่พระชนนี แล้วทรงผนวชโดยมีพระอดุลศักตยาธิกรณมหาสามีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระญาณมงคลเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชอยู่ไม่นานก็ทรงลาผนวชออกมาครองราชย์ต่อ

    การสร้างและบูรณะวัดสำคัญๆ ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช มีดังนี้ ในปี พ.ศ. 1999 โปรดให้สร้างวัดเป็นที่อยู่ของพระอุตตมปัญญาเถระ ที่ริมน้ำแม่ขาน (โรหิณี) โปรดให้ปลูกต้นโพธิในอารามนั้นแล้วตั้งชื่อว่า วัดมหาโพธาราม จากนั้นสร้างสัตตมหาสถาน ในปีวอก พ.ศ. 2020 โปรดให้สร้างมหาวิหารในอารามนั้นและสร้างวัดราชมณเฑียร วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวงมหาวิหาร เป็นต้น ทรงบูรณะต่อเดิมเจดีย์หลวง ให้ใหญ่และสูงกว่าเดิม กว้างด้านละ 35 วา สูง 45 วา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเจดีย์นั้น

    ทรงสร้างโรงอุโบสถในวัดป่าแดงหลวง ซึ่งเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดา (พญาสามฝั่งแกน) และพระราชมารดา เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จในวันมหาปวารณา จึงทรงร่วมพิธีผูกพัทธสีมาที่วัดป่าแดงนั้นด้วย ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต จากวัดพระธาตุลำปางหลวง นครเขลางค์ มาประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระนำด้านตะวันออกแห่งเจดีย์หลวง

    ทรงมอบภาระให้สีหโคตเสนาบดีและอาณากิจจาธิบดีมหาอำมาตย์ ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปแบบลวปุระขนาดใหญ่ ด้วยทองสัมฤทธิ์หนักสามสิบสามแสน (=3,960 กิโลกรัม) ณ วัดป่าตาลมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีพระธรรมทินนมหาเถระเป็นเจ้าอาวาส และในยุคนั้นได้มีการสถาปนาความเชื่อเรื่องพระธาตุในที่ต่างๆ ที่มีอยู่ในอาณาจักร โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางศาสนาของคนในถิ่นต่างๆ โดยการสร้างตำนานเมืองและตำนาน พระธาตุ ขึ้นอย่างแพร่หลาย

    พระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปีมะแม พ.ศ. 2030 พระชนม์มายุ 78 ปี ครองราชย์ได้ 45 ปี ในช่วงรัชสมัยของพระองค์อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองและยังมีผลสืบเนื่อง ต่อมาถึงรัชสมัยของพญายอดเชียงราย และรัชสมัยของพระเมืองแก้ว (พระเจ้าภูตาธิปติราช หรือพระเจ้าติลกปนัดดาธิราช) ผู้เป็นเหลนของพระองค์ ในระหว่างปี พ.ศ.2038-2068 อีกด้วย



    [​IMG]
    Thanks: รับทำ seo ประกันรถยนต์ เว็บสำเร็จรูป

    [​IMG]
    Thanks: รับทำ seo ประกันรถยนต์ เว็บสำเร็จรูป
     
  2. taekeuk_poomse

    taekeuk_poomse Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
    อยากให้ท่านใดที่มีญาณช่วยตรวจผ่านรูปนี้ได้หรือไม่ครับ ว่าพระเครื่องรูปเหมือนพระเจ้าติโลกราชที่ผมเอามาลงนี้ มีญาณองค์ท่านอยู่รึไม่ เพราะผมเพิ่งได้มาครับแล้วอัญเชิญพระองค์ขึ้นคอตลอดเลยครับ
     
  3. taekeuk_poomse

    taekeuk_poomse Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
    ตำนานของพระมหากษัตริย์แห่งล้านนา นพบุรีสะหรี๋นครพิงค์พระองค์นี้ มีเรื่องราวน่าตื่นเต้นผาดโผนอีกมาก ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ไหนๆในราชวงค์มังราย นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งล้านนาในราชวงค์มังรายพระองค์เดียว ที่ได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงค์หมิง ให้เป็นผู้พิชิตแห่งดินแดนตะวันตก รองจากจักรพรรดิ์จีนซึ่งเป็นผู้พิชิตแห่งดินแดนตะวันออก ถ้าสนใจจะอ่านเพิ่มเติมขอเชิญทุกท่านไปอ่านที่นี่เลยครับ

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A
     
  4. หนุ่ม DCOM

    หนุ่ม DCOM สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอเพิ่มเติม ราชการสงครามที่น่าสนใจครับ
    ยกทัพไปตีเมืองไทใหญ่ ครั้นถึงเมืองหาง (รัฐฉาน-พม่า) ทราบข่าวเวียตนามยกทัพ 400,000 นาย มาตีหลวงพระบาง และมาโจมตีเมืองน่านจึงยกทัพกลับมาช่วยเมืองน่าน เจ้าเมืองน่านต่อสู้อย่างทรหด รบชนะกองทัพมหาศาลของจักรพรรดิเลทันตองแห่งเวียตนาม ตัดศีรษะแม่ทัพ มาถวายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าติโลกราชจึงมีพระบรมราชโองการให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ควบคุมเชลยศึกเวียตนาม พร้อมศีรษะแม่ทัพ เดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อถวายแด่จอมจักรพรรดิ์ ในตอนแรกจอมจักรพรรดิจีนไม่เชื่อว่ากองทัพล้านนาจะต่อตีกองทัพจักรพรรดิ๋เลทันตองแห่งเวียตนามได้ เพราะกองทัพจีนเพิ่งรบแพ้แก่กองทัพเวียตนามมาหยกๆจอมจักรพรรดิ์จีนจึงมีพระบัญชาสั่งสอบสวนเชลยศึกเวียตนาม ทีเดียวพร้อมๆกันโดยแยกสอบสวนคนละห้อง เพื่อป้องกันมิให้เชลยศึกเวียตนาม บอกข้อมูลให้แก่กัน ผลการสอบสวน ตรงกันหมดว่ากองทัพที่ยิ่งใหญ่ของจักรพรรดิ์เลทันตองแห่งเวียตนาม พ่ายแพ้หมดรูปแก่กองทัพพระเจ้าติโลกราช ณ สมรภูมิที่ เมืองน่าน จักรพรรดิ์จีนถึงกับยกพระหัตถ์ทุบพระอุระ ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังทั่วท้องพระโรงต่อหน้าเสนา อำมาตย์ ที่ชุมนุม ณ ที่นั้นว่า "เหวยๆ ข้าคิดว่าในใต้หล้ามีเพียงข้าผู้เดียวที่มีเดชานุภาพมาก แต่บัดเดี๋ยวนี้มี ท้าวล้านนาพระเจ้าติโลกราช มีเดชานุภาพทัดเทียมข้า ข้าจึงแต่งตั้งให้ท้าวล้านนาเป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก"ให้เป็นใหญ่รองจากข้า มีอำนาจที่จะปราบปรามกษัตริย์น้อยใหญ่ที่ก่อการแข็งเมืองต่อข้า นับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไป" พร้อมกับทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องประกอบเกียรติยศ กองทหารพร้อมเสนาบดีผู้ใหญ่ เดินทางมาประกอบพิธีที่เชียงใหม่อย่างยิ่งใหญ่ อลังการโดยทรงยกย่องให้เป็น "รอง"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง เป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก""King of the West " ส่วนจักรพรรดิจีนเป็นจักรพรรดิ์แห่งทิศตะวันออก
    เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับเอกสารจีนเหล่านั้นว่ามีที่มาอย่างไรกันบ้าง เรื่องนี้อาจารย์วินัย พงศ์ศรีเพียรได้เขียนไว้ใน เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ บอกไว้ว่าเอกสารจีนนั้นมีถึง 15 ประเภท แต่ไม่ได้ระบุว่ามีชนิดใดบ้าง แต่กล่าวถึงไว้ว่ามี 2 ประเภทที่สำคัญและมีความน่าเชื่อถือสูง คือ สือลู่ และเจิ้งสื่อ ดังนั้น เราจะมารู้จักกับเอกสารทั้ง 2 ประเภทนี้กัน

    สือลู่ (Shi-lu)หรือ "บันทึกเรื่องจริง" มีที่มาที่ไปที่ค่อนข้างเป็นระบบซับซ้อน ผมขอเอายกข้อความในหนังสือของอาจารย์วินัยมาแยกเป็นขั้นๆ คือ 1. ทุกๆ 3 เดือน อาลักษณ์ในราชสำนักในความควบคุมของเสนาบดีผู้ใหญ่จะรวบรวมเอกสารที่เรียกว่า ฉี่จื๊อจู้ (จดหมายเหตุพระราชกิจ) เกี่ยวกับฝ่ายหน้าและฝ่ายในขององค์จักรพรรดิ และเอกสารที่เรียกว่า สื่อเจิ้งจี้ (บันทึกราชการปัจจุบัน) ส่งให้กองงานชำระประวัติศาสตร์ 2. บัณฑิตที่กองงานดังกล่าวจะรวบรวม เรียบเรียงเป็นเอกสารที่เรียกว่า ยื้อลี่ (บันทึกรายวัน) 3. เอาเอกสารราชการอื่นๆที่สำคัญมารวบรวมสาระ (น่าจะหมายถึงเรียบเรียง) กลายเป็น สือลู่ จนได้

    เจิ้งสื่อ (น่าจะเป็นตัวภาษาจีน
    帧史 zheng shi ซึ่งแปลคร่าวๆได้ว่า ประวัติศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ดีเลิศ)หรือ "ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ ฉบับหอหลวง" ก็มีที่มาจากสือลู่นั่นเอง กล่าวคือ สือลู่ที่สำเร็จแล้วนั้นก็คือข้อมูลที่จะนำมาเขียนเป็นเจิ้งสื่อนั่นเอง แต่จะเขียนเมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์แล้ว ก่อนหน้านี้ สือลู่ จะถูกผนึกลงหีบไว้ และเมื่อนำมาใช้เขียนเจิ้งสื่อเสร็จแล้วก็จะถูกทำลายไป (เพื่อป้องกันการแก้ประวัติศาสตร์อย่างผิดๆ)

    หลักฐานที่มีคุณค่ากว่าในทางประวัติศาสตร์ คือ สือลู่ เพราะเขียนขึ้นร่วมสมัย แต่เนื่องจากถูกทำลายไปมาก จึงเหลืออยู่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น ก็ต้องใช้ เจิ้งสื่อ ที่เรียบเรียงจากสือลู่อีกทีมาใช้ประกอบด้วย ปัจจุบัน เอกสารที่ได้รับการแปล และใช้กันมาก คือ หมิงสือลู่ (ก็คือสือลู่ที่เขียนในสมัยราชวงศ์หมิง) ที่ยังเหลืออยู่มากพอสมควร รวมทั้งหยวนสื่อ (เจิ้งสื่อของราชวงศ์หยวนที่เขียนเขียนขึ้นโดยราชวงศ์หมิงที่เข้ามาแทนที่)ด้วย

    หลักฐานที่ว่าไปทั้ง เจิ้งสื่อ และ สือลู่ นั้นต่างเป็นเอกสารของทางราชการ แต่ยังมีเอกสารจีนอื่นๆอีกมาก โดยอาจารย์ต้วน ลี เซิง กล่าวว่ามีเอกสาร 3 ประเภท คือ เอกสารราชการอย่างที่กล่าวไปแล้วเป็นอันหนึ่ง ต่อมา คือ เอกสารและบันทึกจากคนหรือกลุ่มคนต่างๆที่ได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั้งทูต พ่อค้านักเดินเรือ ฯลฯ และสุดท้าย คือ เอกสารและจดหมายเหตุซึ่งเป็นพวกต้นฉบับเอกสารต่างๆ เช่น เอกสารเจริญสัมพันธไมตรี เอกสารที่ส่งมาจากหัวเมืองต่างๆ เอกสารพระบรมราชโองการ เป็นต้น

    โดยสรุปแล้ว เอกสารจีนนั้นมีประโยชน์แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่ผู้ศึกษาปรวัติศาสตร์ไทยจะเลือกใช้ หรือเปิดใจต่อข้อมูลใหม่ๆเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด หากหน้าประวัติศาสตร์มีความเปลี่ยนแปลงไปจะเลือกคงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ชาติที่ล้าหลัง-คลั่งชาติ (คำพูดคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ) แบบเดิม หรือยอมให้ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งได้ท้าทาย และเกิดการพิสูจน์และชำระกันต่อไป ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบว่าจะเลือกให้หน้าประวัติศาสตร์ของเราเป็นอย่างไรต่อไป ...


    เอกสารประกอบการเขียน
    ต้วน ลี เซิง. ประวัติศาสตร์ไทยในสายตาชาวจีน. กรุงเทพฯ : พิราบ, 2537.
    วินัย พงศ์ศรีเพียร. [บรรณาธิการ]. ปาไป่สีฟู่-ปาไป่ต้าเตี้ยน : เชียงใหม่ในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณ. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยในเอกสารภาษาจีน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2539.<o:p></o:p>


    ลองเทียบปีที่ จักรพรรดิ์เลทันตองแห่งเวียตนาม (เลแถงตง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของเวียดนาม ซึ่งคลองราชช่วงปีพ.ศ. 2003-2040 และเมื่อเทียบกับจักรพรรดิ์ของจีนก็จะตรงกับราชวงศ์หมิง รัชสมัยของจักรพรรดิ์เฉิงฮวา คลองราชช่วงปี พ.ศ.2007-20030 ซึ่งน่าจะเป็นองค์เดียวกันที่ได้ยกให้ พระเจ้าติโลกราชมหาราชเป็น รอง"จักรพรรดิ์จีนแห่งราชวงศ์หมิง หรือเรียกว่าเป็น "ราชาผู้พิชิตแห่งทิศตะวันตก""King of the West " ส่วนจักรพรรดิจีนเป็นจักรพรรดิ์แห่งทิศตะวันออก ลองเช็คข้อมูลกันดูครับว่าตรงกันหรือเปล่า เพียงแต่จักรพรรดิ์จีนพระองค์นี้ประวัติน้อยไปหน่อยครับ<o:p></o:p>
     
  5. wannabexcite

    wannabexcite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,275
    ค่าพลัง:
    +1,805
    สวัสดีครับ

    ประวัติของพระเจ้าติโลกราชสนุกมากครับ...
    ท่านที่สนใจผมแนะนำให้เริ่มอ่านที่เล่มนี้เลยครับ


    ธีระยุทธ

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...